ล้มแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ทางเลือกใหม่คือ แลนด์บริดจ์สงขลา-ปีนัง
ล้มแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ทางเลือกใหม่คือ แลนด์บริดจ์สงขลา-ปีนัง


โครงสร้างพื้นฐานของแลนด์บริดจ์ สงขลา-ปีนัง มีครบทุกอย่างโดยแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ขาดแต่ระบบการจัดการที่ต้องใส่เข้าไป


เรื่องนี้เป็นเพราะรัฐบาลช้า จะทำโครงการอะไรก็กลัวโน้นกลัวนี้ กลัวจะเสียโอกาสการท่องเที่ยว วิถีชาวบ้าน แทนที่จะคิดว่า ทำอย่างไรให้ท่าเรือมันสามารถอยู่กับชาวบ้านได้กลับไม่ทำ

ปัญหาของประเทศเรา คือ การบังคับใช้กฎหมาย อยากให้ไปดูงานที่ญี่ปุ่น ท่าเรือของเขา ปลาชุมยิ่งกว่าแนวประการังอีก เพราะ การท่าเรือเขาเป็นห่วงชาวบ้าน เขาเลยสร้างประการังเทียมรอบท่าเรือเลย และมีระบบการขนส่งมีความปลอดภัยสูง

เราไม่จำเป็นต้องเลือกท่องเที่ยว ท่าเรือ หรืออื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เราสามารถเลือกได้ทุกอย่าง เพียงแต่ ต้องบริหารจัดการ และให้ชาวบ้านมามีส่วนร่วม และที่สำคัญคือจิตสำนึกสาธารณะ ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็ค้านดะ ไม่ฟังเหตุผล ต่อให้พัฒนาแต่การท่องเที่ยว โรงแรมใหญ่ๆก็เป็นของนายทุนอยู่ดี แล้ววิถีชีวิต ก็จะมีฝรั่งเข้ามาอาบแดดนอนแก้ผ้าแบบฟลูมูนอยู่ดี แล้วมันจะต่างอะไร

แล้วที่ขู่รัฐว่า จะคืนบัตร แบบที่ขู่เรื่อง พรบ.ศอ.บต. ขู่กันแบบนี้ไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา เพราะ ศอ.บต. มันมีผลต่องบ และความมั่นคง เขาจึงยอมผ่านให้

ส่วน ท่าเรือทวาย ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะต้องผ่านลุ่มน้ำชั้น A1 แล้วคุณคิดหรือว่า เมื่อโครงการเดินไปได้สักพักแล้ว ชาวเมืองกาญจณบุรี จะไม่ออกมาคัดค้าน เพราะแถวนั้นมันแหล่งท่องเที่ยว แหล่งประวัติศาสตร์ นี้ยังไม่รวมปัญหาที่จะเกิดที่ฝังพม่า ทั้งเรื่องการตรวจสินค้าผ่านแดน ความมั่นคง การลักลอบเข้าเมือง ชนกลุ่มน้อย ตรงนั้นมันรัฐกะเหลี่ยง วันดีคืนดี รัฐกะเหลี่ยงแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงรอยกับรัฐบาลทหารพม่า มันจะเป็นเรื่อง

แล้วเส้นทางการขนส่งที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ไม่รู้จะปิดจะเปิดวันไหน เอกชนที่ไหนจะกล้าใช้ เพราะการส่งมอบสินค้ามันเป็นส่งมอบล่วงหน้า ส่งมอบช้า 1 วัน โดนปรับเจ๊งแน่ๆ


อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตรุเตา มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงมาก ดังนั้น ไม่สมควรเลยที่จะเอา อุตสาหกรรมเข้าไป


สรุปจากผู้เขียน

ท่าเรือน้ำลึกปากบารา "ไม่ควรสร้างเป็นท่าเรือขนาดใหญ่" แม้ผมจะสนับสนุนมาก่อน เพราะ ถ้าดูดีๆ สตูล มีศักภาพในการท่องเที่ยวมาก เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่าง ท่าเรือน้ำลึก กับท่องเที่ยว ดูเหมือนท่องเที่ยวจะมีน้ำหนักมากกว่า ดังนั้นควรให้สตูลทำการท่องเที่ยวไปครับ ผมเสียดายเกาะ ตะรุเตา ลิดิ อาดัง ราวี ฯลฯ สวยๆทั้งนั้น

ถ้าจะสร้างท่าเรือจริงๆ ก็เห็นว่าควรทำเป็นท่าเรือขนาดกลางพอ เพื่อขนส่งสินค้ายางพาราเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ ก็ทำทางรถไฟรางเดียวเข้าไปด้วยก็ดี จะได้ส่งยางพาราเข้าไปได้ง่ายๆ และขอย้ำว่า ห้ามมีอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพราะจะได้ไม่คุ้มเสีย

แต่แลนด์บริดจ์ จะเอายังไง

อย่างที่บอก ท่าเรือทวาย แม้จะใกล้ กทม. แต่พูดตามตรง สร้างยากกว่าปากบาราอีก เพราะผ่านป่าลุ่มน้ำ a1 ทำไปทำมาจะไม่ผ่าน EIA เอาง่ายๆ แถมการเมืองในพม่าก็ไม่ค่อยมั่นคง


ดังนั้นทางเลือกทดแทนแลนด์บริดจ์เส้นสงขลา-สตูลก็คือ แลนด์บริดจ์เส้น ปีนัง-สงขลา เพราะ มาเลเชีย เขาก็ต้องการแบ่งผลประโยชน์กับไทย เขาสร้างรถไฟทางคู่มาเชื่อมที่ชายแดนแล้ว ขยายด่านแล้ว ถนนก็มีแล้ว ท่อก๊าซก็มีแล้ว ขาดท่อน้ำมัน แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ใช้โครงข่ายการคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานเดิมทั้งหมด เพียงแค่เราใส่ระบบการจัดการเข้าไปเท่านั้น


มาเลเชียเขาอยากสร้างแลนด์บริดจ์มานานแล้ว แต่ต้องลงทุนสูง ในการเชื่อมกับกลันตัน เพราะต้องผ่านภูเขาสูง เขาเลยสนใจจะมาเชื่อมกับสงขลามากกว่า เพราะถ้าเชื่อมกับสงขลา มาเลเชียจะได้ประโยชน์มากกว่าเชื่อมกับกลันตัน เพราะจะได้สินค้าจากภาคใต้ของไทย และจากจีนตอนใต้ด้วย

ความจริงแลนด์บริดจ์ เส้น ปีนัง-สงขลา มันมีอยู่แล้ว เพียงแต่พัฒนาต่อยอด เพิ่มระบบการจัดการเข้าไป ลดขั้นตอนการผ่านแดน ขยายความจุท่าเรือสงขลา ฟื้นฟูทางรถไฟให้ไปเชื่อมถึงท่าเรือ ฯลฯ



Create Date : 10 กรกฎาคม 2553
Last Update : 24 กรกฎาคม 2553 15:26:42 น.
Counter : 3464 Pageviews.

1 comments
อุ้มสีมาทำบุญ ๙ วัด ในวันขึ้นปีใหม่ที่จ.อุบลราชธานี อุ้มสี
(3 ม.ค. 2567 19:10:02 น.)
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
ไม่ลอดช่องโหว่ ปัญญา Dh
(2 ม.ค. 2567 13:44:30 น.)
  
น่าสนใจค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูล....
โดย: pim5022 วันที่: 10 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:18:38 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Chuk007.BlogGang.com

chuk007
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด