รู้รอบ เข้าใจชัด กับเรื่อง "บังสุกุล" (ตอนกลาง) คราวก่อนพูดถึงเรื่องบังสุกุล ในความหมายของ "ผ้า" บังสุกุล คราวนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่องบังสุกุล ต่อจากคราวที่แล้ว ได้กล่าวแล้วว่า คำว่า ผ้าบังสุกุล ได้เปลี่ยนความหมายไป จากเดิมที่เป็นที่เขาทิ้งแล้ว ทิ้งไว้ตามป่า ตามกองขยะ แล้วพระสงฆ์ก็ไป "ชัก" ผ้านั้นมา เพื่อทำเป็นจีวร แต่ปัจจุบัน ความหมายเปลี่ยนไปเป็น ผ้าที่ถวายในงานศพ หรือ ผ้าที่ถวายในการอุทิศส่วนบุญกุศลแก่ผู้ล่วงลับ ทีนี้ ในการ "ถวายผ้าบังสุกุล" ในงานศพ หรือถวายในโอกาสการบำเพ็ญกุศลแด่ผู้ล่วงลับนั้นเอง เมื่อพระสงฆ์ จะ "ชัก" ผ้านั้น หรือหยิบผ้านั้น ในขณะที่มีผู้ทอดถวายแล้ว ท่านก็จะกล่าว คาถา (คาถา ในที่นี้ หมายถึงบทร้อยกรองที่เป็นภาษาบาลี ไม่ใช่คาถาอาคมทำให้ขลัง) อยู่สองบท ที่เรียกกันว่า "คำพิจารณาผ้าบังสุกุล" หรือ "บทบังสุกุล" ซึ่งมีสองบท และเรียกต่างกัน เป็น สองแบบ คือ
อนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน (แปลว่า) สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
(แปลว่า) "ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน.
คาถาบทแรกนั้น (อะนิจจา วะตะ สังขารา) ในพระไตรปิฎก มักเป็นคำกล่าวเมื่อพูดถึงมรณกรรม ของบุคคลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น - เมื่อคราวที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธ์ปรินิพพาน พระอินทร์ หรือท้าวสักกะ ได้กล่าวคาถาแสดงความสังเวช ในการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็คือ บท อนิจจา วะตะ สังขารา นี้เอง (มหาปรินิพพาน ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๑๔๗) - พระมหาโมคคัลลานะเถระ ได้กล่าวถึงการปรินิพพานของพระสารีบุตรเถระ เป็นคาถา ความว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรเถระ ผู้เพียบพร้อมไปด้วยอุฏฐานะ เป็นอันมาก (มหาโมคคัลลานะเถรคาถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ข้อที่ ๔๐๐) นอกจากที่เป็นคาถา กล่าวปรารภมรณกรรมของบุคคลแล้ว ก็ปรากฏในภาษิตคาถาของพระเถระบางรูปบ้าง ( เช่น ธัมมะสวนิยะเถราปทาน ขุททกนิกาย เถราปทาน ข้อที่ ๓๔๑) เป็นภาษิตของพระโพธิสัตว์บ้าง ( ดังในปรากฏใน มหาสุทัสสนชาดก ขุททกนิกาย ชาดก ข้อที่ ๙๕ ) เมื่อบท อนิจจา วะตะ สังขารา ฯ นั้น มักกล่าวถึงความตาย เป็นส่วนมาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เป็นบทบังสุกุลตาย ส่วนบทที่เรียกกันว่า บังสุกุลเป็น คือ อะจิรัง วะตะ ยัง กาโย ฯ นั้น เท่าที่ค้นคว้าได้จนตอนนี้ ยังไม่พบในพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆเลย นอกจากในขุททกนิกาย ธรรมบท และคาถานี้ เป็นคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนกับ พระปูติคัตตะติสสะเถระ ผู้ป่วยเป็นโรคตุ่มแผลเน่าเต็มตัว เนื้อหาโดยย่อของเรื่องนี้ก็คือ พระปูติคัตตะติสสะ เป็นชาวเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว มีศรัทธา จึงได้ออกบวช กาลเวลาต่อมา ท่านเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีตุ่มเกิดขึ้นตามร่างกาย ตุ่มนั้นได้ใหญ่ขึ้นจากขนาดเพียงเมล็ดผักกาด เป็นขนาดตุ่มเท่าผลมะตูม และตุ่มนั้นก็แตก เป็นแผลเน่า ร่างกายเต็มไปด้วยเลือดและหนอง พวกภิกษุลูกศิษย์ไม่สามารถอยู่ดูแลท่านได้ จึงละทิ้งท่านไป พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณว่า พระปูติคัตตะติสสะ มีโอกาสจะได้บรรลุธรรม และท่านก็ไม่มีพระภิกษุอื่นดูแล จึงได้เสด็จไปพบท่านพระติสสะนั้น และทรงพยาบาลดูแลท่าน ด้วยพระองค์เอง ( ภายหลังพระภิกษุรูปอื่นได้มาพบ จึงมาขอช่วยพระองค์ในการพยาบาลพระปูติคัตตะ ฯ ด้วย ) เช่น เช็ดเลือดที่ติดตามตัว อาบน้ำอุ่นให้ เช็ดตัวให้แห้ง ให้นุ่งห่มผ้าที่ซักล้างจนแห้งแล้ว เมื่อท่านพระปูติคัตตะติสสะ ได้สรงน้ำอุ่น เลือดและหนองตามตัวถูกชำระล้าง มีร่างกายเบาสบายขึ้นแล้ว พระองค์ทรงประทับยืนที่ด้านศีรษะของท่าน แล้วตรัสแสดงธรรม มีคำว่า "อะจิรัง วะตะยัง กาโย ฯ " เป็นต้น หลังจากจบพระดำรัสเพียงคาถาเดียวนั้นเอง พระปูติคัตตะติสสะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทา และได้นิพพานในขณะนั้นเอง ( เนื้อหาพระธรรมบท เรื่อง พระปูติคัตตะติสสะเถระ นี้ ถ้าหากได้อ่านเต็มๆ จะรู้สึกประทับใจในพระกรุณาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก ที่ทรงพยาบาลภิกษุผู้ป่วยไข้ด้วยพระองค์เอง รวมถึงได้เห็นถึงศักยภาพในการบรรลุธรรมของมนุษย์ ว่า มีหวังในการได้ประโยชน์จากธรรมะ จนถึงแม้วินาทีสุดท้ายของชีวิต ดังนั้นจึงไม่ควรสิ้นหวัง แม้แต่ในการป่วยไข้ จะป่วยหนักเพียงใด ก็ไม่ควรจะสิ้นหวัง) เมื่อพิจารณาความมุ่งหมายในการที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงคาถา " อะจิรัง วะตะ ยัง กาโย ฯ " นี้ ก็จะได้เห็นว่า พระองค์ทรงมุ่งให้พระปูติคัตตะติสสะ ได้พิจารณาร่างกายของมนุษย์ (ในที่นี้คือร่างกายของท่านพระปูติคัตตะ ฯ นั่นเอง) ว่า ไม่มีความเที่ยงแท้ถาวร อีกไม่นานร่างกายนี้ก็ต้องแตกดับ ต้องทอดลงแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ไร้ประโยชน์ ดังนั้นจึงไม่มีแก่นสารอะไรในการจะยึดถือร่างกายนี้ ว่าเป็นตัวเรา ของเรา การพิจารณาความจริงแท้อย่างนี้ ก็จะทำให้มองเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามารถถ่ายทอนความยึดในอัตตา ตัวตนได้ และการพิจารณาอย่างนี้เอง ทำให้พระปูติคัตตะติสสะ บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ ) ทีนี้มาถึงจุดพิจารณาว่า ทำไมจึงเรียกว่า บท อะจิรัง ฯ นี้ เป็นบท บังสุกุลเป็น ก็คงเพราะเหตุว่า เป็นบทที่ "ให้ผู้ยัง เป็น อยู่ ได้พิจารณาสังขารร่างกายของตนเอง" เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เป็น บทบังสุกุลเป็น จึงสรุปได้ว่า ๑. อนิจจา วะตะ สังขารา ฯ - ใช้หมายถึง สังขารที่เกิดขึ้นและดับไป ที่เห็นอยู่ตรงหน้า หรือใช้เพื่อพิจารณาสังขารธรรมโดยทั่วไป = เป็นบทพิจารณาถึงความตาย ๒. อะจิรัง วะตะ ยัง กาโย ฯ - ใช้ย้อนมาพิจารณา สังขารร่างกายของตนเอง ว่า ร่างกายของเรานี้ ไม่นานนักก็ต้องแตกดับไป = เป็นบทพิจารณาถึงความเป็นอยู่ของตนเอง ที่อีกไม่นานก็ต้องตาย เมื่อกล่าวโดยความมุ่งหมายที่แท้แล้ว ทั้ง บท อะนิจจา ฯ และ อะจิรัง ฯ ก็ล้วนแต่มุ่งให้พิจารณาความตายทั้งนั้น
ที่หนักกว่านั้นก็คือว่า เดี๋ยวนี้ ทั้งบท "พิจารณาความจริงของสังขาร" กับ บท "พิจารณาร่างกายที่ไม่นานจะต้องแตกดับ" กลับกลายเป็นบทที่ใช้ในพิธีกรรม สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา ไปได้อย่างไร และตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ ?? เรื่องนี้คงต้องฝากให้คิดกันก่อน คราวหน้าจะมาเฉลย ใน รู้รอบ เข้าใจชัด กับเรื่อง "บังสุกุล" (ตอนจบ) ขอบคุณนะครับ
โดย: ดิว IP: 182.53.78.85 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:18:01:02 น.
ขอบคุณความรู้และที่มาที่ไปเชิงลึกครับ
โดย: ปรีชา IP: 124.122.16.254 วันที่: 8 เมษายน 2556 เวลา:22:19:54 น.
ขอบคุณค่ะ
โดย: มิ้งค์ IP: 180.180.198.58 วันที่: 4 เมษายน 2557 เวลา:18:48:39 น.
แก้ไข ศัพท์นี้ด้วย "อะธิเสสะติ เป็น อะธิเสสสะติ" และ
แก้ไข ศัพท์นี้ด้วย "อะเปตะวิญญาโร เป็น อะเปตะวิญญาโณ" เจริญพร โดย: วฤษชา ญาเณสี IP: 171.5.247.46 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2558 เวลา:16:26:15 น.
ขอยคุณคับ
โดย: sommnonn IP: 49.230.191.241 วันที่: 22 มีนาคม 2561 เวลา:12:55:24 น.
|
บทความทั้งหมด
|