แง่คิดจากกองทุนโนเบล
คุณ ๆ คงเคยได้ยินชื่อ อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล มาแล้ว เขาเกิดในปี พ.ศ. 2376 และถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2439 เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน เป็นผู้คิดค้นทำดินระเบิดจนมั่งคั่ง จึงนำเงินที่ได้มาทั้งหมดตั้งเป็นกองทุนให้รางวัล ชื่อว่ารางวัลโนเบล

เดือนตุลาคมของทุกปี คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบลจะประกาศรายชื่อบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งมีอยู่หลายสาขาด้วยกันเช่น สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ อักษรศาสตร์ รวมทั้งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สำหรับผู้ที่นำสันติสุขมาสู่โลกมนุษย์ในรอบปี

ผู้ที่ได้รางวัลโนเบล ถือเป็นเกียรติยศสูงสุดของชีวิต ทุกคนไม่เพียงแต่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ยังจะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐอีกด้วย

แต่ละปีคณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบล จะประกาศให้รางวัลรวม 5 สาขาด้วยกัน หมายความว่าทุกปีต้องจ่ายเงินรางวัล 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จึงมีคนอดถามไม่ได้ว่า กองทุนรางวัลโนเบลมีจำนวนเงินมากน้อยแค่ไหน จึงแบกรับภาระจ่ายเงินรางวัลจำนวนมหาศาลได้ทุกปี

อันที่จริงความสำเร็จของกองทุนรางวัลโนเบล นอกจากเงินทุนของ อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบลแล้ว ต้องยกประโยชน์ให้แก่คณะกรรมการรางวัลโนเบลที่ลงทุนอย่างถูกทาง

กองทุนรางวัลโนเบลก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2439 ด้วยเงินบริจาคจาก อัลเฟรด เบิร์นฮาร์ด โนเบล จำนวน 9,800,000 ดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน เพื่อจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ฉะนั้นการบริหารเงินกองทุนจะเกิดข้อผิดพลาดไม่ได้เด็ดขาด

เพราะเหตุนี้ตอนแรกจัดตั้งกองทุน ในระเบียบข้อบังคับระบุไว้อย่างชัดเจน ให้ลงทุนในกิจการที่มั่นคง ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอน เช่นฝากเงินกับธนาคารและซื้อพันธบัตร ไม่สมควรลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจที่ดินซึ่งมีความเสี่ยงสูง

นี่เป็นวิธีการลงทุนที่ปลอดภัย แต่ผลจากการยอมสละผลตอบแทนสูง ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ปรากฏว่า 50 ปีให้หลัง เงินรางวัลที่จ่ายออกไป บวกกับค่าใช้จ่ายในกิจกรรมของกองทุน เงินทุนของกองทุนรางวัลโนเบลหดหายไปถึงสองในสาม และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2496 เงินกองทุนก็ลดลงเหลือเพียง 3,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐเท่านั้น

คณะกรรมการบริหารกองทุนรางวัลโนเบล พอเห็นเงินกองทุนร่อยหรอลง ค่อยตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อปี พ.ศ. 2496 จึงแก้ไขข้อบังคับกองทุน จากเดิมซึ่งอนุญาตให้ฝากเงินธนาคารกับซื้อพันธบัตร เปลี่ยนเป็นลงทุนในตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก

ผลจากการเปลี่ยนแนวความคิดในการลงทุน ช่วยพลิกสถานะทางการเงินของกองทุนรางวัลโนเบล หลังจากนั้นเป็นต้นมาสามารถจ่ายเงินรางวัลโนเบลตามเดิมติดต่อกัน 40 ปี เมื่อถึง พ.ศ. 2536 ทางกองทุนไม่เพียงทำกำไรในส่วนที่ขาดทุนไปกลับคืนมา สินทรัพย์สุทธิของกองทุนรางวัลโนเบลยังสุงถึง 270 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ถ้าหากไม่เปลี่ยนแนวความคิดในการลงทุน ยังคงฝากเงินไว้กับธนาคารเป็นหลัก ทุกวันนี้คงไม่มีปัญญาจ่ายเงินรางวัล และคงจะล้มหายตายจากโลกไปแล้ว

จากบทเรียนของกองทุนรางวัลโนเบล ทำให้กองทุนของสหรัฐอเมริกาจำนวนมากเปลี่ยนแปลงวิธีการลงทุน แทนที่จะฝากเงินกับธนาคารหรือซื้อพันธบัตร จึงพากันหันไปซื้อหุ้นและถือครองอสังหาริมทรัพย์แทน

คุณ ๆ อยากให้เงินทองที่หามาด้วยความยากลำบากผ่านไปอีกหลายสิบปี กลับหดตัวเหมือนกับกองทุนโนเบลในระยะแรก หรือเติบโตแบบก้าวกระโดดในภายหลัง ?
ปัญหาอยู่ที่คุณลงทุนในรูปแบบอะไร ถ้าหากยังฝากเงินไว้กับธนาคาร รู้ตัวตอนนี้ยังไม่สาย กองทุนรางวัลโนเบลเพียงปรับเปลี่ยนแนวความคิดในการลงทุน ทุกอย่างก็พลิกฟื้นดีขึ้น และอยู่รอดปลอดภัยจนถึงทุกวันนี้

-----------------------------------------------------------

เป็นบทความดี ๆ อีกบทความนึงจากหนังสือขายดีมาก ๆ (พิมพ์ซ้ำกว่า 250 ครั้ง) ที่ไต้หวัน ซึ่งหมีพูได้อ่านมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิตปี พ.ศ. 2540 ที่ช่วยจุดประกายการลงทุนให้หมีพูในเวลาต่อมา (คงจะตอบคำถามหลายคนได้นะครับ ที่เคยสงสัยกันว่าทำไมหมีพูถึงรับความเสี่ยงได้สูงมากๆ เพราะชอบแนะนำให้ลงทุนในหุ้น/กองทุนหุ้น)

แสดงให้เห็นว่าการลงทุนสร้างฐานะไม่ต้องมีเทคนิคพิเศษอะไรซับซ้อน นอกจากขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัดและอดออมแล้ว ยังอยู่ที่การปรับเปลี่ยนแนวความคิดในการลงทุนให้ถูกต้องด้วยครับ

-----------------------------------------------------------
คุณสามารถติดตามบทความดี ๆ ที่น่าสนใจเหล่านี้ได้ โดยคลิก MyBlog ของหมีพู ซึ่งอยู่หลังอมยิ้มครับ




Create Date : 30 กันยายน 2550
Last Update : 30 กันยายน 2550 17:48:31 น.
Counter : 1267 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Chaijit.BlogGang.com

หมีพูหมูพี
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]

บทความทั้งหมด