cognitive behaviour and investment
ช่วงหลังๆนี้เริ่มหันมาสนใจวิธีในการพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมตัวรองรับแรงกระแทกที่เกิดจากขนาดของพอร์ตที่เพิ่มมากขึ้น

ถ้าคนที่เริ่มต้นด้วยเงินน้อยๆแล้วสามารถทำกำไรได้มากๆ ผมคิดว่าน่าจะเจอปัญหาแบบนี้ทุกคน เพราะว่าเราแต่ละคนให้ค่าของเงินแต่ละบาทไม่เท่ากัน ในขณะที่เวลาลงทุนเงินแต่ละบาทเราต้องตีค่าให้เท่ากัน (เช่นได้เงินหนึ่งหมื่นกับเสียเงินหนึ่งหมื่น มีมูลค่าเท่ากัน แต่ต่างกันที่จิตใจ) ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาที่สำคัญเหมือนกัน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีพอร์ต 10000การทำกำไร100เปอร์เซนต์เป็นเงิน20000 บาท แต่ถ้าเราพอร์ต1000000 กำไร100เปอร์เซนต์คือ สองล้านบาท -เห็นไหมครับ กำไร100เปอร์เซนต์ แต่จำนวนเงินต่างกันมหาศาล
ดังนั้นเราต้องทำให้รู้สึกแค่ถึงแค่กำไร100เปอร์เซนต์ ไม่ใช่จำนวนเงิน


ผมจึงมองว่า ตรงนี้เป็นจุดอ่อน ของคนที่ขาดการพัฒนาแนวคิดตรงนี้ เพราะปัญหาของการรีบขายก็เกิดจากตรงนี้ ทำให้ไม่ได้let profit run แต่ว่าพอตอนขาลง กลับไม่กล้าขาย let loss runซะมากกว่า
ยิ่งไปกว่านั้น ผมเชื่อว่าถ้าเราไม่สามารถพัฒนาและเข้าใจแนวคิดตรงนี้ได้แล้ว เราจะไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่นักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ได้เลย

ตอนต่อไป "เข้าใจcognitive thinking"


สงวนลิขสิทธิ์ตาม กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย พ.ศ. 2537 ,ถ้าต้องการเผยแพร่กรุณาบอกกล่าวกันก่อนนะครับ



Create Date : 25 ธันวาคม 2551
Last Update : 17 มกราคม 2552 19:01:30 น.
Counter : 1191 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Cad.BlogGang.com

galadinner
Location :
Paris  France

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]