:: Active Writing - Passive Writing ::
คอร์สนัก (อยาก) เขียน  จัดโดย จอยรักคลับ  คลับของการเรียนรู้ไม่รู้จบ
แค่ชื่อคอร์สก็โดนในใจเราแล้ว ...เราก็เลยติดตามกิจกรรมของคลับแห่งนี้ 
...จนกระทั่งคอร์สนัก (อยาก) เขียน เวียนมาลงตัวในวันหยุด ... 



โตมร ศุขปรีชา วิทยากรที่เราแค่ "คุ้นๆ ชื่อ" ภาพปกหนังสือที่ประกอบการประชาสัมพันธ์ก็ "คุ้นๆ ตา"
ไปรื้อกองหนังสือดูก็พบว่าเราซื้อ "การเดินทางระหว่างหู" มาแล้ว และยังคงเป็น "กองดอง" อยู่อย่างนั้น
พอตัดสินใจว่า เวลาได้  วิทยากรเป็นบรรณาธิการ คอลัมนิสต์ นักเขียน และนักแปล ..หลายอย่างดี ก็เลยตกลงใจเข้าร่วมกิจกรรม
แล้วก็หยิบเอาหนังสือที่ดองไว้มาอ่านล่วงหน้า เผื่อว่าจะทำความรู้จักวิทยากรได้ในระดับหนึ่ง
แต่จนกระทั่งถึงวันอบรม เราก็ยังอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่จบ ...เพราะมัวเมาอยู่กับนิยาย  Smiley



แล้วก็มาถึงวันเสาร์ ...วันแรกของการอบรม ซึ่งเราใช้สิทธิ์หยุดชดเชยการทำงานแทนการลาพักร้อน 
มุ่งหน้ามายัง "จอยรักคลับ" ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ ที่หายากสุดๆ  แต่เคยมา 2 ครั้งแล้ว ครั้งนี้ก็ไม่หลงทางอีก 
มีเพื่อนร่วมรุ่นหลากหลายอาชีพ แต่เด็กกว่าเราหมดเลย  Smiley  และที่ตลกคือ เจอคนรู้จักในห้องอบรมด้วย
ปกติก็เจอกันในห้องบรรยายของมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือไม่ก็ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติบ้าง 
ไม่คิดว่าจะเจอกันในคอร์สการเขียน เช่นนี้ 

คุณหนุ่ม "สอนไป คุยไป" มีเรื่องเล่าจากวงการนิตยสารหลั่งไหลออกมาให้เราเก็บเกี่ยว 
สอดแทรกไปกับ "วิธีคิด ก่อนผลิตงานเขียน" ออกมาเป็นระยะๆ  
ไม่น่าเชื่อว่า ครั้งนี้เราตั้งใจจดข้อมูลจาก powerpoint ออกมาเยอะมาก 
ขอสรุปเป็นบันทึกความทรงจำไว้แต่เพียงคร่าวๆ ก็แล้วกันนะ 

Active Writing - เป็นการเขียนเพื่อคนอื่น มีลำดับขั้นตอน และต้องใช้สติควบคุมในขณะที่เขียน 
Passive Writing - เป็นการเขียนเพื่อตนเอง ปล่อยให้ความคิดไหลลื่นออกมาเป็นตัวอักษร และต้องใช้สมาธิในขณะที่เขียน 

:: กระบวนการเขียน ::
1. หาไอเดีย - มีความรู้สึก  คิดเรื่องในเชิงสารคดี มีความสงสัย และตั้งคำถาม
2. สำรวจความคิด - มองโลกเป็นโกดังความคิด ทำตัวเป็นนักสำรวจ เชื่อมโยงความคิด เพื่อหาคำตอบ
3. รวบรวมหลักฐาน - ออกสู่ภายนอก เข้าไปในหนังสือ พูดคุยกับผู้คน หรืออยู่นิ่งปล่อยให้ข้อมูลไหลเข้ามา รวบรวมทุกสิ่งอย่างละเอียด
4. หาจุดโฟกัส - ต้องรู้ว่าเรากำลังจะเขียนอะไร และรู้สึกกับเรื่องนั้นๆ อย่างแท้จริง ก้าวออกจากกรอบแล้วมองเข้ามาจากหลายๆ มุม จุดโฟกัสนั้นคือการตอบหรือไม่ตอบคำถามที่เราตั้งขึ้น
5. เลือกสิ่งที่ดีที่สุด - เลือกใช้ขัอมูลอย่างแหลมคม อย่าจมอยู่กับข้อมูลมากมาย ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป มันอาจดีแต่อาจทำให้เรื่องโดดออกไปก็ได้
6. เรียงลำดับความคิด - สร้างโครงคร่าวๆ เป็นการ "สลักเสลา" วิธีการนำเสนอ 
7. เขียน - ร่างแรก แล้วจึง "แกะสลัก" สดๆ โดยไม่ต้องวางแผน 
8. ทบทวน - ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการของตัวเอง ตกแต่งคำถามและคำตอบให้สวยงาม 

ข้อสรุปปิดท้ายวันแรกคือ งานเขียนคืออดีต แม้ว่าเราจะเขียนถึงเรื่องในอนาคตก็ตาม

ในวันนั้น คุณหนุ่มใช้เพลงเป็นตัวกระตุ้น กระเทาะกำแพงความคิด ให้พวกเราได้เขียนอะไรก็ได้จากเพลงที่ได้ฟัง 
"Why worry"  ทำให้เราได้งานเขียน 1 ชิ้นในเวลา 30 นาทีที่เราไม่รู้ว่าจะเรียกมันว่าเป็นงานเขียนประเภทไหน 
งานนี้ เพียงต้องการให้เพื่อนๆ ลองวิเคราะห์ดูว่า ผู้เขียนมี "กระบวนการคิดอย่างไร" จึงได้งานเขียนชิ้นนี้ โดยแลกกันวิเคราะห์ 
โดยที่คุณหนุ่มจะแนะวิธีคิด วิธีวิเคราะห์เสริมเป็นช่วงๆ  แล้วก็ให้การบ้านมาทำ 
ซึ่งก็คือ นำเอางานเขียนชิ้นนั้น มาพัฒนาต่อยอด  สลักเสลา ขัดเกลา อีกครั้ง  ดูซิว่าจะเป็นอย่างไร
หรือจะเขียนเรื่องใหม่ จากสิ่งที่ได้พบเห็นระหว่างทางกลับบ้าน แล้วเข้ามา "กระทบใจ"  ก็ได้ 

กลับบ้านมา เราหยิบเอางานเขียนร่างแรก มาพิมพ์ไว้ก่อน ได้ 1 หน้า A4
จากนั้นก็ ค่อยๆ ตัดสิ่งที่เกินๆ เติมสิ่งที่ขาด  จนได้งานเขียนชิ้นใหม่ 3 หน้า A4
เราอ่านเองแล้วก็ OK อยู่ เป็นเรื่องเล่าอีกเช่นเคย 



วันอาทิตย์ วันสุดท้ายของคอร์ส เพื่อนร่วมห้องหายไป 1 คนเพราะติดธุระ 
วันนี้เรื่องราว "ลงลึกเข้าไปในจิตใจ" พอจะสรุปใจความได้ว่า 

การเขียนแบบ Active ผู้เขียนต้องคำนึงถึง target : ทำไมเราต้องอยากให้เขาอ่าน เราต้องการการตอบสนองแบบไหนจากผู้อ่าน 
ในขณะที่การเขียนแบบ Passive ถามตัวเองว่า เขียนทำไม เพราะอะไร  และเขียนออกมาในแบบที่ เราเป็น ไม่ใช่ พยายามจะเป็น
ดังนั้น เราจึงต้องสำรวจภายใน หรือสำรวจ "ทุน" ของตัวเราซะก่อน  

ถึงตรงนี้ ศัพท์แสงเชิงศาสนาเข้ามาเพียบ  จดไว้
แล้วค่อยไปหาหนังสือของท่านติช นัท ฮันห์ ที่อาจารย์ระวีแปล มาอ่านจะเข้าใจยิ่งขึ้น
อาจจะบอกแบบง่ายๆ ได้ว่า  

งานเขียนที่ไหลลื่น จะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นมากระทบ 
และระบบความคิดจะขุดดึงเอาเรื่องราว ประสบการณ์ สิ่งที่ฝังอยู่ในกมลสันดานขึ้นมา
ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง เรียงร้อยถ้อยคำ ถ่ายทอดออกมาเป็น "งานเขียน" 

คราวนี้ โจทย์ที่เราได้เขียน ก็คือ "คำ" บนกระดาน คำไหนกระทบใจเราให้เขียนเรื่องจากคำนั้น
คล้ายๆ กับกิจกรรม "ตะพาบ" ของเพื่อน Bloggang นั่นแหละ  แต่มีเวลาไม่ถึงชัวโมง 
สำหรับเรา "คำ" ไม่กระตุ้นเร้าได้มากเท่ากับ "เพลง"  ก็เลยเขียนออกมาได้แค่ครึ่งหน้า 
ซึ่งเมื่ออ่านแล้ว เราอยากตัดตอนต้นเรื่องออก หรือไม่ก็น่าจะต้องเขียนต่ออีกหน่อย 
แต่นั่นแหละ ...เวลาจำกัด เอาไว้ขัดเกลา เมื่อฟัง comment แล้ว

ช่วงท้ายจึงเป็นเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์ล้วนๆ  รวมไปถึงวิจารณ์การบ้านที่ส่งไปด้วย 
ผลของเราคือ ชิ้นใหม่ในห้องเรียนที่เราเขียนจากคำว่า "มอเตอร์ไซค์" 
ประเด็นที่นำเสนอยังไม่ชัดเจนพอ และควรตัดตอนต้นเรื่อง (เหมือนที่เราคิดไว้เลย) 
ส่วนการบ้าน ...เมื่อมีเวลาให้คิด  งานที่ต่อยอดออกมาจึง "ดีกว่า" งานเร่งรีบเมื่อวาน
โดยมีการใช้ภาษาที่ดี (พอสมควร) และ comment สุดท้ายคือ "ให้ระมัดระวังเรื่องการสะกดคำ" Smiley
Smiley comment นี้ได้รับทุกครั้งที่เขียนงานส่ง ....
เรามักจะ "พิมพ์ผิด" "พิมพ์ตก" และ "พิมพ์เกิน" อ่านทวนแค่รอบ สองรอบ จะพลาดนิด พลาดหน่อย 

คราวนี้ต้องกลับมาเอาจริงเอาจังกับการพิมพ์ให้มากถึงมากที่สุด 
ต้องหาวิธีแก้ไข ถ้าคิดจะเอาดีทางการเขียนอ่ะนะ ....
หรือไม่ก็ควรต้องรอบคอบในการตรวจทานให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น 

ส่วน comment จากงานของเพื่อนๆ ที่เราจดกลับมาเป็นเทคนิคที่น่าสนใจก็คือ 

วิธีการใช้ประโยคเดียว เป็นหนึ่งย่อหน้า 
วิธีการเขียนทิ้ง  ให้เกิดความคลุมเครือ 
การเขียนนั้น มีทั้งแบบ "บอกให้รู้" และแบบ "แสดงให้เห็น" 

ซึ่งก็คือ การเขียนแบบ active และ passive ที่เราเรียนมาตลอด 2 วัน นั่นเอง

สำหรับงานเขียนจากการอบรมทั้ง 2 วันนี้  เมื่อขัดเกลาแล้ว จะเขียนใน blog ให้เพื่อนๆ comment บ้าง 




Create Date : 20 มกราคม 2556
Last Update : 24 กรกฎาคม 2556 21:26:52 น.
Counter : 949 Pageviews.

4 comments
15 เมษายน 2567 คุกกี้คามุอิ
(15 เม.ย. 2567 04:15:53 น.)
๏ ... คืนฟ้าไร้ดาว ... ๏ นกโก๊ก
(14 เม.ย. 2567 09:49:36 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
เรื่องเล่าที่ไม่เกี่ยวกับวันสงกรานต์ tanjira
(13 เม.ย. 2567 16:10:32 น.)
  
จะรออ่านปลงานคุณนัทธ์นะคะ
คราวหน้ามีงานอีกอาจจะได้เจอกันนะ
งานนี่ก็เกือบเจอแล้ว ติดไปตจวเสียก่อน
โดย: narumol_tama วันที่: 21 มกราคม 2556 เวลา:9:14:54 น.
  

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานเขียนเยอะเลยครับ ครอสอบรมการเขียนแบบนี้ผมอยากไปเข้าเรียนด้วยจังเลยครับ แต่ติดเรื่องค่าเล่าเรียนครับ ช่วงนี้ผมเลยพยายามมองหาแต่ครอสที่เปิดอบรมให้เรียนฟรีอย่างเดียวครับ แต่ก็ไม่ค่อยจะมีเลยครับ

อิอิ
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 21 มกราคม 2556 เวลา:20:14:31 น.
  
ทามะจัง >> ขอเกลาอีกนิดนะคะ

อาคุงกล่อง >> ถ้าเรารู้ข่าวคราวจะไว้ในที่กลุ่มนะคะ และถ้าเราได้ไปร่วมอบรม ก็จะนำมาบอกเล่าต่ออย่างนี้แหละ
โดย: นัทธ์ วันที่: 21 มกราคม 2556 เวลา:21:05:33 น.
  
ที่BACCเขามีคอร์สอบรมการเขียนเช่นกันนะคะ ปีนี้น่าจะจัดอบรมเร็วๆนี้
โดย: กิจ IP: 183.88.250.18 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:7:49:06 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Bookkii.BlogGang.com

นัทธ์
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]