รอให้ถึงเกษียณ ก็สายเสียแล้ว

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาได้เกือบ 10 ปีแล้ว และอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ก็กำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์  นั่นหมายถึง ในทุก ๆ ประชากร 10 คนจะมีคนที่อายุเกินกว่า 60 ปีอยู่ถึง 2 คน ความจริงตัวเลขอย่างนี้สำหรับเรา ๆ ก็ดูไม่น่าตกใจอะไร แต่ในเชิงของโครงสร้างประชากรที่คำนึงถึงการเจริญเติบโตและสภาพเศรษฐกิจสังคมแล้ว นับว่าเป็นแนวโน้มที่ไม่น่าพิสมัยสักเท่าไร  Smiley

 

และนับวันแนวโน้มนี้ก็ยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยก็ยิ่งสูงขึ้น ปัจจุบันอยู่ที่ 73 ปี ซึ่งอาจจะน้อยกว่าคนญี่ปุ่นที่มีอายุเฉลี่ยถึง 83 ปีก็ตาม แต่นี่ก็นับว่ามากแล้วหากเทียบกับสมัยก่อน และลองคิดดูว่า ปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่จะเกษียณออกจากงานเมื่ออายุ 60 ปี ที่บอกว่า “ปัจจุบัน” เพราะมีแนวโน้มว่าในอนาคตอาจจะปรับเป็น 65 ปี เหมือนในบางประเทศก็ได้ (จะดีใจหรือเสียใจดีล่ะเนี่ย ?!Smiley )

แต่ไม่ว่าจะเกษียณที่ 60 ปี หรือ 65 ปี คำถามคือ แล้วเราจะใช้ชีวิตที่เหลือต่อไปอีก 10 ถึง 20 ปีนี้อย่างไรดี ?   Smiley

 

บางคนอาจจะดีใจและรอคอยให้ถึงเวลาที่เกษียณออกจากงานเพื่อจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่เสียที Smiley ...แต่พอถึงเวลานั้นเข้าจริง ๆ อาจไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ ยิ่งหากไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับการเปลี่ยนแปลงไว้บ้างเลยจะยิ่งมีปัญหา หลายคนอยู่ในสภาพหดหู่ เคว้งคว้าง หากปล่อยไว้นานวันเข้าก็กลายเป็นความเครียดสะสมและเป็นโรคซึมเศร้าเอาง่าย ๆ เพราะการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมอย่างกะทันหัน จากที่เคยใช้ชีวิตรีบเร่งออกไปทำงานแต่เช้าทุกวัน มาเป็นชีวิตที่อิสระ เอาแต่พักผ่อนนอนเล่นไปวัน ๆ ...อย่าว่าแต่วัยชราเลย ไม่ว่าวัยไหนก็ไม่มีความสุขอย่างที่หวัง เพราะชีวิตขาดความสมดุล การพักอย่างนี้เป็นการพักผ่อนทางกายก็จริง แต่สำหรับทางใจแล้วกลับทำให้ชีวิตไม่มีคุณค่า เกิดความรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ Smiley 

 

การพักผ่อนที่ดีและได้สมดุลในช่วงหลังเกษียณ ควรเป็นการพักผ่อนที่มีกิจกรรมอะไรสักอย่างทำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเอง หากยังแข็งแรงและมีไฟอยู่ก็ควรหางานทำเป็นเรื่องเป็นราว แต่ควรเป็นงานที่ทำประโยชน์เพื่อชุมชนหรือสังคมจะเหมาะกว่า  ถ้าได้เงินด้วยก็ดี แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะสิ่งที่ทำนั้นเป็นการเติมเต็มคุณค่าและความอิ่มใจ ถือว่าเป็น "กำไร" ชีวิตอยู่แล้ว Smiley 

หลายคนอาจจะคิดว่า อายุก็ปูนนี้ แค่ไม่ทำตัวให้เป็นภาระก็น่าจะดีนักหนาแล้ว แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า บ่อยครั้งที่ช่วงวัยนี้เป็นวัยที่สุกงอม พร้อมทำประโยชน์และคุณค่าให้สังคมได้มากมาย เพราะในวัย 60-70 ปี สำหรับใครหลายคนแล้วเรียกว่าทั้งกำลังกายกำลังใจแทบไม่ได้ถดถอยลงไปเลย หนำซ้ำยังมีไฟคุกรุ่นและอยู่ในสภาพ "ขิงแก่" ที่สั่งสมประสบการณ์ไว้อย่างเต็มเปี่ยม เพื่อให้บรรดารุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และขอแบ่งปันคุณค่าที่มาพร้อมกับวันวัยของพวกท่านได้อย่างไม่รู้จบ Smiley 

หรือบางคนอาจจะอยากพักผ่อนโดยหางานอดิเรกที่ชอบทำ หรือจะช่วยเลี้ยงหลานบ้างก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องไม่ทำอะไรที่เป็นการฝืนกำลังจนเกินไป เพราะการใช้ร่างกายอย่างหักโหมในวัยสูงอายุเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์

บางคนหลังเกษียณแล้วก็กลายเป็นคนหงุดหงิดง่าย จู้จี้ ขี้บ่น เพราะคนวัยเกษียณมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องกังวล ไหนจะเรื่องเงินที่ไม่รู้ว่าจะมีพอใช้ไปได้ถึงเมื่อไร เรื่องสุขภาพของตัวเองที่ไม่เหมือนเดิม เจ็บตรงนั้นบ้าง ปวดตรงนี้บ้าง ทั้งหาหมอก็แล้ว กินยาก็แล้ว แต่บางครั้งก็เป็นความเจ็บป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุ กลายเป็นเหตุก่อความทุกข์ใจให้ผู้สูงอายุก็ไม่น้อย หนำซ้ำพอปริปากบ่นไปก็ไม่มีใครเข้าใจ หาว่าเป็นคนแก่ขี้อ้อนเสียอีก Smiley 

แล้วยังมีเรื่องหลักประกันในอนาคต เจ็บไข้ขึ้นมาใครจะดูแล ?  หากไม่มีลูกหลานจะทำอย่างไร ?  หรือถึงมีลูกมีหลาน แต่การมาอาศัยอยู่ร่วมบ้านกันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงภายนอกจะดูอบอุ่นและรักกันดี แต่รายละเอียดในการใช้ชีวิตที่ต่างกันก็อาจสร้างความอึดอัดใจได้โดยไม่รู้ตัว ...ปัญหาของผู้สูงอายุนั้นมีจิปาถะและก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจริง ๆ

ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางแก้ เพียงแต่ต้องอาศัยการเตรียมการและรับมืออย่างเหมาะสม

แต่ถ้าใครยังมองไม่เห็นทางออก หรือไม่รู้เลยว่าจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไร ในฐานะที่ตัวเองต้องเข้าสู่วัยชราเข้าสักวัน และในฐานะที่เราเองก็มีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล เราก็คงอยากทำให้พวกท่านสุขกายสบายใจ และมีชีวิตที่สดใสไปอีกนาน ๆ  ก็ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้เลย...  

รอให้ถึงเกษียณ ก็สายเสียแล้ว

  

หนังสือที่เขียนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ที่นำประสบการณ์ตรงทั้งจากการเป็นแพทย์และเป็นผู้สูงอายุ มาบอกเล่าให้เห็นภาพอย่างชัดเจนและครอบคลุมทุกเรื่องเกี่ยวกับคนวัยเกษียณ ทั้งเรื่องวิธีใช้ชีวิตเพื่อเติมความสดชื่นมีชีวิตชีวา เรื่องอาหารและการออกกำลังกาย ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว วิธีจัดการกับความหงุดหงิด ความรู้สึกไม่มั่นคงในอนาคต การเตรียมพร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย การประกันสุขภาพ การป้องกันการถูกหลอกลวง การจัดการทรัพย์สิน ฯลฯ (ลองชมสารบัญได้ ที่นี่ หรือชมตัวอย่างเนื้อหาได้ ที่นี่ 

เรียกว่าอ่านตอนนี้ ก็นำไปใช้ได้ตอนนี้เลย ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน... เพราะคนที่จะเตรียมพร้อมในเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เฉพาะตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น แต่ต้องเป็นทุกคนในครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เราเองในฐานะที่เป็นลูกเป็นหลานก็ควรเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของพวกท่านไว้ จะได้ปรับตัวเข้าหากัน ไม่มีเรื่องให้กระทบกระทั่งหมางใจกัน ถ้าเข้าอกเข้าใจกันได้ บ้านของเรา ครอบครัวของเราก็จะมีความสุข เต็มไปด้วยรอยยิ้มและความอบอุ่น

...ยังไงก็ขอให้ก้าวข้ามกำแพงแห่งวัยนี้ไปได้พร้อม ๆ กันนะคะ Smiley 

 

 

 

 

 

 

 

 




Create Date : 03 มิถุนายน 2556
Last Update : 3 มิถุนายน 2556 13:07:49 น.
Counter : 5734 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Book4u.BlogGang.com

textbook
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]

บทความทั้งหมด