มงคลที่ ๐๘ มีศิลป...คุณสมบัติของผู้สามารถมีศิลปะ
"เราปลูกมะม่วง จะอิ่มจะรวยอยู่ที่ผลของมัน ช่วงแรกที่ปลูก มีลำต้นกิ่งใบ เป็นเพียงระยะเตรียมตัว เพื่อที่จะได้ผล เช่นเดียวกัน ความรู้ทุกอย่างหรือความเป็นพหูสูตที่เรามีอยู่ เป็นเพียงการเตรียมตัวเท่านั้น จะช่วยเราได้จริง ต่อเมื่อเรามีศิลปะ สามารถนำออกมาใช้ได้อย่างดีเท่านั้น"  



  • ศิลปะคืออะไร ?

ศิลปะ แปลว่า ฉลาดทำ คือ ทำเป็นนั่นเอง


พหูสูตนั้นเป็นผู้ฉลาดรู้ เรียนรู้ในหลักวิชา รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้ว่าอะไรทำอย่างไร ส่วนศีลปะ เป็นความสามารถในทางปฏิบัติ คือสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ให้บังเกิดผลได้


คนที่มีความรู้นั้น ไม่ใช่ว่าจะมีศิลปะทุกคน เช่น รู้วิธีหุงข้าว ว่าจะต้องเอาข้าวสารใส่หม้อซาวข้าว แล้วใส่น้ำยกขึ้นตั้งไฟ น้ำเดือดสักพักก็รินน้ำข้าวออกดงให้ระอุอีกครู่หนึ่ง ก็คดข้าวออกมากินได้ นี่คือหลักวิชา แต่คนที่รู้เพียงเท่านี้ไม่แน่นักว่าจะหุงข้าวกินได้ทุกคน อาจจะได้ข้าวดิบบ้าง แฉะบ้าง ไหม้บ้าง เพราะ ไม่มีศิลปะในการหุงข้าว ฉลาดรู้แต่ยังไม่ฉลาดทำ


เรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะขับรถยนต์ เตะตะกร้อ ว่ายน้ำ ทำกับข้าว ลองดูก็ได้ว่า ถ้ารู้แต่ทฤษฎีอย่างเดียวจะทำได้หรือไม่



  • ประเภทของศิลปะ

ทางกาย คือ ฉลาดทำการช่างต่าง ๆ เช่น ช่างทอ ช่างเครื่อง ช่างวาด ช่างออกแบบ ช่างปั้น ช่างภาพ ช่างพิมพ์ รวมทั้งฉลาดในการทำอาชีพอื่น ๆ เช่น การทำสวน ทำไร่ ปลูกพืชผัก การเขียนหนังสือ การตรวจคนไข้ ตลอดจนถึงการยืน เดิน นั่ง นอน อย่างมีมารยาท การแต่งตัวให้เหมาะสม การต้อนรับแขก การแสดงความเคารพ การสำรวมกายก็จัดเป้นศิลปะทั้งสิ้น


ทางวาจา คือ ฉลาดในการพูด มีวาทศิลป์ รู้จักเลือกพูด แต่สิ่งที่ดีเป็นประโยชน์สามารถยกใจของผู้พูดและผู้ฟังให้สูงขึ้นได้


ทางใจ คือ ฉลาดในการคิดมีสติสัมปชัญญะ สามารถควบคุมความคิดให้คิดไปในทางที่ดี คิดในทางสร้างสรรค์ คิดในทางที่ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยย่อ ศิลปะ จึงหมายถึง คิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น



  • องค์ประกอบของศิลปะ

สิ่งที่ทำแล้วจัดว่าเป็นศิลปะ ต้องประกอบด้วยองค์ ๖ ดังนี้

๑.ทำด้วยความประณีต

๒.ทำให้สิ่งของต่าง ๆ มีค่าสูงขึ้น

๓.ทำแล้วส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

๔.ทำแล้วไม่ทำให้กามกำเริบ

๕.ทำแล้วไม่ทำให้ความคิดพยาบาทกำเริบ

๖.ทำแล้วไม่ทำให้ความคิดเบียดเบียนกำเริบ



  • คุณสมบัติของผู้สามารถมีศิลปะ

๑.ต้องมีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่จะทำว่าเป็นสิ่งดีจริง มีประโยชน์จริง มีใจรักที่จะทำ และมีความตั้งใจมั่นว่าเป็นสิ่งดีจริง มีประโยชน์จริง มีใจรักที่จะทำ และมีความตั้งใจมั่นว่าจะต้องทำให้เสร็จ

๒.ต้องไม่เป็นคนขี้โรค รู้จักระวังรักษาสุขภาพของตัวเอง

๓.ต้องไม่เป็นคนขี้โม้ขี้คุย คนโอ้อวดไม่มีใครอยากสอน ไม่มีใครอยากแนะนำ คนพวกนี้มัวแต่อวด มัวแต่คุย จนไม่มีเวลาฝึกฝีมือตัวเอง

๔.ต้องไม่เป็นคนขี้เกียจ มีความมานะพากเพียร อดทน

๕.ต้องเป็นคนมีปัญญา รู้จักพินิจพิจารณาช่างสังเกต



  • วิธีฝึกตนให้มีศิลปะ

๑.ฝึกตนเองให้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักหาจุดเด่นของสิ่งรอบตัว

๒.ตั้งใจทำงานทุกอย่างที่มาถึงตนให้ดีที่สุด อย่าดูถูกงาน อย่าเกี่ยงงาน

๓.ตั้งใจทำงานทุกอย่างด้วยความประณีต ละเอียดลออ

๔.ตั้งใจปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ ไม่ทำอะไรอย่างชุ่ย ๆ ขอไปที

๕.หมั่นใกล้ชิดกับผู้มีศิลปะอย่างแท้จริงในสายงานนั้น ๆ

๖.ฝึกสมาธิอยู่เสมอ เพื่อให้ใจสงบผ่องใส เกิดปัญญาที่จะฝึกและปรับปรุงตนเอง ให้มีคุณสมบัติของผู้มีศิลปะได้



  • ข้อควรระวัง

อย่าเอาแต่จับผิดผู้อื่น ไม่เช่นนั้นตัวเราจะกลายเป็น “ศิลปินนักติ” คือ ดีแต่ติผลงานของผู้อื่นเรื่อยไป ติคนอื่นไว้มาก เลยไม่กล้าแสดงฝีมือ เพราะกลัวคนอื่นจะติเอาบ้าง สุดท้าย เลยกลายเป็นคนไม่มีผลงาน ทำอะไรไม่เป็น



  • อานิสงส์การมีศิลปะ

๑.ทำคนให้เป็นคน

๒.ทำคนให้ดีกว่าคน

๓.ทำคนให้เด่นกว่าคน

๔.ทำคนให้เลิศกว่าคน

๕.ทำคนให้ประเสริฐกว่าคน

๖.ทำคนให้สูงกว่าคน

๗.ทำคนให้เลี้ยงตัวได้

๘.ทำคนให้ฉลาด

๙.ทำคนให้มั่งคั่งสมบูรณ์

๑๐.ทำคนให้ประเสริฐ

๑๑.ทำคนให้ได้รับความสุขทั้งโลกนี้โลกหน้า

๑๒.ทำโลกให้เจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ


“ผู้มีศิลปะแม้เพียงอย่างเดียว ก็สามารถเลี้ยงชีพได้โดยง่าย”



Create Date : 11 มีนาคม 2556
Last Update : 11 มีนาคม 2556 2:53:01 น.
Counter : 1942 Pageviews.

0 comments
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 347 "ติดเป็นนิสัย" multiple
(15 มี.ค. 2567 10:45:06 น.)
ใจเร็ว ด่วนได้ multiple
(22 ก.พ. 2567 11:44:19 น.)
ตะพาบ หลักที่ 344 Rain_sk
(27 ม.ค. 2567 15:00:58 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Angelonia17.BlogGang.com

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]

บทความทั้งหมด