แผนที่ความคิด ขอหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับไป ในวัยนักศึกษาซักหน่อย ช่วงเวลานั้น มีนักศึกษาคนหนึ่ง เวลาเข้าเรียน ก็จด จด จด เล็กเชอร์ตามที่อาจารย์สอน กลับมาถึงห้องพัก ก็เอาเล็กเชอร์ที่จดด้วยลายมือขยุกขยิกยุ่งเหยิง มานั่งเขียนใหม่ให้สวยงามขึ้น ช่วงเวลาใกล้สอบ ก็เอาเล็กเชอร์ที่เขียนด้วยลายมือเรียบร้อย มานั่งเขียนเป็น Mind Map* วาดรูปไปตามมีตามเกิด เท่าที่คนไม่มีหัวศิลปะจะนึกได้ แล้วเพื่อนร่วมห้อง ก็ถามนักศึกษาคนนั้นด้วยความประหลาดใจ เพื่อน : "นี่เธอ ใกล้สอบแล้ว นั่งวาดรูปไรอยู่เหรอ ไม่อ่านหนังสือล่ะ ?" นักศึกษา : "ก็กำลังอ่านอยู่นี่แหละ แต่การอ่านของฉัน ใช้วิธีการวาดรูป มันจำแม่นดี" เพื่อน : ? ? ? * Mind Map ที่ว่า ก็คือ แผนที่ความคิด เพื่อนๆคงเคยได้ยิน ได้รู้จัก ได้ใช้ เจ้าแผนที่ความคิดนี้มาบ้างแล้ว ขออนุญาตขยายความเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสเจ้า Mind Map นะคะ Mind Map® หรือ แผนที่ความคิด เป็นวิธีจดบันทึกความคิดด้วยทักษะของสมองสองซีก เพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมอง กว้าง และชัดเจน เขียนตามความคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้น เขียนเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อย ๆ ช่วยทำให้สมองได้คิด ได้ทำงานตามธรรมชาติใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ ผู้ประสิทธิ์ประสาทคือ โทนี บูซาน (Tony Buzan) ชาวอังกฤษ เมื่อปี 2517 เป็นผู้นำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้เพื่อการเรียนรู้ของเขา โดยพัฒนาการจดบันทึกแบบเดิมที่เป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด ๆ เป็นแถว ๆ ใช้ปากกาหรือดินสอสีเดียวในการจดบันทึก เปลี่ยนมาเป็นบันทึกด้วยคำสั้น ๆ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่รัศมีออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของกิ่งไม้ ใช้สีสันหลากหลาย โทนี บูซาน เขียน Mind Map® บันทึกทุก ๆ เรื่อง ทั้งชีวิตส่วนตัวและการงาน เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การช่วยจำ การแก้ปัญหา การนำเสนอ และการเขียนหนังสือ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก //www.book-dd.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/pv/2 ในสมัยตอนเป็นนักศึกษา คณะที่ฉันเรียนต้องอาศัยการท่องจำเป็นหลัก ก่อนสอบฉันก็จะ ท่อง ท่อง แล้วก็ท่อง และทุกครั้งที่สอบเสร็จ สิ่งที่ท่องมาแทบเป็นแทบตายก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย วันหนึ่ง ฉันไปเจอหนังสือ เกี่ยวกับ Mind Map ของคุณโทนี่ บูซาน ที่แปลเป็นภาษาไทย โดย คุณ ธัญญา ผลอนันต์ นับจากนั้น ชีวิตการเรียนของฉันก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ฉันไม่เคยนั่งท่องจำในสิ่งที่เรียนมาอีกเลย ก่อนสอบฉันจะเอาเนื้อหาที่เรียน มาเขียนเป็น Mind Map และพบว่า ช่วงทำข้อสอบ ฉันจำภาพ Mind Map ได้อย่างแม่นยำ สมองของเรา จดจำ รูปภาพ และสีสัน ได้ดีกว่าตัวหนังสือจริงๆค่ะ พอเข้าสู่วัยทำงาน ฉันก็ลืมเจ้า Mind Map ไป จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว หน้าที่การงานเริ่มซับซ้อน ฉันจึงนึกถึงการใช้ Mind Map อีกครั้ง คราวนี้ไม่ได้หวังจะท่องจำอะไรเหมือนสมัยเรียน แต่การเขียน Mind Map ทุกเช้าก่อนเริ่มงาน เป็นเสมือนการ "วางแผน" ว่าวันนี้เราต้องทำอะไรบ้าง แล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะการเขียน Mind Map ในการทำงาน เป็นการจัดระเบียบสมอง จัดลำดับความสำคัญ และเห็นภาพของงานได้ชัดเจนขึ้นค่ะ "อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ นำเสนอว่า แท้จริงแล้วสมองคนเราคิดแบบเชิงรัศมี กระจายทุกด้าน ในขณะที่ การเขียนหนังสือของคนเรา ที่เขียนจากซ้ายไปขวา หรือบนลงล่าง นั้นเสมือนการบังคับว่า ให้ต้องคิดในแนวเดียว จำกัดจินตนาการ ก็ในเมื่อสมองคนเราคิดแบบแผ่รัศมีรอบด้าน ทำไมเราไม่จดบันทึกทำแผนที่ชีวิตให้รอบด้านล่ะ โดยการกระจายออกจากจุดศูนย์กลาง แล้วแยกแตกสาขาออกไป Mind Map จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือที่เรานำมาใช้ในการจำลองภาพการ คัดกรอง การแยกแยะ ประมวลความคิดให้เป็นหมวดหมู่ แล้วนำเสนอออกมาในรูปแบบของ "แผนที่" เป็นการจดบันทึกรูปแบบหนึ่ง ที่เมื่อเปรียบเทียบกับการบันทึกในรูปแบบเก่าๆ ไม่ว่าจะเป็น การเขียนไดอารี่ การสรุปย่อ การเขียนแบบแยกข้อย่อย การเขียนแบบสารบัญ ฯลฯ แล้วจะพบว่า Mind Map นั้นเป็นเครื่องมือที่สะท้อนความคิดในสมองของเราออกมาได้ครบทุกด้านมากกว่า จุดเด่นของ Mind Map ก็คือ การเป็น Free from ไร้รูปแบบที่ชัดเจน แต่ให้เราสามารถเติมจินตนาการลงไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีขีดจำกัด จึงกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกวงการ" (ขอบคุณข้อมูลจาก //www.oknation.net/blog/print.php?id=721278//www.oknation.net/blog/print.php?id=721278 ) "แผนที่" มีความสำคัญสำหรับการเดินทาง หากวันใดที่รู้สึกเดินวนหลงทาง ลองใช้ แผนที่ความคิด สำรวจใจตัวเองดูนะคะว่าตอนนี้ เรากำลังจะเดินทางไปไหน แล้วต้องเดินอย่างไรให้ถึงเป้าหมาย บางครั้งการนั่งวาดรูปเล่นๆ เป็น Mind Map อาจทำให้เราเห็นตัวเองได้ชัดเจนขึ้นค่ะ สวัสดีค่ะคุณก๋า
เก่งจังเลยค่ะ อ่านซ้ำได้หลายๆรอบ คงเพราะมีความสุข และสนุกกับเรื่องที่อ่าน อย่างที่คุณก๋าเคยบอกเสมอ ทำอะไรด้วยความสุข ก็จะทำสิ่งนั้นได้ดี ![]() โดย: new (newanatta
![]() สวัสดีครับคุณนิว ^^
ผมเคยซื้อหนังสือมายด์แมปมาด้วยครับชื่อโทนี่ บูซานจำแม่นเลยครับ เล่มยาวๆปกสีน้ำตาล ตอนนั้นเรียนจบแล้วก็เลยไม่ได้ใช้ 555++ โหวด Education ให้นะครับผม ขอบคุณที่มาทักทายกันนะครับผม โดย: วนารักษ์
![]() ![]() คุณอ๋า
เล่มยาวๆปกสีน้ำตาล แบบเดียวกันเลยค่ะ ตอนนี้ให้น้องชายไปแล้ว ^^ โดย: new (newanatta
![]() ช่วงนี้มีหมื่นตาให้อ่านทุกวันนะครับคุณนิว
เป็นต้นฉบับในหนังสือเล่มล่าสุดเป็นส่วนใหญ่ครับ ![]() โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() เคยใช้ตอนประถม-มัธยม
พอเข้าเรียนสายพาณิชย์ก็ไม่ได้ใช้เลยค่ะ เทอมหน้า.. น่าจะลองดูอีกซักตั้ง.. ![]() โดย: หมึกไม่ออก
![]() ผมกำลังทำเลย
โดย: กาย IP: 125.27.83.145 วันที่: 18 พฤษภาคม 2556 เวลา:10:56:18 น.
|
บทความทั้งหมด
|
เป็นคำแนะนำที่ดีจังเลยครับ
ผมเคยเห็นหนังสือเล่มนี้แต่ไม่ไ่ด้ซื้อมาอ่านครับ
ปกติตอนเด็กผมอ่านหนังสือด้วยความสนุกครับ
ขนาดหนังสือเรียนยังอ่านซ้ำ 3-4 รอบได้สบายเลยครับ 555
ตอนปิดเทอมจะไปขอหนังสือเรียนของรุ่นพี่มานั่งอ่านเล่นตอนปิดเทอม
พอเปิดเทอมมาก็เลยรู้เนื้อหาที่จะเรียนหมดแล้วครับ
ก่อนสอบอ่านซ้ำอีก 2-3 รอบก็จำเนือ้หาได้ดีทีเดียว
แต่วิธีแบบคุณนิวใช้ก็เป็นอีกวิธีที่ดีนะครับ