หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต - เจโตปริยญาณ
<< หน้าที่แล้ว [ HOME ] หน้าถัดไป >>


เจโตปริยญาณ

มีอีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับอำนาจทิพยจักษุและเจโตปริยญาณของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ที่น่าพิจารณาว่า น่ามหัศจรรย์เพียงไร

สมัยเมื่อพระอาจารย์มั่นไปพักบำเพ็ญเพียรกรรมฐานอยู่ที่ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ท่านเล่าว่า ที่ชายเขาทางขึ้นไปถ้ำสาริกาที่ท่านพักอยู่นั้น มีสำนักบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่แห่งหนึ่ง มัขรัวตาองค์หนึ่งพักอยู่ บำเพ็ญสมณธรรม

คืนวันหนึ่งพระอาจารย์มั่นคิดถึงขรัวตาองค์นี้ว่า ขรัวตากำลังทำอะไรอยู่หนอเวลานี้ แล้วพระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตส่งกระแสจิตลงมาดู ขณะนั้นพอดีเป็นเวลาที่ขรัวตากำลังคิดวุ่นวายไปกับกิจการบ้านเมืองครอบครัวของตนให้ยุ่งไปหมด เรื่องที่ขรัวตาคิดเกี่ยวกับอดีตของตัวเอง

พอตกดึกพระอาจารย์มั่นก็ส่งกระแสจิตลงมาดูขรัวตาอีกก็พบว่า ขรัวตากำลังคิดห่วงลูกคนนั้นหลานคนนี้อยู่ร่ำไป

จวนสว่างท่านส่งกระแสจิตลงมาดูอีก ขรัวตาก็ยังไม่หลับไม่นอนกระสับกระส่ายคิดห่วงหน้าพะวงหลัง ห่วงลูกห่วงหลานให้วุ่นวายไปหมด

ท่านถอนใจเวทนายิ่งนักที่ขรัวตาอุตส่าห์มาบวชแล้ว ยังตัดภาระความผูกพันกับครอบครัวไม่ขาด คิดแต่จะสร้างบ้านสร้างเรือนสร้างภพสร้างชาติ สร้างวัฏฏสงสารไม่มีสิ้นสุดวิถีแห่งการปรุงแต่งเอาเสียเลย

ตอนเช้าพระอาจารย์มั่นลงจากถ้ำมาบิณฑบาค ขากลับจึงแวะไปเยี่ยมขรัวตาถึงที่พัก แล้วพูดเป็นเชิญปัญหาว่า เป็นอย่างไรหลวงพ่อ ปลูกบ้านใหม่ แต่งงานกับคู่ครองใหม่ แต่เป็นแม่อีหนูคนเก่าเมื่อคนนี้ตลอดคืนไม่ยอมนอน เสร็จเรียบร้อยแล้วไปด้วยดีมิใช่หรือ

คืนต่อไปคงจะสบายใจไม่ต้องวุ่นวายจัดแจงสั่งลูกคนนั้นให้ทำสิ่งนั้น สั่งหลานคนนี้ให้ทำงานสิ่งนี้อีกละกระมัง เมื่อคืนนี้รู้สึกว่าหลวงพ่อมีงานมากวุ่นวายพอดู แทบมิได้พักผ่อนหลับนอนมิใช่หรือ


ขรัวตาได้ฟังแล้วถึงกับตะลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ แล้วยิ้มอาย ๆ ถามว่า ท่านพระอาจารย์รู้ด้วยหรือครับ

พระอาจารย์มั่นยิ้มตอบว่า ผมเข้าใจว่าหลวงพ่อจะรู้เรื่องของตัวเองดียิ่งกว่าผมผู้ถามเป็นไหน ๆ แต่ทำไมกลับมาถามผมเช่นนี้อีก ผมเข้าใจว่า ความคิดปรุงของหลวงพ่อเป็นไปด้วยเจตนาและพอใจในความคิดนั้น ๆ จนลืมหลับนอนไปทั้งคืนแม้แต่รุ่งเช้าตลอดมาจนถึงขณะนี้ ผมก็เข้าใจว่าหลวงพ่อจงใจคิดเรื่องนั้นอยู่อย่างเพลินใจ จนไม่มีสติจะยับยั้งและยังพยายามทำตัวให้เป็นไปตามความคิดนั้น ๆ อยู่อย่างมั่นใจมิใช่หรือ

ขรัวตาได้ฟังถึงกับหน้าซีดเหมือนคนจะเป็นลม ทั้งอายและทั้งกลัว พูดออกมาด้วยเสียงอันสั่นเครือว่า ท่านพระอาจารย์เป็นพระอัศจรรย์มาก ผมคิดอะไรอยู่ในใจท่านรู้หมด

พระอาจารย์มั่นเห็นขรัวตางก ๆ เงิ่น ๆ ทั้งกลัวทั้งอาย ท่านทำท่าจะเป็นลมเป็นแล้ง ไม่สบายไปอย่างปัจจุบันทันด่วน ก็ให้มีจิตเมตตาคิดสงสาร ขืนพูดอะไรอีกต่อไป เดี๋ยวขรัวตาจะเป็นอะไรไปก็จะแย่ จึงเลยหาอุบายพูดไปเรื่องอื่นพอให้เรื่องจากไป แล้วก็ลาขึ้นถ้ำสาริกา

สามวันต่อมา โยมผูปฏิบัติขรัวตาองค์นั้น ได้ขึ้นไปนมัสการพระอาจารย์มั่นในถ้ำแล้วกราบเรียนให้ทราบว่า ขรัวตาองค์นั้นหนีไปอยู่ที่อื่นเสียแล้วตั้งแต่เมื่อเช้าวานนี้

ให้เหตุผลว่า อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ไหวแล้ว เพราะพระอาจารย์มั่นมาหา แล้วเทศน์อาตมาเสียยกหนึ่งหนัก ๆ อาตมาอายพระอาจารย์มั่นแทบเป็นลมสลบไปต่อหน้าท่าน

ถ้าพระอาจารย์มั่นขืนเทศน์ต่อไปอีกสักประโยคสองประโยค อาตมาต้องล้มตายต่อหน้าท่านแน่ ๆ อาตมาอยู่ไม่ได้แล้ว อับอายขายหน้าเหลือประมาณ ต้องไปให้ไกลจากที่นี่ให้สุดหล้าฟ้าเขียว อาตมาคิดอย่างไร พระอาจารย์มั่นท่านรู้เสียหมด

ธรรมดาปุถุชนก็ย่อมมีคิดดีคิดชั่วบ้างเป็นธรรมดา จะห้ามไม่ให้คิดได้อย่างไร ทีนี้พอเราคิดอะไร พระอาจารย์มั่นรู้เสียหมดอย่างนี้อาตมาอยู่ไม่ได้แน่ หนีไปตายที่อื่นดีกว่า อย่าอยู่ให้พระอาจารย์มั่นท่านคอยเป็นห่วงกังวลหนักใจด้วยเลย

พระอาจารย์มั่นทราบแล้วก็บังเกิดความสลดใจ ที่ทำคุณให้โทษ โปรดสัตว์ได้บาป ที่พูดไปก็เป็นการเตือนขรัวตาด้วยเจตนาดีมีเมตตาสงสาร อยากให้หยุดคิดห่งกังวลครอบครัวลูกเมียและหลาน ๆ เสีย

เพราะการสละเพศฆารวาสออกมาบวชพระนี้ก็เป็นการตัดขาดจากครอบครัวลูกเมีย และญาติพี่น้องโดยสิ้นเชิงแล้ว ตัดขาดจากทรัพย์สมบัติ ตัดขาดจากทางโลกโดยสิ้นเชิง

เมื่อมุ่งบำเพ็ญเพียรสมณธรรม ทำให้แจ้งซึ่งมรรค ผล นิพพาน ตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากวันนั้นเป็นต้นมา พระอาจารย์มั่นก็ระวังมิได้สนใจคิดและส่งกระแสจิตไปถึงขรัวตาอีก และถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ทักดักใจคนอื่นถึงความคิดนึกทั้งทางดีและชั่ว โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน เดี๋ยวเจ้าตัวผู้ฟังจะเสียขวัญได้รับความกระทบกระเทือนใจโดยไม่จำเป็น

อันการทักดักใจคนด้วยเจโนปริยญาณนี้ ดุจมีดดาบสองคม พึงใช้ให้เป็นให้ถูกกาลเทศะและตัวบุคคล ถึงจะชอบถึงจะควร

เพราะใจคนเราย่อมเหมือนเด็กอ่อนเพิ่งฝึกหัด เดินเปะปะไปตามเรื่อง ผู้ใหญ่เป็นเพียงคอยดูแลสอดส่อง เพื่อมิให้เด็กเป็นอันตรายเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องไปกระวนกระวายกับเด็กให้มากไป

ใจของสามัญชนก็เช่นกัน ปล่อยให้คิดไปตามเรื่อง ถูกบ้างผิดบ้าง ดีบ้างชั่วบ้างเป็นธรรมดา จะให้ถูกต้องดีงามอยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได้

<< หน้าที่แล้ว [ HOME ] หน้าถัดไป >>



Create Date : 17 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2550 10:53:27 น.
Counter : 58387 Pageviews.

0 comments
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
: รูปแบบของการตระหนักในการรับรู้ : กะว่าก๋า
(15 เม.ย. 2567 05:37:45 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)
ไม่ควรก่อแผลหรือก่อแผลเป็น ปัญญา Dh
(8 เม.ย. 2567 20:22:02 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

All4u.BlogGang.com

ต่อตระกูล
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]

บทความทั้งหมด