น้ำตาที่ไหลย่อมมีวันจางหาย หากไม่รู้จักเจ็บปวด คงไม่รู้ถึงความสุขใจ
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
20 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
เกาหลี(เกริ่นนำ2)

เกาหลีเป็นอิสระอีกครั้งในสมัยราชวงศ์หมิงแต่ก็ต้องส่งบรรณาการให้กับราชวงศ์หมิงเหมือนเดิม คราวนี้มีศัตรูใหม่มาจากทางทิศตะวันออกนั่นก็คือญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นภายใต้การนำของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิซึ่งเป็นขุนศึกที่เข้มแข็งที่สุดสามารถยุติสงครามกลางเมืองอันยาวนานในญี่ปุ่นได้ก็เริ่มที่จะฝันสร้างจักรวรรดิญี่ปุ่นขึ้นมา โดยขั้นแรกชายตาไปยังคาบสมุทรเกาหลี

รูปฮิเดโยชิ


จริงๆฮิเดโยชิต้องการรบกับกองทัพของราชวงศ์หมิงเลยแต่ยังไงก็แล้วแต่ต้องเดินทัพผ่านเกาหลีก่อนจึงถือโอกาสตีเกาหลีเป็นการซ้อมมือไปก่อน ก่อนรบกับจีน

ฮิเดโยชิยกพล 150,000 คน ที่มีประสบการณ์จากการรบในสงครามกลางเมืองเพียบแถมมีปืนไฟเมดอินเจแปนใช้แล้ว ขึ้นฝั่งที่เกาหลี ปะทะกับกองทัพเกาหลี ผลกองทัพเกาหลีแตกพ่ายแบบชนิดที่ไม่ต้องลุ้น

ร้อนถึงราชวงศ์หมิงซึ่งตั้งอยู่ที่ปักกิ่ง(มันก็ใกล้เกาหลีนิดเดียว) ถ้าปล่อยให้ญี่ปุ่นบุกตะลุยเข้ามาได้ถึงปักกิ่งแน่จึงส่งกองทัพเข้าไปสกัดในเกาหลี กองทัพราชวงศ์หมิงสู้ไม่ได้ถอยร่นมา แต่กองทัพญี่ปุ่นก็มีอัตราการสูญเสียสูงดูได้จากบันทึกจากสายลับของราชวงศ์หมิงว่า"ทหารญี่ปุ่นนั้นทั้งเข้มแข็งและกล้าหาญ แต่บุกเข้ามาแบบไม่มียุทธวิธี ตัวทหารยินดีที่จะตายต่อหน้าผู้เป็นนาย"

และที่สำคัญกองทัพเรือญี่ปุ่นโดนกองทัพเรือเกาหลีตีแตกกระเจิง การส่งบำรุงอะไรเลยไม่สะดวก สุดท้ายต้องถอนทัพกลับ แม่ทัพคนสำคัญของเกาหลีที่รบชนะญี่ปุ่นคือ แม่ทัพ ยิ ซุน ชิน (Admiral Yi Soon-sin) ที่นำเรือ TURTLE BOAT หรือ"เรือเต่า" ที่สามารถติดปืนใหญ่ได้มากกว่าถล่มกองเรือญี่ปุ่นลงไปนอนก้นทะเลหมด
รูปท่านแม่ทัพ


เรือเต่า


ก็มาร่ายต่อนะครับแต่ก่อนจะร่ายต้องมีการเกริ่นนำคร่าวๆเกี่ยวกับเกาหลีในยุคโบราณก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจเกี่ยวกับเกาหลีมากขึ้น

เกาหลีจัดเป็นชาติที่น่าสงสารครับ อยู่ใกล้แต่เพื่อนบ้านที่เข้มแข็งตลอดไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น แมนจู มองโกล นี่ยังไม่รวมรัสเซียในสมัยหลังอีกนะครับ ทำให้เกาหลีไม่สามารถขยายตัวเกินแม่น้ำยาลูขึ้นไปได้ ต้องอยู่แต่ในคาบสมุทรเกาหลี

เมื่อจีนปกครองเกาหลีก็ได้นำเอารูปแบบการปกครองและแนวความคิดแบบขงจื้อเข้ามาแทนความเชื่อเรื่องชนชั้นเรื่องชาติตระกูลในเกาหลี(เกาหลีโบราณเชื่อว่าคนทุกคนถูกแบ่งหน้าที่ตามชาติตระกูลโดยกำเนิดแล้ว คล้ายๆระบบวรรณะของอินเดีย)

เกาหลีในสมัยโบราณนั้นแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ชนชั้น คือ
1.ชนชั้นข้าราชการทหารและพลเรือนคือผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมือง เป็นเจ้าของที่ดิน มีอำนาจอย่างแท้จริงในการปกครองเกาหลี
2.ชนชั้นกลาง คือข้าราชการชั้นผู้น้อยและพวกผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ
3.สามัญชนเป็นชนกลุ่มใหญ่ทีสุด ส่วนมากเป็นชาวนา มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตลอดปีตลอดชาติ
4.ไพร่(ทาส) กรรมกร ทาส พวกเต้นกินรำกิน

เกาหลียึดมั่นในระบบชนชั้นเคร่งครัดมาก(ดูจากในหนังเกาหลีเรื่อง"มูซา"ที่ตัวเอกที่เป็นทาสไม่ได้รับการยอมรับจากขุนนางถึงแม้ตัวเอกจะได้รับการปลดปล่อยแล้ว)

ส่วนชนชั้นกษัตริย์ของเกาหลีเป็นแค่เงาจางๆในประวัติศาสตร์เกาหลีไม่ค่อยมีสิทธิมีเสียงอะไร แต่ยังคงถูกทิ้งไว้ให้เป็นสัญลักษณ์ให้ประชาชนยึดถือ

เมื่อรูปแบบของลัทธิขงจื้อเข้ามาในเกาหลีได้มาผสมผสานกับความเชื่อเดิมของเกาหลีเพราะความเชื่อในเรื่องที่ผู้น้อยต้องเคารพนบนอบผู้ใหญ่ ยึดหลักจริยธรรม จารีตประเพณีในการปกครองบ้านเมือง สามารถถูกชนชั้นขุนนางนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสังคมเกาหลี

อย่างเช่นการสอบคัดเลือกข้าราชการจีนจัดสอบทั่วประเทศ เลือกมาจากทุกชนชั้นแต่ของเกาหลีนั้นมีจัดสอบเหมือนกันแต่เลือกมาจากชนชั้นขุนนางเท่านั้น เพราะความเข้มแข็งของชนชั้นขุนนางระบบสอบคัดเลือกอันแสนยุติธรรมนี้จึงยืนยาวมาแค่ 500 ปีเอง

และเป็นเพราะว่าส่วนกลาง(กษัตริย์)ไม่เข้มแข็งทำให้เหล่าขุนนางตั้งตัวเป็นขุนศึกท้องถิ่นมีอำนาจในท้องถิ่นของตนไม่สนใจอำนาจของราชสำนักป็นการปกครองแบบศักดินาเต็มรูปแบบ ซึ่งในแง่ของการรักษาความสงบเรียบร้อย และสายการปกครองถือว่ามีประสิทธิภาพ เพราะการควบคุมอย่างเข้มงวดของเหล่าขุนนาง

แต่การที่ส่วนกลางไม่มีอำนาจเข้าแทรกแซงทำให้การขูดรีด เป็นไปอย่างไร้ขีดจำกัด ขึ้นอยู่กับความพอใจของขุนนาง....

ในด้านเศรษฐกิจเกาหลีก็มีการเก็บภาษีเหมือนรัฐศักดินาทั่วไปที่เน้นภาษีจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก ไม่ใช่การค้า เมื่อเก็บภาษีที่ดินพวกขุนนางและเจ้าที่ดินรายใหญ่มักจะหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีอยู่แล้ว ภาระจึงตกหนักแก่ชาวนาที่ต้องเสียภาษีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อเป็นอย่างนี้รายได้จากภาษีมีแต่น้อยลง ร้อนถึงข้าราชการที่มีรายได้เป็นเงินเดือนพลอยได้รับเงินเดือนน้อยลง ก็ต้องมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยิ่งปีไหนเกิดภัยธรรมชาติ เกิดโรคระบาด ชาวนายิ่งเดือดร้อนหนัก ทำให้ชาวนาที่ทนไม่ได้ก่อการจลาจลวุ่นวายอีก

สภาวะอย่างนี้เมืองใหญ่ๆที่ขุนนางอาศัยอยู่นั้นต่างรุ่งเรืองจึงทำให้ขุนนางศรัทธาในความเชื่อลัทธิขงจื้ออย่างฝังหัวว่าดีเลิศอยู่แล้ว แต่ชนบทกับแร้นแค้น

แล้วทำไมสังคมเกาหลีถึงยังอยู่รอดได้ อาจพอตอบได้ว่าเพราะ
1.เกาหลีเป็นประเทศเล็กการควบคุมของชนชั้นปกครองทำได้ทั่วถึง
2.ความเชื่อแบบขงจื้อทำให้สังคมเกาหลีไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงผูกพันกับราชวงศ์และการปกครองรูปแบบเดิมๆของขุนนาง
3.เป็นเพราะในช่วงหลังไม่มีกษัตริย์ต่างด้าวหมายในราชบัลลังค์และอาณาจักรเกาหลี จึงทำให้สังคมเกาหลีอยู่ค่อนข้างสงบสุข...

จริงๆเกาหลีก็ไม่ได้จะซื่อสัตย์หรือภักดีกับจีนซักเท่าไหร่หรอกครับ แต่เป็นผลมาจากการที่เกาหลียอมรับนับถือลัทธิขงจื้อ ที่มีคตินิยมที่"ประเทศที่ใหญ่กว้าเข้มแข็งกว่าย่อมรักใคร่ประเทศที่เล็กกว่า และประเทศที่เล็กกว่าต้องนอบน้อมถ่อมตนรับใช้ประเทศที่ใหญ่กว่า"หรือให้เข้าใจง่ายๆก็คือ "ผู้ใหญ่ต้องรักและเอ็นดูผู้น้อย และผู้น้อยควรจะเคารพนบน้อมผู้ใหญ่

ยิ่งเมื่อศตวรรตที่ 15 จีนในสมัยราชวงศ์หมิงได้ทุ่มสุดตัวในการขับไล่ญี่ปุ่นออกจากเกาหลี ทำให้เกาหลีหวาดกลัวในการที่จะติดต่อกับชาติต่างๆ และจีนสามารถเป็นที่พึ่ง สามารถปกป้องเกาหลีได้ จึงทำให้เกาหลีปิดตัวเองอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ติดต่อใครติดต่อกับจีนเพียงชาติเดียว

การโดดเดี่ยวของเกาหลีนี้ทำอย่างจริงจังและทำยิ่งกว่าญี่ปุ่นซะอีก ญี่ปุ่นยังมีติดต่อกับชาติตะวันตกอย่างฮอลแลนด์บ้าง เพื่อรับรู้ข่าวสาร แต่เกาหลีติดต่อกับจีนชาติเดียว รับข่าวสารจากจีนอย่างเดียว ส่งบรรณาการให้กับจีนทั้งในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง เป็นประจำทุกปี(มากกว่าที่จีนร้องขอซะอีก) ทำให้เหมือนวิทยาการต่างๆหยุดอยู่กับที่ ใช้ชีวิตเงียบๆของตนไปวันๆ



Create Date : 20 สิงหาคม 2551
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 12:51:59 น. 2 comments
Counter : 3635 Pageviews.

 
เรือนี่คือเรือบุกซอนใช่มั้ยคะ


โดย: อิม โฮยอน IP: 125.25.192.57 วันที่: 5 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:39:53 น.  

 
น่าสงสาร คนเกาหลีสมัยก่อน


โดย: .... IP: 124.121.108.245 วันที่: 27 มีนาคม 2553 เวลา:2:11:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ryzon
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




free counters
Friends' blogs
[Add ryzon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.