น้ำตาที่ไหลย่อมมีวันจางหาย หากไม่รู้จักเจ็บปวด คงไม่รู้ถึงความสุขใจ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
1 มีนาคม 2548
 
All Blogs
 
พม่าเสียเมือง

เริ่มเลยละกันนะครับ ซีรีย์ช่วงสั้นๆ อย่างที่คุณกาสะลองเริ่มเกริ่นไว้ในความเห็นที่ 33 ของกระทู้นี้นะครับผมก็จะขอร่าย ที่มาที่ไปว่าทำไม อยู่ดีๆ พี่หม่องเราถึงไปชกกับผู้ดีอังกฤษได้

หลังจากพม่าล้มเหลวในการขยายอำนาจไปทางตะวันออกในสมัยพระเจ้าปดุง(ในสงครามเก้าทัพในสมัย ร.1 และ สงครามหัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัย ร.2) กษัตริย์ของพม่าในสมัยต่อมาคือพระเจ้าบายีดอ(2362-2381) จึงเบนเข็มขยายอำนาจไปทางตะวันตกแทน เพื่อชดเชยกับผลประโยชน์ของตนที่เสียให้ไทยทางด้านตะวันออกให้ไทย(หัวเมืองล้านนา)

ซึ่งพม่าก็ทำได้ดีสามารถพิชิตยะไข่ อารากันลงได้อย่างราบคาบ พอจะเรียกศักดิ์ศรีของตนกลับมาได้ จนไปประชิดเมืองจิตตะกองอันเป็นเมืองที่ขึ้นกับอังกฤษ และผลจากการที่พม่าขยายตัวมาทางตะวันตก ทำให้ผู้คนแถบนั้นต่างหลบหนีภัยสงครามเข้าไปในเขตอิทธิพลของอังกฤษ

ฝ่ายพม่าก็ส่งทหารติดตามเข้าไป ทางเจ้าหน้าที่อังกฤษก็ผลักดันกลับมาโดยอ้างว่าพม่าล้ำเขตแดนของตน พม่าก็สวนกลับว่าหัวเมืองเหล่านี้ขึ้นกับยะไข่ เมื่อตนยึดครองยะไข่ หัวเมืองเหล่านี้ก็ต้องขึ้นกับตนด้วย แล้วยังงี้จะคุยกันรู้เรื่องไหมเนี่ย นอกจากนี้พม่าพยายามเข้าแทรกแซงการเมืองในรัฐมณีปุระซึ่งอยู่ติดกับมณฑลอัสสัมของอังกฤษ อังกฤษจึงวางเฉยไม่ได้

เมื่อรัฐจักรวรรดินิยมอย่างอังกฤษมาเผชิญหน้ากับรัฐศักดินาของพม่า(ซึ่งก็จักรวรรดินิยมเหมือนกัน) พม่าก็ถือว่าเป็นมหาอำนาจระดับท้องถิ่น อำนาจทางทหารเป็นที่เกรงใจของเพื่อนบ้านอย่างไทย เรื่องอะไรพม่าต้องมากลัวไอ้ฝรั่งหัวแดงที่ไม่เคยเห็นฝีไม้ลายมือ

ส่วนอังกฤษเวลานั้นมีอิทธิพลส่วนใหญ่อยู่ในแคว้นเบงกอลทางตะวันออก ทางเหนือแถบเดลี และเมืองท่าตามชายฝั่งของอินเดีย อยู่ภายใต้การปกครองของ บ.อีสอินเดีย ของอังกฤษ ซึ่งมีนโยบายเรื่องการค้าเป็นหลัก การทำสงครามกับชาติต่างๆในยุโรปหรือกับผู้ครองนครของอินเดียนั้นทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุนเท่านั้น

จะไม่มีการขยายดินแดนพร่ำเพรื่อ เพื่อเกียรติภูมิ แต่กระนั้นข้าหลวงบางคนก็ขยายเขตแดนให้บ.อีสอินเดีย อย่างกว้างขวางเช่น โรเบิร์ต ไคลฟ์ ที่เป็นคนตะเพิดฝรั่งเศสออกจากอินเดีย และเป็นคนที่ขยายอิทธิพลของบ.อีส อินเดีย ขึ้นไปทางเหนือ จนมีอิทธิพลเหนือราชวงศ์โมกุล

แล้วถามว่าบ.อีสต์อินเดีย แฮปปี้รึเปล่า คำตอบ ไม่ เพราะการทำสงครามขยายดินแดนแต่ละครั้งนั้นเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายจัดตั้งกองทหาร ค่าอาวุธ เงินเดือนทหาร ครั้นยึดได้ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครอง จัดหาข้าราชการ เงินเดือนข้าราชการ ค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข โอ้ยเยอะแยะหมด

แล้วยิ่งช่วงหลังราคาเครื่องเทศตกต่ำ ทำให้บ.อีสต์ อินเดีย เริ่มขาดทุน จึงอยากลดค่าใช้จ่าย ถ้าเป็นไปได้ ไม่จำเป็นก็ไม่อยากทำสงคราม

งั้นจะทำยังไงกับพม่าที่มาป้วนเปี้ยนตรงชายแดนดีละไว้ต่อตอนหน้าละกัน


ถึงไม่อยากทำสงครามแต่อังกฤษแสดงความอ่อนแอออกมามิได้ ยอมให้พม่าแล้ว บ.อีสต์อินเดียจะปกครองอินเดียยังไง เพราะฉะนั้นสงครามกับพม่าจึงเริ่มต้นด้วยเอวังประการละฉะนี้

สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 พ.ศ.2367/1824

สงครามช่วงนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกพระเจ้าบายีดอมีรับสั่งให้ มหาพันธุละ( Maha Bandula) ยกทหาร 60,000 คนเข้าตีมณีปุระในปี 1822 มหาบันดูลาจู่โจมแบบสายฟ้าแลบเข้ายึดมณีปุระและเลยไปเมือง Cachar ในมณฑลอัสสัีม เจ้าเมือง Cachar สู้ไม่ได้หนีเตลิดเข้าไปในมณฑลอัสสัมส่วนของอังกฤษและขอให้อังกฤษช่วย ซึ่งเวลานั้นกองทัพพม่าอยู่ในฐานะที่จะคุกคามเมืองแถบนั้น

การที่กองทัพพม่าโผล่มาที่มณฑลอัสสัม ก่อให้เกิดปัญหากับอังกฤษโดยเฉพาะปัญหาผู้ลี้ภัยที่หนีการกวาดต้อนของพม่าเข้าไปในเขตอังกฤษ ....อังกฤษจึงเข้าแทรกแซงกองทัพพม่าตามตีต่อจึงมีการปะทะกับทหารอังกฤษ การรบได้ผลดีกองทัพพม่าตีกองทหารเล็กๆของอังกฤษในมณฑลอัสสัมแตกกระเจิง พร้อมที่จะรุกคืบหน้าต่อ การรบครั้งนี้พม่าได้เปรียบเพราะมีกำลังมากกว่า และชำนาญพื้นที่กว่า

ฝ่ายอังกฤษเห็นท่าไม่ดีขืนรบต่อเจ๊งแน่ เพราะชายแดนอาระกัน-อัสสัม นั้นเป็นเทือกเขาสูงและเป็นป่ารกทึบแม้ในปัจจุบันการส่งกำลังขนาดใหญ่ยังเป็นเรื่องลำบาก แถมกองทัพเรืออันเกรียงไกรก็ไม่ได้ทำงานด้วย อังกฤษต้องหาสมรภูมิใหม่

ทางฝ่ายอังกฤษจึงวางแผนใหม่เกณฑ์ทหารเท่าที่มีประมาณ 11,000 คน พร้อมกองทัพเรือคราวนี้บ่ายหน้าทางเมืองท่าแถบลุ่มน้ำอิระวดี พร้อมกับเผื่อเหนียวส่ง ร้อยตรีเฮนรี่ เบอร์นี่ (หรือที่ไทยเรียก หันตรี บารนี)เข้ามาทำสัญญากับไทย เพื่อหวังให้ไทยเข้าร่วมรบด้วย เพื่ออาศัยสัตว์พาหนะของไทย ในการลำเลียงยุทธปัจจัยฝ่ายไทยเมื่อเซ็นสัญญาแล้วจึงให้พระยาชุมพร คุมพล 10,000 คนเข้าตีหัวเมืองมอญที่ติดกับไทย

ฝั่งพม่าก็พอทราบข่าวจึงให้ เกณฑ์พลเพิ่มเติมได้มา 60,000 คน ส่งลงไปป้องกันที่ร่างกุ้ง แม่ทัพพม่าดำเนินการป้องกันโดยตั้งค่าย 2 ฝั่งแม่น้ำกลางแม่น้ำปักรอไว้ แถมในค่าย 2 ฝั่งแม่น้ำตั้งปืนใหญ่ไว้ ตามตำราพิชัยสงครามที่รบกับไทยสมัยเสียกรุงเปะๆ

แต่ด้วยเทคโนโลยีสงครามต่างกันเกินไปกล่าวคือปืนใหญ่พม่าเป็นปืนสมัยควีนอลิซาเบธที่1 ส่วนปืนของอังกฤษนั้นเป็นปืนสมัยนโปเลียนยิงไกลกว่าเยอะ แถมกองทัพอังกฤษยังได้นำปืนครกมาใช้ แล้วยิ่งคุณภาพทหารผิดกัน ถึงแม้ทหารพม่าจะห้าวหาญแค่ไหน แต่ก็สู้ลูกปืนไม่ได้

ผลค่าย 2 ฝั่งแม่น้ำโดนทำลายราบ ทหาร 60,000 คนแตกกระจาย แต่ฝ่ายอังกฤษก็ยังมีกำลังและยุทธปัจจัยน้อยเกินกว่าที่จะรุกขึ้นเหนือเพราะ.....

เขตหัวเมืองมอญทางด้านใต้อังกฤษต้องการให้กองทัพไทยตีหัวเมืองมอญแล้วนำทัพไปสมทบกับอังกฤษที่ปากแม่น้ำอิรวดีเพื่อจะอาศัยกำลังคนและสัตว์พาหนะของไทยในการลำเลียงยุทธปัจจัย ไม่ได้ให้มารบ

แต่กองทัพของพระยาชุมพรตีทัพพม่าที่รักษาเมืองแตกกวาดต้อนครัวเรือนกลับเข้าฝั่งไทยตามประเพณีสงครามสมัยก่อน ฝ่ายอังกฤษจึงไม่พอใจที่ฝ่ายไทยทำเกินหน้าที่ที่ตนต้องการ จึงปะทะกับกองทัพไทย กองทัพของพระยาชุมพรแตกพ่ายหนีกลับฝั่งไทย เมื่อร.3 ทราบเรื่องจึงสั่งจำพระยาชุมพรไว้ฐานที่ทำให้เสียเกียรติภูมิ และให้เลิกทัพกลับเพราะเห็นว่าจริงๆอังกฤษไม่ได้ต้องการให้ไทยช่วยรบ แค่ต้องการกุลีช่วยขนยุทธปัจจัย

ฝ่ายอังกฤษเมื่อตีทัพพม่าที่ร่างกุ้งแตกแต่ไม่มีกำลังเสริมและยุทธปัจจัยเพียงพอสงครามจึงยืดเยื้อไปอีก 2 ปีเมื่อยึดเมืองแปรได้พม่าจึงยอมสงบศึก

ภายใต้สัญญาสงบศึกพม่าต้องยกแคว้นอาระกัน(ยะไข่)และมณทลเทสซาริม(ตะนาวศรี)ให้อังกฤษ ซึ่งการยกดินแดนครั้งนี้อังกฤษได้เชิญฝ่ายไทยมาปักปันเขตแดนและให้ชี้ว่าเดิมเมืองไหนเป็นของไทยก็จะคืนให้

แต่ร.3 เห็นแล้วว่าเมืองที่อังกฤษจะคืนให้ล้วนเป็นหัวเมืองตอนในไม่ใช่หัวเมืองชายฝั่งทะเลครั้นจะเอามาก็เป็นภาระดูแลเปล่าๆจึงยกให้อังกฤษทั้งหมด

สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งแรกจึงจบลง พรุ่งนี้จะมาต่อครับ

สงครามอังกฤษพม่าครั้งที่ 2 พ.ศ2395/1852

สงครามคราวที่สองนี้เป็นเรื่องการค้าขายล้วนๆ เมื่ออังกฤษได้อาระกันกับมณทลเทสซาริมมานี่ ไม่ได้เกิดประโยชน์กับอังกฤษสักเท่าไหร่ แคว้นอาระกันแค่เป็นหลักประกันว่าพม่าจะไม่ขยายตัวไปทางด้านตะวันตก ส่วนตะนาวศรีนั้นใช้เป็นเมืองท่าได้

ซึ่งดินแดนทั้ง 2 แห่งเป็นแค่ดินแดนชายขอบพม่าไม่สะเทือนเท่าไหร่ แต่เมื่อพม่าเริ่มค้าขายกับอังกฤษ อังกฤษเริ่มไม่พอใจการผูกขาดของพม่า(เหมือนพระคลังสินค้าของเรา) เพราะฉะนั้นสงครามครั้งนี้จึงเกิดจากการค้าเป็นหลัก

สงครามคราวนี้ไม่มีอะไรมากมายอังกฤษส่งกองทัพมายึดดินแดนแถบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำอิระวดี โดยที่พม่าทำอะไรมิได้ต้องยอมยกดินแดนพม่าตอนใต้ให้ไป

การเสียดินแดนครั้งนี้ทำให้พม่าเสียเมืองท่าที่จะติดต่อกับโลกภายนอก แต่ก็มีข้อสังเกตคือหลังการเสียดินแดนครั้งนี้ ชาวพม่าในภาคใต้อพยพขึ้นไปอยู่พม่าตอนเหนือกันมากด้วนกลัวว่าอังกฤษจะไม่บำรุงพระพุทธศาสนา

พรุ่งนี้ผมไปต่างจังหวัดกลับมาวันอาทิตย์คิดว่า พม่าเสียเมืองคงจบได้ภายในคืนวันอาทิตย์ ก่อนคุณสื่อฯจะกลับมา

ขออนุญาติตามมาจบเรื่องพม่าที่นี่ละกันครับ

หลังจากที่พม่าเสียดินแดนทางใต้ให้อังกฤษแล้ว การเมืองของพม่าก็มีแต่ความวุ่นวายมีการชิงบัลลังค์กันเนืองๆจนถึงสมัยของพระเจ้ามินดง(พ.ศ.2394-2421)ซึ่งชิงบัลลังค์มาจากพระเจ้าพุกามมิน ในสมัยนี้เป็นสมัยรุ่งเรืองสุดท้ายของพม่า

พระเจ้ามินดงจัดเป็นสายพิราบ ทรงเห็นว่าต้องยอมโอนอ่อนผ่อนตามอังกฤษเท่านั้นคือทางรอดของพม่า พระองค์จึงเริ่มปฏิรูปประเทศแบบหักโคนล้ำหน้าชาติอื่นๆในเอเซียในเวลานั้น

ด้วยการยกเลิกระบบกินเมือง(ซาเมียว) จัดตั้งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปปกครองแทนคล้ายระบบเทศาภิบาลในสมัย ร.5 ยกเลิกระบบผูกขาดทำสัญญาการค้ากับอังกฤษ มีการจัดเรือกลไฟหลวงวิ่งล่องในแม่น้ำอิรวะดีเพื่อหารายได้เข้าคลัง มีการติดตั้งระบบโทรเลขสมัยใหม่ในพม่า ส่งโอรส-ธิดาไปศึกษายังต่างประเทศ และที่สำคัญพยายามส่งทูตไปยังประเทศต่างๆในยุโรป เพื่อพยายามถ่วงดุลกับอังกฤษ

ซึ่งได้ผลระดับนึง พอที่จะประคองพม่าตอนบนให้รอดเงื้อมมือของอังกฤษไปได้ มีเกร็ดนิดนึงในสมัยพระเจ้ามินดงเป็นครั้งสุดท้ายที่ไทยทำสงครามกับพม่า คือสงครามเชียงตุง ตรงกับไทยในสมัย ร.4 ซึ่งผลไทยเป็นฝ่ายแพ้เพราะขาดกำลังพลและเสบียง กอปรกับหัวเมืองล้านนาไม่ได้ให้ความร่วมมือในการบุกครั้งนี้ จากเหตุการณ์นี้พออนุมานได้ว่าศักยภาพทางทหารของไทยเวลานั้นอ่อนแอกว่าพม่าเสียอีก

ทั้งๆที่พม่าไม่ได้ส่งกองทัพจากส่วนกลางมาต้านทาน ใช้แค่กองกำลังท้องถิ่นเมืองนาย ทางภาคตะวันตกเข้าสนับสนุนเชียงตุงเท่านั้น ส่วนกองทัพไทยเกณฑ์พลมาจากกรุงเทพฯ และมีกองทหารที่ฝึกหัดแบบตะวันตกเข้าร่วมรบด้วย(เหตุการณ์ตอนที่นายมากโดนเกณฑ์ไปรบ ในเรื่องแม่นากพระโขนงไง)

ฉะนั้นเรื่องที่ไทยจะรบกับฝรั่งเศสในสมัย ร.5 เลิกคิดไปเลยครับ สู้ไม่ได้แน่นอน

กลับมาที่พม่าต่อนะครับ

กษัตริย์พระองค์ต่อมาคือพระเจ้าสีป้อ(พ.ศ.2421-2428)หรือพระเจ้าธีบอ ทรงมีเชื้อสายของเจ้าเมืองสีป้อในรัฐฉาน ซึ่งโดยทั่วไปที่ผมอ่านมาหลายเล่มว่าพม่าเสียเมืองเราจะดูแต่ปัจจัยภายในว่า พระเจ้าสีป้อไม่นำพาย่อหย่อนราชการทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ซ้ำอ่อนแอตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมเหสี และขุนนาง

ประเด็นนี้ผมไม่พูดละกันเพราะเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชผมจะชี้ประเด็นปัจจัยภายนอกมากกว่าว่าเป็นต้นเหตุทำให้พม่าเสียเมือง

ซึ่งในสมัยนั้นมีเหตุการณ์สำคัญๆเช่น
1.การปฏิวัตอุตสาหกรรมในยุโรป ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรตที่ 19 ในอุตสาหกรรมทอผ้าสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นจำนวนมาก และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงที่ 2 ในอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหิน ทำให้การเอาเหล็กมาสร้างเรือไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป จึงสามารถสร้างเรือขนาดใหญ่ที่ทำจากเหล็ก ซึ่งทนทานต่อลมพายุในท้องทะเล และสามารถบรรทุกของได้มากขึ้น

2.การเปิดคลองสุเอซ ในปี 2419/1869 ทำให้การเดินทางจากยุโรปมาเอเซียมาได้รวดเร็วขึ้น สามารถบรรทุกสินค้ามาขายยังเอเซียได้สะดวกขึ้น

3.กระแสตื่นจีน ในช่วงนั้นมหาอำนาจในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสพยายามทำการค้ากับจีนทั้งทางประตูหน้า(ทางทะเล)และประตูหลัง(ทางมณทลยูนาน) ซึ่งทางฝรั่งเศสเริ่มสำรวจทางแม่น้ำโขง(แต่ไม่สำเร็จเพราะแม่น้ำโขงมีเกาะแก่งมากเกินไป แต่ได้ลาวกับเขมรจากไทยไปแทน)

ทำให้อังกฤษสนใจที่จะสำรวจมั่งซึ่งก็เหล่ไปที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำสาละวินในพม่า และยิ่งต้องเร่งมือมากขึ้นเมื่อมีตัวแทนการค้าของฝรั่งเศสเข้ามาตีสนิทกับราชสำนักของพระเจ้าสีป้อทำให้ฝรั่งเศสได้สัมปทานตัดไม้ในภาคเหนือของพม่า เดินเรือในแม่น้ำอิระวดีแทนอังกฤษ ดำเนินกิจการไปรษณีย์ในพม่า และผลประโยชน์อื่นๆในอนาคต(ถ้ามี)

แลกกับฝรั่งเศสยอมขายอาวุธให้พม่า และช่วยขัดขวางอังกฤษไม่ให้ขยายอิทธิพลเข้ามาในพม่าตอนเหนือ ฝ่ายอังกฤษทราบข่าวก็ไม่พอใจ จึงให้รัฐบาลของตนกดดันทางปารีสว่าอย่ามาแหยมในพม่านะ พร้อมอ้างสนธิสัญญาที่ทำกันในปี 1854 ตอนวิกฤตฟาโดชา ในเรื่องอิทธิพลในเอเซีย คือ พม่า ฟอร์ อิงค์แลนด์ ,อินโดจีน ฟอร์ ฟรานซ์ ฝ่ายฝรั่งเศสจึงถอนตัว

เมื่อฝรั่งเศสถอนตัว ก็จึงมาเช็กบิลกับพม่า เพราะขืนปล่อยต่อไป พม่าอาจไปเอามหาอำนาจอื่นมายุ่ง พาลจะวุ่นวายเปล่า แล้วบังเอิญมีเหตุ........

ศาลหลุดดอของพม่าได้ทำการอายัดไม้จากบริษัทของอังกฤษที่ได้สัมปทานในภาคเหนือเนื่องจากไม้ที่บริษัทจะชักลากลงไปมีไม้ที่ยังไม่ได้ชำระภาษี ศาลหลุดดอจึงตัดสินให้ชำระภาษีพร้อมค่าปรับ และให้อุทธรณ์ได้

ก็เข้าทางเลยครับ อังกฤษเอาเหตุนี้หาเรื่องรบทันที ทั้งๆที่พม่าบอกว่าคุยกันก่อนก็ได้ คำตัดสินจะให้เปลี่ยนก็ได้ แม้แต่อุปราชประจำอินเดียของอังกฤษยังบอกเลยว่าคำตัดสินของศาลหลุดดอนั้นยุติธรรม สมเหตุสมผลแล้ว แต่เมื่อลอนดอนสั่งให้รบ ก็ต้องรบ การรบจึงเปิดฉากด้วยเอวังประการละฉะนี้

ฝ่ายอังกฤษเกณฑ์ทหารอังกฤษ-อินเดีย มาจากอังกฤษ และมาเกณฑ์ทหารเพิ่มเติมจากพม่าใต้ที่อังกฤษปกครอง ได้ทหารมา 12,000 คนล่องขึ้นไปตามอิระวดี ฝ่ายพม่าแต่ละห้วเมืองที่อังกฤษผ่านก็ตั้งรับอังกฤษตามมีตามเกิด ตามแต่จะหาอาวุธได้ ผลหัวเมืองตามรายทางแตกพ่ายหมด แต่ก็มีข้อสังเกตคือทุกหัวเมืองยังทำการต้านทานกองทัพอังกฤษตามรับสั่งของพระเจ้าสีป้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ยังมีความชอบธรรมที่จะปกครองพม่าอยู่

อุปสรรคที่สำคัญของกองทัพอังกฤษไม่ใช่หัวเมืองพม่าที่ต้านทานตามรายทาง แต่เป็นลำน้ำอิระวดีที่ไหลเชี่ยว ทำให้การลำเลียงพลทำยากขึ้นไปอีก ส่วนทางมัณฑะเลย์ก็เกณฑ์กองทัพใหญ่ลงมาตั้งรับที่เมืองพุกาม มีการจัดขบวนพยุหยาตราตามพิชัยสงครามโบราณ เรียงกันเป็นเหล่าทัพสีสันสวยงาม แม้แต่ฝ่ายอังกฤษเห็นภาพนี้ยังอดประทับใจไม่ได้ แต่จำต้องเอาปืนใหญ่ยิงใส่กองทัพดังกล่าว กองทัพพม่าก็แตกพ่ายสิ้น

ส่วนทางพระเจ้าสีป้อเมื่อทราบข่าวกองทัพที่พระองค์ส่งไปยันที่เมืองพุกามแตก ก็หมดกำลังใจยอมจำนนต่ออังกฤษ ในบั้นปลายอังกฤษส่งพระเจ้าสีป้อพร้อมพระมเหสีไปอยู่เมืองรัตนคีรี ในอินเดีย

ขอลากมาวิจาณ์อีกนิดนึง ที่พม่าเสียเมืองนับเป็นความโชคร้ายของพม่าด้วยที่มีคู่มือเป็นอังกฤษ เพราะในเวลานั้นอังกฤษจัดป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่ง มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุดในโลก แถมมีฐานกำลังอยู่ที่อินเดีย แล้วพม่าลากเอาฝรั่งเศส เข้ามาดุลกับอังกฤษ ฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจเหมือนกัน แต่เป็นมหาอำนาจชั้นรอง แถมมีเรือรบอยู่ในเอเซีย นับลำได้เลย จะเอาอะไรไปสู้อังกฤษละครับ

ส่วนไทยโชคดีที่คู่มือของไทยเป็นฝรั่งเศส บางครั้งเราจึงสามารถนำอิทธิพลของอังกฤษมากดดันฝรั่งเศสได้(อย่างตอนวิกฤตร.ศ.112 ก็มีเรือรบอังกฤษมาป้วนเปี้ยนแถวๆอ่าวไทยเพื่อมาคุมเชิงกับกองเรือฝรั่งเศส เป็นทำนองว่า อั้วก็มีผลประโยชน์อยู่นะ ทำอะไรก็เพลาๆหน่อย จึงทำให้ฝรั่งเศสเรียกร้องแค่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจากเดิมที่จะเรียกร้องฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วแบ่งกับอังกฤษ)

ไม่มีปัญหาครับคุณ ha ha yee เป็นเกียรติกับผมด้วยซ้ำ และแล้วคุณสื่อฯก็กลัมาแล้ว ทางผมขอต่ออีกนิดแล้วปิดกล้องที่กระทู้นี้เลยละกันครับ

ชาวอิตาลี่ที่คุณสื่อศิลปว่ามาวางแผนปิดแม่น้ำอิระวดีนั้น ก็คือ เอารอไปปัก(รอ-เป็นไม้ซุงธรรมดานี่แหละครับ เหลาแหลมๆแล้วปักลงในน้ำถ้าเรือแล่นผ่านมาโดยไม่รู้ก็โดนไม้นี้ตำครับ ได้ผลดีมากในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ในเรื่องผู้ชนะสิบทิศแต่กับเรือรบอังกฤษไม่รู้ ยังไม่ได้ลอง)

มาปักไว้ตามแม่น้ำแถบเมืองแปรที่ติดกับพม่าใต้ของอังกฤษ หวังจะตำเรือรบอังกฤษให้ทะลุ และดัดแปลงเรื่อกลไฟของพม่าให้เป็นเรือรบ(ก็แค่เอาปืนใหญ่บกไปติดบนเรือ) ก็ทำกันตามมีตามเกิดละครับเพราะมีกัน 2 คน

แต่ไม่สำเร็จครับโดนเรือรบอังกฤษยิงกระเจิงซ้ำเมืองแปรก็โดนตีแตกอย่างรวดเร็ว ทั้ง 2 คนเห็นว่าขืนกลับมัณฑะเลย์คงไม่แคล้วหัวขาด สู้มอบตัวกับอังกฤษดีกว่า เมื่อคิดได้ดังนี้ก็มอบตัวกับอังกฤษ แต่ไม่วายส่งโทรเลขไปแจ้งพระเจ้าสีป้อว่า กองเรืออังกฤษโดนรอ ทิ่มทะลุจมหมดแล้ว ทำให้พระเจ้าสีป้อคลายการตั้งรับและไม่ถอยไปสู้ต่อที่เมืองชเวโบ อันเป็นเมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์คองบอง ลึกไปในทางเหนืออยู่ห่างจากแม่น้ำอิระวดีเยอะ

เพราะถ้าอยู่ที่เมืองชเวโบยังมีโอกาสทำสงครามยืดเยื้อกับอังกฤษ จนอังกฤษอ่านจะอ่อนใจยอมสงบศึกได้

ว่ากันต่อหลังเรื่องแถมจากอังกฤษสยบพระเจ้าสีป้อลงได้และเนรเทศไปเรียบร้อยแล้วนั้น อังกฤษประสบปัญหาในการปกครองมากเพราะตอบบุก อังกฤษบุกเป็นเส้นตรงเลียบไปตามลำน้ำอิระวดี แต่แทบไม่ไปยึดเมืองตอนในเลย

แล้วยิ่งพออังกฤษประกาศรวมพม่าเข้ากับอินเดียให้ไปขึ้นกับศูนย์กลางที่เดลี ขึ้นกับอุปราชหัวแดงๆ มิใช่กษัตริย์พม่าที่มัณฑะเลย์ ก็ปั่นป่วนครับเพราะพวกไพร่ฟ้าตาดำๆยรับรู้ว่ายังที่กษัตริย์เป็นผู้คอยทำนุบำรุงพระศาสนา โดนปลดไปแล้ว ก็กลัวผู้ปกครองหัวแดงใส่เกือกคนใหม่จะไม่บำรุงศาสนา ก็หวาดกลัวต่างพากันจับอาวุธขึ้นสู้

แล้วเอาอาวุธมาจากไหน ก็เอามาจากทหารพม่าละครับเพราะอังกฤษตีหัวเมืองพม่าตามเมืองต่างๆแตก ก็ไม่เคยไปตามจับทหารแตกทัพ ทหารพวกนี้ก็เอาอาวุธไปด้วยไปซ่องสุมตามหัวเมืองต่างๆนอกเขตยึดครองของทหารอังกฤษ ทำให้อังกฤษต้องใช้เวลาอีก 2 ปีในการยึดพม่าทั้งประเทศ
จบเท่านี้ละครับส่งไม้คืนให้อาจารย์สื่อฯว่ากันต่อเรื่องเขมรครับ



Create Date : 01 มีนาคม 2548
Last Update : 21 เมษายน 2553 17:04:18 น. 25 comments
Counter : 4729 Pageviews.

 
ถูกใจมากเลย อยากใด้หนังสือ พม่าเสียเมือง หาซื้อใด้ที่ไหน


โดย: ck IP: 58.147.120.110 วันที่: 25 มีนาคม 2549 เวลา:20:53:52 น.  

 


โดย: ดเพะ IP: 58.136.216.142 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:15:15 น.  

 
g src=https://www.bloggang.com/emo/emo17.gif>


โดย: nan IP: 203.144.141.130 วันที่: 18 ธันวาคม 2549 เวลา:18:09:07 น.  

 


โดย: เมย์ IP: 203.113.17.172 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:14:14:05 น.  

 


โดย: กาญจน์ IP: 203.113.17.172 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:14:15:51 น.  

 


โดย: ฝ้าย IP: 203.113.17.172 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:14:18:20 น.  

 


โดย: อร IP: 203.113.17.172 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:14:20:11 น.  

 
หาซื้อได้ที่ สวนจตุจักร


โดย: Glight IP: 58.64.120.237 วันที่: 22 เมษายน 2550 เวลา:21:18:02 น.  

 


โดย: 12*-* IP: 203.172.54.134 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:19:51:53 น.  

 


โดย: ASD_^o^ IP: 124.121.84.236 วันที่: 7 มกราคม 2551 เวลา:17:26:16 น.  

 
พรุ่งนี้ 15 1 2551 วิชาภาษาไทย
ผมต้องสอบเรื่องนี้ง่ะคับ
ผมเพิ่งอ่านไปได้แค่รอบเดียว
แต่พอมาอ่านของพี่
ทำให้ผมมั่นใจมากขึ้นเยอะเลยคับ ขอบคุนมากคับ


โดย: ง่า IP: 124.121.28.173 วันที่: 14 มกราคม 2551 เวลา:19:12:13 น.  

 
งงมากทำไม่มีมากจัง


โดย: เวง IP: 222.123.193.226 วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:20:51:45 น.  

 
ให้มันโดนอย่างเราซะบ้าง แต่ยังน้อยกว่าเราอยู่ดีคับ มันทำกับเราซะพัง อยากให้อังกฤษทำเยอะ


โดย: ปล.เด็กกรุงเก่า IP: 118.172.211.112 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:00:44 น.  

 
เกลียดพม่าจัง


โดย: ฮิตเลอร์ IP: 118.173.117.247 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:16:37:08 น.  

 
บทนำในหนังสือ "พม่าเสียเมือง" ของท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ฉบับที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุคส์ ซึ่งเขียนขึ้นโดยท่าน ผศ.ดร.สุกัญญา บำรุงสุข ก็ให้มุมมองในเรื่องนี้ที่กว้างขวางขึ้นเช่นกัน จึงขอนำมาแสดงไว้ดังนี้

“อาจารย์คึกฤทธิ์เขียนหนังสือเรื่องนี้จากข้อมูลหลักฐานฝ่ายอังกฤษเป็นสำคัญ ท่านเองก็ตระหนักดีว่า หนังสือของท่าน ‘อาจเอนเอียงไปทางฝรั่งบ้าง’ ภาพกษัตริย์และขุนนางฝ่ายพม่าในปลายราชวงศ์อลองพญา (หรือ อลองพระยา ตามทีเรียกในหนังสือนี้) จึงดูทั้งอ่อนแอและทั้งขาดสติปัญญา ไม่มีความคิดเป็นแก่นสาร อย่างไรก็ดี ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมานี้ การศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักวิชาการชาวพม่าเองและชาวต่างประเทศในเหตุการณ์ช่วงการเสียเมืองแก่อังกฤษนั้นมีมากขึ้น และมีการเสนอข้อมูลหลักฐานที่แสดงว่าเจ้านายขุนนางพม่ามิได้เหลวไหลคิดแต่ประโยชน์สุขของตนเองไปเสียทั้งหมด เจ้านายและขุนนางพม่าจำนวนหนึ่งเพียรพยายามที่จะปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยพร้อมรับมือกับจักรวรรดินิยมอังกฤษและการเปลี่ยนแปลงของโลก เพียงแต่มีเหตุนานาประการทั้งภายในและภายนอกที่ขัดขวางมิให้ประสบความสำเร็จได้

ราชวงศ์อลองพญานั้นเริ่มต้นราชวงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๕ ตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และแผ่อำนาจไปได้ทั่วเมืองพม่าและดินแดนใกล้เคียง ก่อนที่จะเผชิญหน้ากับกองทัพอังกฤษในอินเดียนั้น ยากที่จะหากองทัพใดยับยั้งอำนาจของราชวงศ์นี้ได้ เมื่อกษัตริย์พม่าขยายพระราชอำนาจไปทางตะวันตก ไปถึงแคว้นอัสสัมและมณีปุระอันต่อแดนกับแคว้นเบงกอลในอินเดียที่อังกฤษครอบครองอยู่ ก็ทำให้มีเรื่องกระทบกระทั่งกับอังกฤษ จนทำสงครามครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๖๗ แม้กำลังพลของพม่าจะเหนือก่า แต่อาวุธยุทโธปกรณ์ล้าสมัย ทำให้พม่าเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ กองทัพอังกฤษเคลื่อนมาใกล้ถึงกรุงอังวะเมืองหลวง พม่าจึงต้องยอมเจรจาสงบศึก ต้องยกดินแดนยะไข่ ตะนาวศรี และอัสสัมให้แก่อังกฤษ ยอมรับอำนาจของอังกฤษเหนือมณีปุระ รวมทั้งเสียเงินค่าปรับถึงหนึ่งล้านปอนด์ ในตอนแรกพม่าคิดว่าอังกฤษคงจะยึดยะไข่และตะนาวศรีไว้ชั่วคราวแล้วคงจะถอนทัพไป แต่อังกฤษไม่คิดเช่นนั้น เพราะต้องการดินแดนนี้ไว้เป็นฐานที่มั่นของตนทางตะวันออกของอ่าวเบงกอล เพื่อจะได้คุมเส้นทางการค้าและยุทธศาสตร์ที่ต่อเนื่องไปถึงปีนังและสิงคโปร์ เมืองท่าของอังกฤษในช่องแคบมะละกาได้มั่นคงขึ้น

หลังจากได้ดินแดนยะไข่และตะนาวศรีแล้ว พ่อค้าอังกฤษไม่เพียงแต่เข้ามาค้าขายและทำป่าไม้ในบริเวณที่อังกฤษได้ปกครองเท่านั้น แต่เข้าไปติดต่อค้าขายในดินแดนของพม่าด้วย โดยเฉพาะเมืองย่างกุ้งที่เป็นเมืองท่าปากแม่น้ำอิรวดี พ่อค้าที่มาค้าขายมีเรื่องวิวาทกับเจ้าเมืองพม่าอยู่เนือง ๆ จนในที่สุดพม่ากับอังกฤษทำสงครามครั้งที่สองใน พ.ศ. ๒๓๙๕ ด้วยเหตุที่ทางการพม่าจับกุมพ่อค้าอังกฤษว่าลักลอบขนสินค้าเลี่ยงภาษีและไม่จ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ส่วนพ่อค้าอังกฤษว่าตนถูกกลั่นแกล้งและร้องเรียนไปยังข้าหลวงใหญ่ที่อินเดีย ทางการอังกฤษในอินเดียจึงส่งกองเรือเข้ามาเรียกร้องค่าเสียหายและให้ลงโทษเจ้าเมืองย่างกุ้ง จนเป็นเหตุให้เกิดการรบพุ่งกับพม่า ผลคืออังกฤษยึดดินแดนปากแม่น้ำอิรวดีไว้ได้ รวมทั้งเมืองย่างกุ้ง ทำให้พม่าเสียทั้งแหล่งปลูกข้าวและทางออกทางทะเลที่จะติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก ราชอาณาจักรพม่าเหลือแต่ดินแดนตอนเหนือ แม้ขนาดจะเล็กลงมาก แต่ก็ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า อาทิ ป่าไม้สัก เหมืองทับทิม และบ่อน้ำมัน

ในช่วงนี้เองที่พระเจ้ามินดง (หรือ มินดุง ตามที่เรียกในหนังสือ) ทรงช่วงชิงราชสมบัติจากพระเจ้าพุกามแมง (พะคันมิ่น) ที่ทรงพ่ายแพ้สงคราม พระเจ้ามินดงทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๖ จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๑ และทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าสีป่อ กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของพม่า

ในหนังสือเขียนว่า ‘พม่าเหนือซึ่งเป็นพระราชอาณาเขตของพระเจ้ามินดุงนั้นก็ปิดตาเสียไม่ยอมรับรู้ในความเจริญและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น’ (หน้า ๑๙) การค้นคว้าในช่วงหลังให้ภาพที่ตรงกันข้าม พระเจ้ามินดงเป็นกษัตริย์ที่ทรงตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในเวลาที่ไล่เลี่ยกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมักจะมีการเปรียบเทียบพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ในฐานะที่ทรงริเริ่มการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย รวมทั้งการดำเนินนโยบายต่างประเทศให้รอพ้นจากภัยจักรวรรดินิยม ด้วยการเป็นมิตรไมตรีกับชาติตะวันตก และการทำสัญญาการค้าเสรีกับต่างชาติ

พระเจ้ามินดง กับเจ้าชายคะนอง พระอนุชาคู่พระทัยทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปบ้านเมือง เจ้าชายคะนองทรงรับภาระเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหาร ตั้งโรงผลิตปืนและกระสุน การจัดซื้อเรือกลไฟ การวางแผนก่อตั้งกองทหารประจำการ รวมทั้งการจ้างชาวอิตาเลียนและชาวฝรั่งเศสมาช่วยออกแบบป้อมตามริมฝั่งแม่น้ำอิรวดีและวางแผนการป้องกันการโจมตีจากข้าศึกศัตรู ส่วนพระเจ้ามินดงเองทรงรับภาระเรื่องการติดต่อกับต่างประเทศ การดำเนินการดึงอำนาจการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ สู่ศูนย์กลาง รวมทั้งอำนาจด้านการศาลและการคลัง

ในสมัยนี้พม่าเริ่มวางสายโทรเลขระหว่างกรุงมัณฑะเลย์เมืองหลวงไปถึงย่างกุ้งและเมืองต่าง ๆ มีการตั้งโรงกษาปณ์ผลิตเหรียญเงินใช้ทั่วพระราชอาณาจักร การใช้มาตราชั่วตวงวัดที่ได้มาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้พระเจ้ามินดงยังทรงส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ตั้งโรงงานของหลวงผลิตครั่งและน้ำตาล โรงทอผ้า และโรงสีข้าวด้านการศึกษา ทรงสนับสนุนให้ตั้งโรงเรียนแบบตะวันตกที่เมืองหลวง อีกทั้งยังโปรดให้ส่งบุตรหลานเจ้านายและขุนนางพม่าไปศึกษาวิชาการต่าง ๆ ถึงในอินเดีย อังกฤษ และยุโรป ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๐๒ – ๒๔๑๘ มีชาวพม่าไม่ต่ำกว่า ๗๐ คนที่ไปศึกษาในต่างประเทศและกลับมารับราชการ

อย่างไรก็ดี การพยายามปฏิรูปบ้านเมืองของพระเจ้ามินดงและเจ้านายขุนนางพม่าหัวก้าวหน้านั้นมีอุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่สำเร็จได้ดังใจหวัง เริ่มแต่การต่อต้านของพวกเจ้าเมืองและขุนนางที่ไม่ต้องการสูญเสียอำนาจเดิมของตน การขาดแคลนเงินรายได้จากภาษีอากรทำให้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้ในการปรับปรุงบ้านเมือง รวมทั้งปัญหาการสืบราชสมบัติที่ทำให้เกิดการกบฏและการสูญเสียเจ้านายและขุนนางที่มีความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้อังกฤษที่ครองดินแดงพม่าทางใต้อยู่ก็มีส่วนกีดขวางไม่ให้พม่าหาความช่วยเหลือจากชาติตะวันตกอื่น ๆ มาพัฒนาบ้านเมืองได้โดยอิสระ

นอกเหนือจากทรัพยากรธรรมชาติของพม่าที่เป็นที่หมายปองของพ่อค้านักลงทุนต่างชาติแล้ว ที่ตั้งของพม่าที่ติดกับอินเดียและจีนก็ทำให้พม่าตกอยู่ในฐานะลำบากยิ่งขึ้น อังกฤษซึ่งหวงอินเดียวเหมือนงูหวงไข่และอยากเปิดตลาดการค้ากับจีนตอนใต้ต้องคอยระแวดระวังไม่ให้ชาติตะวันตกอื่นแทรกเข้ามามีอิทธิพลในพม่า ยิ่งเมื่อฝรั่งเศสยึดครองเวียดนามได้ทั้งประเทศด้วยแล้ว (พ.ศ. ๒๔๒๖) อังกฤษยิ่งหวาดระแวงฝรั่งเศสจะแผ่อิทธิพลจากตังเกี๋ยเข้ามาในพม่าตอนเหนือขึ้นไปจีนตอนใต้ และเป็นภัยต่อความมั่นคงของอังกฤษในอินเดีย ในสถานการณ์ที่คับขันเช่นนี้ พม่าจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำที่ชาญฉลาดที่จะรักษาบ้านเมืองไว้ได้ แต่พระเจ้ามินดงซึ่งสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๒๑ ทิ้งราชบัลลังก์ไว้ให้พระโอรสที่ด้อยประสบการณ์

พระเจ้าสีป่อ กษัติรย์พระองค์ใหม่เริ่มรัชกาลอย่างโหดเหี้ยมด้วยการประหารเจ้านายพี่น้องหลายสิบพระองค์ แม้พระองค์อาจจะทรงยุติปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติไปได้ชั่วคราว แต่ปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจจะทรงแก้ได้ง่าย ๆ คือปัญหาการคลังที่ตกทอดมาจากรัชกาลก่อน ราชสำนักของกษัตริย์หนุ่มที่ฟุ่มเฟือยยิ่งทำให้สถานการณ์คลังทรุดหนักขึ้น หลังจากลองวิธีหาเงินต่าง ๆ แล้วไม่ได้ผล พระองค์ทรงหาหนทางด้วยการคบค้ากับฝรั่งเศสอย่างสนิทสนม ทรงหวังว่านอกจากจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจแล้ว ยังจะให้ฝรั่งเศสช่วยถ่วงดุลอำนาจอังกฤษอีกด้วย แต่วิถีทางที่ทรงคิดว่าจะช่วยให้รอดกลับจะนำไปสู่หายนะในไม่ช้า

ในขณะเดียวกันความมั่นคงในราชอาณาจักรก็สั่นคลอน ไม่เพียงแต่โจรผู้ร้ายชุกชุม ชาวบ้านหาความสงบสุขมิได้แล้ว เจ้าไทยใหญ่และพวกกะฉิ่นที่เคยอ่อนน้อมต่อราชวงศ์อลองพญาก็แข็งข้อ เกิดสงครามรบพุ่งกันหลายครั้ง ผู้คนในพม่าตอนเหนือจำนวนไม่น้อยที่เบื่อหน่ายสภาพความไม่สงบสุข และอยากแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ พากันอพยพโยกย้ายไปอยู่พม่าตอนใต้ที่อังกฤษปกครอง ในเวลาไม่กี่ปีที่พระเจ้าสีป่อขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงอังวะ ราชอาณาจักรพม่าอ่อนแอลงมาก ยิ่งเมืองอังกฤษคุมเชิงอยู่ทางใต้ ความอยู่รอดขอบงพม่าก็เป็นไปได้ยาก”


โดย: รู้บ้างไม่รู้บ้าง IP: 61.91.32.252 วันที่: 30 เมษายน 2551 เวลา:1:12:42 น.  

 
ดีมากเลยครับ ทำให้รู้ข้อมูลประวัติพม่า ขอบคุณครับ


โดย: อคัรวินท์ IP: 202.149.24.129 วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:16:14:30 น.  

 
สงครามคือการทำลายล้างที่ไม่มีความปราณี จากข้อมูลที่ฉันได้ศึกษามาทำให้ฉันได้ทราบถึงความวุ่นวายในราชสำนักของพม่า ในเเผ่นดินของพระเจ้าธีปอ ที่มีความอ่อนเเอ ในการปกครองทำให้ พม่าตกเป็นอณานิคม ของอังกฤษ เเละกลายเป็นชาติที่ล้าหลัง เเต่ในความล้าหลังพม่า ยังดำเนินชีวิต ที่มีคุณค่าทางอารยธรรม


โดย: ดร.วีรยุทธ สายเเปง IP: 124.157.157.28 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:16:23 น.  

 
ดีมากครับ


โดย: เคน IP: 203.172.216.138 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:43:15 น.  

 
ช่างเหมือนกับไทยตอนนี้เลย


โดย: ชม0.. IP: 114.128.45.26 วันที่: 28 มีนาคม 2552 เวลา:13:09:06 น.  

 
//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html//www3.ds.ac.th/~ds53m3921/home.html


โดย: ddod IP: 125.27.20.208 วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:20:35:30 น.  

 
www.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.comwww.youjizz.com


โดย: boat IP: 125.27.20.208 วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:20:38:13 น.  

 
www.ro89.com


โดย: boatx IP: 125.27.20.208 วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:20:38:50 น.  

 
www.1819.com


โดย: www.1819.com IP: 125.27.20.208 วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:20:39:12 น.  

 
น้อมขอบคุณ ตาได้สว่าง1อ๋อ



โดย: vabene IP: 27.55.5.72 วันที่: 25 มกราคม 2556 เวลา:17:30:31 น.  

 
@ปล.เด็กกรุงเก่า @ฮิตเลอร์ เพ้อเจ้อน่ะคะ ดีออก


โดย: ค่ะ IP: 49.229.3.96 วันที่: 28 ตุลาคม 2558 เวลา:0:32:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ryzon
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




free counters
Friends' blogs
[Add ryzon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.