Group Blog
 
 
ธันวาคม 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
21 ธันวาคม 2549
 
All Blogs
 
ข่าวแทรก - จะย้ายฐาน(การผลิต)ไปจีนจริงง่ะ ??

จะย้ายฐานไปจีนจริงง่ะ อ้างอิงจาก Lean.org

เป็นบทความจาก James P. Womack หนึ่งในคณะศึกษา IMVP ของ MIT และกลุ่มผู้แต่งหนังสือเรื่อง The machine that changes the world ที่แนะนำ "Lean" ให้เรารู้จักกันเป็นครั้งแรก บทความนี้ โดยรวมก็ไม่มีอะไรใหม่นอกเสียจากการอธิบายเหตุผลว่าทำไมไม่ควรจะย้ายไปฐานการผลิตไปจากประเทศที่ฐานเงินเดือนสูงไปยังประเทศที่ฐานเงินเดือนต่ำกว่า ซึ่งในระยะสองปีที่ผ่านมา 2004-2006 จะเป็นบทความประเภทนี้บ่อยมาก และลงเอยด้วยการคิด Cost Structure กันใหม่ ว่า ถูกกว่าจริงหรือเปล่า

บทความนี้เริ่มจากการได้รับคำถามมาตรฐานว่า จะย้ายฐานการผลิตไปเมืองจีนดีมั้ย โดยคนที่อยากย้ายนั้น ให้เหตุผลว่า เมืองจีนมีกำลังการผลิตมหาศาล เอาแค่เขตเมืองท่า จะมีกำลังการผลิตถึง 300 ล้านคน ในระยะเวลา 10 ปีนี้ ในขณะที่ฐานเงินเดือนยังอยู่ในอัตราที่ยังเรียกได้ว่าต่ำในระยะเวลาเดียวกันนี้ ซึ่งค่าแรงจัดเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงในการผลิตชิ้นงานหนึ่ง ๆ ดังนั้น ประเทศที่ค่าแรงแพง ๆ อย่าง อเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน ฯลฯ จึงควรย้ายไปเมืองจีน

เหรอ ??

ถ้าพิสูจน์ด้วยการคำนวณก็น่าจะเริ่มจากราคาสินค้าเมื่อเทียบกับราคาในประเทศที่ค่าแรงต่ำ ๆ อย่างจีน อินเดีย เวียตนาม โปแลนด์ ฯลฯ (ไม่ยักกะมีประเทศไทยในนี้แฮะ) รวมค่าขนส่ง นั่นคือราคาที่สรุปรวมแล้วยังถูกกว่า ผลิตในประเทศร่ำรวย

หากแต่นี่เป็นการคำนวณแบบดั้งเดิมในสมัย Mass Production

ในความเห็นส่วนตัวที่เคยให้ไว้สมัยเรียน และสัมนาเกี่ยวกับ Lean manufacturing เคยให้ความเห็นส่วนตัวไว้ว่า กลุ่มประเทศที่เคยใช้ Mass Production ไม่เก่งเรื่องการคำนวณต้นทุนอย่างละเอียด พวก Cost of poor quality, inventory.... ฯลฯ ก็มักจะขาด ๆ เกิน ๆ เทียบกับญี่ปุ่นต้นตำรับไม่ได้ เลยเป็นสาเหตุให้ระบบ Six Sigma ต้องการให้มี Financial review โดยตัวแทนจากทาง Finance เพื่อให้คำนวณ Saving ได้ถูกต้องจริง ๆ

บทความนี้ก็ได้ย้ำอีกว่า ในทัศนะของ James P. Womack คิดว่า ควรจะคำนวณจาก LEAN Model โดยให้คิดถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย

-> เมื่อย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่า ค่าแรงแพง ๆ ของคนที่ค่าแรงแพง ก็ไม่ได้หายไป (มักจะถูกส่งตัวไปอยู่ประเทศนั้น ๆ อีก) (อันนี้ผมแย้งนะ เพราะคงต้องคิดละเอียดกันจริง ๆ ว่า ไอ้คนที่ถูกย้ายไป มีกี่คน ส่วนผู้ผลิตชิ้นงานที่เป็นคนจำนวนมาก แต่เป็นค่าแรงเท่าไหร่ก็ไม่รู้นี่เอง ก็ถูกประหยัดไปได้จากากการย้ายฐานการผลิต)
หรืออาจจะสมมติง่าย ๆ ว่า ถ้าย้ายฐานการผลิตไป แถมยังย้ายเครื่องจักรแพง ๆ ที่ต้องอาศัยคนเฉพาะเจาะจงไปดูแล และสั่งชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตจากประเทศที่ยังฐานเงินเดือนแพง ๆ อยู่ มันก็ไม่ประหยัดจริงหรอก นั่นคือ Overhead Cost ที่เกี่ยวกับทาง Engineering, Management, Product Development, Admin, Marketing ฯลฯ ไม่ได้ใช้ของประเทศฐานเงินเดือนต่ำ มันก็ไม่ประหยัดจริงหรอก

-> ต้นทุนจาก Inventory ที่อยู่ในช่วงขนส่ง (เพราะเราสรุปกันว่า จะใช้การขนส่งที่ประหยัด แต่ช้า )

-> ต้นทุนจากการเพิ่ม Safety stock ในระหว่างการขนส่ง

-> ต้นทุนที่จ่ายไปกับการเร่ง shipment อันนี้ต้องระวังมาก ๆ เพราะว่า เวลาทำราคากัน ไม่เคยมีใครเอาสิ่งเหล่านี้ไปปะไว้กับใบเสนอราคาหรอก แต่มันจ่ายกันจริง ๆ รู้ ๆ กันอยู่ ไม่อย่างนั้นระบบ Kanban คงไม่ต้องมีชิ้นงานผลิตรอเอา Kanban มาเบิก หรอก เพราะแม้กระทั่ง Toyota เองก็เจอปัญหาเรื่อง Volume Fluctuate และระบบ HeiJunKa หรือ Level Scheduling ก็ยังไม่สมบูรณ์มากนัก (ไม่เชื่อไปถามผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ได้ ว่าวางแผนล่วงหน้าไว้สามวันเจ็ดวัน มันได้อย่างงั้นจริงหรือเปล่า)

-> การตั้งโรงงานใหม่ หมายถึงเรียนรู้ และตั้งต้นใหม่ ตรงนี้ก็จะมีต้นทุนจาก Poor Quality - Market claim

-> ต้นทุนเกี่ยวกับการส่งพวกวิศวกร หรือพวก Service ไปเฝ้าแก้ปัญหา

-> ต้นทุนจากการส่งระดับพวกอภิมหาผู้จัดการทั้งหลาย ไปตั้งระบบ ไปสร้างความสัมพันธ์ (พวก Plant Audit หรือ Operation - Bussiness Review )

-> ต้นทุนจากสินค้าค้าง Stock หมดอายุ (การตลาด)

-> ต้นทุนจากการสั่งสินค้าเผื่อไว้มาก ๆ แล้วต้องทิ้งเนื่องจากหมดอายุ (การตลาด)

ดังนั้น หากคิดแบบ Lean จะต้องทำการคำนวณความเสี่ยงเหล่านี้ด้วย

-> ความเสี่ยงทางการเงิน หรือพวกค่าเงิน
-> ความเสี่ยงทางความมั่นคงในประเทศนั้น ๆ
-> ค่าใช้จ่ายในการจัดการขนส่ง และการบริหาร Supply Chain

โดยทั่งไปค่าความเสี่ยงเหล่านี้ ยากจะประเมินทั้งสิ้น แต่หากทำการคำนวณในแบบ Lean เหล่านี้ได้ หมายความว่าไม่ต้องย้ายฐานแล้วก็หาไม่ ยังมีข้อที่ต้องทำการวิเคราะห์อีก เช่น หากตลาดอยู่ในประเทศนั้น ๆ อยู่แล้ว เรื่องค่าขนส่ง และการบริหาร Supply Chain ก็จะลดลง ดังนั้นทางผู้เขียนเองจึงแค่เตือนเอาไว้ว่า การย้ายฐานไม่ควรเป็นท่าแรกที่นำมาใช้ แต่หากต้องนำมาใช้จริง ๆ ควรจะย้ายทั้ง Value Stream

อ้างอิงมาจาก www.lean.org ในวันที่ 20 ธันวาคม 2549


Create Date : 21 ธันวาคม 2549
Last Update : 21 ธันวาคม 2549 10:39:33 น. 1 comments
Counter : 918 Pageviews.

 
good I see


โดย: checkmate IP: 218.225.124.130 วันที่: 28 ธันวาคม 2550 เวลา:9:14:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ECie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




หลังไมค์ของผมค๊าบ !!
Friends' blogs
[Add ECie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.