เรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์: The Untold Stories from The Medical School.
เรื่องของ "คำนำ"

"คำนำ" ถือเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งหรือไม่ ?

วันนี้ผมเปิดอ่านหนังสือใหม่เล่มหนึ่ง ตามธรรมเนียมแล้วก็ต้องอ่านคำนำให้เรียบร้อยก่อน แต่พออ่านแล้วก็เกิดรู้สึกไม่ชอบใจในการเขียนคำนำของหนังสือเป็นอย่างยิ่ง... "เรื่องนี้จะกล่าวถึงการต่อสู้ของหญิงสาวที่... ผู้พบรักกับหนุ่ม... แต่ด้วย... เธอจึงทรยศในความรักของเขา... ก่อนที่เขาจะลงเอยด้วย... และท้ายที่สุดสิ่งที่เธอกระทำก็..."(ทั้งหมดนี้ไม่ได้อยู่ในประโยคหรือย่อหน้าเดียวกัน แต่หากอ่านอย่างละเอียดก็จะสามารถจับใจความเรียงตามลำดับได้) ...เออ ...นี่กะจะไม่ให้ผมอ่านข้างในเลยหรือครับ ???

..........


สำหรับผม คำนำเปรียบเสมือนประตูที่จะเปิดไปสู่การอ่าน (ถ้าเปรียบหน้าปกและำคำเปรยเหมือนบ้านและคำต้อนรับหน้าบ้าน-บ้านนี้รวย ค้าขายดี ฯ) สมัยก่อนที่กฎหมายลิขสิทธิ์จะออกมานั้นหนังสือหลายเล่มไม่เคยมีคำนำ หนังสือแปลหลายเล่มไม่เคยมีชื่อผู้แต่ง และหนังสือแปลหลายเล่มก็ถึงกับถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นงานเขียน(original)ก็มี

ในยุคที่งานแปลยังไม่มีลิขสิทธิ์กำกับนั้นหนังสือหลายเล่มถึงกับพอเปิดผ่านใบรองปกก็เข้าเนื้อเรืองกันเลย จบเล่มแล้วก็แล้วกันไป ค่อยว่ากันใหม่เล่มหน้า (การเขียนชื่อผู้แปล-บรรณาธิการอาจก่อปัญหาทางกฎหมายได้ในหนังสือที่ไม่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง/ถูกฟ้อง) แต่ในปัจจุบันนี้ที่ำเรื่องลิขสิทธิ์ได้รับการยอมรับและมีกฎหมายควบคุม งานแปลทั้งหลายจึงถึงแก่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ นักเขียนต่างชาติหลายคนที่แต่ก่อนมีงานแปลในระดับใต้ดินก็เริ่มมีชื่อเสียงจากการที่หนังสือได้รับการแปลและพิมพ์อย่างถูกต้อง (แต่บางสำนักพิมพ์ก็ซื้อลิขสิทธิ์จากนักเขียนมาตั้งแต่ก่อนมีกฎหมายลิขสิทธิ์แล้ว ไม่ได้หมายความว่างานแปลก่อนมีกฎหมายออกมาจะไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด) นักเขียนหลายคนที่ไม่เคยได้รับการกล่าวชื่อในงานแปลก็ได้รับ "เกียรติ" ตามกฎหมายให้ปรากฎชื่อขึ้นบนปกหนังสือหลังจากที่ถูกนำไปหลบซ่อนมานาน ราคาหนังสืออาจสูงขึ้นบ้าง แต่กระนั้นผู้เขียนก็ควรเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการนี้อยู่แล้ว

"คำนำ" จึงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยขึ้นจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหนังสือในปัจจุบันนี้นอกเหนือจากปกที่ต้องดึงดูดผู้อ่านให้หยิบลงมาจากชั้นวาง และคำโปรยที่เขียนขึ้น(จนเลอเลิศเกินไปในบางกรณี) เพื่อดึงดูดให้คนเปิดดูเนื้อหาข้างใน ...ไม่นับการจั่วหัวเป็น #Bestseller ไม่ว่าจะของสำนักไหน หนังสือ(แปล)บางเล่มนั้นกว่าจะฟันฝ่าเข้าไปจนถึงเนื้อหาได้จะต้องผ่านด่านสำคัญดังต่อไปนี้

1.คำนำผู้เขียน (บางครั้งก็ไม่มี-ซึ่งน่าเสียดายมากสำหรับหนังสือบางเล่ม)
2.คำนำผู้แปล
3.คำนำสำนักพิมพ์
4.คำนิยม (ซึ่งบางครั้งมีผู้เขียนมากกว่าหนึ่งและอาจเขียนได้ยาวมาก-หลายหน้า)
5.คำโปรย (และำคำนิยามที่หนังสือหรือผู้วิจารณ์หนังสือมีให้สำหรับสรุปความรู้สึกหลังจากที่ได้หนังสือ)

(ไม่นับคำอุทิศซึ่งมักสั้นและไม่ก่อให้เกิดอคติในการอ่าน)
ในหนังสือกึ่งนำเที่ยวเล่มหนึ่งที่เคยอ่าน คำนิยมมีความยาวเกือบหนึ่งในสี่ของหนังสือด้วยซ้ำ (ยังเก็บไว้อยู่ที่บ้าน)

สำหรับนักเขียนหน้าใหม่และงานพิมพ์ครั้งแรก ๆ คำนำมักจะถูกใช้เพื่อแนะนำนักเขียน (บางเล่มอยู่ที่ปกหน้าด้านในหรือปกหลังด้านนอก) เพื่อให้รู้ "หัวนอนปลายเท้า" และที่มาที่ไปและการดิ้นรนต่อสู้ในความใส้แห้งของนักเขียนคนนั้น และสำหรับงานที่ผ่านการแก้ไขหรือเพิ่มเติมก็มักจะพ่วงคำนำสำหรับการพิมพ์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเข้าไว้ด้วยเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเหตุใดจึงมีการแก้ไขเกิดขึ้น และบางเล่มก็จะมีคำนำสำหรับฉบับพิมพ์เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบความสำคัญของผู้แต่งหรือหนังสือเอาไว้ด้วย ..จะว่าเฉลิมฉลองก็คงไม่ถูกนักเพราะบางครั้งก็พิมพ์เพื่อให้เกียรติืแก่ครบรอบการตายของผุ้แต่งก็มี

ผมไม่รู้ว่ามีกฎในการเขียนคำนำหรือไม่ สิ่งที่แน่นอนอย่างหนึ่งก็คือนักเขียนคงไม่เปิดเผยสิ่งที่เป็น "เนื้อ" ในเรื่องจนคนอ่านไม่คิดจะเปิดอ่านหรือหยิบไปจ่ายเงินที่เคาท์เตอร์ แต่นักเขียนอาจเปิดเผย "แก่น" หรือแนวคิด-ที่มาที่ไปของการเขียน แต่สิ่งที่พึงระวังในการอ่านคำนำ (รวมถึงคำนิยม) ในหนังสือก็คือคำนำสำนักพิมพ์-บรรณาธิการ และคำนิยมที่บางครั้ง (บ่อยครั้้ง) เขียนจนเกินเลยขอบเขตของการ "นำ" ไปสู่เนื้อและแก่นในหนังสือ กล่าวคือกลายเป็นการเผยเนื้อและแก่นจนเกินงาม หรือกระทั่งวิเคราะห์วิจารณ์จนผู้อ่านแทบไม่ต้องใช้จินตนาการใด ๆ สำหรับหนังสือที่บางครั้งหนาหลายร้อยหน้าที่อยู่ถัดจากคำนำไป ดังนั้นสำหรับผมเองแล้ว คำนำจึงมีคุณค่าและความหมายสำหรับนักอ่านมากเพราะมันเสมือนประตูที่จะเปิดไปสู่บ้านที่นักเขียนสร้างและตกแต่งไว้ด้วยความอุตสาหะ คงไม่มีใครอยากเห็นประตูบ้านบานใหญ่มาก ๆ ที่พอเิปิดแล้วมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในบ้านหมดจนไม่จำเป็นต้องเดินเข้าไปดูข้างใน (เสียค่าเข้าชมเป็นค่าซื้อหนังสือ)

การเขียนคำนำในความเห็นของผมจึงควรเป็นงานที่ต้องใช้กลวิธี ศิลปะ วาทศิลป์ และความเป็นวรรณกรรมในตัวเองสูงพอสมควรที่จะดึงดูดให้คนเลือกหนังสือเล่มนี้ (หากผู้อ่านไม่ได้เป็นแฟนหนังสือของนักเขียนอยู่ก่อน) แต่ก็จะต้องไม่มากจนกลายเป็นโฆษณาชวนเชื่อที่ผู้อ่านจะผิดหวังเมื่ออ่านหนังสือไปได้ระยะหนึ่ง (หรือบางครั้งก็แค่ไม่กี่หน้า) แน่นอนว่าผู้เขียนคำนำย่อมไม่ทำลายหนังสือที่เขาเขียนคำนำให้ (หรือกระทั่งคำนิยมก็เถอะ-ไม่อย่างนั้นก็คงต้องเรียกเป็น "คำไม่นิยม" ไป) คำนำที่ดีอาจถูกมองข้ามไปได้ง่าย ๆ แต่กับคำนำที่ไม่ค่อยดีนักอาจประทับในความทรงจำของผู้อ่าน (หรือกำลังจะอ่าน-หรือเลิกอยากอ่าน) ไปนาน

คำนำที่ผมชอบอ่านมากที่สุดคือคำนำที่เขียนโดยเจ้าของสำนักพิมพ์วรรณวิภา คุณสุวิทย์ ขาวปลอด เปิดอ่านคำนำของลุงแกทีไรก็มีอันได้ฮากันเมื่อนั้น บางครั้งคำนำของแกก็มีแต่เรื่องบ่นโน่นบ่นนี่ไปตามประสา(คนแก่) บางครั้งก็บ่นเรื่องคนที่โทรศัพท์ไปต่อว่าแกที่สำนักงาน(บ้าน) บางครั้งก็บ่นเรื่องโรงพิมพ์ บ่อยครั้งก็บ่นเรื่องเศรษฐกิจฝืดเคือง ไป ๆ มา ๆ ก็เขียนเรื่องสุนัขที่เลี้ยงไว้บ้าง มีงูเห่าเข้าบ้านบ้าง... แต่พึงสบายใจได้ว่าลุงสุวิทย์จะไม่เขียนคำนำแบบ "เรื่องนี้จะกล่าวถึงการต่อสู้ของหญิงสาวที่... ..." ที่อ่านไปก็ส่ายหน้าไปด้วยเป็นแน่ (เพราะลุงแกไม่ค่อยแปลงานแบบนี้เท่าไหร่ด้วย) ถ้าถามว่าเป็นคำนำแบบมีศิลปะในการเขียนหรือไม่ ? ผมว่าไม่... แต่ถ้าท่านใดจะเขียนคำนำแบบที่คนอ่านไม่ต้องลุ้น-ไม่ต้องจินตนาการแล้วละก็ ผมว่าเขียนอย่างนี้ดีกว่าเยอะเลย

แต่กระนั้น... ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) นักแปลหลายคนก็ยัง "กล้อมแกล้ม" กับงานแปลด้วยการใช้คำ "แปลและเรียบเรียงโดย..." สำหรับหนังสือหรืองานเขียนหลายชิ้นที่ไม่ได้รับการระบุที่มาอยู่นั่นเอง

..........


พระราชบัญญัติลิขสิทธิ พ.ศ. ๒๕๓๗ จาก wikisource.org
ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์และการแจ้งข้อมูล จากกระทรวงพาณิชย์ moc.go.th


Create Date : 18 พฤษภาคม 2551
Last Update : 18 พฤษภาคม 2551 15:41:36 น. 6 comments
Counter : 3170 Pageviews.

 
ชอบเปิดอ่านคำนำคุณสุวิทย์เหมือนกันค่ะ
รู้สึกเหมือนเป็นช่องทางสนทนากับผู้อ่านที่เป็นกันเองดีจริงๆ

เวลาสำนักพิมพ์หักคอให้เขียนคำนำ ก็จะพยายามไม่เขียนเล่าเรื่องเหมือนกัน
(แม้ว่าเขาจะมีใบสั่งให้เขียนอย่างนั้น -_-" น่าหงุดหงิดมาก)
เลยเลี่ยงไปยกพวกเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในเรื่องมาขยายหรืออธิบายมากกว่า
เช่น ผู้แต่งเขียนเรื่องนี้ตอนไหน มีประเด็นทางสังคมอะไรที่ทำให้เกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ฯลฯ
หรือถ้ามีอะไรที่คนอ่านอาจจะไม่เข้าใจกับบริบทของหนังสือ ก็จะมาเล่าสู่กันฟังตรงหน้าคำนำนี้แทน


โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 18 พฤษภาคม 2551 เวลา:15:43:32 น.  

 
...เจอคนเขียนคำนำตัวจริงมาเองเลยครับ ขอบคุณครับ


โดย: Zhivago วันที่: 18 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:18:21 น.  

 
นู๋กิ๊ก มาชวนไปทำบุญพรุ่งนี้อ่ะ ว่างป่าวอ่ะจ๊ะ
ไปด้วยกันนะ อิอิ
ฝันดี รีบนอนจาได้ตื่นเช้าๆๆ
ฝันดีน๊า กูดไนท์ จุ๊บ จุ๊บ


โดย: GIGG (Gigg_Pat ) วันที่: 18 พฤษภาคม 2551 เวลา:22:25:09 น.  

 
ปกติเวลาอ่านหนังสือทั่วไป ส่วนแรกที่จะอ่านก็คือคำนำจริง ๆ ด้วยค่ะ...
แต่ถ้าเป็นนิยายจะข้าม ๆ ไปมั่งเพราะกลัวโดนสปอยล์ ...

สุขสันต์วันวิสาขบูชาค่ะคุณหมอ


โดย: แม่ไก่ วันที่: 19 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:00:27 น.  

 
รู้สึกเหมือนกันเลยค่ะ ไม่รู้จะนำอะไรกันนักกันหนา นิยายฝรั่งไม่เห็นจะต้องมีคำนำ เปิดมาก็อ่านเลย บันเทิงใจ

แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือ สนพ. ยัดๆ คำนำคนโน้นคนนี้เข้าไปมากมาย เสร็จแล้วดันตัดคำอุทิศที่นักเขียนเขียนไว้ไปซะงั้น


โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat ) วันที่: 19 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:19:15 น.  

 
ชอบอ่านคำนำมาค่่ะ

หนังสือบางเล่มผ่านไปนานๆ

จำได้เฉพาะคำนำก็ยังมี


โดย: January Friend วันที่: 22 พฤษภาคม 2551 เวลา:0:15:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Zhivago
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




มนุษย์เข้มแข็ง
กว่าที่ตนคิดไว้เสมอ
New Comments
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
18 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Zhivago's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.