* * * * ครีมทากันแดด * * * * บล็อกที่ 873










ครีมทากันแดด




บล็อกวันนี้ นำมาจากคอลัมน์ ‘Life & Family’ น.ส.พ.ผู้จัดการ ฉบับวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


บทความเรื่อง ‘เรื่องที่ทุกบ้านควรรู้เกี่ยวกับครีมทากันแดด’ ข้อมูลโดย รศ.นพ.นภดล นพคุณ





ทุกวันนี้ คนเราเน้นการบำรุงผิวมากกว่าการปกป้องผิว โดยหารู้ไม่ว่าผิวของคนเราถูกทำร้ายจากสิ่งเร้าภายนอกอยู่ตลอดเวลา และหนึ่งในวายร้ายที่ทำลายผิวของเราก็คือ แสงแดด นั่นเอง การรู้จักปกป้องผิวนับเป็นสิ่งจำเป็น และผลิตภัณฑ์กันแดดก็ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่หลายๆ บ้านนิยมเลือกใช้ เพราะสร้างความมั่นใจได้มากเวลาพาผิวออกไปเผชิญกับแสงแดด แต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังมีหลายเรื่องที่บางบ้านยังไม่ทราบ




วันนี้ ทีมงาน Life & Family มีข้อมูลดีๆ จาก รศ.นพ.นภดล นพคุณ อดีตนายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ปี 2551-2555 และหัวหน้าหน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาฝากเป็นความรู้




รศ.นพ.นภดล ให้ความกระจ่างว่า ส่วนใหญ่เราคุ้นเคยกับค่า SPF หรือค่าการป้องกันแสงแดด เช่น ถ้าเคยตากแดดแล้วผิวไหม้แดง ในเวลา 15 นาที หากทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มี SPF= 6 ก็จะปกป้องผิวได้ 6 เท่า หรือผิวจะไหม้แดงเมื่อเวลา 90 นาทีผ่านไป (6x15=90) ถ้าค่า SPF= 8 ผิวจะไหม้แดงเมื่อเวลา 2 ชั่วโมงผ่านไป (8x15=120)




แต่สำหรับการปกป้องผิวจากรังสี UVA ให้ดูที่ค่า PPD หรือ PERSISTENT PIGMENT DARKENING มากกว่า ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดค่ากันแดดที่ป้องกัน UVA ที่เป็นตัวการในการทำให้ผิวดูแก่และสีคล้ำขึ้นนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าทากันแดดที่มีค่า PPD10 คุณสามารถทนแดดได้มากกว่าผิวที่ไม่ทา ถึง 10 เท่า .. แต่ในบางประเทศ อย่างญี่ปุ่น ไม่ได้ใช้ค่า PPD แต่ใช้ค่า PA เป็นระดับการวัดค่าป้องกัน UVA ค่าสูงสูดในมาตรฐาน PA คือ PA+++ ซึ่งเมื่อเทียบกับมาตรฐาน PPD ค่า PA+++ คือ >8 ขึ้นไป




ดังนั้น หากต้องการจะปกป้องผิวจากรังสี UVA ก็ควรหาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า PPD สูงๆ มาใช้ ไม่ควรจะดูที่ค่า SPF เพียงอย่างเดียว เพราะค่า SPF เอาไว้วัดค่าการปกป้องรังสี UVB ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวในระยะยาวน้อยกว่า UVA สังเกตได้ง่ายๆ ถ้าเห็นตัวอักษร UVA อยู่ในวงกลม นั่นแสดงว่าผลิตภัณฑ์กันแดดตัวนั้นสามารถป้องกันผิวจาก UVA ได้ดีระดับหนึ่งทีเดียว




2





3





4





5





ส่วนสารกันแดด หรือสารกรองแสงที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์กันแดดทั่วๆ ไปนั้น สามารถแยกสารกันแดดได้เป็น 2 ประเภท คือ Chemical Sunscreen ที่คอยดูดซับรังสี และทำปฏิกิริยาทางเคมี โดยเปลี่ยนแปลงให้เป็นคลื่นช่วงอื่นก่อนที่จะคายตัวออกมาจากสารกันแดด




และ Physical Sunscreen (สารกันแดดสะท้อนแสง) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ Titanium Dioxide (TiO2), Zinc Oxide (ZnO) สามารถสะท้อนแดดได้ทั้ง UVA, UVB, Visible Light และ Infrared Light สารพวกนี้สามารถดูดซึมเข้าผิวหนังน้อยมาก ทำให้ไม่ค่อยเกิดอาการแพ้ แต่สารพวกนี้จะมีคุณสมบัติทึบแสง คือ เมื่อทาแล้วใบหน้าจะขาวมากนั่นเอง ซึ่งสารกันแดดที่มีฤทธิ์ป้องกัน UVA จะต้องสามารถกันรังสีช่วง 320-400 nanometers ได้




อนึ่ง สารกันแดดที่เป็น Chemical Sunscreen มีหลายชนิด บางชนิดป้องกันได้เพียง UVA หรือ UVB เท่านั้น แต่บางชนิดสามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB และปัญหาสำคัญที่พบได้จากสารเคมีกลุ่มนี้ คือ สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ไม่ทนทานต่อเหงื่อและน้ำ และยังไม่มีความเสถียรเมื่อทำปฏิกิริยากับแสงแดดด้วย ทำให้คนที่มีผิวระคายเคืองง่ายอาจจะไม่สามารถใช้ได้ จึงจำเป็นต้องมองหาบางผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติหรือส่วนผสมที่พิเศษกว่า ที่จะไม่มีผลระคายเคืองสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย




สำหรับผลิตภัณฑ์กันแดดที่ป้องกัน รังสี UV ได้ดีและครอบคลุม ควรจะมีส่วนผสมของทั้ง Chemical และ Physical sunscreen เช่น Zinc Oxide, TiO2, Avobenzone (Parsol 1789), Mexoryl SX, Mexoryl XL, Oxybenzone เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาดที่มีประสิทธิภาพกัน UVA ได้ดี ก็จะมีสารที่กล่าวแล้วข้างต้นผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป ในสัดส่วนความเข้มข้นต่างๆ ซึ่งให้ประสิทธิภาพการปกป้องรังสี UVA ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าการปกป้องทั้งรังสี UVB และ UVA สูงๆ และเหมาะกับสภาพผิวของตัวเอง




6





7





8





9





ทาครีมกันแดดอย่างไรให้ถูกวิธี




“คนส่วนใหญ่มักนิยมใช้ครีมกันแดดเมื่อต้องออกกลางแจ้ง หรือในช่วงหน้าร้อนที่ต้องไปทะเลเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเราควรใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดในทุกวันให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ขึ้นอยู่กับว่ามีโอกาสสัมผัสแสงแดดมากน้อยแค่ไหน เช่น ถ้าออกจากบ้านแต่เช้ามืด กลับดึก และอยู่แต่ในตึกตลอดทั้งวัน ก็อาจจะใช้ครีมกันแดดเฉพาะบางวันที่จำเป็น แต่อย่าลืมว่าแสงแดดสามารถสะท้อนพื้นน้ำ พื้นทรายได้ แม้จะอยู่ในร่มก็มีโอกาสได้รับแสงอุลตราไวโอเลตได้อย่างแน่นอน”




"หลายๆ คน อาจคิดไม่ถึงว่า แสง UVA สามารถทะลุทะลวงผ่านกระจกได้ การนั่งทำงานในร่มแต่ใกล้หน้าต่าง ก็มีโอกาสได้รับแสงได้เช่นเดียวกัน และกระจกรถทั่วๆ ไปก็ไม่สามารถป้องกันรังสี UVA ได้ ในขณะที่เราขับรถ รังสี UVA สามารถทะลุทะลวงมายังผิวเราได้ ซึ่งหลายๆ คน ไม่ค่อยตระหนักถึงเรื่องนี้เท่าใดนัก จึงอยากขอแนะนำว่าถ้าเป็นไปได้ควรใช้เป็นประจำทุกวัน"




“อีกอย่างหนึ่ง คนส่วนใหญ่เชื่อว่าการทาครีมกันแดดควรใช้ในปริมาณมากๆ เพื่อจะได้ป้องกันแสงแดดได้ดี สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยขอแนะนำว่า ควรใช้ครีมกันแดดประมาณ 1 ข้อนิ้วชี้ สำหรับทาหน้าและคอ และควรทาอย่างน้อย 2 รอบ จึงจะสามารถป้องกันแสงแดดได้ หากเล่นกีฬาหรือมีเหงื่ออออกมากๆ ควรจะทาซ้ำทุก 2 ชม. เพราะผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนใหญ่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการทนต่อน้ำ เมื่อเราเหงื่อออก ก็จะหายไปหมด”




“ข้อสำคัญ ไม่ควรใช้ชีวิตในที่ที่มีแสงแดดจัด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องตากแดดจัด ควรป้องกันร่างกายอย่างมิดชิดด้วยเสื้อผ้า แว่นกันแดด หมวก และร่ม เลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับกิจกรรมแต่ละประเภท แต่ก็อย่าลืมด้วยว่า ร่างกายยังต้องการวิตามินดีจากแสงแดดเพื่อกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งได้มีการทดลองแล้วพบว่าการได้รับแสงแดดเพียงไม่นาน ร่างกายก็สามารถได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ”




“อยากฝากบอกไว้ว่า การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพดีจะช่วยทำให้มีสุขภาพผิวที่ดี สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ การดื่มน้ำเยอะๆ การพักผ่อนที่เพียงพอ และการไม่ทำร้ายผิวด้วยการเสพของมึนเมาหรือคาเฟอีน บวกกับการปกป้องผิวจากแสงแดดอย่างถูกวิธี เพียงเท่านี้ก็จะทำให้มีสุขภาพผิวที่ดีแล้ว”




“ข้อสำคัญ ต้องเร่งลงมือปกป้องผิวตั้งแต่วันนี้ เพราะผิวของเรามีโอกาสถูกแสงแดดทำร้ายอยู่ตลอดเวลา"





10





11





12





สาระน่ารู้



การเลือกใช้ครีมทากันแดดแบบ SPF (Sun Protection Factor) ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่



คุณหมวยแก้มป่อง รีวิว ++ มา review ครีมกันแดดค่ะ +++ เคยลงในกระทู้ห้องสวนลุมพินี เว็บพันทิปมาแล้ว แล้วคุณหมวยแก้มป่องนำมาอัพลงในบล็อกแก๊งค์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2550 (Last Update 13 มกราคม 2552) เพื่อเก็บไว้เป็นประโยชน์ อ่านกันหลายๆคน อ่านซ้ำก็ได้ ครีมกันแดดที่นำมารีวิวมีถึง 17 ยี่ห้อ ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่



ทำความรู้จักกับ “9 ครีมกันแดดยอดนิยม” ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่










ขอขอบคุณที่กรุณาโหวตให้ ในสาขา Best Topical Blog ขอขอบคุณครับ



จาก สิน yyswim







Create Date : 08 เมษายน 2555
Last Update : 8 เมษายน 2555 0:02:46 น. 10 comments
Counter : 2648 Pageviews.

 
ฟ้าสวยทะเลสวยมากเลยค่ะ๊พี่สิน

ใครไปเที่ยทะเลฟ้าแบบนี้เท่ากับได้รางวัลชีวิตมากเลย

ครีมกันแดดรินเป็นคนที่ทามั้งไม่ทามั้ง สีผิวก็เลยเป็นปล้องๆ อิอิ
แต่ร้อนนี้ยังไงก็ตาม ทาเสียหน่อย
ขอบคุณเรื่องราวดีดีของพี่สินค่ะ




รินโหวตให้เหมือนเดิมค่า

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

yyswim Topical Blog ดู Blog




โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 8 เมษายน 2555 เวลา:8:01:14 น.  

 
ปัญหาอยู่ที่ผลิตภัณฑ์พวกนี้ราคามันแพงมากน่ะสิครับพี่สิน

ผมไม่ได้ไปเยี่ยมเพื่อนๆเลยเป็นสัปดาห์แระ วันนี้วันอาทิตย์พอจะว่างหน่อย มัวแต่นั่งสร้างบล็อกตอนใหม่ ป่านนี้ก็ยังไม่แล้วเสร็จ คาดว่าคงเสร็จคืนนี้และทันออกอากาศพรุ่งนี้

ไหนๆมาเยี่ยมพี่สินแล้วเดี๋ยวจะขอถือโอกาสย้อนไปอ่านเอนทรี่ก่อนหน้าที่ข้ามไปครับ


โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 8 เมษายน 2555 เวลา:8:46:11 น.  

 
ครีมกันแดดที่ค่้าเกินกว่า spf15 เค้าว่าไม่ค่อยได้ประโยชน์อะไร
กันแค่ spf15 ก้อพอ และต้องทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมงถ้าอยู่กลางแดด
หรือลงเล่นน้ำค่ะ
ฉัตรขาดไม่ได้เลยค่ะครีมกันแดดเนี่ย
ประสบการณ์ตรงเป๋็งเรย อิอิ

ขอแชร์ไปที่กลุ่มนะคะ


โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 8 เมษายน 2555 เวลา:9:37:00 น.  

 
แวะมาบ้านนี้ไม่ผิดหวังเลย..สาระเพียบ


รูปสวย...บล๊อกสะอาดตา...


มาเก็บความรู้ของครีมกันแดดค่ะ...


โดย: Calla Lily วันที่: 9 เมษายน 2555 เวลา:7:40:49 น.  

 
เห็นภาพแล้วอยากได้เลนส์ไวด์ครับพี่

ยังงงๆอยู่กับกล้องตัวคูณกับเลนส์อีเอฟเอสนี่แหละ


โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:1:01:38 น.  

 
ขอบคุณพี่สินที่ไปเอ่ยชมแผนที่ครับ

ผมเม้นท์เพิ่มเติมเบื้องหลังบางอย่างนิดหน่อย ไว้ในคห.ที่ 57 ทำลิงค์ คห.มาไว้ให้พี่ด้วย ลิงค์คห.57

ว่างขอเชิญครับ



โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:9:35:17 น.  

 
กระทู้แสงเหนือเซพไว้อ่านทุกอันแล้วครับ เคยชมภาพผ่านตาหมดแล้ว ภาพทุกภาพสวยสุดยอดมากๆ คนถ่ายฝีมือฉกาจเหลือเกินครับ แต่ยังไม่มีเวลาไปอ่านเรื่องราวครับ


โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:11:49:39 น.  

 
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ ขโณ โว มา อุปจฺจคา
รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้ อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย

ตั้งใจทำการงานอันสุจริตด้วยความไม่ประมาท ตลอดไป...นะคะ



ปีใหม่ไทยนี้ ปอป้าขออวยพรให้ทุกท่าน ทุกครอบครัว
ประสบแต่ความสุขความเจริญ มีสุขภาพแข็งแรง
สำเร็จในทุกสัมมาการที่ปรารถนา เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
ตลอดปีใหม่ และตลอดไป...นะคะ



โดย: พรหมญาณี วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:12:11:14 น.  

 
เข้ามาเยี่ยมชมครับน้า สวยมาก


โดย: นะนะ IP: 183.88.84.64 วันที่: 10 เมษายน 2555 เวลา:23:35:42 น.  

 
หวัดดีครับพี่
วันนี้ผมไปชมกระทู้แสงเหนืออย่างละเอียดครบสี่ตอนแล้ว แต่ในตอนสี่ลองกวาดตาดูคห.ที่มาว่าจขกท.อวด หาไม่เจอครับ ^^ สงสัยโดนลบไปแระ

เกี่ยวกับคำถามภาพจักรยานล้อหมุน
ผมเข้าไปดูแล้ว จักรยานคันนั้นประกอบด้วยภาพสามภาพดังนี้ครับ

ตัวถัง


เฟือง


และล้อ


และมีเวอร์ชั่นครบทั้งคันอีกหนึ่งภาพ คือ

ซึ่งเวอร์ชั่นครบทั้งคันคงใช้สำหรับแสดงบนอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ที่ไม่สนับสนุน (เดาเอาครับ )

สำหรับล้อนั้น หน้าหลังเหมือนกันจึงใช้ภาพเดียวกันแสดงสองตำแหน่ง
และหมุนได้ด้วยการบังคับด้วยโค้ด CSS ตั้งเวลาหมุน 2วินาที ต่อหนึ่งรอบครับพี่

วิธีการเซพพี่สินต้องเซฟภาพไปทั้งภาพตัวถัง เฟิอง และล้อครับ (ภาพครบทั้งคันไม่ต้องเซพ )
และต้องเซพโค้ดCSSที่บังคับให้หมุน และการวางภาพต้องใช้CSSอีกชุดกำกับล้อให้แสดงผลสองภาพเป็นล้อหน้าและล้อหลังครับ

หากประสงค์จะให้ทำให้ดูจะลองทำให้ครับ เวลานี้ยังไม่ได้ลองครับแค่เข้าไปดูโค้ดของเค้าครับพี่



โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 11 เมษายน 2555 เวลา:10:41:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
 
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
8 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.