บัตรประชาชน


บัตรประชาชน






# 01 ความสำคัญของบัตรประชาชน


บัตรประชาชน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน เป็นเอกสารสำคัญที่ทางราชการออกให้เฉพาะ ผู้มีสัญชาติไทย มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน …เพื่อใช้ยืนยันตัวบุคคล ในกรณีที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง สมัครงาน ทำนิติกรรมสัญญา ติดต่อหน่วยงานราชการหรือเอกชน เป็นหลักฐานที่หน่วยงานต่างๆใช้ตรวจสอบตัวบุคคลเมื่อจะออกหนังสือสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวผู้ป่วย ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง บัตรเครดิต บัตรสมาชิกสโมสร รวมทั้งใช้ตรวจสอบตัวบุคคลเมื่อจะถอนเงิน รับพัสดุ หรือเปิดเซฟ เป็นต้น


ในบัตรประจำตัวประชาชน จะมีรูปภาพเจ้าของบัตรฯถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกไม่สวมแว่น ข้างหลังรูปภาพมีแถบบอกความสูง และมีข้อมูลเกี่ยวกับ เลขหมายประจำตัวของเจ้าของบัตร จำนวน 13 หลัก ซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับของผู้อื่น มีชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีที่เกิด ศาสนา หมู่โลหิตของเจ้าของบัตร พร้อมที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน วันที่ที่ออกบัตร วันที่ที่บัตรหมดอายุ เป็นต้น





# 02 คุณสมบัติของผู้ที่มีบัตรฯ



ผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามบทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542



ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เพราะมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวอื่นนั้นแทนบัตรประจำตัวประชาชน เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภิกษุ สามเณร ผู้ที่อยู่ในที่คุมขังตามกฎหมาย ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ เป็นต้น



บุคคลพิการโดยทั่วไป จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ยกเว้นบุคคลพิการ 4 ประเภท คือ เป็นผู้พิการทางร่างกายเดินไม่ได้, เป็นใบ้, ตาบอดทั้งสองข้าง, หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร


อย่างไรก็ตาม บุคคลพิการ 4 ประเภท หากประสงค์จะขอมีบัตรฯ ก็สามารถไปดำเนินการขอมีบัตรได้ โดยเจ้าตัวจะต้องไปแสดงตัวและมีส่วนร่วมขอมีบัตรด้วยตนเอง





002




# 03 การขอมีบัตรฯ ครั้งแรก



ให้ยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล หรือศาลาว่าการเมือง ซึ่งผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือนับแต่วันที่ได้สัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หากพ้นกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท



หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สูติบัตรหรือหลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ หากไม่มีหลักฐานเอกสาร ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือไปให้การรับรองด้วย


การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำบัตรแต่อย่างใด




# 04 การขอมีบัตรฯ ครั้งต่อไป


บัตรประจำตัวประชาชน จะมีอายุใช้งานได้ 6 ปี …..เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ จะต้องมีบัตรใหม่ จะต้องยื่นคำขอภายใน 60 วัน ที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะทำบัตร โดยนำบัตรเดิมไปด้วย โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรใหม่ หากพ้นกำหนดหกสิบวัน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท … และหากผู้ถือบัตรฯ ต้องการจะทำบัตรใหม่ก่อนบัตรเดิมจะหมดอายุ สามารถทำได้ภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตรใหม่



เมื่อบัตรหายหรือชำรุดหรือถูกทำลาย ....ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะทำบัตร โดยไม่ต้องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และหลักฐานเอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตร แต่ต้องเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น หากไม่มีหลักฐานเอกสาร ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไปให้การรับรอง


การทำบัตรใหม่กรณีบัตรหายหรือชำรุดหรือถูกทำลาย ต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาทหรือ 20 บาทในกรณีออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์



กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ....ผู้ถือบัตรต้องขอเปลี่ยนบัตรฯ โดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะทำบัตร ภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว หรือชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องระวางโทษไม่เกินสองร้อยบาท


หลักฐานที่ต้องนำแสดง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรเดิม และหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล และต้องเสียค่าธรรมเนียม 10 บาทหรือ 20 บาทในกรณีออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์


อนึ่ง การเสียค่าธรรมเนียมการทำบัตร หรือการเสียเงินค่าปรับ พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกครั้ง





# 05 ความหมายของเลขหมายประจำตัว 13 หลัก



เลขหมายประจำตัว 13 หลัก ประชาชนคนไทยจะมีไม่ซ้ำกันเลย …ลองอ่านไปและดูเลขหมายประจำตัว 13 หลักของตัวเองไปด้วยซิครับ



003




หลักที่ 1 (ในภาพข้างบน คือ เลข 3) หมายถึงประเภทบุคคล ซึ่งมี 8 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)

ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)

ประเภทที่ 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (1 ม.ค. - 31 พ.ค.2527)

ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2527)


…..หมายเหตุ : จขบ. ต้องขออภัยที่ไม่อาจจะอธิบาย ความหมายของ วันที่ เดือน ปี ข้างบนได้ว่า หมายถึงอะไร??? จขบ. นำข้อมูลมาจาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองกดที่นี่ครับ เขาก็บอกไว้เพียงแค่นี้ ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม…..



ประเภทที่ 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน ในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ

ประเภทที่ 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว

ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย

ประเภทที่ 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัว
คนต่างด้าว คนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย



หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (ในภาพข้างบน คือ เลข 1015) หมายถึง รหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในขณะให้เลขสำหรับเด็กเกิดใหม่ จะหมายถึงถิ่นที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงจังหวัด ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงอำเภอหรือเทศบาล



หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (ในภาพข้างบน คือ เลข 01245) หมายถึงกลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักที่ 1 หรือหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตรแล้วแต่กรณี



หลักที่ 11 และ 12 (ในภาพข้างบน คือ เลข 29) หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่มแล้วแต่กรณี


หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลข 12 หลักแรก





# 06 วิวัฒนาการของบัตรประจำตัวประชาชน




จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คนไทยเริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคล ปรากฏอยู่ใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยในมาตรา 90 บัญญัติว่า "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น"


วัตถุประสงค์ของการออกหนังสือเดินทางรับรองราษฎร ก็เพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยตรง ไว้แสดงตัวบุคคลว่า ตัวเขาเป็น ใคร มาจากแห่งหนตำบลใด ทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความสะดวก และหากเจ้าหน้าที่เกิดความสงสัยขอตรวจค้น ก็สามารถใช้หนังสือเดินทางที่ออกให้ เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้ว่า เป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรองแล้ว ไม่ได้เป็นพวกมิจฉาชีพแต่อย่างใด


หนังสือดังกล่าวเมื่อประมาณ 93 ปีที่แล้ว จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชนมีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร เพื่อใช้เดินทางไปยังท้องที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันนั่นเอง



ในปี พ.ศ. 2486 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่8 รัฐบาลโดยการนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอออกกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะเป็นครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486"


นับเป็นกฎหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะราษฎรในสองจังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี(กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)



บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอนคล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง 2ด้าน


ด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ด้านหลัง(ปกหลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน อาทิเช่น ต้องพกบัตรติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอ ต้องขอเปลี่ยนบัตรเมื่อบัตรหมดอายุ ต้องแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่ เป็นต้น



004




ในแต่ละหน้า จะมีการบอกลำดับเลขไว้ดังนี้


หน้าที่ 1 ระบุข้อความ เลขทะเบียนที่ออกบัตร วันที่ออกบัตร ออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตร ขนาด 2 นิ้ว และมีลายมือผู้ถือบัตรและลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา


หน้าที่ 2 เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ได้แก่ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล วันเดือน ปีเกิด อายุ ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ สัญชาติ ชื่อบิดา มารดา ชื่อภริยา หรือ สามี


หน้าที่ 3 เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฎร ได้แก่ ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ที่อยู่บ้านเลขที่ ถนน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด อาชีพ และมีตราประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่


หน้าที่ 4 - 6 มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร



ลักษณะพื้นบัตร เป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ ด้านหน้าและด้านหลัง ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์ กับวัดอรุณราชวราราม เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย



บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีอายุการใช้ 10 ปี เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว ต้องทำคำร้องขอเปลี่ยนบัตร โดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์ ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฎหมาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ จนถึง 70 ปีบริบูรณ์ และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้






พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2505 : กฎหมายที่บังคับให้คนไทยทั่วประเทศต้องมีบัตร


เนื่องจากบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีจุดอ่อนในด้านการพกพา เพราะมีลักษณะใหญ่เกินไป ไม่สะดวกต่อผู้ใช้ที่จะต้องพกพาติดตัว ประกอบกับลักษณะของบัตร หลักการ และวิธีการทางกฎหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัย



รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และให้สามารถบังคับใช้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ



ในที่สุด "พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2505" ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 ก็ออกมา โดยมีกรมการปกครองเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ



สาระสำคัญที่แตกต่างไปจากฉบับปี พ.ศ. 2486 เช่น กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ 6 ปี กำหนดค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตร ไว้ฉบับละ 5 บาท และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน



ลักษณะของบัตรรุ่นที่สอง เป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เซ็นติเมตร ยาว 9 เซ็นติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑอยู่ตรงกลาง มีข้อความ"สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน กระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตร และวันบัตรหมดอายุ ด้านหลังจะเป็นรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย รูปถ่ายที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีตัวเลขและตัวอักษรแสดงถึงอำเภอที่ออกบัตร เลขทะเบียนบัตร และตราประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตร ปรากฏอยู่ทางด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะมีชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร



005 บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สอง บัตรรูปสี ขาว - ดำ






บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่สองนี้ เป็นบัตรรูปสี ขาว - ดำ รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา คนไทยได้ทำบัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2506 จนถึงสิ้นปี 2530 รวม 24 ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบัตร





พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 : กฎหมายฉบับปัจจุบัน


สำหรับพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ได้ใช้บังคับมาประมาณ 21 ปี พบว่ามีจุดอ่อนหลายประการ


ข้อสำคัญคือ อายุของผู้ที่จะต้องมีบัตรที่กำหนดไว้ 17 ปีบริบูรณ์ ไม่สัมพันธ์กับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประกอบกับกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จะมายื่นทำบัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัญหาทางข้อกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง




ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ยกเลิก พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 และตรา "พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526" ขึ้นใช้บังคับแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน



กฎหมายฉบับนี้ มีข้อเด่นในเรื่อง การลดอายุของผู้ที่จะต้องขอมีบัตรจาก 17 ปีบริบูรณ์ เป็น 15 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การนับอายุผู้ขอมีบัตร 15 ปีบริบูรณ์ ให้นับชนวันเดือนปีเกิดของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการนับอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และได้ขยายระยะเวลาการขอมีบัตรเพิ่มขึ้น จากเดิมที่กำหนดไว้ 60 วัน เป็น 90 วัน



นอกจากนั้น กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ สามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตรและบทลงโทษเพิ่มขึ้น และไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการขอมีบัตรครั้งแรก หรือขอมีบัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ



การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้ มิได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะของบัตรประจำตัวประชาชนแต่อย่างใด ลักษณะของบัตรยังคงเหมือนเดิม





บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่ 3 : การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตบัตร


ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสูงขึ้น ทำให้มีบุคคลต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในลักษณะของผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย และผู้อพยพหลบหนีเข้าเมือง ความต้องการมีบัตรประจำตัวประชาชนในหมู่ของคนต่างด้าวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้เยี่ยงคนไทย ก่อให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนระบาดอย่างหนัก



ตัวแปรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคเอกชนและราชการด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับปรุงรูปโฉมของบัตรประจำตัวประชาชนให้สวยงาม ทันสมัย และสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้มากขึ้น



ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีมติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2529 เห็นชอบโครงการปรับปรุงระบบการผลิตบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ




006 บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่ 3 บัตรรูปสีธรรมชาติ





บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่ 3 นี้ ลักษณะบัตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 5.4 เซ็นติเมตร ยาว 8.4 เซ็นติเมตร ตัวบัตรจะเป็นสีขาวและมีลายพื้นเป็นเส้นสีฟ้าทั่วบัตรทั้งสองด้าน


ด้านหน้าของบัตร มีรูปครุฑอยู่ตรงกลาง มีตัวอักษรคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" อยู่ด้านบนครุฑ คำว่า "กรมการปกครอง" อยู่ด้านซ้าย คำว่า "กระทรวงมหาดไทย" อยู่ด้านขวา ส่วนด้านล่างครุฑมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตรและตราประจำตำแหน่ง


สำหรับด้านหลังของบัตร แถวบนสุดจะมีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งเป็นเลขชุดเดียวกับที่ปรากฏในทะเบียนบ้าน ถัดมาจะมีเลข 8 หลัก ซึ่งเลข 2 หลักแรก บ่งบอกถึงรอบของการออกบัตร ส่วนเลข 6 หลักต่อมาหมายถึงลำดับที่ของการทำบัตร ถัดลงมาด้านซ้าย จะมีรูปถ่ายของผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ โดยมีเส้นแสดงส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร ส่วนด้านขวาจะมีรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด วันออกบัตร วันบัตรหมดอายุ และที่อยู่



ลักษณะที่พัฒนาซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของบัตรรุ่นนี้ คือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสี พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีการป้องกันการปลอมแปลงด้วยการเคลือบวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ มีลายสัญญลักษณ์รูปสิงห์ และคำว่า"กรมการปกครอง" ฝังอยู่ในเนื้อวัสดุไม่สามารถมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า การจัดเก็บข้อมูลผู้ทำบัตรและการตรวจสอบรายการบัตรเดิม ถูกดำเนินการในรูปของฐานข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์



บัตรประจำตัวประชาชนระบบนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน




บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่ 4 : บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค


การพัฒนาระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน มิได้หยุดนิ่งแค่บัตรรุ่นที่สามเท่านั้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ประกอบกับความสมบูรณ์ของระบบฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน และแรงผลักดันในเรื่องการให้บริการประชาชน ก่อให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ทันสมัย ทัดเทียมกับประเทศทันสมัยอื่นๆ



กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอ "โครงการจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ฯ" โดยเป้าหมายหลักที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบทั้งระบบ เปลี่ยนแปลงรูปโฉมของบัตรให้ทันสมัย และเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชน ให้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง



ทั้งนี้การผลิตบัตร จะกระจายไปถึงสำนักทะเบียนแต่ละแห่ง ประชาชนที่มาทำบัตร สามารถรอรับบัตรได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว ภายในวันที่ติดต่อขอทำบัตร โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับ บ.ป.2 หรือใบเหลืองอีกต่อไป



โครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 หลังจากติดตั้งระบบและให้บริการด้านทะเบียนราษฎรแล้ว กรมการปกครองจึงสามารถเปิดระบบให้บริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่เป็นครั้งแรก ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร โดยถือปฐมฤกษ์ในวันที่ 5 ธันวาคม 2539 เพื่อเป็นสิริมงคลในวโรกาสฉลองปีกาญจนาภิเษก และเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



ในด้านกฎหมายนั้น ยังคงใช้ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนพ.ศ. 2526 เพื่อบริการประชาชนในการขอทำบัตรในกรณีต่างๆ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับการจัดทำบัตรระบบใหม่ ได้แก่ การออกกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของบัตร และการประกาศกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการเท่านั้น



ลักษณะของบัตรรุ่นใหม่มีดังนี้


1. ลักษณะของบัตร ตัวบัตรทำด้วยพลาสติก มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง ขนาดมาตรฐานสากล (ISO) กว้าง 5.4 เซ็นติเมตร ยาว 8.6 เซ็นติเมตร หนา 0.76 มิลลิเมตร พื้นบัตรทั้งสองด้านเป็นสีขาว มีลายสีฟ้า



007 บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 4 มีลักษณะบัตรคล้ายบัตรเครดิต





2. ด้านหน้าของบัตร มีรูปถ่ายเจ้าของบัตร พร้อมรายการเกี่ยวกับประวัติของเจ้าของบัตร ได้แก่ เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หมู่โลหิต วันที่ออกบัตร วันที่บัตรหมดอายุ และมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตร



3. ด้านหลังของบัตร มีคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย"รูปครุฑ และแถบแม่เหล็ก สำหรับบันทึกข้อมูลของเจ้าของบัตร นอกจากนี้ ยังมีรหัสกำกับบัตร ซึ่งเป็นชุดของตัวเลขผสมตัวอักษร เพื่อควบคุมกำกับการออกบัตรของแต่ละสำนักทะเบียนด้วย



บัตรรุ่นใหม่นี้ เรียกว่า"บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค" เนื่องจากทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิมพ์คำขอมีบัตร รายการบุคคลของผู้ขอมีบัตร ซึ่งรวมทั้งภาพใบหน้า การลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานออกบัตร และการตรวจสอบหลักฐานรายการบัตรดำเนินการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น




การให้บริการจัดทำบัตรระบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์นั้น จะดำเนินการในรูปแบบของการตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ภาค จำนวน 9 ภาค เพื่อควบคุมและดูแลระบบการดำเนินงานของสำนักทะเบียนทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งตามโครงการฯ กำหนดดำเนินการตั้งแต่ปี 2539 - 2544




ในอนาคตบัตรประจำตัวประชาชน จะทวีความสำคัญและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อเจ้าของบัตรในด้านต่างๆมากขึ้น เช่น อาจใช้แทนทะเบียนบ้าน เป็นบัตรเสียภาษี และอาจเป็นใบขับขี่ด้วย แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่า จะกำหนดให้ดำเนินการในลักษณะใด



หากจะว่าไปแล้ว วลีที่ว่า "อยู่เมืองไทย พกบัตรใบเดียวก็พอ" ก็อาจจะอยู่ที่"บัตรประจำตัวประชาชน" ของคนไทยนี่เอง ..... แล้วอยากจะมีไหมเล่า???





008


009




# 07 บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์



บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ หรือ Smart Card เป็นแนวความคิดของ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะให้ประชาชนใช้บัตรเพียงใบเดียวแทนบัตรประเภทต่างๆที่รัฐออกให้ทั้งหมด เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนในการพกพาบัตร และเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐในการออกบัตรประเภทต่างๆ ตลอดจนทำให้เกิดความเป็นมาตรฐานเดียวกัน (One Standard) ในสังคมไทย



กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้



ระยะที่ 1 จัดทำระบบให้บริการประชาชนด้านการทะเบียนราษฎรด้วยระบบเชื่อมโยง (On Line) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อีก 572 สำนักทะเบียนทั่วประเทศ (เนื่องจากดำเนินการไปแล้ว 505 สำนักทะเบียน) และข้อมูลทะเบียนราษฎรเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน



ระยะที่ 2 จัดทำระบบการออกบัตรประจำตัวประชาชนแบบเชื่อมโยง(On Line) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อีก 866 สำนักทะเบียนทั่วประเทศ (เนื่องจากดำเนินการไปแล้วใน 9 จังหวัดรวม 211 สำนักทะเบียน) เพื่อให้ประชาชนสามารถรับบัตรประจำตัวประชาชน ภายหลังทำภายใน 15 นาที เหมือนกันทั่วประเทศ และยังเป็นการป้องกันการทุจริตสวมตัวทำบัตร เนื่องจาก
สามารถตรวจสอบรายการประวัติทำบัตรได้ทั่วประเทศ



ระยะที่ 3 ปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในการผลิตบัตรจากตัวบัตรเปล่าที่คาดด้วยแถบแม่เหล็ก(Magnetic Card) มาเป็นแบบตัวบัตรเปล่าที่ฝังไมโครโปรเซสเซอร์ซิป(Chip Card) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และเพิ่มเติมอุปกรณ์ในการอ่าน/เขียน Chip ในระบบการออกบัตรที่มีอยู่เดิม ก็จะทำให้ทุกสำนักทะเบียนทั่วประเทศจำนวน 1,077 สำนักทะเบียน สามารถออกบัตรประจำตัวแบบ Smart Card ให้แก่ประชาชนทุกคนได้ภายใน15 นาที



กระทรวงมหาดไทยได้เสนอแนวทางดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 เห็นชอบในหลักการโครงการขยายการจัดทำระบบให้บริการประชาชนด้านการทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแนะ



และในมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547 เห็นชอบแผนการผลิตบัตรของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) โดยกำหนดให้การบริหารการผลิตและจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ



1.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้บริหารการผลิตบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ พร้อม IC Chip เพื่อผลิตบัตร 64 ล้านใบ ให้กับคนไทยทุกคนภายใน 3 ปี คือ ปี 2547 ผลิต 12 ล้านใบ, ปี 2548 ผลิต 26 ล้านใบ, และในปี 2549 ผลิต 26 ล้านใบ นอกจากนี้ จะต้องจัดหาเครื่องอ่านบัตร และเครื่องอ่านลายพิมพ์นิ้วมือ ให้กับสำนักทะเบียนและหน่วยงานต่างๆด้วย



2.กระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่จัดเตรียมข้อมูลบนบัตร และให้บริการออกบัตรแก่ประชาชน ณ สำนักทะเบียนทั่วประเทศ 1,077 สำนักทะเบียน แต่ในระหว่างที่การทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ยังไม่พร้อม กระทรวงมหาดไทย(กรมการปกครอง) ต้องจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบแถบแม่เหล็กไปพลางๆก่อน โดยใช้งบประมาณ งบกลางจากสำนักงบประมาณ



บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์(Smart Card) มีการกำหนดพื้นที่บนบัตรและระบบการรักษาความปลอดภัยเอาไว้ ในเบื้องต้นประกอบด้วย ...ข้อมูลการทะเบียนราษฏร์ และทะเบียนอื่น ๆ, รูปภาพ, ลายพิมพ์นิ้วมือ(Finger Print)จัดเก็บเป็นรหัสลายพิมพ์นิ้วมือ,.กุญแจเข้าสู่ระบบ(Public Key lnfrastructures), พื้นที่ของผู้ถือบัตรสำหรับเข้าใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(Buffer E-Mail), พื้นที่จัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร(Buffer E-Memo), รหัสผ่านเข้าสู่ระบบของผู้ถือบัตร(User Password) และส่วนเชื่อมเครือข่าย(Authorization)เข้าสู่ระบบของแต่ละหน่วยงานที่เข้าเชื่อม(Application) ในแต่ละหน่วยงาน



การป้องกันการปลอมแปลงในการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ กระทำโดย วัสดุตัวบัตร, ข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำบัตร, การพิมพ์และการเคลือบบัตร, กุญแจที่ใช้เชื่อมข้อมูลที่อยู่บนวัสดุตัวบัตร, การตรวจสอบและพิสูจน์วัสดุตัวบัตร, การควบคุมการผลิต การเก็บรักษา และการเบิกจ่ายวัสดุตัวบัตร, และการกำหนดขั้นตอนการออกบัตรที่รัดกุม






# 08 เตือนสติเมื่อรับบัตรประชาชนจากผู้อื่น เรื่องที่ 1




010




เรียน บรรณาธิการ นสพ.เดลินิวส์ที่นับถือ


สวัสดีค่ะ ปกติเป็นคนชอบอ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เป็นประจำอยู่แล้วค่ะ ไม่คิดว่าจะเจอเหตุการณ์ให้ต้องรบกวนหนังสือพิมพ์เลย พอได้มาเจอคอลัมน์ร้อยเล่ห์เพทุบาย ก็รู้สึกชอบค่ะ เพราะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านมาก ดิฉันทำมาหากินด้วยความสุจริต ไม่คิดว่าจะต้องตกเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋นเลย


ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าตัวเองมีอาชีพให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ชายหาดบางแสน การให้เช่าก็เก็บบัตรประชาชนไว้เป็นหลักฐาน บางรายก็เก็บ 2 ใบ ขนาดเก็บ 2 ใบ รถยังถูกขโมยเลยค่ะ



เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา มีชายหญิงคู่หนึ่งมาเช่ารถจักรยานยนต์ ฝ่ายหญิงท้องแก่ประมาณ 8 เดือน ทั้งคู่มีอายุประมาณ 20 ปีเศษ ต้องขออนุญาตเอ่ยชื่อนะคะ ฝ่ายชายชื่อ นายสมศักดิ์ ทรัพย์บวร ฝ่ายหญิงชื่อ น.ส.อรวรรณ ชัยสิทธิ์ ทั้งสองคนเลือกรถจักรยานยนต์ค่อนข้างใหม่ หลังจากได้เวลาส่งคืนรถจักรยานยนต์ ปรากฏว่าทั้งสองคนไม่นำรถจักรยานยนต์มาคืน ทางดิฉันจึงยึดบัตรประจำตัวประชาชนไว้ทั้ง 2 ใบ เพื่อให้ตำรวจทำการตรวจสอบ


บัตรประชาชนที่ยึดไว้เป็นบัตรรุ่นใหม่แบบสมาร์ทการ์ด พอเอาไปให้ทางตำรวจเช็คดูก็ต้องแปลกใจและงงว่าคนทั้งสองทำไมทำบัตรประชาชนบ่อยมาก ทำให้สงสัยว่าต้องใช้บัตรประชาชนไปทำผิดในลักษณะเช่นนี้อีกหลายครั้ง เพราะคนทั้งสองทำบัตรประชาชนได้ง่ายมาก สงสัยว่าจะทำเป็นอาชีพ เลยอยากเตือนประชาชนให้ระวังบุคคลทั้งสองนี้ไว้ให้ดี เพราะอาจใช้บัตรประชาชนซื้อรถจักรยานยนต์หรือเช่ารถบ่อยครั้ง



หลักฐานการทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ทางตำรวจตรวจสอบได้ นายสมศักดิ์ ทรัพย์บวร ที่อยู่ 41 หมู่ 2 ต.หลักชัย อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 3 1410 00040 14 7


25 มี.ค. 2549 ทำบัตรที่เขตหลักสี่


9 มี.ค. 2549 ทำบัตรที่เขตตลิ่งชัน


2 ส.ค. 2548 ทำบัตรที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย


11 ก.พ. 2548 ทำบัตรที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย


11 ก.ค. 2548 ทำบัตรที่ลาดบัวหลวง



ส่วนน.ส.อรวรรณ ชัยสิทธิ์ บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 1 3017 00026 88 2 ที่อยู่ 5 หมู่ 10 ต.งิ้ว อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา


23 มี.ค. 2549 ทำบัตรที่เขตตลิ่งชัน


24 มี.ค. 2549 ทำบัตรที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย


23 ธ.ค. 2548 ทำบัตรที่เขตหลักสี่


1 มี.ค. 2545 ทำบัตรที่เขตปทุมวัน


3 พ.ย. 2543 ทำบัตรที่เขตปทุมวัน



โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าคนพวกนี้เป็นพวกสิบแปดมงกุฎที่ต้องระวังและเป็นภัยต่อสังคม คนที่หาเช้ากินค่ำ..ต้องมาเสียรู้คนพวกนี้ จึงอยากจะให้สังคมได้รับรู้ไว้ และอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่ทำบัตรประชาชน ซึ่งขณะนี้มีการออนไลน์แล้ว น่าจะมีมาตรการตรวจสอบที่ดีกว่านี้ ในการทำบัตรควรเช็คว่าทำบัตรบ่อยผิดปกติเพราะอะไร


ควรมีการตรวจสอบและน่าจะมีการออนไลน์เวลาใครมาทำบัตรแล้วมีคดีติดตัวอยู่ น่าจะปรากฏให้รู้เลยว่า คนผู้นี้ต้องคดีอยู่ที่ท้องที่ไหนซึ่งจะง่ายต่อการจับกุม มิฉะนั้นคนพวกนี้จะลอยนวลอยู่ในสังคมโดยที่กฎหมายไม่สามารถทำอะไรได้.


ด้วยความนับถือ

คุณสาว






# 09 เตือนสติเมื่อรับบัตรประชาชนจากผู้อื่น เรื่องที่ 2



จขบ. ก็เคยโดน โฮะโฮะ ....เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นราว 10 ปีที่แล้ว จขบ.ขับรถกลับบ้านตอนเย็น ตอนนั้นรถวิ่งมาถึงถนนดินแดง วิ่งอยู่เลนที่สอง รถยังวิ่งได้คล่อง ขนาด 50 ก.ม./ช.ม.ขับอยู่ดีๆ รถสิบล้อวิ่งมาชนท้ายรถ ดังกึ๊ง ....จขบ.ก็ต้องจอดรถกลางถนน ลงมาดูท้ายรถตัวเอง น้าคนขับรถสิบล้อก็จอดรถลงมาดูด้วย ..



น้าเขาก็ยกมือไหว้ พูดขอโทษที่ขับรถมาชนท้าย ท่าทางของน้าเขาคงจะเป็นคนต่างจังหวัด และก็ยิ้มซื่อๆ สักครู่หนึ่ง ตำรวจจราจรยศสิบโท ก็ขี่รถมอเตอร์ไซค์เข้ามาจอด ...เมื่อดูสภาพรถแล้ว ก็ขอใบขับขี่จากทั้งสองคน แล้วพ่นสีที่พื้นถนนตรงรอยล้อเอาไว้ แล้วบอกให้รถทั้งสองคันเคลื่อนที่ไปจอดในซอยใหญ่เพื่อให้การจราจรไหลคล่อง



เมื่อจอดรถไม่กีดขวางแล้ว คุณจราจรก็บอกกับน้าคนขับรถสิบล้อว่า รู้มั๊ย ว่าคุณเป็นฝ่ายชนเขา ...น้าก็บอกว่า ครับ ....คุณจราจรก็ถามจขบ.ว่า จะเอายังไง จะตกลงกันเองหรือจะไปที่โรงพัก ....จขบ.ก็งง เพราะยังงงจริงๆ ก็ตอบว่า ยังไงก็ได้ ....คุณตำรวจก็บอกว่า แล้วแต่คุณนะ ถ้าตกลงกันเองได้ ก็ไม่ต้องทำประวัติ ....จขบ.ก็ถามคุณตำรวจว่า ถูกชนแบบนี้ ค่าซ่อมสักเท่าไหร่ ....คุณตำรวจก็ตอบว่า ผมไม่รู้เหมือนกัน สัก 3,000 ได้มั๊ง .....จขบ.ก็ถามน้าเขาว่า งั้นขอค่าซ่อมสัก 3,000 ได้มั๊ย .....น้าแกก็บอกว่า ไม่มีเงิน เดี๋ยวจะขอโทรศัพท์ถามเจ้านายดู แกก็พูดโทรศัพท์อยู่พักหนึ่ง แล้วก็มาบอกว่า ขอลดเหลือ 2,500 บาท แต่จะไปขอเงินจากเจ้านายมาให้ในวันพรุ่งนี้



คุณตำรวจก็บอกจขบ.ว่า งั้นจขบ.เก็บใบขับขี่ของคนขับสิบล้อเอาไว้ชั่วคราว ตอนได้เงินครบแล้ว จึงค่อยคืนใบขับขี่ให้เขา แล้วคุณตำรวจก็ลาไปทำงาน



ตอนนี้ ก็เหลือแต่จขบ.กับน้าคนขับรถสิบล้อ ก็นัดมอบเงินกันวันพรุ่งนี้ ที่หน้าสนามกีฬาศูนย์เยาวชนกรุงเทพ(ไทย-ญี่ปุ่น)ในตอนบ่าย2โมง ...แล้วน้าก็ขอเปลี่ยนใบขับขี่กับบัตรประจำตัวประชาชนของน้า โดยบอกว่าหากขับไปแล้วเกิดเจอตำรวจ แล้วตำรวจขอตรวจใบขับขี่ ตนเองจะผิดอีกกระทงหนึ่ง ....จขบ.ก็ให้ไป แต่ขอเบอร์โทร.มือถือของน้าเขาไว้ด้วย



ถึงกำหนดนัด ตอนบ่าย2โมง คนขับรถสิบล้อไม่มา โทร.ไปหา ก็บอกว่ายังไม่มีเงิน ขอเลื่อนไปอีก 3 วัน นัดกันที่เดิมเวลาเดิมอีก



พอถึงกำหนดนัดอีก ก็ไม่มาอีก ก็โทร.ไปหาอีก น้าก็บอกว่ายังติดธุระอยู่ต่างจังหวัด นัดใหม่อีก แล้วก็ผิดนัด ฟาวน์อีก สุดท้ายตอนโทร.ไปครั้งหลังๆๆ กลายเป็นว่าคนอื่นรับสายแทน แล้วบอกว่าซื้อโทร.ต่อจากคนอื่น






….เฮ้อ รับบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อื่น นิ…….ทำไม มันจึงไร้ค่านัก

ไหนล่ะ?? ไหนล่ะ?? ที่บอกว่า จะเป็นเอกสารสำคัญ!!!!!







โดย yyswim




 

Create Date : 04 มกราคม 2550
43 comments
Last Update : 5 มกราคม 2550 0:15:48 น.
Counter : 124667 Pageviews.

 


จะไปติดตามงานที่ขอนแก่นราว 3 วันครับ (ศุกร์ - อาทิตย์)

อาจจะไม่ว่างเข้าบล๊อก

 

โดย: yyswim 4 มกราคม 2550 23:08:20 น.  

 

Photobucket - Video and Image Hosting

คิดสิ่งให้ สมปราถนานะค่ะ

มีสุขภาพ แข็งแรง

ตลอดไปนะค่ะ

หวัดดีค่ะ แวะมาเยี่ยมเยียน

หลับฝันดีค่ะ

 

โดย: STAR ALONE (STAR ALONE ) 4 มกราคม 2550 23:21:01 น.  

 

อ่านไม่หมดค่ะ เยอะเหลือเกิน ขออ่านแค่ความหมายของเลขสิบสามหลักในบัตรนะค่ะ

ฝันดีค่ะ...

 

โดย: fonrin 4 มกราคม 2550 23:23:51 น.  

 



ได้ความรู้เรื่องที่อยากรู้พอดี

สวัสดีปีใหม่ค้าบบ

จุ๊บๆๆๆๆ

 

โดย: err_or 5 มกราคม 2550 8:39:21 น.  

 




จ๊ะเอ๋ๆๆ ๆ

HaPpY NeW YeAr 2007

หนี่ฯขอวยพร ให้ มีค ว า ม สุ ข มากกกก ก น๊า!!

เ ลิ ฟ เลิฟ นะคะๆๆ ๆ




 

โดย: หนี่หนีหนี้ (แพรวขวัญ ) 5 มกราคม 2550 9:18:03 น.  

 

ข้อมูลมหาศาลอีกแล้ววว ขยันจังเลย คนเรา

ขอบคุณที่อวยพรปีใหม่ ให้แข็ง ใหญ่ ยาว นะครับ

ปีใหม่ทั้งที ก็ขอให้คุณ yyswim ทรหด อึด และ แข็ง ใหญ่ ยาว กว่าผมเป็น 2 เท่าเลยนะครับ มีความสุขมากๆนะครับ

 

โดย: ปอมปอม IP: 203.144.140.182 5 มกราคม 2550 11:36:43 น.  

 

ปีหน้าจะไปทำบัตรใหม่แล้วคะ คงได้บัตรแบบใหม่แล้วคะอิอิ

มีความสุขมากๆนะคะ มาตระเวณเยี่ยมหลังปีใหม่คะ

 

โดย: Lilly (supremeking ) 5 มกราคม 2550 11:53:23 น.  

 

นึกว่าเจ้าหน้าที่อำเภอมาเองเลยนะเนี่ย ข้อมูลแน่นเอี้ยด

เอ... ไม่แน่ว่าเจ้าหน้าที่อำเภอเองก็อาจจะรู้ไม่ถึงขนาดนี้ก็ได้ (ไปว่าเขาอีก...)


เรื่องสุดท้ายนี่เป็นอุทธาหรณ์เลย ขอบคุณที่เล่าให้ฟัง จะได้จำเอาไว้ครับ


ขอให้มีความสุขมากๆ ในปีใหม่นี้นะครับ

 

โดย: คนทับแก้ว 5 มกราคม 2550 15:30:27 น.  

 

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ

 

โดย: man@ (manatto ) 5 มกราคม 2550 22:53:42 น.  

 

บัตรประชาชนรุ่นใหม่นี่ยิ้มได้ด้วยเหรอครับ
ไปทำบัตรครั้งหน้าผมจะได้ฉีกยิ้มกว้างๆ

ที่คุณสินเคยถามไว้ว่าโหวตให้คุณสินสาขาอะไร
ขอตอบว่าสาขาสาระยอดเยี่ยม และสาขาทันเหตุการณ์ สองรางวัลเลยครับ

ถึงไม่ได้รางวัลแต่ก็อยากบอกว่าบล๊อกคุณสินเป็นบล๊อกในใจผมนะครับ

 

โดย: พลทหารไรอัน 6 มกราคม 2550 1:12:31 น.  

 

ผมไม่เคยยิ้มเลยตอนถ่ายรูปบัตรประชาชน แต่นางแบบบัตรประชาชนรูปแรกน่ารักมากมาย ฮ่าๆๆ

โหยย เนื้อหาอัดแน่นเหมือนเดิมเลยครับพี่สิน ขอบคุณพี่สินมากๆ เลยครับ ผมอยากได้ข้อมูลละเอียดๆ ยังงี้มานานแล้วครับ

เดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับพี่

 

โดย: Due_n 6 มกราคม 2550 2:02:05 น.  

 




มารับความรู้อีกแล้วนู๋บัว

PL. รูปที่ส่งมาทำเอานู๋บัวนอนไม่หลับไปหลายคืน
หล่อๆๆทั้งนั้น ขอบคุณค่ะ อิอิ...

 

โดย: fluffyboy101 6 มกราคม 2550 2:12:03 น.  

 

แวะมาอีกรอบจ้า...มีความสุขมากๆนะคะ

 

โดย: fonrin 6 มกราคม 2550 22:58:07 น.  

 

สวัสดีค่ะมานั่งอ่านข้อความเกี่ยวกับบัตรประชาชนค่ะ ดีจังที่เอามาให้ดู เพราะว่าบัตรรุ่นแรกๆ นี่ฝนไม่เคยเห็นเลยค่ะ อืมม์ เป็นอย่างนี้นี่เอง

ปีหน้าจะกลับไปทำบัตรฯ พอดีเลยค่ะเพราะว่าหมดอายุ แบบภาพแรกนี่ใช่เลย อิอิ

นอนเปิดแอร์สบายใจเฉิบเลยคะเนี่ย ทางนี้ต้องเปิดฮีตเตอร์จ้ะ เพราะหนาวเข้ากระดูก ทางโน้นก็ร้อนตับแล่บนะคะ ไม่มีอะไรพอดีๆ เลยเนอะ

ก็ขอให้นอนหลับฝันดี และก็ตื่นขึ้นมาจะได้มีแรงทำงานนะคะ

พาหลานมาเยี่ยมค่ะ


 

โดย: Malee30 7 มกราคม 2550 1:40:06 น.  

 

หวัดดีค่ะ แวะมาอ่านสาระดีๆ...
ขอให้มีความสุขมากๆ ในวันหยุดพักผ่อนอีกวันนะคะ..

 

โดย: แดดร่มลมโชย 7 มกราคม 2550 9:25:31 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ครับ
ขอให้มีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง และมีชีวิตสดใสตลอดไปนะครับ

 

โดย: T_Ang 7 มกราคม 2550 10:01:13 น.  

 

 

โดย: ดำรงเฮฮา 7 มกราคม 2550 16:08:21 น.  

 

มีสาระและความรู้มากเลยค่ะ..

แต่ปัจจุบัน ต้องมีติดตัวตลอดเวลาเลยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่ระลึกถึงบล็อกเราค่ะ

แวะมาราตรีสวัสดิ์นะค่ะ

พรุ่งนี้มีพลังสำหรับงานนะค่ะ

 

โดย: catt.&.cattleya.. (catt.&.cattleya.. ) 7 มกราคม 2550 21:53:40 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ค่ะ
ไม่ได้แวะมาน๊านนาน แต่เข้ามาทีไรได้ความรู้หอบออกไปไม่หมด

 

โดย: ต๋องตึง 7 มกราคม 2550 23:13:46 น.  

 

ขอบคุณที่เข้าไปทักทายและอวยพรคะ เราก็ว่าเราเป็นคนหุ่นแบบออกจะมีกล้ามเนื้อน่ะคะ คงผอมแบบบางๆไม่ได้เป็นแน่ แต่โดนบังคับให้ผอม ฮือๆๆ คงทำไม่ได้แน่ๆเลย

ว่าแต่ ปีใหม่ปีนี้เงียบเหงาคะ เมื่อคืนไปตะเวนข้าวสารกับเพื่อนๆมาเงียบคะ อย่างร้านที่ปกติเด็กๆเยอะยังเหงาเลยคะ เศรษฐกิจแย่อย่างนี้ต้องขยันเก็บตังค์แล้วคะ

 

โดย: Lilly (supremeking ) 8 มกราคม 2550 9:44:45 น.  

 

ทึ่งกับภาพ บัตรประชาชน รุ่นแรกค่ะ
เก่าจริงๆ

บัตรประชาชน smart card ยังไม่ได้ทำเลยค่ะ ยังไม่ถึงรอบที่จะทำใหม่

จะว่าไปแล้ว บัตรประชาชน ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ตัวเลข 13 หลัก
เวลาที่ทุกอย่างอยู่ในคอมพิวเตอร์ อันตรายค่ะ

 

โดย: MDA 8 มกราคม 2550 11:38:18 น.  

 

อยากได้บัตรประชาชนแบบใหม่จัง...
เราต้องทำบัตรใหม่...(รอบที่เท่าไหร่น๊อ..)

ภายในเดือนนี้แหละค่ะ หุหุ จะได้แบบใหม่รึเปล่าก็ไม่รู้

 

โดย: Ning_999 8 มกราคม 2550 12:04:40 น.  

 

ม่ามี้ให้หนูพาน้องมารายงานตัวค่ะ
ไม่ช้าไปนะคะ
ขอให้มีตวามสุขในทุ๊กๆวัน ค่ะคร้าบบ...
หนูอ่านแล้วทำให้หนูมีรอยหยักในสมองเพิ่มขึ้นค่ะ
ดีใจจังเลย เด๋วให้ม่ามี้มาอ่านมั่ง
ม่ามี้จาได้ฉลาดเหมือนหนูกะน้องนะคะ อิ..อิ..



 

โดย: มีโอ+ชีโน่ค่ะครับ! (fifty-four ) 8 มกราคม 2550 13:25:52 น.  

 

เรื่องโดนชนตูด ถ้าเป็นภาษาบ้านผมก็ต้องเรียกว่า
"เอ็นดูเค้าเอ้นเราขาด"
มันก็เป็นแบบนี้แหละครับ เค้าอาจจะเห็นท่านสิน คงไม่เอาบัตรเค้าไปต่อยอดแน่ๆครับ

คนขับรถคนนั้นโชคดีนะที่ไม่เจอผม นโยบายของผมคือ "ใครเล่นผมก่อนผมก็เล่นกลับแหละครับ" บัตรประชาชนจะว่าไปแล้ว มันก็ต่อยอดได้หลายอย่างอยู่นะครับ ...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

 

โดย: merf1970 8 มกราคม 2550 16:57:01 น.  

 

ตอนนี้ถ้าใครมีบัตรประชาชนเก็บไว้กับตัวให้เหมือนสมบัติมีค่า..... เพราะถ้าหายคุณต้องรอบัตรอีกไม่ตำกว่า 2 เดือนเพราะปัจจุบันไม่มีบัตรประชาชนให้ทำอีกต้องวุ่นวายเหมือนเรา

 

โดย: อ้อ IP: 203.188.45.243 12 มกราคม 2550 17:11:24 น.  

 


รักนะจุบจุ๊บ

 

โดย: เจมสว IP: 203.172.247.117 18 มกราคม 2550 14:57:37 น.  

 


วันนี้ ขอเข้ามารวบยอด ตอบขอบคุณคอมเมนต์ทุกคอมเมนต์ จะได้ไหมครับ


ขอขอบคุณ คุณstar alone..คุณfonrin(2ครั้ง)..ม๋าเอ๋อ..คุณหนี่..นายปอมปอม..คุณลิลี่(2ครั้ง) ขอบคุณนะครับ ที่เข้ามาให้กำลังใจอ่านบล๊อก และอวยพรปีใหม่


ขอขอบคุณ คนทับแก้ว..แมน..เจฟ..ดิว..ต๋อง..นายดำฮา..merf..และน้องบัว คนมีเพื่อนเยอะ ขอบคุณมากกก


และขอขอบคุณ คุณน้ำฝนพร้อมหลานกรานต์..คุณแดดร่มลมโชย..คุณแคท..คุณต๋องตึง..คุณmda..น้องหนิง..ป้าหู้..คุณอ้อ.. และคุณเจมส์ ขอขอบคุณมากๆนะครับ ผมจะพยายามออกไปเยี่ยมทุกๆบล๊อกของทุกคนนะครับ

 

โดย: yyswim 26 มกราคม 2550 15:05:57 น.  

 

อยากได้บัตรประชาชนแบบใหม่จัง

 

โดย: จิ้บ IP: 203.172.163.195 16 กรกฎาคม 2550 15:05:33 น.  

 

อยากได้บัตรประชาชนแบบใหม่จัง




 

โดย: จิ้บ IP: 203.172.163.195 16 กรกฎาคม 2550 15:10:11 น.  

 

อยากได้บัตรประชาชนแบบใหม่จัง




 

โดย: จิ้บ IP: 203.172.163.195 16 กรกฎาคม 2550 15:10:25 น.  

 

อยากได้บัตรเเบบให้จัง

 

โดย: วาเลนไทน์ 31 IP: 203.172.147.122 3 มีนาคม 2551 10:23:23 น.  

 

อยากได้ประวัติความเป็นมาของทะเบียนราษฏบ้างนะค่ะ

 

โดย: มด IP: 124.121.21.123 28 เมษายน 2551 3:02:22 น.  

 

124124101วะห้าห้า

 

โดย: ยู IP: 222.123.96.44 16 มิถุนายน 2551 20:49:46 น.  

 

.หิ.บานตะลัต

 

โดย: รูตูดฮะ IP: 222.123.96.44 16 มิถุนายน 2551 20:51:30 น.  

 

สนุกกับบัตรน้าปิปิปิปิปิปิปิปิปิปิปิปิปิ

 

โดย: 1414141 IP: 222.123.96.44 16 มิถุนายน 2551 20:52:16 น.  

 

เเสเสเสเสเสเสเสเส

 

โดย: อาหน่อเหล่าหน่าพี่ IP: 222.123.96.44 16 มิถุนายน 2551 20:53:24 น.  

 

แล้วเลขใต้รูปละคะมีความสำคัญมั้ย

 

โดย: ลัก IP: 27.55.164.203 10 กันยายน 2557 22:47:06 น.  

 

บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดรุ่นใหม่นี้เคลือบพลาสติกได้ไหมคะใครรู้ช่วยตอบด้วยค่ะ

 

โดย: yim IP: 101.51.221.228 10 เมษายน 2558 15:50:51 น.  

 

ดูเลขที่บัตรประชาชนตรงไหนหรอครับ

 

โดย: เบล IP: 61.7.189.146 11 กันยายน 2558 17:06:36 น.  

 

น่ารักมากค่ะ

 

โดย: แอบรัก ออนไลน์ IP: 49.230.111.91 16 ตุลาคม 2558 23:17:57 น.  

 

อยากรู้รหัสหลังบัตรประชาชน

 

โดย: จินดา คงกะพันธ์ IP: 223.207.221.230 8 ตุลาคม 2560 20:09:58 น.  

 

บัตรประชาชนมีประโยชน์อย่างไรค้ะ #ช่วยตอบหน่อยค้ะ

 

โดย: Bd IP: 49.49.167.160 28 พฤศจิกายน 2560 20:20:59 น.  

 

ต้องการเลขบัตรประชาชน ต้องทำไงครับ🙏🙏

 

โดย: ธนดล พงสุวรรณ IP: 58.11.156.69 12 มีนาคม 2563 6:47:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yyswim
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]





บล็อกสรรสาระนี้ จขบ.ไม่ได้เขียน-ไม่ได้ถ่ายภาพ-ไม่ได้อัพโหลดคลิปเอง หากแต่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบล็อก เสาะหาเรื่องดีๆ รูปสวยๆ คลิปแปลกๆ มาไว้ในบล็อก


ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม ขอเชิญชมหรืออ่านตามสบาย ไม่ต้องคอมเมนต์ก็ได้ จขบ.ชอบการเข้ามาเยี่ยม แบบกันเอง ง่ายๆ สบายๆ




เริ่มเขียนBlog เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2548


เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2550 เวลา 23.30 น.


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม




Latest Blogs

New Comments
Group Blog
 
<<
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
4 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add yyswim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.