ยังคงติดเกมและเล่นเฟสมากกว่า อาจไม่ค่อยมาตอบคอมเม้นท์นะคะ

ยาคูลท์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]




ข้าพเจ้าเป็นสุข และเชื่อว่าใครก็ตามซึ่งมีรสนิยมในการอ่านหนังสือดี ย่อมสามารถทนต่อความเงียบเหงาในทุกแห่งได้ -- วาทะของท่านมหาตมะ คานธี


Book Archive by Group



หมายเหตุ: โซน Romance และ การ์ตูน ยังไม่ทำเพราะมีน้อย


Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
14 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ยาคูลท์'s blog to your web]
Links
 

 
เสียงเพรียกจากท้องน้ำ ...... [WWR 52]

ผู้แต่ง: ประทีป ชุมพล
แพรวสำนักพิมพ์, พิมพ์ 2550 (พิมพ์ครั้งแรก 2546), ราคา 100 บาท, 159 หน้า

เรื่องเล่าของ ซายัค ชาวอูรังลาโว้ย ตั้งแต่เล็กจนโต ประเด็นของเรื่องเน้นที่วิถีชีวิตของชาวอูรังลาโว้ย วัฒนธรรมประเพณี และปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่น โดยเฉพาะ “คนเมือง” ซึ่งหมายถึงคนไทยทั้งที่เป็นคนท้องถิ่นและคนที่มาจากส่วนกลาง

ชีวิตของซายัคในฐานะอูรังลาโว้ยถูกกดขี่ทั้งโดยรัฐและคนเมือง ท้ายที่สุดซายัคและชาวอูรังลาโว้ยตัดสินใจเดินทางออกสู่ทะเลเพราะถูกยึดครองที่ดินที่เคยอาศัยอยู่ ไม่มีใครกลับมาจากการเดินทางครั้งนั้น

* * * * * * * * *

เล่มนี้อ่านแล้วอัดอั้นใจมากค่ะ เป็นแนวที่ปกติไม่ค่อยหยิบนะเนี่ย

เนื้อเรื่องคร่าวๆ

เรื่องเล่าจากมุมมองของซายัค
ตอนอายุ 6 ขวบ ป๊ะกับมะฝากให้ปู่เลี้ยงเขาก่อนจะเดินทางไปปูเลาเต๊ะข่า (ภูเก็ต) สามปีต่อมา ปู่กับหลานล่องปราหู้ไปถึงปูเลาสิเหร่ แต่กลับพบว่าป๊ะกับมะเสียชีวิตแล้ว เพราะถูก 'อูรังเชียม' (คนไทย) จับไปออกแสดงกับพวกซาไก มะอ่อนแอตาย ป๊ะโมโหเลยกลายเป็นฆาตกรที่ตำรวจเห็นว่าเป็นคนป่า ดีแต่เห่าหอน พูดจาไม่รู้เรื่องและจับขังกรงไปทิ้งน้ำ

ซายัคกับปู่ตั้งรกรากใหม่ที่ปูเลาสิเหร่นั่นเอง และได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจเลี่ยงได้ เช่น เมื่ออูรังปูเต๊ะ (คนฝรั่ง) มาพร้อมปราหู้เหล็ก (เรือบิน) เพื่อสู้กับอูรังญี่ปุ่น รัฐก็ออกกฎให้พวกอูรังลาโว้ยมาลงทะเบียนเป็น 'คน' เหมือนคนเมือง เพื่อภายหลังจะได้เกณฑ์ทหารได้

หลังจากนั้น นโยบายใหม่ก็เริ่มเข้ามา เช่น ห้ามเคี้ยวหมาก ให้เสียเบี้ยซื้อตั๋วรำวงแทนรำโนราบากง ฯลฯ ที่สำคัญคือเด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไปต้องเข้าโรงเรียน แต่เด็กอูรังลาโว้ยโดนกลั่นแกล้งดูถูกจนเหลือแค่ 5 คนที่ทนเรียนจนจบประถม นั่นคือปูลู ยูโซป อะนะ กาจ๊ะ และซายัค

คนเมืองเริ่มเข้ามามากขึ้นพร้อมกับอุบายเล่ห์กลเอาเปรียบชาวอูรังลาโว้ย โต๊ะครูหมอ (หมอผีและผู้อาวุโส) โดนมอมเมาจนเผลอเซ็นชื่อมอบที่ดินให้เถ้าแก่เส็ง ทั้งที่นั่นเป็นที่ดินบนเกาะซึ่งหลวงมอบให้ชาวอูรังลาโว้ยทั้งหมด

ปูลูพยายามปลุกระดมคนอื่นให้รวมกลุ่มกันลุกฮือ แต่แล้วเขาก็เสียชีวิตอย่างน่าสงสัยในวันเฝ้าหอ ชาวอูรังลาโว้ยต้องย้ายที่อยู่ถอยไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายต้องเลือกระหว่างการเข้าไปอยู่ในนิคมชาวเลซึ่งตั้งในสวนยาง หรือย้ายไปอีกด้านของเกาะ

ยาซัคกับครอบครัวและชาวอูรังลาโว้ยส่วนหนึ่งตัดสินใจออกทะเล เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ว่าพวกเขาเกิดและตายกับทะเล พวกเขาขอไปอยู่กับยิดลาโว้ยเพื่อประท้วงความชั่วร้ายของคนเมือง

หลังจากตรงนี้ น้ำเสียงคนเล่าจะเปลี่ยนเป็นผู้แต่ง ซึ่งได้เข้าไปคลุกคลีกับชาวอูรังลาโว้ยและสัมภาษณ์เรื่องนี้ไว้ในปี 2514 ผู้แต่งวางแผนจะกลับมาเป็นกระบอกเสียงให้พวกซายัค แต่ก็เกิดเรื่องการเข่นฆ่านักศึกษากลบข่าวอุบัติเหตุเรือล่มที่สิเหร่เสียก่อน เสียงประท้วงของชาวอูรังลาโว้ยจึงเงียบหายไปกับกาลเวลา



คนแต่งเดินเรื่องโดยใช้น้ำเสียงของซายัคเกือบตลอด ก่อนจะตัดกลับมาใช้น้ำเสียงตัวเองในสองบทท้าย อันเป็นการยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวอูรังลาโว้ยในหน้าประวัติศาสตร์ และสภาพของชาวเลในปัจจุบัน ซึ่งวิญญาณการต่อสู้ได้หายไปอย่างน่าเศร้าแล้ว

เนื้อเรื่องสอดแทรกทั้งประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรมและคติชนของชาวอูรังลาโว้ย การพัฒนา 'รัฐชาติ' ที่เข้ามาจับจองและจัดสรรทรัพยากรเอาเอง พร้อมแสดงให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบจากชาวอูรังเชียมทั้งในยุคอดีต (รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และยุคของซายัค (สมัยจอมพลป.)

ในเล่มจะเล่าด้วยศัพท์ชาวเล ตอนแรกเลยอ่านยากหน่อย แต่พอชินแล้วก็พอเดาได้ค่ะ เล่มนี้จัดว่าเป็นแนวเนื้อหาอัดแน่น คนชอบตีความหรือชอบเรื่องความเหลื่อมล้ำ/กดขี่ข่มเหง น่าจะชอบเล่มนี้ค่ะ

* หมายเหตุ *
- ในส่วนรีวิว เราจะเรียก "อูรังลาโว้ย" ตามหนังสือนะคะ แต่ข้อมูลที่ค้นเจอจะเป็น "อูรักลาโว้ย" ค่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าพิมพ์ผิดหรือเป็นการออกเสียงอีกแบบ
- ในเรื่อง บอกไว้ว่าชาวอูรังลาโว้ยเดิมถือว่า "ชาวเล" การเรียกแบบดูหมิ่น


==== ข้อมูลของชาวเล ====

“ชาวเล” เป็นคำในภาษาปักษ์ใต้ที่ย่นย่อมาจากคำว่า “ชาวทะเล” โดยรวมมีอยู่สองความหมาย อาจหมายถึงคนที่อาศัยอยู่ริมทะเล ประกอบอาชีพประมง หรือหากินอยู่กับทะเล กับอีกความหมายหนึ่ง เป็นคำใช้เรียกขานกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายฝั่ง หรือเดินทางเร่ร่อนตามเกาะแก่งของทะเลอันดามัน ทางตอนใต้ของประเทศไทย ประกอบด้วยสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มมอแกน กลุ่มมอแกลน และกลุ่มอูรักลาโว้ย

ส่วนกลุ่มอูรักลาโว้ย (Urak lawoi) เป็นชนกลุ่มใหญ่ที่มีถิ่นฐานบนเกาะสิเหร่ และที่หาดราไวย์ บ้านสะปำ จ.ภูเก็ต จนถึงทางใต้ของเกาะพีพีดอน เกาะลันตาใหญ่ จ.กระบี่, เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี จ.สตูล และบางส่วนอยู่ที่เกาะลิบง จ.ตรัง

อ่านข้อมูลเพิ่มได้ที่ //kanchanapisek.or.th/kp8/culture/krb/krb304.html



Create Date : 14 มีนาคม 2553
Last Update : 14 มีนาคม 2553 4:49:27 น. 0 comments
Counter : 1270 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.