****ทำความดีวันละนิดจิตแจ่มใส**** ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง ทุกขังและอนัตตา สิ่งที่ตามเราไปมีเพียงแต่บุญและบาป
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
21 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
มรรค By วั ด ห น อ ง ไ ท ร

มรรค By วั ด ห น อ ง ไ ท ร มรรค


By วั ด ห น อ ง ไ ท ร


มรรค


        มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้



1.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ สัมมาทิฐิ แปลว่า ของบิดามีจริง พวดโอปปาติกะ (พวกเกิดทันทีเช่นเทวดา) มีจริง สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา คำนี้ในวงวัดส่วนใหญ่เขียนตามของเดิมว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือเห็นว่าการให้ทานมีผลจริง การบูชามีผลจริง การเคารพบูชามีผลจริง ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง คุณของมารดามีจริง คุณติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง


2.สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด ดำริชอบ คือ เนกขัมมสังกัปป์ คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะหรือโลภะ อพยาบาทสังกัปป์ คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา ซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ี่ปราศจากโทสะ อวิหิงสาสังกัปป์ คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลาย โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือกรุณาซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ จัดเป็นความนึกคิดที่ี่ปราศจากโทสะ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า



o เนกขัมมวิตก


o อพยาบาทวิตก


o อวิหิงสาวิตก



กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน


สัมมาสังกัปปะ ๒ อย่าง


สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ คือ ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ ธรรมะที่เกี่ยวข้อง จากทิฏฐิสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ ภิกษุผู้ประกอบธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ





    • เนกขัมมวิตก ๑



    • อพยาบาทวิตก ๑



    • อวิหิงสาวิตก ๑



    • สัมมาทิฏฐิ ๑




        จากสนิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ ความหมายรู้ในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ และโดยนัยเดียวกันนี้ กับ อพยาบาท และ อวิหิงสา








Free TextEditor


Create Date : 21 ตุลาคม 2551
Last Update : 21 ตุลาคม 2551 15:07:06 น. 2 comments
Counter : 412 Pageviews.

 
3.สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ

       สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ วจีสุจริต4 (เว้นจาก วจีทุจริต4)

       การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

       เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด



หลักธรรมเกี่ยวกับสัมมาวาจา

       ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

       ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

       ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษเพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำ ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร


       รู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้นั้น เป็น สัมมาทิฐิ



สัมมาวาจา ๒ อย่าง

       สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ

       สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่


วาจาสุภาษิต

       วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน คือ

       วาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล

       เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ

       เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน

       เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์

       เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต

               อีกนัยหนึ่ง

       วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็น วาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และวิญญูชนไม่พึงติเตียน

       ย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นสุภาษิต ไม่กล่าวคำที่เป็นทุพภาษิต

       ย่อมกล่าวคำที่เป็นธรรม ไม่กล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม

       ย่อมกล่าวแต่คำอันเป็นที่รัก ไม่กล่าวคำอันไม่เป็นที่รัก

       ย่อมกล่าวแต่คำสัตย์ ไม่กล่าวคำเหลาะแหละ


ธรรมะที่เกี่ยวข้อง

               จาก อภัยราชกุมารสูตร (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓)

       ตถาคต... ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

       อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

       อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง วาจาที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น

       ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

       ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น

       อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น




4.สัมมากัมมันตะ คือ ทำการงานชอบ

       สัมมากัมมันตะ เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด กระทำชอบ ทำการชอบ คือ การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย 3 อย่าง อันได้แก่

               o การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์

               o การงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้

               o การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม





Free TextEditor


โดย: you4lucky วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:15:09:32 น.  

 
5.สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ

       สัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด

               o เลี้ยงชีพชอบ

               o ละการเลี้ยงชีพที่ผิด




6.สัมมาวายามะ คือ เพียรชอบ

       สัมมาวายามะเป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด เพียรชอบ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้


               o เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น

               o เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว

               o เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น

               o เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว




7.สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ

       สัมมาสติ คือการมีสติระลึกอยู่เป็นนิจว่า เราจะกระทำอะไร และกำลังทำอะไรอยู่ ไม่เป็นคนเผลอ การไม่เผลอการรู้ตัวอยู่เป็นนิจเป็นทาง ให้หลีกได้จากการกระทำความชั่ว ตามความจำกัดความแบบพระสูตร คือหลักธรรมที่เรียกว่าสติปัฎฐาน





8.สัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจชอบ

       สัมมาสมาธิ แปลว่า สมาธิชอบ คือความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิตในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้เท่านั้นไม่เลยไปถึงอรูปฌาน)ถือเป็นยอดแห่งมรรคทั้งหลาย


       ความแตกต่างของสมาธิและสัมมาสมาธิ

       คำว่าสมาธิ กับคำว่า สัมมาสมาธิ มีความแตกต่างกัน
       
       สมาธิได้แก่การถือเอา อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์นั้น ถ้าจิตจับที่เรื่องร้าย มาเป็นอารมณ์แน่วแน่อยู่ในเรื่องนั้น สมาธินั้น เป็นสมาธิไม่ชอบไม่ถูก ตามธรรม

       ส่วนคำสัมมาสมาธิหมายถึงการยึดเรื่องดีมาเป็นอารมณ์แน่วแน่ อยู่ในเรื่องที่เป็นกุศล สมาธินั้นจึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จ

       อริยมรรค 8 คือหนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิตซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา เพราะ สัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถกำจัดความไม่รู้ (อวิชชา) ได้ในที่สุด


ลักษณะของสัมมาสมาธิ

       จิตสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากกรรมที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ

       เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข เข้าถึงตติยฌาน

       เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา


       อริยมรรคมีองค์แปด เป็นปฏิปทาสายกลาง(ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่าง) ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน




       มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)

ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)


from  
//www.watnongsai.com/index.php?mo=3&art=22341




Free TextEditor


โดย: you4lucky วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:15:10:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

you4lucky
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ
Friends' blogs
[Add you4lucky's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.