****ทำความดีวันละนิดจิตแจ่มใส**** ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง ทุกขังและอนัตตา สิ่งที่ตามเราไปมีเพียงแต่บุญและบาป
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

โปรแกรมระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

โปรแกรมระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

ความสำคัญของ RFID
เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) หรือระบบการระบุด้วยคลื่นวิทยุ เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวกรวดเร็ว และความมั่นคงปลอดภัยในกระบวนการต่างๆ รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษา แนวทางการพัฒนา RFID สำหรับภาคอุตสาหกรรมและบริการ แสดงว่ามูลค่าตลาดทั่วโลกของ RFID มีอัตราที่สูงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2543 ตลาดอุตสาหกรรม RFID ในโลกมีมูลค่า 663 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2545มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 964.5 ล้านเหรียญ และคาดว่าจะมีการขยายตัวของตลาดอย่างต่อเนื่องถึงปีละประมาณร้อยละ 25 โดยในปี พ.ศ. 2549 คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนตลาด RFID ในประเทศไทย พบว่ามีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานด้านการผลิตในอุตสาหกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ การประยุกต์ใช้กับห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ การควบคุมการเข้า-ออก การปศุสัตว์ และการเงินตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2548 มูลค่าตลาดของ RFID ในประเทศไทย (ทั้งส่วนที่ผลิตเองในประเทศและนำเข้า) มีมูลค่าประมาณ 856.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.07 ของตลาด RFID ทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1,827.3 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 ในปีพ.ศ. 2549 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งขาติได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรม RFID ของประเทศไทย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม RFID ขึ้นโดยมีเป้าหมายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ในวงกว้าง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความได้เปรียบทางการค้าและการยกระดับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมกุ้ง การบริหารจัดการฟาร์ม (ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ) และโลจิสติกส์ เมื่อพิจารณาสภาพการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มของสภาพการณ์ในอนาคตอันใกล้ ด้านความเร่งด่วน ความสำคัญ ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับความเข้มแข็งของพันธมิตรแล้ว พบว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจสอบย้อนกลับและโลจิสติกส์ ยังคงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญในอันดับแรก

โครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจสอบย้อนกลับ
การระบาดของโรคไข้หวัดนกที่เกิดในประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2546 แล้วหวนกลับมาระบาดอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2549 กระทบกับอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ การแปรรูปเนื้อสัตว์ และ การส่งออกรวมทั้งการบำบัด การทำลายสัตว์ที่เป็นโรคในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งต้องใช้งบประมาณและบุคลากรจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2547 มูลค่าการส่งออกเนื้อไก่ลดลงจากปี พ.ศ. 2546 ประมาณ
20,000 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2548 ไทยส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ มีมูลค่า 31,574 ล้านบาท [กรมปศุสัตว์] แต่รัฐบาล
ใช้งบประมาณในการจ่ายเงินชดเชย และเงินช่วยเหลือค่าพันธุ์สัตว์ ในการควบคุมโรคระบาดในปี พ.ศ. 2548 สูงถึง 5,324.30 ล้านบาท
[กรมปศุสัตว์] ในปี พ.ศ. 2549 มีการระบาดของไข้หวัดนกในหลายพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ติดต่อเขตชายแดน หากการจัดการโรคไข้หวัด
นกยังมีความล่าช้า จะทำให้การควบคุมทำได้ยาก และอาจส่งผลให้เกิดการระงับการซื้อไก่จากประเทศไทยได้

เทคโนโลยี RFID สามารถช่วยในการระบุตัวสัตว์และเก็บข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสัตว์ได้อย่างครบถ้วนและแม่นยำ โดยการติดอุปกรณ์ RFID สำหรับระบุสัตว์แบบเป็นรายตัวหรือเป็นกลุ่ม อุปกรณ์ RFID มีคุณสมบัติเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ และทำการปลอมแปลงได้ยาก
ต่างจากอุปกรณ์พื้นฐานอื่นๆ เช่น ป้ายติดหูพลาสติก ข้อมูลในอุปกรณ์ RFID จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการติดตามสัตว์ ทำให้การสืบค้นต้นตอแหล่งที่มาของโรคเป็นไปได้สะดวก รวดเร็ว เมื่อนำความสามารถของเทคโนโลยี RFID ไปผนวกกับระบบฐานข้อมูล จะเป็นระบบตรวจสอบย้อนกลับที่สามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของสัตว์ และควบคุมโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว
ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย

โลจิสติกส์
ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดในด้านการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานเป็นสองเท่าของประเทศพัฒนาแล้ว โดยคิดเป็น
16 เปอร์เซ็นต์ของ GDP โดยประมาณ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ หรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทางด้านนี้เพียง
10 เปอร์เซ็นต์และ 9 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ตามลำดับ ที่ผ่านมาทางภาครัฐและกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการห่วงโซ่อุปทานภายในอุตสาหกรรมไทย โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทยได้มีศึกษาและแนะนำยุทธศาสตร์ที่จะเพิ่มความสามารถของการจัดการห่วงโ
ซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไทย เพื่อให้สามารถก้าวขึ้นสู่แถวหน้าของโลก โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักคือการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย

การส่งเสริมให้อุตสาหกรรมในประเทศไทยใช้เทคโนโลยี RFID จะช่วยให้มีการลดค่าใช้จ่ายในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งยังช่วยทำให้เกิดการลดช่องว่างทางเทคโนโลยีระหว่างบริษัทระดับโลกและ SMEs ผู้ผลิตของไทยในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของผู้ประกอบการของอุตสาหกรรมในประเทศไทยตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
ห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ของอุตสาหกรรม RFID

กลยุทธ์ หรือแนวทางการดำเนินงาน

สร้างพันธมิตรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศไทย
ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี RFID และการประยุกต์ใช้งานในห่วงโซ่อุปทานนั้น
รับโจทย์จากทางผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เพื่อนำไปกำหนดเป็นกิจกรรมภายใต้โปรแกรม และนำผลที่ได้ไปใช้งานจริง
ศึกษารูปแบบการลงทุนที่ได้ผลคุ้มค่าเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ลงทุน
กำหนดมาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้
จัดให้มีบริการทดสอบอุปกรณ์ RFID ตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน
พัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม RFID ของประเทศไทย


//rfid.thai.net/rfid_main/abot.html




 

Create Date : 28 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 28 กันยายน 2551 17:25:31 น.
Counter : 1122 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


you4lucky
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนนะคะ
Friends' blogs
[Add you4lucky's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.