Ninja!
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
2 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
ลายมือบอกอะไรเกี่ยวกับคนเขียน

ในการติดต่อสื่อสารกันทุกวันนี้ การเขียนจดหมายถึงกันด้วยมือแทบจะไม่มีใครทำแล้ว เพราะสมัยนี้ใครๆ ก็ใช้อินเทอร์เน็ต หรือใช้เครื่องพิมพ์ดีดเขียนแทน แต่ในบางโอกาสเราก็มักเห็นว่าหน่วยงานบางแห่งนิยมให้คนที่มาสมัครงานเขียนใบสมัคร หรือเรียงความด้วยลายมือ ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะท่านผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานนั้น จะศรัทธาวิธีการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติด้านนี้ แต่เป็นเพราะท่านเหล่านั้นเชื่อว่า ลายมือสามารถบอกอุปนิสัยใจคอ จิตใต้สำนึก รวมทั้งความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม ความอดทน ความมานะบากบั่น และความอะไรต่อมิอะไรของคนเขียนได้ดี

ทุกวันนี้ นักสถิติได้สำรวจพบว่าบริษัทต่างๆ ในอังกฤษและอเมริกาประมาณ 5-10% ใช้และเชื่อในเรื่องนี้ ส่วนในฝรั่งเศสนั้นที่นั่นมีสมาคมนักวิเคราะห์ลายมือที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์บุคลากรมาก

เมื่อ 6 ปีก่อนนี้ British Psychological Society (BPS) แห่งอังกฤษได้เคยออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งเกี่ยวกับลายมือว่า ลายมือมิได้เกี่ยวข้องหรือบ่งบอกบุคลิกภาพของผู้เขียน และถ้าบริษัทใดปฏิเสธผู้สมัครด้วยเหตุผลเพียงว่า ลายมือเขาแสดงให้เห็นว่า เขาไม่เหมาะกับงาน ผู้สมัครสามารถพึ่งพาศาลได้ เพื่อขอความเป็นธรรม

ถึงกระนั้น ลัทธิเลื่อมใสในการวิเคราะห์ลายมือก็ยังคงมีต่อไป ซึ่งนักจิตวิทยาได้ให้เหตุผลว่า เมื่อการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์หยาบๆ ที่มิได้กระทำอย่างละเอียด ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ เช่น เวลาบอกว่าลายมือนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนมีนิสัยสู้งาน มีความมุมานะ และมีประสบการณ์ชีวิตมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นคนขี้เกรงใจคนอื่น นี่คือการสเก็ตช์บุคลิกภาพของคนอย่างหยาบๆ แต่สำหรับคนที่อ่านคำวิเคราะห์ หากต้องการจะรู้จักเจ้าของลายมือมากขึ้น เขาก็จะต้องนั่งนึกว่าสู้งานนั้น งานอะไรหรือที่ว่ามีความมานะนั้น มานะระดับไหนและการขี้เกรงใจคนอื่นนั้น หมายถึงคนใกล้ชิดหรือผู้มีอิทธิพล หรือทุกคน ฯลฯ ส่วนคนที่ถูกวิเคราะห์ลายมือ เมื่อได้อ่านคำวิเคราะห์ที่ดีเกี่ยวกับตนเอง ก็มักเชื่อตาม และส่วนใหญ่เขาก็มักวิเคราะห์ออกมาในแง่ดี เมื่อการวิเคราะห์มีผลทำให้ทุกคนอยากรู้ อยากเห็นและอยากเชื่อเช่นนี้ อาชีพวิเคราะห์ลายมือจึงเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ไม่แพ้หมอดู

เมื่อ 45 ปีก่อนนี้ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในมหานคร New York ได้พากันประหวั่นพรั่นพรึงว่าจะถูกลอบวางระเบิด โดยฆาตกรโรคจิตผู้หนึ่ง ซึ่งได้เขียนจดหมายถึงหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งและเล่าเหตุผลที่ตนต้องกระทำเช่นนั้น เมื่อบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นตีพิมพ์จดหมายที่ฆาตกรเขียนในหน้าหนึ่ง บรรดาผู้ที่ศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของการวิเคราะห์ลายมือ ได้วิเคราะห์บุคลิกภาพของผู้เขียนต่างๆ นานา จนทำให้เจ้าของจดหมายรู้สึกเดือดร้อนใจ เพราะผิดพลาดมาก จึงได้เขียนจดหมายไปหาบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้นอีก การทิ้งจดหมายฉบับที่ 2 นี้ ทำให้ FBI ตามตัวฆาตรกรผู้นั้นได้ในที่สุด

ณ วันนี้เรามีงานวิจัยไม่น้อยกว่า 200 ชิ้น ที่สรุปแล้วสรุปอีกว่าลายมือมิได้บอกแนวโน้มการออกลายของคนเขียน เพราะนักวิเคราะห์ลายมือใช้สามัญสำนึกในการวิเคราะห์ เขาไม่ได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และไม่ได้ประเมินผลที่สรุป อีกทั้งไม่ได้เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีนี้กับการทดสอบทางจิตวิทยารูปแบบอื่น

เมื่อเร็วๆ นี้ R. King และ D. Koehler แห่งมหาวิทยาลัย Waterloo ที่เมือง Waterloo ในแคนาดาได้ทดสอบถามความเห็นเกี่ยวกับบุคลิกของคนเขียน หลังจากที่ได้เห็นลายมือและก็ได้พบว่า คนทั่วไปมักเห็นว่าคนที่เขียนหนังสือเรียบร้อยเป็นคนที่ทำงานเป็นระเบียบ คนที่เขียนหวัดและเส้นเอนไปข้างหน้า แสดงว่าเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี ส่วนคนที่เขียนไม่เป็นระเบียบ มักเป็นคนเศร้าซึมนั้นไม่ถูกต้อง นั่นคือลายมือมิได้บอกลายคนเลย ดังนั้น ถ้าผู้จัดการบริษัทใดคิดว่าลีลาการเขียนบอกลีลาชีวิตของผู้สมัครงานแล้วละก็ เขาก็มีโอกาสถูกหลอกได้ เพราะคนที่สมัครงานสามารถเปลี่ยนสไตล์ลายมือให้ผู้จัดการบริษัทหลงผิดได้

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 สถิติที่ได้จากการสำรวจโดย National Council of Special Education ในอังกฤษแสดงให้เห็นว่า เด็กชั้นประถมศึกษาของอังกฤษประมาณ 12% เขียนหนังสือด้วยลายมือที่ไม่สวยเลย ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าห่วงมาก เพราะได้มีงานวิจัยที่แสดงให้เราประจักษ์แล้วว่า ลายมือในการตอบข้อสอบเกี่ยวข้องโดยตรงกับคะแนนที่นักเรียนคนนั้นได้คือ

เวลาตรวจข้อสอบอารมณ์ของอาจารย์อาจถูกกำหนดได้ด้วยลายมือของนักเรียน หรือในกรณีสมัครงาน ถ้าผู้สมัครมีลายมือสวยโอกาสการได้งานก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งการที่จะทำให้ลายมือสวยนั้น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องลายมือได้เสนอแนะว่า ผู้เขียนควรอยู่ในอารมณ์เขียนที่สงบโดยไม่มีเสียงรบกวน มีสุขภาพดีและมีที่นั่งเขียนดี ซึ่งจะส่งผลให้มือ แขนและสมองที่ใช้ในการเขียน ทำงานอย่างคล้องจองลงตัว เพราะถ้าประสาทหู ประสาทตาหรือประสาทสมองถูกรบกวน ลายมือของคนเขียนก็จะปรวนแปรหรือเละทันที อนึ่งการมีจังหวะนิ้วและจังหวะมือที่ดี ก็สามารถควบคุมลักษณะลายมือได้บ้าง การรู้จักลากปากกาและการจับปากกาให้ทำมุมที่เหมาะกับกระดาษ โดยไม่หลวมหรือมั่นเกินไป ก็มีบทบาทไม่น้อยเช่นกันในการทำลายมือของคนให้สวยหรือทรามได้

ถึงแม้ลายมือจะมิสามารถบอกบุคลิกภาพของคนเขียนได้ แต่ก็สามารถบอกสุขภาพของคนเขียนได้ดีระดับหนึ่ง

M. Rijntjes แห่งมหาวิทยาลัย Hamburg ในเยอรมนีได้ใช้กระบวนการ Magnetic Resonance Imajing (MRI) ดูสมองของคนขณะเขียนหนังสือ และเขาก็ได้พบว่าสมองส่วนที่เรียกว่า posterior parietal cortex คือส่วนของสมองที่มีหน้าที่ควบคุมการเขียน การรู้ชัดว่าสมองส่วนนี้ควบคุมลายมือช่วยให้แพทย์รู้สถานภาพของสุขภาพสมองได้บ้าง เพราะเวลาลายมือใครเปลี่ยน นั่นเป็นลางแสดงให้เห็นว่าสุขภาพของบุคคลผู้นั้นกำลังจะเปลี่ยนด้วย

เช่นคนที่เป็นโรค Parkinson ความเร็วในการเขียนจะช้าลง และตัวอักษรในลายมือก็จะเล็กลงๆ ด้วย ส่วนคนที่กำลังจะเป็นโรค Huntington ลายมือจะไม่สม่ำเสมอ คือขนาดตัวอักษรจะใหญ่บ้างเล็กบ้าง คนที่เป็นโรค schizophrenia ก็ช้ากว่าจะเขียนได้แต่ละตัวอักษรและขยับนิ้วซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงเขียนเหล่านี้ เป็นต้น

การวิเคราะห์ลายมือนี้ จึงสามารถบอกได้ว่าสมองของผู้เขียนส่วนใดกำลังได้รับการกระทบกระเทือน หรือกำลังมีอาพาธ

สำหรับคนมีอายุที่เซลล์สมองเสื่อมไปมาก ลายมือก็จะเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น เราก็จะเห็นได้ว่าลายเซ็นต่างๆ ที่เคยเขียนขณะเป็นหนุ่ม-สาวกับขณะเวลาชรา มักไม่เหมือนกันทีเดียว และนี่ก็คือโอกาสที่คนบางคนใช้ในการทุจริตปลอม ลายเซ็นในพินัยกรรม ซึ่งนักนิติเวชและผู้เชี่ยวชาญด้านลายมือจะต้องทำงานหนัก เพื่อให้รู้ว่าลายเซ็นใครของแท้หรือของปลอม และบรรดานักปลอมลายมือก็ต้องระมัดระวัง เพราะถ้าปลอมไปแล้วลายมือแสดงให้เห็นว่า คนเขียนป่วยเป็นโรค multiple sclerosis ทั้งๆ ที่เขาเป็นโรคสมองเสื่อมธรรมดา เขาก็จับได้เท่านั้นเอง

แม้แต่คนที่มีอายุน้อยก็เถอะ ลายมือวันนี้กับเมื่อปีกลาย ก็ใช่ว่าจะเหมือนกันเดี๊ยะ เพราะลายมือหรือลายเซ็นขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น อารมณ์และอาการป่วย เป็นต้น ยืนเขียนกับการนั่งเขียนก็ทำให้ลายมือเปลี่ยนได้บ้าง หรือถ้าบริเวณที่จะเขียนไม่พอเพียงคือแคบจนวางมือสบายๆ ไม่ได้ ลายเซ็นลายมือต่างๆ ก็จะเปลี่ยน ดังนั้น เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ จึงถูกนำเข้ามาวิเคราะห์ดูลายเซ็นจริง และลายเซ็นปลอม อุปกรณ์ biometric ระบบ Penflow ดูการเคลื่อนที่ของปากกาอิเล็กทรอนิกส์แล้วส่งข้อมูลเช่น ความเร็วในการเขียน แรงกดที่ผู้เขียนกดลงบนกระดาษ มุมเอียงของปากกาเวลาเขียน ฯลฯ ไปวิเคราะห์เป็นตัวเลข ข้อมูลเหล่านี้สมบูรณ์พอที่จะบอกเอกลักษณ์ของผู้เขียนแต่ละคนได้ ซึ่งคนอื่นจะทำได้ไม่เหมือนและเจ้าตัวเองก็จะเปลี่ยนได้แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง

และถ้าคอมพิวเตอร์จับได้ว่า ใครปลอมลายเซ็น ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของตำรวจครับ




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2551 3:43:09 น. 7 comments
Counter : 3133 Pageviews.

 
ยังอ่านไม่จบครับ มาลงชื่อไว้ก่อนเดี๋ยว มาอ่านต่อ ง่วงมาก ตอนนี้


โดย: OFFBASS วันที่: 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา:5:58:31 น.  

 
ลายมือบอกสุขภาพดูมีเหตุผลนะ

แต่หมอดูลายมือประเภทว่าชีวีตตกต่ำเพราะเซ็นชื่อไม่ถูกอะไรแบบนี้หนูไม่เชื่ออะ

มีคนบอกว่าคนฉลาดจะลายมือหวัด คนโง่จะลายมือสวย เพราะคนฉลาดสมองคิดเร็วมือตามไม่ทัน พี่โพสว่าจริงเปล่า???


โดย: น้องผิง วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:14:23 น.  

 
ปามว่ามันก็เกี่ยวพันกันอยู่นะคะพี่ เกี่ยวกับสมองและอารมณ์ด้วยล่ะ


โดย: ป่ามป๊าม วันที่: 4 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:11:35 น.  

 
อ้อมจะโดนปลอมลายเซ็นมั้ยคะเนี่ย

ปอลิง
ตอนนี้อ้อมอัพบล็อกแล้วนะคะ
แล้วก้อสิ้นสุดการฝึกสอน
และกลับมาเรียนอีกหนึ่งเทอม
อีกเด๋วก็จะจบแล้วค่ะ


โดย: verdancy วันที่: 6 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:52:00 น.  

 
ไม่คิดว่าลายมือจะมีผลมากขนาดนี้

จะว่าไปต้องโทษอาจารย์ที่มีอคติเรื่ิิองรายมือนะครับ ไม่ควรทำแบบนั้นจริงๆ

ลายมือผมไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ นี่รึเปล่าคือ เหตุผลที่ว่าทำไมได้คะแนนน้อยเวลาสอบ


โดย: นายต่อ Ver.ต่างแดน (toor36 ) วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:37:24 น.  

 


หวัดดีค่ะ คุณโพส

แวะมาเยี่ยมค่ะ
คิดถึงเสมอค่ะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา:5:26:16 น.  

 
ขอบคุณฮับ มีสาระมากๆ แต่เสียว


โดย: ควาย IP: 114.128.160.5 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:16:21:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MaThilDra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add MaThilDra's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.