Ninja!
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
20 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 

คำนิยามของปรัชญา " เศรษฐกิจพอเพียง"

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลายปีที่ผ่านมา ได้รับการตีความไปตามความเข้าใจของบุคคลกลุ่มต่างๆค่อนข้างสับสน ผมฟังแล้วรู้สึกว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” อย่างแท้จริง แม้แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ออกมาพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบ่อยๆ หรือแม้แต่รัฐมนตรีในรัฐบาลนี้ที่ออกมาพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมฟังแล้วก็รู้สึกว่าท่านยังเข้าใจไม่ลึกซึ้งพอ
หลายหน่วยงานของรัฐก็ตีความส่งเสริมประชาชนให้กินอยู่อย่างประหยัด บางหน่วยงานก็ทำหนังสารคดี ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียงด้วยการปลูกผักกินเอง ซึ่งผมคิดคงจะ เข้าใจผิด ใน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ถูกต้องไปมาก

หน้าเศรษฐกิจไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ผมต้องขอชมว่าทำได้ดีมาก ที่ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตลาดหลักทรัพย์ และ ปตท. สำรวจ ความเข้าใจ ของประชาชนต่อ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากตัวอย่าง 18 จังหวัด เพื่อหาข้อมูลว่าประชาชนมีความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแค่ไหน

ผลการสำรวจพบว่า ประเด็นที่คนส่วนใหญ่เข้าใจในทิศทางเดียวกันคือ

เศรษฐกิจพอเพียง คือ การมีคุณธรรม (ร้อยละ 91.57) การมีความรู้ (ร้อยละ 89.72) ความพอประมาณ (ร้อยละ 86.52) การมีเหตุผล (ร้อยละ 86.43) และ การไม่ก่อหนี้ (ร้อยละ 81.39)

เมื่อถามว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของการประหยัด ไม่ใช้จ่าย หรือใช้จ่ายให้น้อยลง เห็นด้วยหรือไม่ คำตอบที่ออกมา ร้อยละ 77.0 เห็นด้วย ร้อยละ 16.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.6 ไม่แน่ใจ

ถามอีกว่า เห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงไม่ควรกู้เงิน คำตอบที่ออกมา ร้อยละ 50.87 เห็นด้วย ร้อยละ 35.22 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 13.91 ไม่แน่ใจ

ถามอีกว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ควรซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิต เห็นด้วยหรือไม่ คำตอบที่ออกมา ร้อยละ 61.7 เห็นด้วย ร้อยละ 26.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.0 ไม่แน่ใจ


จากตัวอย่างคำถามคำตอบที่ได้ สะท้อนชัดเจนว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเพียงพอ คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามคำบรรยาย ของวิทยากรต่างๆที่ออกมาพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวที่ตัวเองเข้าใจ

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงย้ำในพระราชดำรัสวันที่ 4 ธันวาคม 2543 ว่า “เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีก แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Sufficiency Economy...ก็หมายความว่า ประหยัดแต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ่มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง แล้วทุกคนจะมีความสุข...”

ผมเปิดพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ของ คุณเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ เพื่อหาคำแปลที่ถูกต้อง ไล่ตั้งแต่คำว่า Suffice, Sufficiency, Sufficient ก็ได้คำแปลออกมาดังนี้ครับ

Suffice แปลว่า พอ, เพียงพอ แปลรวมคือสนองความต้องการอย่างเพียงพอ Sufficiency แปลว่า จำนวนเต็มที่ จำนวนเพียงพอ (ในทรัพย์, สินค้า, รายได้, ความสามารถ เป็นต้น) ดังนั้น คำว่า Sufficiency Economy ผมจึงแปลและเข้าใจว่า หมายถึง “เศรษฐกิจที่พอเพียงอย่างเพียงพอ” ไม่ใช่อยู่อย่างกระเหม็ดกระแหม่เท่าที่มี

“...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้จะครึ่งหนึ่ง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็สามารถอยู่ได้ การแก้ไขต้องใช้เวลา ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อน เพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้...”

ประโยคที่ผมอัญเชิญมานี้ คือ พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ถ้าจะให้ชัดเจนกว่านี้ ผมขออัญเชิญมาอีกประโยคครับ เป็นพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2536 ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

“...ทำประตูน้ำที่ปากแม่น้ำ ห่างจากตัวอำเภอปากพนังประมาณ 3 กิโลเมตร...ก็พิจารณาว่า จะแก้ปัญหาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า...

จะแก้ปัญหาตั้งแต่น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็ม และสามารถที่จะให้ประชาชนมีน้ำบริโภค และน้ำทำการเกษตร...”


พระราชดำรัสประโยคนี้ผมคิดว่า เป็นตัวอย่างชัดเจนที่สุด สำหรับการอธิบายคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็น Total Solution ในการแก้ปัญหา โดยยึดหลัก “ความพอเพียงของทุกฝ่าย” แก้ปัญหาที่เชื่อมโยงกันทั้งหมด

แก้ตั้งแต่ปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำเค็ม ปัญหาประชาชนขาดน้ำบริโภค และปัญหาเกษตรกรขาดน้ำในการเพาะปลูก ซึ่งเป็นปัญหาของชุมชน

เมื่อน้ำไม่แล้ง น้ำไม่ท่วม น้ำไม่เค็ม น้ำดื่มไม่ขาด น้ำเกษตรไม่ขาด นั่นคือ “ความพอเพียง” ของชุมชนปากพนังที่เกิดขึ้น ทำให้ ประชาชนในชุมชนพ้นจากความยากจนขัดสน มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีอาชีพมั่นคงขึ้น มีรายได้จากการเพาะปลูกและเกษตรกรรมอื่นๆเพิ่มมากขึ้น ทำให้ฐานะร่ำรวยขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การแก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่การอยู่เฉยๆยอมรับชะตากรรม แต่ต้องระดมสรรพกำลังตั้งแต่กำลังคน วิชาความรู้ และกำลังเงินที่จะมาลงทุน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนที่ขาดแคลนไม่เพียงพอ ให้เกิดความเพียงพอและเหลือไว้สะสมในที่สุด

คนมีวิชาความรู้ เงินที่จะลงทุน ก็ต้องไปสร้างไปหามา เป็นระบบที่เชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่ ถ้าคิดจุดหนึ่งจุดใดก็ไม่สำเร็จ ต้องคิดเป็นระบบจึงจะสำเร็จ

นี่เป็นตัวอย่างชุมชนหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากจะแก้ปัญหาในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก ก็ต้องคิดในกรอบของระดับประเทศและระดับโลก

ดังนั้น “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่ใช่เป็นปรัชญาแคบๆสำหรับคนรากหญ้า ชุมชนเล็กๆ หรือระดับจุลภาค แต่เป็นปรัชญาที่ปรับใช้ได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับจุลภาคไปถึงมหภาค ตั้งแต่ระดับบุคคลในรากหญ้า ขึ้นไประดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับภูมิภาค ระดับโลกเลยทีเดียว

จากตัวอย่างน้ำเค็มที่อำเภอปากพนัง ผมขอยกตัวอย่างใกล้ตัวคนเมืองหลวงอีกตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งขึ้นมาอีกนิด เอาเรื่อง “รถไฟฟ้า 5 สาย” ที่รัฐบาลกำลังจะเปิดประมูลก่อสร้างก็แล้วกันนะครับ

กรุงเทพฯมีประชากร (จริง) กว่า 10 ล้านคน แต่ไม่มีระบบขนส่งมวลชนเพื่อการเดินทางของคนกรุงอย่างเพียงพอ ทำให้คนกรุงที่ไม่มีรถส่วนตัวเดือดร้อน เพราะขาดแคลนระบบขนส่งมวลชน ถือว่าไม่พอเพียง

คนก็เลยต้องดิ้นรนไปซื้อรถมาใช้ ทำให้จราจรติดขัด ถนนไม่พอใช้ รถเมล์ ไม่พอใช้ เดือดร้อนกันไปทั่ว

วิธีที่จะทำให้เกิดความพอเพียง ประชาชนมีรถไปไหนมาไหนได้สะดวก ไม่ต้องซื้อรถเอง ไม่ต้องเจอรถติด รัฐบาลก็ต้องลงทุนสร้างระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้าใต้ดินให้มากๆ มากพอที่จะขนผู้โดยสารได้วันละล้านสองล้านคน เพื่อให้เกิดความพอเพียงในการเดินทาง อย่างนี้ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียง

ทั้งสองตัวอย่างนี้ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสังคมส่วนรวมเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการทำธุรกิจ การค้าขาย การลงทุน การออม ไปจนถึงคุณภาพชีวิต ก็ต้องอธิบายในอีกลักษณะหนึ่ง แต่ปรัชญาและทฤษฎีก็ไม่ต่างกัน “เศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ใช่ “พอเท่าที่มี” แต่ต้อง “ทำให้มีอย่างเพียงพอและไม่ขาดแคลน” ครับ.

ทุนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียง

ความจริงแล้ว ผมเชื่อว่าทุนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องที่ไปด้วยกันได้ ถ้าหากไม่เดินข้างหนึ่งข้างใดจนสุดกู่ แต่จะขาดข้างหนึ่งข้างใดก็ไม่ได้ ที่สำคัญที่สุดต้อง “เข้าใจ” และ “เข้าถึง” และรู้จัก “พอประมาณ” ด้วย “เหตุและผล” อย่างมี “คุณธรรม” และ “จริยธรรม” ไม่ใช่โลภจนหน้ามืดโกงกินทุกอย่างที่ขวางหน้า

ในหนังสือ “จุดเปลี่ยนประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์” ของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ศิษย์เอกของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เขียนไว้ชัดเจนว่า

การกำจัดการคอรัปชัน เป็นเงื่อนไขสำคัญในการ “ปลูกรากเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะความ มั่งคั่งที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นความมั่งคั่งในเชิงคุณภาพ เป็นความมั่งคั่งที่เป็นธรรม แต่การคอรัปชันเป็นเรื่องของคนที่ไม่รู้จักพอเพียง ไม่รู้จักความพอดี ทำลายวัฒนธรรมที่ดีของสังคม สร้างความไม่ยุติธรรม ทำให้เกิดความมั่งคั่งแบบกระจุกอย่างไร้ผล (Unproductive) แทนที่จะกระจายอย่างเกิดผล (Productive)

เศรษฐกิจโลกในยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน เป็นระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อน เป็นกระแสที่ปฏิเสธไม่ได้ เราจะเปิดประเทศอย่างเต็มที่ก็ไม่ได้ เพราะคนของเรายังไม่พร้อม เราจะปิดประเทศก็ไม่ได้ เพราะต้องค้าขายกับชาวโลก

การพัฒนา “เศรษฐกิจแบบคู่ขนาน” (Dual Economy) จึงจำเป็น จะต้องสร้างสมดุลระหว่าง “ทุนนิยมที่อิงตลาด” เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนออกไปแข่งขันกับตลาดโลกได้ กับ “ทุนนิยมที่อิงสังคม” ในระดับฐานราก เพื่อช่วยเหลือสังคมโดยรวม เหมือนกับที่จีนและญี่ปุ่นใช้อยู่

เราต้องทำให้สังคมไทยเป็น “สังคมที่เสริมพลัง” ซึ่งกันและกัน แทนที่จะเป็น “สังคมลดทอนพลัง” ซึ่งกันและกัน อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ตัวอย่างนี้เห็นชัดในปัจจุบัน แต่ละกลุ่มต่างสร้างพลังของตัวเองขึ้นมา เพื่อลดทอนกำลังของอีกฝ่าย เพื่อแสดงพลังของตัวเอง สุดท้ายก็จะจมอยู่ในวังวนแห่งความหายนะ)

ความสมดุลระหว่าง “ชุมชนภิวัตน์” (Locality) กับ “โลกาภิวัตน์” (Globality) จะต้องไปด้วยกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจชุมชน โดยให้เศรษฐกิจแต่ละชุมชน แต่ละกลุ่ม เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดความแข็งแกร่งแล้ว ก็ออกไปสู้กับโลกาภิวัตน์ในตลาดโลกได้

นี่คือ การเสริมซึ่งกันและกัน ของ เศรษฐกิจพอเพียง และ ทุนนิยม ซึ่งจะทำให้เกิดความแข็งแกร่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยที่เราพูดกันในระดับ 5 ล้าน 10 ล้านบาท หรือยอดขาย 50 ล้าน 100 ล้านบาทนั้น ถ้าเทียบกับญี่ปุ่นแล้วไม่เห็นฝุ่น เพราะธุรกิจเอสเอ็มอีของญี่ปุ่นวันนี้เขามียอดขายกันที่ 5,000 ล้าน 10,000 ล้านบาทกันแล้ว ธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดใหญ่เหล่านี้ จะถูกวางตัวเป็นฐานรากในการ เสริมกับธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติของญี่ปุ่น

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คนไทย และรัฐบาลชุดนี้น้อมนำมาปฏิบัตินั้น เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น คนไทยทุกคนยังต้องเรียนรู้ในปรัชญานี้อีกมาก เพื่อนำไปตีความเป็นภาคปฏิบัติให้เหมาะสม

ผมจึงไม่อยากเห็นใครด่วนสรุป ซึ่งจะทำให้เข้าใจผิดกันไปใหญ่.

ขอขอบคุณ คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย จาก คุณลมเปลี่ยนทิศครับ


ปล.ไม่รับ comment เกี่ยวกับเรื่องการเมืองครับ




 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2550
16 comments
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2550 23:30:07 น.
Counter : 2797 Pageviews.

 

อรุณสวัสดิ์ครับ ขอบคุณที่นำบทความดีดีมาให้ได้อ่านนะครับ สบายดีนะครับ

 

โดย: ลุงกล้วย 22 กุมภาพันธ์ 2550 5:56:28 น.  

 

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆคะ ^^

 

โดย: น้องผิง 22 กุมภาพันธ์ 2550 6:30:30 น.  

 





สวัสดีตอนเช้าของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า


หากเธอลองมองใจฉันสักนิด
ฉันจะไม่ปิดความรู้สึกนั้นไว้
อยากให้เธอรับรู้ความคิดถึง ห่วงใย
จากส่วนหนึ่งความรู้สึกของหัวใจ



** มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงนะจ้า **


ขอบคุณมากนะจ้าที่นำบทความดีๆๆมาให้อ่าน แต่ว่า..
คันไม้คันมืออยากเขียนเรื่องการเมืองอะดิ..

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 22 กุมภาพันธ์ 2550 15:29:00 น.  

 

ดีจัง อ่านแล้วดีเนอะ

 

โดย: preena 22 กุมภาพันธ์ 2550 17:26:33 น.  

 


จิงดิ ..ชอบเรื่องการเมืองนะ แต่หัวม่ายเอียงอะ..ขอบอก..

ว่าแต่ตอนนี้นั่งทามจายลอยออกไปนอกหน้าตาถึงหน่ายแย้วอะเนี่ย

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 22 กุมภาพันธ์ 2550 18:52:10 น.  

 

 

โดย: postmaker 22 กุมภาพันธ์ 2550 19:00:37 น.  

 

แวะมาราตรีสวัสดิ์จ้า

 

โดย: nakwan6 22 กุมภาพันธ์ 2550 21:46:47 น.  

 

1
กดปุ่ม Print Screen ที่คีย์บอร์ด ปุ่ม อยู่บนสุด ถัดจาก F12 กดย้ำสักครั้งสองครั้ง เป็นการจับภาพหน้าจอ แล้วเปิดโปรแกรม
Paint ที่อยู่ใน Start-Programs-Accessories-Paint
แล้วก็ Past (วาง) โดยเข้าเมนู Edit-Past
แล้ว Save ก็จะได้เป็นรูป รู้สึกว่าจะได้เป็น .bmp
2
เปิดโปรแกรม ACDsee เปิดรูปนั้นขึ้นมา
เข้าเมนู Tools-PhotoEnhance แล้วก็ OK
Edit-Resize ใส่ความกว้าง(Width)=470 แล้วก็ OK

3
File-Save As เซฟเปลี่ยนนามสกุลเป็น JPG

 

โดย: นาขวัญ IP: 203.157.147.6 23 กุมภาพันธ์ 2550 13:54:57 น.  

 

ขอบคุณมากครับ คุณนาขวัญ

 

โดย: postmaker 23 กุมภาพันธ์ 2550 14:35:10 น.  

 





สวัสดีตอนเช้าของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า


อบอุ่นมากมายเมื่อมาเยียน
ครั้นเมื่อห่างไกลก็คิดถึง
มีเพียงเธออยู่ในห้วงคำนึง
เป็นความรู้สึกลึกซึ้งเกินกว่าใคร




** มีความสุขกับวันหยุดพักผ่อนนะจ้า **


แอบย่องๆๆมาดูว่า เรียกหัวจาย กลับมาอะยัง

ปล. ชอบน้อง แคท เหมือนกานเลย สงสัยเราจะต้องเป็น หวานจัย
กานแน่ๆๆเลยอะเนี่ย..เอิกๆๆ

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 23 กุมภาพันธ์ 2550 15:13:47 น.  

 


อ้าว แล้วหัวจายครายอะ มาอยู่ข้างๆๆจอมแก่น ..

อุตส่าห์นึกว่าเป็นของคุณ post ชะอีก ..หว๊า แห้วเลยเรา..

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 23 กุมภาพันธ์ 2550 19:32:42 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ที่นำมาให้อ่าน
คิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องตีความ
และทำความเข้าใจพอสมควรค่ะ

 

โดย: รถเมล์สาย 170 23 กุมภาพันธ์ 2550 20:24:37 น.  

 

ช่วยแปรเศรษฐีพอเพียงบ้างได้ป่ะจนปัญญาคับใครแปรได้บอกนะคับเราเป็นคนตรงถามหน่อยนากาเดินตรงป่ะ/*ตอบด้วนนะรักแต่ไม่แสดงออกนะไม่ไม่รวยแต่มีใจให้เทอ

 

โดย: ดำ IP: 125.27.251.26 5 พฤศจิกายน 2550 19:32:44 น.  

 

แปรเป็นภาษาอังกฤษลืมบอกอะ/*-*เราเป็นคนที่ลึกรับให้เบอร์จดนะ056-799***คนสวย

 

โดย: ดำ IP: 125.27.251.26 5 พฤศจิกายน 2550 19:37:10 น.  

 

สวย

 

โดย: ลิง IP: 125.27.172.157 13 สิงหาคม 2552 10:44:34 น.  

 

ที่นี่เป็นแหล่งความรู้ที่เยี่ยมมากเลยล่ะทำให้ฉันสามารถทำงานส่งทันเวลาด้วย ขอบคุฉคะ

 

โดย: Fa IP: 61.19.66.116 5 กันยายน 2552 12:09:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


MaThilDra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add MaThilDra's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.