Group Blog
 
 
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
น้ำท่วมซัดเศรษฐกิจจมแสนล้าน ทุบอุตฯ ยานยนต์-อิเล็กทรอนิกส์เดี้ยง

น้ำท่วมซัดเศรษฐกิจจมแสนล้าน ทุบอุตฯยานยนต์-อิเล็กทรอนิกส์เดี้ยง
อุทกภัยปี 2554 นับเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงครั้งประวัติศาสตร์ของไทย ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรครอบคลุม

พื้นที่ในวงกว้าง แต่ยังเป็นครั้งแรกที่น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่อุตสาหกรรมหลักในหลายจังหวัดตอนเหนือของกรุงเทพฯ ความเสียหายจอาจมีมูลค่าสูงกว่าที่เคยประเมินไว้หลายเท่าตัว

กระทบ ศก. 75,000-113,000 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ความสูญเสียต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อาจมีมูลค่า 75,000-113,000 ล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายภาคการเกษตร 20,000-30,000 ล้านบาท ภาคอุตสาหกรรม 38,000-59,000 ล้านบาท และภาคบริการและอื่น ๆ รวม 17,000-24,000 ล้านบาท

โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวงเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ลดลงจากคาดการณ์เดิมถึงร้อยละ 0.69-1.04 ลงมาอยู่ในกรอบร้อยละ 2.9-3.6 ขณะที่ในไตรมาส 4 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวเหลือเพียงร้อยละ 2.0-3.8 หายไปถึง

ร้อยละ 2.0-3.2 จากเดิมที่เคยคาดว่าขยายตัวถึงร้อยละ 4.0-5.8

จากข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า น้ำท่วมส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมรวม 66 จังหวัด พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหายประมาณ 8.6 ล้านไร่ (ณ วันที่ 10 ตุลาคม) ส่วนใหญ่เป็นข้าวประมาณ 7.3 ไร่ และในกรณีรุนแรงหากเกิดความเสียหายเพิ่มเติมจากมวลน้ำที่จะเข้ามาอีก ความเสียหายในรอบนี้อาจครอบคลุมพื้นทเกษตรถึง 12 ล้านไร่

ทุบอุตฯยานยนต์-อิเล็กทรอนิกส์

สำหรับในภาคอุตสาหกรรม จากที่น้ำได้ท่วมเข้านิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดตอนเหนือของกรุงเทพฯ ทั้งลพบุรี, ปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของประเทศ ยังมีโรงงานสำคัญอื่น ๆ อาทิ สิ่งทอ รองเท้า อาหารและเครื่องดื่ม ยางและพลาสติก เป็นต้น

รวมทั้งหลายโรงงานผลิตชิ้นส่วนและวัตถุดิบต้นน้ำ หากไม่สามารถควบคุมขอบเขตผลกระทบและสถานการณ์ยืดเยื้อนานหลายสัปดาห์ อาจกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมในจังหวัดอื่น ๆ ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งจะส่งผลต่อภาคการผลิตของประเทศในระดับที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า จังหวัดที่เสียหายหนักที่สุดคาดว่าจะเป็นพระนครศรีอยุธยา จังหวัดศูนย์กลางอุตสาหกรรมใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ (รองจากกรุงเทพฯและสมุทรปราการ) มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 11 ของมูลค่าการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ คาดว่าจะเสียหายถึง 20,000-30,000 ล้านบาท เป็นแหล่งรวมของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สัดส่วนร้อยละ 30-40 ของประเทศ รวมทั้งมีความเชื่อมโยงด้านซัพพลายเชนกับคลัสเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น ปทุมธานี นครราชสีมา และปราจีนบุรี ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ในโซนตอนเหนือของกรุงเทพฯ ก็นับเป็นกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญด้วยสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 10 ของประเทศ

กระทบยอดส่งออกชะลอตัว

ทั้งนี้จากการหยุดการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ จะส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกในไตรมาส 4/2554 ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวอยู่แล้วจากภาวะเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม หากบริษัท

ผู้ผลิตสินค้าต้นน้ำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัยต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูความเสียหายนานหลายสัปดาห์ บริษัทผู้ผลิตสินค้า

ขั้นสุดท้ายหรือสินค้าปลายน้ำที่ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง อาจต้องปรับแผนหันไปจัดหาชิ้นส่วนและวัตถุดิบจากแหล่งอื่นเข้ามาทดแทน เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าส่งมอบตามคำสั่งซื้อได้ทันเวลา ซึ่งก็อาจช่วยให้ตัวเลขการส่งออกชะลอลงจากคาดการณ์เดิมไม่มากนัก โดยคาดว่าการส่งออกในปี 2554 อาจขยายตัวร้อยละ 19.5 ต่ำลงจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 20

ที่สำคัญปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายต่อพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอันเป็นที่ตั้งของนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก อาจมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติในการเลือกที่ตั้งของการลงทุนและนิคมอุตสาหกรรม โดยให้ความสำคัญกับระบบการป้องกันภัยพิบัติมากยิ่งขึ้น

ทิศทางราคาอาหารถีบตัวสูง

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป และน้ำดื่ม จะได้รับอานิสงส์จากความต้องการซื้อของผู้บริโภคในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ช่วงน้ำท่วม รวมทั้งการซื้อเพื่อบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ขณะที่สินค้าเกี่ยวกับการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยอาจมีความต้องการเพิ่มขึ้นหลังน้ำลด โดยรวมแล้วคาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนในปี 2554 อาจขยายตัวต่ำลงมาอยู่ที่ประมาณ

ร้อยละ 3.4 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 3.6

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่จะตามมา ไม่ว่าทิศทางราคาสินค้า เพราะผลจากความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรจะส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปีสูงกว่าที่เคยคาดไว้ แม้ว่าอาจไม่มีผลทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีแตกต่างไปจากกรอบคาดการณ์เดิมนัก เนื่องจากเหลือเพียง 3 เดือนสุดท้าย แต่ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันเพิ่มขึ้นต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในต้นปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่อาจจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน การยกเลิกมาตรการ

ช่วยเหลือค่าครองชีพ และการปรับมาตรการราคาพลังงาน

ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 นี้จะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.8-4.0 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.3-2.6

น้ำท่วมซ้ำเติมวิกฤต ศก.โลก

อุทกภัยที่เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ เป็นแรงซ้ำเติม โดยเฉพาะต่ออุตฯ ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเพิ่งฟื้นตัวจากผลกระทบของภัยพิบัติในญี่ปุ่น และยังมีหลากหลายปัญหาที่รออยู่ข้างหน้า ไม่ว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ตลอดจนการรับมือผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงปีหน้า ทำให้

ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากตกอยู่ในสภาวะยากลำบากในการประคองตัวกลับมาพลิกฟื้นความเสียหายของโรงงาน สถานประกอบการ และเครื่องจักร ขณะที่การหยุดการผลิตก็จะส่งผลต่อรายได้ของธุรกิจ

และผลที่ตามมาจากอุทกภัยครั้งนี้อาจทำให้รัฐบาลต้องมีการปรับแนวนโยบาย ซึ่งการดำเนินการในบางด้านอาจไม่เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ เช่น การจำนำข้าวที่ผลผลิตข้าวนาปีจำนวนมากต้องเสียหายจากภาวะน้ำท่วม ทำให้มีข้าวเข้าสู่โครงการจำนำน้อยกว่าที่คาด ทำให้ต้องมีการขยายเวลาจำนำออกไป รวมทั้งประเด็นการปรับขึ้นค่าจ้าง ที่มีกำหนดจะเริ่มต้นในเดือนมกราคม 2555 รัฐบาลจะมีแนวทางดำเนินการอย่างไรเมื่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนมากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม




Create Date : 17 ตุลาคม 2554
Last Update : 17 ตุลาคม 2554 10:07:09 น. 0 comments
Counter : 398 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yonradee24
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add yonradee24's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.