Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
3 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
เอกชน วอนรัฐตั้งกองทุนหมื่นล้านพยุงเอสเอ็มอี

สถานการณ์การจ้างงานหลังจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทวันต่อวัน มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 เมษายน ที่ผ่านมา สร้างผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยนายบุญโชค โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหารบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ระบุว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จึงมีแผนเตรียมย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศพม่า เนื่องจากมีค่าจ้างต่ำกว่าไทย


ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 เมษายน นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนได้เสนอผ่านหอการค้าไทย ขอให้รัฐบาลเร่งให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากนโยบายปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท โดยจัดกองทุนช่วยเหลือวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยส่วนต่างค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น และเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) จนกว่าจะประคองตัวได้ หรือช่วยเหลือ 1-2 ปี  เพิ่มเติมจากมาตรการช่วยเหลือด้านภาษีที่จะปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556


นายภูมินทร์กล่าวว่า รัฐบาลควรเร่งสำรวจว่าธุรกิจใดบ้างที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรงงานที่สูงขึ้นจากเฉลี่ย 215 บาทเป็น 300 บาท และเร่งรัดเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อไม่กระทบต่อธุรกิจและการปิดกิจการ เบื้องต้นจากการสำรวจผลกระทบผู้ประกอบการทั้งประเทศจำนวน 2.2 ล้านราย ในจำนวนนี้ 98% เป็นเอสเอ็มอี (จ้างแรงงาน 1-25 คน) จะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ประมาณ 10% หรือกว่า 2 แสนราย จะต้องปิดกิจการหรืออาจต้องย้ายฐานการผลิต ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 500-1,000 คนขึ้นไป ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ มีไม่ถึง 1% ของสถานประกอบการทั่วประเทศ 


นายภูมินทร์กล่าวว่า ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบชัดเจนแล้วคือธุรกิจในภาคบริการ เช่น ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว ธุรกิจดูแลรักษาความปลอดภัย (ยาม) หรือธุรกิจรับทำความสะอาดโครงการ ที่ต้องทำสัญญาล่วงหน้ากับผู้ว่าจ้าง 3-5 ปี และไม่อาจแก้สัญญาได้ ต้องแบกรับภาระส่วนนี้ สำหรับสัดส่วนการจ้างแรงงานของไทยในปัจจุบัน แบ่งเป็นภาคบริการ 24.72% ภาคเกษตร 38.24% ภาคอุตสาหกรรม 20.68% และภาคการค้า 16.40%


"พูดง่ายๆ เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบหมด ตอนนี้ถ้าใครอยากลดค่าใช้จ่ายก็ต้องเอาคนออก อย่างบริษัทยาม โรงแรม ที่จ้างแม่บ้าน คนทำความสะดวก หรือบริษัทก่อสร้าง ที่จ้างแรงงาน ถ้ารับภาระไม่ไหว ก็ต้องให้ออก แล้วไปเพิ่มปริมาณงานให้กับคนที่ยังอยู่ ส่วนธุรกิจอื่นๆ ถ้าทำต่อแล้วขาดทุน ก็คงไม่มีใครฝืนทำ สุดท้ายต้องเลิกกิจการ" นายภูมินทร์กล่าว และว่า ผลกระทบด้านการลงทุนประเมินว่าการลงทุนอาจจะหายไป 1 แสนล้าน หรือ 25% จากมูลค่าการลงทุนทั้งหมดปีละ 4 แสนล้านบาท


ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลตั้งกองทุนส่งเสริมเอสเอ็มอีวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 2-3% เพื่อสร้างศักยภาพให้เอสเอ็มอีหลังรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน โดยกองทุนจะมีหน้าที่หลัก คือ อุดหนุนให้เอสเอ็มอีออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว เขมร เวียดนาม พร้อมประสานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ช่วยเหลือด้วยการออกสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อการลงทุนด้วย นอกจากนี้เงินกองทุนจะเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพเอสเอ็มอีในประเทศให้อยู่รอด เช่น กู้เงินมาซื้อเครื่องจักร เครื่องมือทุ่นแรง ฝึกอบรม การตลาด เป็นต้น และใช้รองรับการแข่งขันหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ปี 2558 เพราะหากไม่ส่งเสริมตอนนี้ เชื่อว่าแม้จะผ่านพ้นปัญหาค่าแรงไปได้ แต่การเปิดเออีซีจะมีสินค้าเข้ามาตีตลาด เพราะต้นทุนการผลิตถูกกว่า


นายธนิตกล่าวว่า สำหรับการบริการกองทุน รัฐบาลสามารถดูแลด้วยการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สถาบันศึกษา มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อให้อำนาจสั่งการมีความคล่องตัว และควรมีบริษัทใหญ่ของไทยร่วมเป็นกรรมการเพราะสามารถหาช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น ปัจจุบันหลายประเทศตั้งกองทุนเอสเอ็มอีเพื่อรับมือทุนต่างชาติ และส่งเสริมให้ออกไปทำตลาดมากขึ้น เช่น ประเทศจีน มีกองทุนที่อัตราดอกเบี้ย 0% ทำให้ผู้ประกอบการต้องการขยายกิจการมากขึ้น


นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล ข้อเสนอ และผลกระทบของผู้ประกอบการหลังนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเป็น 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่อง และจังหวัดที่เหลือปรับขึ้นประมาณ 40% โดยจะนำเสนอภายใน 1-2 สัปดาห์นี้


นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะต้องขยายวงเงินปล่อยกู้ให้แก่สถานประกอบการมากขึ้นจากปัจจุบันมีวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท และได้สั่งการให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานจัดสร้างห้องเฉพาะกิจขึ้น บริเวณใต้ตึกกระทรวงแรงงาน เพื่อรับฟังปัญหาของลูกจ้างและนายจ้าง เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง และขอให้กระทรวงแรงงานให้เงินช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้างเป็นค่าครองชีพชั่วคราวในลักษณะเช็คช่วยชาติรายละ 2,000 บาท และหางานใหม่ให้ทำ


"ผมไม่น่าเป็นห่วงกรณีตกงานเพราะปัจจุบันไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน ขณะนี้มีอัตราตำแหน่งงานว่างกว่า 1.3 แสนอัตรา ผมจะให้กรมการจัดหางาน (กกจ.) จัดงานนัดพบแรงงานในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างได้มีงานทำโดยเร็ว" นายเผดิมชัยกล่าว 


นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า เชื่อว่าสถานการณ์การเลิกจ้างจะไม่รุนแรงไม่ถึง 2 หมื่นคน เพราะการเลิกจ้างช่วงนี้ส่งผลกระทบต่อการจ่ายค่าชดเชยสูงขึ้น แต่จากการเฝ้าระวังการเลิกจ้างหรือการเข้าออกงานอยู่ในระดับปกติ




Create Date : 03 เมษายน 2555
Last Update : 3 เมษายน 2555 12:11:17 น. 0 comments
Counter : 321 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

yonradee24
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add yonradee24's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.