Mukky Y@ ....My soulful
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
ฝึกสมาธิเจ้าตัวน้อย…ด้วยสองมือพ่อแม่

 


ฝึก"สมาธิ"เจ้าตัวน้อย…ด้วยสองมือพ่อแม่   /  นิตยสารรักลูก


เป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่ทุกคนอยากให้
ลูกเป็นคนเก่ง ดี มีความสุข และพร้อมส่งเสริมให้ลูกเป็นเด็กเฉลียวฉลาด
แต่ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาเด็กเครียด และขาดอิสระทางความคิดได้
ซึ่ง รศ.นพ.ศิริชัย หงส์สงวนศรี
กุมารแพทย์ด้านจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครธน กล่าวว่า
สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจ คือ
ความฉลาดของทุกคนขึ้นอยู่กับสติปัญญาและสมอง
ซึ่งสมองของคนเรามีความคิดและความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป
และส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของแต่ละครอบครัว
ดังนั้นการที่จะให้ลูกมีความเฉลียวฉลาด มีพัฒนาการที่ดีนั้น ต้องเริ่มจาก
การดูแลลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกของกลยุทธ์สร้างลูกสมอง
ดี


       “สมองดี
คือการคิดได้อย่างมีสติมีปัญญาอย่างแท้จริงและรวมถึงสิ่งที่เป็นคุณงามความ
ดี ซึ่งเด็กจะมีสมองดีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับยีนเกือบ 80%
และยังสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มได้ตั้งแต่ในครรภ์
ซึ่งช่วงนี้คุณแม่ควรดูแลสุขภาพให้ดี เพราะจะส่งผลให้ลูกมีสุขภาพดีตามมา
นอกจากนี้ในเรื่องการบริโภคอาหาร ควรทำตามที่หมอแนะนำ


- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

       - ผักและผลไม้อย่าให้ขาด

       - เน้นอาหารทะเล โดยเฉพาะปลา น้ำมันปลา เพราะสมองเป็นไขมัน ถ้ามีไขมันดีสมองก็จะดี

       - หลีกเลี่ยงชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ทุกชนิด



       และเมื่อคลอดลูกแล้วก็ควรบำรุงต่อไป เพื่อให้มีน้ำนมให้ลูก ซึ่งจากการวิจัยพบว่า เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไอคิวของเด็กจะได้รับการกระตุ้นเพิ่มขึ้นอีก 10%
และที่สำคัญพ่อแม่ไม่ควรเครียดมากจนเกินไป
เพราะสุขภาพจิตมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการทางสมอง ไอคิว และพฤติกรรม
เพราะถ้าพ่อแม่เครียดมากเกินไป
มักจะก่อให้เกิดสารคอติซอร์ที่เป็นพิษต่อเซลสมอง
ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเลี้ยงยาก ขี้หงุดหงิด ก้าวร้าวและเจ้าอารมณ์
จะผลต่อพัฒนาการต่างๆระหว่างที่เขาโตขึ้น”


นพ.ศิริชัย ยังกล่าวต่อว่า 3 ขวบปีแรกถือเป็นนาทีทองของสมองเด็กที่จะมีพัฒนาการดีที่สุด
ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
และเมื่อเด็กเริ่มมีพัฒนาการตามวัยดีขึ้นเรื่อยๆ
พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้หยิบจับ
และช่วยเหลือตัวเองด้วยการฝึกให้ทำกิจวัตรประจำวัน
และเริ่มเรียนรู้สังคมใหม่ๆด้วยตัวเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านที่ลูกพร้อม

เมื่อ
ลูกอยู่ในช่วงอายุ 1-3 ขวบ เขาสามารถเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้เยอะขึ้น
โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว ทาแป้ง หรือทานอาหาร
สิ่งเหล่านี้พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ลองทำเอง และควรดูแลใส่ใจอย่างใกล้ชิด
คอยพูดคุย หรือทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างเช่นการเล่านิทานมีประโยชน์กับเด็กๆ
ในเรื่องการเรียนรู้ จินตนาการ กระตุ้นด้านภาษา และช่วยให้เด็กๆ
มีทัศนาคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือ นอกจากนี้อาจหากิจกรรมเสริมอื่นๆ
ให้ลูกได้เล่น อาทิ กิจกรรมเข้าจังหวะ ซึ่งมันทำให้สมองเป็นจังหวะ
และมีสมาธิดีขึ้น



       นอกจากนี้ คุณครูบี ศิริจรรยา ขอสุข นักกิจกรรมบำบัดของโรงพยาบาลนครธน กล่าวว่า พ่อ-แม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองให้กับลูกๆได้ด้วยการฝึกสมาธิ
เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก
ผ่านกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้เด็กได้เห็น
ได้เล่น ได้ลอง มาเป็นตัวเพิ่มประสบการณ์
ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่แรกเกิด ที่สำคัญต้องมีสิ่งกระตุ้น
หรือสิ่งเร้า ที่เหมาะกับช่วงวัย



“โดยเฉลี่ยเด็กอายุก่อน 3 ขวบจะมีสมาธิ
ประมาณ 5 นาที และเมื่อ 3 ขวบขึ้นไปก็จะประมาณ 10 - 15 นาที
ฉะนั้นการฝึกสมาธิในเด็กจึงต้องใช้ของเล่นที่มาช่วยดึงดูดความสนใจ
กระตุ้นให้เด็กๆอยากเล่น
แต่ต้องดูความเหมาะสมของวัย อาทิ เด็ก 1
เดือน จะสามารถจ้องวัตถุได้
หรือหันไปหาเสียงที่เขาได้ยินก็ถือเป็นสมาธิเริ่มต้น เด็กอายุ 4 - 9 เดือน
ก็จะมีในเรื่องกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เราก็สามารถหาของเล่นให้เค้าคลานไปหาได้
อายุ 8 - 9 เดือนจะมีพัฒนาการด้านการสัมผัส เริ่มคลานหาเป้าหมาย
อาจหาของเล่นเช่น
ลูกบอลที่มีแสง-เสียงเพื่อฝึกสมาธิรู้จักวางแผนที่จะคลานไปหาของสิ่งนั้น
อายุ1ขวบ สามารถจดจำสีแดงได้เป็นสีแรก อายุ 2 ขวบสามามารถจำแนกแม่สีได้
อายุ3 ขวบ เลียนแบบท่าทางของสัตว์นานาชนิด
รูปแบบกิจกรรมอาจเป็นการท้ายชื่อสี ชื่อสัตว์
ท่าทางเพื่อกระตุ้นในเรื่องของทักษะการจำและให้เด็กได้แสดงออก
ช่วยเสริมทักษะทางสังคมให้เด็ก
อีกทั้งเพิ่มสายใยในครอบครัวให้อบอุ่นขึ้นด้วย"

การ
เล่นของเด็กช่วงอายุ 0 - 6 ปี
นอกจากเป็นการช่วยพัฒนาเด็กทางด้านร่างกายและจิตใจแล้ว
ยังช่วยเรื่องไอคิว-อีคิว ทำให้เขามีพัฒนาการด้านสมองดีขึ้น
และยังช่วยฝึกการสร้างสมาธิให้กับเด็กๆ ไม่ว่าจะแค่1-2นาที ก็สามารถทำได้
เช่นการวาดรูประบายสี หรือการเล่นโยคะประกอบกับดนตรีที่มีจังหวะช้าๆ
โดยมีพ่อแม่ร่วมเล่นไปพร้อมๆ กับลูก
เพราะว่าเด็กในวัยนี้ต้องการฝึกในเรื่องของประสาทสัมผัสทั้งหมด
เขายังไม่สามารถมานั่งสมาธิได้เพียงแค่ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบข้างก็ถือว่ามี
สมาธิได้เช่นกัน”


บทความดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่ทางนิตยสารรักลูกร่วมกับ
โรงพยาบาลนครธนได้จัดขึ้นในชื่อ "รักลูก Seminars @ hospitals เจาะกลยุทธ์
สร้างลูกสมองดี”


ขอบคุณบทความดี ๆ จากนิตยสารรักลูก 


รักลูก Seminars @ hospitals ครั้งต่อไป
สำรองที่นั่งฟรี 02 913 7555 ต่อ 3522, 3531


คัดลอกจาก โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  ต.ค.2552






Free TextEditor


Create Date : 31 ตุลาคม 2552
Last Update : 31 ตุลาคม 2552 22:32:49 น. 0 comments
Counter : 379 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คิดถึงกันนานๆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Muk and Ya ...Blog
for our something memories.
http://yayeemuk.bloggang.com/

Lilypie Angel and Memorial tickers Daisypath Anniversary tickers
Friends' blogs
[Add คิดถึงกันนานๆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.