Group Blog
 
 
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
24 เมษายน 2556
 
All Blogs
 

ISO9001

บททั่วไป (General) 

การนําระบบบริหารคุณภาพไปประยุกต์ใช์นั้น ควรจะเป็นการตัดสินใจทางกลยุทธ์อย่างหนึ่งขององค์กร การออกแบบและการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพขององค์กรจะได้รับอิทธพลมาจากความต้องการที่หลากหลาย, วัตถุประสงค์ต่างๆ ,ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มี, กระบวนต่างๆที่ใช้ ,รวมทั้งขนาดและโครงสร้างขององค์กร 
มาตรฐานสากลฉบับนี้ไม่ได้มีเจตนาให้หมายถึงการมีโครงสร้างระบบบริหารคุณภาพและระบบเอกสารที่เหมือนกันหรือเป็นแบบเดียวกันไปทั้งหมด ข้อกําหนดของระบบบริหารคุณภาพที่ระบุไว้ในมาตรฐานสากลฉบับนี้นั้น เป็นส่วนส่งเสริมกับข้อกําหนดต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยที่ข้อมูลที่ระบุไว้เป็น “หมายเหตุ” มีไว้เป็นแนวทางในการทําความเข้าใจและอธิบายข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง 
มาตรฐานสากลฉบับนี้สามารถนําไปใช้โดยหน่วยงานภายในและภายนอก รวมทั้งผู้ออกใบรับรองต่างๆ เพื่อประเมินความสามารถในการที่จะบรรลุตามความต้องการของลูกค้า ,กฎหมาย ,ข้อบังคับต่างๆ ,และข้อกําหนดต่างๆ ขององค์กรเอง 
ได้มีการนำหลักการต่างๆ ด้านการบริหารคุณภาพที่ระบุไว้ใน ISO9000 และ ISO9004 มาพิจารณาระหวางการพัฒนามาตรฐานสากลฉบับนี้ด้วย 


 การมุ่งเน้นที่กระบวนการ (Process approach) 

มาตรฐานสากลฉบับนี้ส่งเสริมการนําวิธีการมุ่งเน้นที่กระบวนการไปใช้ในการพัฒนา ,ประยุกต์ใช้ ,และปรับปรุงประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ เพื่อที่จะเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าโดยการทําตามความต้องการของลูกค้า เพื่อให้องค์กรทําหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลจะต้องระบุและบริหารกิจกรรมต่างๆที่เชื่อมโยงกันอยู่ 
โดยที่กิจกรรมหนึ่งที่ใช้ทรัพยากรต่างๆ และถูกบริหารเพื่อที่จะให้เกิดการเปลี่ยนสิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) ให้เป็นผลลัพธ์ (Output)  สามารถเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการ ซึ่งบ่อยครั้งที่ (Output) จากระบวนการหนึ่งเป็น (Input) โดยตรงของอีกกระบวนการหนึ่ง 
การใช้ระบบกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กร บวกกับการชี้บ่งและการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของกระบวนการเหล่านี้ รวมทั้งการบริหาร สามารถเรียกได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นที่กระบวนการ
ข้อดีของการมุ่งเน้นกระบวนการ คือ การควบคุมอย่างต่อเนื่องที่มีเหนือกระบวนการต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกันภายในระบบรวมทั้งการผสมผสานและการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันดัวย เมื่อมีการนําไปใช้ภายในระบบบริหารคุณภาพ วิธีการนั้นก็จะมุ่งเน้นความสําคัญของ 
(a)  ความเข้าใจ และการบรรลุข้อกําหนดต่างๆ 
(b)  ความจําเป็นที่จะพิจารณากระบวนการต่างๆ ในแง่ของมูลค้าเพิ่ม 
(c)  การได้รับผลการดําเนินการและประสิทธิผลของกระบวนการและ  
(d)  การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของกระบวนการตางๆ บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ที่สมารถวัดได้ 
หมายเหตุ :  วิธีการที่รู้จักในคําว่า “Plan-Do-Check-Act”  (PDCA)  สามารถถูกประยุกต์ใช้ได้กับกระบวนการต่างๆ ทุกกระบวนการโดยคําที่ว่า PDCA นั้นสามารถอธิบายอย่างย่อได้ดังนี้ต่อไปนี้

Plan (การวางแผน) : การจัดทําวัตถุประสงค์และกระบวนการต่างๆ ที่จําเป็นในการทําให้เกิดผลลัพท์ตามความต้องการต่างๆ ของลูกค้า และนโยบายต่างๆ ขององค์กร 

Do (การทํา) : ประยุกต์ใช้กระบวนการต่างๆ 

Check (ตรวจสอบ) : การเฝ้าติดตามและวัดผลของกระบวนการต่างๆ และผลิตภัณฑ์เทียบกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และข้อกําหนดต่างๆ สําหรับผลิตภัณฑ์ และรายงานผลเหล่านั้น 

Act (ดําเนินการ) : การดําเนินการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการอย่างต่อเนื่อง 


ความสัมพันธ์กับ ISO 9004 (Relationship with ISO 9004) 

ISO  9001  และ ISO  9004  ฉบับปัจจุบันถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งถูกออกแบบให้เป็นส่วนประกอบซึ่งกันและกัน แต่ว่าก็สามารถนําไปใช้แยกกันอย่างอิสระได้ ถึงแม้ว่ามาตรฐานสากล 2 ฉบับนี้ จะมีขอบเขตที่ต่างกัน แต่ก็มีโครงสร้างที่เหมือนกันเพื่อช่วยให้การนําไปใช้งานในลักษณะที่ใช้ร่วมกันได้ 
ISO 9001 ระบุข้อกําหนดต่างๆ สําหรับระบบบริหารคุณภาพที่สามารถนําไปใช้กิจการภายในองค์กรต่างๆ หรือสําหรับผู้ออกใบรับรอง หรือสําหรับใช้ในจุดมุ่งหมายลักษณะเกี่ยวกับสัญญา โดยมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิผลของระบบบริหาร
คุณภาพในการบรรลุได้ตามความต้องการของลูกค้า 
ส่วน ISO 9004 นั้น จะให้แนวทางในลักษณะของวัตถุประสงค์ต่างๆ ในแนวกว้างของระบบบริหารคุณภาพมากกว่าที่มีใน ISO 9001 โดยเฉพาะสําหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร รวมไปถึงประสิทธิผลด้วย ISO 9004 จะถูกแนะนําให้เป็นแนวทางสําหรับองค์กรต่างๆ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงปรารถนาที่จะมุ่งไปให้เหนือกว่า ISO 9001  เพื่อแสวงหาการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามมาตรฐานดังกล่าวไม่ได้มีความประสงค์ให้ใช้สําหรับการออกใบรับรอง หรือใช้ในจุดมุ่งหมายลักษณะเกี่ยวกับสัญญา 


ความเข้ากันได้กับระบบการ บริหารอื่นๆ ( Compatibility with other management systems) 
มาตรฐานสากลฉบับนี้ถูกพัฒนาไปในแนวทางเดียวกับ ISO 14001:1996 เพื่อที่จะเพิ่มความเข้ากันได้ของมาตรฐานทั้ง 2 ฉบับเพื่อประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ 
มาตรฐานสากลฉบับนี้ไม่ได้รวมข้อกําหนดต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับระบบการบริหารอื่นๆ เช่น การบริหารสิ่งแวดล้อม การบริหารเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในอาชีพ การบริหารด้านการเงิน หรือการบริหารความเสี่ยง อย่างไรก็ตามมาตรฐานสากลฉบับนี้ก็ยินยอมให้องค์กรประสาน ระบบบริหารคุณภาพของตนเข้ากับข้อกําหนดต่างๆ ของระบบบริหารที่เกี่ยวข้อง องค์กรอาจปรับเปลี่ยนระบบการบริหารของตนที่มีอยู่เพื่อจัดทําเป็นระบบบริหารคุณภาพที่สอดคล้องกับข้อกําหนดต่างๆ ของมาตรฐานสากลฉบับนี้ก็ได้ 



1   ขอบเขต  (Scope) 

1.1  บททั่วไป (General) 

มาตรฐานสากลฉบับนี้ระบุถึงข้อกําหนดระบบบริหารคุณภาพซึ่งองค์กร 

(a)  จําเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้าและระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ และ 

(b)  มุ่งที่จะเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าโดยผ่านการประยุกต์ใช้ระบบอย่างมีประสิทธิผลรวมถึงกระบวนการต่างๆ ในการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและการประกันว่าเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าและระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

หมายเหตุ1 : ในมาตรฐานสากลฉบับนี้ คําว่า “ผลิตภัณฑ์” ใช้กับ 

(a)  ผลิตภัณฑ์ที่ตั้งใจไว้สําหรับลูกค้า หรือลูกค้าต้องการเท่านั้น 

(b)  ผลลัพท์ใดๆ ที่เป็นผลมาจากกระบวนการทําผลผลิตภัณฑ์ให้เป็นจริง 

หมายเหตุ2 : ข้อกําหนดที่ชอบด้วยกฎหมายหรือข้อบังคับ สามารถถือได้ว่าเป็นข้อกําหนดทางกฎหมาย 

1.2 การนําไปประยุกต์ใช้ (Application) 

ข้อกําหนดต่างๆ ทั้งหมดในมาตรฐานสากลฉบับนี้เป็นแบบทั่วๆ ไป และมีความประสงค์ที่จะให้ใช้ได้กับทุกองค์กรโดยไม่คํานึงถึงชนิด ขนาด และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือบริการ เมื่อมีข้อกําหนดใดในมาตรฐานสากลฉบับนี้ไม่สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้เนื่องจากลักษณะขององค์กรและผลิตภัณฑ์ ก็สามารถพิจารณาเป็นข้อยกเว้นได้ หากว่ามีการยกเว้นไม่ประยุกต์ใช้ข้อกําหนดใด จะถือว่าได้ดําเนินการให้เป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ไม่ได้ ยกเว้นว่าข้อยกเว้นดังกล่าวถูกจํากัดเฉพาะภายในข้อกําหนดที่ 7 และข้อยกเวนดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อความสามารถหรือความรับผิดชอบขององค์กรในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ที่บรรลุความต้องการของลูกค้า และระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 



2   บรรทัดฐานอ้างอิง  (Normative reference) 

เอกสารบรรทัดฐานเหล่านี้ประกอบด้วยข้อกําหนดที่อ้างอิงผ่านหนังสือเล่มนี้ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นข้อกําหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้ สําหรับเอกสารบรรทัดฐานที่ระบุวันที่ ใช้เฉพาะเอกสารที่อ้างอิงเท่านั้น สําหรับเอกสารที่ไม่ระบุวันที่ให้ใช้เอกสารบรรทัดฐานฉบับล่าสุด (รวมถึงการแก้ไขต่างๆ) ที่ถูกอ้างอิงถึง ISO 9000:2005” ระบบบริหารคุรภาพ---พื้นฐานต่างๆ และคําศัพท์ 



3   คําเฉพาะและคํานิยาม (Terms and definitions)

โดยวัตถุประสงค์ของเอกสารนี้ คําเฉพาะและคํานิยามที่ถูกใช้ใน ISO  9000  จะถูกนํามาประยุกต์ใช้ตลอดทั้งมาตรฐานสากลฉบับนี้เมื่อพบคําว่า “ผลิตภัณฑ์” ให้ความรวมถึง “บริการ” ด้วย 








 

Create Date : 24 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 22 กันยายน 2556 18:45:17 น.
Counter : 1638 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yaovarit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add yaovarit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.