Better Late Than Never.........
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
8 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
การแสดงโขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ รำลึกอาจารย์เสรี หวังในธรรม

เป็นการแสดงเมื่อวันเสาร์ที่ 24 มีนาคม 2550 ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รอบ 10:00 น. ชุด "พาลีสอนน้อง" มีอีกรอบ 14:00 น. ชุด "ท้าวมหาชมพูผู้ทระนง" รอบสองนี้ไม่ได้ดูอีกเหมือนกันค่ะ (เวลาดูทีไรได้ดูรอบเดียวทุกที)

การแสดงชุดนี้ดำเนินเรื่องตามบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 อาจารย์เสรี หวังในธรรม (ศิลปินแห่งชาติ) ทำบท

เริ่มเลยนะคะ ตอนแรกจะเป็นการร้องเพลง 3 เพลง เพลงคู่คุณสุประวัติ ปัทมสูตร กับ...(จำไม่ได้) คุณนฤพนธ์ ดุริยพันธ์กับพี่สาว และเพลงเดี่ยว(จำไม่ได้เช่นกัน) เป็นเพลงที่แทบจะไม่เคยได้ยิน เพลงที่คุณสุประวัติร้องไม่แน่ใจว่าชื่อเขมรไทรโยคหรือเปล่า รูปที่ลงเป็นรูปของคนที่ร้องเพลงสัมภาษณ์โดยอาจารย์สุรพล (ถ้าสะกดผิดขออภัยด้วยนะคะ)



ลำดับต่อมาคุณเนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์ อ่านกลอนรำลึกถึงอาจารย์เสรี หวังในธรรม (ศิลปินแห่งชาติ)




ครั้งนี้คุณครูมืดเป็นผู้แนะนำตัวละคร ไล่ตามฉาก เช่น พาลี สุครีพ องคตตอนเด็ก ทศกัณฐ์ ทรพี ทรพา พระราม ลงตัวอย่างรูปสุครีพ พาลี และทรพี


พระราม


เนื้อเรื่องย่อต่อไปนี้มาจากแผ่นพับที่แจกให้ที่หน้างานค่ะ

องก์ที่ 1 พาลีเสียสัตย์
เรื่องย่อ ครั้งหนึ่งทั้งกากาศและสุครีพได้ช่วยชะลอเขาพระสุเมรุที่เอนเอียงให้ตั้งตรงได้ พระอิศวรจึงประทานนามใหม่ให้กากาศเป็นพระยาพาลีธิราช ทั้งให้พรว่าหากผู้ใดบังอาจรบสู้ด้วยแล้วขอให้ฤทธิ์และพละกำลังของผู้นั้นครึ่งหนึ่งแบ่งมาสมทบให้พระยาพาลี พร้อมกับมอบพระแสงตรีเพชรสุรกานต์เป็นอาวุธ นอกจากนี้ทรงฝากผอบแก้วบรรจุนางเทพดารามาประทานแก่สุครีพ ซึ่งพาลีได้ให้คำสัตย์สาบานต่อหน้าพระนารายณ์เทพเจ้าและปวงเทพเทวาว่าจะนำไปให้ถึงมือสุครีพตามพระราชบัญชา แต่ด้วยความอยากรู้พาลีถึงกับลืมสัตย์สาบานเปิดผอบดู เมื่อเห็นความงามของนางเทพดาราพาลีก็เกิดความสิเนหาและได้นางเทพดาราในที่สุด


ตอน 1 สัตย์สาบาน
วิมานบนเขาไกรลาศ



รับมอบผอบแก้วจากพระอิศวร


อยากรู้จังว่าในนี้มีอะไรนะ


ตอน 2 ได้นางเทพดารา
เมื่อเปิดผอบก็พบนางเทพดารา (ทำไมนิ้วงอนได้ขนาดนี้)




เซ็นเซอร์


มีการแสดงหน้าม่านเล่าเรื่องเพื่อให้การเดินเรื่องกระชับ


องก์ที่ 2 พิธีสรงองคต
เรื่องย่อ เมื่อครั้งทศกัณฐ์ได้รับพระราชทานนางมณโฑจากพระอิศวรแล้ว จึงพานางเหาะกลับลงกา ระหว่างทางได้เหาะผ่านเมืองขีดขินข้ามศีรษะพาลีทำให้พาลีโกรธ จึงเข้ารบสู้และสามารถชิงนางมณโฑมาเป็นมเหสี แต่ภายหลังทศกัณฐ์ให้ฤษีโคบุตรมาขอคืนในขณะที่นางกำลังตั้งครรภ์กับพาลี พระฤษีอังคตจำต้องใช้เวทย์มนต์นำลูกของนางไปฝากไว้ในท้องแพะ ทำคลอดโอรสองค์นั้นก็คือองคต ครั้นทศกัณฐ์รู้ว่าพาลีจะประกอบพิธีโสกันต์องคตที่ท่าน้ำ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์เพื่อมาสังหารองคตเพราะความแค้นแต่ในที่สุดพาลีก็จับได้

ตอน 1 ทศกัญฐ์อาฆาต
ตำหนักในกรุงลงกา หลังจากที่ได้ข่าวว่าพาลีจะประกอบพิธีโสกันต์องคตที่ท่าน้ำ มีงอนนางมณโฑด้วย



กำลังเดินทาง...ไปยังที่ทำพิธี


ตอน 2 พาลีรบปู
เป็นฉากที่จะทำพิธีโสกันต์องคต ทศกัณฐ์แปลงเป็นปูรออยู่



หลังจากตรวจพบสิ่งแปลกปลอมก็เลยเกิดการต่อสู้กัน (ดูตอนนี้นึกถึงหนังทีวียอดมนุษย์กำลังสู้กับสัตว์ประหลาด)


เมื่อสู้กันไปทศกัณฐ์ก็กลับคืนร่างเดิม


ในที่สุดก็จับได้(จากพรที่ได้รับว่าเวลาที่ต่อสู้นั้นจะได้พลังจากคู่ต่อสู้ครึ่งหนึ่ง)


หลังจากนั้นก็ทำพิธีโสกันต์องคต


องก์ที่ 3 พาลีสอนน้อง
ตอน 1 ทรพีฆ่าพ่อ
เรื่องย่อ ครั้งเมื่อทรพีควายป่าได้ฆ่าทรพาผู้พ่อตายแล้วก็กำเริบเที่ยวท้าเทวดาไปจนนถึงพระอิศวร พระองค์จึงให้ไปท้ารบกับพระยาพาลี โดยก่อนที่ทั้งสองจะเข้าไปรบกันในถ้ำพาลีสั่งสุครีพผู้น้องไว้ว่า ถ้าเลือดใสไหลออกมาจากถ้ำก็แสดงว่าตนถูกทรพีฆ่าให้รีบปิดปากถ้ำเพื่อมิให้ทรพีออกมาได้ ขณะที่ต่อสู้กันนั้นเกิดฝนตกพาลีได้ฆ่าทรพีตายเลือดข้นของทรพีได้ไหลปนกับน้ำฝนจึงใส

ทรพี



ทรพาและครอบครัว


การต่อสู้ ในที่สุดทรพีก็ฆ่าทรพาตาย


ทรพีท้ารบไปทั่ว สุดท้ายมาสู้กับพาลีในถ้ำ


ตอน 2 สุครีพต้องโทษ
เรื่องย่อ สุครีพนึกว่าพี่ชายถูกทรพีฆ่า จึงรีบให้ไพร่พลขนก้อนหินมาปิดปากถ้ำทำให้พาลีออกไม่ได้ พาลีจึงทะลายถ้ำออกมาด้วยความโกรธด้วยเข้าใจว่าสุครีพจะฆ่าตน เพราะยังเคืองแค้นเรื่องนางเทพดาราจึงท้าสุครีพสู้รบ สุครีพไม่สู้ พาลีจึงขับไล่สุครีพอย่างไม่มีเยื่อใยความเป็นพี่น้อง

กำลังโศกเศร้าเพราะคิดว่าพาลีตาย



ขนก้อนหินปิดปากถ้ำ


หลังจากที่พาลีออกจากถ้ำมาได้ก็ต่อว่าสุครีพ ไล่สุครีพไป


โทษนิดเดียวเอง


เศร้าจัง


หนุมานช่วยปลอบและพาสุครีพไปเข้าเฝ้าพระราม


ตอน 3 พาลีรับสัตย์
เรื่องย่อ เมื่อสุครีพมีโอกาสถวายตัวต่อพระรามและรู้ว่าพระรามคือพระนารายณ์อวตาร จึงเล่าเหตุการณ์ถวายและทูลเชิญให้พระรามไปสังหารพาลี เพราะพาลีเคยถวายสัตย์สาบานต่อพระนารายณ์ เมื่อครั้งพระอิศวรทรงฝากนางเทพดารามาให้ตนว่าถ้าผิดคำสาบานให้ตายด้วยศรพระนารายณ์อวตาร พระรามจึงให้สุครีพไปท้าพาลีรบ ขณะที่ทั้งสองสู้รบพระรามทรงแผลงศรเพื่อสังหารพาลีแต่พาลีจับลูกศรไว้ได้ ครั้นรู้ว่าเป็นศรของพระนารายณ์อวตารจึงสำนึกผิด และทูลฝากสุครีพ องคต หนุมานกับไพร่พลเมืองขีดขินไว้เป็นข้าทหารของพระราม แล้วปล่อยลูกศรนั้นปักอกถึงแก่ความตาย

หนุมานพาสุครีพมาเข้าเฝ้าพระราม



โดนศรของพระรามแต่จับไว้ได้


มีการต่อว่าพระรามว่าไม่เกี่ยวกันซะหน่อยมาแผลงศรทำไม พระรามก็เลยแสดงให้เห็นว่าเป็นพระนารายณ์มีสี่กร


ก็เลยปล่อยให้ศรนั้นปักอก


ก่อนจะสิ้นใจก็สั่งสอนสุครีพในเรื่องต่างๆ เช่น การบริหารบ้านเมือง ให้จงรักภักดีต่อพระราม ฯลฯ ตอนดูมีเสียงแซวว่าสอนดีอย่างนี้น่าจะให้...มาฟังด้วย


ฉากสุดท้าย


ถ่ายมาทั้งหมด 410 รูป กว่าจะเลือกรูปที่จะย่อได้ 54 รูป กว่าจะเลือกลงบล็อกให้เหลือ 35 รูปก็ตาลายขวางไปแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้นานๆ มาทีค่ะ (แก้ตัวไปน้ำขุ่นๆ) หวังว่าคงจะเพลิดเพลินกันได้บ้างนะคะ

อาจจะใช้เวลาโหลดอยู่พอสมควร
ขอบคุณที่เข้ามาชมค่ะ


Create Date : 08 เมษายน 2550
Last Update : 3 กรกฎาคม 2550 18:04:39 น. 524 comments
Counter : 35995 Pageviews.

 
มาดูบล็อกใหม่ การแสดงโขนสวยมากๆๆ ค่ะ ''รำลึกอาจารย์เสรี หวังในธรรม''

ศิลปไทยช่วยกันส่งเสริมค่ะ

พี่หญ้ารับ''ดอกหัวงู Fritillary ''ท่านแรกเลยค่ะ อิอิ

วันนี้เพิ่งจะเอารูปลงเพิ่มค่ะ เพราะเจอดอกสีขาวแย้ว



โดย: law of nature วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:6:51:22 น.  

 
พี่ พี่ ขอบคุณมากค่ะ ภาพสวย ๆ ทั้งนั้น หากว่าเมื่อไหร่ที่มีโขนอีก รบกวนช่วย บอกข่าวทางบล็อคพี่ ให้ทีได้ไหมคะ เพราะไม่รู้ว่าจะไปตามข่าวได้ที่ไหน......

ตอนเด็ก ๆ พ่อพาไปดูบ่อย ๆ ที่โรงละครแห่งชาติพอออกจากบ้านทิ้งบ้านไป แล้วพ่อเสียไม่ได้ดูอีกเลย....มาดูภาพแล้วคิดถึงพ่อมากกกกก


โดย: คนแบบนี้แหละ วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:6:57:07 น.  

 
สวยค่ะ ถ้ามีเวลาอยากจะไปดูเหมือนกัน ชอบ ๆ
เคยดูแต่ละครโรงเล็กๆ แถว ภัทราวดี อ่ะค่ะ


โดย: หม๋องแหม๋ง วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:12:29:59 น.  

 
อยากไปดุมาเลยค่ะ แต่ติดงานไปต่างจังหวัดกับที่บ้าน เสียดายมากๆ อยากดูสุดๆ


โดย: มดมารน้อย วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:15:32:06 น.  

 
ขอบคุณที่นำภาพมาให้ชมนะค่ะ


โดย: thattron วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:20:38:37 น.  

 


ขอบคุณน้องเนที่มาสม่ำเสมอ และมีส่วนทำให้ต้องรีบอัพบล็อกเพราะไม่งั้นเค้าจะมาได้ดูแต่ของเก่าๆ (แต่ของเก่าก็มีค่านะคะ..อิอิ)

ขอบคุณคุณ"คนแบบนี้แหละ" ที่แวะมาเรื่องข่าวนี้มีคนบอกต่อมาอีกทีค่ะ แล้วถ้ามีอีกจะแจ้งให้ทราบนะคะ อาจจะทิ้งไว้ที่นี่และที่บล็อกของคุณค่ะ จะได้ไม่พลาด จำได่ว่าแต่ก่อนก็ดูที่โรงละครแห่งชาติเช่นกัน สมัยนั้นโรงเรียนพาไปค่ะ

ขอบคุณน้องหม๋องแหม๋งที่แวะมานะคะ ถ้ามาดูที่โรงละครภัทรวดีแสดงว่าต้องอยู่ฝั่งธน ไม่ใกล้ไม่ไกลกันเท่าไร ตามไปดูที่บล็อกแล้วนะคะแล้วยังอยากคบพี่อีกมั้ยคะ

ขอบคุณคุณมดมารน้อยด้วยค่ะ บางทีก็อดดูเช่นกันค่ะอย่างการแสดงอีกรอบ มักจะอดดูทุกทีเพราะมีธุระทำต่อค่ะ แต่เห็นเค้ามีมำ cd ขายอยู่นะคะแต่ไม่แน่ใจว่าใครทำเป็นเรื่องที่แสดงนี่เลยค่ะ รวมทั้งสองชุดก่อนหน้านี้ด้วยค่ะ เวลามีการแสดงเค้าจะเอามาขาย แล้วก็เปิดจองของที่กำลังจะแสดงด้วย (อยากได้อยู่เหมือนกันแต่แฟนบอกว่าเอาไว้ก่อน)


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:20:52:12 น.  

 
ขอบคุณคุณ thattron ที่มาเยี่ยมชมนะคะ มัวแต่พิมพ์ข้อความอยู่เลยไม่ทันเห็นค่ะ แอบไปชมบล็อกแล้วหวานแหววจังเลยค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 8 เมษายน 2550 เวลา:21:02:15 น.  

 
มายืนยัน"ความอยาก" "คบ" ค่ะคุณพี่
คุยไปอ่านไป ชอบค่ะ
แต่ไม่รู้ว่าใครจะแอบหนีใครก่อนนะคะ 55






โดย: หม๋องแหม๋ง วันที่: 9 เมษายน 2550 เวลา:7:56:36 น.  

 
ถ้าอยากได้รูปขนาดเต็มทั้งหมด
จะติดต่อขอซื้อได้ไหมคะ


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 9 เมษายน 2550 เวลา:12:27:25 น.  

 
ขอบคุณน้องหม๋องแหม๋งที่มายืนยัน(ยืนมากๆระวังเมื่อยนะ)ว่าอยากคบค่ะ
รับรองพี่ไม่หนีไปไหนค่ะ อยู่ตรงนี้แหละบล็อกเดิมๆ นานๆอัพที
เวลาไปเยี่ยมเพื่อนบล็อกอย่างน้อยปีละครั้ง จะมากน้อยแล้วแต่เวลาที่แว้บเข้ามา
กลัวแต่น้องจะเบื่อแล้วหนีไปก่อนน่ะสิ...อิอิ


ขอบคุณคุณอัญชลีที่ให้ความสนใจนะคะ ตอบไม่ถูกเลยค่ะไม่เคยขาย
ถ่ายเก็บไว้ดูไว้นึกถึงเรื่องที่ผ่านมาว่าดูอะไร ไปที่ไหนมาบ้างมากกว่า
แต่ถ้าทั้ง 35 รูปนี้ สนใจจะเก็บไว้ดูเอง จะทยอยส่งเป็นไฟล์ให้ทาง email ดีกว่าค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 9 เมษายน 2550 เวลา:20:09:16 น.  

 

เอาดอกไม้มาฝากคุณค่ะ


ดอกแมกโนเลีย (Magnolia)



โดย: law of nature วันที่: 10 เมษายน 2550 เวลา:7:12:56 น.  

 



ทิวลิป


โดย: law of nature วันที่: 10 เมษายน 2550 เวลา:7:17:47 น.  

 
คุณบอกมาว่า.......ถ่ายมาทั้งหมด 410 รูป กว่าจะเลือกรูปที่จะย่อได้ 54 รูป กว่าจะเลือกลงบล็อกให้เหลือ 35 รูปก็ตาลายขวางไปแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้นานๆ มาทีค่ะ (แก้ตัวไปน้ำขุ่นๆ) หวังว่าคงจะเพลิดเพลินกันได้บ้างนะคะ........เราขอก๊อบปี้รูปทั้งหมดเป็น ซีดี ได้ไหมคะ และอยากจะขอทั้งรูปปีที่แล้วด้วย เพราะมีลูกชายของเพื่อนเล่นหลายคน เราจึงอยากได้ทั้งหมด เพื่อมาหาเอา และอยากได้รูปขนาดเต็ม ไม่อยากได้รูปที่ลดขนาดลง และยินดีจะแนะนำตัวถ้าคุณต้องการ เพื่อเป็นการประกันว่าเราไม่ได้ขอรูปคุณเพื่อไปทำการพาณิชย์ใดๆ และเรามีรูปพวกนี้สะสมไว้เป็นจำนวนมาก แลกเปลี่ยนกันให้ในหมู่คนที่ชอบกัน ถ้าคุณสนใจ เราก็ยินดีที่จะก๊อปปี้ให้ ทั้งที่เป็น รูปถ่าย และการแสดง เท่าที่เรามีค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 10 เมษายน 2550 เวลา:14:25:35 น.  

 
สวัสดีครับ

สวยมากครับ
เป็นภาพที่หาดูได้ยากนะครับ


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 10 เมษายน 2550 เวลา:15:11:07 น.  

 
ขอบคุณน้องเนที่นำดอกไม้มาฝากนะคะ ไปส่งเสียงไว้ไม่ผิดหวังเพราะเอาทิวลิปมาฝากถึงที่ ดอกแมกโนเลียก็สวยไปอีกแบบ ต้องแวะไปดูดอกไม้ซะแล้วสิ



คุณอัญชลีคะ ถ้าเก็บไว้ดูและแลกเปลี่ยนในหมู่คนที่ชอบกันนั้น ก็ยินดีค่ะ
แต่อย่างไรก็ตามจะขอลงชื่อ "หญ้าหนวดแมว" ไว้ที่มุมล่างด้านซ้ายนะคะ ซึ่งถ้าไป "ครอป" รูปใหม่ตัดชื่อออกก็ย่อมทำได้ค่ะ
เหตุที่ขอลงชื่อเพราะมักจะมีการนำรูปไปใช้โดยไม่ได้ให้เครดิตคนถ่าย หรือบางกรณีก็ทำเป็นตนเองถ่าย (ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไปทำแบบนั้นนะคะ เพราะถ้าส่งไปต่อๆ กันเป็นหลายๆ ทอดไม่รู้ว่าใครเป็นใครแล้ว เหมือนการ forward mail อาจเกิดกรณีนี้ได้ค่ะ)
แม้ว่ารูปจะไม่ได้สวยเลิศเลอนัก แต่ก็ภูมิใจว่าเป็นภาพถ่ายของเรา มีคนชอบคนขอยิ่งดีใจว่าอย่างน้อยก็ยังเป็นที่ต้องการ
ดังนั้นขอเวลาลงชื่อหน่อยนะคะ ช่วงวันหยุดจะทำให้ค่ะ รูปมีทั้งชัดบ้างไม่ชัดบ้าง แต่ถ้าไม่ชัดจริงๆจะลบไปก่อนแล้ว ชุดเดือนธ.ค.นั้น มี 234 รูป ชุดนี้ 410 รูป
ไม่ทราบว่ายังต้องการอยู่หรือไม่คะ แต่ถ้าเอาไปแล้วเจอรูปที่ต้องการแล้วไม่ต้องการชื่อก็บอกมาได้ค่ะจะก๊อปแบบไม่มีชื่อให้เฉพาะรูปค่ะ แล้วจะส่งมอบแบบไหน มารับเอง(อยู่แถวๆเซ็นทรัลปิ่นเกล้า) หรือให้ส่งป.ณ.ก็แจ้งมานะคะ ถ้าป.ณ.แจ้งที่อยู่ทาง email ก็ได้ค่ะที่ yanuadmaew@gmail.com



ขอบคุณคุณคนเดินดินฯ ค่ะ การแสดงก็หาดูได้ยากเหมือนกันค่ะ ดีที่เค้าให้เอากล้องเข้าไปถ่ายได้ค่ะไม่งั้นก็อด มาเล่าเฉยๆ ก็ไม่สนุก ต้องมีภาพปลากรอบ เอ๊ย ประกอบด้วยถึงจะดีนะคะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 11 เมษายน 2550 เวลา:3:43:49 น.  

 
ี่

วันนี้ดอกไม้ไม่ค่อยสวยนะคะ ที่บ้านปลูกค่ะ

หมายถึง ''ความโชคดีค่ะ''




ดอกฮีเธอะ Heather



โดย: law of nature วันที่: 11 เมษายน 2550 เวลา:8:36:03 น.  

 
ยืนยันอีกพันครั้งว่าอยากจะได้รูปทั้งหมด ดิฉันส่งที่อยู่ไปให้คุณแล้วทางอีเมล์ที่คุณแจ้งมาค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 11 เมษายน 2550 เวลา:14:10:58 น.  

 
ขอบคุณนะคะสำหรับภาพสวยๆ

แวะมาทักทายค่ะ


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 11 เมษายน 2550 เวลา:16:52:45 น.  

 
ขอบคุณคุณอัญชลีที่ยังสนใจค่ะ ได้รับเมล์แล้วตอบไปแล้วเช่นกัน
ขอเวลาลงชื่อก่อนนะคะ จะทยอยทำเวลาที่ว่างและช่วงวันหยุด
เสร็จแล้วจะแจ้งให้ทราบทางเมล์ค่ะ หรือทางนี้ด้วยก็ได้
ขอถามว่ามาเจอบล็อกนี้ได้อย่างไรคะ (คำถามยอดฮิตในแบบสอบถาม) เพราะดูชื่อไม่ได้เป็นสมาชิกของบล็อก


ขอบคุณคุณเพียงแค่เหงาที่แวะมาค่ะ แวะไปฟังเพลงที่บล็อกแล้วนะคะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 12 เมษายน 2550 เวลา:2:14:00 น.  

 
ขอบคุณค่ะ
Search ข้อมูลใน Google
มี Keyword ที่ค้นหาอยู่ใน web page พอเจอรูป ก็โดนใจเลยค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 12 เมษายน 2550 เวลา:11:02:35 น.  

 

นำดอกไม้มาฝากค่ะ เที่ยวสงกรานต์ให้สนุกค่ะ


ขอให้มีความสุขกับปีใหม่ไทยค่ะ


ดอก Wallflower



โดย: law of nature วันที่: 12 เมษายน 2550 เวลา:14:50:44 น.  

 
มาสาดดดน้ำวันสงกรานต์ค่ะ

ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 13 เมษายน 2550 เวลา:11:11:12 น.  

 
Flora hut นำดอกไม้มาฝากพี่หญ้าค่ะ

ขอให้มีความสุขวันปีใหม่ไทยค่ะ



'' ดอก Pieris''


โดย: law of nature วันที่: 13 เมษายน 2550 เวลา:11:51:37 น.  

 



สวัสดีปีใหม่ไทย
สุขสันต์วันสงกรานต์นะค่ะ
สาดน้ำให้ชุ่มช่ำหัวใจกันเลย






โดย: thattron วันที่: 13 เมษายน 2550 เวลา:15:07:09 น.  

 
คุณอัญชลีคะ ก๊อปเสร็จแล้วค่ะ คาดว่าไม่วันที่ 18 ก็ 19 จะส่งป.ณ.ไปให้นะคะ สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ


ขอบคุณน้องเนที่ส่งดอกไม้สวยๆมากำนัล(ทั้งสองภาพ) ขอให้มีความสุขมากๆๆๆเช่นกันค่ะ


สวัสดีค่ะคุณเพียงแค่เหงา ขอให้มีความสุขมากๆๆๆเช่นกันค่ะ


มิน่ารู้สึกเปียกเพราะคุณ thattron ระดมพลมา 1 คันรถนี่เอง ขอให้มีความสุขมากๆๆๆเช่นกันค่ะ


ขอบคุณคร้าบ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 14 เมษายน 2550 เวลา:1:17:07 น.  

 
เปียกหรือยังคุณพี่



โดย: หลังคาดำแดง วันที่: 14 เมษายน 2550 เวลา:2:01:22 น.  

 
มาเงียบๆ ดึกๆ ตกใจหมด จริงๆยังไม่เปียก แต่ในบล็อกเนี่ยเปียกแล้วจ้า...
สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ คุณหลังคาสองสี ปชส.ดีเด่น


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 14 เมษายน 2550 เวลา:2:14:32 น.  

 
ที่ย่องมาตอนดึกเมื่อคืน ก็เพราะแอบหลับไปตอนหัวค่ำ ตื่นขึ้นมาตอน เที่ยงคืน


โดย: หลังคาดำแดง วันที่: 14 เมษายน 2550 เวลา:7:12:33 น.  

 
พี่หญ้าดอกไม่สวยก็ไม่โกรธ
เพราะบางทีมันไม่สวยจริงๆๆ ค่ะ ยอมรับได้ค่ะ

คุณช่วยทายหน่อยฮับ
หน้าตาแบบนี้ ผมควรจะอายุเท่าไร



พาเจ้าวิลสันมาเยี่ยมบล็อกด้วยค่ะ
ขอบคุณที่ไปดูดอกไม้ที่บล็อก


โดย: law of nature วันที่: 15 เมษายน 2550 เวลา:0:30:34 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่หญ้าหนวดแมว
ยังจำน้องหมีคนนี้ได้ไหม

สวัสดีปีใหม่ไทย ย้อนหลังนิดหน่อยนะคะพี่
(ยังอยู่ในช่วงเทศกาล - -")

พี่ขา ไปงานเดียวกันเลยนะนั่น
งานแสดงโขน แต่คนละรอบกัน - -"
น้องหมี ไปดูรอบบ่ายแค่รอบเดียว
ไม่ได้ไปรอบเช้า
แถมปีนอยู่ข้างบนโน่น

แล้วจะมาเยี่ยมพี่ใหม่นะ
บายค่า

ปล. คุณพี่ยังใช้เบอร์เดิมอยู่หรือไม่


โดย: จำคุงน้องได้บ่ ? (หมีปุ๊ ) วันที่: 15 เมษายน 2550 เวลา:2:44:31 น.  

 
แวะมาสาดน้ำวันสงกรานต์

ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

อิ อิ ขอสาดน้ำเพื่อนๆอีกสักวันพอให้ชุ่มฉ่ำหัวจายยยย...555


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 15 เมษายน 2550 เวลา:14:09:43 น.  

 
คุณน้องหลังคาย่องไปตอนบ่ายเมื่อวานแล้วนะ แถมวันนี้ไปวิ่งเล่นอีกวัน (โปรโมชั่น)


ขอทายว่าน้องเนอายุ 5 ขวบ เอ๊ยม่ายช่าย...วิลสันต่างหาก ไปตอบที่บล็อกแล้วค่ะ


เห็นชื่อก็จำได้ค่ะ หายไปนาน มาถามเบอร์ก็โทรไปซะเลย เพื่อยืนยันว่าไม่ได้เปลี่ยนไปไหน หน้าเก่าเบอร์เดิมค่ะ ตามไปดูบล็อกแล้ว(อดเป็นเบอร์แรกเลย ตอนคุยตะกี้ยังไม่มีคนเลย) น่ารักอ่านสบายตาดีค่ะ... แต่พี่ไม่ถูกกะลิงนะ... อิอิ


ได้เลยค่ะคุณเพียงแค่เหงา มาได้ทุกวันเลยค่ะถ้ายังไม่เบื่อกันซะก่อน (ไม่ต้องฟอร์มจัดก็เข้ามาได้...แอบไปดูที่บล็อกมาแล้ว)


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 15 เมษายน 2550 เวลา:16:00:44 น.  

 
พี่หญ้าเจ้าวิลหน้าโกงอายุแน่เลย อิอิ พี่ต้องให้อายุเข้าไปอีกสองเท่าค่ะ อิอิ

ดึกๆ จะมาบอกว่าอายุเท่าไรค่ะ ยังไม่มีใครทายถูกเลยค่ะ


โดย: law of nature วันที่: 15 เมษายน 2550 เวลา:20:48:38 น.  

 

นำดอกไม้มาฝากพี่หญ้าค่ะ



ดอก Weigela


โดย: law of nature วันที่: 16 เมษายน 2550 เวลา:8:09:15 น.  

 
เอาดอกไม้มาไว้เป้น Museum 55!!
วันนี้เอาดอกไม้มาฝากคุณค่ะ



ดอก Oxalis


โดย: law of nature วันที่: 17 เมษายน 2550 เวลา:19:59:20 น.  

 
ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะน้องเน สวยจัง เดี๋ยวจะตามไปดูค่ะ (เรื่องของวิลสันแอบไปดูคำเฉลยมาแล้ว)


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:3:23:03 น.  

 
''เหมือนดอกผีเสื้อราตรีเลยค่ะ แต่ใบจะเป็นสีม่วง''
^^
^^
คิดว่าอาจจะใช่พวกเดียวกันค่ะ

พืชในกลุ่มนี้มีบางชนิดใบสีม่วงค่ะ ดึกๆจะเอาใบสีม่วงมาให้ค่ะ


โดย: law of nature วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:18:18:01 น.  

 
ดูแล้วก็น่าจะพวกเดียวกันทั้งลักษณะดอกและใบ ไว้จะตามไปดูนะคะ น้องเน


คุณอัญชลีส่งไปแล้วนะคะ ตอนบ่ายสามโมง น่าจะได้ไม่เกินพรุ่งนี้เย็นค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:20:56:36 น.  

 
สวัสดีพีหญ้่า
หลับเพลินเพราะไม่ค่อยสบายนิดหน่อยค่ะ ตื่นมาก็เช้าเลย เปิดคอมทิ้งไว้ทั้งคืนเลยค่ะ



ภาพนี้จากอินเตอร์เน็ตนะคะ ใบสีม่วงค่ะ บางรูปก็มีแบบม่วงปนเขียว แต่ใบส่วนใหญ่จะออกคล้ายรูปหัวใจค่ะ


โดย: law of nature วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:10:05:51 น.  

 
มาอีกครั้ง โปรแกรมมันแปลกๆค่ะ อิอิ เด้งไป เด้งมา จนงงรูปค่ะ พอใส่เสร็จก็ไม่เตือน ปกติจะเตือนก่อน เอามาใหม่ค่ะ อิอิออิออิอ หัวเราะตัวเองเหมือนกันค่ะ






โดย: law of nature วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:10:18:17 น.  

 
ถูกรูปแย้วววววว
ดีใจค่ะ ไปก่อนค่ะ

วันนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะอัพบล็อกไหวหรือเปล่าค่ะ


โดย: law of nature วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:10:21:55 น.  

 
นำดอกไม้มาฝากพีหญ้่าค่ะ



ดอกไม้แห่งความหวัง ''Anemone''


โดย: law of nature วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:18:00:20 น.  

 
เข้ามาแว้บนึง ดูใบแล้วเหมือนกันเลยค่ะ สีม่วงลายๆ
แล้วจะตามไปดูดอกไม้แห่งความหวังค่ะ (เหมือนดอกPoppyที่ขายในวันทหารผ่านศึกเลย)


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:18:32:02 น.  

 
ได้รับรูปแล้วค่ะ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคืนนั่ง Copy อุดตลุด เพราะวันนี้ ( 20 ) ธ.ค.จะไปบ้านอ.คึกฤทธิ์คนแรกที่จะได้ ซีดี ที่ copy .คือ อ.อู๋ ( กิตติพงษ์ ไตรพงษ์) อาจารย์ วนศ กรุงเทพฯ คนที่เล่นเป็น สุครีพ ทั้ง 2 รอบ และอีกคนก็คือ กิตติ ( ป๊อบ) จาตุประยูร ที่เล่นเป็นหนุมาน เขาเป็นศิลปิน อยู่ที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จะให้ไปคนเดียวแล้วไป Copy ให้เพื่อนฝูงเอาเอง รวมทั้ง นาย วัชรวัน (หนุ) ธนะพัฒน์ คนที่เล่นเป็นทศกัณฐ์ด้วยค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.164 วันที่: 20 เมษายน 2550 เวลา:4:39:32 น.  

 
อีกทีหนึ่ง ดูจากรูปเมื่อเดือนธันวาคมเรานั่งอยู่ใกล้ๆกันเลยนะคะ รอบแรกนั่งอยู่แถวหน้าสุด บล๊อกซ้ายด้านดนตรีไทย แล้วย้ายไปนั่งถ่ายรูปที่แถวหน้าบล๊อกกลาง รอบ 2 ไม่ได้ถ่าย เพราะเขาประกาศห้ามถ่ายรูป เลยไปนั่งอยู่ช่วงตรงกลางโรง ตามเลขที่นั่งหน้าตั๋ว
ส่วนเดือนมีนาคมไม่ได้ถ่ายรูป เพราะกล้องหายไปพร้อมกับข้าวของอื่นๆทั้งหมดตอนปีใหม่ เลยไม่มีกล้อง ไปดูทั้ง 2 รอบ นั่งอยุ๋ริมสุด บล๊อกซ้ายตรงอาจารย์ แจ้งค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.164 วันที่: 20 เมษายน 2550 เวลา:4:44:45 น.  

 
อีกทีค่ะ กำลังเมาขี้ตา วันนี้ 20 เมษายน ค่ะ ไม่ใช่ 20 ธันวาคม วันนี้เป็นวันอาจารย์คึกฤทธิ์ ที่บ้านอาจารย์ ซ.นราธิวาสราชนครินทร์ 7 จัดงานทุกปี อู๋เขาก็มักจะไปด้วยทุกครั้ง เพราะเขาสอนโขนธรรมศาสตร์อยู่ เราก็ไปในฐานะนักดูโขน ไม่ใช่นักเล่นโขน ส่วนทางป๊อบ จะฝากเพื่อนไปให้ เพราะป๊อบเขาเคยให้รูปเรามาหลายครั้ง รวมทั้งวีดีโอคลิปที่เขาไปเล่นหน้าพระที่นั่งที่พระราชวังแวร์ซายส์ ฝรั่งเศส เมื่อปีที่แล้ว
กำลังค้นหาและรวบรวมอยู่เพื่อส่งกลับไปให้ค่ะ แต่วันนี้ยังไม่ว่างนะคะ เพราะจะไปบ้านอาจารย์คึกฤทธิ์ทั้งวัน และเย็นจะไปที่เรือนไทยจุฬา เพราะสัญญากับ จุลชาติ อรัณยะนาค ว่าจะไปดูเขาเล่นเป็นร้อยตรีพร้อม ในละครสาวเครือฟ้า กับชาววิทยาลัยนาฏศิลป์ ถ้าว่างแวะไปได้ทั้ง 2 งานนะคะ เพราะยินดีต้อนรับทุกคนและไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.164 วันที่: 20 เมษายน 2550 เวลา:5:26:52 น.  

 

ขอบคุณค่ะ สำหรับงานทั้งสองงานแต่คงไม่ได้ไปค่ะ เพราะติดงานอีกที่นัดเค้าไว้แล้ว นี่ก็มาแอบเล่นเน็ตที่นี่อยู่

เดือนธ.ค.ที่นั่งจะอยู่ประมาณแถว G บางรูปก็เลยจะมีคนที่นั่งด้านหน้าติดมาบ้าง รอบแรกไม่เห็นว่าห้ามถ่ายรูปค่ะ เลยถ่ายมาแบบไม่ใช้แฟลช (ตั้งความไวแสงไว้ที่ 1600) เพื่อจะได้ไม่มีแสงรบกวนการชม

ส่วนเดือนมี.ค.โชคดีได้แถว A แต่จะว่าไปก็ใกล้เกินไปอีก ถ่ายบางทีก็ติดขอบเวทีมาด้วย

แสดงว่าคุณอัญชลีเป็นแฟนประจำการแสดงโขน ได้ดูทั้งสองวัน วันละสองรอบด้วยหรือเปล่าคะ ส่วนตัวเป็นขาจรถ้ามีโอกาสถึงจะดูค่ะ เสียดายเหมือนกันที่ดูวันละรอบ รอบสองอดดูทุกที

สงสัยอยู่อย่างว่าที่หัวโขนจะมีผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดง(หรือกระดาษ..ไม่แน่ใจ)ห้อยอยู่ หมายถึงอะไร พอทราบหรือไม่คะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 20 เมษายน 2550 เวลา:18:47:12 น.  

 
ลืมบอกไปว่าชอบผู้แสดงที่เล่นเป็นทศกัณฐ์ค่ะ แบบนี้เค้าเล่นทั้ง 2 วัน 2 รอบ หรือเปล่าคะ สุครีพมาชอบตอนนี้ชอบตรงที่เค้าทำท่าว่าโทษเล็กนิดเดียว อาจเป็นตามบทตอนนี้มีบทเยอะรองจากพาลี เพราะบางตัวจะมีผู้เล่น 2 ท่าน อย่างพระรามวันแรกรอบแรก มีผู้เล่น 2 ท่านคุณปกรณ์ กับคุณศิริชัย(ถ้าจำไม่ผิด) ทรพีก็มี 2 ท่าน ไม่แน่ใจว่าตัวอื่นที่สวมหัวโขนจะมี 2 ท่านด้วยหรือเปล่า เพราะบางทีรู้สึกเหนื่อยแทนเหมือนกัน


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 20 เมษายน 2550 เวลา:19:04:22 น.  

 
ทศกัณฐ์ ( ยักษ์ใหญ่ ) สำนักการสังคีตกรมศิลปากรทีเล่นอยู่ตอนนี้มี 4 คน เรียงตามลำดับอาวุโส คือ 1. ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ เมื่อเดือนธันวาคม เล่นเป็นทศกัณฐ์ตอนขับพิเภก ในเดือนมีนาคม มาเล่นเป็นตัวประกอบเล็กๆน้อยๆ เพราะ ตัวยักษ์ไม่ค่อยมีบท เลยใช้คนเล่นคนเดียว แต่มาช่วยงานเพราะเขาเป็นน้องรักของอาจารย์มืด 2.เจษฏา สังข์วิเศษ เดือนธันวาคม เล่นเป็น พญาทูษณ์ ชุดสีม่วง พี่ชายนางสำมนักขา ที่มารบกับพระรามพร้อมกับน้องอีก 2 คน หลังจากที่นางสำมนักขาไปฟ้อง ดูหน้าเจษฎาได้จากรูปที่โชว์ตัวหน้าเวทีตอนแรก และมาเล่นเป็นกุมภกรรณ ตอนขับพิเภก ในเดือนมีนาคมเขาเล่นเป็นปูทศกัณฐ์หรือเปล่าไม่แน่ใจ เพราะกระดองปูใหญ่มากมองไม่เห็นตัว และบังเอิญไม่ได้ถาม แต่ปกติเขาเคยเล่นตอนนี้ 3. ปกรณ์ ( ต๋อง) วิชิต เดือนธันวาคม จำไม่ได้ว่าเล่นเป็นตัวอะไร ตอนนี้กำลังงัวเงีย เลยคิดไม่ออก แต่เดือนมีนาคม เล่นเป็น ตัวทรพา ต๋องนอกจากดังในการเล่นเป็นยักษ์ใหญ่แล้ว ต๋องยังเด่นที่สุดในการเล่นเป็นม้าอีกด้วย เพราะเขาได้ชื่อเล่นระบำม้าได้ดีมาก ถ้ามีการแสดงระบำม้าจะต้องเป็นต๋องเท่านั้น และตอนนี้ถ้ามีการแสดงเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของศิลปินกรมศิลปากรแล้วละก็ ต๋องจะเล่นเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปกติจะเป้นในบทตอนที่เป็นเชลยที่กรุงหงสาวดี แต่ตอนอื่นๆจะเป็น ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ 4.วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ ตอนนี้เป็นทศกัญฐ์ที่ถูกใช้งานหนักที่สุด เพราะอายุน้อยสุด บรรดาพระรามทั้งหลายชอบมาก เพราะตอนขึ้นลอยจะสบายมาก หนูเขาตัวสูงใหญ่มากอีกทั้งอายุยังน้อยและแข็งแรง ขึ้นลอยพระรามทุกตัวได้สบายๆ ไม่มีปัญหาว่าพระรามคนไหนจะบรรทุกน้ำหนักเอาไว้ในตัวขนาดไหน ทศกัณฐ์ตัวอื่นเขาก็ยังขึ้นลอยได้ แต่บางคนบอกว่าถ้าตัวพระอายุน้อยหรืออาวุโสน้อยกว่า เขาก็ไม่ขึ้นเหยียบทศกัณฐ์ตัวที่อาวุโส นอกจากจำเป็นจริงๆ ตัวเล่นติดงานกันหมด เขาก็เล่นกันได้ และปกติถ้าเล่นเล็กเล่นน้อยก็จะเล่นยกรบกันอย่างเดียว ตอนอื่นไม่ได้เล่น ฉะนั้นตอนนี้ทศกัณฐ์ที่เด่นที่สุด คือ วัชรวัน ( หนู ) นี่แหละ ในเดือนมีนาคม เขาเล่นอยู่คนเดียวทั้ง2 รอบ คนที่เล่นเป็นทศกัณฐ์ที่อาวุโสกว่าที่เอ่ยถึงมานี้ก็ยังมีอยู่อีกหลายคน แต่ถอยไปเล่นบทเล็กน้อยๆกันแล้วเท่าที่จะทำได้ เพราะบททศกัณฐ์นั้นหนักและเหนื่อย ถ้าอายุเริ่มเยอะแล้วก็จะเริ่มถอยไปเล่นบทอื่นๆกัน ยกเว้นในบางกรณี เช่นเล่นพร้อมๆกันหลายที่ หรือถูกระบุตัวมาว่างานนี้ต้องเป็นคนๆนี้เล่น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.206 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:7:57:04 น.  

 
หัวโขนที่มีผ้าชิ้นเล็กๆสีแดงห้อยอยู่นั้น ยังหาข้อมูลเต็มไม่เจอ จำได้คร่าวๆว่าเขาผูกไว้ เหมือนกับเราซื้อผ้าสีต่างๆ แดง เหลือง เขียว ไปผูกตามศาล ไว้เจอข้อมูลเต็มแล้วจะบอกมาอีกทีนะคะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.206 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:8:08:39 น.  

 
สุครีพ ที่เล่นในเดือนมีนาคม เล่นอยู่คนเดียว ทั้ง 2 รอบ ไม่ได้เปลี่ยนตัว คือ กิตติพงษ์ ไตรพงษ์ ( อู๋ ) เป็นอาจารย์อยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม ไม่ได้เล่น เพราะบทลิงในตอนนั้นไม่มากเหมือนกับตอนที่เล่นในเดือนธันวาคม

อู๋เป็นปรมาจารย์โขนลิงเลยละ เมื่อก่อนเป็นหนุมานตัวดัง ตอนหลังถอยมาเป็นสุครีพ อาจจะเพราะไม่ต้องรับลอยใคร ถ้าเป็นหนุมานต้องรับลอยเหมือนทศกัณฐ์ แต่น้อยกว่า ( ตัวพระขึ้นลอย ตัวลิงตัวยักษ์ รับลอย ) อีกทั้งตัวพระที่ขึ้นลอย ถ้าเป็นเด็กหรือเป็นลูกศิษย์เขาก็ไม่ขึ้นไปเหยียบครูกันหรอก ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ

อีกอย่างหนึ่งเท่าที่ทราบการขึ้นลอยรับลอย ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานของโขนเด็กๆตัวใหม่ๆ เพราะอายุยังน้อยและแข็งแรง อีกทั้งไม่ต้องใช้การตีบทหรืออารมณ์ในการแสดงมากมายนัก ส่วนตัวอาวุโสจะถอยไปเล่นบทที่ต้องใช้ฝีมือในการรำหรือการตีบทที่ต้องใช้อารมณ์ แต่คนดูสมัยนี้ส่วนใหญ่ ชอบดูแต่การขึ้นลอย ไม่สนใจการแสดงที่ต้องใช้ฝีมือด้านอื่นๆ ทำให้เข้าไม่ถึงสุนทรียรสอื่นๆของโขนอย่างน่าเสียดาย

สุครีพจะเล่นบทเด่นๆในสมัยนี้อยู่ 2 ตอนก็คือตอนพาลีสอนน้องนี้ และตอนถอนต้นรัง อีกทีก็เล่นตอนที่ถมหินจองถนนข้ามสมุทร ที่มาระงับข้อพิพาทระหว่างหนุมานกับนิลพัท โรงละครแห่งชาติก็เพิ่งจัดการแสดงตอนนี้ไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยเล่น 4 ครั้ง ในวันอาทิตย์ 2 อาทิตย์แรก ของเดือนมีนาคมและเมษายน โดยเล่นตอนสัตย์ธรรม และคุณธรรมในรามเกียรติ์โดยกล่าวถึงสัตย์ธรรมคุณธรรม 3 กลุ่ม ของพระนาง , ของลิง และของยักษ์ ของลิงก็เล่นตอนระงับข้อพิพาทนี่แหละ แต่อู๋ไม่ได้เล่น เพราะการแสดงที่โรงละครแห่งชาติเป็นหน้าที่ของศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เลียว คงกำเนิด กับ จุลทรัพย์ ดวงพัตรา เล่นเป็นสุครีพ อู่อยู่สังกัดวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จะรับเชิญมาเล่นเป็นครั้งคราว และมาเล่นงานนอก(ราชการ)เป็นบางครั้งบางคราว แล้วแต่ตอนที่เล่นว่าจะใช้ตัวเล่นฝ่ายไหนมากน้อยขนาดไหนและมีบทเด่นหรือไม่ ถ้าบทไม่เด่น ใครก็เล่นได้ แต่ถ้าบทเด่น กอาจจะต้องเจาะจงไปว่าเป็นใคร ( ถ้าเขาว่าง)

โรงละครแห่งชาติจัดการแสดงอยู่อย่างสม่ำเสมอตลอดปี หลายๆรายการและรายๆแบบ ราคาค่าดูสูงสุด 100 บาท ราคาอื่นก็คือ 80 บาท และ 60 บาท ฝีมือคนเล่นเป็นฝีมือระดับชาติ เวลาเล่นถวายหน้าพระที่นั่งหรือต่อหน้าพระพักตร์พระราชอาคันตุกะ ก็เป็นคนกลุ่มเดียวกันกับที่เล่นให้เราดูนี่แหละ ถ้าสนใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ อยากไปดู ก็คลิกเข้าไปดูโปรแกรมการแสดงที่
//www.finearts.go.th/%7Eopa/show_calendar.html


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.206 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:8:45:12 น.  

 
ขออภัยคลิกเข้าไปดู
//www.finearts.go.th/%7Eopa/show_calendar.html
แล้วยังเป็นของปี 2549 อยู่เลย
เฮ้อ ! ราชการไทย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.206 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:8:51:51 น.  

 
ผู้แสดงเป็นพระราม ถ้างานช้าง (ค่าดูแพงงงงงง ) ก็จะเป็น ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กับ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ๒๕๔๘ ( ไม่ใช่ศิริชัย ) คณบดีคณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
เมื่อเดือน ธันวาคม เล่นทั้ง 2 คน แต่เดือนมีนาคม ดร.ศุภชัย ( น้อย ) ไม่ได้เล่น เพราะติดราชการไปสัมนา

ส่วนพระรามตัวอื่นๆที่เล่นในงานนี้ก็คือฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เหมือน ปกรณ์ แต่เขาเป็นน้องรักของ ดร.ศุภชัย แนนภรรยาของเอ้เป็นคีตศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร สวยมาก มีลูก 2 คน ญ.1 ช.1 น่ารักมาก เพราะพ่อก็หล่อ แม่ก็สวย ตอนนี้เรียนอยู่ที่ ร.ร.จิตรลดาทั้งคู่ ตอนแต่งงาน สมเด็จพระเทพฯ ท่านก็ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทานให้ ลูกสาวอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ แต่ลูกชาย ดร.ศุภชัย เอาไปเลี้ยงเป็นหลานปู๋(คงอยากแก่)ที่บ้าน

ส่วนพระรามอีกคนคือฉันทวัฒน์ ชูแหวน ไม่แน่ใจว่าเล่นเป็นพระรามด้วยหรือเปล่า เพราะไม่มีรูปครบทั้ง2 รอบ เลยจำไม่ได้ ฉันทวัฒน์ เขาเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ถ้าเขาไม่ได้เป้นพระรามก็จะเป็นพระลักษณ์ให้ปกรณ์ เพราะปกรร์จะเอาเขาไปด้วยกันทุกครั้ง


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.206 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:9:24:25 น.  

 
โขนนั้นเป้นการแสดงที่ต้องใช้กำลังกายสูงเครื่องแต่งตัวก็มีน้ำหนักมากและจะต้องรัดจนแน่น
ผู้เล่นจะใช้ 2 ตัวหรือไม่อยู่ที่บทมากน้อยขนาดไหน เพราะผู้เล่นเยอะ ค่าตัวก็ต้องจ่ายเยอะเหมือนกัน

บ่อยครั้งที่ผู้เล่นมีอาวุโสมากแล้ว ถูกเจาะจงให้เล่น เช่น ปกรณ์หรือ ดร.ศุภชัย ก็จะเล่นแต่เล่นทั้งหมดหรือเล่นทั้งรอบไม่ได้ เพราะอายุเยอะกันแล้ว ก็ต้องถนอมกันไว้หน่อย จะได้เล่นให้ดูได้อีกนานๆ ถ้า 2 คนนี้เล่น จะต้องมีตัวมาเปลี่ยนเสมอ เหมือนกับคนเล่นที่อาวุโสคนอื่นๆ

เมื่อเดือนมีนาคม พาลีมี 2 ตัว คือ เลียง คงกำเนิด อดีตหนุมานตัวเด่น ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และภูษิต ( หมู ) รุ่งแก้ว อาจารย์ วนศ กรุงเทพ ฯ ซึ่งในตอน 2 หมูมาเป็นท้าวมหาชมพู เพราะพาลีตายแล้ว ไม่มีบทพาลีอีก

หนุมานมี 2 ตัว ตือ กิตติพงษ์ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร หนุมานตัวเอก ของสำนักการสังคีตกรมศิลปากร ในปัจจุบันนี้ กับ เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร ศิลปินสำนักการสังคีตเช่นกัน ส่วนหนุมานของสำนักการสังคีตอีกคนหนึ่ง คือ พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง งานนี้ไปเล่นเป็นนิลพัท ซึ่งจะไปเล่นบทนี้เมื่อนิลพัทมีบทบาทสำคัญในเรื่อง ถ้าไม่มีก็ใครเป็นก็ได้ โขนลิงทั้ง3 คนนี้กำลังเป็นตัวเด่นของกรมศิลปากร เพราะอายุยังน้อยและแข็งแรงมาก

ตัวทรพีมี 2 ตัว คือ กฤษกร ( แก่ ) สืบสายพรหม กับ ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด แก่ออกตัวแรก นกออกตอนรบ ทั้งนกและแก่เป็นยักษ์เล็ก คนที่เป็นยักษ์เล็กจะไม่ได้เล่นเป็นทศกัณฐ์ หรือยักษ์ใหญ่อื่นๆ

นาฏศิลปินคนไหนเป็นโขนพระ , โขนลิง , โขนยักษ์ จะถูกคัดแยกตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนนาฏศิลป์แล้ว โดยดูจากสรีระเป็นสำคัญ ยักษ์ก็จะถูกคัดเป็นยักษ์เล็กและยักษ์ใหญ่

นกนั้นอาวุโสรุ่นเดียวกันกับ ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์-ยักษ์ใหญ่ , เลียว คงกำเนิด -ลิง, หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์-พระ(เล็ก) ฯ
ส่วนแก่นั้นเพิ่งเข้ามาเป็นนาฏศิลปินสำนักการสังคีต เพิ่งเข้ามาไม่นาน และเป็นลูกพี่ลูกน้อง กับ วัชรวัน ( หนู ) ยักษ์ใหญ่ พวกนี้เป็นรุ่นล่าสุดของ นาฏศิลปิน กรมศิลปากร แต่แต่ละคนอายุก็ไม่น้อยนัก เพราะกว่าจะได้บรรจุเข้ารับราชการ อายุก็ร่วมเข้าไปเกือบ 30 หรือ 30 กว่า ไม่เหมือนสมัยก่อน จบการศึกษาจาก วนศ ก็ 20 กว่าๆ เข้ามาเป็นนาฏศิลปินได้เลย อายุการเล่นจะยาวนานกว่านาฏศิลปินในยุคปัจจุบัน ซึ่งกว่าจะเรียนจบปริญยาตรี กว่าจะเปลี่ยนงานกันมาหลายแห่งจนสอบเข้ารับราชการได้ ทุกอย่างก็จะแตกต่างไปจากสมัยก่อน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.206 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:10:22:29 น.  

 
ขออภัยสำหรับผู้ที่ไม่สนใจโขน
อาจจะเบื่อที่โพสต์อะไรมายืดยาว
เพราะดูจากข้อความที่โพสต์กันเข้ามาน่าจะเป็นผู้ที่มีอายุไม่มากกันสักเท่าไร

ถ้าสนใจเรื่องโขนลองเปิดไปดู//203.153.176.79/th/board/
เวบบอร์ดของกรมศิลปากร ในห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หัวข้อ คนดูโขน จะมีอะไรให้อ่านเกี่ยวกับโขนมากมาย อีกทั้งหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้องก็มีอีก เช่น หัวข้อโรงละครแห่งชาติ หัวข้อสังคีตศาลา ฯ ซึ่งก็จะมีข่าวคราวของกรมศิลปากร อยู่ในนั้น รวมทั้งมีรูปประกอบด้วยเป็นบางครั้งบางคราว

แต่เตือนไว้ก่อนนะคะว่าเวบนี้เข้ายากมาก ล่มเป็นประจำ หาวันดีคืนดีเปิดดูยากมาก อีกทั้งชื่อเวบก็จำยาก ต้องใช้เซฟเอา เพราะจำชื่อไม่ได้

เฮ้อ !


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.206 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:10:39:05 น.  

 
ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่องโขนค่ะ เพิ่งทราบเหมือนกัน

เคยแว่วๆแต่ว่าคนไหนเป็นอะไรแล้วก็เป็นตลอดเช่น ยักษ์ ลิง แต่เพิ่งทราบว่ามียักษ์เล็ก ยักษ์ใหญ่ด้วย แล้วเรื่องอาวุโสอีก ไม่ใช่ง่ายๆ เหมือนกัน

ลองโพสต์แบบไม่ได้ล็อคอินดูว่าจะโพสต์รูปได้หรือไม่ ส่วนหนึ่งไปตอบอยู่ในเมล์นะคะ


โดย: หญ้าหนวดแมว IP: 58.9.188.66 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:16:20:40 น.  

 
แสดงว่าโพสต์ได้ ไม่เหมือนในพันทิปให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น


โดย: หญ้าหนวดแมว IP: 58.9.188.66 วันที่: 21 เมษายน 2550 เวลา:16:39:37 น.  

 
ขอบคุณมากๆค่ะ



โดย: law of nature วันที่: 23 เมษายน 2550 เวลา:16:44:16 น.  

 
ขอบคุณมากๆค่ะ





โดย: law of nature วันที่: 23 เมษายน 2550 เวลา:16:46:25 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ดอกไม้สวยจัง


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 23 เมษายน 2550 เวลา:18:45:40 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปทักทายเสมอ
นำดอกไม้มาฝากคุณค่ะ

เราจะไม่เข้าพันทิปสักระยะหนึ่งนะคะ
เมื่อคืนแวะมาไม่ไหว ไม่ค่อยสบายและต้องเดินทางพรุ่วนี้เช้ามืดค่ะ


ดอก Rosemary


ดอก Spiraea


โดย: law of nature วันที่: 25 เมษายน 2550 เวลา:17:00:32 น.  

 


โดย: หม๋องแหม๋ง วันที่: 1 พฤษภาคม 2550 เวลา:15:37:03 น.  

 
Sawasdee ka


โดย: law of nature IP: 129.11.76.216 วันที่: 1 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:27:33 น.  

 
ตามไปอ่านเรื่องที่อัพของหม๋องแหม๋งแล้วนะคะ ชอบทั้งเรื่องและรูปค่ะ แล้วมาส่งยิ้มอีกนะคะ


สวัสดีค่ะน้องเน หวังว่าคงจะเห็นบล็อกในไม่ช้านะคะ นานแค่ไหนก็จะรอค่ะ
เพิ่งไปเจอว่ามีรูปดอกไม้ของน้องเนที่ส่งวันที่ 11 เม.ย.โดนแบนอยู่ อาจจะมีคำไหนพิมพ์ผิดไปตรงกับคำต้องห้ามมั้งคะ พี่ก็เลยกดกลับมาค่ะเป็นรูปในความเห็นที่ 16 ค่ะ ส่งมา 2 ครั้งเหมือนกันพี่ก็เลยเลือกมา 1 ภาพค่ะ (น่าจะโดนลบไปแล้วมั้งคะ เพราะที่มีเหลืออยู่ ดูแล้วไม่น่าโดนแบน)


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 2 พฤษภาคม 2550 เวลา:3:57:27 น.  

 
กลับมาแล้วค่ะ คงนานๆเขียนบล้อก แต่บล็อกที่เปิดล่าสุด อาจไม่ใช่สิ่งที่ควรเขียน

แต่เราอยากให้จบลงดีๆค่ะ ถ้าเข้ามามีแต่เรื่องก็คงออกไปจริงๆ เสียที
ช่วงนี้ยังเขียนสักระยะ ตามที่บอกนะคะ


โดย: law of nature วันที่: 4 พฤษภาคม 2550 เวลา:5:02:51 น.  

 
ได้รับซีดีและเอกสารที่ส่งไปให้แล้วหรือยังค่ะ เอกสารที่ให้ไปมีเรื่องเกี่ยวกับผ้าชิ้นเล็กๆที่ห้อยหัวโขนอยู่ด้วยน่ะค่ะ

ความจริงยังมีซีดีและเอกสารที่อยากจะให้อีก แต่ไม่แน่ใจว่าสนใจจริงจังแค่ไหน เลยให้ดูของที่ให้ไปก่อนก็แล้วกัน

ยังไม่ได้ไรท์ซีดีรูปดอกไม้ให้เลยมีสะสมเอาไว้ไม่น้อยเหมือนกัน

ขอข้ามบล็อกเรื่องที่ถามถึงรูปคนพากย์แล้วไม่ทราบว่าชื่ออะไร คนพากษ์มี 2 คนคือ อ. มืด ประสาท ทองอร่าม และ อ.เถิ่ง เกษม ทองอร่าม น้องชายแท้ๆของอาจารย์มืด อ.เถิ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ อ.เถิ่งมีลูกสาวคนสวยชื่อ กษษม ทองอร่าม เรียนอยู่ปีสุดท้ายที่สถาบันบันฑิตพัฒนศิลป์ และเล่นเป็นนางสีดา 1 ใน 2 ในการแสดงเมื่อเดือนธันวาคม คนที่รับช่อดอกไม้นั่นแหละค่ะ ส่วนลูกชายอีกคนเป็นลิง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ม๊โขนหน้าพระที่นั่งที่อุทยานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯอัมพวา ลูกชายอ.เถิ่ง ชื่อ ศิลปี (กั๊ก) ทองอร่าม ก็ไปเล่นเป็นมัจฉานุค่ะ ก๊กนี้เขาเก่งกันทั้งก๊กเลย

อย่าเพิ่งเบื่อคนแก่นะคะที่คุยแต่เรื่องที่สาวๆเขาไม่สนใจกัน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.235 วันที่: 4 พฤษภาคม 2550 เวลา:18:58:47 น.  

 
อีกที ลูกสาวอ.เถิ่งชื่อ กษมา นะคะ พิมพ์เร็วไปหน่อย เลยพิมพ์ผิด ปกติเล่นโขนอยู่ที่ศาลาเฉลิมกรุงด้วยน่ะค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.235 วันที่: 4 พฤษภาคม 2550 เวลา:19:02:14 น.  

 
หนูว่าครูปกรณ์ไม่ชอบขึ้นลอยแล้วแหงเลย ตอนพระรามรบกับกุมภกรรณครูปกรณ์หน้าเครียดมาก และดูเกร็งด้วย จริงๆแล้วหนูว่าให้ครูเล่นเต็มๆตอนที่ไม่มีการรบดีกว่าเพราะครูแสดงอารมณ์ได้เยี่ยมมาก แต่ก็เห็นใจจริงๆ เครื่องทรงพระนางนี้รัดอย่าบอกใคร
เมื่อไรครูจะแสดงอีกคะ หนูหารายการล่วงหน้าไม่ได้เลย บางทีกว่าจะรู้ก็ผ่านไปแล้ว ใครทราบ กรุณาบอกด้วยเพราะหนูต้องเตรียมแคะกระปุกไปซื้อตั๋ว


โดย: เพ็ญจันทร์ IP: 58.8.166.168 วันที่: 4 พฤษภาคม 2550 เวลา:21:23:51 น.  

 
จำเป็นต้องเป็นปกรณ์เล่นด้วยหรือ
ถ้าไม่จำเป็น ที่โรงละครแห่งชาติกับที่สังคีตศาลาก็มีอยู่เป็นประจำ มีการแสดงหลายหลาก ไม่ต้องทุบกระปุกไปดู และดูไม่ไกลเหมือนกับที่ศูนย์วัฒนธรรม ถ้าจำเป็นต้องเป็นปกรณ์เล่น ก็เตรียมใส่กระปุกเอไว้ก็แล้วกัน เพราะปกติเขาจะเล่นงานนอก ซึ่งค่าดูแพง เพราะถูกเจาะจงตัว กับไปดูตามงานศพที่ดูฟรี และเล่นโขนกันยาว 4 ชั่วโมง โดยไม่พัก เจ้าภาพเองก็ยินดีต้อนรับ เพราะเขาจ้างมาให้คนดูฟรีอยู่แล้ว ถ้าสนใจจริงจังลองบอกหญ้าหนวดแมวเขาดู ป้ามีส่งรายการแสดงเท่าที่ทราบไปให้แล้ว


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.133 วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:6:50:38 น.  

 
ได้รับแล้วค่ะ เพิ่งตอบไปทางเมล์ CD ได้รับวันที่ 3 เอกสารได้รับวันที่ 4 ค่ะ

ถ้าถามว่าสนใจจริงจังแค่ไหนก็ขอตอบว่าสนใจค่ะ แต่คงจะไม่ได้จริงจังมากขนาดต้องดูทุกงานนะคะ
สนใจเป็นความรู้มากกว่าค่ะ ถ้าจะว่าไปที่มีเปรียบเทียบก็เป็นเหมือนเป็ดค่ะ คือทำได้ทุกอย่างแต่ไม่ชำนาญซักอย่างค่ะ
แฟนจะแซวว่ารู้ทุกอย่างยกเว้นงานที่ตัวเองทำ

เพิ่งจะเข้าบล็อกตัวเองมา บางทีมีเวลาน้อยก็เลยไปเข้าบล็อกอื่นที่ยังตามเรื่องอยู่ค่ะ

ถ้าคุณเพ็ญจันทร์สนใจก็ลองบอกเรื่องมานะคะ ในหนังสือที่คุณอัญชลีส่งมาให้นั้นมีหลายเรื่องค่ะ
ยังคิดว่าจะลองไปดูที่โรงละครแห่งชาติดูบ้าง แต่คิดว่าที่นี่คงจะห้ามถ่ายรูปหรือไม่คะคุณอัญชลี
เท่าที่ดูจากที่ส่งมาคุณอัญชลีต้องเป็นแฟนพันธุ์แท้แน่ๆ เลย ตัวเองคงไม่ได้ขนาดนี้ค่ะ
เนื่องจากงานประจำด้วย และงานอื่นๆอีก บางทีก็บรรดาเพื่อนกลุ่มต่างๆอีก

ช่วงนี้น่าจะยังไม่ได้อัพบล็อกค่ะ เปิดมาก็อาจจะเจอแต่หน้านี้นะคะ
อย่าเพิ่งเบื่อกันเสียก่อนใครใคร่ทิ้งข้อความทิ้งไว้ได้เลยค่ะ
จะตามมาอ่านเป็นระยะๆ ค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:2:06:36 น.  

 
จากที่สงสัยอยู่อย่างว่าที่หัวโขนจะมีผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดง(หรือกระดาษ..ไม่แน่ใจ)ห้อยอยู่ หมายถึงอะไร พอทราบหรือไม่คะ
คำตอบจากที่คุณอัญชลีส่งมาให้ก็คือ เป็นการทำขวัญ
ปกติผ้าสีที่ใช้จะเป็นผืนยาวตั้งแต่1 เมตรขึ้นไปซึ่งใช้ผูกวัตถุ สิ่งของหรือต้นไม้
แต่สิ่งของมีขนาดเล็ก ผ้าที่ใช้จะเล็กลงตามขนาด
หากทำเป็นชิ้นเล็กๆมักจะทำเป็นสี่เหลี่ยม เล็กใหญ่ตามความเหมาะสมของสิ่งที่จะทำขวัญ
เย็บขอบ 4 ด้าน ด้านหนึ่งมีชายครุยหรือพู่ตกแต่งให้สวยงาม
ถ้ามีเชือกผูกใช้เป็นที่ห้อยแขวนผ้าเรียกชื่อเฉพาะว่า "ผ้าโขน"
ซึ่งใช้แขวนในวาระที่มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น ไหว้ครู เป็นต้น
ผ้าโขนใช้แขวนไว้ที่จอน(หู) ของศีรษะโขน หรือเครื่องสวมศีรษะของนาฏศิลป์
ใช้แขวนไว้ส่วนบนของเครื่องดนตรีไทยวันไหว้ครู
ใช้แขวนที่โขนเรือพระราชพิธี ในวันอัญเชิญเรือลงน้ำวันแรก
ใช้แขวนที่ประตูในพระบรมมหาราชวังในวันทำพิธีบวงสรวงเดือน 6
ผ้าโขนที่ใช้กับเรือและประตูจะใช้ผ้าตาดทอง นอกนั้นนิยมใช้สีแดงและชมพู
ชนิดของผ้ามักใช้ตามศักดิ์ของสิ่งของที่ทำขวัญด้วย

(จากรูปจะเห็นสี่เหลี่ยมเล็กๆสีแดงแขวนอยู่ข้างจอน)



โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:2:30:18 น.  

 
สรุปได้ว่าการใช้ผ้าสีต่างๆ ทำขวัญไม่ว่าผืนใหญ่ หรือผ้าโขน
ต่างมีจุดประสงค์อย่างเดียวกันคือ การสร้างความรู้สึกที่ดีให้บังเกิดความเป็นปกติ
และสิริมงคลแก่ทุกฝ่ายนั่นเอง

จากเอกสารที่คุณอัญชลีส่งมาให้นั้น ถ่ายเอกสารจาก "ศิลปากร" ปีที่ 46 ฉบับที่ 5
เรื่อง "การใช้ผ้าสีต่างๆ ทำขวัญนั้นมีความหมายอย่างไร"
เขียนโดย คุณก่องแก้ว วีระประจักษ์
(ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณกรมศิลปากร)


ขอขอบคุณคุณอัญชลีที่ส่งเอกสารมาให้ความกระจ่างด้วยนะคะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:2:41:32 น.  

 
แปลกใจที่ได้รับซองคนละที เพราะส่งพร้อมกันที่ไปรษณีย์เอกชนของร.พ.จุฬา แต่ก็ไม่สำคัญอะไรหรอกค่ะ ทางคุณได้รับก็พอใจแล้ว

ที่ถามว่าสนใจจริงจังไหมนั้นหมายถึงว่า ถ้าสนใจจริงจังจริงๆ มีข่าวหรือเอกสารที่น่าสนใจจะส่งให้ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นการแสดงอาจจะเป็นเอกสารความรู้ต่างๆเกี่ยวับวัฒนธรรม และไม่จำเป็นว่าต้องติดตามดูรายการของกรมศิลป์ไปทุกรายการ เพราะตัวเองยังดูไม่ครบเลย แต่ที่เล่ามามากมายอย่างหนึ่งก็เพราะอยากจะเล่าถึงว่ามันมีช่องทางที่จะเข้าถึงรายการทั้งหลายเหล่านี้มากมายหลายช่องทางตามความสดวกในชีวิตของแต่ละบุคคล

ถ้าถามว่าเป็นแฟนพันธ์แท้ของกรมศิลป์หรือเปล่า ตอนนี้ก็อาจจะใช่กระมัง เพราะติดกลุ่มไปกับพวกเขาเท่าที่เราจะทำได้ และแฟนพันธ์แท้หลายคนๆก็สูงอายุหรือสุขภาพไม่ค่อยจะอำนวย(แต่ใจสู้ค่ะ) เราอาวุโสน้อยหน่อยถ้าไปด้วยก็ช่วยดูแลได้ในระดับหนึ่ง เลยเป็นความผูกพันอะไรบางอย่างนอกเหนือกว่าความผูกพันในระดับปกติกว่าการผูกพันของคนที่มารู้จักกันทั่วไป วันที่ไปศูนย์วัฒนธรรมก็ช่วยดูแลกันอยู่หลายคน

ที่ในโรงละครแห่งชาติห้ามถ่ายรูปและห้ามถ่ายทำวีซีดีหรือวีดีโอทุกชนิด แต่ก็ยังมีคนฝ่าฝืนอยู่เสมอ และที่แน่ๆก็คือไม่ใช่คนเขียนแน่นอน

เท่าที่ทราบสาเหตุหนึ่งที่ห้ามก็เพราะว่าทางโรงละครเขาถ่ายทำวีซีดีการแสดงทั้งหมดทุกรายการ โดยทางกรมฯจ้างเหมาบริษัทเอกชนไปทำ จุดประสงค์หลักก็คือเป็นหลักฐานผลงานการแสดงของสำนักการสังคีตทุกชิ้นที่มีการแสดง และเป็นหลักฐานทางวิชาการชนิดหนึ่งซึ่งเป็นมัลติมิเดียไม่ใช่หลักฐานที่เป็นเอกสารกระดาษเพราะเป็นการแสดง หลักฐานที่เป็นกระดาษนั้นสู้หลักฐานที่เป็นมัลติมิเดียไม่ได้เลย
ถ้าปล่อยให้คนดูถ่ายรูปหรือถ่ายวีซีดีโดยอิสระ จะมีแสงแฟลชแวบขึ้นมารบกวนมากมายตลอดเวลาและอาจจะมีการลุกนั่งกันวุ่นวาย และหากมีการขยับไปถ่ายรูปถึงหน้าเวทีก็อาจจะไปบังบางส่วนของผู้แสดงทำให้กล้องของกรมที่จ้างเหมาถ่ายได้ไม่หมด เพราะมีหัวคนหรือตัวคนมาบัง และถ้ามากคนก็อาจจะถ่ายผู้แสดงได้แค่ครึ่งตัว การแสดงในช่วงล่างของร่างกายเขาจะถ่ายทำไม่ได้เลย และพวกเขาไม่สามารถแสดงซ้ำทั้งรายการอีก และอีกทั้งความเคลื่อนไหวเหล่านี้ก็จะไปรบกวนผู้ดูคนอื่นๆให้หงุดหงิดรำคาญด้วย

ถ้าอยากถ่ายรูปก็มีคนไปถ่ายรูปด้านนอกโรงละครหลายคน แต่คนเหล่านั้นเขาไม่ได้ดูการแสดง เราอยากดูมากกว่าอยากถ่ายรูป เราจึงใช้ขอเอาหรือซื้อเอาจากนักถ่ายทั้งหลาย
ส่วนการแสดงที่สังคีตศาลานั้น ถ่ายรูปและถ่ายวีซีดีกันโดยอิสระเสรี ทั้งๆที่กรมก็ต้องจ่างคนไปเหมาถ่ายเช่นกัน แต่เป็นที่โล่งห้ามกันลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นรายการของโรงเรียนเด็กๆจะมีผู้ปกครองมาวิ่งถ่ายรูปลูกหลานกันเป็นโกลาหล ลองไปสังเกตุการณ์ดูบ้างก็ได้ถ้าว่าง รายการแสดงที่สังคีตศาลาบัตรราคาใบละ 20 บาท เลือกจองที่นั่งกันเองตามสดวก มีการแสดงทุกเย็นเสาร์-อาทิตย์ ช่วงสิ้นปีต่อต้นปี ตอนนี้หมดไปเมื่อสิ้นเดือนที่แล้ว จะเริ่มใหม่ปลายปีหลังฝนหมด เพราะเป็นรายการกลางแจ้ง ถ้าคุณหญ้าหนวดแมวยินดีจะเป็นสื่อกลางก็จะส่งข่าวให้ทราบเท่าที่จะทำได้ เพราะอยากให้เราไปดูวัฒนธรรมของไทยกันและราคาไม่แพงเกินกำลังของใคร การแสดงที่สังคีตศาลานั้นก็มีหลายหลาก จากหลายสถาบัน ถ้าเป็นของสำนักการสังคีตเล่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นตอนสิ้นเดือนของทุกเดือนที่เปิดการแสดง

ส่วนวีซีดีการแสดงของสำนักการสังคีตนั้นติดต่อขอสำเนาการแสดงได้ทุกรายการ ทางสำนักคิดค่าใช้จ่ายชุดละ 300 บาท ปกติเราก็จะขอเพียงคนเดียวแล้วมา COPY แจกกัน ค่าใช้จ่ายแต่ละคนก็ลดลงไปหน่อย เพราะรายการแสดงที่ต้องการมีมากมาย ไม่ต้องจ่ายเต็มกันทุกคน ก็ช่วยกันจ่ายค่าต้นฉบับกับค่าซื้อแผ่นเปล่า

ถ้าไม่ติดว่าผู้แสดงจะต้องเป้นคนดัง ทางสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์อันเป็นสถาบันในระดับปริญญาตรีของเหล่าวิทยาลัยนาฏศิลป์ มีการแสดงลานวัฒนธรรมที่ลานหน้าโบสถ์พระแก้ววังหน้าเชิงสพานพระปิ่นเกล้าติดกับโรงละครแห่งชาติ ปีละครั้ง เริ่มมา2-3 ปีแล้ว และมีการแสดงศิลปะนิพนธ์ของนักศึกษาอีกปีละ2-3ครั้ง ตอนช่วงใกล้จะจบการแสดงของแต่ละปี รายการเหล่านี้ทุกชนิดดูฟรี มีตู้รับบริจาคตามแต่ศรัทธา ไม่บังคับ มีสูจิบัตรขายหรือแจกผู้บริจาคตามแต่ต้องการ ไม่บังคับเช่นกัน ถ่ายรูปหรือถ่ายวีซีดีกันตามสดวก หรือจะจองวีซีดีที่ทางสถาบันถ่ายทำก็ได้ เพราะเขาจะทำเท่าจำนวนที่จอง ผู้แสดงนี้ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและเล่นกันอย่างเต็มที่งดงาม การแสดงบางรายการเป็นการสอบให้ผ่านเพื่อรับวุฒิการศึกษา หลายรายการผู้แสดงตัวเอกเป็นศิลปินของสำนักหรืออาจารย์ของวิทยาลัยมาช่วยกัน ทางสถาบันก็สนับสนุนเรื่องการแต่งตัวและอุปกรณ์ต่างๆอย่างเต็มที่ ฉากหลังนั้นงดงามมาก เพราะเป็นลานพระอุโบสถวัดพระแก้งวังหน้าที่ปกติเราจะเห็นตอนนั่งรถข้ามสพานพระปิ่นเกล้า การแสดงนี้มักจะมีการแถลงข่าวล่วงหน้าทางหนังสือพิมพ์ต่างๆ และแจกโบชัวร์ให้ตามจุดเป้าหมายต่างๆเท่าที่เขาจะทำได้ ถ้าอยากได้ข่าว เวลาที่เขามีการแสดงจะส่งรายละเอียดให้เท่าที่ทราบ

อีกที่หนึ่งคือเรือนไทยของจุฬาฯใกล้มาบุญครอง มีการแสดงหลายหลาก แสดงกลางแจ้งเหมือนที่สังคีตศาลา และดูฟรี ปกติมีทุกเย็นวันศุกร์ต้นเดือน เปลี่ยนการแสดงแบบต่างๆไปเรื่อยๆ ลองสอบถามดูกับทางเรือนไทยจุฬาฯได้เลยว่าเดือนไหนจะมีการแสดงอะไร

ถ้าอยากดูรายการแสดงที่มีคุณปกรณ์และคุณศุภชัย การแสดงที่จะแนะนำรายการหนึ่งก็คือรายการของคุณ เนาวลักษณ์ วัฒนพานิช แฟนพันธ์แท้อันดับหนึ่งของโรงละครแห่งชาติ คุณเนาวลักษณ์จะจัดรายการอยู่เสมอเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ ตอนนี้โรงละครแห่งชาติโรงใหญ่ปิดซ่อม คุณเนาวลักษณ์ย้ายมาจัดที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ รายการของคุณเนาวลักษณ์จะค่อนข้างยาวดูกันหลายขั่วโมงราคาเดียวไม่ได้แบ่งรอบ บัตรของคุณเนาวลักษณ์ มีหลายราคาตั้งแต่ 1500 บาท ถึง 300 บาท ครั้งต่อไปจะจัดในเดือนพฤศจิกายน ถ้าซื้อบัตรราคาถูกก็นั่งดูไม่ไกลเหมือนกับที่ศูนย์วัฒนธรรม เพราะบัตรราคาถูกของศูนย์วัฒนธรรมนั้นนั่งไกลมาก เพราะต้องขึ้นไปดูถึงขั้น 3 ไม่ได้แอนตี้รายการที่ศูนย์วัฒนธรรม เพราะเขาเก็บค่าดูแพงผู้แสดงก็ได้ค่าตัวแพง ซึ่งโอกาสอย่างนี้เขาก็มีน้อยมาก แต่ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ต้องการจะชี้ช่องทางหลายๆช่องทางให้กับผู้ที่สนใจเลือกเอาตามสดวกในชีวิตของแต่ละบุคคล

ปกติกระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากรจะมีการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานทุกปีและแน่นอนที่สุดมหรสพที่จะฉลองกฐินก็คือโขนกรมศิลปากร ปกติกฐินทั้ง2แห่งนี้จะไปจัดตามจังหวัดไกลๆ แต่ปีนี้2550 กรมศิลปากรจะถวายผ้าพระกฐินพระราชทานที่วัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี ถ้ากลัวเรื่องกลับดึกก็ชวนกันไปหลายๆคนแล้วกลับด้วยกัน เพราะโขนจะเล่นยาวหลายชั่วโมง และที่แน่นอนคือดูฟรี เตรียมค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าพาหนะก็พอ ส่วนการทำบุญจะทำหรือไม่แค่ไหนก็แล้วแต่ศรัทธาเพราะทางกรมเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว

เบื่อคนแก่ไหมที่เล่าอะไรมายืดยาว


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.133 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:6:31:01 น.  

 
เพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง ปกติแฟนพันธ์แท้ของกรมศิลป์ เขาไม่เล่นเนตกันหรอก ใช้ไม่เป็น เปิดไม่เป็นด้วยซ้ำ

ป้าคงเป็นแฟนพันธ์แท้รุ่นใหม่กระมัง
ต่อไปก็อาจจะมีมากขึ้นเรื่อยๆตามยุคสมัย ต่อไปไม่ต้องวิ่งหาข่าว แต่ข่าวจะวิ่งมาหาเองจ๊ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.133 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:7:29:47 น.  

 
พี่หญ้ามาดูโขนบ่อยๆแล้ว

ขอเรื่องอื่นหน่อยจิคะ อิอิิ มาแซวอีกค่ะ


โดย: law of nature วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:56:37 น.  

 
หนูสนใจการแสดงของกรมศิลปากรทั้งที่มีอ.ศุภชัยกับครูปกรณ์ และที่ไม่มี เคยดูโขนที่โรงละครเล็ก บัตร๖๐บาทผู้แสดงก็เก่งทุกคน
ท่านใดมีรายการล่วงหน้ากรุณาบอกหนูด้วย e-mail
จะเป็นพระคุณยิ่ง
หนูเรียนรำไทยอยู่ ได้ขึ้นเวทีบ้าง อยากรำเก่งเหมือนครูน่ะค่ะ


โดย: เพ็ญจันทร์ IP: 58.8.172.206 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:02:02 น.  

 
ขอโทษค่ะ e-mailไม่ยักขึ้น บอกหนูทางblogนี้ได้ไหมคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: เพ็ญจันทร์ IP: 58.8.172.206 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:11:43 น.  

 
ตอนนี้กล้องสามารถถ่ายโดยตั้งความไวแสงสูงๆได้โดยไม่ต้องใช้แฟลชค่ะ
วันที่ถ่ายก็ตั้งไว้ที่ 1600 ดังนั้นไม่ไมีแสงแฟลชไปรบกวนนักแสดงหรือคนนั่งค่ะ
แล้วก็เวลาดูจะดูผ่านกล้อง มุมมองจะแคบไปหน่อย ไม่ได้อรรถรสครบถ้วนเหมือนนั่งดูปกติ
ก็ได้อย่างเสียอย่างค่ะ แต่ถ้าเค้าห้ามถ่ายก็จะไม่ฝืนเหมือนกันค่ะ

ถ้ามีอะไรน่าสนใจคุณอัญชลีก็แจ้งมาได้เลยนะคะ ทางนี้ หรือทางเมล์ก็ได้ค่ะ

เรื่องเล่นเน็ตก็คงต้องเป็นความชอบด้วยมั้งคะ เพราะมีเพื่อนที่ยังเปิดไม่เป็นก็มีค่ะ

โขนงานกฐินก็น่าสนใจค่ะ เมืองนนท์ไม่ไกลแล้ว หลังจากมีราชพฤกษ์ตัดผ่านค่ะ


ส่วนน้องเนที่มาแซว ตอนนี้ให้แซวไปก่อนนะคะ ถ้าจะยาวค่ะเดือนหน้าถึงจะสะดวกหน่อย
รักแล้วรอหน่อยนะคะ ถ้าเบื่อไปดูหัวข้อเก่าๆก่อนก็ได้ค่ะ หรือว่าดูหมดแล้วคะ


คุณเพ็ญจันทร์คะ ส่งมาที่นี่ได้เลยค่ะ yanuadmaew@gmail.com คิดว่าจะให้น้อง scan ตารางการแสดงแล้วส่งเป็นไฟล์ไปให้นะคะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 7 พฤษภาคม 2550 เวลา:1:21:36 น.  

 
คนที่ถ่ายรูปมีหลายหลากค่ะ
กล้องก็สารพัดชนิด
กว่าจะใช้ประเภท hi-tech ทุกคนก็คงอีกนานหลายปี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.122 วันที่: 7 พฤษภาคม 2550 เวลา:3:39:02 น.  

 
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2550 นี้ ที่โรงละครแห่งชาติ(โรงเล็ก)จะมีการแสดงของเยาวชนเครือข่ายของกรมศิลปากร มีการแสดงหลายอย่าง โขน ละคร การแสดงต่างๆ ดนตรีไทย ดนตรีสากล

การแสดงนี้ชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
เข้าใจว่าการแสดงจะมีตอนบ่าย พอดี โบชัวร์ที่แจกหมด เลยจำรายการไม่ได้ จำได้แต่ว่า แจกบัตรที่นั่งตอน 10.00 น.

อาทิตย์หน้าได้รายละเอียดแล้วจะแจ้งอีกทีนะคะ ละครถ้าจำไม่ผิด จะเป็นสุวรรณหงส์ตอนชมถ้ำเพชรพลอย โขน ก็เป็นตอนลักสีดา ถวายพล และข้ามสมุทร ขอติดไว้ก่อน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.127 วันที่: 7 พฤษภาคม 2550 เวลา:18:42:06 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้มากๆค่ะ
คุณอัญชลีคะ ถ้าไม่ลำบากช่วยเพิ่มรายชื่อ ppkate@hotmail.com ในการส่งข่าวเรื่องวํฒนธรรม หรือ เกร็ดน่ารู้ต่างๆให้ด้วยได้มั้ยคะ สนใจจะเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ หรือจะชวนไปดูการแสดงก็ได้นะคะ เพราะตัวเองไม่รู้จะไปหาข้อมูลที่ไหน

คุณหญ้าหนวดแมว ค่ะ รบกวนส่งตารารงการแสดงมาให้ด้วยนะคะ ตามที่อยู่ อีเมลล์ข้างบนนี้อ่ะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ



โดย: เปิ้ล IP: 203.148.240.106 วันที่: 9 พฤษภาคม 2550 เวลา:11:35:58 น.  

 
คุณเพ็ญจันทร์ และคุณเปิ้ล
ได้ส่งปฏิทินการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีประจำปี 2550 ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ที่scan จากที่คุณอัญชลีส่งมาให้ ส่งไปทางเมล์ที่ให้ไว้แล้วนะคะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 10 พฤษภาคม 2550 เวลา:21:09:06 น.  

 
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2550นี้ กลุ่มดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ร่วมกับเยาวชนเครือข่ายกรมศิลปากร จัดการแสดงที่โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก ) เวลา 13.00 น. ชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดรับบัตรชมการแสดง เวลา 11.00 น. การแสดงมี
1.การแสดงดนตรีสากล
2.โขน ตอนลักสีดา ถวายพล ยกรบ
3.ฟ้อนมาลัย
4.ระบำศิลปาชีพ
5.รำซัดชาตรี
6.ละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ ตอน ชมถ้ำเพชรพลอย
7.เซิ้งโปงลาง

ใครว่างลองแวะไปชมนะคะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.12 วันที่: 11 พฤษภาคม 2550 เวลา:20:39:02 น.  

 
อยากจะออกความเห็นสำหรับผู้ที่ใช้ Hotmail หน่อย ส่วนตัวตอนนี้เลิกใช้มาหลายปีแล้ว ใช้แต่ yahoo กับ gmail ว่าจะใช้ MSN เหมือนกัน แต่ยังไม่ได้สมัครสักที ยังเข็ด hotmail อยู่

ถ้าจะรับเมล์ขนาดใหญ่ เช่นเมล์ที่ส่งไฟล์รูปภาพใหญ่ๆ เมล์ของ gmail จะดีมาก เพราะตู้ใหญ่มาก รับได้หมด ไม่ต้องคอยลบทิ้ง แต่ save draft address ผู้รับ สู้ yahoo ไม่ได้ เมล์ของyahoo ก็ใหญ่พอสมควร แต่ต้องคอยระวังอย่าให้ตู้เต็ม แต่hotmailส่งไฟล์ใหญ่ ตีกลับมาบ่อยมาก เลยค่อนข้างเข็ด

ถ้าอยากรับไฟล์ใหญ่ๆได้อยากจะแนะนำให้ใช้ gmail ถ้าเข้าไปสมัครสมาชิกไม่ได้ ก็ติดต่อกลับมาจะส่งคำเชิญไปให้


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.17 วันที่: 12 พฤษภาคม 2550 เวลา:10:29:50 น.  

 
แวะมาทักทายเซย์ไฮ หน้านี้ยังเหมือนเดิม
เดี๋ยวไปดูหน้าอื่นบ้าง

ของคุงน้องยังพอมีไฟ ยังไม่มอดสักเท่าไร
แค่หายไปไม่กี่วัน
ฮิ้วววววววววว


โดย: น้องหมี (หมีปุ๊ ) วันที่: 13 พฤษภาคม 2550 เวลา:11:33:14 น.  

 
นำดอกไม้มาฝากพี่ก้อยค่ะ
จะอัพบล็อกเปล่าคะ อิอิ Ok next month !!



ดอก Scilla


โดย: law of nature วันที่: 14 พฤษภาคม 2550 เวลา:2:11:51 น.  

 

นำดอกไม้มาฝากค่ะ


ดอก Nemophila :: ฟ้ายังงดงามเสมอ


โดย: law of nature วันที่: 17 พฤษภาคม 2550 เวลา:20:24:16 น.  

 
ฝากดอกไม้ค่ะ


Pelargonium (เรียนเชิญท่านวาดรูปนี้นะคะ (อย่าอายที่จะแสดงออก) มาร่วมสนุกกันค่ะ)



โดย: law of nature วันที่: 20 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:27:26 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ หวังว่าคงสบายดีนะคะ ^^


โดย: Nessa วันที่: 25 พฤษภาคม 2550 เวลา:14:49:06 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้มากค่ะ ไม่ทราบว่าพอจะมีรายละเอียดการสอนโขน สำหรับเด็กอายุ 7 ขวบบ้างหรือไม่คะ


โดย: น้องปลั๊ก IP: 202.6.107.59 วันที่: 26 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:45:30 น.  

 
นำดอกไม้มาฝาก ขอให้ท่านโชคดี ...ขอบคุณที่แวะไปทักทายค่ะ



ดอก Nigella ''Love in a mist'' ความรักในสายหมอก


โดย: law of nature วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:9:25:25 น.  

 
ไม่ทราบว่าน้องปลั๊กอยู่แถวไหน ลองเชครายละเอียดต่างๆจากโรงเรียนเหล่านี้ดูนะคะ

1.โรงเรียนนาฏศิลป์ขาบมงคล พหลโยธิน 24 สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0-2939-2417
โรงเรียนนาฏศิลป์ขาบมงคล
ที่อยู่ 36/23 ถนนสุขุมวิท39 ซ.พร้อมศรี1 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ 02-2605594,2605597

2.โรงเรียนนาฏศิลป์ไทยนานาชาติ
15/1 ถนนสุขุมวิท ซ.35 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 02-662119-2

3.โรงเรียนพาทยกุลการดนตรี และนาฏศิลป์ 170 / 5-6 ถนนสามเสน (ตรงข้ามวัดสามพระยา) ใกล้สี่แยกบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร 0 2282 1513 / 0 1809 8472 //www.phattayakul.net/

4.บ้านสวนนาฏศิลป์-ดนตรีไทย งามวงศ์วาน//www.thaidancingart.com
506 ซ.งามวงศ์วาน 25 ถ.งามวงศ์วาน อ.เมือง จ.นนทบุรี
โทร. 02-588-0636, 02-588-0135, 08-1867-3450
ครูโหน่ง : 08-1867-8787 ครูอ้อย : 08-1989-9119 เจี๊ยบ : 08-1867-3450
E-mail : pps23@hotmail.com


5.พระตำหนักวังปลายเนิน ถ.พระราม 4 คลองเตย ติดกับการไฟฟ้าคลองเตย 022494280

ความจริงยังมีอีกหลายแห่ง แต่ตอนนี้นึกออกแค่นี้เองค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.67 วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:11:11:15 น.  

 
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ โทรฯ ๐๒๒๘๑๕๓๖๐-๑

มีการแสดงนิทรรศการจิตรกรรมต้นแบบภาพปักศิลปาชีพ ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตั้งแต่ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๐.๐๐ น.-๑๙.๐๐ น. ( ปิดวันพุธ ) อายุเกิน ๖๐ ปี ชมฟรี อายุต่ำกว่า ๖๐ ปี เสียค่าผ่านประตู ๒๐ บาท

วันอาทิตย์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐น.-๑๗.๓๐ น. มีเสวนา เรื่องจิตรกรรมวิจิตรวรรณคดีตามวิถีการสร้างงานแนวจักรพันธุ์ โปษยกฤต โดยมี จักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ เป็น วิทยากร ปิดท้ายด้วยการแสดงละครเสภา เรื่อง "ขุนช้างขุนแผน"ตอนขึ้นเรือนขุนช้าง


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.98 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:21:57:08 น.  

 
เสวนา*สุนทรภู่ปฏิบัติราชการลับ*และอื่นๆ

พฤหัส 7มิย.เวลา10-19 น.ที่กุฎีสุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ

10.00 น. ปี่พาทย์โหมโรง

10.30น. พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์

11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลพระภิกษุสามเณร 55 รูป
-อ.ศิรพจน์ เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร นำชมศิลปกรรมวัดเทพธิดาราม

13.30น. เสวนาประสาชาวบ้าน เรื่องบ้านมหากวี กุฎีสุนทรภู่
โดย-อ.บัณฑร อ่อนคำ
-ผอ.รร.วัดราชนัดดา
-ผอ.รร.เบญจมราชาลัย
-ผอ.รร.สุพมาศวิทยาคม
-ประธานมูลนิธิวัดเทพธิดาราม
-ประธานชุมชนวังกรมพระสมมตร/วัดเทพธิดาราม/วัดราชนัดดา/บ้านบาตร/ป้อมมหากาฬ
ดำเนินรายการ : ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ศิลปากร

15.30น. เสวนาวิชาการ เรื่องสุนทรภู่ไปราชการลับเมืองแกลง
กล่าวนำเสวนาโดย อ.ล้อม เพ็งแก้ว ปราชญ์อิสระเมืองเพชรบุรี
ผู้ร่วมเสวนา
-รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม
-ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์
-อ.วารุณี โอสถารมย์
-อ.ฐปกรณ์ โสธนะ
ดำเนินรายการ : นิรมล เมธีสุวกุล แห่งทุ่งแสงตะวัน ช่อง 3 และวัฒนะ บุญจับ สำนักวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

17.30น. สวดโอ้เอ้วิหารรายและลครตลก เรื่องพระอภัยมณี ตอนจับม้ามังกร โดยศิลปินกรมศิลปากร


*ไม่เสียค่าใช้จ่าย*


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.98 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:01:29 น.  

 
ชวนไปดูรูปสาวสวยครับ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=langkadamdang&group=68


โดย: หลังคาดำแดง วันที่: 5 มิถุนายน 2550 เวลา:22:47:40 น.  

 
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร ( ติดกับโรงละครแห่งชาติ )
ขอเชิญเข้ารับการฝึกอบรม
โครงการอบรมนาฏศิลป์เครือข่าย สืบทอด เผยแพร่ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
เฉพาะวันเสาร์ เริ่มวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ – ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ (รวม ๗ ครั้ง)
ณ โรงแรมตรัง ถนนวิสุทธิกษัตริย์ กรุงเทพฯ
อบรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับวุฒิบัตรและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
(มีอาหารว่างและอาหารกลางวัน)
ชำระเพียงค่าอุปกรณ์การฝึกอบรม ๕๐๐ บาท
รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ หรือจนกว่าครบ ๖๐ คน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.49 วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:9:44:43 น.  

 
ศูนย์สังคีตศิลป์สัญจร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน )
ร่วมกับ
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เสนอรายการ
เสรี หวังในธรรม เขาคือคนไทย ในโลกโขนละครฟ้อนรำ ระบำ เพลง ดนตรี
ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
ในวันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นต้นไป
๑๕.๐๐ น. ปี่พาทย์ประลองเพลง ออก ( สิบสอง ) ภาษา โดยวงศิษย์สุพจน์ โตสง่า ควบคุมวงโดยขุนอิน และวงศิษย์เรืองนนท์ ควบคุมวงโดย บุญสร้าง เรืองนนท์
๑๖.๐๐ น. กล่าวนำคำนึง ถึง เสรี หวังในธรรม ผู้เติมลมหายใจให้โขนละครกรมศิลป์ กล่าวโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิราชสุดา
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ บอกกล่าวและอ่านบทกวี เสรี หวังในธรรม เอื้อเฟื้อเกื้อกูลศูนย์สังคีตศิลป์
๑๖.๓๐ น. เสวนา ลิเกกับเสรี โดยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฟห์รักษ์ ราชบัณฑิต บุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ
วันทนีย์ ม่วงบุญ ฉันทวัฒน์ ชูแหวน รำฉุยฉายลิเก
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ ร้องลิเก รำลึกถึง เสรี หวังในธรรม
๑๗.๓๐ น. เสวนา เพลงพื้นบ้านอย่างเสรี โดย อเนก นาวิกมูล ประสาท ทองอร่าม พร้อมคณะ เล่นเพลงพื้นบ้าน
๑๘.๓๐ น. ยาขอบและประวัติศาสตร์พม่า ยุคบุเรงนอง กล่าวนำละครพันทาง โดย ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการไทยศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๙.๐๐ น. ละครพันทาง เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ตอน สามแผลแค้น โดย คณะศิษย์ เสรี หวังในธรรม นำแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ปิยะนุช นาคคง รายการท่องอารยธรรมสุวรรณภูมิ ช่อง ๑๑
และ วัฒนะ บุญจับ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ร่วมดำเนินรายการตลอดงาน


ฟรี ไม่ต้องมีบัตร แถมสูจิบัตร ฟรี โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.106 วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:11:54:40 น.  

 
กองทัพเรือ ร่วมกับ สภากาชาดไทย จะจัดการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 บรรเลงโดยวงดุริยางค์ราชนาวี ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในวันที่ 19 - 20 กรกฎาคม 2550 เวลา 20.00 น. รับฟังการบรรเลงบทเพลงคลาสสิกที่หาฟังยาก บทเพลงพระราชนิพนธ์และบทเพลงไพเราะ อาทิ ใกล้รุ่ง แสงเดือน เทวาพาคู่ขวัญ อาทิตย์อับแสง ต้นไม้ของพ่อ และ ของขวัญจากก้อนดิน เป็นต้น ขับร้องโดยนักร้องรับเชิญ ได้แก่ คุณธงไชย แมคอินไตย์ คุณสุธาสินี พุทธินันท์ และคุณธีรณัยน์ ณ หนองคาย รวมทั้งบทเพลงเฉลิมพระเกียรติ "แปดสิบพรรษาองค์ราชันย์" ซึ่งประพันธ์และขับร้องโดยข้าราชการวงดุริยางค์ราชนาวี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทอดพระเนตรการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตดังกล่าว ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2550
การจัดการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตฯ จะไม่มีการจำหน่ายบัตรเข้าชมแต่อย่างใด โดยขอเชิญบริจาคเงินตามกำลังศรัทธา โดยจะบริจาคโดยระบุรายละเอียดกับทางกองทัพเรือ หรือบริจาคในตู้บริจาคหน้างานตามอัธยาศัย
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับบัตรชมการแสดงได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2465 3262 และ 0 2475 3097

ลำดับ ชื่อเพลง หมายเหตุ (ผู้ประพันธ์)
1. SYMPHONY NO.4 in A major Mendelssohn
2. I Allegro vivace -
3. II Andante con moto -
4. III Con moto moderato -
5. IV Saltarello, presto -
6. SUITE FOR SAXOPHONE (รวมเพลงพระราชนิพนธ์) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พักครึ่งเวลา
1. มาร์ชราชนาวิกโยธิน (บรรเลง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. อาทิตย์อับแสง (สุธาสินี พุทธินันทน์) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. แสงเดือน (สุธาสินี พุทธินันทน์) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. เทวาพาคู่ฝัน (ธีรนัยณ์ ณ หนองคาย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5. No Moon (ธีรนัยณ์ ณ หนองคาย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6. ภิรมย์รัก (บรรเลง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7. ใกล้รุ่ง (ธงไชย แมคอินไตย์) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8. ต้นไม้ของพ่อ (ธงไชย แมคอินไตย์) นิติพงษ์ ห่อนาค
9. ของขวัญจากก้อนดิน (ธงไชย แมคอินไตย์) นิติพงษ์ ห่อนาค
10. เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (นักร้องประสานเสียง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
11. แปดสิบพรรษาองค์ราชันย์ (นักร้องประสานเสียง)


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ //www.navy.mi.th/sctr/redcross/35/index2.php




โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.82 วันที่: 9 มิถุนายน 2550 เวลา:11:10:44 น.  

 
สวัสดีค่ะ พี่หญ้า
กลับมาเปิดบล็อกแล้วนะคะ
ไม่ได้หายไปนาน เพราะอยากเคลียร์ให้เสร็จค่ะ
พอดีมีเรื่องนิดหน่อย แต่ก็สบายๆค่ะ

พี่หญ้าสบายดีน่ะ



ดอกฟอร์ซิธเธีย (Forsythia)


โดย: law of nature วันที่: 10 มิถุนายน 2550 เวลา:3:22:30 น.  

 
ครูอู๋เล่นดีมาก เก่งจัง


โดย: ศิษ์ครู IP: 58.9.184.80 วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:13:54:44 น.  

 
พระราชทานเพลิงศพ อ.เสรี หวังในธรรม
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550 วัดตรีทศเทพ
ตั้งศพ วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550
รายละเอียดเพิ่มเติมจำไม่ได้ ขออภัยด้วย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.127 วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:6:27:52 น.  

 
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
ขอเชิญชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ตามโครงการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย

ชมฟรีตลอดงาน

ณ.เวทีลานวัฒนธรรม ศูนย์เยาวชนสะพานพระราม 9 ( ใต้สะพานแขวน ฝั่งธนบุรี ติดกับ บมจ.ธ.กสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ระหว่างซ.ราษฎร์บูรณะ 27 และราษฎร์บูรณะ 29)

การแสดงบนเวที มี 4 ครั้ง
ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน 2550 การแสดงโปงลางของโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

ครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 29 มิถุนายน 2550 การแสดงลำตัด จากคณะ หลานหวังเต๊ะ

ครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 27 กรกฏาคม 2550 การแสดงลิเกปริญญาโท พรหมสอนพรพระพรหม

ครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2550 การแสดงโขนเด็กตอนนางลอย จาก วิทยาลัยนาฏศิลป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เขตราษฏร์บูรณะ 024284747 ต่อ 6837-8


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.145 วันที่: 13 มิถุนายน 2550 เวลา:20:26:28 น.  

 
นำดอกไม้มาฝาก
ช่วงนี้ไม่รู้ดวงอาเภทอะไร มีเรื่องตลอดค่ะ อิอิ



โดย: law of nature วันที่: 14 มิถุนายน 2550 เวลา:3:37:02 น.  

 


โดย: หม๋องแหม๋ง วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:16:00:32 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ไม่ได้มาทักทายนานเลย

ยังจำกันได้ไหมคะ???

วันนี้มาส่งความคิดถึง

ขอให้มีความสุขกับวันหยุดสุดสัปดาห์นะคะ


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:19:46:58 น.  

 
พี่คะ หนูขอ รูป คุณปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ด้วยนะคะ คือว่า คุณยายหนูชอบ และหนูก็ชอบอะไรที่เป็นไทยด้วยค่ะ


โดย: เด็กเก่ง /ไม่บอก.com IP: 203.172.46.84 วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:17:13:48 น.  

 
มีรูปสะสมอยู่หลายรูป รูปบางรูปโพสท์ไว้ที่เวบบอร์ดของกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์ดนตรี หัวข้อปกรณื พรพิสุทธิ์ และหัวข้อผู้ชนะสิบทิศ แต่เป็นรูปที่ลดขนาดลงแล้ว ถ้าอยากได้รูปขนาดเต็มและจำนวนมากให้แจ้งอีเมล์มาให้หญ้าหนวดแมว
yanuadmaew@gmail.com
จะส่งทางอินเตอร์เนตให้เท่าที่จะทำได้ เพราะรูปส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่มาก
แต่ถ้าอยากได้เยอะ ก็ต้องส่งชื่อและที่อยู่มาให้ที่หญ้าหนวดแมวเหมือนกัน จะไรท์ลงซีดีส่งไปรษณีย์ไปให้


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.9 วันที่: 18 มิถุนายน 2550 เวลา:6:37:17 น.  

 
สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ถ.สามเสน เทเวศร์ กรุงเทพฯ

ขอเชิญชมนิทรรศการ เรื่อง "บูชาครูดุริยเทพ" เทพแห่งดุริยางคดนตรี เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา


ในระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง 28 สิงหาคม 2550 เวลา 09.00-16.00 น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร โดยนิทรรศการจะเป็นการรวบรวมเรื่องราวและความเชื่อเกี่ยวกับดุริยเทพ เทพแห่งดุริยางคดนตรี


ผู้สนใจเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2282-8045


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.243 วันที่: 18 มิถุนายน 2550 เวลา:18:52:03 น.  

 
ลานวัฒนธรรมสวนสุนันทา

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) จัดโครงการลานวัฒนธรรมในวันที่ 20-24 มิถุนายน 2550 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ลานหน้าอาคารสายสุทธานภดล เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย โดยกิจกรรมในโครงการประกอบด้วย นิทรรศการและการสาธิต การประดิษฐ์บายศรีผ้า แกะสลักผัก-ผลไม้ ขนมไทยมงคล การจักสานป่านศรนารายณ์ ส้มโอมือตำรับวังสุนันทา การพิมพ์ผ้าบาติก การพิมพ์ซิลค์สกรีน สปาไทย เครื่องเบญจรงค์ลายทอง การร้อยลูกปัด การผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรและโหราศาสตร์ เป็นต้น จึงขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจเข้าชมการแสดงการสาธิตกิจกรรมในวันเวลาดังกล่าว


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.146 วันที่: 20 มิถุนายน 2550 เวลา:8:04:12 น.  

 
ขอขอบคุณ คุณอญชลีมากนะคะ

หนูส่งที่อยู่ ไปที่ อี เมล

yanuadmaew@gmail.com

แล้วนะคะ


โดย: เด็กเก่ง /ไม่บอก.com IP: 203.172.46.73 วันที่: 22 มิถุนายน 2550 เวลา:20:46:59 น.  

 
สวัสดีค่ะ...

มาหาด้วยความคิดถึง


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 23 มิถุนายน 2550 เวลา:18:20:51 น.  

 
มีประโยชน์และน่าสนใจมากค่ะ น่าเอาไปตั้งทู้ที่ รสก นะคะ เผื่อผู้สนใจได้ดูมั่งค่ะ
ขอบคุณค่า


โดย: ป้าสุ (Munro ) วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:14:29:15 น.  

 
รสก คืออะไรคะ
ช่วยบอกคนแก่เชยๆหน่อยนะคะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:20:16:49 น.  

 
รายการดนตรีไทยไร้รสหรือปีที่ ๒ ครั้งที่ ๖
วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐
เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

๑การบรรเลงขับร้องถวายพระพร โดยวงดุริยางค์ไทย
๒การแสดงตำนานนิทานไทย เรื่องนาคบรรพชา บทประพันธ์ของ อ.เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ
๓การแสดงสาธิต “ทำขวัญนาคแบบโบราณ”
๔การแสดงละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอน “สุดสาครบวช”
๕การแสดงเดี่ยวปี่ ๓ เลา – สลับการบรรเลงเพลงแสนคำนึง
๖รำฉุยฉายพระอภัยมณี
๗รำฉุยฉายผีเสื้อสมุทรแปลง
๘การขับร้องเพลงปี่พระอภัย โดย ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ( ศิลปินแห่งชาติ )
๙การขับร้องเพลงคู่ขวัญ จากละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี
พระอภัยมณี – นางเงือก พระอภัยมณี – นางละเวง พระอภัยมณี – นางผีเสื้อสมุทร

ออกแบบรายการ โดย สมชาย ทับพร คีตศิลปินไทย ผู้ปฏิบัติงานดีเด่น รางวัลพระพิฆเนศทองคำของ กรมศิลปากร ๒๕๔๙

ขับร้องและแสดงโดย
วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สมเจตน์ ภู่นา มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ , ถนอม นวลอนันต์ ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ
และ ศิลปินกรมศิลปากร

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท ( เปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ก่อนวันแสดง )
นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:21:56:58 น.  

 
รายการศรีสุขนาฏกรรมปีที่ ๒๙ ครั้งที่ ๖
วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )


๑การบรรเลงโหมโรงวงปี่พาทย์ โดยวงดุริยางค์ไทย
๒รำเทิดเกียรติคุณสุนทรภู่
๓รำฉุยฉายเพลงปี่
๔ระบำสวัสดิรักษานักรบ
๕ละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอน “เพลงปี่พิฆาต”
๖ละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอน “เพลงปี่ประโลมโฉมวัลฬา”
๗ละครนอก เรื่องพระอภัยมณีตอน “พระอภัยมณีเรียนกลเพลงปี่”


กำกับการแสดง และ นำแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี ธานิต ศาลากิจ , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , สมเจตน์ ภู่นา , สมรัตน์ ( เล็ก) ทองแท้ , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินกรมศิลปากร

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท
นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:21:59:57 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ที่โรงละครแห่งชาติของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

เดือนกรกฏาคม ๒๕๕๐

โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
เลขที่ ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรศัพท์ ๐ - ๒๒๒๔ - ๑๓๔๒ , ๐ - ๒๒๒๒ - ๑๐๙๒

วันอาทิตย์๑กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงเบิกโรง ชุด ธรรมาธรรมะสงครามการแสดงละครชาดก เรื่อง พระพรหมนาท
วันอาทิตย์๘กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงเบิกโรง ชุด ธรรมาธรรมะสงคราม
การแสดงละครชาดก เรื่อง พระพรหมนาท
วันศุกร์ ๑๓กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๘.๐๐ น. รายการเพื่อผู้มีดนตรีการ ( The National Symphony Orchestra )
วันศุกร์ ๒๐กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศิลปินเพื่อศิลปากร
วันศุกร์ ๒๗กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๘กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ


โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี เลขที่ ๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖


วันเสาร์ ๗กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๔กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงเบิกโรง ชุด ธรรมาธรรมะสงครามการแสดงละครชาดก เรื่อง พระพรหมนาท
วันเสาร์ ๒๑กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงเบิกโรง ชุด ธรรมาธรรมะสงครามการแสดงละครชาดก เรื่อง พระพรหมนาท


โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา
๔๔๔ หมู่ ๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม. ๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรศัพท์ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑

วันอาทิตย์๒๒กรกฎาคม๒๕๕๐เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงเบิกโรง ชุด ธรรมาธรรมะสงครามการแสดงละครชาดก เรื่อง พระพรหมนาท


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:22:04:37 น.  

 
พี่อัญชลีคะ ความเห็นที่ 114 และ 115 แสดงเดือนพ.ค. หรือคะ เลยมาแล้วนี่คะ หรือลงเดือนผิดหรือเปล่าคะ ส่วน รสก คือ ไร้สังกัด เป็นห้องหนึ่งในเวปพันทิปค่ะ ถ้าจะลองเข้าไปดูก็ไปจิ้มที่ Link ไร้สังกัด ที่อยู่ด้านขวาล่างๆ ของหน้านี้ก็ได้ค่ะ

ทิ้งบล็อกไปนาน เดี๋ยวจะตามไปเยือนนะคะ ทั้งน้องเน หมีปุ๊ หม่องแหม่ง คุณเพียงแค่เหงา(ไม่ลืมค่ะ)

ป้าสุ คะ นานๆตัวเองจะเข้ามาที ถ้าป้าจะก๊อปไปลงที่ รสก ก็ยินดีนะคะ จะได้เผยแพร่การแสดงไทยๆ ไปในตัว เน็ตอืดมากกว่าจะไปแต่ละหน้ารอนานเลยไม่สะดวกก๊อป แต่ไม่แน่ รอลองดูที่ทำงานอาจจะเร็วขึ้น

คุณเด็กเก่ง วันนี้ไปดูอีเมล์ยังไม่มีนะคะ รบกวนส่งอีกทีค่ะ จะได้ส่งรูปคุณปกรณ์ไปให้และส่งอีเมล์ให้พี่อัญชลีอีกทีไว้ รับข่าวจากพี่เค้าโดยตรงค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยม มาอ่าน มาให้ข้อมูลนะคะ ยังไม่ได้อัพบล็อกตามเคย


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 25 มิถุนายน 2550 เวลา:3:59:14 น.  

 
ขออภัยคนแก่ด้วยค่ะ

รายการศรีสุขนาฏฏรรมและรายการดนตรีไทยไร้รสหรือทั้ง ๒ อัน เป็นรายการเดือนมิถุนายนค่ะ

ขออภัยกับคนที่ยังหลงกับอดีตด้วย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.103 วันที่: 25 มิถุนายน 2550 เวลา:5:05:21 น.  

 


ขอให้มีความสุขนะคะ คิดถึงค่ะ


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 27 มิถุนายน 2550 เวลา:15:42:08 น.  

 


ขอให้มีความสุขนะคะ คิดถึงค่ะ


โดย: เพียงแค่เหงา วันที่: 27 มิถุนายน 2550 เวลา:15:42:21 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณหญ้าหนวดแมว

หา" ไร้สังกัด" ด้านขวาล่างๆ ของหน้านี้ไม่เจอค่ะ อยู่ใน
พันธ์ทิปมาร์เก็ต หรือ พันธ์ทิพคาเฟ่
คะ ช่วยบอกอีกทีได้ไหมคะ



โดย: ใบตอง IP: 203.155.83.253 วันที่: 28 มิถุนายน 2550 เวลา:12:34:37 น.  

 
คุณหญ้าหนวดแมวคะ ขอโทษค่ะ หา ไร้สังกัด เจอแล้ว เมื่อกี้ตาลายน่ะค่ะ


โดย: ใบตอง IP: 203.155.83.253 วันที่: 28 มิถุนายน 2550 เวลา:12:45:27 น.  

 
งานพระราชทานเพลิงศพ
อาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ ที่วัดตรีทศเทพ เชิงสะพานวันชาติ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันเสาร์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม หลังจากสวดศพหมดทุกศาลาแล้วมีโขนของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ตั้ง
แต่ 20.00 น.-24.00 น.แสดงเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

วันอาทิตย์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ มีการแสดงหน้าไฟจากหลายหน่วยงาน ตั้งแต่ 13.00 น.เป็นต้นไป จนใกล้ถึงเวลาเสด็จพระราชดำเนินพระราทานเพลิงศพ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.131 วันที่: 30 มิถุนายน 2550 เวลา:20:09:39 น.  

 
The National Symphony Orchestra
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ร่วมกับ
ส่วนบริหารการดนตรี กรมประชาสัมพันธ์

เชิญชมรายการ เพื่อผู้มีดนตรีการ
ตอน ภาษาไทยกับเพลง

วันศุกร์ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๘.๐๐ น.

โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
สถาพร นิยมทอง นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดุริยางค์สากล
อำนวยเพลง

โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก ) ถ.ราชินี เขตพระนคร กรุงเทพ ฯ

เพลงจากวรรณคดีไทย ความรัก คำมั่นสัญญา ยอยศพระลอ ฯลฯ
เพลงที่ได้รับรางวัล อาลัยรัก ให้ เทพธิดาผ้าซิ่น สุดเหงา ฯลฯ
เพลงกับการใช้ภาษาไทย รักเร่ มนต์รักอสูร สิ้นรักสิ้นสุข ฯลฯ

ศิลปิน
ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ( ศิลปินแห่งชาติ ) คณบดีคณะศิลปนาฎดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ( ครุฑทองคำ ) ๒๕๔๙
ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ สมเจตน์ ภู่นา ประสิทธิ์ คมภักดี
วาณี จูทังคะ ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ ฯลฯ และ ศิลปินรับเชิญจากวงหัสดนตรี กรมประชาสัมพันธ์


บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรศัพท์ ๐ - ๒๒๒๔ - ๑๓๔๒ , ๐ - ๒๒๒๒ - ๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.148 วันที่: 2 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:20:39 น.  

 


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 3 กรกฎาคม 2550 เวลา:23:47:19 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม การแสดงเบิกโรง เรื่อง ธรรมาธรรมะสงคราม และการแสดงละครชาดก เรื่อง พระพรหมนาท

โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ , ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๑ , ๑๕ ( เลื่อนจากเดิมวันที่ ๘ ) กรกฎาคม ๒๕๕๐ และ วันอาทิตย์ที่ ๕ , ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
เลขที่ ๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
แสดง วันเสาร์ที่ ๑๔ และ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
๔๔๔ หมู่ ๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม. ๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐ ( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๖ ก.ม. ) โทรศัพท์ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.


ละครเบิกโรงเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม

ละครเรื่องนี้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้ถึงเรื่องของความดีและความชั่ว ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นธรรมะกับอธรรม ต่างฝ่ายต่างก็จะเอาชนะซึ่งกันและกันโดยเอา ประชาชนเป็นตัวกลางทั้งสองฝ่าย จะออกมาแสดงสัจธรรมของตนเองว่าดีกว่ากันให้ประชาชนเชื่อและมาอยู่ฝ่ายตนเอง
เมื่อทั้งสองมาปะทะกันต่างก็จะแสดงอำนาจของแต่ละฝ่ายว่าดีกว่ากันจนถึงขั้นต้องต่อสู้กัน ฝ่ายอธรรมมีพละกำลังมากกว่าทำท่าจะชนะ แต่ธรรมะระลึกถึงคุณความดีย่อมชนะความชั่ว ทำให้ฝ่ายอธรรมมีอันเป็นไปพ่ายแพ้แก่ธรรมะ ธรรมะจึงสอนสั่งประชาชนให้เห็นว่าคุณความดีต้องชนะความชั่ว เช่น ธรรมะย่อมชนะอธรรมเป็นสัจจะธรรมอย่างแน่นอน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทพากษ์
ปัญญา นิตยสุวรรณ ตัดทอนเรียบเรียงบท
เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์ จัดทำคำบรรยาย และเรียบเรียงบทพากษ์

ธรรมะเทวบุตร สมเจตน์ ภู่นา
อธรรมะเทวบุตร ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์

เทวดาผู้ชาย คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด สมรัตน์ ( เล็ก ) ทองแท้ สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ พงษ์ศักดิ์ บุญล้น วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์

เสนา ( แต่งยักษ์ ) ธนะพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง กฤษกร สืบสายพรหม เสมสม ( ตั้น ) พานทอง
ศุภชัย อินสว่าง วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์


ประชาชน วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชัยทัช วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ เริงศักดิ์ บุนนาค วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต สุรินทร์ เขียวอ่อน ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ พุทธิยา พลับกระสงค์

พากษ์ — เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์


การแสดงละครชาดก เรื่องพระพรหมนาถ

ผู้ประพันธ์บท เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์
ผู้บรรจุเพลง สมชาย ทับพร
ผู้ตรวจแก้ไข ชวลิต สุนทรานนท์

ในสมัยก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังเสวยพระชาติปางอุเบกขาบารมี ชื่อ พระพรหมนาถ เป็นเทพเจ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ และชาวมนุษยโลกนั้นสามารถจะระลึกชาติได้ พระเจ้าอังคติราชครองแคว้นเทหรัฐ มีพระราชธิดานามว่า พระนางรุจา ทั้งสองพระองค์ตั้งมั่นอยู่ในความดี ทำบุญทำทานอยู่เสมอมิได้ขาด
วันหนึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง พระเจ้าอังคติราชได้ไปสนทนาวิสาสะกับชีวกพราหมณ์ชีเปลือย โดยมีอำมาตย์ติดตามไปด้วย พระองค์ทรงสนทนาถามไถ่ถึงเรื่องนรกสวรรค์ว่ามีจริงหรือไม่ ชีวกพราหมณ์ทูลว่า นรกสวรรค์หามีไม่ การทำบุญทำทานไม่มีผลตอบสนอง บิดามารดาเป็นเพียงสมมุติให้เราได้มาเกิด คำพูดของชีวกพราหมณ์ได้มีอำมาตย์ผู้หนึ่งสนับสนุนและลูกศิษย์ก็ได้สนับสนุนคำพูดของชีวกพราหมณ์ และทั้งสองได้กราบทูลถึงชาติก่อน ซึ่งอำมาตย์เคยเกิดเป็นผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตโคกระบือมากมาย แต่กลับมาเกิดเป็นอำมาตย์ในชาตินี้ จึงเห็นว่าการทำบุญทำบาปไม่เป็นผล พระเจ้าอังคติราชเชื่อคำพูดของทั้งสองและ คำสอนของชีวกพราหมณ์จึงเสด็จกลับมาและไม่ทำบุญทำทานอีกต่อไป คงมัวเมาอยู่แต่ในกิเลสกามคุณและเสพสุราเป็นอาจิณ
พระธิดาจะมาขอร้องอย่างไรก็ไม่ทรงเชื่อ ถึงจะยกตัวอย่างว่าพระนางรำลึกชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ แต่ ๒ คนนั้นระลึกย้อนชาติได้เพียงชาติเดียวก็ตาม ผลสุดท้ายพระนางต้องมาสวดอ้อนวอนขอให้พระพรหมนาทเทพเจ้ามาช่วยโปรดพระบิดา พระพรหมนาทได้มาโปรดกษัตริย์อังคติราช ชี้ให้เห็นนรกสวรรค์มีจริง ผู้ทำชั่วต้องตกนรกรับทุกเวทนาต่างๆ คนทำดีย่อมได้ไปสวรรค์ พระเจ้าอังคติราชจึงลดทิฏฐิ และหันกลับมาทำบุญทำทานอย่างเดิม
คติธรรมในเรื่อง ๑. ชี้ให้เห็นผลการทำบุญทำทานมีผลและการทำชั่วก็มีผลต้องตกนรก ๒. มิให้เป็นคนเชื่อคนง่าย ควรมีเหตุผล และควรพิจารณาต่อคำพูดของคนอื่น ๓.ควรมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

รายนามผู้แสดง

พระเจ้าอังคติราชา เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
พระพรหมนาท ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
เทพบุตรแปลง ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาวหิรัญ
พระธิดารุจา นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา

อำมาตย์มานะ สุรเดช เผ่าช่างทอง
อำมาตย์อลาตะ ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
อำมาตย์วิชัย กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร

ชีวกพราหมณ์ชีเปลือย ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์

ลูกศิษย์ วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชัยทัช เริงศักดิ์ บุนนาค ประวิทย์ เรืองมาก สุรินทร์ เขียวอ่อน หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

เสนา ประวิทย์ เรืองมาก ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน เลียว คงกำเหนิด เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร กฤษกร สืบสายพรหม ศุภชัย อินสว่าง

นางระบำ มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ วนิตา กรินชัย ภวิณี( จั๊กจั่น) เดชสุภา น้ำทิพย์ ศิริมงคล มรว.รัศมีอาภา ฉัตรชัย

ชาย - หญิงในนรก พรเลิศ ( เอ็กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง จุลทรัพย์ ดวงพักตรา ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม ทรงเกียรติ์ แซ่ตั้ง ดำริ กิตติพงษ์ พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

ยมทูต วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์

การแสดงละครเบิกโรง เรื่อง ธรรมาธรรมะสงคราม
และ การแสดงละครชาดก เรื่อง พระพรหมนารท

ที่ปรึกษาด้านดนตรี จิรัส อาจณรงค์ ศิลปินแห่งชาติ
ผู้บรรเลงดนตรี
หัวหน้าวง จ.อ.สุวัฒน์ อรรถกฤษณ์
ปี่ ประดิษฐ์ หนูจ้อย
ระนาดเอก สุชีพ เพ็ชรคล้าย
ระนาดทุ้ม วรศิลป์ สังข์จุ้ย
ฆ้องวงใหญ่ พงศ์พันธ์ เพ็ชรทอง
ตะโพน นิเวศน์ ฤาวิชา
กลอง จตุพร ดำนิล
ฉิ่ง-โหม่ง จารุวรรณ ประถมปัทมะ


ผู้ขับร้อง กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ , กำจรเดช สดแสงจันทร์ ,ประจักร อยู่เจริญ , รณชัย ผาสุขกิจ ศิริญาณี กิ่มเปี่ยม , มัณฑนา ( ม้วน ) อยู่ยั่งยืน , ภมรรัตน์ โพธิสัตย์ , วันเพ็ญ จิตตรง ,
ที่ปรึกษาด้านขับร้อง ศิลปี ตราโมท , กัญญา โรหิตาจล , ดวงเนตร ดุริยพันธุ์

กำกับการแสดง—ประสิทธิ์ คมภักดี
ช่วยกำกับการแสดง อรุณศรี เกษมศิลป์ , สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสอาด , ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , ภรรตรี เอี่ยมสอาด

อำนวยการฝึกซ้อม ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ
จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , สมบัติ แก้วสุจริต พงษ์พิศ ( แต ) จารุจินดา , ณเรศ ( เปี๊ยก ) วรศะริน , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม — ธานิต ศาลากิจ
บอกบท— แพรวดาว พรหมรักษา อุษา แดงวิจิตร
ประสานงานการแสดง สลักใจ เปลี่ยนไพโรจน์ , สุวรรณี สุเสวี

กำกับเวที—ชวิน สุเสวี , ส.อ.วีรชาติ แพทย์รัตน์
ฉาก—สุธี ปิวรบุตร ,
แสง—สามารถ สารภิรมย์
เสียง—มนตรี สุวรรณ
ธุรกิจโรงละครแห่งชาติ—วัลลีย์ อ๋องสกุล
เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง—อรพินทร์ อิศรางกูร ณ.อยุธยา
จัดทำสูจิบัตร -กลุ่มวิจัยและพัฒนางานแสดง

ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต การุณ สุทธิภูล
หัวหน้ากลุ่มจัดการแสดง พัชรา ( แป๋ง ) บัวทอง
หัวหน้ากลุ่มโรงละครแห่งชาติ ยงยุทธ ไหวพริบ
หน.กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ชวลิต ( อี๊ด ) สุนทรานนท์
หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย ไพฑูรย์ เฉยเจริญ
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.32 วันที่: 6 กรกฎาคม 2550 เวลา:9:18:04 น.  

 




โดย: เด็กเก่ง/ไม่บอก@.......com IP: 203.113.45.168 วันที่: 6 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:16:53 น.  

 
มีรูปงานวันพระราชทานเพลิงศพ
อ.เสรี หวังในธรรมใน
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000571&ID_Room=00000007


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.10 วันที่: 12 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:30:43 น.  

 
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ มีลูกกี่คนคะ


โดย: เด็กเก่ง/ไม่บอก@.......com IP: 203.113.45.164 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:12:08:40 น.  

 
ถ้าจำไม่ผิด มีลูกชาย 2 คน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.215 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:35:18 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชม รายการ ศิลปินศิลปากร
ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๗
“ ดีด สี ตี เป่า ร้องรำทำเป็นเพลง ”
ออกแบบรายการ โดย สมชาย ทับพร
วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงเล็ก )


๑.การบรรเลงโหมโรงวงมโหรี
๒.การบรรเลงปี่ชนิดต่างๆ ควบคุมโดย อาจารย์ ปี๊บ คงลายทอง
๓.การแสดงละครเสภาเรื่อง “กากี”
นำแสดงโดย สมชาย ทับพร และ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
๔.การบรรเลงระนาดเอก และ ขิม
เดี่ยวระนาด ๔ ราง โดย บุญสร้าง (ปู) เรืองนนท์ และ ทวีศักดิ์ (เบิ่ง) อัครวงศ์
การประชันขิม และ ระนาดเอก ควบคุมโดย อาจารย์ ธีระ ภู่มณี
๕.การบรรเลงกู้เจิ้ง และ ซอไทย
โดย เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี และ อภิชัย พงศ์ลือเลิศ

การแสดงระบำจีน โดย ศิลปินสำนักการสังคีต
๖.การบรรเลงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ควบคุมโดย พงษ์พันธ์ เพชรทอง
การแสดงพื้นบ้านอีสาน นำแสดงโดย
ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , ไพโรจน์ ( โหน่ง ) ทองคำสุก , มนตรี แหล่งสนาม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะครึ่งราคา )
จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง โทร ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.215 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:33:33 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชมรายการศรีสุขนาฏกรรม
ปีที่ ๒๙ ครั้งที่ ๗
วันศุกร์ที่ ๒๙ กรกฏาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

๑.การบรรเลงโหมโรงวงปี่พาทย์ โดย วงดุริยางค์ไทย
๒.รำถวายพระพร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
๓.โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน “ พระขันธกุมารอาสาปราบอสูรตรีบุรำ ”
๔.ละครใน เรื่อง อิเหนา ( แต่งกายแบบชวา ) ตอน “ เข้าห้องจินตะหรา ”
๕.ละครเสภา เรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ตอน “ ขึ้นเรือนขุนช้าง-ได้นางแก้วกิริยา ”
๖.ละครพันทาง เรื่องพระลอ ตอน “ ยอยศ – จากแมนสรวง ”
๗.การแสดงละครตลก ชุด เทวดาเบญจพรรณ

กำกับการแสดง โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

นำแสดง โดย
สมรัตน์ ( เล็ก) ทองแท้ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , สมเจตน์ ภู่นา , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินกรมศิลปากร

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.215 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:35:26 น.  

 
คนแก่เลอะเทอะอีกแล้ว

ศรีสุขนาฏกรรมมีวันศุกร์ที่ 27 ก.ค.นะคะ ไม่ใช่ 29 ก.ค.


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.215 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:13:30 น.  

 
รูปสวยจังเลย




ชอบง่ะ


โดย: กำลังแฮ้ง IP: 203.113.45.168 วันที่: 18 กรกฎาคม 2550 เวลา:8:26:19 น.  

 
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับชมรมนาฏศิลป์ไทย (Thai Dance Academy) จัดโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้แก่เยาวชนไทยในสหราชอาณาจักรคืนถิ่น (อายุระหว่าง 17 – 23 ปี) ซึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเหล่านี้เป็นคนไทยที่เติบโตในสหราชอาณาจักร และมีความประสงค์จะเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของแผ่นดินแม่

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะจัดระหว่างวันที่ 22 - 31 กรกฎาคม 2550 กิจกรรมที่จัด อาทิ รับการปฐมนิเทศโดยเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวัฒนธรรม , เข้าพบนายกรัฐมนตรีและประธานคมช., ชมพิพิธภัณฑ์เรือพระที่นั่ง พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชนิเวศมฤคทายวัน, ชมทัศนียภาพกรุงเทพมหานคร , เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทยจากการแสดง (หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ , การแสดงโขน ,สยามนิรมิต) , ทัศนศึกษา ณ วัดไร่ขิง ตลาดน้ำดำเนินฯ ชมสาธิตการทอผ้า และเข้าร่วมพิธีไหว้ครู ครอบครู ณ โรงละครเล็ก กรมศิลปากร ฯลฯ

กำหนดการ(คร่าวๆ) ของคณะเยาวชนไทยจากสหราชอาณาจักรคืนถิ่น

22 กรกฎาคม 2550
เวลา 14.00-15.00 น. - รับจากสนามบินสุวรรณภูมิ
- ปฐมนิเทศ โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม

23 กรกฎาคม 2550
เวลา 09.00-11.00 น. - เข้าพบนายกรัฐมนตรี และประธานคมช.
13.00-15.00 น. - ชมพิพิธภัณฑ์เรือพระที่นั่ง
15.00-17.00 น. - นั่งรถรางชมทัศนียภาพกรุงเทพมหานคร
18.30-21.30 น. - ชมหุ่นละครเล็กคณะโจหลุยส์

24 กรกฎาคม 2550
เวลา 13.00-16.00 น. - ชมพระที่นั่งวิมานเมฆ
17.00-22.00 น. - ชมการแสดงสยามนิรมิต

25 กรกฎาคม 2550
เวลา 10.00-22.30 น. - ซ้อมและแสดง ณ โรงละครเล็ก กรมศิลปากร

26 กรกฎาคม 2550
เวลา 09.30-12.00 น. - ไหว้ครู และครอบครูนาฏศิลป์ไทย ณ โรงละครเล็ก กรมศิลปากร
13.00-16.00 น. – การแสดงจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์

27 กรกฎาคม 2550
เวลา 09.00-09.30 น. - นมัสการหลวงพ่อวัดไร่ขิง
10.00-16.00 น. - ทัศนศึกษาวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ณ หมู่บ้านไทย สวนสามพราน

28 กรกฎาคม 2550
- ชมการแสดงโขน ณ ศาลาเฉลิมกรุง

//www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9500000083865


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.17 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:32:27 น.  

 
๗ ส.ค.๒๕๕๐ งานสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำเพชรบุรี

คณะกรรมการจัดงานสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำเพชรบุรี กำหนดจัดงานขึ้นในวันที่ ๗ สิงหาคม ที่จะถึงนี้ โดยมีการเปลี่ยนสถานที่จากเดิมจังหวัดทหารบกเพชรบุรี มาเป็นริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัด

นายสยุมพร ลิ่มไทยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีกล่าวระหว่างการร่วมหารือกับคณะกรรมการจัดงานสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำเพชรบุรี ว่า ในปีนี้ทางจังหวัดได้กำหนด งานดังกล่าวขึ้นในวันที่ ๗ สิงหาคม เช่นเดิม โดยก่อนหน้านี้ได้กำหนดใช้สถานที่บริเวณท่าน้ำพระรามราชนิเวศน์ จังหวัดทหารบกเพชรบุรีเป็นสถานที่จัดงาน แต่ในปีนี้คณะกรรมการปรึกษาหารือและพิจารณาถึงความเหมาะสม เห็นควรว่าให้ใช้สถานที่จัดงานเป็นบริเวณท่าน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแทน เนื่องจากจังหวัดทหารบกเพชรบุรีเป็นสถานที่ราชการเมื่อมีประชาชนจำนวนมากเดินทางไปร่วมงานจึงยากต่อการควบคุมดูแล

สำหรับงานสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำเพชร ยึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๑ เป็นวันที่ สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีหลั่งน้ำคืนชีวิตให้แก่แม่น้ำเพชรบุรี ทางจังหวัดเพชรบุรีจึงใช้วันที่ ๗ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำเพชรบุรี

ส่วนกิจกรรมในปีนี้กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๖ -๗ สิงหาคม ในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายและที่เป็นไฮไลท์ของงาน จะมีการแสดง แสง สี เสียงหรือ ที่เรียกว่าไลท์แอนซาวด์กลางแม่น้ำเพชรบุรีด้วย ซึ่งทางจังหวัดจึงเชิญชวนพี่น้องประชาชน หน่วยงาน และส่วนราชการ ร่วมงานอย่างพร้อมเพรียงกันที่บริเวณดังกล่าว ๗ ส.ค. นี้หลังจวนงานสืบสานอนุรักษ์แม่น้ำเพชรบุรี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.17 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:36:56 น.  

 
ปี 2550นี้ กำหนดการจัดงาน 109 ปี หลวงวิจิตรวาทการ วันที่ 14-15 สิงหาคม 2550 นี้ ที่วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี อ.เมืองฯ ในวันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2550 และที่วิทยาลัยชุมชน อ.บ้านไร่ในวันพุธที่ 15 สิงหาคม 2550

การจัดงานในปีนี้เป็นปีที่ 10 ที่จัดติดต่อกันมา เพื่อเป็นการสดุดีความดีของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ “คนดีศรีอุทัย” รวมทั้งเป็นการแสดงชีวประวัติ ผลงานของท่าน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรักชาติ รักแผ่นดิน มีความสมานฉันท์และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรักชาติรักแผ่นดิน มีความสมานฉันท์และเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย

ในงานจัดให้มีการจัดนิทรรศการเผยแพร่เกียรติคุณหลวงวิจิตรวาทการ การแสดงวงออเครสต้าของกรมศิลปากร ในรูปแบบคอนเสิร์ตโดยจะเน้นความรักชาติ ความเสียสละและความสมานฉันท์ของคนในชาติ เพื่อให้ทันยุคทันเหตุการณ์ของบ้านเมืองที่ต้องการความรักชาติ ความสามัคคี ให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆ ได้แก่เพลงตื่นเถิดชาวไทย เพลงรักเมืองไทย เพลงรักชาติ เพลงใต่ร่มธงไทย เพลงต้นตระกูลไทย ซึ่งล้วนแล้วเป็นเพลงที่หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้ประพันธ์ ทั้งสิ้น และการจำหน่ายหนังสือบทประพันธ์ ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

การแสดงมี 2 รอบ คือ ในวันที่ 14 ส.ค. เวลา 13.00-15.00 น. ณ.วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี และในวันที่ 15 ส.ค. เวลา 13.00-15.00 น.ณ.วิทยาลัยชุมชน อ.บ้านไร่ โดยบรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการท่านเคยเป็นอดีตอธิบดีผู้สถาปนากรมนี้


รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องผลงานของหลวงวิจิตรวาทการในผู้จัดการออนไลน์
//www2.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000004503
//www2.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000008878
//www2.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000012598
//www2.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000016779
//www2.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000020976

ดูเนื้อเพลงปลุกใจให้รักชาติที่
//www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/thaisong/thaisonge.htm#top


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.17 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:38:07 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการ ดนตรีไทย ไร้รสหรือปีที่ ๒ ครั้งที่ ๗
วันเสาร์ที่ ๒๘ กรกฏาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

๑.การบรรเลงขับร้องถวายพระพร โดยวงดุริยางค์ไทย
๒.การแสดงเรื่อง นารายณ์สิบปาง ตอน “ มัสยาวตาร
๓.การแสดงชุดระบำเงือก
๔.การบรรเลง – ขับร้องเพลงไทยนานาพันธุ์ปลาที่ไพเราะจากนักร้องยอดนิยม
๕.การแสดงชุดไกรทองชมถ้ำนฤมิต – ปราบชาละวัน
๖.การบรรเลง – ขับร้องเพลงปลาทอง เถา พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ออกแบบรายการ โดย สมชาย ทับพร
คีตศิลปินไทย ผู้ปฏิบัติงานดีเด่น รางวัลพระพิฆเนศทองคำของ กรมศิลปากร ๒๕๔๙

นำแสดงโดย
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สมเจตน์ ภู่นา , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
และ ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท ( เปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ก่อนวันแสดง )
นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.103 วันที่: 21 กรกฎาคม 2550 เวลา:18:24:35 น.  

 
เพื่อเป็นการรำลึกถึง "ครูโจหลุยส์" สาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก ปี 2539 ซึ่งเสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคปอดและไตวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา

ทายาทของครูนำโดย พิสูตร-สุรินทร์ ยังเขียวสด ได้จัดแถลงข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก สวนลุมไนท์บาซาร์ เพื่อบอกรายละเอียดการจัดงาน "เชิดชูครูของแผ่นดิน สาคร ยังเขียวสด" โดยจะมีการจัดแสดงหุ่นละครเล็กผสมโขน ชุดพิเศษ เรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกไมยราพ ให้ประชาชนชาวไทยได้ชมกันฟรี! ถึงสองรอบ ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคมนี้ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

"โขนผสมหุ่นละครเล็กแบบนี้ คณะโจหลุยส์ยังไม่เคยแสดงที่ใดมาก่อน ผู้ชมจะได้เห็นคนสามคนเชิดประสานไปพร้อมๆ กับหุ่นขนาด 1 เมตร ซึ่งเคลื่อนไหว ร่ายรำได้คล่องแคล่วแล้วยิ่งมาปะทะบทบาทกับศิลปินรับเชิญที่เป็นครูโขนชั้นแนวหน้าของวงการนาฏศิลป์ไทย ก็ยิ่งส่งให้หุ่นมีชีวิตชีวา แล้วสาเหตุที่เราเลือก ตอน ศึกไมยราพ มาเล่น ก็เพราะตอนเริ่มเชิดหุ่นละครเล็ก พ่อจะสอนลูกๆ ทุกคนให้ฝึกโขนเรื่องนี้" พิสูตร กล่าว

สำหรับนักแสดงที่มาร่วมเชิดชูเกียรติครูโจหลุยส์ครั้งนี้ ต้องบอกว่าเต็มเวที ได้แก่ สมศักดิ์ ทัดติ รับบทเป็นทศกัณฑ์ เภตรา ศรีวรานนท์ รับบทไมยราพ วีระศักดิ์ ช้างขนุน รับบทเป็น ลิงดำ (ไมยราพแปลง) วันทนีย์ ม่วงบุญ รับบทเป็น นางพิรากวน นอกจากนี้ ก็มีศิลปินชื่อดัง เช่น ซูโม่ตุ๋ย ญาณี ตราโมท มาสร้างเสียงหัวเราะ ในฝ่าย "ตลกเสนายักษ์" ปะทะกับฝ่าย "ตลกเสนาลิง" นำโดย ถั่วแระ เชิญยิ้ม ร่วมกับคณะนักแสดงรัฐบาลหุ่น

และอีกหนึ่งไฮไลท์ คือ การเดี่ยวระนาด โดย "ขุนอิน" ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า ในบทเพลง 'แสนคำนึง' เพลงไทยเดิมที่ครูโจหลุยส์ชื่นชอบมาก ซึ่งขุนอินกล่าวว่า ในวันงานจะนำระนาด 7 ราง หรือระนาดประสานเสียงมาบรรเลงเพลงนี้ โดยเรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ และเล่นให้ครูฟังเป็นครั้งแรกด้วย งานนี้บอกได้เลยว่าตีกันแบบสุดฝีมือ

...พิสูตร กล่าวว่า ตั้งแต่พ่อจากไป แต่ลูกๆ กลับไม่ได้คิดว่าพ่อทิ้งคณะหุ่นละครเล็กไปแต่อย่างใดเลย ทุกคนยังรู้สึกว่าพ่อยัง "เฝ้าดู" อยู่ตลอดเวลา ลูกๆ หลานๆ ผู้สืบทอดจึงตั้งใจสร้างสรรค์การแสดงชุดนี้เป็นพิเศษเพื่อสืบสานหุ่นไทย แล้วการแสดงทั้งสองรอบนี้ก็เสมือนเล่นให้พ่อได้ดูในสัมปรายภพด้วย..

รับชมการแสดงชุดนี้ได้ฟรี โดยรอบ 15.00 น. เป็นรอบขององค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ให้การสนับสนุนคณะหุ่นละครเล็กโจหลุยส์มาโดยตลอด ส่วนรอบ 20.00 น. เป็นรอบประชาชนทั่วไป สำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม เป็นต้นไป ที่นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) สวนลุมไนท์บาซาร์ โทร. 0-2252-9683-4 0-2252-5227-9



โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 22 กรกฎาคม 2550 เวลา:8:29:41 น.  

 
เรามีเรื่องอยากขอร้องให้ทุกท่านช่วยแสดงความคิดเห็น
ดังต่อไปนี้เพราะเรากำลังทำโครงงานอยู่จึงอยากได้ข้อมูลไปประกอบโครงงาน
ขอบพระคุณล่วงหน้าต่อผู้ที่มาแสดงความคิดเห็น

กลุ่มสังคมวัยโจ๋

เชิญท่านมาแสดงความคิดเห็นที่

//www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=55812


โดย: กลุ่มสังคมวัยโจ๋ IP: 203.113.45.164 วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:9:06:19 น.  

 
ดูรุปการแสดง“งานเชิดชู ครูของแผ่นดิน นายสาคร ยังเขียวสด (โจหลุยส์)” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นละครเล็ก) ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย บางส่วนได้ที่

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000587&ID_Room=00000007&RecordCount=&PageSetUp=&RecordCountX=&PageSetUpX=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.67 วันที่: 30 กรกฎาคม 2550 เวลา:12:21:11 น.  

 
รายการเสียงของแผ่นดิน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) กรมศิลปากร (ศก.)
และ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ

เชิญดู หูฟัง สุดยอดเสภา สยามประเทศ โดย “ครูเสภา” ประเทศไทย
แจ้ง คล้ายสีทอง (72) ศิลปินแห่งชาติ กับ
นฤพนธ์ ดุริยพันธ์ (67) ศิลปินอาวุโส
และ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (67) ศิลปินแห่งชาติ

นำคณะครูเสภาจาก กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ( 68 )
กัญญา โรหิตาจล ( 67 )
สมชาย ทับพร (59 )
กำจรเดช สดแสงจันทร์ (41) และ ฯลฯ

ตีกรับขับเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนตีดาบ (ฟ้าฟื้น) ซื้อม้า (สีหมอก)ผ่าท้อง (บัวคลี่) หากุมาร (ทอง)
ฉบับหอสมุดแห่งชาติ “ห้ามบริการ” นานเกือบ 100 ปี ข้อหา “หยาบโลน”

สำนวนโลดโผนโจนทะยานชาญกำแหง ของ “ครูแจ้ง วัดระฆัง” กวีในรัชกาลที่ 3

ทำบท, อธิบาย, และเสวนาสารพัด โดย สุจิตต์ วงศ์เทศ
ปี่พาทย์เสภา วงศิษย์สุพจน์ โตสง่า โดย ขุนอิน โตสง่า (41)
พืธีกรตลอดรายการโดย อานันท์ นาคคง (มหาวิทยาลัยมหิดล)

ที่ ท้องพระโรง และ สวนแก้ว บริเวณ วังท่าพระ
มหาวิทยาลัยศิลปากร (ท่าช้าง หน้าพระลาน) กรุงเทพฯ
วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550 ตั้งแต่ 14:00 น. เป็นต้นไป

(กรุณาตรงเวลาปี่พาทย์เริ่มรัวประลองเสภา จะอร่อยตั้งแต่ต้นจนจบ )

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ประสพชัย แสงประภา 08-1814-0058 และ อุษา พลาศรัย 08-1454-3899

แจก สูจิบัตร เสภา มาจากไหน ? สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ
ฟรี ไม่ต้องมีบัตร เสภารสแซ่บไม่ “แอ๊บแบ๊ว”
ฟังเสภา STOP อย่าเพิ่งอ่าน เพราะวรรณคดีมีไว้ฟัง อ่านทีหลังอร่อยกว่า


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.218 วันที่: 31 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:43:28 น.  

 


The National Symphony Orchestra
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
เชิญชมรายการ เพื่อผู้มีดนตรีการ ชุด “ร้องเพลง.....เพื่อแม่”
วันศุกร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๘.๐๐ น.
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก ) ถ.ราชินี เขตพระนคร กรุงเทพ ฯ
อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงเฉลิมพระเกียรติ
ร่วมเฉลิมฉลองในวัน “ แม่แห่งชาติ ”
ร่วมขับขานบทเพลงเพื่อรำลึกพระคุณแม่ในอีกหลายบทเพลงที่ไพเราะ
สถาพร นิยมทอง นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช.


ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดุริยางค์สากล อำนวยเพลง
ขับร้องโดยศิลปินกรมศิลปากร
วาณี จูทังคะ ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ สมเจตน์ ภู่นา กนกนาถ ญาณฤทธิ์
กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
สุรพัฒน์ ชูก้าน มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู วันเพ็ญ จิตตรง
ฐาปณัฐ ธรรมเที่ยง ภมรรัตน์ โพธิ์สัตย์
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท
( จำหน่ายบัตรล่วงหน้าก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ )
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรศัพท์ ๐ - ๒๒๒๔ - ๑๓๔๒ , ๐ - ๒๒๒๒ - ๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.218 วันที่: 31 กรกฎาคม 2550 เวลา:14:36:02 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการวิพิธทัศนาชุด
ความรักของพระมิ่งแม่
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐
เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )
ถ.ราชินี เขตพระนคร กรุงเทพฯ
รายการแสดง
๑ . ขับขานถวายพระพร
๒ . นาฏกรเทิดบารมี
๓ . พระลอเรืองศรีต้องมนต์
๔ . พระคุณล้นมณโฑเทวี
๕ . เดชะบารมีองคุลีมาล
นำแสดงโดย
ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ สมเจตน์ ภู่นา
ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู ตวงฤดี ถาพรพาสี
ธนันดา มณีฉาย และ ศิลปินกรมศิลปากร
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท
( เปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ก่อนวันแสดง )
นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.37 วันที่: 1 สิงหาคม 2550 เวลา:13:08:48 น.  

 
กรมศิลปากร
ร่วมกับ
ทายาทหลวงวิจิตรวาทการ
ขอเชิญชมรายการศิลปินศิลปากร
“นักสู้ผู้พากเพียร หลวงวิจิตรวาทการ”
ชม สื่อประสม ( Multi media) ประวัติ ผลงานหลวงวิจิตรวาทการ
บรรเลงดนตรีประกอบโดย วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
อำนวยเพลงโดย สถาพร นิยมทอง
และการแสดงละครประวัติศาสตร์ เรื่องกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๑๑๒
วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )
ถ.ราชินี เขตพระนคร กรุงเทพ ฯ
นำแสดงโดยศิลปินกรมศิลปากร อาทิเช่น
ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (ศิลปินแห่งชาติ )
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ สมเจตน์ ภู่นา
วาณี จูฑังคะ ดวงดาว เถาว์หิรัญ ฯลฯ
บัตรราคา ๒๐๐ และ ๑๐๐บาท รายได้จัดตั้ง
“ กองทุน หลวงวิจิตรวาทการ เพื่อศิลปินสำนักการสังคีต ”

จำหน่ายบัตรตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
สอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่งได้ที่
๐-๒๒๒๔-๑๓๗๑ , ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒



โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.37 วันที่: 1 สิงหาคม 2550 เวลา:13:17:19 น.  

 
กำหนดการงานอนุรักษ์มรดกไทย โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ๘๐ พรรษา
“สาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพและการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุดพระพิราพ”
ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
ณ จังหวัดลพบุรี

วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐
๐๘.๐๐ น. คณะผู้เข้าร่วมโครงการเดินทางออกจากสำนักการสังคีต โดยรถบัสของสำนักการสังคีต
๑๑.๐๐ น. คณะผู้เข้าร่วมโครงการเดินทางถึงจังหวัดลพบุรี เข้าพักที่โรงแรม
๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารที่วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
๑๓.๐๐ น. ซ้อมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระพิราพ
๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น ณ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๐
๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า (โรงแรม)
๐๙.๐๐ น. ซ้อมการสาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ วิหารหลวง วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
๑๓.๐๐ น. ซ้อมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระพิราพ
๑๖.๐๐ น. ปี่พาทย์บรรเลงโหมโรงเย็น
๑๗.๐๐ น. พระสงฆ์ ๙ รูป เจริญพระพุทธมนต์เย็น ณ วิหารหลวง วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๑๘.๓๐ น. รับประทานอาหารเย็น ณ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๐
๐๖.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า (โรงแรม)
๐๗.๐๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเช้า ณ วิหารหลวง วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๐๙.๐๐ น. พิธีบูชาครู ถวายเครื่องสังเวย สาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ วิหารหลวง วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี
๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
๑๓.๐๐ น. ซ้อมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระพิราพ
๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น
๑๙.๓๐ น. ซ้อมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระพิราพ ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
๐๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า (โรงแรม)
๐๙.๐๐ น. ซ้อมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระพิราพ
๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
๑๖.๐๐ น. แต่งตัวผู้แสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระพิราพ
๑๙.๐๐ น. พิธีเปิดนิทรรศการฯ
- ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีอ่านรายงานการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ชุด พระพิราพ
- ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรีมอบสูจิบัตรและหนังสือที่ระลึก
- ประธานกล่าวเปิดนิทรรศการ/ประธานและผู้มีเกียรติชมนิทรรศการฯ
๑๙.๑๙ น. ประธานเปิดกรวยคำนับพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
๑๙.๒๙ น. ประธานจุดธูปเทียน ถวายพวงมาลัย สักการะครูพระพิราพ
๑๙.๓๐ น. ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา วนศ ลพบุรี (นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี) อ่านรายงานการจัดโครงการฯ
๑๙.๓๕ น. ประธานมอบช่อดอกไม้ เกียรติบัตร ให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีอุปการะคุณ
๑๙.๔๐ น. ประธานกล่าวเปิดงานและเปิดการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด พระพิราพ ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์

โครงการอนุรักษ์มรดกไทย “ สาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ” เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ๘๐ พรรษา
ประธานกรรมการสถานศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี,
ประธานในพิธีสาธยายท่ารำและจัดการแสดง ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และร่วมเป็นสักขีพยาน สาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ๙ ท่าน คือ
นายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี , นายสุบรรณ จิรพันธุ์วาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, นางวนิดา มโนสุจริตธรรม นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี ร.ต.ต. ดร.กฤตภาส มาเลิศกรสกุล นายกสโมสรโลตารี่ลัดหลวง , ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี, นายปริญญา อินทรการุณเวศ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลบริษัทมินิแบ จำกัด ลพบุรี นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร , นางกัลยา เพิ่มลาภ อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร , นางวัฒนา โกศินานนท์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี นายรังสรรค์ สละชีพ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, นายโอภาส กิจรัตนกาญจน์ บจก.นิยมศึกษาภัณฑ์ ลพบุรี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ //www.cdalb.bpi.ac.th/show.htm และเวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หัวข้อพิธีครอบและต่อหน้าพาทย์องค์พระพิราพ //203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000415&ID_Room=00000007&RecordCount=117&PageSetUp=1&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.108.152 วันที่: 13 สิงหาคม 2550 เวลา:10:50:07 น.  

 

กระทรวงวัฒนธรรมไทยและกระทรวงวัฒนธรรมจอร์แดน
ร่วมกันจัดกิจกรรมในงาน
สัปดาห์วัฒนธรรมจอร์แดนในประเทศไทย
โดยมีกิจกรรมประกอบไปด้วยการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน Ramtha
ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ในชุดการแสดงระบำพื้นเมืองประกอบดนตรี อาทิ ระบำเก็บเกี่ยว ระบำแรมธา
รวมทั้งการจัดฉายภาพยนตร์สั้น เกี่ยวกับจอร์แดนก่อนการแสดงในโรงละคร

อังคาร 21 สิงหาคม 2550 เวลา 19.00 น. การแสดงพิธีเปิดงานฯ ณ.หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
พุธ 22 สิงหาคม 2550 เวลา 14.00 น. ณ.โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
พฤหัสบดี 23 สิงหาคม และ ศุกร์ 24 สิงหาคม 2550 เวลา 19.00 น.ในงานมหกรรมถนนสายวัฒนธรรม 5 ภาค ณ.พัทยาใต้ จ.ชลบุรี
เสาร์ 25 สิงหาคม 2550 เวลา 19.00 น.ณ.โรงละครแห่งชาติ ถ.ราชินี เขตพระนคร กรุงเทพฯ

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมจอร์แดน ณ.ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 22 - 27 สิงหาคม 2550
ตั้งแต่เวลา 10.00 น.-18.00 น. ซึ่งเป็นการนำผลงานศิลปะร่วมสมัย Plastics Arts และภาพถ่ายของศิลปินและช่างภาพที่มีชื่อเสียง อาทิ Dana Khrais , Hilda Hiary และ Manna Durra
สำหรับงานด้านวัฒนธรรม ได้จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายพื้นเมืองและเย็บปักถักร้อย และนิทรรศการศิลปหัตถกรรมของประเทศจอร์แดนมาร่วมแสดง

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจการและขอรับบัตรชมการแสดง ฟรี
ติดต่อสอบถามได้ที่ กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม โทรศัพท์ 0-24228943-7


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.198 วันที่: 21 สิงหาคม 2550 เวลา:2:31:58 น.  

 
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=121&PageSetUp=6&RecordCountX=&PageSetUpX

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม การแสดงละครชาดก เรื่ององคุลิมาล

โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ , ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๒ , ๙ กันยายน ๒๕๕๐ และ วันอาทิตย์ที่ ๗ , ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
เลขที่ ๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
แสดง วันเสาร์ที่ ๑๑ และ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.และ วันเสาร์ที่ ๑๑ และ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
๔๔๔ หมู่ ๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม. ๒๔๒ ) บ้านดอน ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐ ( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๖ ก.ม. ) โทรศัพท์ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.

ผู้กำกับการแสดง สุรัตน์ เอี่ยมสะอาด — เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์
นำแสดงโดย
ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , ประสิทธิ์ คมภักดี , สมเจตน์ ภู่นา , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , ธนันดา มณีฉาย , กิ่งแก้ว หิรัญธยรัศมี, แพรวดาว พรหมรักษา , อุษา แดงวิจิตร , ถนอม นวลอนันต์ ร่วมด้วย อาจารย์ นักเรียน วิทยาลัยนาฏศิลป และศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อีกมากมาย

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท ( เปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ก่อนวันแสดง )
นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗


รายนามผู้แสดงละครชาดก เรื่อง องคุลิมาล ของ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
( ข้อมูลจากสูจิบัตรการแสดงที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี )

พระเจ้าปเสนทิโกศล ปกรณ์ ต๋อง วิชิต ,วัชรวัน หนู ธนะพัฒน์
คัคคพราหมณ์ปุโรหิต ศิริพงษ์ หวาน ฉิมพาลี
นางมันตานี ธนันดา มณีฉาย
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ จุลชาติ อรัณยะนาค
ภรรยาทิศาปาโมกข์ พุทธิยา พลับกระสงค์
พระองคุลิมาล ประสิทธิ์ คมภักดี
องคุลิมาล ฤทธิเทพ เอ้ เถาว์หิรัญ
อรชุน ( บุตรชายอำมาตย์ ) สมเจตน์ ภู่นา
ปัญจาบ , ปัญจา , อนิรุท ( บุตรชายอำมาตย์ ) นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป
อหิงสักกะ ( บุตรชายอำมาตย์ ) ฤทธิเทพ เอ้ เถาว์หิรัญ
มัทร,วิชชุ ,ทุหสาสน์,ศานตานุ,ปาณฑุราช,ภีมะ ( บุตรชายอำมาตย์ ) นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป
บันดู ธงชัย ไก่ สงบจิตร
ฮัดซัน วชิรพงศ์ ยนตรกิจ
คนธง นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป
พระสงฆ์ , ชายตัดฟืน สุรินทร์ เขียวอ่อน
ประวิทย์ เรืองมาก
ทหาร , นางระบำอินเดีย , ม้าลากรถ นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป
นายพราน , ชาวบ้านชาย ถนอม นวลอนันต์
ธนะพัชร์ อ้อย ขาวรุ่งเรือง
ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ
ชาวบ้านหญิง แพรวดาว พรหมรักษา
อุษา แดงวิจิตร
กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี
นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป
สัตว์ป่า : ทายาทศิลปิน : หมี—รัวฤทธิ์ , นกยูง—ออย , เสือ—ก้อง , กวาง—เบียร์ , พลอย , ลิงป่า— ตูน


บทละครชาดกของกรมศิลปากรเรื่ององคุลิมาล
เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์ จัดทำคำบรรยาย

สมัยพุทธกาล ณ กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล ซึ่งมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้น ภรรยาพราหมณ์ปุโรหิต ให้กำเนิดบุตรชายในราศีโจร จึงทำนายว่าจะกลายเป็นโจรอำมหิตฆ่าผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พราหมณ์ปุโรหิตจึงกราบบังคมทูลให้พระราชาประหารบุตรชายของตน แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้สั่งประหาร กลับให้ส่งไปศึกษาเล่าเรียน ที่สำนักทิศาปาโมกข์ ตั้งแต่เยาว์วัย และตั้งชื่อว่าอหิงสกะ
ด้วยความเป็นเด็กเฉลียวฉลาด ทำให้การศึกษาก้าวหน้ากว่าเพื่อนๆเป็นที่รักของอาจารย์และพระเจ้าแผ่นดิน ทำให้เพื่อนๆบางคนเกิดความริษยา จึงหาทางกำจัดอหิงสกะ ยุให้อาจารย์เข้าใจผิดหาว่าอหิงสกะเป็นชู้กับแม่ครูเมียของอาจารย์ อาจารย์จึงโกรธแค้นหลอกให้อหิงสกะไปฆ่าคน ๑,๐๐๐ คน เพื่อจะได้เรียนวิชาลับสูงสุด อหิงสกะเป็นคนเคารพเชื่อฟังอาจารย์ตลอดเวลาตั้งแต่เยาว์วัยมา อหิงสกะรู้ว่าครูรักตนและครูเป็นคนดียิ่งอหิงสกะจึงต้องปฏิบัติตามคำอาจารย์เที่ยวฆ่าคนล้มตายเป็นจำนวนมาก แล้วนำนิ้วมือคนมาร้อยเป็นมาลัยสวมคอจนได้ชื่อว่า”องคุลิมาล”
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ส่งทหารยกกองทัพมาปราบ ด้วยความรักของแม่ที่มีต่อลูก มารดาของอหิงสกะก็ออกติดตามหาลูกเพื่อจะเตือนให้ลูกกลับใจ องคุลิมาลได้ฆ่าทหารล้มตายลงจำนวนมากและนับนิ้วได้ว่าขาดไปนิ้วหนี่งจึงครบ๑,๐๐๐ อหิงสกะได้ยินเสียงมารดาจำไม่ได้ว่าเป็นแม่ของตนก็คิดจะฆ่ามารดาเพื่อให้ได้นิ้วครบ๑,๐๐๐แต่ทำการมาตุฆาตยังไม่สำเร็จเพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดให้องคุลิมาลกลับใจ องคุลิมาลขอบวชอยู่ในบวรพุทธศาสนาและสำเร็จพระอรหันต์ในเวลาต่อมา

แนวคิดและคุณธรรมที่ปรากฏในเรื่อง

1.ควรใช้สติปัญญาของตนเองในการพิจารณาทรรศนะต่างๆที่ได้ยินได้ฟังมาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อทรรศนะนั้นๆ
2.อย่าหูเบาเชื่อง่ายนึกเดาเอาหรือสรุปความเองว่าคงจะเป็นอย่างนี้ๆไม่ว่าจากสื่อหรือตัวบุคคลใดก็ตามโดยไม่สอบสวนให้แน่นอนก่อน
3.ให้มีใจคอหนักแน่นอดทน
4.ความอิจฉาริษยาก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
5.เมื่อทำความผิดหรือทำสิ่งใดพลาดพลั้งไปต้องกล้าที่จะยอมรับผิดและปรับปรุงแก้ไข ย่อมได้รับความเห็นใจและให้อภัย
6.ชะตาชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เราจะต้องดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาทและตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความดีงาม ย่อมจะได้รับผลดีตอบแทน
7.ทุกสิ่งที่จะได้มาเกิดจากกรรม คือการกระทำหรือการประพฤติปฏิบัติของตนเองทั้งสิ้น หาได้เกิดจากผู้อื่น สิ่งอื่น หรือวัตถุโชคลางใดๆที่มาจากภายนอกไม่
8.ความมุ่งมั่น และความตั้งใจจริงจะทำให้เราประสบความสำเร็จ แต่จะต้องมีคุณธรรม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องดีงามตามวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีของสังคม
9.การกระทำอะไรก็ตามให้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่าทำอะไรตามอำเภอใจ หรือสนุกอยู่บนความทุกข์ของผู้อื่น
10.ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด แม้ว่าลูกจะเป็นเช่นไร พ่อแม่ก็ยังรักและให้อภัย เพราะฉะนั้นพ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่จะรับฟังอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจเราเสมอ
11.ควรมีความเมตตากรุณาและให้โอกาสแก่ผู้อื่นได้กระทำความดีหรือแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด



โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.38 วันที่: 24 สิงหาคม 2550 เวลา:9:21:52 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการ ดนตรีไทย ไร้รสหรือ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๘
วันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

๑.การบรรเลงขับร้องถวายพระพร ๘๐ พรรษา โดยวงดุริยางค์ไทย
๒.การแสดงละครชุด “แม่ผู้เสียสละ”
๓.การบรรเลง-ขับร้องเพลง “แม่” จากนักร้องยอดนิยม
๔.การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน”พระรามตามกวาง”
๕.การบรรเลงและการขับร้องเพลงตับสลับออกตัว เรื่องพระลอ ตอนพระลอตามไก่

ออกแบบรายการ โดย สมชาย ทับพร
คีตศิลปินไทย ผู้ปฏิบัติงานดีเด่น รางวัลพระพิฆเนศทองคำของ กรมศิลปากร ๒๕๔๙

นำแสดงโดย
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สมเจตน์ ภู่นา , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , ตวงฤดี ถาพรพาสี , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ ,ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
และ ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท ( เปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ก่อนวันแสดง )
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒,๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒

ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.38 วันที่: 24 สิงหาคม 2550 เวลา:11:46:56 น.  

 
ใครมีรูปวันทนีย์ ม่วงบุญ และก็ ขวัญใจ คงถาวร โพสรูป ขอความกรูณาช่วยโพสรูปให้ทีนะครับ อยากได้ชอบมาก


โดย: กวน IP: 203.113.45.168 วันที่: 25 สิงหาคม 2550 เวลา:10:35:45 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ ๒๙ ครั้งที่ ๘
วันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )


รายการแสดง
๑.รำถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
๒.การแสดงประกอบเพลงเทิดพระเกียรติ
- เพลงสมเด็จพระมิ่งแม่ - เพลงนาถมาตา
๓.การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน “ พระอุมาประทานพร ”
๔.รำรจนาเสี่ยงมาลัย
๕.ละครเรื่องพระนล ตอน “ ทมยันตีสยุมพร”

กำกับการแสดง โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

นำแสดง โดย

ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , สมเจตน์ ภู่นา , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , คมสันฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด

มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี ,
สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินกรมศิลปากร

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.12 วันที่: 28 สิงหาคม 2550 เวลา:8:10:14 น.  

 
ในวันที่ 9 กันยายนนี้มีการแสดงอะไรที่โรงละครแห่งชาติที่สุพรรณคะ


โดย: คนสนใจ IP: 203.113.45.168 วันที่: 2 กันยายน 2550 เวลา:10:31:57 น.  

 
เพิ่งมาเปิด
มีโขนรามเกียรติ์ตอนปล่อยม้าอุปการ
เล่น 2 เสาร์ 9 และ 15 กันยายน 2550
และไปเล่นที่ โรงละครแห่งชาติ นครราชสีมา
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2550


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.229 วันที่: 9 กันยายน 2550 เวลา:13:47:50 น.  

 
มีรูปศิลปินกรมศิลปากรในFINEARTS WebBoard
//203.153.176.79/th/board/index.php

ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี
//203.153.176.79/th/board/show_topic.php?ID_Room=00000007

รูปภาพการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดพระพิราพ ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ศุกร์ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000623&ID_Room=00000007&RecordCount=124&PageSetUp=6&Keyword=

รูปภาพงานสาธยายท่ารำหน้าพาทย์พระพิราพ ๒๙ - ๓๐ สค ๒๕๕๐
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000622&ID_Room=00000007&RecordCount=124&PageSetUp=6&Keyword=

พิธีครอบและต่อหน้าพาทย์องค์พระพิราพ
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000415&ID_Room=00000007&RecordCount=124&PageSetUp=1&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.229 วันที่: 9 กันยายน 2550 เวลา:13:53:00 น.  

 
งานฉลองเสาชิงช้า พุทธศักราช 2550
งานฉลองเสาชิงช้า พุทธศักราช 2550
วันที่ 11-13 กันยายน 2550
ณ บริเวณลานคนเมืองและเสาชิงช้า กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 50 เวลา 11.00 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าว “การจัดงานฉลองเสาชิงช้า พุทธศักราช 2550” โดยมีคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ร่วมแถลงข่าว ซึ่งภายในงานมีการสาธิตนิทรรศการ และแสดงของที่ระลึกที่จะน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ชมด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานครได้บูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า โบราณสถานสำคัญของชาติจนแล้วเสร็จในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับราชประเพณีและบรมราชวงศ์จักรีมายาวนานตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมอายุ 223 ปี กรุงเทพมหานครจึงทำหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้าอย่างเป็นทางการ
เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้า 12 ก.ย. 50
กรุงเทพมหานครได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้าอย่างเป็นทางการ โดยเสด็จฯ มาถึงพลับพลาพิธี เวลา 17.00 น. มีกองทหารเกียรติยศถวายความเคารพ ทรงจุดธูปเทียนบูชาเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธนวราชบพิตร จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่ง พระราชทานให้พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์อัญเชิญไปสักการะเทวรูปที่เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ ก่อนจะเสด็จฯ ไปยังเสาชิงช้า เพื่อทรงพระสุหร่าย ฉีดที่เสาชิงช้า และพระราชทานผ้าสีชมพูให้กรุงเทพมหานครอัญเชิญไปผูกที่เสาชิงช้า เป็นการประกอบพิธีฉลองเสาชิงช้าอย่างเป็นทางการ โดยทั้งสองพระองค์จะเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการเรื่องราวของเสาชิงช้า ประกอบด้วย ประวัติการสร้างเสาชิงช้า และการบูรณปฏิสังขรณ์ พิธีตรียัมปวาย พิธีโล้ชิงช้า ความหมายของการช้าหงส์ และความหมายของพราหมณ์ นาลิวัน ผู้โล้ชิงช้า
น้อมเกล้าฯ ถวายของที่ระลึก
ในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ กรุงเทพมหานครได้จัดทำของที่ระลึกเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย ประกอบด้วย พระศรีศากยมุนีเนื้อทองคำ กำกับหมายเลข 1-9 จำนวน 9 องค์ พระศรีศากยมุนี เนื้อเงิน กำกับหมายเลข 1-9 จำนวน 9 องค์ พระชุดเสาชิงช้า ประกอบด้วย พระ 9 องค์ จำนวน 1 ชุด เทวรูปพระตรีมูรติ ขนาดกว้าง 12 นิ้ว สูง 88 ซม. จำนวน 1 องค์ และเสาชิงช้าจำลอง ทำจากเนื้อไม้สักทอง อายุกว่า 100 ปี ต้นเดียวกับที่ใช้ทำเสาชิงช้าต้นหลัก ขนาดย่อส่วนจากของจริง 1 : 25
11 ก.ย. วันสุกดิบ
“งานฉลองเสาชิงช้า พ.ศ. 2550” กำหนดจัดเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย. 50 โดยมีการประกอบพิธีตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เน้นให้ความรู้แก่ประชาชนถึงประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง กิจกรรมหลักภายในงานฉลองเสาชิงช้าประกอบด้วย พิธีพุทธ-พราหมณ์ พิธีเปิดงาน นิทรรศการ รถรางชมเมือง การสาธิตและการแสดงลานวิถีไทย การประกวดภาพถ่าย “มหัศจรรย์เสาชิงช้า” และมหรสพเฉลิมฉลอง
กิจกรรมงานฉลองเสาชิงช้า เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. 50 เวลา 14.00 น. พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงการสถาปนาเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกทม. กับจังหวัดแพร่ ที่ได้มอบไม้สักทองทั้ง 6 ต้น ให้กทม. มาบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า จากนั้นเป็นพิธีมอบรางวัลผู้ชนะ การประกวดภาพถ่าย “มหัศจรรย์เสาชิงช้า” ต่อเนื่องด้วยการเปิดนิทรรศการงานฉลองเสาชิงช้า และการเปิดกิจกรรมทัศนศึกษารถรางชมเมืองรอบกรุงรัตนโกสินทร์รอบปฐมฤกษ์ และเวลา 15.00 น. จะเริ่มพิธีเจริญพระพุทธมนต์ หรือสวดมนต์เย็น โดยพระราชาคณะ 10 รูป ณ บริเวณลานคนเมือง ซึ่งเป็นกิจกรรมตามธรรมเนียมไทยที่จะมีการสวดมนต์เย็นในวันสุกดิบก่อนจะมีงานใหญ่ในวันรุ่งขึ้น โดยมีการปิดท้ายด้วยการแสดงดนตรีไทยและการแสดงประชันปี่พาทย์ซึ่งหาชมได้ยาก นำโดยวงกรุงเทพมหานครและวงศ์ปี่พาทย์ ชั้นนำอีก 4 วง
12 ก.ย. วันฉลองเสาชิงช้า
วันที่ 12 ก.ย. 50 จะเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น. พิธีทำบุตรตักบาตรพระสงฆ์ 81 รูป และเปิดให้ชมนิทรรศการรอบบริเวณงาน ตั้งแต่ 09.00 น. ขณะเดียวกันก็จะมีการประกอบพิธีชุมนุมเทวดา อ่านโองการโดยครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ การรำแก้บน คณะเรืองนนท์ นำโดยครูบุญสร้าง เรืองนนท์ ศิลปินกรมศิลปากร ณ เทวสถาน โบสถ์พราหมน์ และการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เวลา 17.00-18.00 น. โดยกรุงเทพมหานครเชิญชวนประชาชนร่วมแสดงความจงรักภักดีด้วยการสวมเสื้อสีเหลืองมาร่วมเฝ้าฯรับเสด็จที่ลานคนเมือง ซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจให้ชมด้วย
จากนั้นในช่วงเย็นเวลา 18.00-22.00 น. จะมีการแสดงลานวิถีไทยและมหรสพบนเวที ซึ่งมหรสพที่นำมาแสดงนี้เป็นการรวมตัวของศิลปินแห่งชาติจากกรมศิลปากรที่หาชมได้ยาก เช่น ขับเสภา ซึ่งจะเกริ่นเรื่องสร้างพระนคร นำโดยครูสมชาย ทับพร จากกรมศิลปากร คุณนฤพนธ์ ดุริยพันธุ์ ศิลปินอิสระ การแสดงโขนชุด “สร้างพระนคร” โดยคณะโขนกรมศิลปากร ละครชาตรี เรื่อง “ระเด่นลันได” นำแสดงโดย ครูมืด (ประสาท ทองอร่าม) จากกรมศิลปากร ในช่วงเวลา 21.00-22.00 น. การแสดงหุ่นละครเล็ก ร่วมกับวงดุริยางค์ทหารบก ประกอบด้วยการแสดงทั้ง 9 ชุด ได้แก่ ระบำครุฑเฉลิมพระเกียรติ ระบำศรีชัยสิงห์ รำโนราห์ กินรีร่อน วีรชัยลิง กลองยาว-โปงลาง โจโจ้ซัง (ญี่ปุ่น) อารีดัง (เกาหลี) และการแสดงแปดนางฟ้า (จีน)
13 ก.ย. เฉลิมฉลองต่อเนื่อง
วันที่ 13 ก.ย. 50 เป็นการเฉลิมฉลองต่อเนื่องอีกหนึ่งวัน ซึ่งจะเปิดให้ชมนิทรรศการรอบบริเวณงานตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป มีการรำแก้บนที่โบสถ์พราหมณ์ ในช่วง 09.00-17.00 น. ส่วนบริการรถรางชมเมือง มีตั้งแต่ 10.00-16.00 น. จากนั้นเวลา 18.00-21.00 น. เป็นการแสดงที่น่าสนใจมาก คือ เมดเลย์ “มหรสพกรุงรัตนโกสินทร์ แรกสร้างกรุงเทพฯ ถึงปัจจุบัน” โดยมีการร้อยเรียง ละครชาตรี ลิเก ปี่พาทย์ภาษา แตรวง และลูกทุ่ง กำกับโดยครูมืด จากกรมศิลปากร ต่อด้วยการแสดงหุ่นละครเล็ก ทั้ง 9 ชุด แสดงร่วมกับวงดุริยางทหารบก จนถึงเวลา 22.00 น.
สัปดาห์ก่อนงานฉลอง
ก่อนที่จะถึงงานฉลอง กรุงเทพมหานครได้จัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดสัปดาห์ โดยในวันที่ 4 ก.ย. 50 เชิญประชาคม ผู้ประกอบการ และประชาชน ย่านเสาชิงช้า มาร่วมประชุมเพื่อขอความร่วมมือในการจัดงานฉลองและรับเสด็จ ซึ่งถือว่าประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพจัดงานครั้งนี้ด้วย
ส่วนวันที่ 5 ก.ย. 50 ทาง 5 สมาคมฯ ถ่ายภาพ จะมาชี้จุดและมุมมองการถ่ายภาพเสาชิงช้าที่สวยงาม โดยจะเชิญผู้ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดถ่ายภาพมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีการถ่ายภาพเสาชิงช้า พร้อมทั้งมีการสาธิตการถ่ายภาพคู่กับเสาชิงช้า ซึ่งจะเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานฉลอง สำหรับประชาชนที่อยากได้ภาพที่ระลึกในงานประวัติศาสตร์ และบริจาคเงินค่าภาพเข้ากองทุนเสาชิงช้า
แท้จริงแล้วการโล้ชิงช้าเริ่มต้นที่ไหน
นอกเหนือจากการจัดงานฉลองแล้ว กรุงเทพมหานครยังอยากให้เยาวชน ประชาชนชาวไทย และสื่อมวลชน ได้มีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของเสาชิงช้าว่า ต้นกำเนิดของเสาชิงช้า และพิธีโล้ชิงช้าแท้จริงนั้นมาจากไหน สมัยโบราณนั้นมีการโล้ชิงช้ากันอย่างไร โดยกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับคณะกรรมการกรุงเทพฯ ศึกษา จัดกิจกรรมเสวนา เรื่อง “โล้ชิงช้า พิธีกรรมดึกดำบรรพ์ของสุวรรณภูมิ ไม่ใช่พิธีพราหมณ์ชมพูทวีป” ในวันที่ 7 ก.ย. 50 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ซึ่งในวันนั้น ครูมืด จากกรมศิลปากร จะมาร่วมเล่าถึงความสำคัญและความน่าสนใจในการชมการแสดงมหรสพ และคำแนะนำในการชมนิทรรศการในงานฉลองเสาชิงช้า
รายละเอียดที่น่าสนใจของการจัดกิจกรรมในงานฉลองเสาชิงช้า พ.ศ. 2550 นั้น ยังมีอีกมากมาย


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:18:50:22 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชมผลงานของ นาย สมรักษ์ นาคปลื้ม นาฏศิลปินกรมศิลปากรผู้ได้รับการถ่ายทอดท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ

ในรายการศิลปินเพื่อศิลปากร ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๙
วันศุกร์ที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก ) ถ.ราชินี เชิงสพานพระปิ่นเกล้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

รายการแสดง
๑.การแสดงระบำชุดโอรสยงยศเจ้าลงกา
๒.การแสดงรำชุดอินทรชิตลงสรง
๓.การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรณพักตร์อสุรินทร์อินทรชิต

กำกับการแสดง โดยผู้ชำนาญการด้านศิลปะการแสดง กรมศิลปากร นาย สมบัติ แก้วสุจริต

นำแสดงโดย

ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร นาย จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ

ศิลปินแห่งชาติ ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์

และนาฏศิลปินชั้นนำของกรมศิลปากร

ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , สุรเชษฐ์ เฟื่องฟู , ชวลิต ( อี๊ด ) สุนทรานนท์ , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , สุรัตน์
( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด ,สมเจตน์ ภู่นา , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ ฯลฯ

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท

สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒

จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ (นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)

ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗

หมายเหตุ : บัตรทุกใบมีเก้าอี้นั่งในห้องปรับอากาศพร้อมระบุเลขที่นั่ง มีสถานที่จอดรถสำหรับผู้ชม

ดูโบชัวร์การแสดงได้ที่

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=127&PageSetUp=7&Keyword=


ดูประวัติผู้ได้รับการสาธยายหน้าพาทย์พระพิราพได้ที่

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000415&ID_Room=00000007&RecordCount=127&PageSetUp=1&Keyword=


ดูรูปภาพงานสาธยายท่ารำหน้าพาทย์พระพิราพ ปี ๒๕๕๐ ได้ที่

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000622&ID_Room=00000007&RecordCount=127&PageSetUp=6&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.50 วันที่: 19 กันยายน 2550 เวลา:0:15:35 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชมรายการศรีสุขนาฏกรรมปีที่ ๒๙ ครั้งที่ ๙
วันศุกร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

รายการแสดง
๑.การแสดงนารายณ์สิบปาง “ ปางมหัลลกอสุรวตาร ”
๒.ละครเรื่อง อิเหนา ( แต่งกายแบบชวา ) ตอน “ อิเหนาสั่งถ้ำ ”
๓.โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน “ นางสุพรรณมัจฉาจากมัจฉานุ ”
๔.ละครชาตรี เรื่องมโนห์รา ตอน “ พระสุธนจากนางมโนห์รา ”
๕.ละครเสภา เรื่องขุนช้าง - ขุนแผน ตอน “ พลายบัวพบแว่นแก้ว ”
๖.เสภาตลก ตอน “ จับผี – เข้าห้องแว่นแก้ว ”

กำกับการแสดง โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

นำแสดง โดย
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , คมสันฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ อุษา แดงวิจิตร , วนิตา กรินชัย , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ
และ ศิลปินกรมศิลปากรอีกมากมาย

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗
หมายเหตุ : บัตรทุกใบ มีเก้าอี้นั่งในห้องปรับอากาศ พร้อมระบุเลขที่นั่ง มีสถานที่จอดรถสำหรับผู้ชม

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=129&PageSetUp=7&RecordCountX=&PageSetUpX=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.244 วันที่: 28 กันยายน 2550 เวลา:7:11:53 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการ ดนตรีไทย ไร้รสหรือ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๙
วันเสาร์ที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

๑.การบรรเลงขับร้องถวายพระพร ๘๐ พรรษา โดยวงดุริยางค์ไทย
๒.การแสดงละคร เรื่องพระลอ ตอน “ เข้าห้อง”
๓.การบรรเลง – ขับร้องเพลง “ลาวต้อยตริ่ง” โดยวงดุริยางค์ไทย
๔.การขับร้องบทเพลงแห่งความรัก
๕.รำฉุยฉายฮเนา
๖.ละครเรื่องเงาะป่า ตอน “ แต่งงาน ”
๗.ระบำดอกไม้แห่งความรัก
๘.รำฉุยฉายพระเอกลิเก
๙.ละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอน “แต่งงาน”

ออกแบบรายการ โดย สมชาย ทับพร คีตศิลปินไทย ผู้ปฏิบัติงานดีเด่น รางวัลพระพิฆเนศทองคำของ กรมศิลปากร ๒๕๔๙

นำแสดงโดย
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์,ตวงฤดี ถาพรพาสี , ธนันดา มณีฉาย วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร ,นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , พรทิพย์ ทองคำ , ถนอม นวลอนันต์
และ ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อีกมากมาย

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท ( เปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ก่อนวันแสดง )

นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา สอบถามและสำรองที่นั่ง
โทรฯ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒,๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒

ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗

หมายเหตุ : บัตรทุกใบ มีเก้าอี้นั่งในห้องปรับอากาศ พร้อมระบุเลขที่นั่ง มีสถานที่จอดรถสำหรับผู้ชม

รายละเอียดรายการแสดง ดนตรีไทย ไร้รสหรือ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๙

๑ การบรรเลงขับร้องถวายพระพร ๘๐ พรรษา โดยวงดุริยางค์ไทย
สมชาย ทับพร ประพันธ์บท ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน บรรจุเพลง

๒ การแสดงละคร เรื่องพระลอ ตอน “ เข้าห้อง”
; พระลอ - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
; พระเพื่อน – สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
พระแพง – อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
; นายแก้ว – ศุภชัย อินสว่าง
; นายขวัญ – พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
; นางรื่น – เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์
; นางโรย – พิมรัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ

๓ การบรรเลง – ขับร้องเพลง “ลาวต้อยตริ่ง” โดยวงดุริยางค์ไทย
เพลงลาวต้อยตริ่งอัตรา ๒ ชั้น ของเก่า มี ๒ ท่อน นาย เพชร จรรย์นาฏย์ ชาวจังหวัดอยุธยา ครูดนตรีไทยประจำวงวังบูรพา ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ได้นำเพลงต้อยตริ่งราอัตรา ๒ ชั้น มาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา นาย จำเนียร ศรีไทยพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ ได้ประพันธ์บทขับร้องและทางขับร้อง

๔ การขับร้องบทเพลงแห่งความรัก
การแสดงชุดนี้เป็นชุดหนึ่งที่นาย สมชาย ทับพร คีตศิลปิน ๘ ว.รักษาการนักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช. หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้คิดริเริ่มขึ้น โดยให้นางสาว วันทนีย์ ม่วงบุญ นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช. เป็นผู้เลือกตัวละครเอก ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นคู่รัก คู่ขวัญฉันท์สามีภรรยา จากวรรณคดีเรื่องต่างๆและประพันธ์บทร้องขึ้น โดยนาย สมชาย ทับพร และ นาย ไชยยะ ทางมีศรี เป็นผู้บรรจุเพลง แล้วนำมาจัดแสดงในรูปแบบการขับร้องเกี้ยวพาราสี ด้วยท่วงทำนองเพลงที่มีสำเนียงภาษาตามเชื้อชาติของตัวละครที่ปรากฏอยู่ในเรื่องนั้นๆ อันได้แก่
; บทอิเหนากับนางจินตะหรา จากเรื่องอิเหนา ขับร้องโดยฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ และ กษมา (กิ๊ก ) ทองอร่าม ร้องเพลงช้าโหย สมชาย ทับพร บรรจุเพลง
; บทพ่อขุนผาเมืองกับนางสิงขรเทวี ขับร้องโดยศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ และ ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน ร้องเพลงไทยมุง-นกเขาเขมร ไชยยะ ทางมีศรี บรรจุเพลง
; บทขุนแผนกับนางพิมพิลาไลย ขับร้องโดย วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ และ นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา ร้องเพลงมุล่ง สมชาย ทับพร บรรจุเพลง


๕ รำฉุยฉายฮเนา โดย ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์

๖ ละครเรื่องเงาะป่า ตอน “ แต่งงาน ”
; ซอมลุก – ถนอม นวลอนันต์
; ยอปาน – ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
; มาเนาะ – กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี
; ฮเนา – ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
; ปองสองปองสุด - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
; รำแก้ว – เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
; ตองยิบ – ประสิทธิ์ คมภักดี
; ฮอยเงาะ – ตวงฤดี ถาพรพาสี
; ลำหับ – วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
; ไม้ไผ่ – ทรงเกียรติ แซ่ตั้ง
; เพื่อนฝ่ายชาย-หญิง – ดำริ กิตติพงษ์ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์

๗ ระบำดอกไม้แห่งความรัก
ระบำชุดนี้เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยนาย สมชาย ทับพร คีตศิลปิน ๘ ว.รักษาการนักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช. หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้คิดริเริ่ม และมอบให้นางสาว วันทนีย์ ม่วงบุญ นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช.หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้ประพันธ์บทร้อง อันมีเนื้อหากล่าวถึงความแตกต่างของชื่อ รูป รส กลิ่น สี ของดอกไม้ที่ชื่อมีความหมายแสดงถึงความรัก ซี่งมักนิยมใช้และมอบให้แก่กันในโอกาสต่างๆ ได้แก่ ดอกเบญจมาศ ดอกกุหลาบ ดอกรัก ดอกบานชื่น ดอกคาร์เนชั่น ดอกฟอร์เกตมีนอท ดอกแกลดิโอรัส และดอกบานไม่รู้โรย บรรจุเพลงโดยนาย สมชาย ทับพร และ นาย ไชยยะ ทางมีศรี สำหรับท่วงทำนองตอนท้ายนั้น นายไชยยะได้ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยยึดทำนองเพลงการะเวกของเก่า และให้ชื่อว่าเพลงการูดา ประดิษฐ์ท่ารำโดย นางสาว วันทนีย์ ม่วงบุญ ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย นาย ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี นาฏศิลปิน ๗ ว.หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ กลุ่มจัดการแสดง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดแสดงในรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๙ นี้เป็นครั้งแรก
ผู้แสดง - สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , พิมรัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , พรทิพย์ ทองคำ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , วนิตา กรินชัย

๘ รำฉุยฉายพระเอกลิเก
ลิเกนับเป็นการแสดงอย่างหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งรูปแบบการแสดงและเครื่องแต่งกาย เพลงร้อง ท่วงทำนองดนตรี ท่าร่ายรำ และตัวแสดง จึงทำให้เป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะตัวพระเอก ดังนั้น นางสาววันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช.หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จึงได้ประพันธ์บทขับร้องรำฉุยฉายพระเอกลิเกขึ้น อันมีเนื้อหาบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ดังกล่าวผ่านตัวพระเอก โดยมีนายสมชาย ทับพร คีตศิลปิน ๘ ว.รักษาการนักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช. หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้บรรจุเพลงร้อง และนาย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน ๘ ว.กลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ และรำ ในรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๙ นี้เป็นครั้งแรก

๙ ละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอน “ แต่งงาน ”
สมิงพระราม นายทหารกรุงหงสาวดี ถูกจับเป็นเชลยศึกที่กรุงอังวะ ขณะนั้นกรุงอังวะมีศึกสงครามกับพวกทหารจีน ซึ่งมีพระราชสารมาท้าพนันให้รำเพลงทวนสู้กันตัวต่อตัว ถ้าฝ่ายอังวะแพ้ จะถูกริบเมือง แต่ถ้าฝ่ายพระเจ้ากรุงจีนแพ้ก็จะถอยทัพกลับไป เมื่อสมิงพระรามทราบเรื่องจากการป่าวประกาศจึงอาสาเข้ารบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกันศึกมิให้ไปถึงกรุงหงสาวดี หลังจากที่สมิงพระรามอาสาเข้ารำทวน และฆ่ากามนีทหารของพระเจ้ากรุงจีนตายแล้ว พระเจ้ากรุงอังวะได้พระราชทานพระธิดาของพระองค์ให้
; พระเจ้ากรุงอังวะ – เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
; มเหสี – ธนันดา มณีฉาย
: พระราชธิดา – นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
; สมิงพระราม – วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ
; อำมาตย์ – เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
; โหร – ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
; พราหมณ์ – วัชรวัน ( หนู ) ธนะทรัพย์ , ศุภชัย อินสว่าง
; นางกำนัลพม่า – เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , พรทิพย์ ทองคำ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา
; ทหารพม่า – จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ดำริ กิตติพงษ์ , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , ทรงเกียรติ แซ่ตั้ง

ผู้บรรเลง - ขับร้อง

หัวหน้าวง ไชยยะ ทางมีศรี
ปี่ สิงหล สังข์จุ้ย
ระนาดเอก สุรสิทธิ์ เขาสถิตย์
ระนาดทุ้ม ไพรัตน์ จรรย์นาฏย์
ฆ้องวงใหญ่ กิตติศักดิ์ เขาสถิตย์
ฆ้องวงเล็ก ถาวร ภาสดา
ตะโพน ปิยะ แสวงทรัพย์
กลอง ชัยพฤกษ์ สิทธิ , จตุพร ดำนิล
ฉิ่ง กรับ โหม่ง อัษชิษฐา บุญเพ็ง , นงลักษณ์ แก้วนุช
ซออู้ สุริยะ ชิตท้วม
จะเข้ อภิชัย พงษ์ลือเลิศ
ขับร้อง สมชาย ทับพร , สมบัติ สังเวียนทอง, กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ , กำจรเดช สดแสงนทร์ , กัญญา โรหิตาจล , นิรมล นุชทรัพย์ , นิษา ถนอมรูป , สุกัญญา กุลวราภรณ์

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=129&PageSetUp=7&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.244 วันที่: 28 กันยายน 2550 เวลา:7:14:48 น.  

 
กฐินพระราชทาน กรมศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๕๐
ณ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตำบลบางสีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

วันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
ณ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
เวลา ๑๐.๐๐ น. อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประดิษฐาน ณ. ศาลาแดงด้านทิศตะวันออก
เวลา ๑๘.๓๐ น. ข้าราชการ แขกผู้มีเกียรติ ประชาชน พร้อมกัน ณ วัดเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วมกันรับประทานอาหารเย็น
เวลา ๑๙.๐๐ น. ประธานฯประกอบพิธี พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ กรวดน้ำ รับพร
เวลา ๒๐.๐๐ น. เริ่มพิธีสมโภชองค์พระกฐินพระราชทาน ชมการแสดงโขนของกรมศิลปากร

วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เชิญล่องเรือทัศนศึกษาชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย คลองอ้อม
พร้อมร่วมพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน และเที่ยวต่อ เกาะเกร็ด ชมวัดริมคลอง ๘๙ วัด
เวลา ๐๖.๓๐ น. ลงเรือที่ท่าเรือใต้สะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนครชมทิวทัศน์คลองบางกอกน้อย
เวลา ๐๗.๐๐ น. ขึ้นชมสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังวัดนายโรง
เวลา ๐๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้าในเรือ
เวลา ๐๙.๐๐ น. ชมวัดริมฝั่งคลองบางกอกน้อย
ชมตลาดน้ำบางคูเวียง
ชมตลาดน้ำบางใหญ่
ชวนชิมขนมพื้นบ้านของจ.นนทบุรี
ชมวัดริมคลองอ้อม
เวลา ๐๙.๓๐ น. ถึงวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
เวลา ๐๙.๔๙ น. ร่วมขบวนแห่ผ้าพระกฐินพระราชทาน
ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
รับประทานอาหารกลางวัน ณ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
ชมโบราณสถานและอุทยานฯในบริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติ
เวลา ๑๓.๐๐ น. ออกเดินทางไปเกาะเกร็ด ชมวัดสองฝั่งน้ำเจ้าพระยา
เวลา ๑๓.๔๕ น. ขึ้นชมวัดแสงสิริธรรม และตลาดน้ำ
เวลา ๑๔.๑๕ น. ชมวัดใหญ่สว่างอารมณ์
รับประทานอาหารว่าง
เวลา ๑๔.๓๐ น. ขึ้นชมเกาะเกร็ดที่ท่าวัดไผ่ล้อม ชมวัดรอบเกาะเกร็ด ๕ วัด
เวลา ๑๖.๓๐ น. ออกจากเกาะเกร็ด ชมวัดสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เวลา ๑๘.๐๐ น. ถึงท่าน้ำสะพานพระปิ่นเกล้า
บัตรล่องเรือทัศนศึกษา ในวันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
( เรือลำใหญ่ ลักษณะแบบเดียวกับเรือด่วนเจ้าพระยา จัดให้นั่งแค่ลำละ ๕๐ คน )
บัตรราคาใบละ ๒๕๐ บาท
จองที่นั่งได้ที่สำนักเลขานุการกรมศิลปากร
นาย อนันต์ พุ่มแจ่ม ๐-๒๒๒๕-๒๖๕๒ , ๐๘-๙๖๖๐-๒๕๔๔
นาง วรานี เนียมสอน ๐-๒๒๒๔-๒๐๕๐ , ๐๘-๑๖๑๗-๘๐๐๙
น.ส.จำลอง แจ่มนาม ๐-๒๒๘๐-๖๔๐๙-๑๑ , ๐๘-๙๑๑๑-๓๘๑๔



โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.37 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:21:47:48 น.  

 
เจษฎา สังข์วิเศษ นาฏศิลปิน(โขนยักษ์ ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ถึงแก่กรรมด้วยวัยเพียง ๔๐ ปี เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ สวดศพที่วัดสนามชัย อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง และจะพระราชทานเพลิงศพ ในวันอังคารที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ นี้

กรมศิลปากรและคนไทยเราเสียศิลปินโขนฝีมือเยี่ยมไปอีกคนหนึ่งแล้วอย่างน่าเสียดาย เจษฎาเป็น ทศกัณฐ์ ที่เล่นโขนได้เนี๊ยบมาก

รูปของเจษฏาในบล๊อกนี้ดูได้จาก รูป "เมื่อยักษ์ถอดรูป"ใน การแสดงโขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามาวตาร เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2549 เจษฏาคือคนที่ใส่ชุดสีม่วงยืนอยู่ริมขวาสุด

ถ้าจะดูรูปอื่นๆมีรูปบางส่วนอยู่ที่เวบบอร์ดของกรมศิลปากร

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000691&ID_Room=00000007

ขอให้ไปดีเถอะนะ เจษฎา ไปอยู่กับครูๆทั้งหลายบนชั้นฟ้า ที่เหล่าศิลปินบูชากันอยู่เป็นนิจสิน




โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.100 วันที่: 6 ตุลาคม 2550 เวลา:7:10:45 น.  

 
ได้รูปของหญ้าหนวดแมวไปลงใน//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000691&ID_Room=00000007
8 รูป รูปชัดมาก ขอบคุณค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.9 วันที่: 7 ตุลาคม 2550 เวลา:18:52:26 น.  

 
กิจกรรมเรือนบรรเลง ครั้งที่ 4 “วาดฝันปั้นแผ่นดิน”
โครงการศาสตร์แห่งศิลป์อัครศิลปินเทิดไท้ 80 พรรษาองค์ราชัน
วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2550 เวลา 17.30 น. - 20.00 น.

มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมในโครงการศาสตร์แห่งศิลป์อัครศิลปินเทิดไท้ 80 พรรษาองค์ราชัน ทุกเย็นวันเสาร์ ณ เรือนบรรเลง ที่ตั้งของมูลนิธิฯ โดยกิจกรรมในครั้งที่ 4 “วาดฝันปั้นแผ่นดิน” ในวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2550 นี้

ศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี และอาจารย์ชูศักดิ์ วิษณุคำรณ ร่วมเสวนาหัวข้อศิลปะเทิดพระเกียรติ และตัวอย่างการวิจารณ์งาน พร้อมดนตรีจากศิลปินรับเชิญ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ และวงคันนายาว


กิจกรรมในโครงการ “ศาสตร์แห่งศิลป์อัครศิลปินเทิดไท้ 80 พรรษาองค์ราชัน” ประกอบไปด้วยห้องนิทรรศการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านศิลปวัฒนธรรม และดนตรี ส่วนลานกิจกรรมเรือนบรรเลง มีการเสวนา การแสดงดนตรีจากศิลปินรับเชิญ พร้อมแจกหนังสือ “ศาสตร์แห่งศิลป์อัครศิลปิน” ฟรี

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทุกเย็นวันเสาร์ ตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2550 ณ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เลขที่ 47 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

ดูรายละเอียดกำหนดการตลอดโครงการได้ที่ //www.luangpradit.org

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-2619-7304, 086-9888011, 081-5282782 และ 081-5586083


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.104 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:6:54:25 น.  

 
รายการกิจกรรมของเรือนบรรเลง

อาทิตย์30 กันยายน 2550 18.00 – 20.00 น.
ชีวิตพอเพียงของคนกรุง
- เสวนาหัวข้อ “บนเส้นทางชีวิตพอเพียง” คุณวิลิต เตชะไพบูลย์
- ศิลปินบรรเลงบทเพลงการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน คุณมนตรี ศรียงค์ กวีซีไรต์ 2550
โดยยึดแนวพระบรมราโชวาท “ชีวิตพอเพียง” คุณประทีป ขจัดพาล

เสาร์ 6 ตุลาคม 2550 18.00 – 20.00 น.

ดนตรีให้อะไรกับชีวิต ดร.ปัญญา รุ่งเรือง
- เสวนาหัวข้อ “ดนตรีไทยให้อะไรกับชีวิต” กุลพงษ์ นาคน้อย
- ศิลปินบรรเลงบทเพลงเนื้อหาวิถีชีวิตไทย ชูเกียรติ ฉาไทสง

เสาร์13 ตุลาคม 2550 18.00 – 20.00 น.

วาดฝันปั้นแผ่นดิน ศาสตราจารย์กิตติคุณกำจร สุนพงษ์ศรี
- เสวนาหัวข้อ “วาดฝันปั้นแผ่นดิน” อาจารย์ชูศักดิ์ วิษณุคำรณ
ตัวอย่างงานศิลปะเทิดพระเกียรติ พร้อมวิจารณ์งาน วงดนตรีคันนายาว

เสาร์ 20 ตุลาคม 2550 18.00 – 20.00 น.

อัครศิลปินเพลงพระราชนิพนธ์ ศ. ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
- เสวนาหัวข้อ ”อัครศิลปินเพลงพระราชนิพนธ์” ดร.ภาธร ศรีกรานนท์
- ศิลปินบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ และวงดนตรีสากล

เสาร์ 27 ตุลาคม 255018.00 – 20.00 น.

สืบสานวัฒนธรรม 4 ภาค กองการสังคีต สำนักวัฒนธรรม
- การแสดงเอกลักษณ์ประจำภาค 4 ภาค กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพฯ
มูลนิธินาฏศิลป์สัมพันธ์


เสาร์3 พฤศจิกายน 2550 18.00 – 20.00 น.

ชีวิตคือละคร ครูช่าง - ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง
- เสวนาหัวข้อ “ชีวิตคือละคร” ชมละครพอเพียง คณะละครมรดกใหม่

เสาร์10 พฤศจิกายน 2550 18.00 – 20.00 น.

วัง-วัด วัฒนธรรมไทย อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ
" - เสวนาหัวข้อ “วัง-วัด วัฒนธรรมไทย”
" สมาคมสถาปนิกสยาม
- วงดนตรีเยาวชนบรรเลงบทเพลงเทิดพระเกียรติ ชมรมมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะฯ

เสาร์17 พฤศจิกายน 2550 18.00 – 20.00 น.

ดนตรีบทเพลงพระราชนิพนธ์ เยาวชนผู้ชนะเลิศประกวด
- เยาวชนผู้ชนะเลิศการประกวดขับร้อง ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์
เพลงพระราชนิพนธ์ สัมภาษณ์ พร้อมขับร้องเพลง วงสยามชาโดว์

เสาร์1 ธันวาคม 2550 18.00 – 20.00 น.

ดนตรีสานสายสัมพันธ์ ครอบครัว ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ
- ครอบครัววิทยากรเสวนาพร้อมบรรเลงเพลง ครอบครัวคุณอี๊ด ฟุตบาท
หัวข้อ "ดนตรีสานสายสัมพันธ์"

เสาร์8 ธันวาคม 2550 18.00 – 20.00 น.

ดนตรีกับชีวิตไทย ๆ วงปี่พาทย์ศิษย์เรืองนนท์
" - เสวนาหัวข้อ “เสภาพาเพลิน” "
- ดนตรีไทยประกอบเสภาตอนขึ้นเรือนขุนช้าง

เสาร์15 ธันวาคม 2550 18.00 – 20.00 น.

สักวา พ.ศ. พอเพียง
" - สาธิตสักวาหัวข้อ “สักวา พ.ศ. พอเพียง”
" วงกอไผ่
- บรรเลงดนตรีไทยประกอบการสาธิตสักวา สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.144 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:22:34:20 น.  

 
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

//www.theprincessmothermemorialpark.org/system_th/news.php

ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด

จัดงาน “น้อมรำลึกถึงสมเด็จย่า ณ นิวาสสถานเดิม” ขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 20-21 ตุลาคมนี้ เนื่องในโอกาสวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2550 เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ 107 ปี ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ชมฟรี
รายการแสดง วันที่ ๒๐ ตุลาคม
เป็นการแสดงโขนของกรมศิลปากร และการแสดงดนตรีของมูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ

รายการแสดง วันที่ ๒๑ ตุลาคม
เป็นการแสดงหุ่นละครเล็กและการแสดงดนตรีสากลของวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร

หนังสือที่ระลึกจะแจกวันละ ๒ รอบ ในเวลา ๑๐.๐๐ น.และ ๑๔.๓๐ น.

ดูแผนที่อุทยานได้ที่ //www.theprincessmothermemorialpark.org/organizetion.htm

มีรูปภาพชุดพระราชพิธีพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่
//www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/PMother/MainPMother.htm


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.144 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:23:01:54 น.  

 
ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์ ) เป็นประธานจัดงานทอดกฐินสามัคคี เพื่อสมทบทุนก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ จำนวน ๓ หลัง และเป็นกองทุนการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร ณ.วัดหนองขุ่น ต.ยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี วันที่ ๒๗-๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๐

เนื่องด้วยวัดหนองขุ่น หมู่ที่ ๑๑ ต.ยางโยภาพ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เป็นวัดที่มีสำนักเรียนพระปริยัติธรรม ๓ แผนก คือ
พระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่นักธรรมชั้น ตรี-เอก
พระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่ ไวยากรณ์-เปรียญธรรม ๔ ประโยค
พระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

ซึ่งในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีการศึกษา ๒๕๕๐ นี้ มีพระภิกษุสามเณรจำนวน ๒๗๘ รูป ทำให้ที่พักอาศัยไม่เพียงพอ

ทางวัดและคณะกรรมการได้ประชุมปรึกษาหารือว่าจะมีโครงการสร้างที่พักพระภิกษุสามเณรหลังใหม่ มีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๓ เมตร สูง ๒ ชั้น อาคารทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๓ หลัง

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการของโครงการสร้างกุฏิหลังใหม่และส่งเสริมการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จึงจัดทำกฐินสามัคคีขึ้น และอีกอย่างเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามว่าด้วยการทอดกฐิน

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
๑๙.๐๐ น. สวดกองกฐิน

วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๐ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑
๑๐.๐๐ น. ทำพิธีถวายกองกฐิน
๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารพระภิกษุ-สามเณร

ผู้ประสงค์จะเดินทางไปทอดกฐินด้วยตนเอง
ทางคณะกรรมการได้จัดรถทัศนาจรบริการ
โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่านละ ๓,๐๐๐ บาท

ขออานิสงส์แห่งกุศลกรรมในครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ท่านสาธุชนทั้งหลายที่ร่วมเป็นเจ้าภาพจงประสพความสุขความเจริญ ถึงพร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกประการเทอญ



โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.143 วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:8:53:58 น.  

 
มนตรี วัดละเอียด ร่วมกับศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ จัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เรื่อง “หน้าโขน”ขึ้น

โดยหนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมเรื่องราวของศิลปะการแต่งหน้าโขนตั้งแต่อดีตกระทั่งถึงปัจจุบัน นับเป็น 1 ใน 3 ของหนังสือชุดเฉลิมพระเกียรติประกอบด้วย “วิวัฒนาการเครื่องแต่งกายโขน-ละคร สมัยกรุงรัตนโกสินทร์” และ “ จดหมายเหตุสร้างเครื่องแต่งกายโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพรหมมาสตร์

โดยจะเปิดตัวและจำหน่ายหนังสือชุดนี้ประมาณต้นเดือน ธันวาคม 2550 พร้อมกับการแสดงโขนรามเกียรติ์ตอนพรหมาศ ระหว่างวันที่ 26-28 ธันวาคม 2550 ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รายได้จากการจำหน่ายหนังสือและจัดงานมอบสมทบทุนมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษ


ทางด้าน น.ส. อรพินท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าฝ่ายพัตราภรณ์และเครื่องโรงสังกัดสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการแสดงโขนที่จะมีขึ้นในวันเวลาดังกล่าวมี ครูกำกับรับผิดชอบด้วยกัน 3 คน ได้แก่ อาจารย์นงลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อาจารย์วันทนีย์ ม่วงบุญ และอาจารย์เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์ พร้อมนักแสดงจากกรมศิลปากรทุกรุ่นร่วมกว่า 100 คน มาแสดงร่วมกัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่

//www.siamrath.co.th/Entertain.asp?ReviewID=182020

//www.naewna.com/news.asp?ID=76777

//www.yingthai-mag.com/detail.asp?ytcolumnid=3093&ytissueid=624&ytcolcatid=1&ytauthorid=1

//www.mediathai.net/module/chic/beauty_society.php?board_id=47


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.143 วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:9:13:17 น.  

 
นายสถาพร นิยมทอง หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ( The National Symphony Orchestra )

กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2550 เป็นปีแห่งการรณรงค์ภาษาไทยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน เด็ก และเยาวชน ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องนั้น ทางกลุ่มดุริยางค์สากล ได้จัดกิจกรรมรณรงค์การใช้ภาษาไทยสู่เด็กและเยาวชนโดยใช้ดนตรีและเสียงเพลง เป็นตัวชักจูงความสนใจภายใต้โครงการ “ภาษาไทย ภาษาเพลง” ซึ่งตนได้นำดนตรีสากลพร้อมวิทยากรจากราชบัณฑิตยสถานไปจัดแสดงดนตรี และให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยตามโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เด็กรู้จักและร้องเพลงอย่างถูกต้องตามหลักภาษาไทย รวมทั้งจะได้เรียนรู้ถึงเนื้อหาของเพลงโดยให้ครู และเด็กร่วมกันวิเคราะห์เนื้อหาของเพลงด้วย

ภาคเรียนที่ 1/2550 ได้นำดนตรีไปจัดแสดงในโรงเรียนกว่า 10 โรงแล้ว และภาคเรียนที่ 2 เราก็จะทำโครงการต่อเนื่อง โดยจะไปเดือนละ 2 โรงเรียน หากโรงเรียนใดสนใจที่จะให้ทางกลุ่มดุริยางค์สากลไปจัดแสดงสามารถติดต่อมาได้ที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร โทร. 0-2224-1379 ต่อ 507 หรือที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ กระทรวงวัฒนธรรม โทร. 0-2422-8851-7 นายสถาพรกล่าว


ดูข้อมูลบางส่วนของวงดนตรีThe National Symphony Orchestra ได้ที่

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?RecordCount=147&PageSetUp=4&RecordCountX=28&PageSetUpX=2&ID_Room=00000007&ID_Topic=00000411


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.231 วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:9:50:08 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ ๒๙ ครั้งที่ ๑๐
วันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )
รายการแสดง
๑ รำอาศิรวาทราชสดุดี “สมเด็จพระปิยะมหาราช”
๒ โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน “พิเภกพิพากษาโทษนางเบญกาย”
๓ ระบำศิลปาชีพ
๕ ละครเรื่องเงาะป่า ตอน “ แต่งงาน ”
๖ ละครเรื่องอาบูฮะซัน ตอน “เพื่อนกินสิ้นทรัพย์แล้วแหนงหนี”
กำกับการแสดง โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน ๘ ว.กลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

นำแสดง โดย
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , สุรเชษฐ์ เฟื่องฟู , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , สมเจตน์ ภู่นา , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ธานิต ศาลากิจ , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร ,
สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินกรมศิลปากรอีกมากมาย

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗
หมายเหตุ : บัตรทุกใบ มีเก้าอี้นั่งในห้องปรับอากาศ พร้อมระบุเลขที่นั่ง มีสถานที่จอดรถสำหรับผู้ชม

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=148&PageSetUp=8&RecordCountX=&PageSetUpX=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.10 วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:19:33:05 น.  

 

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการ ดนตรีไทย ไร้รสหรือ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑๐
วันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )
๑ การบรรเลงขับร้องถวายพระพร โดยวงดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
๒ ระบำจีน
๓ ละคร เรื่องสามก๊ก ตอน “ รักสามเส้าของเตียวเสี้ยน”
๔ การขับร้องเพลงรักสามเส้า จากเรื่องนางสร้อยดอกหมาก
๕ ระบำลาว
๖ ละครเรื่องพญาผานอง ตอน “ รักสามเส้าของนางอั้วสิม”
๗ การขับร้องเพลงรักสามเส้า จากเรื่องท้าวคูลูกับนางอั้ว
๘ การบรรเลงเดี่ยวระนาด ๖ ราง โดยวงดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
๙ ระบำไทยใต้
๑๑ การขับร้องเพลงรักสามเส้า จากเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน
๑๒ ละครเรื่องตาม่องล่าย ตอน “รักสามเส้าของยมโดย”

ออกแบบรายการ โดย นาย สมชาย ทับพร หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทยคีตศิลปินไทย ผู้ปฏิบัติงานดีเด่น รางวัลพระพิฆเนศทองคำของ กรมศิลปากร ๒๕๔๙

นำแสดงโดย
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , สมเจตน์ ภู่นา , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู ,
เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , ถนอม นวลอนันต์ และ ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อีกมากมาย

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท ( เปิดจำหน่ายบัตรล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ก่อนวันแสดง )
นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒,๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗
หมายเหตุ : บัตรทุกใบ มีเก้าอี้นั่งในห้องปรับอากาศ พร้อมระบุเลขที่นั่ง มีสถานที่จอดรถสำหรับผู้ชม

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=148&PageSetUp=8&RecordCountX=&PageSetUpX=



โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.10 วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:19:38:23 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ได้ลดจำนวนรายการแสดงที่โรงละครแห่งชาติลงหลายรายการ เพราะมีการก่อสร้างปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบๆโรงละคร ต้องปิดพื้นที่ใช้งานไปเป็นจำนวนมาก
ทำให้ไม่สดวกทั้งทางสำนักการสังคีตและผู้ที่มาชมรายการแสดงของสำนักการสังคีต และจะต้องหยุดรายการแสดงทั้งหมดไปชั่วคราวกลางปีหน้า
โดย โรงละครแห่งชาติ ( โรงเล็ก ) กรุงเทพฯ จะเปิดใช้ถึง ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑ และจะเริ่มปิดตั้งแต่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จนถึง วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑

โรงละครแห่งชาติ ( โรงใหญ่ ) มีกำหนดเปิดใช้ได้กลางปี ๒๕๕๒

การแสดงที่สังคีตศาลาปี ๒๕๕๐ นี้จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000715&ID_Room=00000007


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.10 วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:19:40:23 น.  

 
สีในนาฏกรรมโขน 7/6/2550

//www.siamrath.co.th/Education.asp?ReviewID=175269

หลายคนชื่นชอบการแสดงโขน ที่มีตัวละคร พระ, นาง, ยักษ์, หนุมาน ที่มีลีลาเยื่องย้ายร่ายรำอย่างนวยนาดไปตามอารมณ์เศร้าโศก ปิดหน้าร้องไห้ ทุบอกเสียใจ โลดเต้นท่าทางรื่นเริง และขึงขังเมื่อโกรธ ไปตามบทละครที่แต่งขึ้น

นอกจากที่เกริ่นมาแล้ว ที่โดดเด่นและถือเป็นเอกลักษณ์เอกบุรุษของโขนทีเดียว ก็คือชุดโขน ซึ่งเสื้อผ้าโขนที่เหล่านักแสดงสวมใส่กันนั้นก็มีลักษณะเฉพาะ อันบ่งบอกถึงตัวละครนั้นๆ ไม่เพียงเท่านั้น “สี” เครื่องแต่งกายของตัวละครก็ยังบอกความหมายอีกด้วย ทำไมตัวละครจึงใส่เสื้อสีแดง สีเขียว ฯลฯ

ในที่นี้เราจะพาคุณไปรู้จัก “สี ในศาสตร์นาฏศิลป์” ในงานวิจัยของคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จัดสัมมนาวิชาการขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ คุณประเมษฐ์ บุณยะชัย ครูผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร อธิบายว่า “สี ในศาสตร์นาฏศิลป์ หรือจะเรียกให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น คือ จารีตเรื่องสีในนาฏกรรมก็ว่าได้”

ประเมษฐ์ ได้ย้อนไปถึงที่มาของนาฏศิลป์ไทยว่า จะเกิดแต่ครั้งใดแรกเริ่มนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏชัด แต่น่าจะมีมาแล้วไม่น้อยกว่า 700 ปี เมื่อครั้งกรุงสุโขทัย เพราะเหตุที่มีจารึกว่า “ระบำรำเต้นเล่นทุกฉัน” แต่นาฏศิลป์ที่เป็นต้นกำนิดของ “โขน” เกิดขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หรือกว่า 400 ปีมาแล้ว เมื่อครั้งผนวกอาณาจักรขอมเข้ามาไว้กับสยาม (ไทย) นำความเชื่อระบบเทวราชาว่าพระมหากษัตริย์ คือ สมมติเทพ เข้ามาใช้เป็นหลักในรูปแบบการปกครอง

ในลัทธิเทวราชา ย่อมมีการบำเรอด้วยการขับร้องฟ้อนรำ และในตำนานของเทพเจ้ามีการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการแต่งกายเป็นอสูร, เทวดา, วานร ฯลฯ ต่อมาพัฒนาเป็นรูปแบบการแสดงโขน ดังปรากฏหลักฐานในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

กล่าวได้ว่า ละครนั้นมีทั้งละครนอก ที่ชาวบ้านทั่วไปแสดงเพื่อความรื่นเริง และละครในที่เป็นเรื่องราวของราชสำนัก เช่น โขนใช้แสดง คือ เรื่องรามเกียรติ์ ชุด รามสูรเมขลา ต่อมาได้แสดงเรื่องอื่นๆ เช่น อุณรุท และอิเหนา ซึ่งได้เค้าเรื่องมาจากนิทานของชวา

กระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิก เนื่องจากโขน ละครใน ละครนอกแบบหลวง (ใช้ผู้หญิงแสดง) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ดังนั้น จึงมีจารีตต่างๆ เป็นเครื่องกำหนด โดยเฉพาะจารีตสี อันตามความเชื่อเป็นเรื่องของเทพเจ้า ที่กำเนิดมาจากสีตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น เวลากลางคืน, กลางวัน, ฟ้าร้อง, ฟ้าผ่า, พายุ, ลม และเมฆ เป็นต้น

ประเมษฐ์ กล่าวถึงจารีตสีของตัวโขนว่า สีเป็นสิ่งที่เพิ่มสีสันให้การแสดงโขนมีความสวยงามวิจิตรตระการตา สีเป็นเครื่องบอกลักษณะบทบาทความสำคัญของตัวโขน จะสังเกตได้จากเสื้อผ้าของนักแสดงที่สวมใส่ของตัวละครนั้นๆ จะมีสัญลักษณ์สีเฉพาะตัว ดังปรากฏในบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ฉบับรัชกาลที่ 1 เช่น พระราม กำเนิดในเวลาดึกสงัด (มัชฌิมยาม) จึงมีผิวกายสีเขียว

พระพรต กำเนิดในเวลาเช้า พระอาทิตย์ทอแสง จึงมีผิวกายสีแดง
พระลักษณ์ กำเนิดในช่วงบ่าย (สามนาฬิกาห้าบาท) จึงมีผิวกายสีเหลือง
พระสัตรุ กำเนิดในช่วงเย็น (สี่โมงเย็น) จึงมีผิวกายสีม่วง

นอกจากนี้ มีการกำหนดขึ้นจากเชื้อสายของตัวโขน เช่น บิดา มีสีกายอย่างไร บุตรจะมีสีกายเช่นนั้น อย่างหนุมาน มีผิวกายสีขาว เพราะเป็นบุตรพระพาย ซึ่งมีผิวกายสีขาว ในขณะเดียวกัน ตัวมัจฉานุ อสุรผัด ก็มีผิวกายสีขาว ตามสีกายหนุมานผู้เป็นพ่อ หรืออินทรชิต ผู้มีผิวกายสีเขียว เพราะเป็นโอรสของทศกัณฐ์ ซึ่งมีผิวกายสีเขียวเป็นทุน

“แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะตัวละครโขนบางตัวได้กลายพันธุ์ไปเสียนิ!!” ครูนาฏศิลป์ย้ำ และว่า บางครั้งก็ไม่สามารถยึดถือเป็นจารีตที่เคร่งครัดได้ อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ดังเช่น ท้าวลัสเตียน บิดาของทศกัณฐ์ ซึ่งแต่เดิมมีผิวกายสีขาว แต่ทศกัณฐ์ผู้เป็นบุตรมีผิวกายสีเขียว แม้ในชั้นหลาน คือ อินทรชิต ก็มีผิวกายสีเขียว กรณีเช่นนี้จะต้องย้อนขึ้นไปถึงชั้นบิดาของท้าวลัสเตียน คือ ท้าวจตุรพักตร์ ซึ่งมีเชื้อสายของพระพรหม และมีผิวกายสีขาว

หรืออีกประการหนึ่ง ชาติกำเนิดเดิมก็มีส่วนในการกำหนดสีของตัวโขน เช่น บรรดาสิบแปดมงกุฎและพญาวานร อาทิ พระพุธ เป็น สุรเสน สีกายสีเขียว, พระเกตุ เป็น กุมิตัน สีกายสีทอง, พระอังคาร เป็น วิสันตาวี ผิวกายสีชมพู เป็นต้น ดังปรากฏในบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ ฉบับรัชกาลที่ 1

แม้แต่ในบทอิเหนา ตัวละครบางตัวยังใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งคนไทยนั้นให้ความรู้สึกว่า เป็นสีแห่งความกล้าหาญของเลือดเนื้อ อย่างไรก็ดี การกำหนดสีผ้านุ่งของตัวนาง ส่วนใหญ่นิยมใช้สีตัดกัน เช่น ผ้าห่มแดง นุ่งผ้าเขียว ยกเว้นบางตัวที่นิยมแต่งสีเดียวกันทั้งตัว เช่น พระอุมา ผ้าห่มขาว นุ่งผ้าขาว เป็นต้น

“ที่กล่าวมาแล้วเป็นจารีตที่สำคัญของการกำหนดสีในนาฏกรรมโขน ซึ่งเป็นจารีตที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานและที่มา เป็นสิ่งที่บูรพาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์ได้กำหนดไว้เป็นแบบแผนจารีตสืบมาถึงปัจจุบัน” ครูนาฏศิลป์ชี้ให้เห็น และพูดถึงชุดแต่งกายของโขนในปัจจุบันว่า จะออกโทนสีและลายดอกละม้ายคล้ายคลึงกัน ซึ่งผิดแผกไปจากสมัยเดิม หรือแม้แต่เสื้อพระ-นางนั้นของโบราณในสมัยรัชกาลที่ 6 สีและแขนเสื้อนั้นจะคนละสีกัน กระทั่งมาถึงสมัยนี้สีและลายเป็นเนื้อเดียวกันหมด

“เป็นที่น่ายินดีว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริฟื้นฟูเครื่องแต่งกายโขนโบราณ ให้กรมศิลปากรจัดสร้างขึ้นมาใหม่หนึ่งชุด โดยให้เลียนแบบของเดิม ขณะนี้กรมศิลป์กำลังดำเนินการให้แล้วเสร็จ และจัดแสดงชุดโขนถวายต่อหน้าพระที่นั่ง”

ครูนาฏศิลป์ได้ให้ข้อสรุปเรื่องสีนาฏกรรมโขน ว่าต้องยึดจารีตโขนที่เคยมีมาแต่โบราณ

สีในวัฒนธรรมไทย
ศาสตราจารย์ปรีชา ช้างขวัญยืน ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา ให้ทัศนะความรู้สึกเกี่ยวกับสีในสังคมวัฒนธรรมไทยว่า การใช้สีในวัฒนธรรมไทยนั้นส่วนหนึ่งมาจากความคิดความเชื่อที่เนื่องด้วยศาสนา เทวปกรณ์ และโหราศาสตร์ ซึ่งไทยรับมาจากอินเดีย มีทั้งที่เกี่ยวกับสิริมงคลและอัปมงคล จึงกลายเป็นรากฐานที่สำคัญในชีวิตทั้งด้านพิธีกรรม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องนุ่งห่ม, อัญมณี เป็นต้น

ในด้านโหราศาสตร์ คนไทยรับสืบทอดจากวัฒนธรรมอินเดีย ดังปรากฏในคัมภีร์สัปตวารวินิจฉัย ท่านว่า อาภรณ์ที่ใช้สำหรับวันอาทิตย์ ได้แก่ ทับทิม สีที่ใช้ คือ สีแดง, อาภรณ์วันจันทร์ ได้แก่ เพชร สีที่ใช้ คือ สีลูกจันทร์, สีนวล, ทองเหลือง, อาภรณ์วันอังคารได้แก่ โกเมน สีที่ใช้ คือ สีชมพู, อาภรณ์วันพุธ ได้แก่ มรกต สีที่ใช้ คือ สีเขียวใบไม้, อาภรณ์วันพฤหัสบดี ได้แก่ บุษราคัม สีที่ใช้ คือ สีเหลืองสดใส, อาภรณ์วันศุกร์ ได้แก่ สีเมฆหมอก สีที่ใช้คือ น้ำเงินอ่อน, อาภรณ์วันเสาร์ ได้แก่ นิลสีดำ สีที่ใช้ คือ สีดำ

วิธีใช้สีของคนไทย มีกรรมวิธีมาแต่โบราณรวมทั้งวัสดุ เช่น การเคลือบสี, การย้อมลงยา และการนำสิ่งที่มีสีปิดลงบนพื้นผิว อาจสรุปวิธีต่างๆ เช่น เขียน, แต้ม, ระบายตามฝาผนังโบสถ์วิหาร หรือด้านทา, ปิด, ขัด เช่น ลงรักปิดทอง, ลายรดน้ำ-ด้านบุ เช่น บุเงิน, บุทอง-ด้านเคมี เช่น ลงยา, เคลือบ-ด้านประดับ เช่น มุก, พลอย ประดับงานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม เช่นกัน ด้านทอ, ถัก, ปัก เส้นทองและดิ้น ใช้กับผ้าทอ เป็นต้น

สรุปได้ว่าในวัฒนธรรมไทย สีได้เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งในข้าวของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการแต่งกาย ในงานศิลปะ ทั้งในบ้าน วัด และวัง ทั้งในรูปที่เป็นสีสันลวดลายสลับซับซ้อนและเป็นผิวพื้นที่ส่องประกายระยิบระยับ คนไทยได้สร้างวัฒนธรรมที่ให้สีได้ปรากฏพลังอย่างเต็มที่ในแสงอันเจิดจ้า



โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.10 วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:20:24:40 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงละครชาดก เรื่อง วิธูรบัณฑิต

โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ , ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒
หัวหน้ากลุ่มโรงละครแห่งชาติ นาย ยงยุทธ ไหวพริบ
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และ วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท
( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
หัวหน้าโรงละครฯ นาย เจริญ เรืองวิชญกุล
แสดง วันเสาร์ที่ ๑๐ และ วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท
( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๖ ก.ม.)
โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
หัวหน้าโรงละครฯ นาย นิรันดร์ ใจชนะ
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๓๐ น.
บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท
( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)
( เดือนธันวาคม โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฯ งดการแสดง เพราะตรงกับวันเลือกตั้ง )

นำแสดงโดย ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , สมเจตน์ ภู่นา , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , อุษา แดงวิจิตร ,
นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหาและ ศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร อีกมากมาย
กำกับการแสดงโดย ประสิทธิ์ คมภักดี

รายนามผู้แสดง ในการแสดงละครชาดก เรื่องวิธูรบัณฑิต ของกรมศิลปากร ในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม ๒๕๕๐

ฝ่ายเมืองสวรรค์
พระอินทร์-สมเจตน์ ภู่นา ,พระยาครุฑ-ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ ,บุณณกะ-สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด ,มานพแปลง-พงษ์ศักดิ์ บุญล้น ,พระยาม้า-วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์

ฝ่ายเมืองบาดาล
พระยานาค-ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด ,มเหสีวิมาลา-อุษา แดงวิจิตร ,พระธิดาอิรันทดี-รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี ,นางกำนัล นาฎยา ( แหวว )รัตนศึกษา,อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา,น้องนุช ( แมว )เพชรจรัส,เอกนันท์ ( กาย )พันธุรักษ์,ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา,จุฑามาศ สกุณี
เสนาเมืองนาค
ประวิทย์ เรืองมาก,หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , ดำริ กิตติพงษ์ , ทรงเกียรติ์ ( เบิร์ด ) แซ่ตั้ง,ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม,ปรัชญา ชัยเทพ,ศราวุธ อารมณ์ชื่น,วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
ระบำนาฏวาสุกรี
สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร,เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์,พิมรัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ,สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ,นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา,มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู,น้ำทิพย์ ศิริมงคล,พรทิพย์ ทองคำ

ฝ่ายเมืองอินทปัตต์
พระเจ้าโกรพย์-ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต ,วิธูรบัณฑิต-ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ,อำมาตย์-ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
เสนาเมืองอินทปัตต์
ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , พรเลิศ ( เอกซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง

ที่ปรึกษาด้านดนตรี—ขับร้อง จิรัส อาจณรงค์ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปี ตราโมท , เผชิญ กองโชค , กัญญา โรหิตาจล ,ดวงเนตร ดุริยพันธุ์ , บุญช่วย แสงอนันต์

ผู้บรรเลงดนตรี
หัวหน้าวง-สิงหลสังข์จุ้ย
ปี่-ฐาปณัฐธรรมเที่ยง
ระนาดเอก-วรศิลป์สังข์จุ้ย
ระนาดทุ้ม-พรศักดิ์คำส้อม
ฆ้องวงใหญ่-บุญเชิดจิรสันติธรรม
ตะโพน-อุทัยปานประยูร, ยุทธนาชิตท้วม
ซออู้-อภิชัยพงษ์ลือเลิศ
ฉิ่ง-อารมณ์พลอยหิรัญ

ผู้ขับร้อง
กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ , กำจรเดช สดแสงจันทร์ , ประจักษ์ อยู่เจริญ , รณชัย ผาสุขกิจ , ศิริญาณี ( แมว ) กิ่มเปี่ยม , มัณฑนา ( ม้วน ) อยู่ยั่งยืน , ภมรรัตน์ โพธิสัตย์ , วันเพ็ญ ( แก้ว ) จิตตรง

กำกับการแสดง—ประสิทธิ์ คมภักดี
ช่วยกำกับการแสดง ธานิต ศาลากิจ , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , พุทธิยา พลับกระสงค์ , คมสันฐ หัวเมืองลาด

อำนวยการฝึกซ้อม—ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , สมบัติ แก้วสุจริต พงษ์พิศ ( แต ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์

ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม — จินดา จารุสาร , เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์
บอกบท— ธนันดา มณีฉาย , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี
ประสานงานการแสดง—สลักใจ เปลี่ยนไพโรจน์
กำกับเวที—ชวิน สุเสวี
ฉาก—สุธี ปิวรบุตร
แสง—สามารถ สารภิรมย์
เสียง—มนตรี สุวรรณ
ธุรกิจโรงละครแห่งชาติ—วัลลีย์ อ๋องสกุล ,
จัดทำสูจิบัตร -กลุ่มวิจัยและพัฒนางานแสดง ( โทรฯ ๑๗๕๖ )

หัวหน้าฝ่ายพัสตราภรณ์ฯ-อรพินทร์ อิศรางกูรฯ
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์-วันทนีย์ ( น้อย )ม่วงบุญ
รษก หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย-สมชาย ทับพร
หน.กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง-ชวลิต ( อี๊ด ) สุนทรานนท์
หัวหน้ากลุ่มโรงละครแห่งชาติ-ยงยุทธ ไหวพริบ
หัวหน้ากลุ่มจัดการแสดง-พัชรา ( แป๋ง) บัวทอง
ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตนาย-การุณ สุทธิภูล
คำบรรยายการแสดงละครชาดก เรื่องวิธูรบัณฑิต
ของกรมศิลปากร ในเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม ๒๕๕๐
เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์ ผู้จัดทำคำบรรยาย
วิธูรบัณฑิต เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนสมัยพุทธกาล
ขณะที่ขณะพุทธองค์ทรงเสวยพระชาติเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต นามว่า “ วิธูร” สอนธรรมจนเป็นที่รักใคร่ของประชาชน และ พระมหากษัตริย์ อยู่ที่เมือง อินทปัตต์ ปกครองโดยพระเจ้าโกรพย์
เดิมพระเจ้าโกรพย์ในอดีตชาติ เกิดเป็นกฎุมพี อยู่นครกาลจัมบาก มีสหายอยู่ ๓ คน แต่ละคนก็ปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมอันดีงาม วันหนึ่งได้มีดาบสภิกขาจารฝ่านมา ทั้ง ๔ กฎุมพี จึงได้อาราธนาพระดาบสแยกย้ายไปอยู่เรือนชานของตนถวายอาหารล้วนแต่ของดีๆ หลังจากนั้นดาบสทั้ง ๔ ก็พักผ่อนอยู่ในฌานสมาธิ องค์หนึ่งจรไปสู่สวรรค์ องค์ที่ ๒ ไปสู่เมิองพญานาค องค์ที่ ๓ ไปสู่วิมานครุฑ องค์สุดท้ายไปสู่สถานมิคาชินะ อุทยานของพระเจ้าธนญชัยโกรพย์ ผู้ครองนครอินทปัตต์
เมื่อดาบสทั้ง ๔ ออกจากฌานสมาบัติแล้ว ก็เล่าเรื่องราวให้กฎุมพีทั้ง ๔ ฟัง กฎุมพีแต่ละคนเมื่อได้ฟังเรื่องราวจากดาบสก็มีจิตปรารถนา จึงตั้งจิตอธิษฐานในสมบัติอันนั้น
ครั้งกฎุมพีทั้ง ๔ สิ้นชีพลง ก็ได้ไปเกิดยังภพใหม่ตามจิตปรารถนา
คนหนึ่งไปเกิดบนเมืองฟ้าได้เป็นพระอินทร์ คนหนึ่งไปเกิดเป็นเจ้าเมืองบาดาล คนหนึ่งไปเกิดยังวิมานฉิมพลีเป็นพญาครุฑ คนสุดท้ายไปเกิดยังเมืองมนุษย์ เป็นกษัตริย์ครองเมิองอินทปัตต์บุรีศรี
ทรงพระนามว่า “ โกรพย์” มีมหาเมธีผู้ปราดเปรื่องคู่บารมีชื่อ วิธูร คอยสั่งสอนธรรม วันหนึ่งวิธูรได้ตัดสินความของ ๔ สหาย คือ
พระอินทร์ พญาครุฑ พญานาค พระเจ้าโกรพย์ ว่าเสมอกัน
ทั้ง ๔ ได้ตอบแทนรางวัลให้กับวิธูรอย่างงาม จึงเกิดเป็นเรื่องราวของวิธูรบัณฑิตแห่งนครอินทปัตต์
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=157&PageSetUp=8&RecordCountX=&PageSetUpX=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.115 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:38:41 น.  

 
ชวนตามรอยบ้านเดิมสมเด็จย่า

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ขอเชิญผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เข้าร่วมโครงการ “เดินเท้าท่องเที่ยวตามรอยบ้านเดิมสมเด็จย่า ตอน ยลบ้านสมเด็จย่า เยือนถิ่นเจ้าพระยา ล้ำค่าวัดโบราณ” ในวันที่ 10 ธันวาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 07.00-12.30น.

เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประวัติชุมชนวัดอนงคาราม และชุมชนเก่าแก่ที่มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เที่ยวชมอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ พิพิธภัณฑ์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา, เที่ยววัดทองธรรมชาติและวัดทองนพคุณ เพื่อชมภาพเขียนและประติมากรรมโบราณ รวมทั้งเที่ยวชมป้อมป้องปัจจามิตร สถานที่ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีรายละเอียดดังนี้

- ชมภาพเขียนในพระอุโบสถ วัดทองธรรมชาติ ตอนงานฉลองสมโภชพระบรมธาตุ ที่มีรายละเอียดต่างจากวัดอื่น

- ชมพระอุโบสถและภาพเขียน , ประติมากรรมพุทธประวัติ , เรือสำเภาจำลอง ณ วัดทองนพคุณ ที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ

- รับทราบประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์จิตเวชศาสตร์และประสาทวิทยาแห่งแรกของประเทศไทย

- รับฟังเรื่องราวของป้อมปราการแห่งหนึ่งในย่านคลองสานที่มีชื่อว่า " ป้อมป้องปัจจามิตร"


รับเพียง 30 คน ค่าใช้จ่ายคนละ 300 บาท แต่งกายชุดสุภาพ

ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆสามารถสมัครได้ด้วยตนเองที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ซ.สมเด็จเจ้าพระยา 3 เขตคลองสาน หรือโอนเงินผ่านธนาคาร กสิกรไทย สาขาธนบุรี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 006-2-46928-5 ชื่อบัญชี นางสาวขวัญกมล อ้นสงค์ แลบะ น.ส. สุภาวดี หวังธนาลาภ พร้อมโทรสารใบโอนเงิน โดยระบุชื่อผู้สมัครและกิจกรรม มาที่โทรสารหมายเลข 02-4371853 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทรศัพท์ 02-4377799 และ 02-4390902

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ //www.theprincess mothermemorialpark.org


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.115 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:01:59 น.  

 
จะมีงานพระราชทานเพลิงศพ นาย ทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๐ สาขาศิลปการแสดง ( ละครชาตรี )

บิดาของ นาง ใบศรี แสงอนันต์ นาฏศิลปิน และนาย บุญสร้าง ( ปู ) เรืองนนท์ ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

ที่วัดสุนทรธรรมทาน ( วัดแค นางเลิ้ง) ถนนพะเนียง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ข้าราชการและบุคคลากรต่างๆของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จะไปทำการแสดงทั้งการแสดงหน้าไฟ และการแสดงในภาคกลางคืน โดยจะเป็นการแสดงละครชาตรี และการแสดงในชุดต่างๆอีกมากมาย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.36 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:43:35 น.  

 
เพิ่มเติมอีกที
งานพระราชทานเพลิงศพ จะมีในวันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.36 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:47:45 น.  

 
ขอเชิญชวนเยาวชนเข้าร่วม " โครงการเครือข่ายเยาวชนรักษ์นาฏศิลป์-ดนตรี "

ระหว่างวันที่ 5 - 6 มกราคม 2551 ณ วิทยาลัยนาฏศิลป //www.cda.bpi.ac.th/

โดยจัดการอบรมนาฏศิลป์ไทย ดุริยางค์ไทย ศิลปสากล

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ เยาวชนทั่วไป อายุ 8 - 11 ปี

ติดต่อสอบถาม ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม โทร. 0 2224 1408 ต่อ 105

( ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น )


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.131 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2550 เวลา:16:03:30 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการศรีสุขนาฏกรรมปีที่ ๒๙ ครั้งที่ ๑๑
วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น
โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

รายการแสดง
๑ การบรรเลงเพลงโหมโรง โดยวงดุริยางค์ไทย
๒ รำอาศิรวาทราชสดุดี “สมเด็จพระมหาราชธีรราชเจ้า”
๓ ละครเรื่องท้าวแสนปม ตอน “สารสื่อรัก”
๔ ละครในเรื่องอิเหนา ตอน “ย่าหรันตามนกยูง”
๕ ละครเทพนิยาย เรื่อง “ พระสมุทรเทวี ”
๖ ระบำลายสือไทย ออกระบำโบราณคดี ชุดสุโขทัย
๗ ละครเรื่องพระร่วง ตอน “อุบายนายมั่น”

กำกับการแสดง โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

นำแสดง โดย
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ,
เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , สมเจตน์ ภู่นา , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , วนิตา ( นก ) กรินชัย , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินกรมศิลปากรอีกมากมาย

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒

จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )

ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗
หมายเหตุ : บัตรทุกใบ มีเก้าอี้นั่งในห้องปรับอากาศ พร้อมระบุเลขที่นั่ง

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=176&PageSetUp=9&RecordCountX=&PageSetUpX=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:51:15 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม

การแสดงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ วันที่ ๑- ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น ณ.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐

รำถวายพระพร
การแสดงหนังใหญ่พากษ์สามตระ ( เบิกหน้าพระ ) จับลิงหัวค่ำ และการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดนารายณ์ปราบนนทุก

วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๐

การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดรามาวตาร - ลักสีดา-ถวายพล

วันจันทร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๐

การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดขับพิเภก - พิเภกสวามิภักดิ์ - นางลอย

วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐

การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกกุมภกรรณ ( สุครีพถอนต้นรัง - กุมภกรรณพุ่งหอกโมกขศักดิ์ )

วันพุธที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดยกรบ - หนุมานชูกล่องดวงใจ -พระรามคืนนคร

วันพฤหัสบดีที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐

การบรรเลงดนตรีสากล วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
สถาพร นิยมทอง อำนวยเพลง จำนวนเพลงทั้งหมด ๒๗ เพลง

วันศุกร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๐

มหกรรมดนตรีอาศิรวาทมหาราชถวายพระพร
๑.วงปี่พาทย์ไทย
๒.วงวงปี่พาทย์พม่า
๓.ปี่พาทย์ชวา
๔.วงปี่พาทย์มอญ
๕.วงเครื่องสายจีน
๖.วงแคนวง


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:22:57:18 น.  

 
วันที่ 1-7-ดูฟรี มีสูจิบัตรอย่างดี สี่สีแจกทุกวัน

ส่วนโขนที่เล่น 5 วันนี้ เล่นที่สังคีตศาลา แล้ว จะไปเล่นต่อ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิต์ ในวันที่ 11 -15 ม.ค. จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ใครอยากดูซ้ำตามไปดูได้ ฟรีเช่นกัน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:05:04 น.  

 
รายการแสดงที่สังคีตศาลา ( บัตร 20 บาท )

อาทิตย์ 9 ธันวาคม 50 การแสดงของสมาคมสื่อสร้างศิลป

อาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 50 การแสดงวิพิธทัศนาของกรมศิลปากร

อาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม งดเนื่องจากเป็นวันเลือกตั้ง

อาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2551 การแสดงดนตรีสากล ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:06:19 น.  

 

พี่อัญชลีสบายดีนะคะ แวะมาส่งยิ้มทักทาย
ช่วงนี้หัวฟูเลยไม่ได้มาเข้าบล็อกค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 16 ธันวาคม 2550 เวลา:15:10:59 น.  

 
กำลังจะงอนอยู่แล้วนะเนี่ย
ปล่อยให้เราบ้าโพสต์อยู่ได้คนเดียว
คนอ่านรำคาญกันไปหมดแล้วไม่รู้


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:13:53:38 น.  

 
คอนเสิรต์รักชาติ “ รักษ์บ้าน สร้างเมือง” ฟรี ๒๒ ธค ๕๐
กองทัพบก กรมศิลปากร และ โรงเรียนสตรีวิทยา

ขอเชิญชมคอนเสิรต์รักชาติ “ รักษ์บ้าน สร้างเมือง”

โดยวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร The National Symphony Orchestra

และศิลปินรับเชิญ อาทิ ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ( ศิลปินแห่งชาติ ) , สันติ ลุนเผ่ , ชายเมืองสิงห์ , ดาวใจ ไพจิตร , ศุภชัย ไพจิตร , นัดดา วิยะกาญจน์ , สุวัชชัย สุทธิมา , วสุ แสงสิงแก้ว , พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด , วาณี จูฑังคะ , ฤทธิเทพ-ดวงดาว เถาว์หิรัญ ร่วมด้วย นักร้องดุริยางค์ทหารบก

ในวันเสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.
ณ หอประชุมโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ดินสอ แขวงเสาชิงช้า ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กทม

สนใจติดต่อสอบถามและขอรับบัตรได้ที่ ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๑ ( กลุ่ม ดุริยางค์สากล ) ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ( ฝ่ายบริหารงานทั่วไป )
จำนวนไม่เกินท่านละ ๕ ใบ ในเวลาราชการ

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000803&ID_Room=00000007&RecordCount=&PageSetUp=&RecordCountX=&PageSetUpX=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:14:02:29 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชมรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ

* การบรรเลง-ขับร้องประกอบการแสดงรำถวายพระพร ๘๐ พรรษา
* การสาธิตเห่กล่อมพระบรรทม กล่อมพระเศวต
* การบรรเลง-ขับร้องประกอบการแสดงชุด “ราษฎร์สักการะมหาจักรีวงศ์”
* การบรรเลง-ขับร้องประกอบการแสดงละครเรื่อง “พ่อ”
* “คิดถึงพ่อเส” จากรายการ “กุโสดอคอนเสิร์ต”


วันเสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๐เวลา ๑๔:๐๐ น.ณ โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )


ออกแบบรายการโดย สมชาย ทับพร
ผู้แสดง จากนาฏศิลป์ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
นักร้อง จากกุโสดอคอนเสิร์ตครบชุด

บัตรราคา ๑๐๐, ๘๐ , ๖๐ จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
(นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะครึ่งราคา)
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทร ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒ ๑๐๙๒

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000397&ID_Room=00000007&RecordCount=185&PageSetUp=9&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:14:21:31 น.  

 
แผนการจัดการแสดง ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรีประจำปี ๒๕๕๑

เวลาแสดง ๑๔.๐๐ น. บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท นักเรียน นักศึกษา เข้าชมเป็นหมู่คณะ บัตร ๓๐ บาท ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ ๐๓๕-๕๓๕๑๑๖

มกราคม

การแสดงครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๕ การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๒ และ การแสดงครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๙
การแสดงลิเกศิลปินศิลปากรและศิลปินรับเชิญ

กุมภาพันธ์

การแสดงครั้งที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๒ รายการศิลปิน ศิลปากร : ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
การแสดงครั้งที่ ๕ วันเสาร์ที่ ๙ การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๖ วันเสาร์ที่ ๑๖ รายการศิลปิน ศิลปากร : ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

มีนาคม

การแสดงครั้งที่ ๗ วันเสาร์ที่ ๑ การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๘ วันเสาร์ที่ ๘ และการแสดงครั้งที่ ๙ วันเสาร์ที่ ๑๕
โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด หนุมานชาญสมร

เมษายน

การแสดงครั้งที่ ๑๐ วันเสาร์ที่ ๕ การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๑๑ วันเสาร์ที่ ๑๒ การแสดงดนตรีไทยไร้รสหรือ
การแสดงครั้งที่ ๑๒ วันเสาร์ที่ ๑๙ การแสดงรายการเพื่อผู้มีดนตรีการ

พฤษภาคม

การแสดงครั้งที่ ๑๓ วันเสาร์ที่ ๓ การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๑๔ วันเสาร์ที่ ๑๐ และ การแสดงครั้งที่ ๑๕ วันเสาร์ที่ ๑๗
โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด มัยราพณ์สะกดทัพ

มิถุนายน

การแสดงครั้งที่ ๑๖ วันเสาร์ที่ ๗ การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๑๗ วันเสาร์ที่ ๑๔ และการแสดงครั้งที่ ๑๘ วันเสาร์ที่ ๒๑
ละคร เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ

กรกฎาคม

การแสดงครั้งที่ ๑๙ วันเสาร์ที่ ๕ การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๒๐ วันเสาร์ที่ ๑๒ และ
การแสดงครั้งที่ ๒๑ วันเสาร์ที่ ๑๙
ละครจีนเรื่องสามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

สิงหาคม

การแสดงครั้งที่ ๒๒ วันเสาร์ที่ ๒ การแสดงรายการ ศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๒๓ วันเสาร์ที่ ๙ และ
การแสดงครั้งที่ ๒๔ วันเสาร์ที่ ๑๖
การแสดงละคร เรื่อง ตะเลงพ่าย

กันยายน

การแสดงครั้งที่ ๒๕ วันเสาร์ที่ ๖ การแสดงรายการ ศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๒๖ วันเสาร์ที่ ๑๓ และ
การแสดงครั้งที่ ๒๗ วันเสาร์ที่ ๒๐
โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ศึกอินทรชิต

ตุลาคม

การแสดงครั้งที่ ๒๘ วันเสาร์ที่ ๔ การแสดงรายการ ศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๒๙ วันเสาร์ที่ ๑๑ และ
การแสดงครั้งที่ ๓๐ วันเสาร์ที่ ๑๘
การแสดงละครเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

พฤศจิกายน
การแสดงครั้งที่ ๓๑ วันเสาร์ที่ ๑ การแสดงรายการ ศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ ๓๒ วันเสาร์ที่ ๘ และ
การแสดงครั้งที่ ๓๓ วันเสาร์ที่ ๑๕
การแสดงละครเรื่อง มัทนพาธา

ธันวาคม

การแสดงครั้งที่ ๓๔ วันเสาร์ที่ ๖
การแสดงครั้งที่ ๓๕ วันเสาร์ที่ ๑๓
การแสดงครั้งที่ ๓๖ วันเสาร์ที่ ๒๐

การแสดงรายการพิเศษประจำปี

หมายเหตุ ๑. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๔ – ๕ ขอวเดือน และวันอื่นๆเปิดบริการให้เช่า
๒.หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการแสดงจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบ หรือ โทรฯ สอบถามรายละเอียดรายการแสดงที่ ๐๓๕-๕๓๕๑๑๖

//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000802&ID_Room=00000007


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:14:22:54 น.  

 
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000801&ID_Room=00000007

โปรแกรมการแสดงตลอดทั้งปีของโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี ออกแจกแล้ว จะโพสต์ขึ้นเวบคืนนี้ เพราะเมื่อคืนไม่ว่างพิมพ์ ของทางกรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าวันนี้จะแจกไหม หรือไปแจกวันที่มีรายการแสดงในโรงฯ

การแสดงของสำนักการสังคีต มีที่โรงละครแห่งชาติฯกรุงเทพ ที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี , โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา เป็นประจำทุกเดือนอยู่แล้ว ไม่ใช่ปิดที่กรุงเทพฯไปเล่นต่างจังหวัด

การแสดงที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี จะมีเดือนละ ๓ ครั้ง ใน ๓ เสาร์แรกของแต่ละเดือน ส่วน โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา จะแสดงในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน และเป็นการแสดงชุดเดียวกันกับเสาร์สุดท้ายของทางสุพรรณบุรี

โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ โรงเล็ก จะจัดการแสดงถึงสิ้นเดือนเมษายน ๒๕๕๑ และจะปิดในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ไปจนถึงสิ้นปี ๒๕๕๑ ส่วนโรงใหญ่จะเสร็จเปิดการแสดงได้ในกลางปี ๒๕๕๒

การจัดการแสดงที่ หอวชิราวุธานุสรณ์ ภายในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี นั้น เป็นโครงการที่สำรองไว้ว่าทางกรุงเทพฯจะไปจัดการแสดงที่นั่น เพราะสถานที่อยู่ในสังกัดของกรมศิลปากรเช่นกัน และคงจะประกาศให้ทราบเป็นที่แน่นอนอีกครั้ง สำหรับสถานที่จัดการแสดงในกรุงเทพฯ

การเดินทางไปชมการแสดงที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี ถ้าไม่มีรถส่วนตัวไป ก็จะไปขึ้นรถตู้ประจำทางที่วิ่งผ่านหน้าโรงละครฯ คิวรถตู้นี้มีทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ทางฝั่งพระนครมีหลายคิว อยู่ที่แถว ถ.ราชดำเนินกลาง ช่วงโชว์รูมรถเมอร์ซีเดสเบนซ์ จนถึง โรงแรมรัตนโกสินทร์ และฝั่งธนบุรี เท่าทราบมีคิวรถ วิเศษชัยชาญ ( อ่างทอง ) ที่ตรงหน้าห้างสรรสินค้าเมอรืรี่คิงส์ ถ.ปิ่นเกล้า – นครชัยศรี

การเลือกคิวรถตู้หากเลือกคิวรถตู้ที่ไปสุพรรณบุรี ให้ถามเขาว่าวิ่งวนออกมาส่งที่ศูนย์ราชการได้ไหม หากไม่ได้ ก็เลือกคิวอื่น จะได้ไม่เสียเวลาหารถจากตัวเมืองสุพรรณบุรีออกมาศูนย์ราชการอีกที หากเลือกคิวรถที่วิ่งเลยตัวเมืองสุพรรณบุรีมา ก็จะผ่านหน้าโรงละครพอดี ไม่ต้องหารถต่ออีก รถที่วิ่งผ่านได้แก่ รถไป สามชุก ( คิวอยู่ตรงข้ามสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ) รถไปวิเศษชัยชาญ ( คิวหน้าเมอร์รี่คิงส์ ถ.ปิ่นเกล้าฯ ) หรือจะเลือกรถคิวอื่นๆ ที่วิ่งไป บึงฉวาก ไปสามชุก ไปอ่างทอง ไปชัยนาท ก็ได้ ค่ารถขึ้นอยู่กับระยะทาง ปกติค่ารถไปศูนย์ราชการจะอยู่ที่ 100 บาท มากน้อยกว่ากันนิดหน่อยแล้วแต่คิวรถ หากจะเลือกนั่งรถทัวร์ไปก็ได้เช่นกัน โดยเลือกรถที่วิ่งผ่านศูนย์ราชการเหมือนกับรถตู้

ตอนขึ้นรถบอกเขาว่าไปศูนย์ราชการ หรือไปโรงละครฯสุพรรณบุรี เพราะค่ารถเขาให้จ่ายตามระยะทาง เวลานั่งรถบอกคนขับว่าจะลงตรง ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี เพราะจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงละครฯพอดี เมื่อลงรถแล้วข้ามถนนไปเข้าโรงละครฯได้เลย เวลาที่นั่งรถปกติไม่เกิน 2 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย เร็วช้าอยู่ที่รถแต่ละคัน

ขากลับส่วนใหญ่จะมีเบอร์โทรศัพท์ที่พวกรถตู้ให้ไว้ หรือจะขอจากคิวรถตู้ขาไป พอโรงละครเลิก โทรฯไปตาม เขาจะวิ่งมารับถึงบันไดโรงละคร การโทรฯไปควรบอกจำนวนผู้ที่จะนั่งรถไปด้วย เพื่อที่เขาจะได้กันที่นั่งในรถไว้ให้พอกับจำนวนคน หากกลับพร้อมกันหลายคน เขาอาจจะตีรถเปล่าวิ่งมารับโดยตรง เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้อยู่ ( ไม่ได้ค่าโฆษณา ) คือเบอร์ของ อชิรญาทัวร์ ( คิวรถตู้วิเศษชัยชาญ ) 0891487496 ,0890774735 คนอื่นๆเขาก็มีเบอร์อื่น ลองถามๆกันดูเวลากลับ ค่ารถเขาคิดตามระยะทาง จุดสุดท้าย คือ ถ.ราชดำเนินกลาง ตรงหน้า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือจะเดินออกไปที่ฟุตบาทหน้าโรงละครฯแล้วโบกรถตู้หรือรถทัวร์ที่ผ่านมาเอาเอง ไม่ต้องใช้โทรศัพท์

ที่โรงละครฯปกติไม่ค่อยมีอาหารหนักให้ทาน จะเป็นเครื่องดื่มและของกินเล่นเป็นส่วนใหญ่ ควรจะทานอาหารไปก่อน หรือหาอาหารติดตัวไปรับประทานพร้อมกับไปช่วยซื้อเครื่องดื่มที่นั่น ที่โรงอาหารของวนศ.ก็มีอาหารขาย แต่ไม่มาก บางครั้งก็ไม่มี อาจจะเพราะเป็นช่วงปิดเทอม

เก้าอี้ที่นั่งดูที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี นั้นดีมาก เก้าอี้ใหญ่นั่งสบาย นั่งเป็นขั้นบรรใดลดหลั่นกัน ไม่บังกัน ไม่จำเป็นต้องนั่งแถวหน้าสุด เหมือนกับสถานที่บางแห่งที่ตั้งเก้าอี้บนพื้นเรียบเสมอกัน และเก้าอี้เบียดกันแน่นหรือโยกย้ายได้ หากไม่ได้นั่งแถวหน้าสุดแล้วจะมีปัญหาจุกจิกมากมายตามมากับคนดูที่นั่งอยู่ข้างหน้าหรือด้านข้าง

ฉากโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี นี้สวยงามมาก เป็นฝีมือของ นาย สุเทพ แก้วดวงใหญ่ บุตรชายปรมาจารย์หัวโขนที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองไทย นาย ชิต แก้วดวงใหญ่ ฉากที่นี่หลังจากเล่นเสร็จแล้วก็ย้ายไปใช้ที่นครราชสีมาต่อ เพราะเล่นคิวต่อกัน ไม่ต้องสร้างฉากซ้ำขึ้นมาอีก

การจองที่นั่งชมการแสดง โทรฯไปที่ 035535116 เจ้าหน้าที่ผู้หญิงชื่อ ฐิตินันท์ อัยราน้อย ซึ่งกำลังจะลาออกในเวลาอีกไม่นานนี้ เพราะต้องติดตามสามีที่ไปรับราชการที่ วนศ พัทลุง ส่วนเจ้าหน้าที่อีกคน เป็นผู้ชาย ชื่อ คณวัฒน์ อยู่บัว ๒ คนนี้จะอยู่ประจำเคาน์เตอร์เวลามีการจัดการแสดง การจองที่นั่งควรแจ้งให้เขาทราบว่าจองมาจากกรุงเทพฯ เพราะที่นั่นมีการชมเป็นหมู่คณะมาก หากบอกว่ามาจากกรุงเทพ เขาจะทราบว่ามากันเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือมากันกลุ่มละไม่กี่คน เขาจะช่วยจัดการเรื่องที่นั่งได้ถูก

เก้าอี้นั่งที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ที่กรุงเทพฯนั้น เป็นเก้าอี้ที่ตั้งบนพื้นเรียบเสมอกัน ขยับโยกย้ายได้ เหมือนโรงละครเล็ก เพียงแต่ขนาดของสถานที่ใหญ่กว่ากัน การจองที่นั่ง ก็คงเป็นการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ที่โรงละครแห่งชาติกรุงเทพฯ เช่นเดิม

เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ได้ยินกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ ประกาศ จำได้คร่าวๆว่า การแสดง จะมีรายการศรีสุขนาฏกกรรมยืนพื้นอยู่เหมือนเดิมทุกเดือน ส่วนรายการศิลปินศิลปากร , รายการเพื่อผู้มีดนตรีการ , รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ จะมีสลับกันเดือนละรายการ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:14:28:23 น.  

 

งานปี่พาทย์เสภาที่วังหน้า ครั้งที่ ๗

วันจันทร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๑

ณ . สังคีตศาลาภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร

รายการแสดง

๑. การบรรเลงโหมโรงเย็น ของ วงสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒. การขับเสภาอาศิรวาท โดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง และ รำเบิกโรงมหาราชสดุดี โดยกลุ่มนาฏศิลป์
๓. โหมโรงเสภา เพลงมหาราช โดย วงสำนักวัฒนธรรม
๔. ละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง
นำแสดง โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , สมเจตน์ ภู่นา ฯลฯ
๕. การบรรเลง - ขับร้อง เพลงทยอยนอก
๖. เดี่ยวเพลงแขกมอญทุกเครื่องมือ โดย วงดุริยางค์ ๔ เหล่าทัพ และ วงสำนักวัฒนธรรม
๗. การบรรเลงเพลงแคนวง ขับร้อง โดย ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ
๘. การบรรเลงเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ในบทพระราชนิพนธ์ เรื่องขนมไทย

//203.153.176.79/th/board/show_topic.php?ID_Room=00000007&RecordCount=&PageSetUp=&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:14:31:56 น.  

 
ลืมบอกไป
ปี่พาทย์สภาที่วังหน้า
ดูฟรีนะคะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:14:33:50 น.  

 

มูลนิธิเกศอัมรินทร์ ขอเชิญชมผลงานอันยิ่งใหญ่ ลำดับที่ ๖

การแสดงโขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ

เขียนบทโดย : อาจารย์เสรี หวังในธรรม (ศิลปินแห่งชาติ)
บรรจุเพลงโดย : อาจารย์มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ)
นำแสดงโดย : ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ศุภชัย จันทร์สุวรรณ วันทนีย์ ม่วงบุญ ถนอม นวลอนันต์ ประสาท ทองอร่าม จรัญ พูลลาภ ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ และศิลปินจากกรมศิลปากร อีกกว่า ๑๕๐ ชีวิต

สถานที่แสดง หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง
การแสดง วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 19.30 น.
ประตูเปิด ก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาที
จำหน่ายบัตร ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2550 ถึง วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 (จำหน่ายบัตรวันแรกเริ่มเวลา 10.00 น.)
บัตรราคา 2,000 บาท 1,500 บาท 1,200 บาท 1,000 บาท 800 บาท 500 บาท
THAITICKETMAJOR CONTACT โทรศัพท์ 0 2262 3456 โทรสาร 0 2262 3898 อีเมล์ contact_us@thaiticketmajor.com


//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000800&ID_Room=00000007


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 21 ธันวาคม 2550 เวลา:14:35:33 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม

รายการศรีสุขนาฏกรรม ปีที่ ๒๙ ครั้งที่ ๑๒

วันศุกร์ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น

โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก )

รายการแสดง

๑ ระบำครุฑออกนารายณ์ทรงครุฑ

๒ โขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “ ถวายลิง ยกรบ ชูกล่องดวงใจ”
๓ การแสดงนาฏศิลป์สมโภช ๘๐ พรรษา นวมินทราชามหาราช

๓.๑ ระบำฉิ่ง
๓.๒ จินตลีลาประกอบเพลง รอยเบื้องยุคลบาท และเพลงสถิตในหทัยราษฎร์
๓.๓ ฟ้อนเทียน
๓.๔ รำกระทบไม้
๓.๕ รำเถิดเทิง
๓.๖ เซิ้งกะโป๋

๔ รำอวยพรปีใหม่ ๒๕๕๐

นำแสดง โดย
ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ , ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู , ศิริพงษ์ ฉิมพาลี , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม ,
ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินกรมศิลปากรอีกมากมาย

บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )

ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗

หมายเหตุ : บัตรทุกใบ มีเก้าอี้นั่งในห้องปรับอากาศ พร้อมระบุเลขที่นั่ง


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.12 วันที่: 27 ธันวาคม 2550 เวลา:3:27:47 น.  

 
มีรูปบางส่วนของผู้แสดงและผู้ที่เกี่ยวข้องการแสดงเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พรหมาศ

ในห้องนาฏศิลป-ดนตรี หน้า ๔
หัวข้อการแสดงเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน พรหมาศ


//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000781&ID_Room=00000007&RecordCount=186&PageSetUp=4&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.12 วันที่: 27 ธันวาคม 2550 เวลา:3:30:16 น.  

 
อยากทราบวันที่การแสดงโขนในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ปี
มากค่ะ
2551 ด้วยค่ะ ขอบคุณ


โดย: โอ๋ IP: 124.121.34.113 วันที่: 31 ธันวาคม 2550 เวลา:15:48:23 น.  

 
หลังจากที่รัฐบาลโดย กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากรน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการอนุรักษ์มรดกไทยให้ปรากฏอย่างกว้างขวาง

ที่ผ่านมา กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้เตรียมจัดงานเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งการ อนุรักษ์มรดกไทย “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการอนุรักษ์มรดกไทย” ขึ้นในวันที่ 11-15 มกราคม 2551 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมพระอัจฉริยภาพ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุรักษ์ สืบสานและอุปถัมภ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

จากการจัดงานครั้งนี้ที่เตรียมจะมีขึ้นเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ไทยให้ปรากฏอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเป็น การแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสนพระราชหฤทัยสร้างสรรค์ อุปถัมภ์งานศิลปะสาขาต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและสืบทอดศิลปวัฒนธรรมทุกแขนงด้วยพระอุตสาหะ วิริยะและพระปรีชาสามารถอันล้ำเลิศ

งานเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย ในส่วนกิจกรรม เกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปา กรกล่าวว่า ภายในงานจะประกอบด้วยส่วนจัดแสดง 4 ส่วนโดยในส่วนของการแสดงนิทรรศการ จัดแสดงนิทรรศการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว:พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย ประกอบด้วยหัวข้อ พระผู้ทรงอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี พระมหากรุณาธิคุณต่องานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระผู้ทรงอนุรักษ์และสร้างสรรค์สรรพศิลปกรรม พระผู้ทรงอุปถัมภ์นาฏดุริยางค ศิลป์และพระอัจฉริยภาพพระมหากรุณาธิคุณ

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย ฯลฯ แสดงเผยแพร่ให้ประชาชนชม และนอกเหนือจากการแสดงนิทรรศการ ครั้งนี้ยังมีการแสดงของวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร การเสวนา การฉายภาพยนตร์เก่าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิถีชีวิตประชาชนและเหตุการณ์สำคัญในแต่ละรัชสมัย

ขณะที่การแสดงโขนของกรมศิลปากรจัดแสดงวันละรอบในช่วงเวลาเย็น หกโมงครึ่งเป็นต้นไป ประกอบด้วยตอนสำคัญ 5 ตอน นารายณ์อวตาร พระรามตามกวาง พาลีสอนน้อง ท้าวมาลีวราชว่าความและพระรามคืนนคร รวมทั้งมีการสาธิตแสดงผลงานช่างสิบหมู่ ของกรมศิลปากร งานประติมากรรม ปั้นปูนสด งานปิดทองประดับกระจก งานปักผ้าทองแผ่ลวด ฯลฯ ซึ่งเป็นงานศิลปะสำคัญทรงคุณค่าให้ชมร่วมด้วย.


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.71 วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:2:31:17 น.  

 
วันอาทิตย์ ๖ มกราคม ๒๕๕๑ และวันอาทิตย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดนารายณ์ปราบนนทุก
ที่โรงละครแห่งชาติ ( โรงเล็ก ) 14.00 น. บัตร 100 บาท 80บาท 60 บาท

วันที่ ๑๑ - ๑๕ มกราคม มีที่ศูนย์สิริกิตต์ ตามรายละเอียดข้างบน ( ฟรี)

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ มีโขนของมูลนิธิเกศอัมรินทร์ ที่ศูนย์วัฒนธรรม ดูรายละเอียดในความเห็น ที่ 189

วันที่ ๒ - ๓ กุมภาพันธ์ มีโขนตอนศึกทศกัณฐ์ ( ยกรบ - จองถนน ) ที่อุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อัมพวา สมุทรสงคราม วันที่ ๒ สมเด็จพระเทพฯเสด็จ บัตร ๕๐๐ บาท , ๓๐๐ บาท และ ๕๐ บาท วันที่ ๓ ดูฟรี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.71 วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:3:01:50 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี ๒๕๕๑ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

มกราคม



โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก) กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๖ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดนารายณ์ปราบนนทุก
วันศุกร์ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการเพื่อผู้มีดนตรีการ ( The National Symphony Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๕ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๑ และวันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงลิเกศิลปินกรมศิลปากรและศิลปินรับเชิญ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม

กุมภาพันธ์



โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก) กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดนารายณ์ปราบนนทุก
วันเสาร์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศิลปินศิลปากร
วันศุกร์ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์๙ กุมภาพันธ์ และวันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศิลปินศิลปากร : ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม

มีนาคม



โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก) กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๒ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง ละครเรื่องพระร่วง
วันศุกร์ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการ ดนตรีไทยไร้รสหรือ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๘ มีนาคม ๒๕๕๑ และวันเสาร์ ๑๕ มีนาคมเวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร

เมษายน



โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก) กรุงเทพมหานคร



วันอาทิตย์ ๖ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง ละครเรื่องพระร่วง
วันศุกร์ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการ เพื่อผู้มีดนตรีการ ( The National Symphony Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๕ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ดนตรีไทยไร้รสหรือ
วันเสาร์ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ เพื่อผู้มีดนตรีการ ( The National Symphony Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม

โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก ) จะปิดทำการแสดง ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๑ จนถึง เดือน ธันวาคม ๒๕๕๑
ทางสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จะย้ายสถานที่จัดการแสดงมาที่ โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์
ด้านข้างหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์: ๐๒-๒๘๑๗๕๔๐ โทรสาร: ๐๒-๒๘๒๓๒๖๔

พฤษภาคม



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร



วันอาทิตย์ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ
วันศุกร์ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ศิลปินศิลปากร

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ และวันเสาร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ

มิถุนายน



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ
วันศุกร์ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ดนตรีไทยไร้รสหรือ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ และ วันเสาร์ ๒๑มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม

กรกฎาคม



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครจีนเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
วันศุกร์ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ เพื่อผู้มีดนตรีการ ( The National Symphony Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๒ กรกฎาคม และ วันเสาร์ ๑๙กรกฎาคม๒๕๕๑เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครจีนเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง ละครจีนเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

สิงหาคม



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครจีนเรื่องสามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
วันศุกร์ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ศิลปินศิลปากร

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ และ วันเสาร์ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครเรื่องตะเลงพ่าย

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง ละครเรื่องตะเลงพ่าย

กันยายน



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๗ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกอินทรชิต
วันศุกร์ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ดนตรีไทยไร้รสหรือ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๖ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๑ และ วันเสาร์ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑
เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกอินทรชิต

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกอินทรชิต

ตุลาคม



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกอินทรชิต
วันเสาร์ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ เพื่อผู้มีดนตรีการ ( The National Symphony Orchestra )
วันศุกร์ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ และ วันเสาร์ ๑๘ ตุลาคม เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง ละครในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง ละครในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

พฤศจิกายน



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครเรื่องมัทนะพาธา
วันศุกร์ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ศิลปินศิลปากร

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๘ พฤศจิกายน และ วันเสาร์ ๑๕ พฤศจิกายน๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครเรื่องมัทนะพาธา

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง ละครเรื่องมัทนะพาธา

ธันวาคม



โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ถ.สามเสน ข้างท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครเรื่องมัทนะพาธา
วันศุกร์ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
วันเสาร์ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการ ดนตรีไทยไร้รสหรือ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


วันเสาร์ ๖ ธันวาคม , วันเสาร์ ๑๓ ธันวาคมและ วันเสาร์ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ การแสดง รายการพิเศษประจำปี

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


วันอาทิตย์ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.รายการ ศรีสุขนาฏกรรม

ข้อมูลจากเวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์ดนตรี หัวข้อโรงละครแห่งชาติ_ปฎิทินการแสดง ๒๕๕๑
//203.153.176.79/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000821&ID_Room=00000007&RecordCount=197&PageSetUp=10&Keyword=


โรงละครแห่งชาติ ( โรงละครเล็ก) กรุงเทพมหานคร


๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ , ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒
นาย ยงยุทธ ไหวพริบ หัวหน้ากลุ่มโรงละครแห่งชาติ
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗

โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์


ด้านข้างหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์: ๐๒-๒๘๑๗๕๔๐ โทรสาร: ๐๒-๒๘๒๓๒๖๔
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี


ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
นาย เจริญ เรืองวิชญกุล หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา


๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๖ ก.ม.) โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.71 วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:5:13:44 น.  

 
สำนักการสังคีตงดการแสดงทุกแห่งจนกว่างานพระบรมศพจะแล้วเสร็จ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.197 วันที่: 3 มกราคม 2551 เวลา:18:47:39 น.  

 
ห้าม!! สวมเสื้อสีดำตราสัญลักษณ์
นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอความร่วมมือประชาชนที่ไว้ทุกข์ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ว่า สามารถสวมใส่เสื้อสีดำ หรือสีขาว แต่ห้ามสวมใส่เสื้อสีดำที่มีตราสัญลักษณ์ที่ผู้ค้านำมาวางขาย เพราะไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต และไม่เหมาะสม

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 มกราคม 2551 19:43 น.


//www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000000376


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.197 วันที่: 3 มกราคม 2551 เวลา:18:51:53 น.  

 
//www.thaiticketmajor.com/performance/c_khonseri.htm

โขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ ชุดท้าวมาลีวราชว่าความเลื่อนการแสดงออกไป

เรียนท่านผู้ชม

ทางคณะผู้จัดงานแสดง โขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ ขอร่วมไว้อาลัยการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์

โดยเลื่อนการแสดง โขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ จากเดิมในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 19.30 น. เป็นวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา 14.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ทางคณะผู้จัด จึงเรียนมาเพื่อทราบและ กราบขออภัยมายัง ผู้ชมทุกท่าน ในความไม่สะดวกดังกล่าว สำหรับท่านผู้ชม ที่ได้ซื้อบัตรแล้ว สามารถนำบัตรดังกล่าวเข้าชมในวัน เวลาใหม่ได้ กรณีที่ต้องการขอรับเงินคืน ท่านสามารถนำบัตรมาขอรับเงินคืน ได้ที่ไทยทิคเก็ตเมเจอร์

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดงาน


+ รายละเอียดการคืนเงิน +
(ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2551 ถึง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551)

• กรณีชำระด้วยเงินสด / Counter Service / โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ

(ซื้อที่จุดจำหน่าย Thaiticketmajor 11 สาขา / โรงภาพยนตร์ Major & EGV / Website / Call Center / ที่ทำการไปรษณีย์ไทย)

• รับเงินสดคืนทันที โดยให้นำบัตรการแสดง มาติดต่อขอรับเงินคืนได้ที่ THAITICKETMAJOR สำนักงานใหญ่ อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 27 ถ.พระราม 4 คลองเตย

• รับเงินคืนโดยการโอนเงินเข้าบัญชี
- ยอดเงินจะมีการโอนเข้าบัญชีบัตรเครดิตของท่านหลังจากที่ท่าน ได้ทำเรื่องคืนเงิน ณ จุดจำหน่ายของ THAITICKETMAJOR ทั้ง 11 สาขา เท่านั้น สำหรับลูกค้าที่ชำระผ่าน Counter Service และยังไม่ได้ทำการรับบัตร ให้นำใบเสร็จรับเงินจาก
Counter Service มาติดต่อขอรับเงินคืน

* ทางบริษัทฯ จะคืนเงินให้กับลูกค้าเต็มจำนวน
(ค่าบัตร+ค่าบริการใบละ 10 บาท) ยกเว้น ค่าธรรมเนียม ที่ชำระผ่าน Counter Service และ ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน ผ่านธนาคาร

• กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต

- ทางบริษัทฯ จะทำการคืนวงเงินให้ทางบัตรเครดิตใบที่ใช้ชำระ
- ลูกค้า ไม่ต้องนำบัตรการแสดงมาติดต่อทำเรื่องคืนเงิน
• ทางบริษัทฯ จะคืนวงเงินให้กับลูกค้าเต็มจำนวน
(ค่าบัตร+ค่าบริการใบละ 10 บาท)

• ในกรณีที่ลูกค้าได้รับยอดเรียกเก็บเงิน
และชำระเงินตามยอดเรียกเก็บไปแล้ว ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 รอบบัญชี ลูกค้าถึงจะได้รับวงเงินเครดิตคืนจากธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถตรวจสอบรายการคืนเงินได้ จากใบแจ้งยอด การใช้จ่ายบัตรเครดิต (Statement) ในแต่ละเดือน

ทางทีมงานไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ต้องขออภัยในความไม่สะดวก
มา ณ ที่นี้ รายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2262 3456


KHON RAMAKIAN "Tao-Maleewaraj"
Postponed

Dear all customer and supporters,

It is with deep regret that The performance of KHON RAMAKIAN "Tao Maleewaraj" has been postponed as Thailand goes into a period of mourning following the death of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana.

The Promoter are apologize to have to announce the postponed of the show at Thailand Cultural Centre, Main Hall on Friday, February 1, 2008 at 19.30 hrs. be able to Saturday, November 1, 2008 at 14.00 hrs.

The Ticket can be using for the New round or can be refundable from Thaiticketmajor.

Sorry for any inconvenience.
Promotor

• For money refund by Cash
Please bring your original ticket(s) to TTM Head office at Maleenont Tower 27th Floor, 3199 Rama IV Road, Khlongton, Khlongtoey, Bangkok to refund for cash.

• For money transfer to your bank account
Please contact TTM 11 branches you will get the money transfer to your bank account (you need to provide your accout number in order to transfer the money )

• In Case purchasing, payment thru Credit Card, you will get the money transfer to your bank account (you need to provide your accout number in order to transfer the money: Ticet price + Service Charge 10 Baht / Ticket)

• In Case purchasing, payment thru Counter Service Please bring your receipt with contact our to get the refund.

* Customers can be receive refunds full amount from THAITICKETMAJOR (Ticket price + Service Charge 10 Baht / Ticket) Excluded: Counter Service charge and Bank charge.

We do apologize for any inconvenience that may occur.
For more information, please contact + 66 (0) 2262 3456


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.194 วันที่: 9 มกราคม 2551 เวลา:16:36:18 น.  

 
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานเสวนาวิชาการเทิดพระเกียรติ

เดินตามรอยครู เชิดชูเพลงเก่า น้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ ๒

ปาฐกถาพิเศษ โดย รองศาสตราจารย์กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พบกับการเสวนา “เดินตามรอยครู เชิดชูเพลงเก่า น้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ประจำปี 2539
พ่อสุจินต์ ชาวบางงาม ศิลปินดีเด่น จังหวัดสุพรรณบุรี
รองศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์เอนก นาวิกมูล นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญเพลงพื้นบ้าน
ดำเนินรายการโดย คุณวิษณุ เอมประณีตร์

ชมการแสดงจากนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
และการแสดงเพลงอีแซว เรื่อง “พระเวสสันดร” โดยกลุ่มรักษ์เพลงพื้นบ้าน

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2551 งานเริ่มตั้งแต่เวลา 14.30 น. เป็นต้นไป
ณ หอประชุม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน

เข้าฟังการเสวนาและชมการแสดงโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ฟรี!


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.136 วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:20:52:49 น.  

 
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ร่วมกับกรมศิลปากร และสำนักงานเขตคลองสาน จะจัดการแสดงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยสี่ภาค เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 11 ปี อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ

ในวันที่ 27 มกราคม, 24 กุมภาพันธ์, 23 มีนาคม และ 27 เมษายน 2551 เวลา 15.00-18.00 น. ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 คลองสาน กท. 10600

โดยในงานจะมีการแสดงที่น่าสนใจจากกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษามากมาย อาทิ ฟ้อนที ฟ้อนเล็บ ลิเกฮูลู โปงลาง ฟ้อนภูไท เซิ้งกะโป๋ รำกลองยาว วงดนตรีลูกทุ่ง

ผู้สนใจเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2437-7799
หรือดูข้อมูลที่ //www.theprincessmothermemorialpark.org


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.136 วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:21:10:20 น.  

 
ทัวร์สงบหลบเสียงกรุงเทพฯ ครั้งที่ ๔ :

“ย้อนอดีตบ้านเก่าย่านเจริญกรุง กับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๔:๐๐-๑๖.๐๐ น.

ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพ ขอเชิญผู้รักความสงบเข้าร่วมกิจกรรม ทัวร์สงบหลบเสียงกรุงเทพฯ ครั้งที่ ๔ : “ย้อนอดีตบ้านเก่าย่านเจริญกรุง กับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” ในวันอาทิตย์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๔:๐๐-๑๖.๐๐ น. เพื่อทำความรู้จักกับมุมสงบร่มรื่นอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ คือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ประกอบด้วยอาคาร ๔ หลังที่สร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๔๘๐ ครั้งหนึ่งเป็นบ้านของ อ.วราพร สุรวดี และปัจจุบันได้ยกให้กรุงเทพมหานคร เพื่อให้กรุงเทพฯ มีพื้นที่และเวลาในการสงบจิตใจ ตั้งสติในการดำเนินชีวิต ร่วมคิดหาทางอยู่ร่วมกันอย่างเห็นอกเห็นใจกัน และเพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของความเงียบกับพิษภัยของเสียงรบกวน

กิจกรรม:
๑๔:๐๐ รวมพลที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เลขที่ ๒๗๓ ซ.เจริญกรุง ๔๓*

๑๔.๑๐-๑๕.๑๐ ฟังการบรรยายประกอบการเยี่ยมชมบ้านทั้ง ๔ หลังในบริเวณพิพิธภัณฑ์ โดย อ.วราพร สุรวดี

๑๕.๑๐-๑๕.๒๐ นั่งพัก ดื่มน้ำ

๑๕.๒๐-๑๖.๐๐ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับ อ.วราพร

๑๖:๐๐ จบกิจกรรม



*การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
• นั่งรถไฟฟ้าไปลงสถานีสะพานตากสิน แล้วต่อเรือไปลงท่าน้ำสี่พระยา เดินต่อมาที่ถนนเจริญกรุง ซอย ๔๓ จะอยู่ฝั่งตรงข้าม เยื้องกับไปรษณีย์กลาง เข้าซอยไปประมาณ ๒๐๐ เมตร (ลอดใต้ทางด่วน) บ้านอยู่ทางขวา (เลขที่ ๒๗๓) ระหว่างทางจะผ่านร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ไอศครีมกะทิ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าและโรตีเจ้าอร่อย
• หรือนั่งรถเมล์สาย ๑,๓๕,๓๖,๔๕,๗๕,๙๓



หมายเหตุ :
• กิจกรรมทัวร์สงบฯ นี้ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่ประการใด แต่อาจช่วยเหลือค่าใช้จ่ายของพิพิธภัณฑ์ฯ ตามจิตศรัทธา

• สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมทัวร์สงบฯ ครั้งที่ ๔ นี้ได้ที่
อ.อรยา หรือคุณวิมลสิริ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ โทร.๐๒-๖๑๓-๒๐๔๗ หรือ ๐๘๑-๖๔๓-๙๒๔๐ หรือ osutabutr@yahoo.com


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.136 วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:21:17:50 น.  

 
เวบไซต์หน้าหลักของกรมศิลปากรเดิมเคยมี ๒ อัน

www.finearts.go.th กับ //www.finearts.go.th/th

ตอนนี้คลิกเข้า //www.finearts.go.th จะกลายเป็น //www.finearts.go.th/th/index.php แล้ว

ไม่ใช่ //203.153.176.79/th/index.php เหมือนเมื่อก่อน

แต่ถ้าคลิกเข้าwww.finearts.go.th/th จะกลายเป็น ข่าวงานพระราชพิธีสมเด็จพระพี่นาง

ส่วน webbord ยุบเหลืออันเดียว คืออันที่เป็นเวบบอร์ดของwww.finearts.go.th เดิม
แต่เปลี่ยน url เป็น //www.finearts.go.th/th/board/index.php
ซึ่งเป็น url ของเวบบอร์ดwww.finearts.go.th/th เดิม ซึ่งข้อมูลในส่วนนั้นหายไปแล้ว

กลายเป็นข้อมูลของเวบบอร์ด //www.finearts.go.th เข้าไปแทนที่ทั้งหมด

ตอนนี้เวบบอร์ดคลิกเข้าจากหน้าหลักของเวบกรมศิลปากรไม่ได้

ต้อง วาง //www.finearts.go.th/th/board/index.php บน address bar เอาเอง


ข้อมูลจาก
website กรมศิลปากร ๒๕๕๑
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000847&ID_Room=00000007


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.15 วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:20:32:32 น.  

 
ขอบคุณข้อมูลของพี่อัญชลีที่รายงานการเคลื่อนไหวด้านศิลปวัฒนธรรมของไทยอย่างสม่ำเสมอค่ะ
บางรายการอยากไปแต่ก็ติดอีกงานทุกที แล้วก็ไม่แน่ใจว่ารายการเหล่านี้จะถ่ายรูปได้หรือเปล่า ถ้าได้ไปจะได้นำกล้องไปด้วยค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 29 มกราคม 2551 เวลา:2:49:17 น.  

 
ทําไมไม่มีเนื้อเพลง


โดย: ส้ม IP: 202.60.199.120 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:44:43 น.  

 
เพลงอะไรหรือคะคุณส้ม เพราะปกติก็ไม่ได้ลงเนื้อเพลงอยู่แล้วค่ะ อย่างไรก็ตามลองหาเนื้อเพลงจากเวปนี้ก็ได้นะคะ
//www.siam2.com/jukebox/



โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:52:52 น.  

 
อ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะ


โดย: หน่อง IP: 124.121.41.5 วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:22:51:22 น.  

 
อยากรู้จักคุณหญ้าหนวดแมวจังค่ะ


โดย: หนู IP: 124.121.41.5 วันที่: 9 มีนาคม 2551 เวลา:11:59:38 น.  

 
ดีใจที่ได้เห็นคนอื่นมีความเห็นโพสท์เข้ามาบ้าง
เพราะโพสท์เข้ามาอยู่คนเดียวตั้งนาน
จนไม่ทราบมีคนอ่านบ้างหรือเปล่า
หรือขี้เกียจเปิดไปเลย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.23 วันที่: 15 มีนาคม 2551 เวลา:14:22:11 น.  

 
สมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เปิดสอน “โขน” ฟรี สำหรับเยาวชนทั้งชายและหญิง อายุ 7-15 ปี

โดยรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ และเรียนระหว่างวันที่ 17 มีนาคม-30 เมษายน 2551 เวลา 13.00-16.00 น. (เรียนวันจันทร์-ศุกร์)

เยาวชนที่สนใจสมัครได้ที่ที่ทำการสมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก ใกล้สี่แยก อสมท

สอบถามรายละเอียด โทร. 0-2247-0028 ต่อ 4167 หรือ 0-2248-2754, 08-9116-0229 และ 08-4637-9777

//www.geocities.com/aayoncc/registration.html


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.23 วันที่: 15 มีนาคม 2551 เวลา:14:23:14 น.  

 
ตอบคุณหญ้าหนวดแมว
ถ้าเป้นการแสดงกลางแจ้ง ถ่ายรูปได้ค่ะ
แต่ถ้าเป็นในอาคาร ต้องแล้วแต่กรณ๊ไป


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.23 วันที่: 15 มีนาคม 2551 เวลา:14:25:06 น.  

 
มีรูปและรายละเอียดการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ในงานพระราชทานเพลิงศพนาย ธงไชย (ไก่) โพธยารมย์ นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช
วัดตรีทศเทพวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ วันพฤหัสบดีที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๑
ในเวบบอร์ดของกรมศิลปากร//www.finearts.go.th/th/board/index.php

ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๒ หัวข้อตัวละครโขน
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000091&ID_Room=00000007&RecordCount=235&PageSetUp=2&Keyword=

รูปอาจจะมีข้อความเขียนไว้เลอะเทอะ เพราะเจตนาจะให้ใช้ดูอย่างเดียว ไม่อยากให้เอาไปทำเพื่อกิจการอื่น อยากได้รูปขนาดเต็มไม่มีข้อความ ลองส่งอีเมล์แอดเดรสมา ถ้าว่างจะcopyให้ แต่ต้องแจ้งความประสงค์มาให้ทราบ

เวบบอร์ดกรมศิลปากรช่วงนี้ยังมีปัญหาอยุ่ รูปที่เคยลงไว้ก่อนหน้านี้หลุดหายไปเกือบหมด รูปที่ขึ้นมาใหม่นี้ยังไม่ทราบว่าจะอยุ่ไปได้นานสักเท่าไร ลองรีบเปิดไปดูก็แล้วกัน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.23 วันที่: 15 มีนาคม 2551 เวลา:14:36:41 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่อัญชลี
คิดว่าคนอ่านน่าจะมีอยู่นะคะ แต่อาจจะไม่ได้ให้ความเห็นไว้
อย่าเพิ่งน้อยใจนะคะ อย่างน้อยก็มีคนนี้ละค่ะอ่าน
ขอบคุณที่นำข้อมูลมาลงนะคะ
อย่างน้อยจะได้ทราบว่ามีงานอะไรบ้างค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 16 มีนาคม 2551 เวลา:12:58:01 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณอัญชลี พบบอร์ดของคุณมาหลายวันแล้ว ถ้ายังไงก็ขออนุญาตเข้ามาคุยบ้างได้ไหมค้ะ ชอบบอร์ดนี้ค่ะ สีสันสวยงามดี รอวันที่คุณอัญชลีโพสท์ข้อความเข้ามาใหม่ก็เลยดีใจว่ายังอยู่บอร์ดนี้ นึกว่าหายไปใหนแล้ว ทิ้งฃ่วงไปเสียนานแล้วพบกันใหม่น้ะค้ะ อ้อ!ขอภาพสวยๆงามๆบ้างน้ะค้ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: oh IP: 124.121.32.96 วันที่: 19 มีนาคม 2551 เวลา:23:04:25 น.  

 
เผื่อแฟนของพี่อัญชลีจะเข้าไปชม space ของพี่อัญชลี
ที่ //ancientism.spaces.live.com/ หรือ
คลิกที่นี่ได้เลยนะคะ ทำลิงค์ไว้ให้ คุณอัญชลี


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 24 มีนาคม 2551 เวลา:2:32:37 น.  

 
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000895&ID_Room=00000008&RecordCount=72&PageSetUp=1&Keyword=

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ขอเชิญร่วมกิจกรรมโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๖ / ๒๕๕๑

จัดบรรยายพิเศษ หัวข้อ "มหรสพ ในงานพระเมรุ"

โดย นาย ไพโรจน์ ทองคำสุก
กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

วันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๕.๓๐ น
ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
( ไม่เสียค่าใช้จ่าย )

สอบถามรายละเอียด ได้ที่ ฝ่ายวิชาการ ๐-๒๒๔-๑๓๓๓


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:15:15:50 น.  

 
ละครเวทีธรรมศาสตร์
ทนบุรี ร.ศ. ๑๖๐
หนึ่งคำสั่งจักลั่นระฆังแห่งยุคสมัย

จัดแสดง ณ หอประชุมศรีบูรพา ( หอประชุมเล็ก ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันที่ ๒ – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ น. และ ๑๙.๐๐ น.

จำหน่ายบัตร ทุกวันอังคาร และศุกร์ ตลอดเดือน เมษายน
ณ ลานโพธิ์ คณะศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์และทางเดิน บร.๑ มธ.ศูนย์รังสิต หรือ ร้านน้อง ท่าพระจันทร์ ร้านดีเจสยาม ตั้งแต่วันที่ ๔ – ๒๘ เมษายน ๒๕๕๑

บัตรราคา ๑๒๐ บาท ทุกที่นั่ง

ติดต่อเพิ่มเติม แบงค์ 0856008082 มินต์ 0851272121 ปุ๋ม 0899915795


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:15:25:54 น.  

 
ละครเวทีธรรมศาสตร์
ทนบุรี ร.ศ. ๑๖๐
หนึ่งคำสั่งจักลั่นระฆังแห่งยุคสมัย

จัดแสดง ณ หอประชุมศรีบูรพา ( หอประชุมเล็ก ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันที่ ๒ – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ น. และ ๑๙.๐๐ น.

จำหน่ายบัตร ทุกวันอังคาร และศุกร์ ตลอดเดือน เมษายน
ณ ลานโพธิ์ คณะศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์และทางเดิน บร.๑ มธ.ศูนย์รังสิต หรือ ร้านน้อง ท่าพระจันทร์ ร้านดีเจสยาม ตั้งแต่วันที่ ๔ – ๒๘ เมษายน ๒๕๕๑

บัตรราคา ๑๒๐ บาท ทุกที่นั่ง

ติดต่อเพิ่มเติม แบงค์ 0856008082 มินต์ 0851272121 ปุ๋ม 0899915795


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:15:48:19 น.  

 
การขอเข้าชมการซ้อมหุ่นกระบอกเรื่อง “ ตะเลงพ่าย” ณ.มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต
( ข้อมูลจากนิตยสารพลอยแกมเพชร )

ขั้นตอนการขอเข้าชมการซ้อมหุ่นกระบอกเรื่อง “ ตะเลงพ่าย”

๑. ผู้สนใจเข้าชมโปรดติดต่อกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ โทรศัพท์ ๐.๒๓.๙๒.๗๗.๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๑-๑๕ ของเดือน โดยถือว่าผู้ติดต่อเป็นผู้แนะนำเข้าชม ( หัวหน้าสาย ) เมื่อได้รับอนุญาต กรุณาแจ้งรายชื่อผู้เข้าชมทุกคน ส่งทางโทรสาร ๐.๒๓.๙๒.๗๗.๕๓ หรือทางอีเมล์ lekwatchara@hotmail.com rarapornr@yahoo.com

๒. ขอให้ผู้แนะนำเข้าชม ( หัวหน้าสาย ) หรือตัวแทน มารับบัตรเข้าชมและลงชื่อรับบัตรจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ณ มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต เลขที่ ๔๙ / ๑ ถ.สุขุมวิท ๖๓ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๑๐ ภายในวันที่ ๑๖ – ๒๐ ของเดือน ( ไม่เว้นวันหยุดราชการ ) ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.

๓. ผู้ที่ได้รับบัตรเข้าชมทุกท่าน กรุณากรอกรายละเอียดลงในบัตรมาก่อนล่วงหน้า เพื่อนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯแทนการลงทะเบียน ในวันเข้าชมการซ้อม
หมายเหตุ : ผู้แนะนำเข้าชม ( หัวหน้าสาย ) โปรดตรวจสอบรายชื่อและรายละเอียดที่แจ้งไว้แก่มูลนิธิฯ ให้ตรงกันกับรายชื่อและรายละเอียดในบัตรเข้าชม หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ให้ผู้แนะนำเข้าชมแจ้งแก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯที่ ๐.๒๓.๙๒.๗๗.๕๔ หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ที่โต๊ะลงทะเบียนในวันเข้าชมการซ้อม
ขั้นตอนการบริจาคทุนหุ่นตะเลงพ่าย

๑. ขอซองจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ใส่ปัจจัยพร้อมระบุชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ บนซองบริจาค แล้วหย่อนลงกล่องใสที่จัดไว้
๒. กรณีบริจาคตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งหมื่นบาท ) ขึ้นไป จะได้รับพระบรมรูป ( พิมพ์จำลอง ) ฝีมือจักรพันธุ์ โปษยกฤต ๑ ชุด พร้อมลายเซ็น ให้นำปัจจัยมาขอรับพระบรมรูปโดยตรง ที่โต๊ะลงทะเบียน

ขั้นตอนการสนับสนุนอาหาร เครื่องดื่ม และอื่นๆ

กรุณาระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น ประเภท จำนวน ฯลฯ โดยส่งโทรสารแจ้งรายละเอียดดังกล่าว พร้อมชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของผู้สนับสนุนมายังมูลนิธิที่ ๐.๒๓.๙๒.๗๗.๕๓ ภายในวันที่ ๑ – ๒๐ ของเดือน เพื่อการจัดเตรียมสถานที่ไว้รับรอง

มีรายละเอยีดเพิ่มเติมที่ //gotoknow.org/blog/k-creation/174587


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:15:51:37 น.  

 
PetitionOnLine

----- Original Message ----
From: Charnvit Kasetsiri
Sent: Tuesday, April 1, 2008 9:40:52 PM
Subject: Charnvit has created a new PetitionOnLine for returning to Siam and Thonburi.

Charnvit has created a new PetitionOnLine for returning to Siam and Thonburi.
Click to see and sign it, if you please:
//www.petitiononline.com/SIAM2008/petition.html

Pls reforward it to your friends.

The previous Siam PetitionOnLine may be found at:
//www.petitiononline.com/mod_perl/signed.cgi?siam2007&1
ck

Charnvit Kasetsiri, Ph.D.

Senior Adviser and Lecturer
Southeast Asian Studies Program
Thammasat University
Bangkok 10200, Siam (not Thailand)

Secretary
Social Sciences and Humanities Textbook Foundation
413/38 Arun-Amarin Rd.,
Bangkok 10700, Siam
handphone 089-476-0505
e-mail: charnvitkasetsiri@yahoo.com;
h-pages: //textbooksproject.com/HOME.html,
//www.tu.ac.th/org/arts/seas;
662-424-5768, fax. 662-433-8713


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:15:53:18 น.  

 
งานพิธีไหว้ครู๒๕๕๑_ศูนย์สังคีตศิลป์

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000918&ID_Room=00000007&RecordCount=&PageSetUp=&RecordCountX=&PageSetUpX=

//x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=2689

ธนาคารกรุงเทพ ศูนย์สังคีตศิลป์ และแผนกดนตรีไทย
ร่วมกับ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

มีความยินดีขอเชิญร่วมพิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่, ช่างฟ้อน, ช่างขับ, ช่างดีดสีตีเป่า ฯลฯ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
ณ บริเวณสวนแก้ว วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

กำหนดการ

๗.๐๐ น. โหมโรงเช้า โดยวงกอไผ่

๗.๓๐ น. ถวายสังฆทาน พระสงฆ์ ๙ รูป

๙.๐๐ น. พิธีไหว้ครู-ครอบครู ครูบุญเลิศ นาจพินิจ ประกอบพิธีอ่านโองการไหว้ครู

๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน บรรเลงขับกล่อม โดยวงดนตรีไทย สโมสรธนาคารกรุงเทพ

๑๓.๐๐ น. ปาฐกถา "พิธีไหว้ครู ทำไม? มาจากไหน?" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ปราชญ์อิสระ อธิบายเรื่องไหว้ผีเครื่องมือทำมาหากิน การเล่นผีกระด้ง ผีสุ่ม ผีกะลา ของชาวบ้านม่วงงาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

๑๕.๐๐ น รำแก้บน

ปี่พาทย์บรรเลงประชันถวายมือ วงบุญสร้าง (ปู) เรืองนนท์ และศิษย์ วงฃัยยุทธ (ป๋อม) โตสง่า และศิษย์


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:15:58:00 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จะจัดพิธีไหว้ครู ที่โรงละครแห่งชาติ ( โรงเล็ก )
วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๑ นี้


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:16:27:34 น.  

 
นายเผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์
นักวิชาการละครและดนตรี ๘ ว.กลุ่มวิจัยและพัฒนางานแสดงสำนักการสังคีตกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้เขียนข้อมูลเกี่ยวกับ
การเจริญศิราภรณ์ศีรษะโขน-เครื่องแต่งกายที่ชำรุด
ไว้ที่

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000916&ID_Room=00000007&RecordCount=260&PageSetUp=10&Keyword=

สนใจลองไปเปิดอ่านดู เพราะยังไม่เคยได้อ่านจากที่ไหนมาก่อน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:16:32:37 น.  

 
มูลนิธิเกศอัมรินทร์ ขอเชิญชมผลงานอันยิ่งใหญ่ ลำดับที่ ๖

การแสดงโขนชุดใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดท้าวมาลีวราชว่าความ

เขียนบทโดย : อาจารย์เสรี หวังในธรรม (ศิลปินแห่งชาติ)
บรรจุเพลงโดย : อาจารย์มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ)
นำแสดงโดย : ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ศุภชัย จันทร์สุวรรณ วันทนีย์ ม่วงบุญ ถนอม นวลอนันต์ ประสาท ทองอร่าม จรัญ พูลลาภ ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ ศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ และศิลปินจากกรมศิลปากร อีกกว่า ๑๕๐ ชีวิต


สถานที่แสดง หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง
ในวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา 14.00 น.

ประตูเปิด ก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาที
จำหน่ายบัตร ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2550 ถึงวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551
บัตรราคา 2,000 บาท 1,500 บาท 1,200 บาท 1,000 บาท 800 บาท 500 บาท

หมายเหตุ : * เลื่อนการแสดงจากเดิม วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 19.30 น. เป็น วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา 14.00 น. ท่านที่ซื้อบัตรเข้าชมไปแล้วนั้น สามารถนำบัตรดังกล่าว เข้าชมในวัน / เวลาใหม่ โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนบัตร

โทรศัพท์ 0 2262 3456
โทรสาร 0 2262 3898
อีเมล์ contact_us@thaiticketmajor.com

//www.thaiticketmajor.com/performance/khonseri.php#thumb

มีรูปการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
ที่เวบบอร์ดของกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์ดนตรี หน้า ๒ หัวข้อ ตัวละครโขน


//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?PageSetUpX=1&RecordCount=260&PageSetUp=2&ID_Room=00000007&ID_Topic=00000091&RecordCountX=328


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:16:53:04 น.  

 
มีรูปนาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร แต่งกายยืนเครื่องพระนาง อยู่ใน เวบบอร์ดของกรมศิลปากร

ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า 12 หัวข้อ รูปวันประกอบพิธียกเสาเอกพระเมรุ ๒๘ มีค ๕๑

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000902&ID_Room=00000007&RecordCount=260&PageSetUp=12&Keyword=

ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า 12 หัวข้อ รูปนาฏศิลปินหญิง _รำสาธุการ๕กพ๕๑

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000886&ID_Room=00000007&RecordCount=260&PageSetUp=11&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.177 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:17:04:54 น.  

 
การแสดงโขนที่วัดสุทัศเทพวราราม
//www.songkran.net/th/bkk_9wat_events.php
วัดสุทัศนเทพวราราม กิจกรรมภายในงาน - ไหว้นพเคราะห์ (เสริมดวงชะตา
- ก่อพระเจดีย์ทราย
- สรงน้ำพระ
วันที่ 12 เมษายน 2551
10.00 - 18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค
- สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด
16.00-17.00 น. - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 18.30 น. - การแสดงรำพุทธบูชา รำรัตนโกสินทร์ รำวรเชษฐ์
18.30 - 19.00 น. - การสวดโอ้เอ้วิหารราย
19.00 – 21.00 น. - การแสดงโขน ตอนลักสีดา รบสดายุ พระรามได้พล
วันที่ 13 เมษายน 2551
10.00 - 18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค - สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด)
16.00 - 17.00 น. - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 19.00 น - การแสดงลิเกเด็กของวัดโมลี จังหวัดนนทบุรี
19.00 – 21.00 น. - การแสดงโขน ตอนขับพิเภก นางลอย พระรามข้ามสมุทร
วันที่ 14 เมษายน 2551
10.00-18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค - สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด
16.00 - 17.00 น - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 18.30 น. - การแสดงรำพุทธบูชา รำรัตนโกสินทร์ รำวรเชษฐ์
18.30 - 19.00 น. - การสวดโอเอ้วิหารราย
19.30 – 21.30 น. - การแสดงโขน ตอนถวายลิง หนุมานชูกล่องดวงใจ
วันที่ 15 เมษายน 2551
10.00-18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค - สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด
16.00 - 17.00 น. - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 18.30 น. - การแสดงศิลปะป้องกันตัว กระบี่กระบอง พลองไม้สั้น มวยโบราณ
18.30 - 21.30 น. - การแสดงตลกเทวดาเบญจพรรณ
- การแสดงเพลงพื้นบ้าน


โขนสงกรานต์๒๕๕๑_วัดสุทัศนเทพวราราม
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000927&ID_Room=00000007&RecordCount=&PageSetUp=&RecordCountX=&PageSetUpX=

ส่วนรายการที่อื่นๆ มีรายละเอียดใน ห้องนาฏศิลป์ดนตรี หน้า ๗ หัวข้อ สงกรานต์ ๒๕๕๑

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000925&ID_Room=00000007&RecordCount=265&PageSetUp=7&Keyword=



โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.159 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:9:07:54 น.  

 
//www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=160538&NewsType=1&Template=1

กรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดงานเทศกาลสงกรานต์วันที่ 12-15 เม.ย. ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. เน้นกิจกรรมสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม โดยวันที่ 12 เม.ย. อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และแห่อัญเชิญให้ประชาชนสักการะและสรงน้ำ รวม 3 จุด ได้แก่ บริเวณวงเวียนใหญ่ บริเวณสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ บริเวณวัดชนะสงคราม ถนนจักรพงษ์ มาประดิษฐาน ณ ลานคนเมือง ให้ประชาชนสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ถึงวันที่ 15 เม.ย. ระหว่างเวลา 08.00-20.00 น.

สำหรับวันที่ 13 เม.ย. ซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์ จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 226 รูป และพระราชาคณะ 10 รูป จากนั้นจัดพิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม.

เขตพระนคร จัด 2 จุด ที่สวนสันติชัยปราการ และถนนข้าวสาร วันที่ 12-15 เม.ย. โดยที่สวนสันติชัยปราการ ร่วมกับประชาคมบางลำพู มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น วันที่ 12 เม.ย. มีขบวน แห่สงกรานต์ และพิธีเปิดงานโดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. วันที่ 13 เม.ย. พิธีทำบุญตักบาตร พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำสงกรานต์ ส่วนที่ ถนนข้าวสาร ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการค้าถนนข้าวสาร สภาวัฒนธรรมเขตฯ มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น วันที่ 12 เม.ย. มีการประกวดนางงามสงกรานต์นานาชาติ มีการละเล่นแบบไทย เช่น สาวน้อยตกน้ำ รำวง วงดนตรีลูกทุ่ง

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ร่วมกับวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จัดงาน ประเพณีสงกรานต์ พร้อมนิทรรศการ และการแสดง แสง สี เสียง ภูเขาทอง ชุด “กตัญญุตา มหาเชษฐภคินี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” วันที่ 13-15 เม.ย. ณ วัดสระเกศราช วรมหาวิหาร มีนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จะเป็นการแสดงพระประวัติ พระกรณียกิจในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระกรณียกิจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและการทำนุบำรุงวัดสระเกศราช วรมหาวิหาร ตลอดจนงานพระพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ 13 เม.ย. เวลา 19.30-20.30 น. ชมการแสดงแสง สี เสียง ชุดเทิดพระเกียรติ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ลานพระวิหาร และพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระวิหารสู่พระอุโบสถ และประดิษฐานด้านหน้าพระอุโบสถให้ประชาชนสรงน้ำ วันที่ 14 เม.ย. เวลา 07.00 น. จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์เพื่ออุทิศถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จากนั้นเป็นพิธีรดน้ำขอพรผู้อาวุโสตามประเพณีสงกรานต์ของไทย วันที่ 15 เม.ย. เวลา 19.00 น. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์มหาสมัยสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ และพิธีอัญเชิญผ้ามหาบังสุกุล และเจริญจิตภาวนาถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เขตคลองสามวา จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนแป้นทองสัมพันธ์ วันที่ 14-15 เม.ย. เวลา 06.30-15.00 น. ได้แก่ ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ การสรงน้ำหลวงพ่อขาวพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยรามัญ การสรงน้ำพระสงฆ์ การรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การแข่งขันทอยสะบ้าหัวช้าง และการละเล่นสงกรานต์ของชาวไทยรามัญ ณ วัดแป้นทองโสภาราม แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา

เขตประเวศ จัดวันที่ 11-13 เม.ย. ณ บริเวณลานหน้าหอรัชมงคล สวนหลวง ร.9 โดยวันที่ 11 เม.ย. เวลา 13.19 น. จัดพิธีอัญเชิญพระธาตุ 9 คณะ จากวัดทุ่งเศรษฐี มาประดิษฐานที่สำนักงานเขตฯ เวลา 15.00 น. จัดพิธีแห่พระธาตุ 9 คณะ และพระพุทธนิรันตราย ไปตามถนนอ่อนนุช ถนนศรีนครินทร์ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 และนำไปประดิษฐาน ณ สวนหลวง ร.9 ให้ประชาชนได้สักการบูชา และสรงน้ำพระเพื่อความเป็นสิริมงคลและร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย ตลอดทั้ง 3 วัน และวันที่ 13 เม.ย. ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ร่วมสวดมนต์และทำพิธีบังสุกุล หลังจากนั้นร่วมตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์จากจิตตภาวันวิทยาลัย จำนวน 81 รูป

เขตธนบุรี จัดวันที่ 12 เม.ย. ณ บริเวณถนนลาดหญ้า โดยขบวนอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งอัญเชิญจากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ไปยังลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. จะอัญเชิญมาถึงบริเวณถนนลาดหญ้า (หน้าร้านทับทิมกรอบ)

เขตคลองสาน ให้ประชาชนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำ เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ในเวลา 10.30-11.45 น. เขตบางกอกใหญ่ จัดวันที่ 13 เม.ย. ณ วัดท่าพระ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ถวายภัตตาหารเพล การแสดงของนักเรียน สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ และมอบของที่ระลึกแด่ผู้สูงอายุ จำนวน 150 คน

เขตห้วยขวาง จัดวันที่ 13 เม.ย. เวลา 06.30 น. ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กิจกรรมประกอบด้วย พิธีถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ พิธีทำบุญตักบาตร พิธีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ พระภิกษุสงฆ์ และสามเณร พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ บริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ กิจกรรมการแสดงบนเวที เช่น ดนตรีไทย วงโปงลาง ประกวดรำวงผู้สูงอายุ ประกวดผู้สูงอายุ แต่งกายงาม การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เวลา 12.00 น. ขบวนรถแห่อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ เดินทางออกจากวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ให้ประชาชนในพื้นที่เขตฯ ได้สรงน้ำในระหว่างทาง

เขตบางขุนเทียน ร่วมกับชุมชนบางกระดี่ และสภาวัฒนธรรมเขตบางขุนเทียน จัดงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยรามัญบางกระดี่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม ตลอดจนสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย-รามัญบางกระดี่ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายแก่คนทั่วไป วันที่ 16-17 เม.ย. เวลา 09.00-20.00 น. ณ วัดบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมของชาวรามัญ เช่น พิธีสรงน้ำพระ พิธีรดน้ำดำหัว การเล่นสะบ้า การแสดงทะแยมอญ การสาธิตกวนกะละแม สาธิตการหุงข้าวแช่ รำวงย้อนยุค การแสดงคอนเสิร์ตรามัญสามัคคี เขตฯ ร่วมกับวัดเลา จัดงานสงกรานต์ ณ วัดเลา แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน วันที่ 14 เม.ย. เวลา 08.00-14.00 น. โดยมีการทำบุญเลี้ยงพระ สรงน้ำพระพุทธรูป และพระสงฆ์ รดน้ำผู้สูงอายุ

เขตสัมพันธวงศ์ จัดวันที่ 12 เม.ย. เวลา 08.30-13.00 น. บริเวณวัดไตรมิตรวิทยาราม มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน 9 รูป พิธีสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การแสดงศิลปวัฒนธรรม และดนตรีไทยของเยาวชนในพื้นที่เขตฯ ขบวนแห่รถบุปผชาติ อัญเชิญพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำขอพร เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ขึ้นปีใหม่ของไทย

เขตหลักสี่ จัดวันที่ 18 เม.ย. ณ วัดหลักสี่ เวลา 10.00 น. โดยภายในงานมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเพล พิธีสรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนและเยาวชนให้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญผู้สูงอายุที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมไทย รวมทั้งเป็นการสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งและอบอุ่นสืบไป นอกจากนี้จะมีพิธีรับมอบรถเข็น Wheel Chair จำนวน 3 คัน จาก นายทวีศักดิ์ พันธุ์เสงี่ยม ประธานกรรมการโรงแรมทีเค พาเลซ เพื่อมอบต่อให้แก่สำนักงานเขตหลักสี่สำหรับให้บริการผู้สูงอายุที่จะมาติดต่อราชการ ณ สำนักงานเขตหลักสี่ รวมทั้งจะมีพิธีมอบแว่นตาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากห้างแว่นท็อปเจริญ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 72 คน ด้วย

เขตบางคอแหลม จัดวันที่ 13 เม.ย. เวลา 08.00 น. ณ ชุมชนศาลเจ้ากวนอู ชุมชนวัดพระยาไกร ระยะ 3 ชุมชนห้องเย็น ชุมชนมิตรสัมพันธ์ ชุมชนหมู่บ้านเพ็ชรไผ่เงิน และเวลา 14.00 น. ณ ชุมชนสวนหลวง 2 ชุมชนมาตานุสรณ์ ในงานมีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ พิธีสรงน้ำพระ กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีไทย กิจกรรมวันผู้สูงอายุ พิธีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

เขตลาดกระบัง จัดวันที่ 19-20 เม.ย. ร่วมชมและร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์และการละเล่นของชาวรามัญที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ณ ชุมชนเลียบคลองมอญ ถนนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง ซึ่งปีนี้ในงานจัดให้มีการละเล่นสะบ้ามอญ ขบวนแห่หงส์ ธงตะขาบ พิธีสรงน้ำพระแบบชาวรามัญ การรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกาย และอาหารแบบชาวรามัญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ผู้ใหญ่รามัญ สาระพันธุ์ โทร. 08-1867-2810

เขตยานนาวา จัดวันที่ 13 เม.ย. ที่วัดด่าน ถนนพระรามที่ 3 เวลา 08.00 น. พิธีทำบุญตักบาตร พิธีทำบุญอัฐิบรรพบุรุษ ก่อเจดีย์ทราย เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์และสามเณร และเวลา 15.00 น. พิธีสรงน้ำพระสงฆ์และสามเณร จำนวน 170 รูป ถวายก่อเจดีย์ทราย ห่มผ้าพระพุทธมงคลญาณพิศาลประชาสิทธิ์ และห่มผ้าหลวงพ่อโต

เขตราษฎร์บูรณะ วันที่ 17-18 เม.ย. ณ ศูนย์เยาวชนสะพานพระราม 9 (ฝั่งธนบุรี) และสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีกิจกรรมวันที่ 17 เม.ย. เวลา 14.00-15.30 น. พิธีสรงน้ำพระ ขบวนแห่นางสงกรานต์ จากสำนักงานเขตฯ ไปตามบริเวณถนนราษฎร์บูรณะ ถนนสุขสวัสดิ์ และถนนประชาอุทิศ สำหรับวันที่ 18 เม.ย. เวลา 08.30-13.00 น. จะมีขบวนแห่จากสำนักงานเขตฯ ไปตามถนนราษฎร์บูรณะ ถึงศูนย์เยาวชนสะพานพระราม 9 (ฝั่งธนบุรี) รวมทั้งมีกิจกรรมของผู้สูงอายุ เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม การละเล่นของผู้สูงอายุ ร่วมกันปล่อยนก ปล่อย ปลา และพิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

เขตบางนา วันที่ 20 เม.ย. เวลา 08.00-19.00 น. ณ บริเวณท่าน้ำถนนสรรพาวุธ มีกิจกรรมการสรงน้ำพระพุทธรูป การแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติความเป็นมาเขตบางนาและสถานที่ท่องเที่ยวเขตบางนา การจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตบางนา การแสดงศิลปวัฒนธรรม และการรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ

ถ้าไม่ได้เดินทางออกต่างจังหวัด ก็ไปร่วมสืบสานประเพณีไทย อยู่ใกล้ที่ไหนก็ไปที่นั่น ...ไม่เปลืองน้ำมันประหยัดพลังงาน.


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:15:32:10 น.  

 
จกรรมสงกรานต์ ๙ พระอารามหลวง
ในงาน “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ประจำปี ๒๕๕๑
วันที่ ๑๑ - ๑๕ เมษายน ๒๕๕๑


วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
09.00-18.00 น. - นิทรรศการความเป็นมาของวัดชนะสงครามและเทศกาลสงกรานต์ - สาธิตการทำน้ำอบไทย แป้งร่ำ
- สาธิตงานประดิษฐ์ดอกไม้สดและงานใบตอง
- สาธิตการกวนกาละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวแช่
- สาธิตการประดิษฐ์ใบลาน ของเล่นเด็กโบราณ
14.00-16.00 น. - การแสดงทางวัฒนธรรม

วัดบวรนิเวศวิหาร
09.00-18.00 น.

- การสรงน้ำพระพุทธรูป /พระสงฆ์
- กิจกรรมตลาดย้อนยุค
- สาธิตการทำอาหาร
- สาธิตการปั้นและแกะสลักหม้อดิน
- สาธิตการทำน้ำอบ แป้งร่ำ บุหงา
- การประดิษฐ์ดอกไม้ (การร้อยมาลัย ฯลฯ)
13.00 – 18.00 น. - การแสดงทางวัฒนธรรม
- การสวดโอเอ้วิหารราย (โดยเยาวชน)

วัดสุทัศเทพวราราม
กิจกรรมภายในงาน

- ไหว้นพเคราะห์ (เสริมดวงชะตา
- ก่อพระเจดีย์ทราย
- สรงน้ำพระ
วันที่ 12 เมษายน 2551
10.00 - 18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค
- สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด
16.00-17.00 น. - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 18.30 น. - การแสดงรำพุทธบูชา รำรัตนโกสินทร์ รำวรเชษฐ์
18.30 - 19.00 น. - การสวดโอ้เอ้วิหารราย
19.00 – 21.00 น. - การแสดงโขน ตอนลักสีดา รบสดายุ พระรามได้พล
วันที่ 13 เมษายน 2551
10.00 - 18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค - สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด)
16.00 - 17.00 น. - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 19.00 น - การแสดงลิเกเด็กของวัดโมลี จังหวัดนนทบุรี
19.00 – 21.00 น. - การแสดงโขน ตอนขับพิเภก นางลอย พระรามข้ามสมุทร
วันที่ 14 เมษายน 2551
10.00-18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค - สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด
16.00 - 17.00 น - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 18.30 น. - การแสดงรำพุทธบูชา รำรัตนโกสินทร์ รำวรเชษฐ์
18.30 - 19.00 น. - การสวดโอเอ้วิหารราย
19.30 – 21.30 น. - การแสดงโขน ตอนถวายลิง หนุมานชูกล่องดวงใจ
วันที่ 15 เมษายน 2551
10.00-18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค - สาธิตการทำขนม / ร้อยมาลัย / บุหงาสด
16.00 - 17.00 น. - การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
17.00 – 18.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
18.00 – 18.30 น. - การแสดงศิลปะป้องกันตัว กระบี่กระบอง พลองไม้สั้น มวยโบราณ
18.30 - 21.30 น. - การแสดงตลกเทวดาเบญจพรรณ
- การแสดงเพลงพื้นบ้าน

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
(ดาวน์โหลด power point กิจกรรมวันสงกรานต์วัดสระเกศ)
วันที่ 11 เมษายน 2551
09.00-18.00 น. กิจกรรมรดน้ำขอพร
- ก่อเจดีย์ข้าวสาร
- กิจกรรมตลาดย้อนยุค /การละเล่นพื้นบ้าน
10.00 – 11.00 น - ขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุจากลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์มายัง วัดสระเกศ
วันที่ 12 เมษายน 2551
09.00 – 18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค
- การละเล่นพื้นบ้าน
วันที่ 13 เมษายน 2551
09.00-18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค
- การละเล่นพื้นบ้าน
19.30 – 20.30 น. - การแสดง แสง สี เสียง ชุดเทิดพระเกียรติ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
วันที่ 14 เมษายน 2551
07.00-08.00 น. - ร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์จำนวน 82 รูป เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
09.00-18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค
- การละเล่นพื้นบ้าน
วันที่ 15 เมษายน 2551
09.00-18.00 น. - กิจกรรมตลาดย้อนยุค
- การละเล่นพื้นบ้าน
18.00-20.30 น. - ร่วมพิธีเจริญน้ำพระพุทธมนต์มหาสมัยสูตรอันศักดิ์สิทธิ์
19.00 น. - ร่วมพิธีถวายผ้ามหาบังสุกุล

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
กิจกรรมภายในงาน - สรงน้ำพระพุทธไสยาสจำลอง ปิดทองสรงน้ำพระพุทธรูปประจำวัน
- รดน้ำต้นโพธิ์ ด้านทิศใต้ วิหารพระพุทธไสยาส
- ก่อพระเจดีย์ทราย
- บำเพ็ญกุศลถวายสังฆทาน บังสุกุลรวมญาติ อุทิศส่วนกุศล ให้บรรพบุรุษ
- นวดแผนโบราณ
17.00 น. - สรงน้ำพระสงฆ์ (วันที่ 13 และ 15 เมษายน 2551)

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
กิจกรรมภายในงาน - การทำบุญอุทิศส่วนกุศล
- ร่วมปล่อยนกปล่อยปลา
- สรงน้ำพระพุทธรูปและสรงน้ำพระสงฆ์
- ทำบุญอัฐิญาติผู้ใหญ่
วันที่ 12 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - บรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 12.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
12.00 – 13.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
13.00 – 15.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
15.00 – 16.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
16.00 – 18.00 น. - การแสดงละครนอก
วันที่ 13 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - บรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 12.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
12.00 – 13.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
13.00 – 15.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
15.00 – 16.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
16.00 – 18.00 น. - สาธิตการแสดงโขน
วันที่ 14 เมษายน 2551
09.00 – 11.00 น. - บรรเลงดนตรีไทย
11.00 – 12.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
12.00 – 14.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
14.00 – 15.00 น. - การแสดงหุ่นละครเล็ก (นาฏยศาลา)
15.00 – 18.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
วันที่ 15 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - บรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 12.00 น. - การแสดงละครนอก
12.00 – 13.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
13.00 – 14.00 น. - สาธิตศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย
14.00 – 16.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
16.00 – 18.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
กิจกรรมภายในงาน - การทำบุญอุทิศส่วนกุศล บังสุกุล
- ก่อพระเจดีย์ทราย
- สรงน้ำพระพุทธรูป
- ร่วมปล่อยนกปล่อยปลา
วันที่ 12 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - บรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 12.00 น. - การแสดงละครนอก
12.00 – 13.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
13.00 – 15.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
15.00 – 16.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
16.00 – 18.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
กิจกรรมสาธิต
10.00 – 18.00 น. - การสาธิตอาหารและเครื่องดื่ม
- การสาธิตการทำหัวโขน
- การสาธิตทำตุ๊กตาชาววัง
วันที่ 13 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 12.00 น. - สาธิตการแสดงโขน
12.00 – 13.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
13.00 – 15.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
15.00 – 16.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
16.00 – 18.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
กิจกรรมสาธิต
10.00 – 18.00 น. - การสาธิตอาหารและเครื่องดื่ม
- การสาธิตการทำหัวโขน
- การสาธิตทำตุ๊กตาชาววัง
วันที่ 14 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 11.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
11.00 – 13.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
13.00 – 15.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
15.00 – 17.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
17.00 – 18.00 น. - การแสดงหุ่นละครเล็กนาฏยศาลา
กิจกรรมสาธิต
10.00 – 18.00 น. - การสาธิตอาหารและเครื่องดื่ม
- การสาธิตการทำหัวโขน
- การสาธิตทำตุ๊กตาชาววัง
วันที่ 15 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 12.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
12.00 – 13.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
13.00 – 14.00 น. - การตีกลองประกอบการแสดง 4 ภาค
14.00 – 15.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
15.00 – 16.00 น. - การสาธิตศิลปะป้องกันตัวแบบไทย
กิจกรรมสาธิต
10.00 – 18.00 น. - การสาธิตอาหารและเครื่องดื่ม
- การสาธิตการทำหัวโขน
- การสาธิตทำตุ๊กตาชาววัง

วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
กิจกรรมภายในงาน - กิจกรรมสาธิตของดีเมืองบางกอกใหญ่
- สรงน้ำหลวงพ่อรุ่งอรุณ และพระบรมรูป 3 มหาราช
- ขบวนแห่หลวงพ่อรุ่งอรุณและขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 13 วัดในบางกอกใหญ่
วันที่ 13 เมษายน 2551
09.00-18.00 น. - การแสดงทางวัฒนธรรม 4 ภาคของประชาคมบางกอกใหญ่
- การบรรเลงดนตรีไทย
วันที่ 14 เมษายน 2551
09.00 – 11.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคอีสาน
11.00 -12.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
12.00 – 13.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
13.00 – 18.00 น. - การแสดงทางวัฒนธรรม 4 ภาคของประชาคมบางกอกใหญ่
- การบรรเลงดนตรีไทย
วันที่ 15 เมษายน 2551
09.00 – 10.00 น. - การบรรเลงดนตรีไทย
10.00 – 11.00 น. - การสาธิตศิลปะป้องกันตัวแบบไทย
11.00 - 13.00 น. - เพลงพื้นบ้านภาคกลาง
13.00 – 14.00 น. - พิธีกร / เล่นเกมส์ / มอบของรางวัล
14.00 – 18.00 น. - การแสดงทางวัฒนธรรม 4 ภาคของประชาคมบางกอกใหญ่
- การบรรเลงดนตรีไทย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:15:33:28 น.  

 
รายการวันสงกรานต์ที่แจ้งมาข้างบนนั้น ฟรีทุกรายการนะคะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:15:41:20 น.  

 
ท่องเที่ยวออมบุญ ไหว้พระเก้าวัด ในเทศกาลสงกรานต์

กำหนดการ
กิจกรรมท่องเที่ยวออมบุญ ไหว้พระเก้าวัด ในเทศกาลสงกรานต์
ระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน 2551 โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

07.30 น. - คณะนักท่องเที่ยวพร้อมกัน ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ลงทะเบียน

08.00 น. - ออกเดินทางทางโดยรถบัสปรับอากาศ รับประทานอาหารเช้า (อาหารกล่อง)บนรถ

08.15 น. - ถึงวัดบวรนิเวศน์วิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน นมัสการพระพุทธชินสีห์ เพื่อรับความสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ได้พบแต่สิ่งดีงามตลอดชีวิต

08.45 น. - ออกเดินทาง

09.00 น. - ถึงวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงชัยชนะที่มีต่อข้าศึกถึง 3 ครั้งของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท นมัสการพระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์เพื่อความสิริมงคลในด้านการเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง

09.30 น. - ออกเดินทาง

09.45 น. - ถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นวัดสำคัญของราชวงศ์จักรี นมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร(พระแก้วมรกตเพื่อความสิริมงคลในชำระจิตใจให้ใสสะอาด ดุจรัตนตรัย

10.00 น. - ถึง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ พระอารามหลวงชั้นเอก ได้รับการขนานนามว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยนมัสการพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่สวยงามที่สุดเพื่ออานิสงส์ในด้านความร่มเย็นเป็นสุข

10.30 น. - ออกเดินทาง

10.45 น. - ถึง วัดสุทัศน์เทพวรารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก นมัสการพระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย เพื่อความสิริมงคล ด้านการมีวิสัยทัศน์กว้างไกลพร้อมชมบานประตูไม้แกะสลักที่สวยงาม

11.15 น. - ออกเดินทาง

11.30 น. - ถึงวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท มีความเก่าแก่ มาแต่สมัยอยุธยาชมความงามของพระบรมบรรพต หรือภูเขาทอง นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเสริมสร้างความคิดอันเป็นสิริมงคล

12.00 น. - ออกเดินทาง รับประทานอาหารกลางวัน(อาหารกล่อง)บนรถ พร้อมชมทัศนียภาพบนถนนราชดำเนิน

12.30 น. - ถึงท่าช้างวังหลวง ออกเดินทางโดยเรือหางยาวขนาดใหญ่

12.45 น. - ถึง วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง พระอารามหลวงชั้นโท นมัสการสมเด็จพระพุทธาจารย์(โต พรหมรังสี) สวดคาถาชินบัญชร เพื่อรับพรให้ชีวิต มีชื่อเสียงโด่งดัง คนนิยมชมชอบ

13. 15 น. - ออกเดินทาง

13.30 น. - ถึง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดแจ้ง พระอารามหลวงชั้นเอก นมัสการพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประดับด้วยเบื้องเคลือบหลากสี รับความเป็นสิริมงคลให้ชีวิตรุ่งโรจน์

14.00 น. - ออกเดินทาง

14.15 น. - ถึงวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท นมัสการพระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต หรือ ซำปอกงในคติจีน เพื่อความเป็นสิริมงคล ในด้านการเดินทางที่แคล้วคลาด และปลอด ภัยปราศจากอันตราย มีมิตรมากมาย

14.45 น. - เดินทางต่อโดยรถบัสปรับอากาศ

15.30 น. - ถึงกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จบเส้นทางทัวร์ด้วยจิตใจที่อิ่มบุญ


ราคาค่าบัตรท่องเที่ยว ผู้ใหญ่ 700 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี 525 บาท

หมายเหตุ
1. ราคานี้ รวม ค่ารถบัสปรับอากาศ ค่าเรือ ค่าอาหาร 2 มื้อ (เช้า กลางวัน) ค่ามัคคุเทศก์ ค่าประกันการเดินทาง ค่าธรรมเนียมการเข้าชมสถานที่
2. กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
3. ททท. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการเดินทางในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมน้อยกว่า 20 คน
4. ผู้เข้าร่วมการเดินทางสามารถซื้อ หนังสือ คู่มือ 108 เส้นทางออมบุญในราคาพิเศษ เล่มละ 170 บาท (ราคาเต็ม 250 บาท)

ติดต่อจองที่นั่ง โทร. 0 2283 1555 ต่อ 1556 หรือ 0 2250 5500 ต่อ 2116 - 2117


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:15:42:06 น.  

 
สวช. ขอเชิญชวนประชาชน เยาวชนผู้สนใจ ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์
ในงาน“มหกรรมสงกรานต์ ๔ ภาค”
ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

วันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑
๑๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. นิทรรศการ กิจกรรมสาธิต และการแสดงของแต่ละภูมิภาค (๔ ภาค)
นิทรรศการภาพถ่ายชนะการประกวด “กรุ่นกลิ่นอายไทยสงกรานต์”
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประกวด “ก่อเจดีย์ทราย”
๑๒.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. การประกวด “ก่อเจดีย์ทราย”
๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ขบวนรถ “มหาสงกรานต์ ๔ ภาค” ร่วมสรงน้ำพระ และร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ โดยเริ่มออกจากศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ไปแยกรัชดาภิเษกตัดพระราม ๙
เลี้ยวขวาไปดินแดง มุ่งหน้าสู่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วนกลับมาดินแดง ผ่านถนน
ประชาสงเคราะห์ เข้าห้วยขวาง และออกถนนรัชดาภิเษก มุ่งตรงไปแยกรัชดาภิเษกตัดพระราม ๙ เลี้ยวซ้ายผ่าน อสมท.เลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าถนนวัฒนธรรม
๑๗.๐๐ น. ขบวนรถ “มหาสงกรานต์ ๔ ภาค” เคลื่อนขบวนจากถนนวัฒนธรรม
ไปสู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
๑๗.๓๐ น. ลงทะเบียนเข้างาน “มื้อค่ำลานบ้านไทย..สานสายใยน้องพี่ ๔ ภูมิภาค”
๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. พิธีเปิดงาน “มหาสงกรานต์ ๔ ภาค”
ประธานในพิธี เยี่ยมชมนิทรรศการกิจกรรมการสาธิต และการแสดงของแต่ละภาค
๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. งานเลี้ยง “มื้อค่ำลานบ้านไทย..สานสายใยน้องพี่ ๔ ภูมิภาค”
การประกาศผลและมอบรางวัล “แต่งกายไทย ในวันสงกรานต์”
ชมการแสดงประกอบแสงเสียง
- การบรรเลงดนตรีร่วมสมัย เพลง “มหาสงกรานต์ จตุรภาคเภรี”
- การแสดงชุด “ขบวนแห่ตำนานวันสงกรานต์”
- การบรรเลงดนตรีร่วมสมัย เพลง “สำเนียง เสียงสายน้ำ”
- การแสดงชุด “ประทีปบูชา มหาสงกรานต์”
- การบรรเลงดนตรีร่วมสมัย เพลง “รื่นสำราญ สงกรานต์ไทย”
- การแสดงชุด “สายน้ำแห่งชีวิต ฟื้นชีวีวิถีไทย”
- การบรรเลงดนตรีร่วมสมัย เพลง “สามัคคีชุมนุม”

วันอาทิตย์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๑
๐๘.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. นิทรรศการ กิจกรรมสาธิต และการแสดงของแต่ละภูมิภาค (๔ ภาค)
นิทรรศการภาพถ่ายชนะการประกวด “กรุ่นกลิ่นอายไทยสงกรานต์”
๐๗.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ ปล่อยนก ปล่อยปลา
๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การประกวด “ก่อเจดีย์ทราย”
๑๐.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. การประกอบพิธีเนื่องในวันสงกรานต์ตามธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละภาค
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. พิธีรดน้ำดำหัว ขอพรศิลปินแห่งชาติและผู้อาวุโส จำนวน ๒๐๐ ท่าน
๑๓.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. การรดน้ำแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแต่ละภาค และเล่นน้ำสงกรานต์ร่วมกัน
๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านเชื่อมสัมพันธไมตรี
- การแข่งขันชักคะเย่อ
- การแข่งขันเตะปี๊บ
- การแข่งขันปิดตาตีหม้อ
๑๘.๐๐ – ๒๒.๐๐ น. ประกาศผลการประกวดและมอบรางวัล
- “ก่อเจดีย์ทราย”
- ภาพถ่ายวันสงกรานต์ “กรุ่นกลิ่นอายไทยสงกรานต์”
รื่นเริงสงกรานต์ ลานวัฒนธรรม
- การแสดงดนตรีล้านนาร่วมสมัยประกอบกลองปูจา
- การแสดงจากภาคกลางและภาคตะวันออก
- การแสดงหมอลำพื้นบ้าน คณะอังคณางค์ คุณไชย
- การแสดงจากลูกทุ่งมหานคร FM.๙๕ ....................................................................................................

รายการที่แจ้งมาด้านบนนั้น ฟรี

􀁕 สำหรับประชาชนผู้สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรม 􀁕
งานเลี้ยง “มื้อค่ำลานบ้านไทย..สานสายใยน้องพี่ ๔ ภูมิภาค” พร้อมชมการแสดงประกอบแสงเสียง
ในวันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น. เป็นต้นไป
สามารถสอบถามรายละเอียดและสำรองโต๊ะได้ที่ คุณจุฑาทิพย์
โทร. ๐๒-๙๓๘-๕๐๔๑ ในวัน จ. – ศ. เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๘.๐๐ น.
ด่วน ! ! ! จำนวนจำกัด

􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚 􀁙 􀁚
งานเลี้ยง โต๊ะละ 10,000บาท , 20,000บาท ( โต๊ะละ 8 คน ) และโต๊ะ VIP โต๊ะละ 50,000บาท ( 10 คน )


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:15:50:06 น.  

 
มหาสงกรานต์ 4 ภูมิภาค ตั้งแต่ 12–20 เมษายน 2551

สงกรานต์ที่บ้านเกิด
หนองคาย 12 - 18 เมษายน 2551
กรุงเทพมหานคร 12 - 15 เมษายน 2551
ขอนแก่น 13 - 15 เมษายน 2551
สุโขทัย 8 - 14 เมษายน 2551
นครศรีธรรมราช 11 - 15 เมษายน 2551
หาดใหญ่/ สงขลา 11 - 14 เมษายน 2551เชียงใหม่ 12 - 15 เมษายน 2551
นครพนม 12 - 15 เมษายน 2551
ภูเก็ต 12 - 13 เมษายน 2551
พระนครศรีอยุธยา 12 - 13 เมษายน 2551
สุพรรณบุรี 13 เมษายน 2551
ชลบุรี 13 – 21 เมษายน 2551
สมุทรปราการ 18 – 20 เมษายน 2551


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:15:51:45 น.  

 
เชิญชวนส่งภาพเข้าประกวด "สงกรานต์ที่บ้านเกิด"
//songkran.net/th/photo_submit.php

เงื่อนไข
ต้องแต่งกายชุดไทย หรือ ผ้าไทย
ต้องเป็นภาพที่ท่านเข้า ร่วมงานสงกรานต์พื้นที่ใดก็ได้ทั่วประเทศ
ท่านสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 11 - 21 เมษายน 2551
ท่านสามารถร่วมโหวตให้คะแนนได้ตั้งแต่วันที่ 21-30 เมษายน 2551
การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ผู้ที่ได้คะแนนโหวตสูงสุด 20 ท่าน จะได้รับรางวัลพิเศษที่ระลึกในโอกาศครบรอบ 48 ปี จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ประกาศผลวันที่ 7 พฤษภาคน 2551


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.227 วันที่: 12 เมษายน 2551 เวลา:15:52:30 น.  

 
พิธีไหว้ครูเอารูปมาให้ดูมั้งนะจี


โดย: คุณอยากรู้อยากเห็น IP: 118.174.142.117 วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:18:00:42 น.  

 
ขอเชิญท่านผู้สนใจ เข้าชม บ้านสวนพลู ของอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

ซึ่งจะมีงานพิธีทางศาสนา เพื่อระลึกถึงท่านเจ้าของบ้านผู้ล่วงลับ

และในวันนั้นจะเปิดให้ขึ้นชมบ้านสวนพลูอีกครั้ง หลังจากปิดไปนาน...น...น... (อาจเป็นครั้งสุดท้ายจริงๆ ที่จะได้เข้าชม)

พร้อมฟังการบรรยายโดยอาจารย์อภิวัฒน์ โควินทรานนท์ (หากพลาดงานปีนี้ ไม่ทราบว่าจะได้เข้าชมอีกหรือเปล่า)

ในวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2551เวลา 10.00 น. ณ บ้านสวนพลู ซ.พระพินิจ ถนนสวนพลู หรือ ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 เขตสาทร กรุงเทพฯ

wichitra.kai@gmail.com
ancientism@yahoo.com


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:13:55:44 น.  

 
มหกรรมดนตรีในสวน Bangkok Music in the park เริ่มวันที่ 18 เมษายน -18 พฤษภาคม 2551 ( เฉพาะเสาร์-อาทิตย์ )ตั้งแต่เวลา 16.00-21.00 น. ณ สวนสาธารณะ 12 แห่งในกรุงเทพมหานคร

ได้แก่ อุทยาสวนเบญจศิริ สวนจตุจักร สวนวชิรเบญจทัศ สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน สวนสันติภาพ สวนพระนคร สวนหนองจอก สวนรมณีนาถ สวนเสรีไทย สวนลุมพินี สวนธนบุรีรมย์ สวนสราญรมย์

เพื่อให้ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรม และพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัวในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร

โดยจะมีการแสดงดนตรีในหลากหลายแนว อาทิ แนวเพลงคันทรี เพลงคลาสสิก เพลงแจ๊ส เพลงลูกกรุง เพลงลูกทุ่งและเพลงสตริง

โดยจะมีพิธีเปิดมหกรรมดนตรีในสวนในวันที่ 18 เมษายน 2551ณ อุทยานเบญจสิริ พบกับ Pink, เล้าโลม, บ่าววี, แหม่ม พัชริดา, ปุ้ม อรวรรณ, ปาน ธนพร, Nice 2 Meet U, หวิว, วิว ชัชวาล, หนิง ธิติกานต์ .....


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:13:57:03 น.  

 
ตารางการกิจกรรม " Bangkok Music In The Park" 12 สวน

1 วันที่ 19 เม.ย. 08 อุทธยานเบญจสิริ / คลองเตย แหม่ม พัขริดา พี Soul Out ต่อ ธนัย เมย์ ฝ้าย am fine แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

2 วันที่ 19 เม.ย. 08 สวนพระนคร / ลาดกระบัง Notto ขนมจีน มิล่า Gear Knight Spin Head แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

3 วันที่ 19 เม.ย. 08 สวนหนองจอก / หนองจอก ถลา เสนานิคม วิว ชัชวาล เปรมปรียาภรณ์ ระกะแหลม แนวเพลง - ลูกทุ่ง

4 วันที่ 19 เม.ย. 08 สวนเสรีไทย / บึงกุ่ม ทราย A1 นนท์ พลเยี่ยม ฟิล์ม ณรินทร์ทิพย์ เอ ทัชกร เซียร์ แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

5 วันที่ 20 เม.ย. 08 สวนรมณีนาถ / พระนคร วีระ บำรุงศรี เสกน สุทธิวงศ์ อุไรวรรณ ทรงงาม จิตติมา เจือใจ พรใจ เทพจิตรา แนวเพลง - ลูกกรุง

6 วันที่ 20 เม.ย. 08 สวนธนบุรีรมย์ / บางขุนเทียน หญิง ธิติกานต์ วิว ชัชวาล แมน มอเตอร์ไซค์ ทราย A1 ฟิล์ม ณรินทร์ทิพย์ แนวเพลง - ลูกทุ่ง

7 วันที่ 20 เม.ย. 08 สวนลุมพินี / ปทุมวัน แหม่ม พัชริดา อ้น (ศรีพรรณ) ยุ้ย ณพอาภา แอมมารี่ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

8 วันที่ 20 เม.ย. 08 สวนสราญรมย์ / พระนคร พายุ หวาย มัดหมี่ cinderella Common Sense แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

9 วันที่ 26 เม.ย. 08 สวนจตุจักร / จตุจักร ทราย A1 นนท์ พลเยี่ยม อาเล็ก เอ ทัชกร เซียร์ แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

10 วันที่ 26 เม.ย. 08 สวนวชิรเบญจทัศ / จตุจักร หวิว Chilli White Choc Siska Gear Knight Spin Head แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

11 วันที่ 26 เม.ย. 08 สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน / ดอนเมือง แอมมารี พายุ ขนมจีน หวาย Alize แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

12 วันที่ 26 เม.ย. 08 สวนสันติภาพ / ราชเทวี Dr. Fuu มัดหมี่ Jo - Pop cinderella ยุ้ย ณพอาภา แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

13 วันที่ 27 เม.ย. 08 อุทธยานเบญจสิริ / คลองเตย ปุ้ม อรวรรณ มัดหมี่ แอมมารี่ ยุ้ย ณพอาภา หวิว แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

14 วันที่ 27 เม.ย. 08 สวนพระนคร / ลาดกระบัง เมย์ Neko Jump Jo - Pop เล้าโลม Pink แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

15 วันที่ 27 เม.ย. 08 สวนหนองจอก / หนองจอก นนท์ พลเยี่ยม บั้ม การะเกด เอ ทัชกร พิณ ประภาพร แนวเพลง - ลูกทุ่ง

16 วันที่ 27 เม.ย. 08 สวนเสรีไทย / บึงกุ่ม เอ็กซ์ A8 หญิง ธิตกานต์ วิว ชัชวาล เปรมปรียาภรณ์ ระกะแหลม แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

17 วันที่ 3 พ.ค. 08 สวนรมณีนาถ / พระนคร ศรวณี โพธิเทศ วนิดา นภาพร ประภาพร สังข์สุวรรณ ชรัมภ์ เทพชัย มีศักดิ์ นาครัตน์ แนวเพลง - ลูกกรุง

18 วันที่ 3 พ.ค. 08 สวนธนบุรีรมย์ / บางขุนเทียน ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ระกะแหลม เจี๊ยบ เบญจพร เปรม ปรียาภรณ์ ปีเตอร์ โฟดีฟาย แนวเพลง - ลูกทุ่ง

19 วันที่ 3 พ.ค. 08 สวนลุมพินี / ปทุมวัน ปุ้ม อรวรรณ มัดหมี่ cinderella หวิว NOTTO แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

20 วันที่ 3 พ.ค. 08 สวนสราญรมย์ / พระนคร Alize ANYA Jo - Pop HYPER Pink แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

21 วันที่ 4 พ.ค. 08 สวนจตุจักร / จตุจักร เอ็กซ์ A8 หญิง ธิติกานต์ วิว ชัชวาล เปรมปรียาภรณ์ ระกะแหลม แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

22 วันที่ 4 พ.ค. 08 สวนวชิรเบญจทัศ / จตุจักร Notto เล้าโลม "1011" K - OTIC nice 2 meet u แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

23 วันที่ 4 พ.ค. 08 สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน / ดอนเมือง แหม่ม พัชริดา ยุ้ย ณพอาภา ต่อ ธนัย Kate พี soul out แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

24 วันที่ 4 พ.ค. 08 สวนสันติภาพ / ราชเทวี I'm Ready (ช) ขนมจีน มิล่า Gear Knight เมย์ แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

25 วันที่ 5 พ.ค. 08 อุทธยานเบญจสิริ / คลองเตย แคท รัตกาล cinderella Jo - Pop I'm Ready (ช) มิล่า แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

26 วันที่ 5 พ.ค. 08 สวนพระนคร / ลาดกระบัง พายุ I'm Ready (ญ) ยุ้ย ณพอาภา nice 2 meet u Common Sense แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

27 วันที่ 5 พ.ค. 08 สวนหนองจอก / หนองจอก ต้อย หมวกแดง สันติ ดวงสว่าง ทราย A1 นุ่น รมิดา ดวงจันทร์ สุวรรณี แนวเพลง - ลูกทุ่ง

28 วันที่ 5 พ.ค. 08 สวนเสรีไทย / บึงกุ่ม ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง แมน มอเตอร์ไซค์ วิทย์มหาชน ครีม A7 อานนท์ แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

29 วันที่ 9 พ.ค. 08 สวนรมณีนาถ / พระนคร ทิพย์วัลย์ ปิ่นภิบาล อุมาพร บัวพึ่ง ลัดดาวัลย์ ประวัติวงษ์ สุวัจชัย สุทธิมา ศักดา อิทธิชัย แนวเพลง - ลูกกรุง

30 วันที่ 9 พ.ค. 08 สวนธนบุรีรมย์ / บางขุนเทียน ต้อย หมวกแดง สันติ ดวงสว่าง ยอดชาย นุ่น รมิดา เจี๊ยบ กนกพร แนวเพลง - ลูกทุ่ง

31 วันที่ 9 พ.ค. 08 สวนลุมพินี / ปทุมวัน K - OTIC พี soul out มิล่า ANYA เฟ ฟาง แก้ว แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

32 วันที่ 9 พ.ค. 08 สวนสราญรมย์ / พระนคร Spin Head SiSKa Black Vanilla ขนมจีน Dr.Fuu แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

33 วันที่ 10 พ.ค. 08 สวนจตุจักร / จตุจักร ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง แมน มอแตอร์ไซค์ วิทย์มหาชน ครีม อานนท์ แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

34 วันที่ 10 พ.ค. 08 สวนวชิรเบญจทัศ / จตุจักร ปุ้ม อรวรรณ พี soul out Common Sense ตั๊ก จิราภรณ์ cinderella แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

35 วันที่ 10 พ.ค. 08 สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน / ดอนเมือง มิล่า หวาย Pink ANYA Dr.Fuu แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

36 วันที่ 10 พ.ค. 08 สวนสันติภาพ / ราชเทวี nice 2 meet u I'm Ready (ญ) เฟ ฟาง แก้ว HYPER Spin Head แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

37 วันที่ 11 พ.ค. 08 อุทธยานเบญจสิริ / คลองเตย ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ANYA หวาย I'm Ready (ญ) ตั๊ก จิราภรณ์ แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

38 วันที่ 11 พ.ค. 08 สวนพระนคร / ลาดกระบัง chilli white choc Black Vailla เฟ ฟาง แก้ว Am Fine มัดหมี่ แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

39 วันที่ 11 พ.ค. 08 สวนหนองจอก / หนองจอก อานนท์ เซียร์ เจี๊ยบ กนกพร แมน มอเตอร์ไซค์ วิทย์มหาชน แนวเพลง - ลูกทุ่ง

40 วันที่ 11 พ.ค. 08 สวนเสรีไทย / บึงกุ่ม หนู มิเตอร์ ปีเตอร์ โฟดีฟาย อาเล็ก บั้ม นุ่น รมิดา แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

41 วันที่ 17 พ.ค. 08 สวนรมณีนาถ / พระนคร โฉมฉาย อรุณฉาน จรรยา สดแจ่มศรี คณิตตา จิตต์เจริญ วินัย พันธุรักษ์ พรเทพ เทพรัตน์ แนวเพลง - ลูกกรุง

42 วันที่ 17 พ.ค. 08 สวนธนบุรีรมย์ / บางขุนเทียน นนท์ พลเยี่ยม บั้ม การะเกด เอ ทัชกร พิณ ประภาพร แนวเพลง - ลูกทุ่ง

43 วันที่ 17 พ.ค. 08 สวนลุมพินี / ปทุมวัน แคท รัตกาล Jo - Pop ต่อ ธนัย Kate ตั๊ก จิราภรณ์ แนวเพลง - แจ๊ส , คลาสสิค

44 วันที่ 17 พ.ค. 08 สวนสราญรมย์ / พระนคร NOTTO I'm Ready (ช) หวิว เมย์ "1011" แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

45 วันที่ 18 พ.ค. 08 สวนจตุจักร / จตุจักร หนู มิเตอร์ ปีเตอร์ โฟดีฟาย อาริต บั้ม นุ่น รมิดา แนวเพลง - ลูกทุ่ง / คันทรี่

46 วันที่ 18 พ.ค. 08 สวนวชิรเบญจทัศ / จตุจักร พายุ ขนมจีน มิล่า HYPER Dr.Fuu แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

47 วันที่ 18 พ.ค. 08 สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน / ดอนเมือง I'm Ready (ช) Nekp Jump Jo - Pop Gear Knight Common Sense แนวเพลง - สตริง , ป๊อป

48 วันที่ 18 พ.ค. 08 สวนสันติภาพ / ราชเทวี หวาย Chilli White Choc Siska Black Vanilla Pink แนวเพลง - สตริง , ป๊อป


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:13:58:01 น.  

 
มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดงานวันนริศ

มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานวันนริศ เพื่อน้อมรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม ในวันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2551 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยจัดกิจกรรมเน้นทางด้านพระเมรุมาศและพระเมรุ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของราชสำนักสยาม ประกอบด้วย นิทรรศการพระเมรุมาศและพระเมรุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การเสวนาทางวิชาการ ประกอบการบรรเลงดนตรีไทย เกี่ยวเนื่องกับพระเมรุมาศและพระเมรุ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ

การจัดงานวันนริศในปีนี้ นอกจากมีการจัดงานไหว้ครูแบบโบราณเช่นทุกปีที่จัดขึ้น ยังมีการจัดงานทางด้านวิชาการที่น่าสนใจหลากหลาย ดังนี้

• การเสวนาทางวิชาการ ในวันที่ 24 เมษายน 2551 ระหว่างเวลา 15.30 – 18.30 น. เรื่อง “หิมพานต์อยู่หนไหน ? ในจักรวาล” โดย รศ.พิษณุ ศุภนิมิตร บรรเลงเพลงประกอบ โดย นักศึกษาชมรมดนตรีไทย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร

เรื่อง “พระเมรุมาศและพระเมรุ : จากฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ถึงพระเมรุองค์ปัจจุบัน” โดย นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น และอาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ ดำเนินการเสวนา โดย นายนิวัตร กองเพียร

เรื่อง “การประโคมดนตรีในงานพระศพ” โดย ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ บรรเลงเพลงประกอบ โดย นักศึกษาชมรมดนตรีไทย สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

• นิทรรศการพระเมรุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ออกแบบพระเมรุมาศในสมัยรัชกาลที่ 6 ระหว่างวันที่ 24 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย

งานพระเมรุมาศและพระเมรุ
1. งานพระเมรุมาศในสมัยรัชกาลที่ 4
1.1 งานพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าเทพศิรินทรามาตย์ พ.ศ. 2405
1.2 งานพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พ.ศ. 2411
2. งานพระเมรุระดับเจ้าฟ้าในสมัยรัชกาลที่ 5
3. งานพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
4. งานพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
5. งานพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 7
6. งานพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8 )
7. งานพระเมรุพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 – 9
8. งานพระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
9. งานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนรินทร์

ภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบงาน พระเมรุมาศในสมัยรัชกาลที่ 6

• การแสดงนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ “ศิลปวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 4” หัวข้อ “วิถีชีวิต” ระหว่างวันที่ 24 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2551 ประกอบด้วย ผลงานภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลและคัดเลือกเข้าร่วมแสดงของผู้เข้าประกวดชาวไทยและชาวต่างประเทศ ภาพถ่ายของนักถ่ายภาพเชื้อเชิญ อาทิ สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ศ. ปรีชา เถาทอง รศ. พิษณุ ศุภนิมิตร เสริมคุณ คุณาวงศ์ นิติกร กรัยวิเชียร อนุชัย ศรีจรูญ พู่ทอง กนก สุริยสัตย์ Ralf Tooten

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่งานประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2880 7730 หรือ ที่เว็บไซต์ //www.su.ac.th


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:13:59:37 น.  

 
กำหนดการงานวันนริศ
ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2551

07.30 น. - พิธีทางศาสนา ท้องพระโรง วังท่าพระ
09.00 น. - พิธีไหว้สมเด็จครู สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ท้องพระโรง วังท่าพระ
14.30 น. - พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายศิลปวัฒนธรรมไทยครั้งที่ 4 และพิธีเปิดนิทรรศการพระเมรุมาศและพระเมรุสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบพระเมรุมาศ และนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ “ศิลปวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 4 ”หัวข้อ “วิถีชีวิต”ท้องพระโรง วังท่าพระ

• เสวนา
15.30 น. - เรื่อง “หิมพานต์อยู่หนไหน ? ในจักรวาล” โดย รศ.พิษณุ ศุภนิมิตรบรรเลงเพลงประกอบ โดย นักศึกษาชมรมดนตรีไทย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร
16.30 น. - เรื่อง “พระเมรุมาศและพระเมรุ : จากฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ถึงพระเมรุองค์ปัจจุบัน”โดย นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น และอาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการดำเนินการเสวนา โดย นายนิวัตร กองเพียร
17.30 น. - เรื่อง “การประโคมดนตรีในงานพระศพ” โดย ดร.สิริชัยชาญฟักจำรูญ บรรเลงเพลงประกอบ โดย นักศึกษาชมรมดนตรีไทยสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:14:01:07 น.  

 
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ขอเชิญฟังการบรรยาย

สายสัมพันธ์สยาม - ล้านนา พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

โดย นวชนก นิเทศวิทยานุศาสตร์

วิจารณ์และให้ความเห็นโดยอาจารย์ปรีดี พิศภูมิวิถี

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2551 เวลา 13.30 - 15.00 น.

ห้อง 207 ชั้น 2 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
//www.sac.or.th/home.html

การเดินทางไปศูนย์มานุษยวิทยาฯ

การเดินทางโดย รถยนต์

จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานกรุงธน (ซังฮี้) ลงจากสะพานกรุงธน ตรงมาตามถนนสิรินธร ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-สิรินธร ผ่านห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับถนนบรมราชชนนี เมื่อลง สะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร”) ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ

จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ลงจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ตรงมาตามถนนบรมราชชนนีระดับดินโดยไม่ขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า แต่ให้ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-บรมราชชนนี ผ่านสถานีขนส่งสายใต้ ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับ (ซึ่งจะเป็นทางบังคับเลี้ยวซ้าย เพื่อไปทางพุทธมณฑล) เมื่อลงสะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร ”) ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ

การเดินทางโดย รถประจำทาง

รถประจำทางที่ผ่านหน้าศูนย์ฯ
รถปรับอากาศ - ปอ.๑๖ ปอ.๑๗ ปอ.๓๓
รถธรรมดา - สาย ๑๙, ๔๐, ๕๗, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๗, ๑๔๙,๑๔๖


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:14:02:53 น.  

 
กรมกิจการพลเรือนทหารบก จัดคอนเสิร์ตรักชาติ "ความรัก ความหวัง กำลังใจ" โดยวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร

ในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 13.30-16.30 น.

ณ หอประชุม ชั้น 3 อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ซ.อารีย์สัมพันธ์ ถ.พระราม 6 เขตพญาไท กทม.

( ซ้อม วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2551 เวลา 09.00-17.00 น. )

//www.prd.go.th/hallprd/pubnews/S_pubnews.php?id=741

สนใจติดต่อสอบถามขอบัตรที่
๐-๒๒๒๔-๑๓๗๑ ( กลุ่ม ดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร)
๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ( ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักการสังคีต กรมศิลปากร )


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:14:04:21 น.  

 
โปรแกรมท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนิน
"วันนริศฯ"

ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าชม " พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนินหรือ วังปลายเนิน "
ในวันอังคารที่ 29 เมษายน 2551 ตั้งแต่เวลา 09.00 น.

ซึ่งในวันนั้น จะเปิดตำหนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ให้ขึ้นชม โดยปกติจะเปิดให้ชมฟรี ปีละ 1 ครั้ง เพียงวันเดียวเท่านั้นค่ะ พร้อมฟังการบรรยาย ( ฟรี ) โดยอาจารย์อภิวัฒน์ โควินทรานนท์

ในงานมีอาหารว่างจำหน่าย รายได้สมทบทุนนริศ เพื่อเป็นรางวัลสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่มีความเป็นเลิศในศิลปะแขนงต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีหนังสือและรูปภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จำหน่าย (บางเล่มไม่มีจำหน่ายที่อื่นเลยค่ะ บางเล่มก็เก่าแล้ว)ตลอดจนลองลิ้มชิมรสข้าวแช่ชาววังรสเลิศสูตรในวังแท้ๆ และอาหารว่างจำหน่ายในงานด้วย ( หากพลาดงานปีนี้ ต้องรอเข้าชมปีหน้านะคะ)

พิพิธภัณฑ์ ตำหนักปลายเนินหรือ วังปลายเนินอยู่ที่ถนนพระราม 4 อยู่ติดกับการไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย –ใกล้ทางด่วนทางลงพระรามสี่ และใกล้ตลาดปีนัง คลองเตย

เส้นทางการเดินทางโดยรถโดยสารธรรมดาสาย 4, 13, 14, 22, 45, 46, 47, 74, 109, 115, 116, 141
เส้นทางการเดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศสาย 22, 140, 141, 544

( ถ้าขับรถมาเองมาจากทางรพ. จุฬา ถนนพระราม 4 ก็มุ่งหน้าไปทางคลองเตย จะผ่านสนามมวย ผ่านไฟเขียว-ไฟแดงใต้ทางด่วน แล้วก็ข้ามทางรถไฟ ตรงบ่อนไก่ ก็เตรียมตัวลงรถเลยค่ะบ้านปลายเนิน อยู่ฝั่งตรงกันข้ามนะคะ อยู่ระหว่าการไฟฟ้า กับโชว์รูมรถยนต์ (ยี่ห้ออะไรก็สุดจะจำได้ค่ะ) ถ้านั่งรถจนถึงทางออกโรงงานยาสูบด้านพระราม4 แสดงว่าเลยไปนิดแล้วค่ะ แต่ถ้านั่งจนถึงไฟแดง-ไฟเขียวตรงคลองเตย แปลว่า เลย...ย...ย ไปแล้วจริงๆ )

wichitra.kai@gmail.com


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:14:07:38 น.  

 
วันที่ 18 พค 2551 คอนเสิร์ต 80 พรรษา มหาคีตราชัน สังคีตสัมพันธ์ ดนตรีไทยประยุกต์ ครั้งแรกที่ดนตรีไทยเล่นร่วมกับออร์เคสตร้า

ในบทเพลงพระราชนิพนธ์ ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต เรียบร้อยแล้ว ดูสนุก ได้สาระความรู้มากมาย มีบทเพลงคลาสิคที่เล่นด้วยเครื่องดนตรีไทยล้วน เสียงครบไม่ต้องหลบเสียง

ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หอใหญ่ มี 2 รอบ คือ รอบ 13.00 กับรอบ 20.00 ซึ่งเป็นรอบเสด็จฯ เชิญร่วมสร้างความยิ่งใหญ่ ให้ดนตรีไทยก้าวไกลทั่วโลก


จองบัตรได้ที่ //vasu.ob.tc/-View.php?N=2
หรือที่ ดนตรี ทวีลาภ และศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

รอบที่จะเข้าชม มีรอบ 13.00 น ซึ่งเป็นรอบทั่วไปมีการบรรยายประกอบ
กับรอบ 20-.00 น ซึ่งเป็นรอบเสด็จฯ ของวันที่ 18/ พค 2551

สามารถรับบัตรได้ที่ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยโดยจะต้องไปรับบัตรก่อนเวลาแสดง 2 ชั่วโมงไม่เช่นนั้นถือว่าท่าน สละสิทธิ์

ท่านสามารถจองได้ท่านละ 2 ที่นั่งและสามารถสนับสนุน ซีดี เพลงพระราชนิพนธ์ชุดแรกของโลกที่เล่นด้วยเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ได้ที่นี่ในราคา 190 บาทเพื่อเป็นทุนในการจัดงานได้รายได้ส่วนหนึ่งทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเพื่อทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย

หมายเหตุ เข้าชมฟรีทุกที่นั่ง สอบถามรายละเอียดที่ 081-6125074
หรือโทรจองได้ที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยโทร 02-2470013 ต่อ 4301-4


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.126 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:14:09:55 น.  

 
ขอเชิญชมผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าชมการแสดง ของคณะนักเรียนนาฏศิลป์บ้านปลายเนิน เนื่องในงานวันนริศ

วันจันทร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๓๐ น. ( บัตรราคา ๓๐๐ บาท )

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตร วันศุกร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๓๐ น. ( บัตรราคา ๕๐๐ บาท )

( ติดต่อสอบถามได้ที่ วังปลายเนิน ๐๒ - ๒๔๙๔๒๘๐ )


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.3 วันที่: 20 เมษายน 2551 เวลา:13:31:36 น.  

 
นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จัดงานมหกรรมการแสดง "รำลึกราชกัลยาณี" เพื่อน้อมรำลึกและถวายอาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวันที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เวลา 19.30 น. ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร วงใหญ่ ๘๐ คน

โดยมีศิลปินแห่งชาติและศิลปิน ดารา ร่วมการแสดงขับร้อง อาทิ ชินกร ไกรลาศ, ชาย เมืองสิงห์, ขวัญจิตร ศรีประจันต์, ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ, สวลี ผกาพันธ์, สุเทพ วงศ์กำแหง, ดวงดาว เถาว์หิรัญ, เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์, ติ๊ก ชิโร่ (ศิริศักดิ์ นันทเสน), ค่ายอาร์ เอส เช่น ปาน ธนพร แวกประยูร, อี๊ด โปงลางสะออน ค่ายลักษณ์ มิวสิค เช่น แอน ธิติมา ประทุมทิพย์ รวมถึงศิลปินค่ายรถไฟดนตรี และค่ายวอร์เนอร์ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังนำเสนอบทเพลงเทิดพระเกียรติและถวายอาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯที่มีการประพันธ์ขึ้นมาใหม่รวมกว่า 20 เพลง อาทิ แสงหนึ่งคือรุ้งงาม เพลงสวรรยา ดอกไม้แผ่นดิน นับจากนี้ สถิต ณ ดวงใจ เจ้าหญิงของเรา อาลัยสมเด็จพระพี่นางฯ สมเด็จพระพี่นางฯอยู่ในใจ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังนำบทเพลง "สุดสายปลายรุ้ง" และ "พระมิ่งขวัญแก้ว" ที่ขับร้องโดยศิลปินของกรมศิลปากร คือ วาณี จูฑังคะ และ ดวงดาว เถาว์หิรัญ ในรูปซีดี ออกเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไปด้วย

นอกจากนี้ภายในงานจะจัดให้มี การจัดนิทรรศการ หนังสือแจกที่เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระกรณียกิจ และการจำหน่ายของที่ระลึก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต่าง ๆ อีกด้วย

สนใจเข้าชมการแสดงเทอดพระเกียรติในครั้งนี้ ติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วธ. โทร.0-2422-8851-8 และที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โทร.0-2247-0028 ต่อ 4105-7
มีรูปการแสดง
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000929&ID_Room=00000007&RecordCount=277&PageSetUp=6&Keyword=
เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๖ หัวข้อ NSO_คอนเสิร์ตรักชาติ ๒๖ เมษายน ๕๑


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.123 วันที่: 2 พฤษภาคม 2551 เวลา:5:05:06 น.  

 
ขอเชิญร่วมชมสังคีตศิลป์เพื่อการบูชา

มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท และชมรมคนรักวัง ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฏเกล้า และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จะจัดการแสดง ดนตรีไทยพรรณา เพื่อสังคีตพุทธบูชา หัวข้อ อมรินทรามหาเทวะ แห่งพระพุทธศาสนา ในวันเสาร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๓๐ น ณ ห้องประชุมชั้น ๑๐ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยมีวัตถุประสงค์เป็นธรรมทานเพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนา ตลอดทั้งเผยแพร่และสืบสานวัฒนธรรม ซึ่งจะจัดงานครั้งนี้เป็นกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี พระราชวังพญาไท

การแสดงสังคีตพุทธบูชานี้เป็นการนำเอาเพลงหน้าพาทย์ โบราณที่ใช้เพื่อการบูชาทางพระพุทธศาสนา อันถือเป็นเพลงศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอายุกว่า ๕๐๐ ปี ของเหล่าศิลปินดุริยางค์ไทย อาทิ สาธุการ ตระไตรตรึง ตระมัฆวาน ตระพระเจ้าเปิดโลกพร้อมศิลปะ การประชันเพลง เป็นต้นซึ่งหาโอกาสฟังยากยิ่ง บรรเลงโดยวงดนตรีวงใหญ่บ้านชีวานุภาพ ศิลปินผู้เล่นกว่า ๕๐ ชีวิต ควบคุมและอำนวยการฝึกซ้อมโดย ผ.ศ เดชน์ คงอิ่ม ร่วมด้วย ร้อยตรี ดร. สุรินทร์ สงค์ทอง ครูผู้ถ่ายทอด ให้เกียรติเป็นนักดนตรีรับเชิญ พรอ้มประกอบการบรรยายพิเศษและฉายภาพประกอบ เพื่อให้เข้าถึงอรรถรสด้านศิลปะ และ ความเข้าใจในเทวดาของพุทธศาสนา ในบรรยากาศสังคีตแห่งการบูชา

ออกแบบการแสดง และบรรยายโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อภิณัฏฐ์ กิติพันธุ์

ชมฟรี สอบถามรายละเอียดสำรองที่นั่งที่ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๙๘๙๓๖๖๒๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.123 วันที่: 2 พฤษภาคม 2551 เวลา:5:07:04 น.  

 
กำหนดการงานเที่ยวถิ่นธนบุรี ยลวิถีวัฒนธรรม
ณ ลานวัดดุสิตาราม และสถานที่ใกล้เคียง
วันที่ 10 – 11 พฤษภาคม 2551 ระหว่างเวลา 14.00 – 21.00 น.
--------------------------------------

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2551

14.00 น. พร้อมกันที่ลานพระอุโบสถวัดดุสิตาราม วรวิหาร
14.15 – 15.00 น. เดินเท้าตามเส้นทางชุมชนวัดดุสิตาราม เข้าเยี่ยมชมมัสยิดอันซอริสซุนนะห์ (มัสยิดหลวง) มัสยิดสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฟังประวัติการย้ายชุมชนจากฝั่งสถานี รถไฟบางกอกน้อย ชมการทำที่นอนบางกอกน้อยหัตถกรรมชุมชนคู่ชาวมุสลิมในย่านนี้ ชิมอาหารมุสลิมรสชาดดั้งเดิม
15.00 – 15.10 น. เดินเท้ามุ่งหน้าสู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
15.10 – 16.00 น. เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ชมความงดงามของเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ และเรื่อพระที่นั่งอื่นๆ พร้อมฟังประวัติจากวิทยากร
16.00 – 16.30 น. เดินทางสู่บริเวณงาน ณ ลานหน้าพระอุโบสถ วัดดุสิตารามแวะชมเรือไม้ตะเคียนโบราณฟังประวัติจากวิทยากร ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเที่ยวธนบุรี ยลวิถีวัฒนธรรม
17.00 น. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดกิจกรรม จากนั้นเข้าชมงานตามอัธยาศัย

17.00 น. พิธีเปิดกิจกรรม โดยปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานในพิธี
- ประธานกล่าวเปิดงาน
- ประธาน แขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน เดินชมนิทรรศการ และชมการสาธิต ทางด้านภูมิปัญญาของย่านฝั่งธนบุรี
17.30 น. - ประธานเดินทางกลับ
17.30 น. - การแสดงดนตรีไทย โหมโรง วงครูง่อน วัดเศวตฉัตร
18.00 น. - การแสดง กระตั้วแทงเสือ วัดสังข์กัจจายน์
18.30 น. - เสวนา “ความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่นธนบุรีกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดย คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ
19.15 น. - การละเล่น “ผีลอบ” ชาววัดดุสิต
19.35 น. - การละเล่น “ลิงลม” ชาววัดดุสิต
20.00 น. - “โขน: ชุด ทศกัณฑ์เกี้ยวนางเบญจกาย ฉุยฉาย หนุมานทรงเครื่อง ” การควบคุมและอรรถาธิบาย โดย ครูเวนิส เชียรวงศ์ แห่งย่านวัดใหม่พิเรนทร์ บางกอกน้อย
21.00 น. สิ้นสุดการแสดง

วันอาทิตย์ที่ 11พฤษภาคม 2551
14.00 – 16.30 น. กิจกรรมเดินเท้า “วัฒนธรรมสัญจร ย่านธนบุรี” ( มัสยิดอันซอริสซุนนะห์ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี - วัดดุสิตารามฯ)
17.30 น. “ดนตรีไทย...ใช่แค่ฟังเพลิน” โดย วงครูง่อน วัดเศวตฉัตร
18.30 น. “ผู้เฒ่าเล่าอดีต” คุยกับผู้อาวุโสชุมชนบางกอกน้อย เนื้อหาประเพณีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมธนบุรีแต่เก่าก่อน
19.30 น. “เถิดเทิง – กลองยาว” ชุมชนบ้านบุ
19.15 น. “การสาธิตการเห่เรือ” โดย คณะวิทยากรจากกรมการขนส่งทหารเรือ
19.50 น. “กระบี่กระบอง ฝั่งธนบุรี” ที่สืบเนื่องมายาวนานนับร้อยปี พร้อมกับรับฟังอรรถาธิบายของครูกระบี่กระบองอาวุโส
21.00 น. สิ้นสุดการแสดง

กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สนใจร่วมกิจกรรม ติดต่อ กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว กองการท่องเที่ยว
โทรศัพท์ 0 2225 7612 – 5 ต่อ 213 – 216
โทรสาร 0 2224 0120


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.45 วันที่: 8 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:08:33 น.  

 
งาน “วิถีไทยกับสายธาร สืบตำนานคลองผดุงฯ” ซึ่งสมาคมกีฬากรุงเทพมหานคร ร่วมกับสภาวัฒนธรรมเขตดุสิต สภาวัฒนธรรมเขตพระนคร และบริษัทสิงห์คอร์เปอเรชั่น จัดขึ้น เพื่อสืบสานกีฬาไทยและวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยรวมถึงส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ภายใต้โครงการ “เสน่ห์กรุงเทพฯ“

โดยกำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 10 - 11,17 - 18 และ 24 - 25 พ.ค. 51 ตั้งแต่เวลา 13.00 - 21.30 น. บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ระหว่างสะพาน วิศกรรมนฤมาน - สะพานมัฆวานรังสรรค์ (หน้าวัดมกุฎกษัตริยารามวรวิหาร)

กิจกรรมภายในงานจะสะท้อนวิถีชีวิตคนไทยในอดีต ที่ทำกิจกรรมร่วมกันในยามว่างจากงาน โดยอาศัยสายน้ำธรรมชาติเป็นจุดนัดพบและทำกิจกรรมร่วมกัน ผสมผสานความสนุกสนาน เรียบง่าย แฝงไว้ด้วยเสน่ห์และแง่คิดประกอบด้วย อารมณ์ขัน เช่น การละเล่นตีโป่ง หมาเน่าลอยน้ำ งมของ แข่งเดินบนกระบอกไม้ไผ่ และอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งในส่วนของกีฬาโบราณที่จะสร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้ชม ไม่ว่าจะเป็นตะกร้อลอดห่วงกลางคลอง ถ่อแพ เดินไม้ไผ่ข้ามคลอง หัวใบ้ท้ายบอด ปีนเสาต้นน้ำมัน พายกระทะเดี่ยว พายกระทะชักเย่อ พายเรือเดี่ยวประเภทหญิงและชาย

นอกจากนี้ยังมีการแสดงมหกรรมดนตรีจากศิลปินแห่งชาติ อาทิ ผ่องศรี วรนุช ชาย เมืองสิงห์ ชินกร ไกรลาศ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และชัยชนะ บุญนะโชติ หัสดนตรีย้อนยุค 3 สมัย โดยเจนภพ จบกระบวนวรรณ พร้อมทั้งชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย อาทิ การแสดงเพลงเรือ โดยแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ การแสดงเดี่ยวระนาดประชันดนตรีไทยประกอบการแข่งขันตระกร้อ โดยณรงฤทธิ์ โตสง่า เพลงไทยเดิม เพลงลูกทุ่ง และเพลงสุนทราภรณ์ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ และสมควรที่จะธำรงรักษาไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป

“คลองผดุงกรุงเกษม” เป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเพื่อขยาย เขตพระนครให้กว้างออกไป และเป็นปราการป้องกันพระนครอีกชั้นหนึ่ง โดยสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2395 และทรงพระราชทานนามว่า “คลองผดุงกรุงเกษม” ซึ่งในอดีตเคยเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าที่สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของประชาชนในสมัยก่อนจนถึงวันนี้นับรวมได้ 157 ปี ปัจจุบันเป็นคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นทางการระบายน้ำที่สำคัญของพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้เห็นถึงความสำคัญของคลองผดุงกรุงเกษมที่มีอายุกว่าร้อยปี กรุงเทพมหานครจึงได้จัดโครงการท่องเที่ยวคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร และเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของคลองผดุงกรุงเกษมและร่วมกันอนุรักษ์แม่น้ำลำคลองให้สะอาด สวยงามต่อไป

ผู้สนใจเข้าชมงาน และร่วมกิจกรรมในงาน สามารถจอดรถได้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ฟรี หรือ ที่วัดมกุฎกษัตริยารามวรวิหาร สอบถามโทร. 0 2225 7612-4

ตารางเวลา งาน "วิถีไทยกับสายธาร สืบตำนานคลองผดุงฯ"

วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑
• เวลา ๑๓.๐๐ น. การแข่งขันกีฬาโบราณ
o หัวใบ้ท้ายบอด
o ถ่อแพ
o ปีนเสาต้นน้ำมัน
o เดินไม้ไผ่ข้ามคลอง
o พายกระทะเดี่ยว
o พายกระทะชักคะเย่อ
o พายเรือเดี่ยว ประเภทหญิง ประเภทชาย
• เวลา ๑๖.๐๐ น. การแข่งขันตระกร้อลอดห่วง รอบแรก
• เวลา ๑๘.๐๐ น.การแสดงเพลงเรือโดย แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์
• เวลา ๑๙.๐๐ น.การแสดงดนตรี สุนทราภรณ์

วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
• เวลา ๑๓.๐๐ น. การแข่งขันกีฬาโบราณ
o หัวใบ้ท้ายบอด
o ถ่อแพ
o ปีนเสาต้นน้ำมัน
o เดินไม้ไผ่ข้ามคลอง
o พายกระทะเดี่ยว
o พายกระทะชักคะเย่อ
o พายเรือเดี่ยว ประเภทหญิง ประเภทชาย
• เวลา ๑๖.๐๐ น. การแข่งขันตระกร้อลอดห่วง รอบแรก
• เวลา ๑๘.๐๐ น.การแสดงดนตรี มรดกของแผ่นดินศิลปินแห่งชาติ โดย เจนภพ จบกระบวนวรรณ
o ผ่องศรี วรนุช , ชายเมืองสิงห์ , ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ,ชัยชนะ บุณยโชติ , ชินกร ไกรลาศ

วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑
• เวลา ๑๓.๐๐ น. การแข่งขันกีฬาโบราณ
o หัวใบ้ท้ายบอด
o ถ่อแพ
o ปีนเสาต้นน้ำมัน
o เดินไม้ไผ่ข้ามคลอง
o พายกระทะเดี่ยว
o พายกระทะชักคะเย่อ
o พายเรือเดี่ยว ประเภทหญิง ประเภทชาย
• เวลา ๑๖.๐๐ น. การแข่งขันตระกร้อลอดห่วง รอบแรก
• เวลา ๑๘.๐๐ น.การแสดงดนตรี ต้นกล้ามหัศจรรย์ของวงการลูกทุ่งไทยโดย เจนภพ จบกระบวนวรรณ ( วงดนตรีเสียงศิลปิน พร้อมหางเครื่องเด็ก ประชันเสียง ๒๐ นักร้องระดับแชมป์หลายเวที และแชมป์ถ้วยพระราชทาน )

วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑
• เวลา ๑๓.๐๐ น. การแข่งขันกีฬาโบราณ
o หัวใบ้ท้ายบอด
o ถ่อแพ
o ปีนเสาต้นน้ำมัน
o เดินไม้ไผ่ข้ามคลอง
o พายกระทะเดี่ยว
o พายกระทะชักคะเย่อ
o พายเรือเดี่ยว ประเภทหญิง ประเภทชาย
• เวลา ๑๖.๐๐ น. การแข่งขันตระกร้อลอดห่วง รอบชิงอันดับ ก ประกอบระนาดเอก โดย ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า ( ขุนอิน )
• เวลา ๑๘.๐๐ น.การแสดงดนตรี โปงลาง กรุงเทพมหานคร

วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑
• เวลา ๑๓.๐๐ น. การแข่งขันกีฬาโบราณ รอบชิงชนะเลิศ
o หัวใบ้ท้ายบอด
o ถ่อแพ
o ปีนเสาต้นน้ำมัน
o เดินไม้ไผ่ข้ามคลอง
o พายกระทะเดี่ยว
o พายกระทะชักคะเย่อ
o พายเรือเดี่ยว ประเภทหญิง ประเภทชาย
• เวลา ๑๖.๐๐ น. ลีลาศบนสนามตะกร้ากลางคลอง กับสุนทราภรณ์
• เวลา ๑๖.๓๐ น. การแข่งขันกระบี่กระบอง หมากรุกคน ควงกระบองไฟ
• เวลา ๑๘.๐๐ น.การแสดงดนตรี สุนทราภรณ์ พร้อมลีลาศกับวงสุนทราภรณ์ ( กลางน้ำ )

วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑
• เวลา ๑๓.๐๐ น. การแข่งขันกีฬาโบราณ
o หัวใบ้ท้ายบอด
o ถ่อแพ
o ปีนเสาต้นน้ำมัน
o เดินไม้ไผ่ข้ามคลอง
o พายกระทะเดี่ยว
o พายกระทะชักคะเย่อ
o พายเรือเดี่ยว ประเภทหญิง ประเภทชาย
• เวลา ๑๖.๐๐ น. การแข่งขันตระกร้อลอดห่วง รอบชิงอันดับ ข
• เวลา ๑๘.๐๐ น.การแสดงดนตรี หัสดนตรีย้อนยุค ๓ สมัย โดย เจนภพ จบกระบวนวรรณ
o เพชร พนมรุ้ง , กังวานไพร ลูกเพชร , ศรชัย เมฆวิเชียร , สัญญ พรนารายณ์ , น้ำอ้อย พรวิเชียร , จีรพันธ์ วีรพงษ์ , สลักจิตร ดวงจันทร์ , เพลิน พรหมแดน
• เวลา ๑๙.๒๐ น. โขนด็กจาก ร.ร.ราชวินิตประถม


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.22 วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:35:45 น.  

 
สัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี 2551

คณะกรรมการจัดงานฯ กำหนดจัดสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญและเป็นวันสากลของโลก ในวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น.

ณ มณฑลพิธี กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (เยื้องวัดพระศรีมหาธาตุ) เขตบางเขน พร้อมทั้งอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานภายในบริเวณงานด้วย

ซึ่งเปลี่ยนแปลงสถานที่จัดงานเดิมจากบริเวณท้องสนามหลวง เนื่องด้วยกรมศิลปากรใช้พื้นที่เพื่อเตรียมจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ฯ

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดทำการแสดง๒วัน คือวันศุกร์ที่ ๑๖ พ.ค.๕๑ และวันจันทร์ที่ ๑๙ พ.ค.๕๑

วันศุกร์ที่ ๑๖ มีการแสดงธรรมบันเทิง เรื่อง พุทธานุภาพ ( ที่มาแห่งเพลงสาธุการ ) , ละครเรื่องพระมหาชนก ตอนนางมณีเมขลาช่วยพระมหาชนก , ละครในเรื่องอิเหนาตอนไหว้พระปฏิมา

วันจันทร์ที่ ๑๙ มี ระบำวันวิสาขบูชาและละครชาดกเรื่ององคุลิมาล

ดูแผนที่สถานที่จัดงานได้ที่

//www.dra.go.th/dra_new/news/02052551/map.jpg


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.164 วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:26:13 น.  

 
มีรูปการแสดงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ในเทศกาลวันวิสาขบูชา ที่ เวบบอร์ด กรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์ดนตรีหน้า ๑๒ หัวข้อรูปการแสดงในงานเทศกาลวันวิสาขบูชา ๒๕๕๑
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000963&ID_Room=00000007&RecordCount=289&PageSetUp=12&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.122 วันที่: 21 พฤษภาคม 2551 เวลา:7:26:34 น.  

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดบรรยายพิเศษ

โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๗/ ๒๕๕๑

ในหัวข้อ “การซ่อม ราชรถ ราชยาน ในงานพระเมรุ”

โดย นายสมชาย ณ นครพนม ( ๙ ชช.)
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์

ในวันเสาร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐น.

ณ อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งที่
ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โทร. ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓ , ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.122 วันที่: 21 พฤษภาคม 2551 เวลา:7:33:00 น.  

 
กิจกรรมวิถีชีวิตไทยครั้งที่ ๔ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
กิจกรรมเทิดพระเกียรติ พสกนิกรใต้ร่มบารมี

เนื่องจากพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะศิลปศาสตร์
สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม และการท่องเที่ยว
ร่วมกับสาขาวิชาออกแบบแฟชั่น

ขอเสนอโครงการกิจกรรมเทิดพระเกียรติ
“พสกนิกรใต้ร่มบารมี บางกอกนครแห่งวัฒนธรรม”
อันเป็นกิจกรรมที่จะแสดงถึงศักยภาพของพิพิธภัณฑ์ในสังกัดกรุงเทพมหานคร
ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในระดับที่ยอมรับ
โดยจะจัดกิจกรรมการแสดง เรียงร้อยจากวรรณกรรมประวัติศาสตร์จีน
ซึ่งได้มีการแปล และนำเรื่องราวมากล่าวขานจนกลมกลืน
ไปกับวัฒนธรรมไทยเช่นเดียวกับอิทธิพลอื่นๆ ที่ได้รับจากจีน


กำหนดการ : วันเสาร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

:๑๕.๓๐ พิธีกรเรียนเชิญผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน
กล่าวคำปฏิญาณ และร้องเพลงชาติ
๑๕.๔๕ ประธานกล่าวเปิดงาน
๑๖.๐๐ ละครเรื่อง “บูเช็คเทียน”
๑๘.๓๐ผู้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ปิดงาน

คำปฏิญาณ : เราเป็นคนไทย เราจะทำแต่สิ่งดีๆให้แก่เพื่อนร่วมชาติ
และกรุงเทพมหานครของเรา
เราเกิดเป็นไทย เราพร้อมตอบแทนแผ่นดินไทยของเรา


เชิญชมบอร์ดนิทรรศการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก
สภากาชาดไทย และบอร์ดนิทรรศการอาหาร “ตำราอาหารเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก”
ของพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดนามาตุ

เชิญชมและซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์จากร้านค้าหลากหลาย
เชิญอุดหนุนร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์สาขาธุรกิจการโรงแรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ตั้งแต่ 10.00 น. วันเสาร์ที่ 24 และอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม 2551

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 02-234-6741
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ถ.เจริญกรุง ซ.43 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
หรือ 086-504-4226 (อุ้ม)


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.122 วันที่: 21 พฤษภาคม 2551 เวลา:7:37:19 น.  

 
มูลนิธิดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
การแสดงของศิลปินกรมศิลปากรรอบพิเศษ เพื่อหารายได้สมทบทุนสวัสดิการกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๗.๐๐ นาฬิกา

บัตรราคา ๑,๕๐๐ ๑,๒๐๐ ๙๐๐, ๖๐๐, และ ๓๐๐ บาท
สถานที่จำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ ๐๒-๒๒๔-๑๓๔๒
คุณเนาวลักษณ์ วัฒนพานิช ๐๒-๕๒๖-๗๙๒๖, ๐๘๙-๘๙๓-๒๐๘๙
คุณ รุจิรา สายสนั่น ฯ ๐๒-๗๓๑-๐๑๐๓, ๐๘๗-๐๕๕-๓๓๑๓

รายการแสดง
๑.รำอวยพร
๒.การบรรเลงเครื่องสายไทย (ผสมผสานหลายๆชนิด)
๓.ฉุยฉายพระเอกลิเก
๔.เดี่ยวระนาดเอก ๙ ราง
๕.การบรรเลง แคนวง ประกอบการขับร้อง ออกระบำต่างๆ
๖.ระบำดอกไม้แห่งความรัก
๗.ฉุยฉายไกรทอง ต่อด้วยระบำจระเข้
๘.การขับร้องเพลงแห่งความรัก (เช่น อิเหนา- จินตะหรา ฯลฯ)
๙.ละครเรื่องพระลอ ตอน “พระลอตามไก่” – “ระบำไก่”
๑๐.ระบำสวัสดิรักษานักรบ
๑๑.ละครพันทางเรื่อง “ราชาธิราช” ตอน “ดูตัวสมิงนครอินทร์”
๑๒.ละครพันทางเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ ” ตอน“บุเรงนองรัวกลองรบ”
( หมายเหตุ รายการแสดงนี้ได้มาจากใบรายการเดิม ก่อนที่จะเลื่อนการแสดงเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพี่นางฯ )


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.213 วันที่: 24 พฤษภาคม 2551 เวลา:13:00:46 น.  

 
กุฏิสุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
•ศูนย์ประสานงานการประกวดร้อยกรองออนไลน์ 2551 | เลขที่ 59/21 หมู่ที่ 9 ซอยศิริโสภา ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
โทร. 085-1666473 หรือ 089-9402676 แฟ็กซ์ 0-2931-6221
e-mail : info_thaipoet@yahoo.com | //www.thaipoet.net

โครงการประกวดร้อยกรองออนไลน์ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 2 ประจำปี 2551
การแบ่งประเภท และระดับชั้นของการประกวด
1. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - กาพย์ยานี 11
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย - กลอนสุภาพ
3. ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป - โคลงสี่สุภาพ

รูปแบบและวิธีการดำเนินงาน
1. จัดตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาและคัดเลือกร้อยกรอง แต่ละประเภท และแต่ละระดับชั้น โดยให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาตัดสิน การประกวดในแต่ละเดือน และให้มีคณะกรรมการตัดสินชี้ขาดพิจารณาตัดสินในรอบสุดท้าย โดยพิจารณาจากผลงานที่ได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศในแต่ละเดือน มาตัดสินเลือกผลงานชนะเลิศและรองชนะเลิศ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อฯแขนงต่าง ๆ รวมทั้งเวบไซต์ของสมาคมนักกลอนฯ
3. เปิดรับผลงานส่งเข้าประกวด 3 ช่องทาง คือ
• ส่งผลงานทางเวบบอร์ด ในเวบไซต์ของสมาคมนักกลอนฯ (//www.thaipoet.net)
• ทางอีเมล์ (info_thaipoet@yahoo.com)
• ทางไปรษณีย์ (“กองประกวดร้อยกรองออนไลน์ฯ 2551” เลขที่ 59/21 หมู่ที่ 9 ซอยศิริโสภา ถนนโชคชัย 4
แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 วงเล็บมุมซองว่า “ประกวดร้อยกรอง”)
โดยการส่งทางไปรษณีย์ ภายในเวลาที่กำหนด ตามหลักฐานการประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ
4. นำผลงานทุกชิ้นที่ส่งประกวด เผยแพร่ผ่านเวบบอร์ด ในเวบไซต์ของสมาคมนักกลอนฯ
5. แจ้งผลการตัดสินในแต่ละเดือน ผ่านเวบไซต์ของสมาคมนักกลอนฯ
6. แบ่งการพิจารณาเป็นรายเดือน และประกาศผลผู้ชนะการประกวดในแต่ละประเภท แต่ละระดับเป็นรายเดือน (แบ่งเป็นผู้ชนะเลิศ 1 คน และรองชนะเลิศ อีก 2 คน อาจมีรางวัลชมเชย หรือรางวัลพิเศษ แล้วแต่กรณี)
7. นำผลงานของผู้ชนะในแต่ละเดือน มาพิจารณาและตัดสินในรอบสุดท้าย เพื่อพิจารณาหาผู้ชนะการประกวด ในแต่ละระดับชั้น เพื่อคัดเลือกและตัดสินในชั้นสุดท้าย (ชนะเลิศ 1 คน และรองชนะเลิศ 2 คน อาจมีรางวัลชมเชย หรือรางวัลพิเศษ แล้วแต่กรณี)
8. ผลงานของผู้ที่ส่งเข้าประกวด , ผลงานชนะเลิศ รองชนะเลิศ ในแต่ละเดือน , ผลงานชนะเลิศ รองชนะเลิศในรอบสุดท้าย (5 เดือน) จะมีการพิจารณานำผลงานมารวมเล่ม ในนามของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยด้วย
หลักเกณฑ์การพิจารณา
1. เป็นงานเขียนร้อยกรอง ตามฉันทลักษณ์ที่กำหนด โดยมีความยาวต่อชิ้นงาน 6-10 บท และเป็นงานของผู้เขียนคนเดียว (ไม่จำกัดจำนวนชิ้นในการส่ง)
2. เป็นผลงานที่ผู้เขียนเขียนขึ้นเอง โดยมิได้มีส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด จากการคัดลอก ดัดแปลงผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง และไม่เคยเผยแพร่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ใด ๆ

3. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการที่เนื้อหาข้อเท็จจริงในผลงานที่ส่งเข้าประกวด มีลักษณะละเมิดกฎหมาย หากมีข้อพิพาททางกฎหมาย ไม่ว่าในกรณีใด ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
4. ผู้ส่งผลงานต้องให้ชื่อ-สกุล รวมถึงสถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับที่สะดวก เช่นเดียวกับกรณีที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ใช้นามแฝงในการประกวด ก็ต้องแจ้งชื่อ-สกุล สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และในกรณีที่ได้รับรางวัล จะต้องแสดงสำเนาบัตรประชาชน เพื่อยืนยันการรับรางวัล ทั้งนี้ หากผู้ส่งผลงานไม่แจ้งชื่อ-สกุล รวมถึงสถานที่ติดต่อ และหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อสะดวกในการติดต่อกลับ อาจถูกตัดสิทธิการส่งผลงานได้
5. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องมีรูปแบบถูกต้องตามกรอบและกฎเกณฑ์ ของฉันทลักษณ์และวรรณศิลป์ ตามรูปแบบฉันทลักษณ์ประเภทนั้น ๆ
6. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะพิจารณาถึงความสมบรูณ์และความงามของ “รสความ” ความสมบรูณ์และความงามของ “รสคำ” ใช้ถ้อยคำภาษาถูกต้อง เนื้อหาสาระสร้างสรรค์ จรรโลงสังคม
7. การตัดสินของคณะกรรมการ พิจารณาจากการให้คะแนนรายบุคคล ตามองค์ประกอบของเกณฑ์ที่กำหนด และมติของคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่เสียงเท่ากัน ให้ประธานคณะกรรมการฯแต่ละชุด เป็นผู้มีสิทธิในการชี้ขาดว่า ผลงานใด สมควรได้รับรางวัล
8. คณะกรรมการสงวนสิทธิ ที่จะไม่มอบรางวัล ในกรณีที่ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน ที่คณะกรรมการกำหนด
9. การตัดสินของคณะกรรมการ ถือเป็นที่สุด
10. กรณีมีปัญหานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ
11. ลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์หนังสือ เป็นของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

ระยะเวลาดำเนินการ
• เดือนมิถุนายน 2551 เป็นต้นไป และเสร็จสิ้นโครงการเดือนธันวาคม 2551
• ประกาศผลรอบสุดท้าย ไม่เกินวันที่ 30 พฤศจิกายน 2551
• มอบรางวัลใน “วันนักกลอน” 10 ธันวาคม 2551 การประชุมสามัญประจำปี สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการตัดสินร้อยกรองแต่ละประเภท
คณะกรรมการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย / คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วงการวรรณกรรม

คณะกรรมการตัดสินรอบรายเดือน
1. ยุทธ โตอดิเทพย์ ประธานกรรมการตัดสินฯ
2. โชคชัย บัณฑิต’ กรรมการ
3. รักษ์ มนัญญา กรรมการ

4. พิเชฐ แสงทอง กรรมการ
5. อาจินต์ ศิริวรรณ กรรมการ
6. ยงยุทธ ใจซื่อดี กรรมการ
7. นายทิวา กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการตัดสินรอบสุดท้าย
1. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานกรรมการตัดสิน
2. ยุทธ โตอดิเทพย์ กรรมการ
3. คมทวน คันธนู กรรมการ
4. โชคชัย บัณฑิต’ กรรมการ
5. นิภา บางยี่ขัน กรรมการ
6. สุธีร์ พุ่มกุมาร กรรมการ
7. ทองแถม นาถจำนง กรรมการและเลขานุการ

รางวัล
1. รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศรายเดือน (รวมถึงรางวัลอื่น ๆ ถ้าจะมี) จำนวน 5 ครั้ง
• กาพย์ยานี 11 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
•ชนะเลิศ เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศ อันดับ 1 เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
• กลอนสุภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
•ชนะเลิศ เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศ อันดับ 1 เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
• โคลงสี่สุภาพ ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
•ชนะเลิศ เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศ อันดับ 1 เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี



2. รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ รอบสุดท้าย (รวมถึงรางวัลอื่น ๆ ถ้าจะมี) จำนวน 1 ครั้ง
• กาพย์ยานี 11 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
•ชนะเลิศ เงินสด 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินสด 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสด 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
• กลอนสุภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
•ชนะเลิศ เงินสด 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินสด 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสด 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี
• โคลงสี่สุภาพ ระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
•ชนะเลิศ เงินสด 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินสด 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสด 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและหนังสือที่ระลึก
•รางวัลอื่น ๆ ถ้ามี

หัวข้อการประกวด
(ทุกประเภท/ทุกระดับชั้น ใช้หัวข้อการประกวดเดียวกัน ในแต่ละเดือน)
• หัวข้อการประกวดประจำเดือนมิถุนายน (1 มิ.ย.-30 มิ.ย.51 ประกาศผล 15 ก.ค.51) : “ลมปาก”
• หัวข้อการประกวดประจำเดือนกรกฎาคม (1 ก.ค.-31 ก.ค.51 ประกาศผล 15 ส.ค.51) : “เมืองหุ่น”
• หัวข้อการประกวดประจำเดือนสิงหาคม (1 ส.ค.-31 ส.ค.51 ประกาศผล 15 ก.ย.51) : “ทางออก”
• หัวข้อการประกวดประจำเดือนกันยายน (1 ก.ย.-30 ก.ย.51 ประกาศผล 15 ต.ค.51) : “ร่องรอยกาลเวลา”
• หัวข้อการประกวดประจำเดือนตุลาคม (1 ต.ค.-31 ต.ค.51 ประกาศผล 15 พ.ย.51) : “ประวัติศาสตร์”

 คณะกรรมการชุดใหญ่ กำหนดวันประชุมภายใน 15 วัน เพื่อลงมติตัดสินในรอบสุดท้าย
และประกาศผลภายในวันที่ 30 พ.ย.51
 (หัวข้อการประกวดเป็นการกำหนดกรอบกว้าง ๆ เพื่อสะดวกในการตัดสินในแต่ละเดือน
ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องตั้งชื่อผลงานที่ส่งเข้าประกวด เป็นชื่อเดียวกับหัวข้อการประกวด)




ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มหา สุรารินทร์ (085-1666473) หรือ ชื่นกมล ศรีสมโภชน์ (089-9402676)

คณะทำงาน
1. นายโชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์
2. นายประสิทธิ์ อทินวงศ์
3. นายชินวัตน์ ตั้งสุทธิจิต
4. นายยงยุทธ ใจซื่อดี
5. นายเอกรัตน์ จิตรมั่นเพียร
6. นางสาวชื่นกมล ศรีสมโภชน์
7. นายสุเมษย์ เมืองคำ
8. นายอนนท์ ศรีพิพัฒน์
9. นายพิเชฐ แสงทอง
10. นายรักษ์มนัญญา สมเทพ
11. นายอาจินต์ ศิริวรรณ
12. นายกฤษฎา สุนทร


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:57:19 น.  

 
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=293&PageSetUp=7&Keyword=

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
ปีที่ ๓๐ ครั้งที่ ๑ วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น
การแสดงว่าด้วยความจงรักภักดีและความรักจากวรรณคดี

รายการแสดง

๑.รำอาศิรวาทราชสดุดี ” สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า ”
๒.รำถวายอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๓.โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ทศกัณฐ์เกี้ยวนางมณโฑ
๔.โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน พาลีเกี้ยวนางดารา
๕.ละครนอกเรื่องจันทโครพ ตอน จันทโครพเกี้ยวนางโมรา
๖.ละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน พลายบัวเกี้ยวนางตานี
๗.ละครพันทางเรื่องราชาธิราช ตอน มะสะลุมเกี้ยวนางเกษรา
๘.ละครแนวตลกเรื่องอิเหนา ตอน ประสันตาต่อนก

กำกับการแสดง และ นำแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ร่วมด้วย ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , เลียว คงกำเหนิด , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , พรทิพย์ ทองคำ ,นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา ,สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร ,รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี ,สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินกรมศิลปากร อีกมากมาย

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:18:58:59 น.  

 
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=293&PageSetUp=7&Keyword=

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการ ศิลปินศิลปากร
ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

รายการที่ ๑ พระเคณศประทานพร
รายการที่ ๒ ดอกไม้เป็นสื่อ นี่คือ ทรพา ทรพี
รายการที่ ๓ ระบำสุกรกำแหง
รายการที่ ๔ ละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนแต่งงานพลายงาม

กำกับการแสดง โดย พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา
สายสกุลจารุจินดาสายที่ 3 //www.charuchinda.com/Residence/Jarujinda~Residence3.html
หน้าหลักสายสกุลจารุจินดา //www.charuchinda.com/Jarujinda~Home.html

นำแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด
สุรเดช เผ่าช่างทอง , เลียว คงกำเหนิด , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม ธนันดา มณีฉาย , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ และ ศิลปินกรมศิลปากร อีกมากมาย

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐

แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:00:42 น.  

 
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=293&PageSetUp=7&Keyword=

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชม การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด มัยราพณ์สกดทัพ

นาฏศิลปิน - โขนยักษ์

ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์,ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต,วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์,กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม

นาฏศิลปิน - โขนลิง
ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , พรเลิศ ( เอ็กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร

นาฏศิลปิน - โขนพระ-นาง
วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์,ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ,อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
พรทิพย์ ทองคำ

ร่วมด้วย ประสาท ทองอร่าม ถนอม นวลอนันต์ จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อีกมากมาย

สถานที่จัดแสดง

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์

ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
แสดงวันอาทิตย์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ และ วันอาทิตย์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
หอวชิราวุธานุสรณ์ วันแสดง ( ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรฯ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
นาย เจริญ เรืองวิชญกุล หัวหน้าโรงละครฯ
แสดง วันเสาร์ที่ ๑๐ และ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐ ( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม.) โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=293&PageSetUp=7&Keyword=

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด มัยราพณ์สกดทัพ

กรุงเทพ - โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
แสดงวันอาทิตย์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑ และ วันอาทิตย์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
หอวชิราวุธานุสรณ์ วันแสดง ( ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรฯ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

สุพรรณบุรี -โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
นาย เจริญ เรืองวิชญกุล หัวหน้าโรงละครฯ แสดง วันเสาร์ที่ ๑๐ และ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.

นครราชสีมา - โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐ ( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม.) โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ
แสดง วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
( ข้อมูลจากสูจิบัตรโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี )

ผู้แสดงฝ่ายพลับพลา

พระราม-วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
พระลักษณ์-ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
พิเภก-กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
ชามภูวราช-ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
สุครีพ-พรเลิศ ( เอ็กซ์ )พิพัฒน์รุ่งเรือง
หนุมาน-กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร ,เอกภชิต ( ดิ๋ว )วงศ์สิปปกร,จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
ชมพูพาน-วีรพงศ์ ( อั๋น ) ดลละคร
องคต-ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
นิลนนท์-ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
ลิงแปลง ( มัยราพณ์แปลง )-เลียว คงกำเนิด
พระราม,พระลักษมณ์ ( เด็กเล็ก ) สิบแปดมงกุฏและเขนลิง ใช้ผู้แสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป

ผู้แสดงฝ่ายลงกา

มัยราพณ์- ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต ,วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
มเหสี -อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
นางพิรากวน-พรทิพย์ ทองคำ
มัจฉานุ-ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
ยักษ์ตลก-ถนอม นวลอนันต์ , จรัญ พูลลาภ
เสนายักษ์ ใช้ผู้แสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์

ผู้พากษ์-เจรจา - ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

ผู้บรรเลงและขับร้อง

หัวหน้าวง-บุญเชิด จิรสันติธรรม
ปี่-ประดิษฐ์ หนูจ้อย
ระนาดเอก-สุชีพ เพ็ชรคล้าย
ระนาดทุ้ม-วรศิลป์ สังข์จุ้ย
ฆ้องวงใหญ่-จำลองม่วงท้วม
ฆ้องวงเล็ก-ศรายุทธ สายโรจน์
ตะโพน-อนุชา บริพันธ์
กลอง-ศุภวัฒน์ ขวัญคุ้ม
ฉิ่ง-อารมณ์ พลอยหิรัญ
โหม่ง-พิเชฏ โยธี

ขับร้อง - กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ , กำจรเดช สดแสงจันทร์ , รณชัย ผาสุกกิจ , ประจักษ์ อยู่เจริญ
ศิริญาณ๊ ( แมว ) กิ่มเปี่ยม , มัณฑนา ( ม้วน ) อยู่ยั่งยืน , ภมรรัตน์ ( ผึ้ง ) โพธิสัตย์ , วันเพ็ญ ( แก้ว ) จิตตรง
ที่ปรึกษาด้านดนตรี จิรัส อาจณรงค์ ศิลปินแห่งชาติ
ที่ปรึกษาด้านขับร้อง ศิลปี ตราโมท , เผชิญ กองโชค , กัญญา โรหิตาจล , ดวงเนตร ดุริยพันธุ์ , บุญช่วย แสงอนันต์

กำกับการแสดง -ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง - สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสอาด , สุรเดช เผ่าช่างทอง , ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ ,คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
อำนวยการฝึกซ้อม - ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ
เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู
บอกบท - แพรวดาว พรหมรักษา , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
ประสานงานการแสดง - สลักใจ เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง - สุวรรณี สุเสวี
จัดทำสูจิบัตร - กลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง
หัวหน้าฝ่ายพัสตราภรณ์และเครื่องโรง - อรพินท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ - วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ
หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย - สมชาย ทับพร
หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง - ชวลิต ( อี้ด ) สุนทรนนท์
หัวหน้ากลุ่มโรงละครแห่งชาติ - ยงยุทธ ไหวพริบ
หัวหน้ากลุ่มจัดการแสดง - พัชรา ( แป๋ง ) บัวทอง
ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต - การุณ สุทธิภูล

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
หัวหน้าโรงละคร ฯ -เจริญ เรืองวิชญกุล
กำกับเวที -สุเทพ แก้วดวงใหญ่
กำกับฉาก -สมชาย สวัสดี
แสง -วิรัตน์ คำแข็งขวา , สมบัติ แสงแก้ว
เสียง -ไพฑูรย์ ประดับค่าย , วิชัย กลิ่นมาลา
ประชาสัมพันธ์ -คณวัฒน์ อยู่บัว , การะเกด


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:04:31 น.  

 
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000960&ID_Room=00000007&RecordCount=293&PageSetUp=11&Keyword=

การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ของกรมศิลปากร
ในวันอาทิตย์ที่ ๔ ,วันเสาร์ที่ ๑๐ , ๑๗ , วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม และ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑
ประสาท ทองอร่าม บรรยาย

การจัดทำบทโขนชุดนี้นำแนวทางการจัดทำบทจากของเดิมซึ่งกรมศิลปากรจัดการแสดงมาแล้วและสำนวนบางตอนของอาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏดุริยางคศิลป์ มาร่วมประกอบ เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับการแสดง โดยยึดบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นหลัก ซึ่งเหมาะสมและสะดวกในการแสดงตามรูปแบบของโขน

การแสดงครั้งนี้ เนื่องด้วยสถานที่ไม่เอื้ออำนวยในการทำฉาก ทางผู้จัดทำบทจึงปรึกษากับผู้อำนวยการสังคีต และ ครู อาจารย์ ผู้ดำเนินการจัดการแสดงถึงการปรับจำนวนผู้แสดง ฉาก และเนื้อเรื่องให้เหมาะสมกับสถานที่ เพื่อให้การแสดงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตามตารางโครงการแสดงของสำนักการสังคีต เพื่อสนองตอบตามความต้องการของประชาชน

เรื่องย่อก่อนการแสดงมัยราพณ์เจ้าเมืองบาดาล มีศักดิ์เป็นหลานของทศกัณฐ์ ก่อนที่มัยราพณ์ จะขึ้นครองเมือง ท้าวมหายมยักษ์ผู้เป็นบิดาเคยสั่งเรื่องสำคัญ ให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เรื่องหนึ่ง คือ อย่าคบหาสมาคมกับทศกัณฐ์ เจ้ากรุงลงกาเป็นอันขาด เพราะท่านรู้ว่าทศกัณฐ์นั้นเป็นพาล อาจจะนำความพินาศมาสู่เมืองบาดาล ดังนั้นเมื่อมัยราพณ์ขึ้นครองบาดาลจึงสร้างด่านต่างๆขึ้นไว้เพื่อป้องกันภัยจากภายนอกมิให้เข้ามาสู่กรุงบาดาล และที่หน้าประตูเมืองยังมีตาชั่ง สำหรับตรวจตราผู้ที่จะเข้าออกอย่างเข้ทแข็งตลอดเวลา นับว่าเป็นการระแวดระวังภัยอย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัยของกรุงบาดาลนั่นเอง
ด่านที่สำคัญด่านหนึ่งของกรุงบาดาลคือด่านสระบัว เป็นด่านชั้นในมีมัจฉานุเฝ้ารักษาด่าน มัจฉานุนั้นมัยราพณ์นำมาอุปถัมถ์เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อครั้งเสด็จประพาสป่าและพบมัจฉานุ ซึ่งนางสุพรรณมัจฉาแอบมาคลอดไว้ เพื่อหลบหนีความผิดจากทศกัณฐ์
วันหนี่งมัยราพณ์ฝันร้าย บรรดาโหราจารย์ทำนายว่าจะสิ้นชีวิต และไวยวิกจะขึ้นครองเมืองแทน ด้วยถึงคราวกรรมทำให้มัยราพณ์หลงผิดคิดว่าไวยวิกจะเป็นกบถ จึงให้จับตัวใส่ตรุคุมขังไว้และถอดนางพิรากวนผู้เป็นแม่ลงเป็นไพร่
ทศกัณฐ์ทราบความว่า มัยราพณ์เจ้าบาดาลนั้นมีฤทธิ์ในการเป่ายาสะกดทัพศัตรูได้ จึงไปเชิญให้มาช่วยปราบศึกพระราม มัยราพณ์ลืมนึกถึงคำสั่งของบิดา และด้วยความเป็นอสุรพงศ์ จึงคิดแค้นพระรามแทนทศกัณฐ์ รับอาสาไปสะกดทัพจับพระรามลงไปบาดาล เพื่อที่จะสังหารพร้อมไวยวิกหลานของตนนั่นเอง
และต่อไปนี้ ขอเชิญชมการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้ ณ.บัดนี้


อสูรพงศ์แห่งเมืองบาดาล

พระสหมลิวัน ( พรหม ) กษัตริย์เมืองบาดาลองค์ที่ ๑ มีโอรสชื่อ มหายมยักษ์
มหายมยักษ์ กษัตริย์เมืองบาดาลองค์ที่ ๒ มีมเหสีชื่อ นางจันทรประภา ( ศรี )
มีธิดาชื่อ นางพิรากวน กับโอรสชื่อ มัยราพณ์ กษัตริย์เมืองบาดาลองค์ที่ ๓
นางพิรากวนมีบุตรชื่อ ไวยวิก หรือ วันยุวิก กษัตริย์เมืองบาดาลองค์ที่ ๔

มัยราพณ์ กษัตริย์เมืองบาดาลองค์ที่ ๓ มีกายสีม่วงอ่อน ๑ หน้า ๒ มือ มงกุฏกระหนก ( อสุรพงศ์ฉบับสมุดไทยว่ามงกุฏหางไก่ )

บทการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดมัยราพณ์สะกดทัพ ประสาททองอร่าม จัดทำบท

-ปี่พาทย์ทำเพลงวา-
( เปิดม่าน )
ฉากเปล่าพื้นหลังเป็นสีดำ
( มัยราพณ์ยืน ( ท่าโขน ) อยู่ในฉาก )
-อ่านโคลงประจำภาพ-
ริรูปมัยราพณ์เจ้า_กรุงบา_ดาลแฮ
สีม่วงอ่อนอสุรา_ฤทธิ์แกล้ว
เป็นโอรสมหา_ยมยักษ์ _นั้นนอ
ทรงมงกุฏกนกแพร้ว_เผ่าพ้องพรหมินทร์ ฯ
-ปี่พาทย์ทำเพลงเสมอมาร-
( มัยราพณ์รำออกหน้าม่าน )
( ปิดม่าน )
มัยราพณ์-เมื่อรับอาสาพระจอมอสุรินทร์เจ้าลงกา จะสะกดทัพจับพระรามนายสวาไปบาดาล ครั้นขุนมารหุงสรรพยา สำเร็จเสร็จสรรพตามตำหรับซึ่งบ่งบังคับไว้ ให้ชื่นชมสมพระทัยเป็นยิ่งนัก พระยายักษ์กำเริบจิตคิดคะนองจะลองยา จึงมีพระราชวาจาเรียกเหล่าทหารว่า พวกเราชาวบาดาลใครอยู่บ้างหว่า
( เจรจาติดตลกเล่นกวนมุขลองสรรพยาหายตัวพอสมควรแล้วโยงเรื่องเข้าไวยวิกต้องโทษ )

-ร้องเพลงนาคราช-
เมื่อนั้น_มัยราพณ์ฤทธิไกรใจหาญ
ได้ฟังเห็นจริงยิ่งรำคาญ_จึงแกล้งพาลพาโลโกรธา
อันไอ้ไวยวิกทรลักษณ์_เสียแรงกูพิทักษ์รักษา
ยังคิดร้ายหมายชิงเอาพารา_ไม่เจียมตัวชั่วช้าสาระพัน
-ร้องร่าย-
มึงอย่าชักช้าร่ำไร_จับไอ้ไวยวิกขังมั่น
ทั้งอีพิรากวนแม่มัน_เอาแยกกันตรากตรำจำไว้
ต่อกูได้พระรามลงมา_จึงจะฆ่าเสียด้วยให้ม้วยไหม้
สั่งแล้วลีลาคลาไคล_ตั้งใจหมายจิตคิดเตรียมการ
-ปี่พาทย์ทำเพลงเข้าม่าน-
( มัยราพณ์รำเข้าเวที ผู้แสดงทั้งหมดเข้าเวที )

( เปิดม่าน )
ฉากพลับพลาพระราม
( สิบแปดมงกุฎ พญาวานร พิเภก เฝ้าตามตำแหน่งที่ )
( พระราม พระลักษณ์ ประทับบนพระแท่นที่ )
-ร้องเพลงช้าปี่-
เมื่อนั้น_พระตรีภพลบโลกทุกสถาน
เสด็จออกพลับพลาว่าราชการ_เหล่าทหารนอบน้อมอยู่พร้อมพรัก
-ร้องเพลงแขกมอญ-
เมื่อเวลาราตรีจะมีเหตุ_จึงอาเพศลางใหญ่ให้ประจักษ์
ลมกระพือพาผงมาตรงพักตร์_เวียนเป็นทักขิณาวัฏพัดขึ้นไป
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว-
( เปิดซาวด์เสียงลมพายุ )
-ร้องร่าย -
เห็นประหลาดหลากอยู่ไม่รู้ความ_จึงตรัสถามโหราอัชฌาสัย
อันลมลางอย่างนี้จะมีภัย_หรือจะให้ศรีสวัสดิ์วัฒนา
-เจรจา-
พิเภก-พิเภกโหราได้ฟังพระบรรหาร พิเคราะห์ดูก็รู้การณ์อันจะอุบัติ จึงกราบทูลองค์ พระทรงสวัสดิ์ว่าโปรดเกล้า อันลมลางอย่างนี้เล่าบอกเภทภัย ด้วยจะมีอสูรเรืองฤทธิไกรน้ำใจบาป มีชื่อว่ามัยราพณ์จะลอบขึ้นมาสะกดทัพ ถ้าสำเร็จมันจะจับพระองค์ลงไป ขัวไว้ในเมืองบาดาลแต่ข้าพระบาทคาดการณ์ว่าไม่อับจน พระองค์จะผ่านพ้นจากภัยพิบัติ เพราะข้าทหารผู้ซื่อสัตย์จักอาสา พระเกียรติจะระบือลือพระเดชากฤษฎาธิการ จะได้ผลาญไพรินทมิฬมารม้วยชีวาตม์ แต่ในยามปฐมราตรีนี้ใต้ฝ่าพระบาทพระเคราะห์ร้ายนัก ขอองค์พระหริรักษ์มีพระราชโองการ ให้บรรดาข้าเฝ้าเหล่าทหารช่วยล้อมวง เฝ้าพิทักษ์รักษาพระองค์อย่าวางพระราชหฤทัย ต่อเพลาใกล้ปัจจุสมัย ดวงดาวประกายพรึกขึ้นเยี่ยมนภากาศ นั่นแหละใต้ฝ่าพระบาทจึงจะพ้นกำหนดพระเคราะห์ ณ เพลานั้น พระเจ้าค่ะ
พระราม-สมเด็จพระรามจันทร์ทรงประจักษ์ ในคำทำนายของขุนยักษ์ผู้ภักดี จึงตรัสสั่งสุครีพขุนกระบี่ผู้เรืองฤทธิไกรว่าท่านจงออกไปป่าวประกาศแก่เหล่าพหลพลโยธา ให้จัดกองขยายล้อมห้อมพลับพลาจงหลายชั้น หน่วยลาดตระเวนเดินสมทบประจบกันหมั่นตรวจตรา จงพร้อมใจพิทักษ์รักษาพลับพลาไชย อย่าให้อริราชไพรีมาก่อเรื่องอันใดได้ ณ บัดนี้
สุครีพ-สุครีพขุนกระบี่รับพระราชโองการใส่เกล้า คลานคล้อยถอยออกจากที่เฝ้าองค์รฆุบดี รีบมาจัดเหล่ากระบี่ตามพระราชบัญชา
-ปี่พาทย์ทำเพลงเสมอ-
( ปิดม่าน )
( สุครีพออกรำหน้าม่านแล้วเข้าเวที )

-ปี่พาทย์ทำเพลงสมิงทอมอญ-
( มัยราพณ์เดินออกหน้าม่าน )
เมื่อนั้น_พระยามัยราพณ์ยักษา
ครั้นพลบค่ำย่ำแสงสุริยา_เสียงฟ้าร้องต้องตำราฤกษ์ดี
จึงแต่งองค์ทรงเครื่องคร่ำว่าน_แก้วประพาฬเพชรรัตน์จำรัสศรี
พระกรจับกล้องแก้วแววมณี_แทรกพื้นปฐพีขึ้นมาพลัน
-ปี่พาทย์ทำเพลงคุกพาทย์-เชิด-
( มัยราพณ์แผลงฤทธิ์แล้วเต้นเข้าเวที )
( เปิดม่าน )

ฉากหนุมานอมพลับพลา
( ถ้าไม่มีฉาก หนุมานอยู่หน้าที่ประทับพระรามแทน )
( พระราม ( เด็ก ) บรรทมบนพระแท่นที่ พระลักษณ์ ( เด็ก ) บรรทมอยู่ข้างพระแท่นที่ พิเภกเฝ้าตามตำแหน่งที่
พญาวานร สิบแปดมงกุฎ เขนลิง ลิงตลก อยู่ยาม ตามไฟ ตีเกราะ เคาะโกร่ง )
( มัยราพณ์ออกด้านหนึ่ง )
-ร้องเพลงพม่าฉ่อย -
ครั้นถึงกองทัพพลับพลา_เห็นโยธาเที่ยวตรวจกวดขัน
ทั้งแสงเพลิงโพลงสว่างดั่งกลางวัน_กุมภัณฑ์ค่อยย่องมองเข้าไป
( เจรจาติดตลกเรื่องพระรามมีพระเคราะห์ร้าย จนถึงมัยราพณ์จะมาสะกดทัพ
ต้องคอยดักจับตัวมัยราพณ์ให้ได้ ( ไม่ต้องยาว ) )
-ร้องร่าย-
เมื่อนั้น_มัยราพณ์ฤทธาอัชฌาสัย
ยืนแฝงฟังลิงยังกริ่งใจ_เหตุไฉนจึงรู้ว่ากูมา
อย่าเลยจะแสร้งจำแลงตน_เข้าปลอมพลพวกกระบี่ดีกว่า
จะได้ยินกับหูรู้กับตา_อสุราคิดพลางทางแปลงกาย
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว-
( มัยราพณ์ร่ายเวทย์แปลงกาย ท้ายเพลง ลิงดำออก )
-ร้องเพลงสุโขทัย-
เป็นกระบี่พีพ่วงทะลวงวิ่ง_เข้าปลอมปนพลลิงทั้งหลาย
แกล้งทำเทียมหมื่นขุนมูลนาย_ถือหวายเที่ยวหวดตรวจตรา
( เจรจาติดตลกลิงแปลงกับลิงตลก เรื่องมัยราพณ์จะมาสะกดทัพให้เหล่าพลลิงช่วยกันอยู่รักษาการณ์ พอถึงสามยามปลาย ดาวประกายพฤกษ์ขึ้นเยี่ยมฟ้า
พระรามจึงจะหมดพระเคราะห์ พอสมควรแล้วลิงแปลงขอลาออกมา )
-ร้องเพลงเขมรเอวบาง-
เมื่อนั้น_มัยราพณ์ฤทธิแรงแข็งกล้า
แจ้งความตามลิงจำนรรจา_อสุรารู้แท้แน่นอน
จำจะต้องถ่ายเทด้วยเล่ห์กล_ให้ลิงพลพวกมนุษย์หยุดหย่อน
คิดแล้วเลี้ยววงเข้าดงดอน_เป็นยักษ์แผลงฤทธิรอนระเห็ดไป
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว-เชิด-
( ลิงแปลงแผลงฤทธิ์เข้าเวที มัยราพณ์ออกอีกทางหนึ่ง อาจทำแท่นให้สูงแทนเขาโสลาศ ถ้ามีฉากให้ทำ ฉากเขาโสลาศอยู่ด้านหลังหรือด้านข้างพลับพลา )
-เจรจา-
มัยราพณ์-สถิตย์อยู่บนจอมภูผาใหญ่สูงตระหง่าน แล้วขุนมารกวัดแกว่งกล้องแก้วแสงแพรวพราว ก็เกิดเป็นประกายคล้ายดวงดาวประกายพฤกษ์ ครั้นเสร็จสมอารมณ์นึกจึงเหาะกลับไปพลับพลา เพื่อสะกดทัพจับองค์พระรามาไปบาดาล
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว-เชิดฉิ่ง-เชิดกลอง-
( เปิดไฟกระพริบเหมือนแสงดาว )
( มัยราพณ์แกว่งกล้องแก้วเป็นรัศมีคล้ายดาวประกายพฤกษ์ พวกลิงเห็นต่างดีใจ คิดว่าพระรามหมดพระเคราะห์ของพระราม ต่างกระโดดโลดเต้น บ้างก็ล้มตัวลงนอน มัยราพณ์เข้าเป่ายาสะกดทัพ เล่นกวนมุขกันบ้างพอสมควร มัยราพณ์เข้าแบกพระราม พาเข้าเวที )
-เจรจา-
หนุมาน-กำแหงหนุมานชาญศักดา ครั้นพระพายพัดต้องกายาก็พลิกฟื้นคืนอินทรีย์ ขุนกระบี่ให้นึกตระหนกแสนตกใจ ยิ่งแลไปไม่เห็นองค์พระสี่กรก็รู้แท้แน่นอนว่าเป็นกลของขุนมาร จึงเข้าไปปลุกองค์พระลักษมณ์และโยธาหาญเหล่าสวา
พระลักษมณ์-องค์พระศรีอนุชาแสนโศกศัลย์ไม่กลั้นได้
หวนรำลึกถึงพระตรีภูวไนยผู้เชษฐา ก็ซบพระพักตร์ลงโศกา
-ปี่พาทย์ทำเพลงโอด-
( พระลักษมณ์ทรงกันแสง เหล่าพลลิงพากันร้องไห้ )
-ร้องร่าย-
บัดนั้น_พระยาพิเภกยักษา
จึงบังคมสมเด็จพระอนุชา_แล้วทูลว่าอย่าทรงโศกาลัย
อันองค์พระจักรีสี่กร_จะม้วยมรณ์มรณานั้นหาไม่
ขอให้แต่งทหารชาญชัย_ตามไปพาราบาดาล
-เจรจา-
พระลักษมณ์-ดูกรกำแหงหนุมานผู้ชาญชิต เราจะสั่งจงตั้งจิตคิดอาสา ติดตามไปช่วยองค์พระจักราในบัดนี้ จงสังหารอสุรีที่มันหยาบคาย แล้วอัญเชิญองค์พระนารายณ์คืนกลับมา
หนุมาน-หนุมานขุนสวารับรับสั่งใส่เกศี ถวายบังคมแล้วแผลงฤทธาแทรกพื้นปฐพี
-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด-
( ปิดม่าน )
( หนุมานลาพระลักษมณ์ แล้วออกหน้าม่านเต้นเข้าเวที )
( หนุมาน ออกเต้นวนรอบเวที )
-ร้องเพลงฝรั่งควง-
ถึงสระหนึ่งน้ำใสใหญ่กว้าง_มีบัวใหญ่อยู่กลางสระศรี
ประกอบกอโกมลจงกลณี_ขุนกระบี่ยืนพินิจพิศดู
-ปี่พาทย์ทำเพลงฉิ่ง-
( เปิดม่าน )
ฉากสระน้ำ มีดอกบัวใหญ่ มัจฉานุอยู่ในฉาก
-ร้องเพลงลิงโลด-
บัดนั้น_มัจฉานุซึ่งรักษาสระอยู่
เห็นลิงใหญ่ใจหมายว่าศัตรู_ก็โบกหางวางวู่แหวกมา
ทะยานขึ้นยืนขวางทางไว้_แล้วว่าเหวยลิงใหญ่ใจกล้า
มัยราพณ์ให้เราเฝ้าคงคา_รักษาด่านกั้นชั้นใน
-ร้องร่าย-
หนุมานว่าเหวยไอ้ลิงเล็ก_จะเจียมตัวว่าเด็กก็หาไม่
มึงอย่ามาขวางทางไว้_กูจะไปพาราบาดาล
-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด-
( มัยราพณ์เข้ารบกับหนุมานตามกระบวนท่า )
-เจรจา-
หนุมาน-กำแหงหนุมานเข้าต่อยุทธ์กับลิงเล็ก เจ้านี่ฤทธิ์ใช่ชั่วราวกับตัวเป็นเหล็กแสนคงทน แต่ฟาดฟันเป็นหลายหนหาตายไม่ กลับผัดล้อล่อไล่อยู่ไปมา มีฤทธิ์มากกว่ายักษาเป็นหลายเท่า ทั้งรูปกายก็คล้ายเราเป็นหนัหนา เกลือกจะเป็นเผ่าพงศาใช่ใครอื่น ดำริแล้วจึงหยุดยืนไม่ราวี พลางพาทีไต่ถามไปทันใด เหวยออเจ้านี้ลูกใครชื่อไรหวา จึงมีหางเหมือนอย่างปลา หน้าเป็นลิง จงบอกความไปตามจริงเถิดออเจ้า
มัจฉานุ-มัจฉานุนิ่งฟังวาจาที่ไต่ถาม จึงตอบความไปตามที่จำได้ มารดาเราสอนไว้แต่เยาว์มา ว่าหนุมานทหารพระรามาเป็นบิตุเรศ อันมารดาผู้เกิดเกศคือแม่นางมัจฉา หางของเราจึงเป็นหางปลาหน้าเป็นวานร อันว่านามกรของเรานี้ ชื่อมัจฉานุชนนีแต่งตั้งแต่เดิมมา ส่วนพญามัยราพณือสุราเจ้าบาดาล ท่านรักใคร่โปรดปรานในตัวเรา จึงสร้างสระโบกขรณีเป็นลำเนาให้เราอยู่สำนัก เราจึงมีหน้าที่บริรักษ์ด่านกรุงไกร แล้วตัวท่านเล่าเป็นผู้ใหญ่ก็อย่าอำพราง เราขอถามตัวท่านบ้างว่าชื่อไรนะท่าน
-ร้องเพลงพญาสี่เสา-
เมื่อนั้น_หนุมานฟังแจ้งแถลงไข
รู้ว่าบุตรสุดสวาทเพียงขาดใจ_จึงเข้าใกล้กล่าวคำรำพัน
เราหรือคือกำแหงหนุมาน_ยอดทหารพระนารายณ์รังสรรค์
เมื่อมัจฉาชนนีเจ้ามีครรภ์_ก็จากกันกับบิดาได้ห้าปี
-ร้องร่าย-
บัดนี้มัยราพณ์ทำหยาบคาย_ไปลอบลักพระนารายณ์มากรุงศรี
พ่อจะตามไปสังหารผลาญชีวี_เจ้าช่วยชี้หนทางให้ไคลคลา
-เจรจา-
มัจฉานุ-มัจฉานุฟังวาจาหาเชื่อไม่ ให้ขุ่นแค้นขัดใจเป็นกำลัง จึงร้องว่า เหม่มึงนี้โอหังทะนงใจ มึงจะตั้งตัวเป็นพ่อใครอ้ายใจพาล อันกำแหงหนุมานพ่อข้านั้น ไม่เหมือนลิงสามัญในพงพี ท่านเรืองฤทธีอ้าโอษฐ์หาว ให้แลเห็นเป็นดวงดาวและจันทร เป็นเครื่องหมายของขุนวานรผู้ยิ่งใหญ่ แม้นจะเราเชื่อใจเจ้าจงหาว เป็นเดือนดาวให้เราเห็นประจักษ์ อย่ามัวแต่คุยโวโอ้อวดนักรำคาญครัน ลองทำดูให้รู้สำคัญจึงเชื่อใจ
-ร้องร่าย-
เจ้าอย่าเพ่อเคืองขุ่นวุ่นวาย_พ่อจะให้เจ้าคลายหายสงสัย
ว่าพลางแผลงอิทธิ์ฤทธิไกร_หาวให้เห็นเหมือนเดือนดารา
-ปี่พาทย์ทำเพลงคุกพาทย์-โอด-
( หนุมานรำแผลงฤทธิ์หาวเป็นดาวเดือน มัจฉานุร้องไห้คลานเข้าหา )
-ร้องเพลงกระบี่ลีลา-
เมื่อนั้น_วายุบุตรสุดแสนเสน่หา
เข้ากอดจูบลูบหลังลูกยา_แก้วตาอย่าละห้อยน้อยใจ
แต่ครั้งนี้มีธุระร้อนอก_คิดวิตกด้วยพระรามเป็นใหญ่
เจ้าเป็นบุตรช่วยพ่อพอร่วมใจ_บอกทางไปเมืองยักษ์นัครา
-ร้องเพลงขวัญอ่อน-
แม้นลูกนี้ชี้บอกหนทางให้_ก็เหมือนไม่รู้คุณของยักษา
หนทางใดบิตุรงค์นั้นลงมา_อย่าหยุดยั้งตั้งหน้าจรลี
-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิดฉิ่ง-รัว-โอด-
( หนุมานปลอบมัจฉานุพอสมควร แล้วหักก้านบัวลอดตัวลงไป )
( มัจฉานุวิ่งมาร้องไห้ที่ดอกบัว )
( ปิดม่าน )

-ปี่พาทย์ทำเพลงทะยอย-
( นางพิรากวนถือกระออมน้ำคร่ำครวญออกหน้าม่าน )
-ร้องเพลงจำปาทองเทศ-
เมื่อนั้น_นวลนางพิรากวนโฉมศรี
แสนสลดหมดอาลัยในชีวี_จรลีมาตักชลธาร
-ร้องเพลงกบเต้น-
ถึงสระสินธุ์สิ้นแรงกันแสงโศก_หวนวิโยคถึงบุตรสุดสงสาร
โอ้ว่าไวยวิกยอดชีวาน_ต้องถูกจำทรมานอันตราย
โทษทัณฑ์อย่างไรไม่เคยมี_ให้เป็นที่ผิดบทกฏหมาย
พรุ่งนี้แล้วลูกแก้วจะต้องตาย_พร้อมสมเด็จพระนารายณ์อวตาร
-ปี่พาทย์ทำเพลงโอด-
( นางพิรากวนร้องไห้ หนุมานแอบฟังอยู่ด้านข้าง )
-เจรจา-
หนุมาน-หนุมานซุ่มกายาแอบฟังนางร่ำไห้ ได้ยินคำร่ำปราศรัยถึงพระจักรี ขุนกระบี่นึกสงสัยในวาจา จึงเข้ามานั่งลงข้างๆพลางกราบไหว้ ( นางพิรากวนตกใจ ) พลางถามว่านี่เหตุไฉนมาโศกาน่าสงสาร ถึงตัวฉันเป็นเดรัจฉานก็เห็นใจ มีเรื่องทุกข์ร้อนอย่างไรจงบอกฉันบ้างเถิดป้า หากช่วยได้ฉันก็จะอาสาอย่าโศกี
พิรากวน-ขอบใจเจ้ากระบี่ที่เมตตา ตัวเรานี้มีชื่อว่าพิรากวนเทวี เป็นพี่ของมัยราพณ์อสุรีเจ้าบาดาล อันมัยราพณ์มันใจพาลสันดานโฉด ใส่ร้ายป้ายโทษถอดเราลงเป็นไพร่ มิหนำซ้ำจับไวยวิกลูกเราไปหาว่าเป็นกบถคิดแย่งเมือง เสแสร้งแกล้งก่อเรื่องจับตัวไปขัง เมื่อคืนวานก็ไปสะกดทัพ จับพระทรงสังข์มาขังไว้ มันว่าจะผลาญให้บรรลัยพร้อมทั้งลูกรักและพระจักรี ใช้เราให้มาตักนทีใส่กะทะใหญ่ แสนสงสารบุตรสุดอาลัยไม่มีผิด เป็นที่อับจนพ้นจิตจะแก้ไข ต้องตักน้ำนำเอาไปต้มลูกรัก ถึงแสนเหนื่อยก็ไม่อาจพักเพราะกลัวภัย นางยิ่งเล่ายิ่งอาลัยถึงลูกยา
-ปี่พาทย์ทำเพลงโอด-
( นางพิรากวนร้องไห้ )
หนุมาน-วายุบุตรสุดสงสารนางกานดา แต่ได้รู้เรื่องพระรามราชาก็ดีใจ จึงยกหัตถ์ประนมไหว้แล้วกล่าวว่า อันเรื่องราวที่เล่ามาป้าอย่าตกใจ ตัวฉันไซร้คือหนุมานขุนกระบี่ เป็นยอดทหารของพระจักรีรามาวตาร ฉันรู้ว่ามัยราพณ์มันลักมาเมืองบาดาลจึงตามมา อันไวยวิกลูกของป้าจะช่วยให้พ้นภัย ขอแต่ให้ป้าพาฉันเข้าไปเมืองบาดาล
พิรากวน-ไม่ได้หรอกหนุมานขุนกระบี่ ที่ปากประตูพระบุรีเข้มแข็งนัก มีนายทวาราเสนายักษ์คอยรักษา ใครจะเข้าออกทวารามีตาชั่ง ต้องขึ้นนั่งวัดน้ำหนักทุกครั้งไป ตัวท่านนั้นโตใหญ่เป็นหนักหนา หากพาไปนายทวาราเขาได้เห็น ตัวข้าก็จะกลายเป็นผู้นำพาไม่พ้นผิด
หนุมาน-อย่าได้หวั่นจิตคิดวิตกในเรื่องนั้น หากว่าป้าจะพาฉันเข้าไปจริงๆ ฉันจะแปลงกายกลายจากลิงเป็นใยบัว มิให้ใครได้เห็นตัวทั่วกรุงศรี ข้าจะเกาะติดภูษาของป้านี้เข้าเวียงชัย
พิรากวน-ถ้าเช่นนั้นจงรีบแปลงกายไวๆเถิดหนุมาน
หนุมาน-วายุบุตรจึงโอมอ่านพระคาถา บัดเดี๋ยวใจกายขุนสวาก็สูญหาย กลับกลายเป็นใยบัวด้วยฤทธี เข้าเกาะภูษานางพิรากวนเทวี
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว-เชิด-
( หนุมานรำแปลงกาย แล้วเข้าเวที )
( นางพิรากวนดีใจทำท่าตักน้ำแล้วเข้าเวที )

( เปิดม่าน )
ฉากประตูเมือง มีตาชั่งใหญ่อยู่ทางหนึ่ง
( เสนายักษ์ยืนรักษาการตามที่ พวกนายประตู ( ตลก ) อยู่กับตาชั่ง )
( นางพิรากวนถือกระออมน้ำออก )
( เจรจาติดตลกโยงเรื่องขึ้นชั่งตามกฎ สุดท้ายนางพิรากวนขึ้นชั่ง ตาชั่งหัก
พวกตลกจะเอาเรื่องนางพิรากวน ในที่สุดปล่อยนางพิรากวนเข้าเวที )
-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด-
( ปิดม่าน )

( นางพิรากวนดีใจออกเต้นหน้าม่านแล้วเข้าเวที )
( หนุมานออกเต้นหน้าเวที )
-เจรจา-
หนุมาน-หนุมานขุนกระบี่ เมื่อเข้ามาในบาดาล จนพานพบพระอวตารถูกจำขัง ทั้งที่พระองค์นั้นทรงยังบรรทมหลับ จึงอัญเชิญมาประทับบนคีรีวันบรรพต ฝากเทพเจ้าจอมสิงขรสิ้นทั้งหมดช่วยรักษา แล้วหนุมานจึงย้อนกลับมายังบาดาล เพื่อจะสังหารมัยราพณ์ขุนมารให้วายชีวี
-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด-
( หนุมานเต้นวนรอบเวที )
( เปิดม่าน )

ฉากห้องบรรทม มัยราพณ์บรรทมอยู่กับพระมเหสี
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว-
( หนุมานเข้าโถมถีบมัยราพณ์ตกจากพระแท่นที่ พระมเหสีกลัวตกใจเข้าเวที
มัยราพณ์เข้ารบกับหนุมานตามกระบวนท่า แล้วออกหน้าม่าน )

( เปิดม่าน )
-เจรจา-
มัยราพณ์-มัยราพณ์อสุรีเห็นหนุมานนั้นกล้าแข็ง เข้ารบรุดยุทธ์แย้งไม่หนีหน้า ให้อ่อนกำลังวังชาระอาใจ จึงออกอุบายปราศรัยว่าเหวย เอ้ยกระบี่ ถ้าแม้นเจ้าเรืองฤทธีมีเดชา จงไปยุทธนากันที่ป่าท้ายบาดาล เอาต้นตาลสามต้นมาตระบิดต่างตระบอง แล้วประลองฤทธิ์ผลัดกันตีคนละสามครั้ง จะได้รู้ว่าใครจะดีมีกำลังมากกว่ากัน
หนุมาน-อ๋อ จะเป็นไรเล่าเจ้ากุมภัณฑ์อหังการ เฮ้ย! อย่าว่าแต่ต้นตาลอันโตใหญ่ ต่อให้เอาขุนไศลสุเมรุมาศมาฟาดฟัน ก็จะขอสู้กับกุมภัณฑ์ไม่หนีหน้า ขอแต่ให้จริงจังดังวาจาสัญญาไว้ อย่ากลับกลอกหลอกปราศรัยเพื่อหนีหน้านะกุมภัณฑ์
มัยราพณ์-อ๋อ เช่นนั้นซินะหนุมาน อันตัวเราก็ชายชาญชาติชาตรี เรื่องจะเกรงกลัวเจ้ากระบี่อย่าพึงคิด ถึงตัวเจ้าจะมีฤทธิ์ก็เป็นเช่นเดรัจฉาน ไหนจะเรืองพลทนทานฤทธิ์เราได้ ว่าพลางทางคลาไคลนำหนุมาน ออกจากปราสาทชัยไปดงตาล
-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด-
( มัยราพณ์ หนุมาน เต้นวนรอบเวที )

( เปิดม่าน )
ฉากป่าดงตาล
-เจรจา-
มัยราพณ์-มาถึงดงท้ายบาดาลจึงพาลว่า อันตัวเจ้านั้นเข้ามาแต่แดนไกล ควรยอมให้ตัวเราผู้เจ้านคร แผลงฤทธีตีเจ้าก่อนสักสามตึงจึงถูกต้อง ต่อจากนั้นเจ้าจึงประลองกำลังบ้าง แม้นไม่เชื่อคำเราเอ่ยอ้าง ขอปฏิญาณ หากผิดวาจาที่ว่าขานขอให้บรรลัย
หนุมาน-มัยราพณ์ช่างปราศรัยเอาเปรียบกัน แต่เอาเถอะเมื่อกุมภัณฑ์ให้สัตย์ปฏิญาณ
ก็จงไปถอนต้นตาลเอามาก่อน เราจะลงนอนให้เจ้าตีไม่หนีหน้า
จงไปถอนต้นตาลมาจะช้าใย
-ร้องเพลงขอมทรงเครื่องชั้นเดียว-
เมื่อนั้น_มัยราพณ์ยินดีจะมีไหน
จึงสำแดงแผลงอิทธิ์ฤทธิไกร_ถอนต้นตาลใหญ่มิได้ช้า
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว ลา ๑ -
( มัยราพณ์ไปถอนต้นตาลเข้ามา )
-ร้องลิงลาน-
ได้สามต้นตีเกลียวเรี่ยวแรง_กวัดแกว่งต่างตระบองแล้วร้องว่า
เหวยกำแหงหนุมานชาญศักดา_จงเข้ามาสู่กรรมคว่ำลง
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว ลา ๒ -
( หนุมานพนมมือเสกฝุ่นผง แล้วลงนอนให้มัยราพณ์ตีสามครั้ง )
-ร้องเพลงเย้ย-
บัดนั้น_คำแหงหนุมานสมประสงค์
ลุกขึ้นชิงต้นตาลยิ่งยง_ตีลงด้วยกำลังวังชา
-ปี่พาทย์ทำเพลงรัว ลา ๓ – โอด -
( หนุมานตีมัยราพณ์สิ้นชีวาเข้าเวที )
-ร้องเพลงกราวรำ-
สามตึงตาลหักยักษ์ตาย_ลูกพระพายให้สมปรารถนา
ออกจากดงตาลท้ายพารา_ไปรับพระจักรากลับไป
-ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด -
( ปิดม่าน )
( หนุมานแบกพระรามผ่านเวที แล้วเข้าเวที )
จบการแสดง

มีข้อมูลรายการแสดงและรายนามผู้แสดงที่ห้อง นาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๗ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=287&PageSetUp=7&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:06:11 น.  

 
กำหนดการ
การจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรม
เรื่อง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสยามหนึ่งเดียว :
รัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพพ.ศ. ๒๔๖๙”
-----------------------
พิธีเปิดนิทรรศการ วันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ประธานเปิดงาน โดย ม.ร.ว.ศุภดิศ ดิศกุล ณ อาคารรำไพพรรณี ชั้น ๒
(ผู้บริหาร / เจ้าหน้าที่ /แขกรับเชิญ เข้าร่วมเปิดงาน)
กิจกรรมประกอบนิทรรศการ ณ อาคารรำไพพรรณี ชั้น ๖ เวลา ๑๔.๑๕ – ๑๔.๔๕ น.
๑) กิจกรรมการแสดงโดยความอนุเคราะห์จาก ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชมการฟ้อนพื้นเมืองล้านนา ได้แก่ ฟ้อนระบำซอ ฟ้อนเล็บ และฟ้อนเงี้ยว ควบคุมโดย ม.ร.ว. อรฉัตร ซองทอง และอาจารย์มธุรส ไอยารัตน์
๒) กิจกรรมแสดงซุ้มอาหารกาดมั่ว ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และบริษัท เพลาดี ชิมอาหารพื้นเมืองล้านนา

พิพิธพาที ณ ห้องประชุมอาคารรำไพพรรณี ชั้น ๖
ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๓๐ –๑๖.๓๐ น.
หัวข้ออภิปราย ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสยามหนึ่งเดียว
วิทยากร : ผศ.ดร. ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ และ อาจารย์นวรัตน์ เลขะกุล
ผู้ดำเนินรายการ/วิทยากรร่วม อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร จาก ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ –๑๖.๐๐ น.
หัวข้ออภิปราย ศิลปะสถาปัตยกรรมภาคเหนือ : ความสืบเนื่องและความเปลี่ยนแปลง
วิทยากร: ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ม.ศิลปากร
ผู้ดำเนินรายการ/วิทยากรร่วม นางฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร นักวิชาการพิพิธภัณฑ์ฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ โทรศัพท์ ๐๒-๒๘๐ ๓๔๑๓-๔ หรือ โทรสาร ๐๒-๒๘๑๖๘๒๐

หมายเหตุ : การเข้าร่วมกิจกรรมไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ พร้อมอาหารว่างฟรี
กำหนดการ
นิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรม
เรื่อง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสยามหนึ่งเดียว :
รัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ ”
วันเสาร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น.
ณ อาคารรำไพพรรณี ชั้น ๒ และชั้น ๖ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
-----------------------
๑๓.๐๐ น. -ลงทะเบียนรับเอกสาร ณ อาคารรำไพพรรณี ชั้น ๒
๑๓.๓๐ น. -ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน และเรียนเชิญประธานเปิดงาน
-หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล ประธานในพิธีเปิดงานตัดแถบแพรเปิด นิทรรศการ
-เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้ามอบหนังสือที่ระลึกแก่ประธานเปิดงาน
-ประธานในพิธีเปิดงาน คณะผู้บริหารสถาบัน คณะกรรมการพิพิธภัณฑ์
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ พนักงาน และแขกผู้มีเกียรติชมนิทรรศการ
หมุนเวียน ณ อาคารรำไพพรรณี ชั้น ๒
๑๔.๑๕ – ๑๔.๔๕ น. -พิธีกรประกาศเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรมประกอบนิทรรศการ ณ อาคารรำไพพรรณี ชั้น ๖
-ชมกิจกรรมการแสดงโดยความอนุเคราะห์จากศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แก่ ระบำซอ ฟ้อนเงี้ยวและฟ้อนเมืองควบคุมโดย หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง
๑๔.๐๐ –๑๖.๐๐ น. –ชิมอาหารพื้นเมืองล้านนาด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และบริษัทเพลาดี จำกัด
๑๔.๔๕-๑๖.๑๕ น. -ฟังพิพิธพาที “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสยามหนึ่งเดียว”
วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ และอาจารย์นวรัตน์ เลขะกุล ผู้ดำเนินรายการ อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร

สำรองที่นั่งได้ที่ โทรศัพท์ ๐๒-๒๘๐ ๓๔๑๓-๔ หรือ โทรสาร ๐๒-๒๘๑๖๘๒๐
หมายเหตุ : การเข้าร่วมกิจกรรมไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ พร้อมอาหารว่างฟรี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:08:52 น.  

 
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
จัดสัมมนาสัญจรทางวิชาการ *ตามรอยบันทึกชาวต่างชาติ จากอ่าวสยามสู่ลำน้ำเจ้าพระยา*
วัน/เวลาสัมมนา วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2551 เวลา 06.00 – 16.30 น.

หลักการและเหตุผล มุ่งเน้นข้อมูลที่บรรดาชาวต่างชาติตะวันตกที่เข้ามาเมืองไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ได้บันทึกเรื่องราวตั้งแต่ทะเลช่วงปากอ่าวสยาม ผ่านเมืองปากน้ำเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงเมืองบางกอก หรือกรุงเทพฯ ในกาลต่อมา โดยมีข้อมูลทั้งที่เป็นไปตามสภาวการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงในขณะนั้น และส่วนที่ผ่านมุมมองและทัศนคติของผู้บันทึกที่มีภูมิหลังและวัตถุประสงค์ในการเข้ามาเมืองไทยต่างๆ กันไป จากการประมวลข้อมูลเหล่านี้ ทำให้มองเห็นภาพเรื่องราวในอดีตและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนาน ในด้านภูมิศาสตร์ของเส้นทางน้ำดังกล่าว การตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตชุมชน ธรรมเนียมการติดต่อค้าขาย การต้อนรับแขกเมือง และการป้องกันราชอาณาจักรทางน้ำ ฯลฯ

วัตถุประสงค์ - เพื่อเผยแพร่ข้อมูลหลักฐานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ
- เพื่อให้เกิดความรู้และตระหนักในคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเส้นทาง จากปากอ่าวไทยสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
- เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมเส้นทางสายนี้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติ

ค่าลงทะเบียน ๙๐๐ บาท (เก้าร้อยบาท) รับจำนวนจำกัด ๑๕๐ คน

โดยโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ นส.ศิริวรรณ เฮ้าเอียง

ธ.ไทยธนาคาร สาขาเทเวศร์ เลขบัญชี 016-2-24710-8
ธ.กรุงไทย สาขาราชดำเนิน เลขบัญชี 018-1-36409-3
กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงิน (ระบุชื่อ นามสกุล ด้วย) ที่โทรสาร 02-281-1153

หรือชำระค่าบัตรด้วยตนเองที่ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (หลังหอสมุดแห่งชาติ)
ชั้น 5 อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ ถ.ศรีอยุธยา เขตดุสิต กทม.10300

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-281-0382, 02-628-5021 ต่อ 509, 545

กำหนดการ โครงการวัฒนธรรมสัญจร
วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2551

06.00 น. ผู้ร่วมสัมมนาพร้อมกันที่ท่าเรือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า
ลงทะเบียน-รับเอกสาร
08.00 น. เรือออกจากท่า
08.15 น. พิธีเปิด
08.30 น. การอภิปรายภาคเช้า –ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ชาวต่างประเทศได้บันทึกไว้ และย่านสำคัญทาง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
วิทยากร - อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
- ผอ.สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
- นักวิชาการจากสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
11.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. เริ่มอภิปรายภาคบ่าย –การเดินเรือและยุทธศาสตร์ในการป้องกันราชอาณาจักรทางน้ำ และธรรมเนียมการติดต่อค้าขายและการต้อนรับแขกเมืองในอดีต
วิทยากร - น.อ.นพรัตน์ เลิศล้ำ รน. / ผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์ กรมยุทธการทหารเรือ
- อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
16.30 น. ถึงท่าเรือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า - เสร็จสิ้นการสัมมนาสัญจร


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:10:54 น.  

 
The Tamnak Prathom Harp Centre

Presents The Heart of the (Welsh) Harp

a recital of music from Wales by Elinor Bennett

...Wales most distinguished harpist and teacher...

at the Siam Society Auditorium
On Tuesday, June 3, 2008 Time: 8 p.m.

Tickets at 500 Baht available at the Tamnak Prathom Harp Centre
Call 0 2261 4777-8


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:12:34 น.  

 
สวช.จัด “การแสดงดนตรีไทย ครูอาวุโสชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์”
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในโอกาส ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๓ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๑

พ.ค.๕๑

นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรม เปิดเผยว่า “เนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ครบ ๕๓ พรรษา ในปีพ.ศ.๒๕๕๑ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) จึงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมจัดงานถวายพระเกียรติ

โดยจัด“การแสดงดนตรีไทย ครูอาวุโสชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ขึ้น ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ด้วยสำนึกในพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถในศาสตร์สาขาดุริยางคศิลป์อย่างยิ่งทั้งด้านทฤษฎี และปฏิบัติ ทรงเป็นผู้นำส่งเสริมกิจการดนตรีไทยให้ดำรงมั่นคงทั้งยังทรงพระราชทานโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ชื่นชมในพระอัจฉริยภาพหลายวาระเป็นที่ยอมรับในวงการด้านดนตรีไทยโดยทั่วไปและพระองค์ท่าน ทรงเอาพระทัยใส่แด่ศิลปินชั้นครูให้มีขวัญกำลังใจในการอนุรักษ์ ทำนุบำรุงงานศิลปวัฒนธรรมไทย และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดนตรีไทยสืบไป

การแสดงแบ่งเป็น ๖ ชุด ได้แก่

การแสดงชุดที่ ๑ : การขับเสภา ถวายพระเกียรติ (รำลึกในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) โดยครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ
การแสดงชุดที่ ๒ : การบรรเลงดนตรีไทย วงมโหรีพิเศษ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕๓ พรรษา
การแสดงชุดที่ ๓ : การบรรเลงดนตรีไทย วงมโหรีเครื่องใหญ่ เพลงทยอยเขมร ๑ ชั้น
การแสดงชุดที่ ๔ : การบรรเลง ซอสามสาย เดี่ยวเพลงสุรินทราหู ๓ ชั้น
การแสดงชุดที่ ๕ : การบรรเลงเดี่ยว ซอด้วง เพลงกราวใน
การแสดงชุดที่ ๖ : เดี่ยวฆ้องวงใหญ่ เพลงอาเฮีย

ซึ่งจะบรรเลง และขับร้องโดย “นักดนตรีไทย ครูอาวุโสชายแห่งรัตนโกสินทร์” จำนวน ๑๘ คน และ “นักดนตรีกิตติมศักดิ์ ร่วมบรรเลงเพลงถวายพระพรฯ” อีก ๒ คน

สำหรับเยาวชน และประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ฟรี!!! โดยสำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ กลุ่มลูกค้าสัมพันธ์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โทร. ๐๒ - ๒๔๗ - ๐๐๒๘ ต่อ ๔๑๐๓ - ๘
.................................................................................

รายชื่อนักดนตรีไทย ครูอาวุโสชายแห่งรัตนโกสินทร์ จำนวน ๑๘ คน ได้แก่
๑. ครูสมชาย ดุริยประณีต ฆ้องวงใหญ่ อายุ ๗๐ ปี
๒. ครูวิเชียร เกิดผล ระนาดเอก อายุ ๖๖ ปี
๓. ครูเฉลิม ม่วงแพรศรี ซอสามสาย อายุ ๖๗ ปี
๔. ครูสมชาย ขำพาลี ระนาดเอกเหล็ก อายุ ๖๖ ปี
๕. ครูโกวิทย์ ขันธศิริ ซอด้วง อายุ ๖๖ ปี
๖. ครูณรงค์ แก้วอ่อน ขับร้อง อายุ ๖๓ ปี
๗.ครูแจ้ง คล้ายศรีทอง ขับร้อง อายุ ๗๐ ปี
๘. ครูบุญเสริม ภู่สาลี ซอด้วง อายุ ๖๖ ปี
๙. ครูนฤพนธ์ ดุริยพันธ์ ขับร้อง อายุ ๖๗ ปี
๑๐.ครูปกรณ์ รอดช้างเผื่อน จะเข้ อายุ ๕๘ ปี
๑๑.ครูนิกร จันทศร ระนาดทุ้ม อายุ ๖๔ ปี
๑๒.ครูสุวิทย์ สงทอง ระนาดทุ้มเหล็ก อายุ ๗๒ ปี
๑๓.ครูอนันต์ ดุริยพันธ์ กลองแขก อายุ ๖๗ ปี
๑๔.ครูยงยุทธ ปลื้มปรีชา กลองแขก อายุ ๖๕ ปี
๑๕.ครูสุวิทย์ แก้วกมล ขลุ่ยเพียงออ อายุ ๗๑ ปี
๑๖.ครูสวิต ทับทิมศรี ซออู้ อายุ ๖๘ ปี
๑๗.ครูณรงค์ อรรถกฤษณ์ ฆ้องวงเล็ก อายุ ๖๓ ปี
๑๘.ครูสมพงษ์ ภู่ศร เครื่องประกอบจังหวะ อายุ ๖๓ ปี
รวม ๑,๑๙๒ ปี

นักดนตรีกิตติมศักดิ์ ร่วมบรรเลงเพลงถวายพระพรฯ จำนวน ๒ คน
- ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ นายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม)
- รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:13:31 น.  

 
วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน 2551
ชมพระอารามหลวง – ทัศนาแม่น้ำลำคลอง
แม่น้ำเจ้าพระยา -คลองบางหลวง – คลองภาษีเจริญ – คลองด่าน – คลองบางขุนเทียน – คลองดาวคะนอง

ล่องเรือไหว้พระวัดสำคัญฝั่งธนบุรี 9 วัด
1. วัดกัลยาณมิตร
2. วัดหงส์รัตนาราม
3. วัดอินทาราม
4. วัดประดู่ฉิมพลี
5. วัดปากน้ำภาษีเจริญ
6. วัดอัปสรสวรรค์
7. วัดหนัง
8. วัดนางนอง
9. วัดราชโอรสาราม

นำชมโดย อ. อภิวัฒน์ โควินทรานนท์ TU PolSci 20 ผู้ชำนาญการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

07.30 น. พร้อมกันที่ท่าเรือกองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า (ฝั่งพระนคร) จอดรถ ถนนเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้างวิทยาลัยนาฏศิลป์

08.00 น. ( ตรง ) ออกเดินทางโดยเรือสำหรับนักท่องเที่ยว ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช วัดระฆังโฆสิตาราม พระบรมมหาราชวัง วัดอรุณราชวราราม พระราชวังเดิม

08.15 น. ชมวัดกัลยาณมิตร ไหว้พระพุทธไตรรัตนนายก ( ซำปอกง ) พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์

08.45 น. ชมวัดหงส์รัตนาราม ไหว้พระประธานสมัยอู่ทองในพระอุโบสถ
และพระแสนเมืองเชียงแตง พร ะพุทธรูปลาว

09.15 น. ชมวัดอินทาราม " วัดพระเจ้าตากสิน" ไหว้พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไหว้พระพุทธชินวร พระประธานสมัยสุโขทัยในพระอุโบสถ สักการะพระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

10.00 น. ชมวัดประดู่ฉิมพลี ไหว้พระประธานสมัยสุโขทัยในพระอุโบสถ ไหว้หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ พระเกจิอาจารย์หมายเลข 1 ของฝั่งธนฯ

10.30 น. ชมวัดปากน้ำภาษีเจริญ ไหว้พระประธานหุ้มทองคำในพระอุโบสถ ไหว้ " หลวงพ่อวัดปากน้ำ" ผู้ให้ กำเนิดวิชชาธรรมกาย

11.00 น. ชมวัดอัปสรสวรรค์ ไหว้พระประธาน 28 พระองค์ ในพระอุโบสถแห่งเดียวในโลก

12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย ที่ตลาดน้ำวัดไทร

13.30 น. ชมวัดหนังไหว้พระปฏิมากร พระประธานสมัยสุโขทัยในพระอุโบสถ
ไหว้"หลวงพ่อวัดหนัง " เจ้าคุณเฒ่าที่รัชกาลที่5ทรงเคารพนับถือ เหรียญวัดหนังเป็นเหรียญพระหมายเลข1ในเบญจภาคีเหรียญพร้อมชมพิพิธภัณฑ์วัดหนัง

15.00 น. ชมวัดนางนองไหว้พระพุทธจักรพรรดิ์ พระประธานพระอุโบสถพระพุทธรูปทรงเครื่องที่งามที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์

15.30 น. ชมวัดราชโอรสาราม " วัดประจำรัชกาลที่ 3 "
วัดไหนไหนก็ไม่ลือระบือยศ เหมือนวัดราชโอรสอันสดใส
เป็นวัดเดิมเริ่มสร้างไม่อย่างใคร ล้วนอย่างใหม่ทรงคิดประดิษฐ์นำ
ทรงสร้างด้วยพระมหาวิริยาธึก โอฬารึกพร้อมพรั้งทุกสิ่งขำ
ล้วนเกลี้ยงเกลาเพราเพริดดูเลิศล้ำ ฟังข่าวคำลือสุดอยุธยา
ไหว้พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตรพระประธานพระอุโบสถและสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระอุโบสถไหว้พระชัยวัฒน์ พระประธานในศาลาการเปรียญ

16.30 น. กลับถึงท่าเรือกองการท่องเที่ยว
หมายเหตุ

* กิจกรรมนี้ รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 40 คน ( ไม่รับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี )
* ลงเรือที่ท่าเรือศูนย์การส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
(ร้านอาหารครัววังหน้า (เดิม) ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า - ฝั่งพระนคร)
* จอดรถบริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านท่าช้างวังหน้า
* โปรดตัดสินใจก่อนทำการจอง เพราะ จะไม่มีการคืนเงินจอง แต่ท่านสามารถหาผู้อื่นมาเปลี่ยนให้ไปแทนได้
* โปรดเตรียม หมวก ร่ม แว่นกันแดด และแต่งกายเรียบร้อยให้เหมาะสมกับการเข้าวัด และรัดกุมสำหรับการขึ้น-ลงเรือ

ผู้สนใจร่วมกิจกรรมนี้ กรุณาดำเนินการดังนี้

* สำรองที่นั่งได้ที่ วิจิตรา -ไก่ โทร. 081 836 9750 (มือถือ) อีเมล์: wichitra.kai@gmail.com
* ค่าใช้จ่าย ท่านละ 600 บาท
* โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขา: ถนนจันทน์-สะพาน5 (ออมทรัพย์) ชื่อบัญชี นางวิจิตรา โบลเวอร์ส เลขที่บัญชี # 219-0-24659-1
* ส่งโทรสาร (Fax) หลักฐานการโอนเงิน ไปที่โทรสาร. 0 2285 4723 โดยเร็วที่สุด หลังจากที่มีการโอนเงินแล้ว
พร้อมเขียนชื่อ-นามสกุล-อายุ-ที่อยู่-หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ให้ครบถ้วนและชัดเจน
* โทรยืนยัน การส่ง Fax + การชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่ง มาที่ โทร. 0 2285 4721-2


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:15:27 น.  

 
โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ 8/2551
“ตามรอย มรดกแห่งความทรงจำของโลก : วัดโพธิ์ ”
ในวันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน ๒๕๕๑ ( 8:30 - 11: 00 )
………………………………………………………………………..

8:00 – 8:30 น. ลงทะเบียน ณ ศาลาลงสรง พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร รับอาหารว่าง

8:30 น. ออกเดินทางจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร โดยรถราง ชมวังหน้า วังกลาง วังหลวง

9:00 – 11:00 น. ชมวัดพระเชตุพนฯ นำชมโดยพระราชเวที รองเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ทั้งนี้ จะมีค่าใชจ่ายท่านละ 49 บาท ( ค่ารถราง อาหารว่างมื้อเช้า ค่าเอกสาร )

รับจำนวนจำกัดเพียง 60 คน สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายวิชาการ 02-224-1333, 02-224-1402

ขอความกรุณาขอให้ทุกท่านมาตามเวลาที่นัดหมาย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.208 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:16:19 น.  

 
สำนักงานเขตดุสิต จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เนื่อง ในโอกาสครบรอบ 111 ปีสำนักงานเขต โดยร่วมกับวัดเทวราชกุญชร จัดงานเทศกาลวัดเทวราชกุญชร สมโภชพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ในวันที่ ๕ – ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.

โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมมากมาย อาทิ พิธีบวงสรวงพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งมีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ พร้อมขบวนแห่อัญเชิญ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ที่งดงาม ตระการตา,การแสดง แสง สี เสียงและสื่อผสม ความเป็นมาของวัดและตำนานพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ การแสดงมหรสพการแสดงแบบไทย ที่หาชมยาก ได้แก่ ละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช, ละครเสภาตลก เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน, ละครนอก เรื่อง ไกรทองหุ่นกระบอก เรื่อง พระอภัยมณี, ละครชาตรี ตอน นางเมรีตามหารถเสน และลิเกลูกบท เรื่องโกมินทร์ กุมาร

พร้อมชมการสาธิตงานฝีมือไทย ร่วมถ่ายภาพย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ ๕-๗ และเพลิดเพลินไปการจับจ่ายสินค้าของดีเขตดุสิต สอบถามรายละเอียด โทร 0817550645


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.39 วันที่: 30 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:41:20 น.  

 
ชมการแสดงระดับตื่นตา ตื่นใจ
การแสดงขบวนแห่ทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ตระการตา จากทุกภาคของประเทศ โดยจะจัดแสดงทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. อาทิ การแสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ ๔ ภาค (๑๓แห่งทั่วประเทศ)

การแสดงนาฏศิลป์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มแม่น้ำโขง เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา การแสดงจากภาคเอกชนธุรกิจท่องเที่ยว แฟชั่นโชว์ เกมส์ ฯลฯ

การแสดงโขนไทยชุดใหญ่ และสาธิตความรู้ศิลปะโขน

ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ๒๕๕๑ กำหนดจัด วันที่ ๕ - ๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๑ - ๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.13 วันที่: 31 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:44:48 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงว่าด้วยเรื่อง “รำลึกถึงสุนทรภู่บรมครูกวี”

เสาร์ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
ขอทราบรายละเอียด-ซื้อบัตรเข้าชม-สำรองที่นั่งได้ที่ โทร ๐๓๕ - ๕๓๕๑๑๖ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ
บัตรราคา ๘๐ , ๖๐ , ๔๐ บาท นักเรียน นักศึกษา เข้าชมเป็นหมู่คณะ บัตรราคา ๓๐ บาท
ดูแผนที่และรายละเอียดเพิ่มเติมของ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรีได้ที่เวบบอร์ดกรมศิลปากรห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า๑๕ หัวข้อโรงละครแห่งชาติ_สุพรรณบุรี ๒๕๕๑
//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000802&ID_Room=00000007&RecordCount=297&PageSetUp=15&Keyword=


เสาร์ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


รายการแสดง
๑. การบรรเลงโหมโรง โดย วงดุริยางค์ไทย
๒. รำสดุดีสุนทรภู่ครูชาวไทย
๓. รำฉุยฉายพระอภัยมณี
๔. รำฉุยฉายผีเสื้อสมุทรแปลง
๕. ละครนอกเรื่องพระอภัยมณี ตอน “ เพลงปี่พระอภัย ” ๙ ครั้ง
๖. ระบำสวัสดิรักษานักรบ
กำกับการแสดง โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ แสดงโดย ศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๘ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑ //www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=289&PageSetUp=7&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.26 วันที่: 4 มิถุนายน 2551 เวลา:16:47:59 น.  

 
กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ โดยนำเสนอในเวบไซต์ //www.me.in.th/ และสามารถเปิดรายการโทรทัศน์ย้อนหลัง 3 เดือนได้ที่ //www.me.in.th/Live/ โดยให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการจัดอันดับรายการ เพื่อจัดประเภทรายการให้เหมาะสมกับเยาวชนแต่ละวัย

นสพ.ไทยโพสท์ 13 พฤษภาคม 2551 กองบรรณาธิการ
ตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2550 ที่มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และกรมประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่รับผิดชอบจัดระดับความเหมาะสมชองสื่อโทรทัศน์ โดยจัดเป็นเรตติ้งตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้ชม และช่วงเวลา โดยกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วนั้น

เมื่อเวลา 11.00 น. ที่กระทรวงวัฒนธรรม นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เปิดตัวเว็บไซต์ //www.me.or.th หรือระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหารายการโทรทัศน์ (Media Evaluation System) เรียกสั้นๆ ว่า Me อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเรตติ้งรายการทีวี โดยระบบดังกล่าวทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลการประเมินคุณภาพของรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดรายการโทรทัศน์ ที่ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับเยาวชนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นระบบเสมือนสื่อกลางของภาคประชาชน ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่จะประเมินรายการโทรทัศน์ให้เป็นไปตามความเหมาะสม

นายวีระกล่าวว่า วธ., กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ราชานุกูล มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ทรัยคาสท์ จำกัด โดยมี จอห์น นรศักดิ์ รัตนเวโรจน์ เป็นกรรมการผู้จัดการ จัดทำเว็บไซต์ me ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอสู่สังคม ณ เวลานี้ เพื่อผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จะได้มีสื่อที่มีคุณภาพ เหมาะสมอย่างที่ควรจะเป็นดูตลอดไป ไม่ต้องขึ้นอยู่กับโปรดิวเซอร์เพียงคนเดียว ทั้งนี้ เว็บไซต์การจัดเรตติ้งดังกล่าวยังถือเป็นเว็บไซต์แรกในภูมิภาคเอเชียที่จัดทำขึ้น

ด้านนายอนุชา ตันตราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี บ.ทรัยคาสท์ กล่าวว่า เว็บไซต์ Me จะเป็นการดูรายการโทรทัศน์สดแบบ Realtime ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (สัญญาช้ากว่า 30 วินาที) รายการทั้งหมดจะสามารถเก็บย้อนหลังได้ถึง 3 เดือน เพื่อให้ผู้ชมเข้าไปโหวดได้ว่ารายการนั้นๆ มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร
"ในอนาคตนอกจากรายการทีวีของช่อง 3 5 7 โมเดิร์น 9 NB T (11) และไทย TPBS เราจะพยายามนำกลุ่มเคเบิลทีวีเข้ามาไว้ในเว็บด้วย เพื่อให้ประชาชนประเมินเพื่อให้สื่อทีวีสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่สังคม และจะจัดระบบในการเชื่อมไปยังทะเบียนราษฎร โดยให้ผู้ที่จะประเมินใช้เลขบัตรประชาชนในการ Log-in ข้อมูลที่ได้ก็จะมีความน่าเชื่อถือและเป็นจริงมากขึ้น" นายอนุชากล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลักการทำงานของระบบประเมินผลไฮเทคดังกล่าว จะแบ่งเป็น 2 ประเภท 1 คือกลุ่มที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็จะสามารถโหวตเป็นเรตติ้งตามสัญลักษณ์ตัวอักษรธรรมดา เช่น ท. ทั่วไป ด. รายการสำหรับเด็ก 2.เป็นการโหวตสำหรับกลุ่มคนที่สมัครเป็นสมาชิก จะสามารถโหวตแบบ +6-3 ได้ คือรายการหนึ่งๆ ควรมีข้อดี 6 ข้อ อาทิ ด้านจริยธรรม ส่งเสริมสถาบันครอบครัว ฯลฯ และหากมีข้อเสียคือ -3 ในเรื่อง เพศ ภาษา และความรุนแรง ก็สามารถโหวตได้เช่นกัน ซึ่งตัว -3 จะเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดเรตติ้ง ข้อมูลที่ทำการประเมินจะไปปรากฏเป็นกราฟรูปเรดาร์ เพื่อจัดเก็บในฐานระบบข้อมูลและจะนำไปวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ และมอบให้ภาครัฐ หรือช่องโทรทัศน์ เพื่อปรับปรุงต่อไป.
//www.me.in.th/live/QandA.html
คำถามที่พบบ่อย

จุดประสงค์หลักของเวบไซต์ me
ต้องการให้ผู้ชมจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ ว่ารายการใด เหมาะกับเยาวชนแต่ละวัย จะได้นำผลการสำรวจไปจัดแบ่งเวลาในการออกอากาศของ รายการ โทรทัศน์ เพื่อให้เยาวชนได้ชมรายการที่เหมาะสมกับวัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาที่ถูกต้อง

1.การเข้าชมเวบไซต์ me หรือ สมัครสมาชิก ต้องมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?
ตอบ. ทุกท่านสามารถเข้าชม และ สมัครสมาชิก รวมถึงการร่วมโหวต ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดทั้งสิ้น

2.ไม่สามารถชมรายการได้ในบางช่วงเวลา หรือมีอาการสะดุด กระตุก ค้าง (โดยเฉพาะช่วงวันที่ 23-24 เม.ย. 51)
ตอบ.
สำหรับรายการสด
- การรับชมรายการขึ้นอยู่กับสัญญาณโทรทัศน์ในช่วงเวลานั้น ๆ หากสัญญาณที่ได้รับมาเกิดขาดหาย หรือไม่ชัดเจน ณ.บริเวณจุดรับสัญญาณของทางเวปไซต์ ก็จะส่งผลต่อการรับชม ได้เหมือนกับที่ดูจากโทรทัศน์ ซึ่งก็เป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อย
- การแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้สัญญาณโทรศัทน์ขาดหาย
- ระบบไฟฟ้า หากเกิดไฟฟ้าดับ,ไฟตก, หรือไฟกระชาก เป็นเหตุให้การรับสัญญาณโทรศัทน์ชะงักได้
สำหรับการชมย้อนหลัง
- สาเหตุต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วที่เกิดขึ้นกับรายการสด จะส่งผลต่อไฟล์ย้อนหลังที่ถูกบึนทึกไว้ทั้งหมดเช่นกันสำหรับปัญหาในข้อนี้ ทางทีมงานกำลังปรับปรุงแก้ไขระบบให้รับสัญญาณได้ดีขึ้นค่ะ โดยคาดว่า กลางเดือนพฤษภาคม 2551 ระบบจะมีการปรับปรุงให้คงที่ขึ้นอีกถึง 30%

3. ชมรายการแล้ว สัญญาณมาช้า หรือมีแต่ภาพ หรือมีแต่เสียง เพียงอย่างเดียว
ตอบ. กรณีมีภาพแต่ไม่มีเสียง อาจมีสาเหตุมาจาก windows Media Player ของคุณอาจมีปัญหา สามารถแก้ปัญหานี้โดยการโหลดไฟล์ปรับปรุง Codec แล้ว install ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
กรณีมีเสียงแต่ไม่มีภาพ อาจมีสาเหตุมาจาก Bandwidth ของคุณไม่พอ ปัญหานี้คุณอาจต้องติดต่อผู้ดูแลระบบในองค์กร หรือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตของคุณ [ดาวน์โหลดไฟล์ปรับปรุง]


4. เข้าชมเวบไซต์ me แล้วไม่มีสัญญาณภาพใด ๆ เลย ไม่ว่าจะภาพหรือเสียง

ตอบ. เหตุผลตามข้างล่าง อาจจะตรงกับเงื่อนไขที่ว่าทำไมท่านถึงเข้าชม เวบไซต์ me ไม่ได้
- หากท่านใช้ โปรแกรม Opera, FireFox หรือ Safari ท่านอาจจะไม่สามารถชมรายการสด และ/หรือรายการย้อนหลังได้ เนื่องจากทีมงานพัฒนาในช่วงแรก รองรับเฉพาะโปรแกรม Internet Explorer เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทีมงานกำลังพัฒนา Version แบบที่สามารถดูได้ในทุก ๆ โปรแกรม และแม้แต่ดูในอุปกรณ์พกพา หรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะประกาศให้ท่านทราบต่อไป ดังนั้น ใคร่ขอความกรุณาสมัครสมาชิกเพื่อให้เราแจ้งข่าวสารกับท่านได้เมื่อมีการปรับปรุงล่าสุด
- หากท่านใช้โปรแกรม Internet Explorer เพื่อเข้าชมอยู่แล้ว และไม่สามารถชมได้ ให้ตรวจสอบ Version ว่าเป็น Version 6 หรือ 7 หรือไม่โดยการไปที่เมนู Help / About Internet explorer
- กรุณา upgrade Flash player ของท่านโดยการไปที่ //www.adobe.com เพื่อปรับปรุง Version ล่าสุดให้กับ Flash Player ของท่าน หากพบว่าการเปิดเวบไซต์ มีปัญหาตั้งแต่การแสดงภาพในหน้าแรก
- หากท่านได้ตรวจสอบกรณีข้างต้นที้งหมดแล้ว ยังไม่สามารถชมรายการใด ๆ ได้ ความเป็นไปได้คือ ระบบ network ของสถานที่ที่ท่านกำลังใช้งานอินเตอร์เนตอยู่นั้น อาจจะมีการ Block ก็ดูข้อมูลในเวบไซต์แบบ Streaming ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับองค์กร ที่มีนโยบายรักษาความปลอดภัยอย่างเหนียวแน่น ดังนั้นขอให้ท่านตรวจสอบกับผู้ดูแลระบบของท่าน ว่ามีนโยบายเรื่องการ Block Streaming หรือไม่

5. สัญญาณภาพกระตุก และมีการ Buffer บ่อยครั้ง
ตอบ. ถึงแม้ว่าหลายท่านอาจจะอยู่ในองค์กร หรือสถานที่ ๆ มีความเร็วในการเชื่อมต่อ อินเตอร์เนตสูงอยู่แล้ว แต่ในบางครั้ง ในความเร็วดังกล่าว อาจจะมีการใช้งานร่วมกันของคนหลาย ๆ คนซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ภาพ กระตุก และมีการ bufffer บ่อยครั้ง ซึ่งท่านจะสังเกตได้ว่า หากมีผู้ใช้ในระบบเครือข่ายของท่านจำนวนน้อย ปัญหาจะลดลง

6. ต้องการให้มีภาพชัดมากขึ้น มีความละเอียดมากขึ้น
ตอบ. ตามจุดประสงค์ของทางเวปไซต์ เราตั้งใจให้ภาพมีความละเอียดเท่าที่เป็นอยู่ อยู่แล้ว เพราะเวปไซต์นี้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้มีการจัดเรตติ้งให้กับรายการโทรทัศน์ดังนั้น ความละเอียดของภาพเท่าที่เป็นอยู่ ก็มีความชัดเจนเพียงพอที่จะเห็นได้ว่า แต่ละรายการนั้นมีเนื้อหาเป็นอย่างไร และทางเวปไซต์ต้องการให้ ผู้ชมที่มีความเร็วเน็ตต่ำ ก็สามารถร่วมจัดเรตติ้งรายการได้เช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ จึงขอเรียนกับทุกท่านว่า จุดประสงค์ของเวปไซต์นั้น ก็เพื่อก่อประโยขน์ให้แก่สังคม ต้องการให้ร่วมกันจัดเรตติ้งใหักับรายการได้เป็นไปตามความเหมาะสมที่แท้จริง และนำผลที่ได้ ไปปรับเวลาให้กับรายการต่าง ๆเพื่อ จัดประเภทของแต่ละรายการให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม ถูกต้อง เด็กๆ และเยาวชน ก็จะได้ชมรายการในเวลาที่เหมาะสมกับแต่ละวัย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.26 วันที่: 4 มิถุนายน 2551 เวลา:17:16:05 น.  

 
ในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ๒๕๕๑ วันที่ ๕ - ๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ ๑ - ๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

//www.tourismthailand.org/minisite/design_2/view-profile.php?MenuID=13&siteID=5&Manage=
กิจกรรมบนเวทีกลาง ชมการแสดงระดับตื่นตา ตื่นใจ ได้แก่

การแสดงขบวนแห่ทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ตระการตา จากทุกภาคของประเทศ โดยจะจัดแสดงทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. อาทิ การแสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ ๔ ภาค (๑๓แห่งทั่วประเทศ)

การแสดงนาฏศิลป์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มแม่น้ำโขง เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา

การแสดงจากภาคเอกชนธุรกิจท่องเที่ยว แฟชั่นโชว์ เกมส์ ฯลฯ

การแสดงโขนไทยชุดใหญ่ และสาธิตความรู้ศิลปะโขน

การแสดงเวทีกลาง ในงาน "เทศกาลเที่ยวเมืองไทย" ปี 2551
วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน 2551
10.00 น. - 17.00 น. พักเวที (เตรียมพิธีเปิด) -
17.00 น. - 18.00 น. พิธีเปิดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ปี 2551 -
18.00 น. - 18.15 น. ขบวนแห่สายธารวัฒนธรรมไทย-ล้านนา รูปแบบขวนแห่ประเพณีปี๋ใหม่/สงกรานต์
18.15 น. - 18.45 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ภาคเหนือ
18.45 น. - 19.30 น. การแสดงวัฒนธรรม-สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ภาคกลาง
19.30 น. - 20.15 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ภาคใต้
20.15 น. - 21.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ภาคอีสาน


การแสดงเวทีกลาง ในงาน "เทศกาลเที่ยวเมืองไทย" ปี 2551
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551
10.00 น. - 10.30 น. ฉาย VDO "ตามรอย อสท." -
10.30 น. - 10.50 น. เกมส์ "Amazing Thailand" -
10.50 น. - 11.30 น. สุดยอดมายากลเด็กระดับแชมป์ประเทศไทย "มายากล คน ดนตรีไทย" ปะทะ "มายากล ทักซิโด้" จากเมืองพัทยา -
11.30 น. - 12.30 น. การแสดงการเรียนรู้ดู "โขนไทย" ตอน ศึกพรหมมาสตร์ ช่วงแรก อธิบายการชมโขนให้เป็นก่อนชมชุดใหญ่
12.30 น. - 13.30 น. การแสดงอาเซียนสัมพันธ์ ชุดที่ 1 (พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย) -
13.30 น. - 14.00 น. การแสดง "ทิฟฟานี่โชว์" จากเมืองพัทยา -
14.00 น. - 14.30 น. พักเวที -
14.30 น. - 16.00 น. การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งไทย จากรายการ "ชิงช้าสวรรค์" (แชมป์ฤดูร้อน) ร.ร.อัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม -
16.00 น. - 16.15 น. ขบวนแห่สายธารวัฒนธรรมไทย - ภาคกลาง ชบวนแห่จองเปรียงลดชุดลอยโคมและลอยกระทง
16.15 น. - 17.30 น. การแสดงวัฒนธรรม-สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ภาคกลาง
17.30 น. - 18.40 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ภาคใต้
18.40 น. - 19.50 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ภาคอีสาน
19.50 น. - 21.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ภาคเหนือ


การแสดงเวทีกลาง ในงาน "เทศกาลเที่ยวเมืองไทย" ปี 2551
วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2551
10.00 น. - 11.00 น. ฉาย VDO "รวมหนังโฆษณา ททท. ในอดีตถึงปัจจุบัน" -
11.00 น. - 12.00 น. การแสดงหุ่นละครเล็กนาฏยศาลา (ชุดใหญ่) นำเสนอตอน "กูรมารวตาร ตำนานพระราหู" -
12.00 น. - 13.30 น. การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งไทย จากรายการ "ชิงช้าสวรรค์" (แชมป์ฤดูหนาว) ร.ร.มัธยมด่านขุนทด จ.นครราชสีมา -
13.30 น. - 14.30 น. การแสดงอาเซียนสัมพันธ์ ชุดที่ 2 (พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย) ชุดการแสดงไม่ซ้ำวันที่ 6 มิถุนายน 2551
14.30 น. - 15.30 น. การแสดงลิเกเด็ก "วัดโมลี" จ.นนทบุรี -
15.30 น. - 16.00 น. พักเวที -
16.00 น. - 17.00 น. แถลงข่าว "งานแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี" และขบวนแห่สายธารวัฒนธรรมไทย - ภาคอีสาน ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จากอุบลราชธานี
17.00 น. - 18.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ภาคอีสาน
18.00 น. - 19.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ภาคเหนือ
19.00 น. - 20.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ภาคกลาง
20.00 น. - 21.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง ภาคใต้


การแสดงเวทีกลาง ในงาน "เทศกาลเที่ยวเมืองไทย" ปี 2551
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2551
10.00 น. - 11.00 น. ฉาย VDO "สารคดีท่องเที่ยวไทย" -
11.00 น. - 12.00 น. การแสดง "COPY SHOW" มนุษย์ตู้เพลง จากรายการตีสิบ (คนตาบอดร้องเพลงและพูดได้หลายภาษา)
12.00 น. - 13.30 น. การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งไทย จากรายการ "ชิงช้าสวรรค์" (แชมป์ออฟเดอะแชมป์) ร.ร.จ่านกร้อง จ.พิษณุโลก -
13.30 น. - 14.30 น. การแสดงอาเซียนสัมพันธ์ ชุดที่ 3 (พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย) ชุดการแสดงไม่ซ้ำวันที่ 6,7 มิถุนายน 2551
14.30 น. - 15.00 น. พักเวที -
15.00 น. - 15.30 น. โชว์สุดยอดดนตรีไทย ระนาดเอก จาก "ขุนอิน" ตัวเอกจากภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง"
15.30 น. - 16.30 น. แถลงข่าว "งาน Mini Light & Sound" และโชว์ชุดพิเศษ "วิมายนาฎการ" จ.นครราชสีมา -
16.30 น. - 17.00 น. ตลกคณะชวนชื่น ชุด "ชวนชื่น..ชวนเที่ยว" -
17.00 น. - 17.15 น. ขบวนแห่สายธารวัฒนธรรมไทย - ทักษิณ ขบวนประเพณีแห่นก(บุหรงซีงอ)
17.15 น. - 18.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง ภาคใต้
18.00 น. - 19.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพ ภาคกลาง
19.00 น. - 20.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ภาคอีสาน
20.00 น. - 21.00 น. การแสดงวัฒนธรรม-วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ภาคเหนือ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.118 วันที่: 5 มิถุนายน 2551 เวลา:9:19:41 น.  

 
กำหนดการ โครงการพลิกฟื้นคืนชีวาสืบสานภูมิปัญญาบางกอกน้อย
วัน อาทิตย์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๕๑
ณ ลานพระอุโบสถ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ซอยจรัลสนิทวงศ์ ๓๒ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
...................................
กิจรรมล่องเรือรอบเกาะบางกอกน้อย
๑๓.๓๐ น. -พร้อมกันที่ศาลาการเปรียญ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร/ ลงทะเบียน
๑๔.๐๐ น. -๑๖.๐๐ น. ล่องเรือรอบเกาะบางกอกน้อย พร้อมการบรรยายประวัติศาสตร์ท้องถิ่น


กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑๖.๐๐- ๑๘.๐๐ น. – สาธิต เรียนรู้ภูมิปัญญา ( อุบะมาลัย , บายศรี , ข้าวต้มลูกโยน , ข้าวต้มมัด , ข้าวเม่าหมี่ )
- ออกร้านของดีบางกอกน้อย ( ขนมไทยบ้านข้าวเม่า ของเชื่อมตรอกมะตูม ขันลงหินบ้านบุ เครื่องสเตนเลสบ้านบุ ของเล่นโบราณ )
- นิทรรศการ ( ภาพสถานที่-โบราณสถาน ) พร้อมคำบรรยายและผู้นำชม

กิจกรรมลานพระอุโบสถ
๑๖.๐๐ น. - ลงทะเบียน
๑๖.๓๐ น. - พิธีเปิด โครงการพลิกฟื้นคืนชีวา สืบสานภูมิปัญญาบางกอกน้อย
๑๖.๔๕ น. – วิ่งม้าแก้บน
๑๗.๐๐ น. - ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วัฒนธรรม ภูมิปัญญา บางกอกน้อย ทำไมต้องอนุรักษ์”
๑๗.๓๐ น. – การละเล่น แม่งูเอ๋ย ชมรมผู้สูงอายุวัดสุวรรณาราม
๑๘.๐๐ น. – การเล่นทรงแม่ศรี ชมรมผู้สูงอายุวัดดุสิตาราม
๑๘.๓๐ น. – กระบี่กระบอง ภูมิปัญญาบ้านบุ
๑๙.๐๐ น. – สาธิตการเห่เรือพระราชพิธีและการเห่เรือเล่น
๑๙.๓๐น. – ดนตรีไทยกับพิธีกรรม
๒๐.๐๐น. -การแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทองตอนมณฑาลงกระท่อม

**พร้อมเลือกซื้อสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาหารการกินของชาวบางกอกน้อย ขันลงหิน งานบุแสตนเลส ขนมไทยบ้านข้าวเม่า อาทิ กาละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท ข้าวเม่าเม็ด ของเชื่อมจากบ้านตรอกมะตูม และอาหารคาวหวาน ฯลฯ

สนใจร่วมกิจกรรมล่องเรือรอบเกาะบางกอกน้อย ติดต่อฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางกอกน้อย โทรฯ ๐๒๔๓๔๙๐๗๗ จำนวนจำกัด ภายในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ ( ในวันเวลาราชการ )

***ไม่เสียค่าใช้จ่าย***


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.157 วันที่: 8 มิถุนายน 2551 เวลา:1:09:33 น.  

 
งานเฉลิมฉลองศาลาเฉลิมกรุงในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ จึงได้จัดการแสดงโขนชุดพิเศษ “กำแหงหนุมาน ข้าราชบริพารผู้ภักดี” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทย ที่รวบรวมศิลปินผู้เชี่ยวชาญการแสดงโขนในบทบาทของหนุมาน จากสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศ พร้อมด้วย 3 พระราม จากกรมศิลปากร อาจารย์ไพฑูรย์ เข้มแข็ง ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ และปกรณ์ พรพิสุทธิ์ มาไว้บนเวทีเดียวกัน

โดยในงานแถลงข่าวได้จัดแสดงโขนชุด “พระยาอนุชิตฤทธิ์ณรงค์” ซึ่งเป็นการรวมหนุมานใน 3 ลักษณะ ถึง 9 ตัวละคร เพื่อสื่อให้เห็นถึงความสามัคคีของศิลปินโขน

โดยการแสดงชุดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงโขนชุดพิเศษ “กำแหงหนุมาน ข้าราชบริพารผู้ภักดี” จัดแสดงรอบพิเศษในวันที่ 2 กรกฎาคม และรอบปกติในค่ำวันที่ 4 และ 5 กรกฎาคม และรอบ 14.00 น.ในวันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม โดยทุกที่นั่งจำหน่ายบัตรในราคา 475 บาท

รายได้จากการจำหน่ายบัตรจะนำมาเป็นทุนก่อตั้งกองทุนนาฏศิลป์ไทย สำหรับช่วยเหลือศิลปินสูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ และตั้งเป็นกองทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษานาฏศิลป์

ผู้สนใจชมการแสดงโขนชุดพิเศษ “กำแหงหนุมาน ข้าราชบริพารผู้ภักดี” สามารถซื้อบัตรได้ที่ไทยทิคเกตเมเจอร์ทุกสาขา และที่ศาลาเฉลิมกรุง.


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.157 วันที่: 8 มิถุนายน 2551 เวลา:3:05:04 น.  

 
โขนชุดพิเศษ “กำแหงหนุมาน ข้าราชบริพารผู้ภักดี”

+ รอบ VIP ในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2551 เวลา 19.00 น. ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง บัตรราคา 1,500 บาท 1,000 บาท และ 800 บาท
(รอบ VIP ทางThaiTicketMajorไม่ได้จำหน่ายบัตร)

+ รอบพิเศษ จัดแสดงในวันที่ 4 – 5 กรกฎาคม รอบ 19.30น.
และวันที่ 6 กรกฎาคม รอบ 14.00 น.
บัตรราคา 475 บาท ทุกที่นั่ง


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.157 วันที่: 8 มิถุนายน 2551 เวลา:3:11:56 น.  

 
ขออภัย รายการ ศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงว่าด้วยเรื่อง “รำลึกถึงสุนทรภู่บรมครูกวี”
ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร นั้น

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี แสดง เสาร์ ๗ มิย ๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา แสดง อาทิตย์ ๒๒ มิย ๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์กรุงเทพมหานคร แสดงศุกร์ ๒๗ มิย ๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.100 วันที่: 11 มิถุนายน 2551 เวลา:23:05:41 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
การแสดงละคร เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนี นางผีเสื้อสมุทร

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
เสาร์ที่ ๑๔ และ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑เวลา ๑๔.๐๐ น.
แสดงโดย ศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
ขอทราบรายละเอียด-ซื้อบัตรเข้าชม-สำรองที่นั่งได้ที่ โทร ๐๓๕ - ๕๓๕๑๑๖ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ
บัตรราคา ๘๐ , ๖๐ , ๔๐ บาท นักเรียน นักศึกษา เข้าชมเป็นหมู่คณะ บัตรราคา ๓๐ บาท


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.100 วันที่: 11 มิถุนายน 2551 เวลา:23:26:04 น.  

 
สวัดดีค่ะสบายดีรึเปล่าขอให้มีความสุขมากๆๆๆๆๆๆนะค่ะ


โดย: คนใต้ใจดี IP: 117.47.105.80 วันที่: 16 มิถุนายน 2551 เวลา:16:42:01 น.  

 
ละครการกุศล มูลนิธิคนพิการไทย ๒๑ มิ.ย.๕๑
มูลนิธิคนพิการไทย //tdf.or.th/index.php
โทรศัพท์ ๐๒๕๘๒-๐๘๙๗-๘ โทรสาร ๐๒๕๘๒-๐๘๙๙
มีความยินดีขอเรียนเชิญชม
ละครการกุศลเรื่อง พระอภัยมณี ตอนหึงหน้าป้อม
เพื่อหารายได้สมทบทุนดำเนินโครงการ "ล้อเลื่อนเพื่อนคนพิการ" เพื่อจัดหาเก้าอี้รถเข็นและสามล้อโยกพิการ บริจาคแก่คนพิการที่ยากไร้ และด้อยโอกาสทั่วภูมิภาคของประเทศ

ในวันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.
โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์
ด้านข้างหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์: ๐๒-๒๘๑๗๕๔๐ โทรสาร: ๐๒-๒๘๒๓๒๖๔


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.160 วันที่: 18 มิถุนายน 2551 เวลา:19:57:25 น.  

 
กองทัพบก กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์ จัดคอนเสิร์ต ดุจบิดามารดร ฟรี

ในวันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๑ เวลา ๑๓๓๐-๑๖.๓๐ น. ณ หอประชุม ชั้น ๓ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์

การแสดงคอนเสิร์ต”ดุจบิดา มารดร” โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร

วันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

นาย สถาพร นิยมทอง นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดนตรีสากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร อำนวยเพลง

นาย วัฒนะ บุญจับ พิธีกร

ช่วงที่ ๑

๑. เพลงสยามานุสติ – ขับร้องหมู่
๒. เพลงเราสู้ - ขับร้องหมู่
๓. เพลงศรีอยุธยา - วาณี จูฑังคะ
๔. เพลงแหลมทอง - ขับร้องหมู่
๕. เพลงบ้านเกิดเมืองนอน - ขับร้องหมู่
๖. เพลงต้นตระกูลไทย - สันติ ลุนเผ่ – นำหมู่ กองดุริยางค์ทหารบก
๗. เพลงถามคนไทย - สันติ ลุนเผ่ - มีจินตลีลาประกอบ
๘. เพลงทหารพระนเรศวร - สันติ ลุนเผ่

ช่วงที่ ๒

๙. เพลงเกียรติศักดิ์ทหารเสือ - ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ
๑๐. เพลงทหารของชาติ - กองดุริยางค์ทหารบก ขับร้องหมู่
๑๑. เพลงศึกบางระจัน - ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ - ประกอบการแสดงนาฏศิลป์
๑๒. เพลงไทยรวมกำลัง - นายกรัฐมนตรี - นำหมู่ศิลปิน
๑๓. เพลงชุมนุมเผ่าไทย - วาณี จูฑังคะ –ประกอบการแสดงนาฏศิลป์

ช่วงที่ ๓

๑๔. เพลงราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น – กองดุริยางค์ทหารบก –มีจินตลีลาประกอบ
๑๕. เพลงพ่อ – ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๑๖. เพลงหนึ่งในโลก - หมู่ศิลปินดาวรุ่งลูกกรุง
๑๗. เพลงน้ำทิพย์จากน้ำพระทัย - ชายเมืองสิงห์ นำนักร้องหมู่หญิง – มลฤดี ชูชื่น , ปิยะมาลย์ นิลพักตร์ , นัทพร อ่องสาธร , อาภัสรา นกออก
๑๘. เพลงสมเด็จ – กองดุริยางค์ทหารบก ขับร้องหมู่
๑๙. เพลงคือหัตถาครองพิภพ - ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๒๐. เพลงรักหนึ่งในหัวใจ - อ.รัชนี ชังชู

ช่วงที่ ๔

๒๑. เพลงพระราชนิพนธ์รัก – วสุ แสงสิงแก้ว
๒๒. เพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต - ศุภชัย จันทร์สุวรรณ
๒๓. เพลงพระราชนิพนธ์ใกล้รุ่ง - ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ - มีจินตลีลาประกอบ
๒๔. เพลงพระราชนิพนธ์ สายฝน – โฉมฉาย อรุณฉาน – มีจินตลีลาประกอบ
๒๕. เพลงพระราชนิพนธ์ อาทิตย์อับแสง – ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๒๖. เพลงมายาชีวิต – นัดดา วิยะกาญจน์
๒๗. เพลงพระราชนิพนธ์ ลมหนาว - จ.ส.อ.(ญ)ทิพย์พาภรณ์ เอมสมบุญ

ช่วงที่ ๕

๒๘. เพลงจงรัก - วสุแสงสิงแก้ว
๒๙. เพลงโลกนี้คือละคร - โอม นนทวรรธ
๓๐. เพลงกังหันต้องลม - ศุภชัย ไพจิตร
๓๑. เพลงสนต้องลม - เบนซ์ สรายุทธ –ขวัญ ภัทรกรณ์
๓๒. เพลงวังน้ำวน - ธัญสินี ไพจิตร
๓๓. เพลงหนึ่งในร้อย - โอม นนทวรรธ – นุ๊ก ธัญสินี
๓๔. เพลงหยดน้ำเจ้าพระยา - เอ ศุภชัย – เพชร พัชรพรรณ
๓๕. เพลงสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ - วาณี จูฑังคะ

ช่วงที่ ๖

๓๖. เพลงคำสัญญา - ขับร้องหมู่ศิลปิน
๓๗. เพลงสดุดีมหาราชา - ขับร้องหมู่ศิลปิน

ดูแผนที่กรมประชาสัมพันธ์ได้ที่
//www.prd.go.th/hallprd/contact.php


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.160 วันที่: 18 มิถุนายน 2551 เวลา:20:01:04 น.  

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญฟังการบรรยายพิเศษ ฟรี

ในโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๙ / ๒๕๕๑

ในหัวข้อ “ของที่ระลึกเนื่องในงานพระเมรุ”

โดย นาง จารุณี อินเฉิดฉาย ภัณฑารักษ์ ๘ ว.
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

ในวันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐น.

ณ อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร๑๐๒๐๐
( อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง )

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งที่
ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โทร. ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓ , ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.160 วันที่: 18 มิถุนายน 2551 เวลา:20:40:28 น.  

 
สำนักหอสมุดแห่งชาติขอเชิญร่วมฟังการเล่นสักวากลอนสด
ประกอบการบรรเลงดนตรีและขับร้อง โดยวงดนตรีไทย กรมศิลปากร ฟรี

เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน “กำเนิดพลายงาม” เนื่องในวัน สุนทรภู่

โดยนักกลอนร่วมสมัย ประสพโชค เย็นแข / นิภา ทองถาวร หรือ“นิภา บางยี่ขัน” /ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร / บุญครอง คันธฐากูร / รพีพรรณ เพชรอนันต์กุลและ เอนก แจ่มขำ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ในวันอังคารที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุดแห่งชาติ
ในหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

ดูแผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
ดูแผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm

รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.160 วันที่: 18 มิถุนายน 2551 เวลา:20:58:58 น.  

 
งานสัปดาห์เฉลิมเกียรติคุณสุนทรภู่ 222 ปีที่วัดชีปะขาว ( วัดศรีสุดารามวรวิหาร ) 23-29 มิ.ย.นี้ กรุงเทพฯ

เครือข่ายภาคราชการและภาคประชาสังคม ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดสัปดาห์เฉลิมเกียรติคุณ สุนทรภู่ 222 ปี ที่วัดชีปะขาว เขตบางกอกน้อย ระหว่างวันที่ 23-29 มิ.ย.นี้

เครือข่ายภาคราชการและภาคประชาสังคม ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกันจัดกิจกรรม “สัปดาห์เฉลิมเกียรติคุณ สุนทรภู่ 222 ปี มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์” ระหว่างวันที่ 23-29 มิ.ย 51 . ที่วัดศรีสุดารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกว่า วัดชีปะขาว ซึ่งเป็นวัดที่สุนทรภู่ได้รับการศึกษาตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์และสุนทรภู่ได้กล่าวถึงวัดนี้ในผลงานของสุนทรภู่อยู่ตลอดเวลา มีหลักฐานทางวรรณกรรมระบุถึงความผูกพันระหว่างสุนทรภู่กับวัดแห่งนี้

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การประกวดประเภทต่าง ๆ เช่น ตอบปัญหาทางวิชาการ ประชันกลอนสด ประกวดกลอนบรรยายภาพ ประกวดคัดลายมือ คำกลอนสุนทรภู่ ส่วนกิจกรรมบนเวที มีการแสดงเครื่องเล่นดนตรีไทยขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยพิธีเปิดนิทรรศการในวันแรกจะมีการบวงสรวงดวงวิญญาณสุนทรภู่ ซึ่งมีอนุสาวรีย์ของสุนทรภู่อยู่ที่วัดแห่งนี้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาทางวิชาการที่น่าสนใจ ในวันที่ 26 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันครบรอบ 222 ปีสุนทรภู่ อาทิ หัวข้อ “มองสุนทรภู่ผ่านแว่นคติชนวิทยา” การสนทนาเรื่อง “วิถีไทย วิถีธรรม จากวรรณกรรมสุนทรภู่” โดยเปิดเวทีให้ผู้ร่วมเสวนาได้แสดงความเห็นด้วยในลักษณะคุยสบายแบบชาวบ้าน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์กับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กำหนดจัดการเล่นสักวากลอนสด เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม เพื่อสดุดีเกีรยติคุณสุนทรภู่ ในรายการมีนักกลอนร่วมสมัย 6 ท่าน ประกอบด้วย ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร นิภา ทองถาวร หรือนิภา บางยี่ขัน ประสพโชค เย็นแข รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล บุญครอง คันธฐากูร ผู้ดำเนินรายการอเนก แจ่มจำ
ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรม ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในวันที่ 24 มิ.ย. 51 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุดแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กำหนดจัดโครงการเชิดชูครูกวีศรีสุนทร ขึ้น ในวันที่ 26 มิ.ย. 51 ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าเป็นต้นไป ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณของสุนทรภู่

ในการนี้มีพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่บุคคลและองค์กรที่สืบสานอนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย ได้แก่ นายสมบัติ พลายน้อย นายอาจิณ จันทรัมพร นางนภาลัย สุวรรณธาดา

ต่อด้วยสัมมนา “คุณค่าทางภาษาและวัฒนธรรมในวรรณกรรมสุนทรภู่” โดยนายประยอม ซองทอง ศิล ปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นายศานติ ภักดีคำ ม.ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร นายวัฒนะ บุญจับ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ดำเนินรายการโดยนายสมฤทธิ์ ลือชัย

และนิทรรศการเชิดชูครูกวีศรีสุนทร และกิจกรรม “วาดศิลป์...ตามรอยวรรณกรรมสุนทรภู่” โดย ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์

กิจกรรมปุจฉาไขปัญหาสุนทรภู่


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.164 วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:20:24:02 น.  

 
นายกฤษฎา สุขสงวน ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย กทม. กล่าวว่า สำนักงานเขตบางกอกน้อยร่วมกับวัดศรีสุดารามวรวิหาร มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธนบุรี สถาบันสุนทรภู่ คณะกรรมการประชาคมเขต สภาวัฒนธรรม

กำหนดจัดงานสดุดีกวีเอกสุนทรภู่และอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม ประจำปี 2551 ระหว่างวันที่ 23 - 29 มิถุนายน 2551 ณ วัดศรีสุดารามวรวิหาร เพื่อสืบสานประเพณี "วันสุนทรภู่" กวีเอกของโลก และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย

โดยจัดให้มีกิจกรรมการประกวดและแข่งขันความสามารถด้านภาษาไทย เสวนาวิชาการ จัดแสดงนิทรรศการผลงานสุนทรภู่ ประกวดแข่งขันกลอนสด คัดลายมือ วาดภาพ อ่านทำนองเสนาะ ประกวดเด็กไทยร้องรักษ์เพลงไทย การแสดงของนักเรียน ดนตรีลูกทุ่ง ตลก กายกรรม ลำตัด และการแสดงต่างๆ พร้อมทั้ง มีสินค้าชุมชน สินค้าอุปโภคบริโภค และอาหารอร่อย 4 ภาค จำหน่ายในราคาประหยัด

ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย กล่าวต่อไปว่า สำนักงานเขตบางกอกน้อยได้จัดงานรำลึกสดุดีกวีเอกสุนทรภู่เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกและเผยแพร่เกียรติคุณ ผลงานของสุนทรภู่ บรมกวีเอกของโลก ซึ่งได้เคยศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ตลอดจนอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมของไทยสืบต่อไป


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.164 วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:20:26:21 น.  

 
ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษชุมชนคลองเตย
//www.fmrth.com/contact_us.php?key=contactUsKlongtoey

มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมถ์
//www.fmrth.com/home.php

ขอเชิญชม การแสดงวิพิธทัศนาพิเศษ
ในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๗.๓๐ น.
ณ.หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ เลขที่ ๙ ซ.อารีย์สัมพันธ์ ถ.พระราม ๖ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

จัดการแสดงและกำกับการแสดง โดย ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์
ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง ด้านนาฏศิลป์
คณบดี คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

บัตรราคา ๒,๐๐๐ บาท , ๑,๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๓๐๐ บาท

ติดต่อซื้อบัตรได้ที่ คุณ สมศรี ๐๘-๑๕๖๔-๓๐๐๐ ๐๘-๖๘๘๐-๖๕๖๗
คุณ นิตยา ๐๘-๑๓๔๑-๑๐๘๒ , ๐-๒๖๕๒-๔๖๐๐-๒๙ ต่อ ๓๔๒
โรงละครแห่งชาติ ๐-๒๒๒๙-๑๓๔๒
รายการแสดง

ชุดที่ ๑ การแสดงถวายพระพร " อาศิรวาทบรมราชินีนาถ"
ชุดที่ ๒ จาตุรภาคี ๔ ภาคประยุกต์
ชุดที่ ๓ ฉุยฉายบุเรงนอง
ชุดที่ ๔ ฉุยฉายฮเนา ต่อท้าย ออกระบำนางกอย
ชุดที่ ๕ การแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ ตอน พระลอลงสวน
ชุดที่ ๖ การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดยกรบ
ชุดที่ ๗ การขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์
ชุดที่ ๘ การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ - รอยอีสาน , - รับขวัญข้าว
ชุดที่ ๙ รำพม่ารำขวาน
ชุดที่ ๑๐ การแสดงละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช ตอน ขอดูตัวสมิงนครอินทร์
ชุดที่ ๑๑ การขับร้องเพลง " ลาวม่านแก้ว " ต่อท้ายด้วยฟ้อนลาวคำหอม


รายนามผู้แสดง

ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ , ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ , ขวัญใจ ( จูน ) คงถาวร ,
ชวลิต ( อี้ด ) สุนทรานนท์ , สมรัตน์ ( เล็ก ) ทองแท้ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) - ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ ,
ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สมเจตน์ ภู่นา , ศิริพงศ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ ,

พร้อมด้วยศิลปินตลก ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม ถนอม นวลอนันต์ จรัญ พูลลาภ
และศิลปินที่ท่านชื่นชอบอีกมากมาย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.164 วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:20:54:00 น.  

 
สำนักพิมพ์ ออน อาร์ต ร่วมกับ เอ.เจ.เวสต์ นักเขียนชาวออสเตรเลีย จัดพิมพ์นวนิยายภาษาไทยเล่มแรก “รักในรอยศิลป์” หนังสือที่ไม่ได้เขียนโดยคนไทย แต่ถูกเขียนขึ้นโดยนักเขียนต่างชาติที่เข้าถึงหัวใจแห่งความเป็นไทย โดยถ่ายทอดด้วยเรื่องราวที่จะแสดงให้คนทั้งโลกได้เห็นถึงหัวใจอันแท้จริงของฝรั่งหัวใจไทย ซึ่งจะมีการเปิดตัวนวนิยายดังกล่าวใน วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ เวลา 13:30-15:00 น.

ในงานครั้งนี้ อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ผู้วาดภาพประกอบ อาจารย์นาวิน เบียดกลาง ผู้ออกแบบปก คุณธวัชชัย สมคง บรรณาธิการนิตยสารไฟน์อาร์ต คุณชื่นกมล ศรีสมโภชน์ จาก ออน อาร์ต กรุ๊ป และ เอ. เจ. เวสต์ ผู้แต่ง จะร่วมกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ และแรงบันดาลใจในการประพันธ์ของผู้แต่ง
จึงขอเรียนเชิญท่านร่วมงานเปิดตัวหนังสือในครั้งนี้ โดยสามารถติดต่อหรือส่งข้อความตอบรับเพื่อยืนยันการเข้าร่วมงานได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 087-0520186, 081-9165161 หรือ 086-9888011 หรือ โทรสาร 0-2931-6221 อีเมล์: id@onartgroup.com
สำนักพิมพ์ ออน อาร์ต ขอขอบคุณในการให้การสนับสนุนและให้ความสนใจ ทั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ต้อนรับท่านในการมาร่วมงานในครั้งนี้
ขอแสดงความนับถือ
ชื่นกมล ศรีสมโภชน์ กรรมการผู้จัดการ ออน อาร์ต กรุ๊ป

กำหนดการ งานเปิดตัวหนังสือ “รักในรอยศิลป์” ของ เอ. เจ. เวสต์ แปลภาษาไทย โดย กรวัลล์
ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
30 มิถุนายน 2551 เวลา 13.30-15.00 น.

13:30 น. ลงทะเบียนสื่อมวลชน / รับเอกสารประกอบในงาน
14:00 น. กล่าวเปิดงาน ต้อนรับ และแนะนำผู้ร่วมงาน โดย นางสาวพันชนะ วัฒนเสถียร
• อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร คณบดี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม
และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
• อาจารย์พิษณุ ศุภนิมิตร ศิลปินและอาจารย์ประจำ คณะจิตรกรรม
ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
• นายธวัชชัย สมคง บรรณาธิการนิตยสารไฟน์อาร์ต
• นางสาวชื่นกมล ศรีสมโภชน์ กรรมการผู้จัดการ ออน อาร์ต กรุ๊ป
• มร. แอนดรูว์ เจ. เวสต์ ผู้แต่ง “รักในรอยศิลป์”
14:10 น. ตัวแทนจาก ออน อาร์ต และผู้ร่วมงาน ขึ้นกล่าว
- วัตถุประสงค์ของการจัดงาน และโครงการต่างๆ ในปัจจุบันและอนาคต
- ความร่วมมือระหว่างผู้ร่วมงาน ออน อาร์ต มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้สนับสนุน
- หนังสือดีๆ กับสิ่งดีๆที่ผู้อ่านจะได้รับ
- แรงบันดาลใจของผู้แต่ง
- เป้าหมายทางธุรกิจในการที่จะนำศิลปะของไทยและวัฒนธรรมไทยสู่สายตาชาวโลก
ผ่านมุมมองของนักเขียนชาวต่างชาติ
- ความโดดเด่นของผลงาน เช่น ภาพหนังสือ รูปแบบการเขียนซึ่งเป็น
เอกลักษณ์เฉพาะตัว
14:40 น. ตอบข้อซักถามสื่อมวลชน
15:00 น. จบการแถลงข่าว
15.05 น. ถ่ายรูปร่วมกัน
15.10 น. ให้สัมภาษณ์ และแจกลายเซ็น
มีบริการอาหารว่างและเครื่องดื่มภายในงาน
หนังสือ รักในรอยศิลป์ เล่มละ 199 บาท (340 หน้า) A. J. West เขียน "กรวัลลิ์" แปล
แอนดรูว์เขียนจากเค้าโครงชีวิตของ อาจารย์มณเฑียร บุญมา
ฉากในเรื่อง คือ ศิลปากร เลยเลือกที่นี่เพื่อเปิดตัวแถลงข่าว


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:22:49:17 น.  

 
สวช.เชิญชวนเยาวชนร่วมกิจกรรม “เชิดชูครูกวีศรีสุนทร”
นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ แจ้งว่า “เนื่องในโอกาสคล้ายวันเกิดของสุนทรภู่ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กำหนดจะจัด โครงการเชิดชูครูกวีศรีสุนทร ขึ้น ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๕.๐๐ น. ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติคุณของสุนทรภู่ และอนุรักษ์สืบสานภาษาและวรรณกรรมของไทยให้ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานฯ ในการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงาม และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่กำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งสอดคล้องกับคำประกาศขององค์การยูเนสโกที่กำหนดให้ปี ค.ศ.๒๐๐๘ (พ.ศ.๒๕๕๑) เป็นปีแห่งภาษา (International year of Language)

กิจกรรมเนื่องในวันสุนทรภู่ จะเริ่มพิธีเปิดในเวลา ๐๙.๐๐ น. โดย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายก รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นจะเป็น พิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่ บุคคลและองค์กรที่สืบสาน อนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย ประกอบด้วย
รางวัลประเภทบุคคลที่ร่วมสืบสานอนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย ได้แก่
- ผู้สืบสานภาษาและวรรณกรรมไทย ได้แก่ นายสมบัติ พลายน้อย
- ผู้อนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย ได้แก่ นายอาจิณ จันทรัมพร
- ผู้สืบสานวรรณศิลป์ ได้แก่ นางนภาลัย สุวรรณธาดา
รางวัลประเภทองค์กรที่ร่วมสืบสานอนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย
- ด้านสื่อสารมวลชน ได้แก่ บริษัทมายน์ แอท เวิร์คส์ จำกัด
- ด้านองค์กรเอกชน ได้แก่ บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ผู้จัดทำโครงการ เซเว่น บุ๊คอวอร์ดส
- ด้านสมาคม ชมรม มูลนิธิ ได้แก่ สมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย
ต่อด้วยการสัมมนาทางวิชาการ “คุณค่าทางภาษาและวัฒนธรรมในวรรณกรรมสุนทรภู่” โดย
นายประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นายศานติ ภักดีคำ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นายวัฒนะ บุญจับ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ดำเนินรายการโดย นายสมฤทธิ์ ลือชัย กิจกรรมนิทรรศการเชิดชูครูกวีศรีสุนทร และกิจกรรม “วาดศิลป์...ตามรอยวรรณกรรมสุนทรภู่” โดย ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ กิจกรรมปุจฉาไขปัญหาสุนทรภู่ และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของสำนักพิมพ์ต่างๆ
สำหรับในภาคบ่ายจะมีกิจกรรม “ประกวดประชันกลอนสด” โดยนักศึกษา ดำเนินรายการโดย นายนิเวศน์ กันไทยราษฎร์ อุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และวิทยากรพิเศษ นายพรชัย แสนยะมูล (กุดจี่)
จึงขอเชิญชวนเยาวชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งได้ที่ ส่วนไทยนิทัศน์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษา โทร. ๐๒ ๒๔๗ ๐๐๒๘ ต่อ ๔๒๐๖ – ๗
อนึ่ง สุนทรภู่ เป็นบรมครูกวีของไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ ในช่วงชีวิตของสุนทรภู่ได้สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทางภาษา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมไว้อย่างมากมาย อาทิ พระอภัยมณี นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง ฯลฯ ผลงานหลายชิ้นได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นบทเรียนให้กับเยาวชนไทยในสถานศึกษาได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาทางภาษาอันเป็นมรดกวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง
อนึ่ง บุคคลที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติครั้งนี้ เป็นผู้ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาและวรรณกรรมไทย ประกอบด้วย อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อาจารย์ประยอม ซองทอง และอาจารย์วัฒนะ บุญจับ
คณะกรรมการฯ ได้แบ่งประเภทสำหรับบุคคลที่ได้รับโล่เป็น ๓ ประเภท คือ บุคคลที่สืบสานวรรณศิลป์ บุคคลที่สืบสานภาษาและวรรณกรรมไทย และบุคคลที่อนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย
สำหรับหลักเกณฑ์และคุณสมบัติในการคัดเลือกบุคคลที่สืบสาน อนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย
มีตัวอย่างดังนี้
-เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการภาษาและวรรณกรรมไทย
-เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาวงการภาษาและวรรณกรรมไทย
-เป็นผู้มีผลงานเป็นที่ปรากฏต่อสาธารณชน และยังประโยชน์ต่อสังคม
-มีผลงานสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์เฉพาะตน
-ผลงานสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี ความงาม คุณค่าทางอารมณ์ สะท้อนความเป็นธรรมชาติ หรือสถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย ค่านิยม จริยธรรม เอกลักษณ์ของท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของชาติ
บุคคลที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติด้านการสืบสานวรรณศิลป์
ได้แก่ “รองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา”
รองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากวงการวรรณศิลป์ว่าเป็นนักกลอนหญิงที่มีฝีไม้ลายมือทางด้านการแต่งกลอน ที่สามารถเรียงร้อยถ้อยคำอันงดงาม ได้ความหมายที่ดี ลงในกรอบฉันทลักษณ์อันเป็นแบบแผนได้ ท่านมีผลงานทางวิชาการและกวีนิพนธ์เผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อวงการภาษาและหนังสือไทยอย่างมากมาย
ผลงานที่ได้รับการกล่าวขานและเป็นประโยคอมตะ เหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมืองได้ทุกยุคสมัย คือ บทกวีที่มีชื่อว่า “เพลงชาติ” ซึ่งประพันธ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ในบทที่ว่า “ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง”
บุคคลที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติด้านสืบสานภาษาและวรรณกรรม
ได้แก่ “ นายสมบัติ พลายน้อย”
นายสมบัติ พลายน้อย หรือ ส.พลายน้อย เป็นนักเขียนที่มีความรู้ความสามารถในการเขียนหนังสือได้หลายประเภท ทั้งบทความ บทละคร สารคดี เรื่องสั้น ประวัติบุคคลสำคัญ ตำราเรียนทางประวัติศาสตร์และวรรณคดี และเรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งผลงานหลายชิ้นก็ได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ ผลงานที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ประวัติพระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา เทวนิยาย อมนุษยนิยาย เล่าเรื่องพม่ารามัญ เป็นต้น ปัจจุบันมีงานเขียนรวมเล่มแล้ว ประมาณ ๖๐ เล่ม
บุคคลที่ได้รับโล่เชิดชูเกียรติด้านอนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย
ได้แก่ “นายอาจิณ จันทรัมพร”
นายอาจิณ จันทรัมพร เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงวรรณกรรมไทยในฐานะนักอนุรักษ์วรรณกรรมเก่าและหายาก โดยท่านได้ทำการรวบรวมสะสมวรรณกรรมต่างๆ มาจัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้
ผลงานที่สำคัญ คือ การจัดทำโครงการอนุรักษ์วรรณกรรมเก่าและหายากให้สำนักพิมพ์ดอกหญ้า บริษัทสามัคคีสาร จำกัด นำมาจัดพิมพ์เผยแพร่ใหม่ ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการติดต่อกันมาเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ โดยผลงานวรรณกรรมที่ท่านได้รวบรวม ได้แก่ งานของ ศรีบูรพา งานของยาขอบ งานของนายตำรา ณ เมืองใต้ เป็นต้น
ข่าวโดย: ประชาสัมพันธ์
วันเริ่มข่าว: 2008-06-19
อัพเดท: 2008-06-19


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:22:52:42 น.  

 
//www.monnut.com//news10.php

นิทรรศการแสดงผลงานการสร้างหัวโขนพระพิราพพร้อมประวัติความเป็นมาของพระพิราพ

นิทรรศการนี้จัดแสดงหัวโขนขนาดเล็กที่สุด ตั้งแต่เล็กขนาดปลายนิ้วก้อยถึงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมทั้งจัดแสดงขั้นตอนการสร้างหัวโขนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการที่สมบูรณ์ ออกมาเป็นผลงานหัวโขน

จัดแสดงที่หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร อยู่ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี สามเสน กรุงเทพ

เปิดแสดงตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2551 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2551
เวลา 09.00 น.ถึงเวลา 16.00 น . เว้นวันหยุดราชการ

An Exhibition of Phra Phirap Masks

This exhibition is devoted to the history of Phra Phirap and his important ritual role in Thai culture. It covers his many forms and representations, from the smallest (the size of a finger tip) to the largest Phra Phirap mask in the world. It will also demonstrate the complete ritual process used in the making of the mask.

Venue: King Rama IX Music Library and Princess Sirinthorn Music Library The National Library of Thailand Samsen Dusit Bangkok

From 23 June - 30 September 2008 Open 09.00-16.00 hrs. (Closed: Sundays and Public holidays)

แจกฟรี ! วัตถุมงคลพระพิราพในงานนิทรรศการ วันที่ 7 กรกฏาคม นี้ เวลา 14.00-15.00
ทางเวบไซต์แจ้งว่า ท่านทีต้องการมีไว้เพื่อความสิริมงคล สมบูรณ์พูนผล นำพวงมาลัย เข้ารับมอบประสิทธิเป็นกรรมสิทธิ์มงคล ได้ในวันเวลาดังกล่าว


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:22:54:31 น.  

 
เนื่องจากหอสมุดแห่งชาติปิดทำการเป็นกรณ๊พิเศษในวันเสาร์ที่ ๒๑ และวันอาทิตย์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
ละครการกุศลนี้จึงเลื่อนการแสดงจากเดิมไปเป็นวันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑

มูลนิธิคนพิการไทย //tdf.or.th/index.php
โทรศัพท์ ๐๒๕๘๒-๐๘๙๗-๘ โทรสาร ๐๒๕๘๒-๐๘๙๙
มีความยินดีขอเรียนเชิญชม
ละครการกุศลเรื่อง พระอภัยมณี ตอนหึงหน้าป้อม
เพื่อหารายได้สมทบทุนดำเนินโครงการ "ล้อเลื่อนเพื่อนคนพิการ" เพื่อจัดหาเก้าอี้รถเข็นและสามล้อโยกพิการ บริจาคแก่คนพิการที่ยากไร้ และด้อยโอกาสทั่วภูมิภาคของประเทศ
ในวันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.
โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์
ด้านข้างหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์: ๐๒-๒๘๑๗๕๔๐ โทรสาร: ๐๒-๒๘๒๓๒๖๔


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:22:57:59 น.  

 
เอกทันต์นาฏศิลป์และดนตรี ของตระกูลทองอร่าม ขอเชิญชม
ละครพันทางเรื่องราชาธิราช ตอนศึกมังมหานรธา ของเจ้าพระยาพระคลัง ( หน )
( ตอนใหม่ยังไม่เคยแสดงที่ไหนมาก่อน )

เกษม ทองอร่าม จัดทำบท สมชาย ทับพร บรรจุเพลง
แสดงโดย ศิลปินกรมศิลปากร ครบชุด พร้อมด้วยนาฏศิลป์ ๔ ภาค โดยเยาวนาฏศิลป์เอกทันต์

บัตรราคา ๕๐๐ บาท , ๓๐๐ บาท , ๒๐๐ บาท และ ๑๐๐ บาท
สนใจติดต่อขอซื้อบัตรได้ที่ คุณ สดใส ทองอร่าม ๐๘-๖๐๓๙-๖๒๓๒

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ( รอบเดียว )

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙
ดูแผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
ดูแผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.58 วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:22:59:22 น.  

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครจัดนิทรรศการพิเศษ

เรื่อง เหลียวหน้า แลหลัง ดูหนังใหญ่

เปิดให้เข้าชมในวันพุธ ถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่ ๒๕ มิถุนายน - ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๑

A Temporary Exhibition on “ The Past and the Present of Nangyai : Siamese Shadow Pupets ”
At National Museum Bangkok 25th June – 17th August , 2008


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.197 วันที่: 28 มิถุนายน 2551 เวลา:9:31:33 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการ ดนตรีไทยไร้รสหรือ
วันเสาร์ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐น.

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm

รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙

ออกแบบรายการ โดย นาย สมชาย ทับพร หัวหน้ากลุ่มดุริบางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

รายการแสดง

๑. รายการที่ ๑ แหนหวนกระบวนปี่ โดย ปี๊บ คงลายทอง
๒. รายการที่ ๒ การบรรเลง-ขับร้อง “รำลึกถึงครูสุนทรภู่” โดยวงดุริยางค์ไทย
๓. รายการที่ ๓ คีตลีลาชุด “หลงรูปนางละเวง”นางละเวง – นางละเวง-ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ เจ้าจีน-ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ เจ้าแขก-ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ เจ้าลาว-ฉันทวัฒน์ ชูแหวน เจ้าชวา-สมเจตน์ ภู่นา เจ้าพม่า-วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ เจ้ามอญ-สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
๔. รายการที่ ๔ การแสดงชุดพระอภัยมณีเรียนเพลงปี่ - ครูพิณพราหมณ์-ถนอม นวลอนันต์ พระอภัยมณี-ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม ศรีสุวรรณ-จรัญ พูลลาภ
๕. รายการที่ ๕ การแสดงรำฉุยฉายเพลงปี่ โดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
๖. รายการที่ ๖ การบรรเลง-ขับร้องชุด ปกิณกะพระอภัยมณี - พระอภัยมณี-ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผีเสื้อสมุทร-สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์ ผีเสื้อสมุทรแปลง-อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา

เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๘ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑ //www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=289&PageSetUp=7&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.197 วันที่: 28 มิถุนายน 2551 เวลา:9:38:59 น.  

 
ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.)
ได้จัดการประกวดดนตรีไทย ระดับมัธยมศึกษา "ประลองเพลง ประเลงมโหรี"
ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ครั้งที่ ๒๓ ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ขึ้น โดยมีการประกวด ดังนี้:-

ประเภทการบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี)

สิ้นสุดการรับสมัครและส่งแผ่น VCD/DVD การบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี) ภายในวันศุกร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๑
คณะกรรมการฯจะประกาศผลการคัดเลือกรอบแรกในวันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๑
วันที่ประกวดรอบรองชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันเสาร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๑
วันที่ประกวดรอบชิงชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันเสาร์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑

ประเภทการบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรี และ ขับร้อง
คณะกรรมการฯจะประกาศผลการคัดเลือกรอบแรกในวันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
วันที่ประกวดรอบชิงชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

สถานศึกษาและเยาวชนที่สนใจ ติดต่อสอบถามขอรับใบสมัคร และสมัครทางไปรษณีย์ หรือสมัครด้วยตนเอง ได้ที่

ศูนย์สังคีตศิลป์ ชั้น ๔ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาหัวลำโพง เลขที่ ๒๒๗ ถนนพระราม ๔ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กทม.๑๐๓๓๐
โทร. ๐-๒๒๑๕๖๕๓๕-๗ ในวันและเวลาทำการ ๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
หรือ สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน (สทย.) ในเวลาราชการ ๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. โทร. ๐-๒๖๕๑-๖๕๐๕

ประเภทการบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี)

เพลงที่ใช้ประกวดในรอบส่งแผ่น VCD/DVD

เพลงเขมรโพธิสัตว์ อัตรา ๒ ชั้น ประพันธ์คำร้องใหม่โดยนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ เพื่อรำลึกและไว้อาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ให้ร้องรับบรรเลง ๓ ท่อน โดยไม่ต้องมีทำนองนำ ไม่ต้องออกลูกหมด และไม่ต้องทำทางเปลี่ยน

บทร้องเพลงเขมรโพธิสัตว์
"กราบพระพี่นาง"
สง่างาม วามวาว ราวรุ้งรุ่ง
โรจน์จรุง แรงใจ ให้รู้หวัง
พระปรีชา วิชาชาญ ประทานพลัง
ให้รู้ตั้ง สติตาม พระเจตนา

โอ้ว่า พระพี่นาง นิราศแล้ว
เพลงปี่แก้ว กันแสง สะท้านพร่า
เสด็จสวรรคาลัย อาลัยลา
สถิตฟ้า สถิตใจ ทวยไทยนิรันดร์

(ประพันธ์บทร้องโดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)


เพลงที่ใช้ประกวดรอบชิงชนะเลิศ
เพลงนางครวญ เถา ลงจบด้วยลูกหมดตามแบบฉบับของเก่า
บทร้องเพลงนางครวญ (เถา)
๓ ชั้น
โอ้ว่าป่านฉะนี้พระพี่เจ้า จะโศกเศร้ารัญจวนครวญหา
ตั้งแต่พระไปแก้สงสัยมา มิได้พบขนิษฐาในถ้ำทอง
๒ ชั้น
พระจะแสนเศร้าสร้อยละห้อยไห้ หฤทัยทุกข์ทนหม่นหมอง
จะดั้นด้นค้นคว้าเที่ยวหาน้อง ทุกประเทศเถื่อนท้องพระบุรี
ชั้นเดียว
โอ้ว่าทำไฉนจะได้รู้ ว่าน้องอยู่ประมอตันกรุงศรี
แม้นใครทูลแถลงแจ้งคดี เห็นทีจะตามมาด้วยอาลัย
(จากอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒)

- วงดนตรีที่สมัครจะต้องบรรเลงและขับร้องตามบทร้องที่กำหนด บันทึกเสียงและภาพลงบนแผ่น VCD/DVD ห้ามตัดต่อแผ่น VCD/DVD ให้ตั้งกล้องด้านหน้า เห็นผู้บรรเลงครบทั้งวง ไม่ต้องมีการประกาศชื่อเพลง ชื่อนักร้อง และชื่อโรงเรียน

- เนื้อร้องและทำนองเพลง มีตัวอย่างเป็นแนวทาง ขอถ่ายสำเนาตัวอย่าง ได้ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ในวันและเวลาทำการ
- การประกวดบรรเลงรับร้อง(วงมโหรี) ครั้งนี้ คิดคะแนนทุกเครื่องมือ รวมทั้งซอสามสายและนักร้อง
- ผู้เข้าประกวดต้องเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ซึ่งศึกษาอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน หรือต่างโรงเรียนก็ได้ โดยต้องมีหลักฐานรับรองจากสถานศึกษาว่ามีสถานภาพเป็นนักเรียนจริงในระยะเวลาที่ประกวดนั้น
- ผู้เข้าประกวดในการบรรเลงวงมโหรี จะส่งประกวดในนามของสถานศึกษา กลุ่ม หรือ ชมรมก็ได้ โดยมีผู้บรรเลงรวมวงไม่เกิน ๑๖ คน รวมทั้งนักร้องและตัวสำรองอีก ๒ คน
- ผู้สมัครที่ส่งชื่อเข้าประกวด ถ้าสังกัดวงใดต้องสังกัดวงนั้นเพียงวงเดียว

สิ้นสุดการรับสมัครและส่งแผ่น VCD/DVD การบรรเลงรับร้อง (วงมโหรี) ภายในวันศุกร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๑
คณะกรรมการฯจะประกาศผลการคัดเลือกรอบแรกในวันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๑
วันที่ประกวดรอบรองชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันเสาร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๑
วันที่ประกวดรอบชิงชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันเสาร์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑

ประเภทการบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรี และ ขับร้อง
๑) ระนาดเอก (ใช้ระนาดของวงปี่พาทย์ตีด้วยไม้แข็ง)
เพลงเชิดนอก (บรรเลงเฉพาะเชิดนอก ไม่ต้องมีทำนองนำและไม่ต้องออกเพลงอื่น)
เครื่องคุมจังหวะ กลองสองหน้าและฉิ่ง

๒) ซอด้วง
เพลงพญาโศก ๓ ชั้น
เครื่องคุมจังหวะ โทน-รำมะนาและฉิ่ง

๓) ปี่ใน
เพลงเต่ากินผักบุ้ง ๒ ชั้น
เสียงใน (เป่าในระบบฝึกหัดการเรียนปี่) หน้าทับปรบไก่
เครื่องคุมจังหวะ กลองสองหน้าและฉิ่ง

๔) ขับร้อง
เพลงการะเวกเล็ก เถา
เครื่องคุมจังหวะ โทน-รำมะนาและฉิ่ง

บทร้องเพลงการะเวกเล็ก (เถา)

การะเวกโผผินบินร่อน อยู่ในกลางอัมพรเวหน
ลอยละลิบอยู่ในทิพย์โพยมบน เหลือจะยลแลไปสุดสายตา
เข้าแฝงกายอยู่ในสายวลาหก น้อยหรือนกการะเวกเอกหนักหนา
เข้าแอบแฝงอยู่ในแสงพระจันทรา อยู่ฟากฟ้ามิได้จรลงนอนรัง
ศศิธรแจ่มกระจ่างจับ ก็แลลับหายไปไม่มีหวัง
แสนวิตกอกเราเฝ้าระวัง เฝ้าแต่ตั้งตาแลชะแง้คอย

(ของเก่า)

- รอบแรกส่งแผ่น VCD/DVD อนุญาตให้ใช้เครื่องดำเนินทำนองอย่างน้อย ๓ ชิ้น ในการบรรเลงรับ-ส่งการประกวดขับร้อง
- รอบชิงชนะเลิศ ร้องกับวงมโหรีของสโมสรธนาคารกรุงเทพ
**ผู้มีหน้าที่คุมจังหวะ ต้องเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จะเป็นโรงเรียนที่ส่งเข้าประกวดหรือโรงเรียนอื่นมาร่วมบรรเลงได้ **

สิ้นสุดการรับสมัครและส่งแผ่น VCD/DVD การบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรี และ ขับร้อง ภายในวันศุกร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
คณะกรรมการฯจะประกาศผลการคัดเลือกรอบแรกในวันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
วันที่ประกวดรอบชิงชนะเลิศ บรรเลงต่อหน้ากรรมการ - วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.197 วันที่: 28 มิถุนายน 2551 เวลา:12:33:06 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม การแสดงละครจีน เรื่อง สามก๊ก
ตอน กวนอู ไปรับราชการกับ โจโฉ [ สัญญาสามข้อ - กวนอู ยอมสวามิภักดิ์อุปราช โจโฉ ]

วันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม และ วันอาทิตย์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่
โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒-๑๐๙๒ ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙

วันเสาร์ที่ ๑๒ และ วันเสาร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะบัตรราคา ๓๐ บาท )

วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐ ( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม.) โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑


นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้แสดงฝ่ายโจโฉ

โจโฉ -ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ซุนฮก-เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม กุยแก-ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง เทียหยก - สมรักษ์
( อ๋อย ) นาคปลื้ม เตียวเลี้ยว-สมเจตน์ ภู่นา แฮหัวตุ้น-วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ ชิหลง-สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด เคาทู-ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด คนธง-ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ ทหารตลก - ถนอม นวลอนันต์ ทหารโจโฉ ทัพที่ ๑ - หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง ทัพที่ 2 ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก ทัพที่ ๓ - เลียว คงกำเหนิด , คมสัณฐ
( โต้ง ) หัวเมืองลาด , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง ,จุลทรัพย์ ดวงพัตรา นางกำนัล นาฏยา
( แหวว ) รัตนศึกษา , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี

นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้แสดงฝ่ายเล่าปี่

กวนอู ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ พี่สะใภ้เล่าปี่ วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , วนิตา ( นก ) กรินชัย
คนธง ประวิทย์ เรืองมาก ทหารฝ่ายเล่าปี่ วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ประวิทย์ เรืองมาก , ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , สุรินทร์ เขียวอ่อน ชาวบ้าน ชาย-หญิง ประวิทย์ เรืองมาก , ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ ,
วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชัยทัศ , พุทธิยา พลับกระสงค์ , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , ศราวุธ
( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๘ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑

ดูแผนที่และรายละเอียดเพิ่มเติมของ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ที่เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๑๖ หัวข้อโรงละครแห่งชาติ_สุพรรณบุรี ๒๕๕๑


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:44:08 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม การแสดงละครจีน เรื่อง สามก๊ก
ตอน กวนอู ไปรับราชการกับ โจโฉ [ สัญญาสามข้อ - กวนอู ยอมสวามิภักดิ์อุปราช โจโฉ ]

วันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม และ วันอาทิตย์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่
โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒-๑๐๙๒ ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙

วันเสาร์ที่ ๑๒ และ วันเสาร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะบัตรราคา ๓๐ บาท )

วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐ ( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม.) โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑


นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้แสดงฝ่ายโจโฉ

โจโฉ -ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ซุนฮก-เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม กุยแก-ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง เทียหยก - สมรักษ์
( อ๋อย ) นาคปลื้ม เตียวเลี้ยว-สมเจตน์ ภู่นา แฮหัวตุ้น-วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ ชิหลง-สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด เคาทู-ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด คนธง-ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ ทหารตลก - ถนอม นวลอนันต์ ทหารโจโฉ ทัพที่ ๑ - หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง ทัพที่ 2 ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก ทัพที่ ๓ - เลียว คงกำเหนิด , คมสัณฐ
( โต้ง ) หัวเมืองลาด , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง ,จุลทรัพย์ ดวงพัตรา นางกำนัล นาฏยา
( แหวว ) รัตนศึกษา , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี

นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้แสดงฝ่ายเล่าปี่

กวนอู ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ พี่สะใภ้เล่าปี่ วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , วนิตา ( นก ) กรินชัย
คนธง ประวิทย์ เรืองมาก ทหารฝ่ายเล่าปี่ วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ประวิทย์ เรืองมาก , ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , สุรินทร์ เขียวอ่อน ชาวบ้าน ชาย-หญิง ประวิทย์ เรืองมาก , ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ ,
วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชัยทัศ , พุทธิยา พลับกระสงค์ , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , ศราวุธ
( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๘ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑

ดูแผนที่และรายละเอียดเพิ่มเติมของ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ที่เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๑๖ หัวข้อโรงละครแห่งชาติ_สุพรรณบุรี ๒๕๕๑


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:44:26 น.  

 
ขออภัยเห็นมันไม่วิ่ง ไปกดซ้ำ
เลยขึ้นซ้ำมา 2 ครั้งเลย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:49:52 น.  

 
//www.culture.go.th/www/th/news_detail.php?id=70

การประกวดนวนิยายฉบับย่อ โครงการวรรณศิลป์

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และเครือข่าย
จึงได้จัดการประกวดนวนิยายฉบับย่อจากผลงานศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
ขึ้นในทุกภูมิภาค โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑. คุณสมบัติผู้เข้าประกวด

เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

๒. เกณฑ์การประกวด

๒.๑ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดคัดเลือกนวนิยายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จาก ๑๓ เรื่อง ดังต่อไปนี้
๒.๑.๑ สี่แผ่นดิน คึกฤทธิ์ ปราโมช(ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช)
๒.๑.๒ บ้านทรายทอง ก.สุรางคณางค์ (กัณหา เคียงศิริ)
๒.๑.๓ ข้ามสีทันดร กฤษณา อโศกสิน(สุกัญญา ชลศึกษ์)
๒.๑.๔ ปีศาจ เสนีย์ เสาวพงศ์(ศักดิชัย บำรุงพงศ์)
๒.๑.๕ ลูกทาส รพีพร (สุวัฒน์ วรดิลก)
๒.๑.๖ เสเพลบอยชาวไร่ และ ผู้มียี่เกในหัวใจ รงค์ วงษ์สวรรค์ (รงค์ วงษ์สวรรค์)
๒.๑.๗ บุญบรรพ์ บรรพ ๑ และบรรพ ๒ ศรีฟ้า ลดาวัลย์(ม.ล. ศรีฟ้า มหาวรรณ)
๒.๑.๘ ศิวาราตรี พนมเทียน(ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ)
๒.๑.๙ สารวัตรเถื่อน วสิษฐ เดชกุญชร(พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร)
๒.๑.๑๐ จดหมายจากเมืองไทย โบตั๋น(สุภา สิริสิงห)
๒๑.๑๑ ลูกอีสาน คำพูน บุญทวี(คำพูน บุญทวี)
๒.๑.๑๒ คำพิพากษา ชาติ กอบจิตติ(ชาติ กอบจิตติ)
๒.๑.๑๓ รัตนโกสินทร์ ว.วินิจฉัยกุล(คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์)


๒.๒ ย่อนวนิยายดังกล่าว ความยาวไม่เกิน ๑๐ หน้ากระดาษ A4 และแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับคุณค่านวนิยายเรื่องดังกล่าว ความยาวไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วยตัวอักษร Angsana New 16 ส่งต้นฉบับ ๑ ชุด พร้อมสำเนา ๓ ชุด


๒.๓ เขียน ชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ ระดับชั้น/คณะ ชื่อสถานศึกษา และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้สะดวก พร้อมแนบสำเนาบัตรนักเรียน นิสิต/นักศึกษา

๓. เกณฑ์การตัดสิน

๓.๑ สามารถสรุปสาระสำคัญของนวนิยายได้ถูกต้องตรงตามต้นฉบับเดิม


๓.๒ ใช้ภาษาไทยเรียบเรียงได้กระชับ และสละสลวย ๓.๓ สามารถแสดงความคิดเห็นต่อนวนิยายดังกล่าวอย่างมีเหตุมีผล ด้วยมุมมอง ที่น่าสนใจ

๔. กำหนดการจัดประกวด
การส่งผลงาน ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ตามภูมิภาคของสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ ของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่

ภาคเหนือ ( เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก) ณ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มหาวิทยาลัยนเรศวร ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๐๐๐ โทร. (๐๕๕) ๒๖๑-๐๐๐ ต่อ งานประชาสัมพันธ์


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ( เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม หนองบัวลำภู ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา )ณ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มหาวิทยาลัยนเรศวร ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๐๐๐ โทร. (๐๕๕) ๒๖๑-๐๐๐ ต่อ งานประชาสัมพันธ์


ภาคกลาง( กรุงเทพมหานคร ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม อยุธยา นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ) ณ ผศ.จินตนา พุทธเมตะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ๑๑๔ ถนนสุขุมวิท ซอย ๒๓ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทร (๐๒) ๖๔๙-๕๐๐๐ ต่อ ๖๔๐๖


ภาคใต้( ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ) ณ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ๒๒๒ ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๑๖๐ โทร (๐๗๕) ๖๗๒-๐๖๒, (๐๘๖) ๗๔๒-๙๘๒๑ (๐๘๑) ๖๐๖-๘๘๕๓

๕. รางวัล
เรื่องที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก มีสิทธิได้รับการเผยแพร่
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดตาม เกณฑ์ที่กำหนด และสถานศึกษาต้นสังกัด
จะได้รับเกียรติบัตรจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

๕.๑ ภาคเหนือ ๑๓ เรื่อง ๑๓ รางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท


๕.๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๓ เรื่อง ๑๓ รางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท


๕.๓ ภาคใต้ ๑๓ เรื่อง ๑๓ รางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท


๕.๔ ภาคกลาง และ กทม. ๑๓ เรื่อง ๑๓ รางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท

๖. การตัดสินการประกวด

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตัดสินและผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาด

๗. การประกาศผลการประกวด

การประกาศผลการประกวด ภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๒
และกำหนดพิธีมอบรางวัล ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ (วันศิลปินแห่งชาติ)
ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร


ข่าวโดย: กองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
จาก: //www.culture.go.th/thart/www/th/news_detail.php?id=50
วันเริ่มข่าว: 2008-06-19 อัพเดท: 2008-06-19


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:53:31 น.  

 
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑

พิพิภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ( อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับโรงละครแห่งชาติ )
จะนิมนต์ พระภิกษุ สามเณร ในเขต กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง

เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นกรณ๊พิเศษ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม และวันอังคารที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ( แรม ๔ ค่ำ และ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ )ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.

และเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง " เรื่อง เหลียวหน้า แลหลัง ดูหนังใหญ่ " ณ.พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พร้อมทั้งได้จัดถวายภัตตาหารเพล น้ำปานะ เครื่องกัปปิยภัณฑ์ ตลอดจนหนังสือมีคุณค่า ถวายแด่พระภิกษุสามเณร

สำหรับผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะร่วมทำบุญกับทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยร่วมบริจาคปัจจัย และสิ่งของต่างๆ ได้ทุกวัน
เว้นวันจันทร์ และวันอังคาร ที่งานธุรการ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ๐๒๒๒๔๑๓๓๓ ๐๒๒๒๔๑๔๐๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:18:42 น.  

 
กำหนดการ โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมบรรยายประกอบการสาธิต
เรื่อง "มหรสพสมโภชในการพระเมรุสมัยรัตนโกสินทร์"
เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ณ หอประชุมศรีบูรพา ( หอประชุมเล็ก ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. ศาสตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน
๐๙.๑๕ – ๑๒.๐๐ น. บรรยายเรื่อง "มหรสพสมโภชในการพระเมรุสมัยรัตนโกสินทร์"
เพื่อถวายพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
วิทยากร : ประเมษฐ์ บุญยะชัย ดร.อนุชา ทีรคานนท์ สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธร
สาธิตการละเล่น :

โมงครุ่ม กุลาตีไม้ ระเบงแทงวิไสย กะอั้วแทงควาย รำโคม

๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. สาธิตการแสดงมหรสพ :

หนังใหญ่ออกตัว ตอน “ศึกวิรุฬจำบัง”
ละครชาตรี ตอน “รถเสนหนีนางเมรี”
ละครข้างใน เรื่องอิเหนา ตอน “ตัดดอกไม้ฉายกริช”
หุ่นหลวง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน “ศึกอินทรชิต”
วิทยากร : สุรัตน์ จงดา
๑๖.๓๐ น. ปิดงาน


สนใจเข้าร่วมการโครงการ จำนวน..................คน
กรุณาตอบรับเข้าร่วมโครงการ ได้ที่
1) โทรสาร 02-226-2112หรือ
2) ส่งทางไปรษณีย์ ได้ที่
งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา
อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200

ตอบรับเข้าร่วมโครงการฯ ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2551


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:26:37 น.  

 
ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯจะจัดกิจกรรมทัศนศึกษาจร(เดินเท้าท่องเที่ยว) ย่านบางลำพู-สามเสน วันเสาร์ที่ 12 กค.51 พบกัน 7.45 น.หน้าพระอุโบสถวัดชนะสงคราม บางลำพู
สอบถามรายละเอียด+แจ้งชื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่คุณกรินทร์ ชมรมหรี่เสียงกรุงเทพฯ
โทร.089-146-4848 และ krkkj@hotmail.com
จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา (นัท สยามทัศน์)

ทอดน่อง…มองเมือง…ผ่านมวลศิลป์ ย่านบางลำพูสู่สามเสน
วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2551
***************************
8.00 น. พบกัน ณ จุดนัดหมาย หน้าพระอุโบสถวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ชมศิลปกรรม
อันงามวิเศษและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสกุลช่างวังหน้า
9.00 น. ออกเดินเท้าสู่ถนนข้าวสาร แหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักอย่างแพร่หลายของนักท่องเที่ยวราตรี
ทั้งไทยและเทศ สัมผัสบรรยากาศของย่านนี้ยามเช้าที่น้อยคนจะได้มาสัมผัส ชมรูปแบบอาคาร
ตึกแถวหลากหลายศิลปะพร้อมฟังเรื่องราวที่น่าสนใจของสถานที่สำคัญในพื้นที่บางลำพู อาทิ
ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ ถนนสิบสามห้าง สี่แยกคอกวัว ฯลฯ
10.00 น. ชมสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานรูปลักษณ์ศิลปะแบบตะวันออกและตะวันตกอย่างลงตัว
ณ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร นมัสการพระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปที่ได้รับความยกย่อง
ในวงการศิลปะว่า “เป็นพระที่งามอย่างไม่มีที่ติองค์หนึ่งในประเทศ” สัมผัสจิตรกรรม
ฝาผนังสกุลช่างขรัวอินโข่ง ช่างไทยที่เขียนภาพสไตล์ฝรั่งที่หาชมได้ยากพร้อมฟังเรื่องราวและ
เหตุการณ์อันน่าตื่นใจของภัยฝรั่งรุกสยาม ยามแผ่นดินพระนั่งเกล้า-พระพุทธเจ้าหลวง
(รัชกาลที่ 3 – รัชกาลที่ 5) ซึ่งสัมพันธ์กับวัดแห่งนี้
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันหลากรสตามอัธยาศัยในพื้นที่บางลำพู
14.00 น. พบกันหน้าพระอุโบสถวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร (ซอยข้างหอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์)
นมัสการ ”พระพุทธเทวราชปฏิมากร “ พระพุทธรูปโบราณขนาดมหึมาและได้รับพระราชทาน
นามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมสัมผัสบรรยากาศสวรรค์อันรื่นรมย์จากภาพ
จิตรกรรมบนผนังอันกว้างใหญ่ของพระอุโบสถ
14.45 น. ออกเดินเท้าผ่านสถานที่สำคัญต่างๆในย่านถนนสามเสน อาทิ คลองผดุงกรุงเกษม
หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี พระราชวังดุสิต ฯลฯ ฟังเรื่องราวและเกร็ดน่ารู้ของพระองค์
และราชสำนักฝ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5
16.00 น. ชมพระอุโบสถรูปทรงไทยประยุกต์ที่งดงามแปลกตาซึ่งออกแบบโดยสมเด็จฯกรมพระยานริศรา
นุวัดติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งรัตนโกสินทร์ ณ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พร้อมชมภาพ
เวสสันดรชาดกที่เขียนด้วยเทคนิคแบบตะวันตกที่มีอยู่น้อยแห่งในเมืองไทยและตื่นตะลึงกับ
ศาลาการเปรียญไม้สักขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนงดงามยิ่ง พร้อมฟังเรื่องราวของรัชกาลที่ 4
กับความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อครั้งยังทรงผนวช
17.30 น. สัมผัสบรรยากาศอันรื่นรมย์ของแม่น้ำเจ้าพระยายามเย็นและแยกย้ายกันกลับด้วยความรู้
และความประทับใจอย่างเต็มเปี่ยม
*************************** กำหนดการนี้อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.56 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:28:25 น.  

 
ขอบคุณมากเป็นเวบที่รวมข้อมูลได้โดนใจค่ะ ขอเนกำลังใจนะคะ


โดย: อ้อ อยุธยา IP: 203.151.120.78 วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:32:10 น.  

 
สนุกมากเลยคะ หนูเคยไปดูแล้ว


โดย: มาริสา IP: 125.25.61.125 วันที่: 12 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:37:43 น.  

 
สวยนะคะ ก้อลงตัวทุกอย่างคะ อ่านง่าย เข้าจัยง่าย กะทัดรัดด้วย


โดย: นิหน่าคะ msu IP: 202.28.35.3 วันที่: 15 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:38:55 น.  

 
กิจกรรมวิถีชีวิตไทยครั้งที่ ๕...เสวนา ชาวบางรัก

ชุมชนชาวบางรักซึ่งเป็นชุมชนหน่วยหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆเป็นเวลา 101 ปีแล้ว
จึงมีเรื่องราวกล่าวขานให้ท่านผู้ชมได้ทราบถึงวิถีชีวิต ที่ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาจนเป็นบางรัก ในปัจจุบัน

กำหนดการ : วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ ลาน พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เขตบางรัก กรุงเทพฯ

14.30 พิธีกรเรียนเชิญผู้เข้าร่วมงานทุกท่านกล่าวคำปฏิญาณ และร้องเพลงชาติ
15.00 เสวนาโดยคุณจุรี โอศิริ(ป้าจุ๊) ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ และอาจารย์วราพร สุรวดี ผู้ดำเนินรายการสลับการแสดง
18.00 ผู้ร่วมงานร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
ปิดงาน.....
คำปฏิญาณ : เราเป็นคนไทย เราจะทำแต่สิ่งดีๆให้แก่เพื่อนร่วมชาติ และกรุงเทพมหานครของเรา เราเกิดเป็นไทย เราพร้อมตอบแทนแผ่นดินไทยของเรา

//www.bangkoktourist.com/map_zone4.htm

ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก 273 ซ.เจริญกรุง 43 ถ.เจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

โทรศัพท์ : (662)233-7027 (พิพิธภัณฑ์)( คุณวราพร สุรวดี)
รถประจำทาง:1 35 36 75 93 รถปรับอากาศ:9 ปอ.พ.16
เวลาทำการ:ติดต่อ:จันทร์-ศุกร์ 9.00-17.00 น. พิพิธภัณฑ์:เสาร์ อาทิตย์10.00-17.00 น.

ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม:ไม่เสียค่าธรรมเนียม
ที่จอดรถ:บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์
สถานที่ใกล้เคียง:ไปรษณีย์กลาง,โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน,โรงแรมโอเรียลเต็ล,วัดมหาพฤฒาราม
ถ่ายรูปได้

เยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ได้ที่
//topicstock.pantip.com/camera/topicstock/2006/06/O4486039/O4486039.html
//www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=print&sid=809
//www.bangkoktourist.com/thai_places_bangkokfolk_museum.php
//www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=339
//www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=01-074
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jingjo&month=09-2006&date=14&group=5&gblog=4
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bookkii&month=27-01-2008&group=2&gblog=56
//pantip.com/cafe/gallery/topic/G2699132/G2699132.html
//203.172.204.162/intranet/1027_sac/database/museums/G-Museums/Bangkok/bangkokian/bangkokian.htm
//www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2949&view=next&sid=a2803c57868a237e562fb90fd2bbeb35


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.96 วันที่: 15 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:31:13 น.  

 
เนื่องด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงตระหนักชัดพระปรีชาสามารถด้านศิลปะในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ จึงทรงมีพระดำริโปรดให้พระนัดดา ทรงออกแบบภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหาร วัดหนองน้ำขุ่น อ.แกลง จ.ระยอง

โดยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงมีแนวพระดำริทรงเขียนภาพพุทธประวัติ ในรูปแบบของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ด้วยการผสมผสานระหว่างศิลปะ แบบประเพณีและการสร้างสรรค์ใหม่ จำลองแบบจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อให้มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะ และถวายพระราชกุศลแด่พระบุพการี

ในการนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงร่วมทำบุญถวายเงินประเดิมแก่โครงการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

สำหรับประชาชนทั่วไปประสงค์ร่วมสร้างกุศลทำบุญ สามารถถวายเงินได้ที่บัญชี โครงการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดหนองน้ำขุ่น ( เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ) ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชีออมทรัพย์ 067-2-11599-8 สาขาสวนจิตรลดา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงรับสั่งว่า รับวัดหนองน้ำขุ่นไว้ใน พระอุปถัมภ์ ตั้งแต่ปี 33 โดยดำเนินการสร้างพระวิหารวัดหนองน้ำขุ่น ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยจตุรมุข แบบรัตนโกสินทร์ จนแล้วเสร็จ แต่ภายในพระวิหารยังมิได้ดำเนินการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระองค์ทรงเล็งเห็นพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปะของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ จึงมีพระดำริให้เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง.

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงมีแนวคิดจะเขียนภาพพุทธประวัติในรูปแบบของจิตรกรรมไทยร่วมสมัยด้วยการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบประเพณีการสร้างสรรค์แบบใหม่ แสดงความรู้สึกราวกับจำลองจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

โดยจะมีการเขียนภาพพุทธประวัติ 6 เรื่องตามจำนวนผนัง คือ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในปางเปิดโลก พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพระพุทธมารดา พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ โปรดพระพุทธบิดา ส่วนเพดานเขียนภาพจักรราศีและดาวนพเคราะห์ ผนังย่อมุมทั้ง 4 ด้าน เป็นภาพท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 องค์ประจำทิศ ใช้เทคนิควาดภาพด้วยสี อะคริลิกผสมผสานทองคำเปลว โดยใช้ทีมศิลปินวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดธาราทิพย์ชัย ประดิษฐ์ จ.เชียงใหม่ และนักศึกษาจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร ประมาณ 20 คน ใช้เวลาการวาดประมาณ 18 เดือน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.96 วันที่: 15 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:35:11 น.  

 
//www.konkhon.net/

บริษัท ชัชพิมุข จำกัด
เชิญชมการแสดงละครนอกเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน พระไวยแตกทัพ
และโขนชุด รามสูรเมขลา
วันอาทิตย์ ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๑
ณ.หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ซื้อบัตรที่หน้างาน 200 300 500 บาท
นักเรียน นักศึกษาชมฟรี

ขอเชิญทุกท่านได้พบกับรายการ ฅน..โขน ซึ่งจะเริ่มทำการแพร่ภาพออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ เป็นประจำทุกวันอังคาร ในเวลา ๑๖:๐๐ - ๑๖:๓๐ น.

โดยจะเริ่มออกอากาศในตอนแรก ในวันอังคารที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑

ภายในรายการ ฅน..โขน จะพบกับการแสดงในเรื่อง รามเกียรติ์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่จุดกำเนิด ของเหล่าวงศ์วานว่านเครือ ของเหล่า ยักษ์ และฝูงวานร การร้อยรจนาเป็นเนื้อเรื่องอันละเมียดละไม


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.96 วันที่: 15 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:41:41 น.  

 
แปดทศวรรษ ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต”
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานเขตพระนคร สภาวัฒนธรรมเขตพระนคร และ ประชาคมบางลำพู
ขอเชิญร่วมงาน “แปดทศวรรษ ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖
ณ บริเวณสวนสันติชัยปราการ ป้อมพระสุเมรุ บางลำพู
วันเสาร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ตั้งแต่เวลา ๑๔.๓๐ น. เป็นต้นไป

๑๔.๓๐ น. โหมโรงโดย วงดุริยประณีต
๑๕.๐๐ น. หลวงพ่อพร ภิรมย์ ปาฐกถาธรรม
บุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ ร้องลิเกอวยพร
๑๖.๐๐ น. ล้อมวงเสวนา “ดนตรีไทย จากบ้านใหญ่ดุริยประณีต” โดย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พูนพิศ อมาตยกุล มูลนิธิราชสุดา
หม่อมหลวงจุลลา งอนรถ มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงค์ เขียนทองกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คมสันต์วรรณรัตน์ สุทนต์ ทรูเรดิโอ ดำเนินการเสวนา
๑๖.๓๐ น. สักวาบอกบทและออกตัว เรื่อง กากี ตอนถูกลอยแพ โดย ศิษย์ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต
บอกบท โดย ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ , หม่อมราชวงศ์ อรฉัตร ซองทอง
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรท์และศิลปินแห่งชาติ , อดุลย์ จันทรศักดิ์
ร้องรับสักวา โดย ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ , ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ , สุรางค์ ดุริยพันธุ์ , ดวงเนตร ดุริยพันธุ์ , นฤพนธ์ ดุริยพันธุ์ , กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ
ออกตัวแสดง โดย ศิลปินกรมศิลปากร ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , วันทนีย์ ม่วงบุญ ฯลฯ
๑๘.๓๐ น. ปี่พาทย์เสภาประชันวง โดย
- ศิษย์ดุริยประณีต ชัยยุทธ โตสง่า (ป๋อม)
- ศิษย์เรืองนนท์ บุญสร้าง เรืองนนท์ (ปู)
** อานันท์ นาคคง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พิธีกรตลอดรายการ **
ชมฟรี พร้อม แจกฟรี สูจิบัตร
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สังคีตศิลป์ ฝ่ายการประชาสัมพันธ์
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โทร. ๐ - ๒๒๑๕๖๕๓๕ - ๗


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.4 วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:11:47 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชมรายการศรีสุขนาฏกรรมปีที่ ๓๐ ครั้งที่ ๓
วันศุกร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น

รายการแสดง
๑รำเบิกโรงเทวสักการ
๒โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนข้ามสมุทร (บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ )
๓การแสดงประกอบการขับร้อง เพลงตับ “ วิวาห์พระสมุทร ”
๔ละครเสภา นิทานพื้นบ้านเรื่อง“ ช้างกตัญญู ”
๕ละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ตอน“ พราหมณ์เล็ก พราหมณ์โต ”
๖ละครพันทาง เรื่องราชาธิราชตอน“ สมิงพระรามหนี ” ( แนวตลก )
กำกับการแสดง และ นำแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ร่วมด้วย ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , สมเจตน์ ภู่นา , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , สุรเดช เผ่าช่างทอง , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , วนิตา ( นก ) กรินชัย , พรทิพย์ ทองคำ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
พิมรัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม และ ศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร อีกมากมาย

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.69 วันที่: 25 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:22:28 น.  

 

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการ ศิลปินศิลปากรปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒
วันเสาร์ที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น
การแสดงชุดที่ ๑โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามราชจักรี
การแสดงชุดที่ ๒ ละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน “ขึ้นบ้านพระพิจิตร”
ผู้แสดง - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์-พระไวย , วันทนีย์ ม่วงบุญ - ศรีมาลา,
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง - ขุนแผน , ถนอม นวลอนันต์ -พระพิจิตร, ธานิต ศาลากิจ-คุณหญิง
กำกับการแสดงโดย ถนอม นวลอนันต์
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.151 วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:43:01 น.  

 
การบรรเลงวงมหาดุริยางค์ไทยและการแสดงนาฏศิลป์ 29-30 สิงหาคม 2551
ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
วงดนตรี “วงมหาดุริยางค์ไทย” เป็นการปฏิรูปดนตรีไทยใน รอบ 225 ปีของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะประเพณีของไทยที่ืสืบเนื่องกันมาแต่โบราณนั้น ดนตรีไทยเป็นเพียง “องค์ประกอบของ พิธีกรรม” เป็นส่วนใหญ่ แต่บัดนี้เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งว่า “วงมหาดุริยางค์ไทย” ได้ปฏิรูป (Reform) การดนตรี จากดนตรีที่เป็นส่วนประกอบพิธีกรรมมาเป็นวงมหาดุริยางค์ไทยและสามารถ ลบ-ล้าง คำว่าดนตรีเป็นส่วนประกอบให้หมดไปโดยสิ้นเชิง วงมหาดุริยางค์ไทยเป็นการแสดงศิลปะ (Performing Art) ให้ประจักษ์ในคุณค่าของดนตรีอย่างแท้จริง (Absolute Music) ให้ มนุษย์ได้รับคุณค่าสุนทรียรส (Aesthetic Value) ของศิลปะการดนตรีอย่างซาบซึ้งประทับใจ
“วงมหาดุริยางค์ไทย” เป็นดนตรีบริสุทธิ์เป็นตัวของตัวเอง สามารถตรึงผู้ชม ผู้ฟัง นั่งติดกับที่นั่ง โดยมีสมาธิฟังเพลงได้รับ “สุนทรียรส” จากเพลงไทย เช่นเดียวกับเพลงประกอบซิมโฟนี่ หรือเพลงคอนแชร์โต้ของยุโรป
ผู้ให้กำเนิดมหาดุริยางค์ไทย คือ อาจารย์ประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ ต่อมาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านศิลป วัฒนธรรม ได้นำวงมหาดุริยางค์ไทยมาแสดงต่อหน้าประชาชนคนไทยอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 29-30 สิงหาคม 2551 โดยได้นำเพลงที่ไพเราะน่าฟัง มาบรรเลงให้คนไทยได้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้จะมี “เพลงตับนางลอย” ซึ่งเป็นเพลงที่มีทางเปลี่ยนแบบโบราณ หาฟังได้ยากมาบรรเลง ขณะเดียวกันก็ได้นำการแสดงโขนมาเป็นส่วนประกอบการบรรเลงในครั้งนี้ด้วย
• รายการบรรเลงวงมหาดุริยางค์ไทยประกอบชุดการแสดง
1. รำถวายพระพร ชุดบัณฑิตพัฒนสินธราศิรวาท
2. เพลงโหมโรงเทิด สธ
3. เพลงสำราญดนตรีกลอง
4. เพลงลาวคำหอม บรรเลงจะเข้หมู่ประกอบการแสดง
5. เพลงตับนางลอย มีการแสดงออกตัวโขน
รวมเวลาการบรรเลงและการแสดงประมาณ 90 นาที
สถานที่แสดง หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

วันและเวลาแสดง

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2551 เวลา 19.00 น.
วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2551 เวลา 14.00 น.

บัตรราคา 500 บาท , 300 บาท
พิเศษ! สำหรับ นักเรียน นักศึกษา สามารถใช้สิทธิ์ซื้อบัตร ราคา 300 บาท ได้ในราคา 100 บาท ไม่จำกัดจำนวน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.194 วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:7:37:58 น.  

 
แวะมาส่งยิ้มให้พี่อัญชลีค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:19:52:01 น.  

 
หัวข้อโขน ของ หญ้หนวดแมว ไม่ได่เป็นโขนแล้ว
พี่ใส่รายการอะไรต่ออะไรไปเต็มเลย
ทำให้ชื่อหัวข้อเพี้ยนไปเลยหรือเปล่า


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:6:47:26 น.  

 
ไหว้พระ-ชมวัด-เที่ยวตลาด : สุพรรณบุรี

นำชมโดยอ. อภิวัฒน์ โควินทรานนท์

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2551

07.45 น. อรุณสวัสดิ์ยามเช้า พบกัน เพื่อเตรียมตัวเที่ยว และ นับจำนวนสมาชิกผู้เดินทาง

08.00 น. ออกเดินทางไปสุพรรณบุรี

09.15 น. วัดพระรูป : ชมพระพุทธบาทสลักไม้ หนึ่งเดียวในประเทศ เป็นศิลปโบราณ
วัตถุล้ำค่า และไหว้พระนอนสมัยอู่ทองที่เก่าแก่และงดงามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย

10.00 น. วัดป่าเลไลยก์ : ไหว้พระป่าเลไลยก์ พระคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่
ที่สุด เก่าแก่ที่สุด และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของสุพรรณบุรี

10.45 น. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ : วัดมหาธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี ชมพระปรางค์ที่
สร้างก่อนกรุงศรีอยุธยา เป็นกรุพระผงสุพรรณ พระเครื่องหนึ่งในเบญจภาคี

12.00 น. ตลาดสามชุก : ชมบรรยากาศตลาดโบราณอายุกว่า 100 ปี และรับประทานอาหารกลางวัน
ตามอัธยาศัย

13.30 น. ตลาดศรีประจันต์ : ตลาด 100 ปีในบรรยากาศดั่งเดิม เ และเยี่ยมชมบ้านเกิดของ
พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตโต

14.45 น. พิพิธภัณฑ์สุพรรณบุรี : ชมพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ของกรมศิลปากร

16.00 น. เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

สำหรับสมาชิกที่สนใจร่วมเดินทางไปสุพรรณบุรีในวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2551 ทุกท่าน
รับเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมเที่ยวครั้งนี้ 42 ท่านเท่านั้นนะคะ

กรุณาสำรองที่นั่ง โดยด่วน ที่ วิจิตรา – ไก่ (คนหน้าเดิม) มือถือ: 081 836 9750
หรือทางอีเมลล์ : wichitra.kai@gmail.com

ค่าใช้จ่ายท่านละ 850 บาทค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:6:48:49 น.  

 
รายการศรีสุขนาฏกรรม วันศุกร์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๑

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ

รายนามนาฏศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้แสดง
Actor ; Office of the Music And Drama , The Fine Arts Department ,Ministry Of Culture , Royal thai Government

รำถวายพระพรสมเด็จพระมิ่งแม่

วนิตา ( นก ) กรินชัย , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา , พรทิพย์ ทองคำ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา

การแสดงโขนชุดพระอุมาประทานพร

พระอิศวร สมเจตน์ ภู่นา
พระอุมา วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
พระนารายณ์ ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
พระคเณศ ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
นารายณ์แปลง น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
พราหมณ์ปรศุ กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
ผู้พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน

การแสดงตำนานฟ้อนรำ เรื่องนาฏราช ตอนความปรารถนาของพระยาอนันตนาคราช

พระอิศวร - สมเจตน์ ภู่นา
พระอุมา - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
พระนารายณ์ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
พระลักษมี - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
พระพรหม - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
พระสรัสวดี - ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
พระนารทมุนี - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
พระยาอนันตนาคราช - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
นักสิทธิ์ - วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชัยทัศ
นาค - ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
ครุฑ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
คนธรรพ์ - ชัยยุทธ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก
กินนร - เสกสม( ตั้น ) พานทอง
เทวดา - วนิตา ( นก ) กรินชัย
นางฟ้า - อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
ผู้พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

การแสดงละครเสภาเรื่องกากี ตอนพญาครุฑลักกากี

ท้าวพรหมทัต - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
นางกากี - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
มาณพ - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
ครุฑ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
ทหาร - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดลละคร

ระบำพม่า-มอญ

สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา
พิมรัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์
รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

ละครพันทางเรื่องราชาธิราช ตอนพระยาน้อยชมตลาด-เม้ยมะนิกเริงรัก

พระยาน้อย - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
มังกันจี - ถนอม นวลอนันต์
มะนัน - ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม
พี่เลี้ยง - จรัญ พูลลาภ
มะจัด - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
เม้ยมะนิก - วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
ทหารมอญ - พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
พ่อค้า แม่ค้า – ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , พรทิพย์ ทองคำ , เกริกชัย ( ชาย )ใหญ่ยิ่ง , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:6:50:03 น.  

 
รายการศิลปิน ศิลปากร อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์
วันเสาร์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๑ Saturday 30th August 2008

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ King Vajiravudh Memorial Hall ,The National Library of Thailand Samsen Dusit Bangkok 10300

รายการที่ ๑ ฉุยฉายนพคุณการุณครู ( นาฏศิลปินหญิง ๙ คน แต่งเป็นนางสีดาในชุดพราหมณี )

รายการที่ ๒ พระลอตามไก่

รายการที่ ๓ ย้าหรันตามนกยูง

รายการที่ ๔ ละครเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนละเลงขนมเบื้อง จนถึงมนต์เลห์เสน่ห์สร้อยฟ้า

รายการที่ ๕ หรรษาสุนทรี ๔ ภาค ( การแสดง ๔ ภาคประกอบดนตรีสากล )

บทร้องการแสดงฉุยฉายนบพระคุณการุณครู

( ร้องฉุยฉาย )
ฉุยฉายเอย น้อมนบพระคุณครูผู้ประสิทธิ์วิทยา
ทั้งครูมนุษย์ให้สุดยอดวิชา อีกครูเทพเทวาให้ปัญญาเลิศล้น
พร้อมครูพักลักจำ ช่วยโน้มนำทำแยบยล
นาฏกรเอย งามฟ้อนละครรำ ตามแบบโบราณทำ นาฏกกรรมล้ำโสภา
แม้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปรไป ขอครูไซร้ได้เมตตา

( ร้องแม่ศรี )
นบวันทาเอย น้อมขมาครูอาจารย์ ใช่ผองลูกก้าวร้าวราน หมายสรรค์งานให้สุนทรีย์
ด้วยกายใจวจีกรรม นบน้อมนำสดุดีเทิดพระคุณบุญบารมี ที่สร้างชีวี ศิลปินเอย
คารวะเอย คารวะในพระคุณ ทุกทุกท่านที่การุณ สนับสนุนศิลปะไทย
นาฏกรรมดำรงสถิต เนาวนิจนิรันดร์ไป
ท่านและเราต่างร่วมใจ สืบศิลป์ไว้ให้เพริศเอย

สมรัตน์ (เล็ก ) ทองแท้ ผู้ประพันธ์บท


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:6:51:44 น.  

 
การแสดงแสง เสียง เคลื่อนที่ กรุงศรีอยุธยา Mini Light and Sound

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท. ) กำหนดจัดการแสดง แสง เสียงเคลื่อนที่ขนาดเล็ก Mini Light and Sound ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2551 ทุกวันเสาร์ จำนวน 7 รอบ ๆ ละ 100 คน เข้าร่วมโครงการฯ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รอบแรกจะจัดในวันที่ 16 สิงหาคม 2551 เป็นรอบปฐมฤกษ์

การชมการแสดงแสง เสียง ครั้งนี้ ใช้รถรางเป็นพาหนะในการเดินทางจะเริ่มตั้งแต่เวลา 18.30 น. ที่ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา (ศาลากลางหลังเก่า) โดยรถรางจะแล่นออกจากศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา เลี้ยวซ้ายผ่านเรือนทรงไทย ททท. สำนักงานพระนครศรีอยุธยา สถานีตำรวจท่องเที่ยว หน้าศาลหลักเมือง วัดเกษ วิหารพระมงคลบพิตร เลี้ยวขวาผ่านหน้าอนุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทองตรงไปเลี้ยวซ้ายเข้าบึงพระราม ผ่านวัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และสิ้นสุดที่คุ้มขุนแผน


ผู้สนใจสามารถติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ ททท. พระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 035-246076-7 หรือศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา โทรศัพท์ 035-322-730-1

รอบที่ 1 วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม 2551
รอบที่ 2 วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2551
รอบที่ 3 วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2551
รอบที่ 4 วันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2551
รอบที่ 5 วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2551
รอบที่ 6 วันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551
รอบที่ 7 วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2551


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:6:53:44 น.  

 
การแสดงที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี The Western National Theatre of Suphan Buri MueangSuphanburi, Suphanburi

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี ๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖

วันเสาร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๑ Saturday 6th September 2008


1. รำเบิกโรง ตรีมูรติ
พระพรหม - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
พระอิศวร - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระนารายณ์ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ

2. ละคร ตำนานฟ้อนรำ เรื่องนาฏราช ตอนป่าตารกะ
พระอิศวร - ฉันทวัฒน์ ชุแหวน
พระนารายณ์ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
พระอิศวรแปลง ( แต่งพราหมณ์ ) สมเจตน์ ภู่นา
พระนารายณ์แปลง ( แต่งพราหมณ์ ) เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
อสูรมูลคะนี ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
เสือ จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
นาค พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
ดาบส -ประวิทย์ เรืองมาก , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , ไกรเศรษฐ์ สังขเกตุ , สุรินทร์ เขียวอ่อน , วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชัยทัศ
ดาบสินี - กิ่งแก้ว หิรัณธนยรัศมี , แพรวดาว ( อ้อย ) สรรพศรี , อุษา แดงวิจิตร , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , พุทธิยา พลับกระสงค์ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
ผู้พากษ์ – เจรจา - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

3. การแสดงละครนอก เรื่องไชยเชษฐ์ ตอน นางสุวิญชาจำปาทอง
พระฤาษีโคดม - ประสิทธิ์ คมภักดี
พระอภัยนุราช - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
นางจำปาทอง - นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา
นางวิฬาร์ ( นางแมว ) รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
ท้าวสิงหล ( ยักษ์เปิดหน้า ) ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
นนทยักษ์ ( ยักษ์เปิดหน้า ) ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
ลิงดำ เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
กางกลด ( ยักษ์ ) ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
อำมาตย์พระอภัยนุราช- เลียว คงกำเหนิด , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
เสนาไทย –นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์
เสนายักษ์ – เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ราชสีห์ ๒ ตัว – นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์

4. การแสดงละครพันทางเรื่อง นางพญาผานอง ตอน พระวรุณอุทกราชประทานฝน
พระวรุณ – ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
นางพญาคำปิน – มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
คำยวง – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ระบำชาวนา
พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , พิมรัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ
จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์
ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม
ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ภวินี (จักจั่น ) เดชสุภา
วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดลละคร – จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:6:55:13 น.  

 
การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดศึกอินทรชิตของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

วันอาทิตย์ที่ ๗ กันยายน และ วันอาทิตย์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์
ด้านข้างหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์: ๐๒-๒๘๑๗๕๔๐ โทรสาร: ๐๒-๒๘๒๓๒๖๔
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ , ๖๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗


วันเสาร์ที่ ๑๓ และ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
นาย เจริญ เรืองวิชญกุล หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)


วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๑
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม.) โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:7:11:18 น.  

 
ผลการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ (30/7/2008)

รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 3/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 3/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ภายหลังการประชุม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงว่า วันนี้ได้ไปตรวจเยี่ยมการก่อสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ การบูรณปฏิสังขรณ์ ราชรถ และพระยานมาศ ปรากฏมีความก้าวหน้าไปมาก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ และจะได้ไปตรวจเยี่ยมอีกเป็นระยะ ๆ ต่อไป

สำหรับการประชุมวันนี้มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ ที่ประชุมรับทราบการฝึกซ้อมริ้วขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ฯ โดยกองทัพซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัด ได้กำหนดการฝึกซ้อมริ้วขบวน จำนวน 5 ครั้ง เป็นการฝึกซ้อมย่อย จำนวน 4 ครั้ง และฝึกซ้อมใหญ่ 1 ครั้ง ดังนี้ ซ้อมย่อยครั้งที่ 1 กำหนดในวันพุทธที่ 1 ตุลาคม 2551 เป็นการฝึกของกองบังคับการกองผสม ขบวนทหารนำและทหารตาม สถานที่ฝึกซ้อมกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน ซ้อมย่อยครั้งที่ 2 กำหนดในวันพุธที่ 8 ตุลาคม 2551 เป็นการฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 1 , 2 และ 3 สถานที่ฝึกซ้อมที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน ซ้อมย่อยครั้งที่ 3 กำหนดในวันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม 2551 เป็นการฝึกซ้อมริ้วขบวนที่ 1 สถานที่ฝึกซ้อมในพื้นที่จริง ตั้งแต่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซ้อมย่อยครั้งที่ 4 กำหนดในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551 เป็นการฝึกซ้อมทุกริ้วขบวน สถานที่ฝึกซ้อมในพื้นที่จริง ตั้งแต่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวง ซ้อมใหญ่ กำหนดในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เป็นการฝึกซ้อมทุกริ้วขบวนในพื้นที่จริง แต่งกายเหมือนวันจริงทุกประการ ทั้งนี้การฝึกซ้อม ริ้วขบวนดังกล่าว รองนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปตรวจเยี่ยม เพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน และเป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้วย

นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบ กำหนดให้มีการยกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุ ภายหลังเสร็จสิ้นการก่อสร้างพระเมรุ โดยจะได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในการเสด็จพระราชดำเนิน ส่วนจะเป็นวันและเวลาใด สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และกำหนดให้มีการเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ในวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. ซึ่งคาดว่าจะเรียนเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ ได้ประมาณ 3,000 คน

โดยในส่วนของภาคประชาชนนั้น สามารถไปร่วมถวายดอกไม้จันทน์ได้ตามซุ้มรับดอกไม้จันทน์ซึ่งจัดตั้งไว้รวม 8 ซุ้ม ได้แก่ บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ บริเวณหน้าศาลหลักเมือง บริเวณฝั่งตรงข้ามพระแม่ธรณีบีบมวยผม และบริเวณถนนราชดำเนิน โดยบริเวณใกล้เคียงท้องสนามหลวงจะจัดตั้งหน่วยบริการประชาชนเพื่อให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่มตลอดเวลาของการจัด พระราชพิธีฯ รวมทั้งได้ติดตั้งโทรทัศน์จอ LED ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีฯ พร้อมกันนี้ได้มีการจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานเขตเป็นผู้พิจารณาจัดหาวัดที่เหมาะสม และในส่วนภูมิภาคได้มีการจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ของทุกจังหวัดและทุกอำเภอไว้ด้วย สำหรับดอกไม้จันทน์ที่จะถวายนั้น รัฐบาลได้เตรียมไว้ให้ส่วนหนึ่ง และขอเรียนเชิญผู้มีจิตกุศลได้ร่วมบริจาคดอกไม้จันทน์อีกส่วนหนึ่งด้วย

พร้อมเห็นชอบการจัดนักเรียนเตรียมทหารยืนตามรายทางในขบวนพระอิสริยยศในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ตามที่ฝ่ายเลขานุการได้รับการประสานงานจากผู้แทนกองงานในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แจ้งว่า ผู้ที่ยืนตามรายทางให้เป็นนักเรียนเตรียมทหาร โดยกองงานในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะจัดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ยืนตามรายทางด้วย ทั้งนี้ เพื่อความสวยงาม ส่วนด้านการรักษาความปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามปกติ ดังนั้น จึงเห็นสมควรมอบให้กองทัพไทยจัดนักเรียนเตรียมทหาร เพื่อยืนตามรายทาง ในระหว่างที่มีริ้วขบวนพระอิสริยยศ โดยให้ประสานการปฏิบัติกับกองงานใน พระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยตรงต่อไป

อีกทั้งที่ประชุมเห็นชอบการจัดแสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุ ตามโบราณราชประเพณี ถือว่า เมื่อออกพระเมรุแล้ว จะต้องมีการจัดแสดงมหรสพสมโภช สำหรับการจัดงาน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งนี้ กรมศิลปากรได้จัดแสดงมหรสพสมโภชไว้รวม 3 เวที ที่บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ โดยมีการแสดงต่าง ๆ ดังนี้ เวทีกลาง เป็นการแสดงหนังใหญ่และโขนเรื่องรามเกียรติ์ เวทีด้านขวา ฝั่งตรงข้ามศาลฎีกา เป็นการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณี หุ่นละครเล็กเรื่องกำเนิดพระคเณศร์ของคณะโจหลุยส์ และละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์เสี่ยงว่าว – กุมภณฑ์ถวายม้า เวทีด้านซ้าย ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการแสดงวงดุริยางค์เยาวชน T.Y.O. (THAILAND YOUTH SYMPHONY ORCHESTRA) การแสดงวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแสดงวงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร NSO (NATIONAL SYMPHONY ORCHESTRA) และการแสดงวงดุริยางค์ผสมพลเรือน ตำรวจ และทหาร

ทั้งนี้การจัดแสดงมหรสพสมโภชจะเริ่มการแสดงตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 15พฤศจิกายน 2551 และเมื่อถึงเวลา 21.30 น. โดยประมาณ จะพักการแสดงเพื่อเข้าสู่ พระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพฯ (จริง) ต่อจากนั้นเวลา 23.00 น. โดยประมาณ จะเริ่มการแสดงมหรสพสมโภชต่อถึงวันรุ่งขึ้นของวันที่ 16 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งจะเสร็จสิ้นการแสดงเวลา 03.00 น. โดยประมาณ


--------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

วิไลวรรณ/รายงาน จินตนา/ตรวจ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:7:48:43 น.  

 
ผลการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุและบูรณปฏิสังขรณ์ ราชรถและพระยานมาศ (18/8/2008)

รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุและบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ครั้งที่ 3/2551 ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง


วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุและบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ครั้งที่ 3/2551 ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ที่ประชุมรับทราบพิธีบวงสรวงการอัญเชิญ ราชรถ ราชยาน เพื่อออกประกอบพระราชพิธี ตามที่กรมศิลปากรได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์พระราชครูวามเทพมุนี กำหนดฤกษ์พิธีบวงสรวงฯ เพื่อเป็นสิริมงคลในการดำเนินงาน ซึ่งพระราชครูวามเทพมุนีได้กำหนดให้วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 13.29 นาที เป็นวันประกอบพิธี และรับทราบร่างหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2551 ดังนี้ วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา 17.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา 07.00 น. เชิญพระโกศออกพระเมรุ (จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวง) เวลา 16 .30 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ และเวลา 22.00 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ (จริง) วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.00 น. เก็บพระอัฐิ (เชิญพระโกศพระอัฐิไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปยังพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.30 น. เลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระโกศพระอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. บรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทั้งนี้ สำนักพระราชวังอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดประกอบร่างหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ เพื่อนำกราบบังคมทูลเกล้าพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป

พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังรับทราบการจัดขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ 6 ริ้วขบวน รวม 4 วัน ดังนี้ 1) วันพระราชทานเพลิงพระศพฯ (วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551) จัด 3 ริ้วขบวน ประกอบด้วย ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ถนนมหาราช ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศ โดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุ เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินในเข้าถนนกลางท้องสนามหลวง และริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุ โดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุ 2) วันเก็บพระอัฐิและอัญเชิญกลับพระบรมมหาราชวัง (วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551) ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และเชิญพระสรีรางคาร โดยพระวอสีวิกากาญจน์ เส้นทางจากถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวัง 3) วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน (วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2551) ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน เส้นทางจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ4) วันบรรจุพระสรีรางคาร (วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551) ริ้วขบวนที่ 6 เชิญ พระสรีรางคาร จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งไปบรรจุ ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เส้นทางออกจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกประตูวิเศษไชยศรี ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนอัษฎางค์ และถนนราชบพิธ

นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบการดำเนินการเกี่ยวกับพระเมรุ และสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุภายหลัง พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเห็นสมควรให้มีการรื้อย้ายพระเมรุ และสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ เพื่อให้บริเวณสนามหลวงอยู่ในสภาพเดิม โดยมอบให้กรมศิลปากรประสานในรายละเอียดเกี่ยวกับการรื้อย้ายกับสำนักพระราชวังต่อไป


----------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

วิไลวรรณ/รายงาน วิมลมาส/ตรวจ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:7:50:26 น.  

 
ผลการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุและบูรณปฏิสังขรณ์ ราชรถและพระยานมาศ (18/8/2008)
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุและบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ครั้งที่ 3/2551 ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง


วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุและบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ครั้งที่ 3/2551 ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ที่ประชุมรับทราบพิธีบวงสรวงการอัญเชิญ ราชรถ ราชยาน เพื่อออกประกอบพระราชพิธี ตามที่กรมศิลปากรได้ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์พระราชครูวามเทพมุนี กำหนดฤกษ์พิธีบวงสรวงฯ เพื่อเป็นสิริมงคลในการดำเนินงาน ซึ่งพระราชครูวามเทพมุนีได้กำหนดให้วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2551 เวลา 13.29 นาที เป็นวันประกอบพิธี และรับทราบร่างหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน 2551 ดังนี้ วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา 17.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา 07.00 น. เชิญพระโกศออกพระเมรุ (จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวง) เวลา 16 .30 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ และเวลา 22.00 น. พระราชทานเพลิงพระศพฯ (จริง) วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา 08.00 น. เก็บพระอัฐิ (เชิญพระโกศพระอัฐิไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปยังพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. บำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.30 น. เลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระโกศพระอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา 16.30 น. บรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทั้งนี้ สำนักพระราชวังอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดประกอบร่างหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ เพื่อนำกราบบังคมทูลเกล้าพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป

พร้อมกันนี้ที่ประชุมยังรับทราบการจัดขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ 6 ริ้วขบวน รวม 4 วัน ดังนี้ 1) วันพระราชทานเพลิงพระศพฯ (วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551) จัด 3 ริ้วขบวน ประกอบด้วย ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ถนนมหาราช ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศ โดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุ เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินในเข้าถนนกลางท้องสนามหลวง และริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุ โดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุ 2) วันเก็บพระอัฐิและอัญเชิญกลับพระบรมมหาราชวัง (วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2551) ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และเชิญพระสรีรางคาร โดยพระวอสีวิกากาญจน์ เส้นทางจากถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวัง 3) วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน (วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2551) ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน เส้นทางจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ4) วันบรรจุพระสรีรางคาร (วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน 2551) ริ้วขบวนที่ 6 เชิญ พระสรีรางคาร จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งไปบรรจุ ณ อนุสรณ์สถานรังษีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เส้นทางออกจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกประตูวิเศษไชยศรี ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนอัษฎางค์ และถนนราชบพิธ

นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบการดำเนินการเกี่ยวกับพระเมรุ และสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุภายหลัง พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเห็นสมควรให้มีการรื้อย้ายพระเมรุ และสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ เพื่อให้บริเวณสนามหลวงอยู่ในสภาพเดิม โดยมอบให้กรมศิลปากรประสานในรายละเอียดเกี่ยวกับการรื้อย้ายกับสำนักพระราชวังต่อไป


----------------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

วิไลวรรณ/รายงาน วิมลมาส/ตรวจ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.65 วันที่: 22 สิงหาคม 2551 เวลา:7:57:20 น.  

 
"หัวข้อโขน ของ หญ้หนวดแมว ไม่ได่เป็นโขนแล้ว
พี่ใส่รายการอะไรต่ออะไรไปเต็มเลย
ทำให้ชื่อหัวข้อเพี้ยนไปเลยหรือเปล่า"

ถึงไม่ได้เป็นโขนก็เป็นรายการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม และการแสดงของไทยค่ะ เป็นข้อมูลที่น่าสนใจค่ะ

หลายรายการอยากไปดูแต่ก็ไม่มีเวลาค่ะ

เห็นพี่หายไปหลายวัน นึกว่าจะทิ้งกันไปซะแล้ว


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 26 สิงหาคม 2551 เวลา:4:18:24 น.  

 
................เห็นพี่หายไปหลายวัน นึกว่าจะทิ้งกันไปซะแล้ว..........
ยังไม่ทิ้งกันไปหรอกค่ะ พอดีได้รูปอะไรต่ออะไรมามากมาย พยายามจะหาที่ขึ้นรูปของตัวเองอยู่ เผื่อจะมีผู้สนใจอยากได้รูปที่เกี่ยวกับศิลปการแสดงหรือวัฒนธรรมของไทย แต่ก็ไม่มีเวลาทำให้ดีเป็นเรื่องเป็นราวอย่างที่ควรจะเป็น
รูปที่ไปขึ้นไว้ที่เวบบอร์ดของกรมศิลปากร//www.finearts.go.th/th/board/index.php
ช่วงนี้ก็มีรูปค้างอยู่อีกมากมาย ยังไม่ได้ขึ้นรูปใหม่ๆเลย และไม่รู้ว่าเขาจะยังใจดีให้พวกพี่โพสท์รูปเป็นบ้าเป็นหลังไปได้นานอีกเท่าไร

อยากจะฝากบอกสำหรับคนที่สนใจเกี่ยวกับราชยานและพระเมรุมาศ มีเวบ
//thaihandiwork.com/thailand_ry.php

เขาลงรายละเอียดจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกในงานงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เรื่องเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ
ซึ่งดีมากเลย เพราะเขาเอาลงไว้ทั้งเล่ม ทำให้คนที่ไม่มีโอกาสได้เป้นเจ้าของหนังสือในสมัยนั้น ได้มีโอกาสเก็บไว้เป็นข้อมูลดิจิตอลได้ พยายามเอาลงในบล็อกของตัวเองเหมือนกัน เพราะคิดว่าเป็นเอกสารที่ทรงคุณค่า แต่ก็ไม่มีปัญญาทำให้เสร็จเรียบร้อย ทำไว้ครึ่งๆกลางๆอีกตามเคย

เวบนี้เขามีบทความอื่นอีก แต่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าขี้เกียจอ่านภาษาต่างประเทศ รูปประกอบของเขาดีทีเดียว พี่เคยมีรูปเหล่านี้ที่ Copy มาจากตามเวบ หรือ Scan มาจากหนังสืออื่นๆ ส่วนใหญ่รูปจะเล็กและไม่ชัด แต่รูปของที่นี่ บอกได้เลยว่าเป็น รูป original ทำให้รูปที่เคยสะสมไว้ ด้อยคุณค่าลงไปทันตาเห็นเลย

ถ้าใครสนใจเกี่ยวกับดนตรีไทย เวบบอร์ดของไทยคิดส์
//x.thaikids.com/phpBB2/index.php
เขาดีมากทีเดียว พี่ยังชอบเปิดดูอยู่บ่อยๆ และไปร่วมโพสท์เวบกับเขาด้วยทั้งๆที่ไม่เป็นดนตรีไทยสักอย่าง เพียงแต่อาศัยดูว่ามีรายการอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเราสามารถไปร่วมด้วยได้ ตามประสาคนสนใจทางวัฒนธรรม
................ยังนึกถึงก้อยอยู่เสมอ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.120 วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:20:23:48 น.  

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญฟังบรรยายพิเศษ

โครงการเผยแหร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๑

เรื่อง “การทำความเข้าในแนวคิดและฝีมือช่างโบราณไทย”

โดย ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม

ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

วันอาทิตย์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ

สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ
โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓

*ไม่เสียค่าใช้จ่าย*


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.120 วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:20:35:26 น.  

 
ชมรมดนตรีไทยบ้านครูองุ่น บัวเอี่ยม

เปิดสอนดนตรีไทยวันเสาร์-อาทิตย์ คิดค่าสอน 50 บาท/ครั้ง
เปิดสอนขิม ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ซออู้ ซอด้วง ซอสามสาย ขลุ่ย จะเข้ โดยอาจารย์จากม.เกษตรศาสตร์ และคณะ ควบคุมการสอนโดยครูองุ่น บัวเอี่ยม ศิลปินพระสิทธิธาดาทองคำปี 2549

สนใจติดต่อ 081-7015400

ปัจจุบันมีนักเรียนมาก ปรับเวลาเรียนใหม่เป็นรอบ รอบละประมาณ 75 นาที ตั้งแต่ 9.00-15.30น.

สนใจติดต่อ บ้านครูองุ่น บัวเอี่ยม
85/1 ซอยติวานนท์ 2 (ซอยมิ่งขวัญ 5) ถนนติวานนท์
ซอยตรงข้ามบิ๊กซีติวานนท์ ทางด้านถนนติวานนท์
//buaiem.multiply.com/


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.120 วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:20:43:35 น.  

 
ขอเชิญฟังเทศน์มหาชาติ ๔ ภาษา/ไทย ลาว เขมร และมอญ

พร้อมแสดงการเทศน์มหาชาติหลายสำเนียง หลากทำนอง

การบรรเลงเพลงประจำกัณฑ์ โดยชมรมดนตรีไทย สโมสรนักศึกษา ม.ศิลปากร

วันอาทิตย์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๘๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.

ณ หอประชุม ม.ศิลปากร วังท่าพระ *ไม่เสียค่าใช้จ่าย*


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.120 วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:20:47:30 น.  

 
อาศรมสยาม – จีนวิทยา

จัดบรรยาย *งิ้วแต้จิ๋วประชันงิ้วปักกิ่ง* โดย ผศ.ถาวร สิกขโกศล

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2551 เวลา 14.30 - 16.30 น.

ณ ห้อง 1111A ชั้น 11 อาคารซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม

*ไม่เสียค่าใช้จ่าย*


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.120 วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:21:10:49 น.  

 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องการภาพถ่ายจำนวนมากเพื่อจัดพิมพ์สมุดภาพธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดพิมพ์สมุดภาพธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินการจัดพิมพ์สมุดภาพให้แล้วเสร็จในโอกาส ครบรอบ 75 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย ในปี 2552 ซึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยต้องการภาพถ่ายจำนวนมากตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน ได้แก่ ภาพเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เหตุการณ์ที่ไม่เคยเผยแพร่ในสื่อใด บุคคล สถานที่ สิ่งของ และกิจกรรมสำคัญต่างๆ เพื่อบันทึกเรื่องราวของธรรมศาสตร์ผ่านภาพถ่าย และรวบรวมเล่มเป็นที่ระลึกในโอกาสต่างๆ อีกทั้งส่วนหนึ่งจัดจำหน่ายในราคาพิเศษ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขอเชิญชวนศิษย์เก่า คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ส่งภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย พร้อมคำบรรยายด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์ มาที่ งานประชาสัมพันธ์ ตึกอเนกประสงค์ 1 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ 10200 หรือส่งภาพในรูปแบบไฟล์ภาพพร้อมคำบรรยาย
มาที่ E-mail : pr.tu@hotmail.com
หรือ sponggy_blue@hotmail.com
ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2551
ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 0-2613-3030-3 และ 0-2222-8873
ภาพของคุณ คือส่วนหนึ่งในการบันทึกประวัติศาสตร์ และความประทับใจ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.120 วันที่: 27 สิงหาคม 2551 เวลา:21:26:10 น.  

 
ขอบคุณค่ะที่เอามาให้ชมค่ะ
ภาพสวยมากค่ะ


โดย: อ้อม IP: 117.47.136.42 วันที่: 30 สิงหาคม 2551 เวลา:18:51:06 น.  

 

--------------------------------------------------------------------------------
"รับอาสาตรวจทานพยัญชนะพระไตรปิฏก"

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสืบทอดคำสอนของพระพุทธศาสนา
2.เพื่อจัดทำเป็นต้นฉบับในการเผยแพร่และจัดสร้างเป็นเสียงอ่านพระไตรปิฎก(mp3) เผยแพร่เป็นธรรมทานแก่พุทธศาสนิกชนทั่วโลก
"การทำงานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เป็นงานง่าย ๆ แต่ต้องใช้ความเพียร งานนี้มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ ยังไงก็อย่าได้พลาดบุญนี้นะคะ หากงานชิ้นนี้สำเร็จแล้ว ก็ไม่มีให้ทำแบบนี้ได้อีกต่อไปแล้ว"
**นอกจากจะได้บุญแล้วเพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจอาสาสมัครทุกท่านอาสาสมัครยังจะได้รับดีวีดีเสียงอ่านพระไตรปิฏกและดีวีดีพระไตรปิฏกฉบับ 91เล่มเมื่อโครงการสำเร็จแล้วจะได้จัดส่งไปให้ท่านทางไปรษณีย์จนถึงบ้านท่านต่อไป
((ผู้สนใจสมัครและลงทะเบียนได้ที่ คุณสมศักดิ์Kasinaram@hotmail.com))
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ ด้านล่างนี้
//www.volunteerspirit.org/?q=node/408

หากท่านไม่สามารถช่วยอาสาครั้งนี้ได้ก็ขอรบกวนช่วยส่งต่อเมลล์ฉบับนี้ต่อๆ ไปเพื่อร่วมสร้างมหากุศล
ด้วยค่ะเพื่อบอกบุญต่อเผื่อผู้อื่นที่อาจพอมีเวลา และจะได้หาคนมาช่วยเยอะๆค่ะแค่ช่วยประชาสัมพันธ์
ข่าวบุญนี้ต่อๆไปก็สำเร็จเป็นบุญแล้ว!!
**ขอแจ้งเล่มที่ยังไม่มีอาสาสมัครทำ(ซึ่งขณะนี้ยังต้องการอาสาสมัครอีกเป็นจำนวนมาก)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 / 12 /15 16 /20 21 /25 / 27 28 /30 31 32 33 34 3536 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 5 8 59 60
61 62 63 / 65 66 67 68 69

**กำหนดเวลาในการส่งไฟล์กลับคืนนั้น ไม่ได้กำหนดเวลาไว้ว่า กี่เดือน แต่ก็ขอให้ทำให้เสร็จภายในเวลาอันควร คือไม่กี่เดือน อีกอย่าง คุณอาจมีข้อจำกัดที่จะต้องส่งหนังสือคืนให้ทางวัดหลังจากที่ยืมมา ก็ให้เอาระยะเวลาที่จะต้องคืนหนังสือเป็นเกณฑ์ก็ได้ค่ะ**
การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้บุญเมื่อยังไม่ให้ผล ก็เหมือนขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ดีแล้วในแม่น้ำ


อานิสงส์การสร้างพระไตรปิฎก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถีในเวลานั้น พระสารีบุตรเถระเจ้า มีความประสงค์ว่าจักทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศอานิสงส์สร้างพระไตรปิฎก ให้ทราบทั่วถึงกันแก่พุทธบริษัท พระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าทูลถาม แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญถ้าชนทั้งหลายให้พุทธศาสนายืนยาวถึงห้าพันวัสสา จะมีอานิสงส์เป็นประการใด พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าดูกรท่านสารีบุตรถ้าชนทั้งหลายมีจิตศรัทธาเลื่อมใสเช่นนั้นแล้วเมื่อตายไปแล้วก็จักได้เสวยราชสมบัติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชถึง ๘ หมื่น ๔ พันกัลป์ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วก็จะได้เป็นพระราชามีอนุภาพอีก ๙ อสงไขยต่อจากนั้นก็ได้เสวยสมบัติในตระกูลต่าง ๆ เป็นลำดับไปคือ ตระกูลพราหมณ์มหาศาล ตระกูลเศรษฐีคฤหบดี
และเป็นภูมิเทวดาอากาศเทวดา อย่างละ ๙ อสงไขยต่อแต่นั้นก็จะได้เสวยในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เป็นลำดับไปชั้นละ ๘ อสงไขย
เมื่อจุติจากชั้นเทวโลกแล้ว มาถือกำเนิดเ! กิดเป็นมนุษย์ก็จะมีร่างกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นที่รักใคร่แก่คนทั้งหลายที่ได้พบเห็น
ทั้งน้ำใจก็บริสุทธิ์สุจริตปราศจากบาปธรรมอกุศลทั้งปวงและเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ดังนี้เป็นต้น
ดูกรท่านสารีบุตร เมื่อตถาคตสร้างบารมีอยู่ได้เกิดเป็นอำมาตย์ของพุทธบิดา แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปุราณโคดมได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ให้สืบองค์ได้ตั้งความปรารถนาขอตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิดในอนาคตกาลโน้น สมเด็จพระปุราณโคดมบรมศาสดาทรงพยากรณ์ไว้ว่าอำมาตย์ผู้นี้ต่อไปภายภาคหน้า จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระสมณโคดม ก็คือพระตถาคต เรานี้เองดังนี้แลก็สิ้นสุดพระกระแสธรรมเทศนาที่พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าแต่เพียงเท่านี้
สัพพะทานัง ธรรมทานัง ชินาติการให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปว

การสร้างพระธรรม หนึ่งอักษร มีอานิสงส์เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์
ขออนุโมทนาบุญและยินดีต้อนรับเป็นอาสาสมัครครับ อย่าลืมชักชวนญาติมิตรให้เป็นอาสาสมัครอีกแรงอย่างน้อยช่วยหาอาสาสมัครให้ได้อีกสักหนึ่งคนและช่วยส่งเมล์ต่อ ๆ ไปด้วยนะครับ บุญนี้มีจำกัดนะครับ หากทำเสร็จแล้ว ก็ไม่มีให้ทำอีกต่อไปแล้วครับ
การทำงาน จะเป็นการทำงานร่วมกันผ่านอินเตอร์เนต โดยจะมีการส่งไฟล์พระไตรปิฎกไปให้อาสาสมัครทางอีเมล์ และเมื่อทำเสร็จแล้ว ก็ส่งกลับมาทางอีเมล์

ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นที่ 1.ให้ไปยืมหนังสือพระไตรปิฏกพร้อมอรรถกถา ฉบับภาษาไทย ชุด 91 เล่ม จากวัดใกล้บ้าน ให้เลือกเล่มที่มีเนื้อหาที่คุณสนใจ โดยเลือกยืมมาเพียงหนึ่งเล่ม ตั้งแต่เล่มที่ 25 ถึง เล่มที่ 35 แล้วเมล์มาบอกผมว่า คุณต้องการตรวจสอบเล่มที่เท่าไหร่ เพื่อทางผมจะได้ส่งไฟล์เล่มนั้นๆไปให้คุณทางอีเมล์ต่อไป เลขเล่มให้ดูที่สันปกหนังสือนะครับ
ขั้นที่ 2.เมื่อได้รับไฟล์พระไตรปิฎกแล้ว ก็เริ่มทำงานโดยการอ่านไฟล์พระไตรปิฎกที่ส่งมาให้ เพื่อค้นหาคำหรือข้อความ (ทั้งภาษาไทยและบาลี) ที่พิมพ์ไว้ผิด ตกหล่น เกิน แล้วแก้ไขให้ถูกต้องโดยยึดถือเอาหนังสือพระไตรปิฏกและอรรถกถา ฉบับ 91 เล่ม เป็นต้นฉบับในการตรวจสอบ โดยแก้เฉพาะคำที่พิมพ์ไว้ผิด ไม่ต้องจัดข้อความ (หมายความว่า การเว้นระยะห่างของข้อความจากขอบด้านซ้ายมือ อาจจัดไว้ไม่เท่ากัน ตรงจุดนี้ ไม่ต้องทำอะไร)
วิธีตรวจหาคำผิด : ให้อ่านช้า ๆ และทำให้เสร็จในขั้นตอนเดียวโดยให้ทำเรียงบันทัดไป อย่าทำข้ามและอย่าอ่านแบบผ่าน ๆ เร็ว ๆ คือ ปรกติคนเราจะอ่านแบบ Browse คือจะแค่มองผ่าน ๆ แค่จับใจความ จะไม่ได้มองศัพท์เป็นคำ ๆ ซึ่งจะมีผลให้ มีคำผิดตกหล่นได้มาก ให้ดูเป็นคำ ๆ หากเป็นไปได้ควรอ่านออกเสียงตามไปด้วย (จะทำให้เรามองเป็นคำ ๆ และมีสมาธิ) ขณะทำไม่ควรดูหนังฟังเพลงไปด้วย
ข้อความตรงไหน ที่เราอ่านแล้ว รู้สึก งง ๆ ไม่เข้าใจ ทั้งที่เป็นข้อความธรรมดา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าน่าจะมีการพิมพ์ผิด แล้วให้ตรวจทานกับหนังสือ
ให้ระวังเป็นพิเศษคือ คำบาลี ตัวเลข คำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย ต้องเช็คความถูกต้องของตัวเลขด้วยทุกจุดเพราะเคยปรากฏเสมอว่ามีการพิมพ์ไว้ผิด ๆ (ก็ไม่ต้องกังวลใจอะไรนะครับ เพราะการทำงานก็ง่าย ๆไม่ยุ่งยากอะไร คำบางคำก็รู้ได้โดยง่าย เพราะเป็นศัพท์พื้นๆ แต่พิมพ์ไว้ผิด โดยอาจจะเป็นเรื่องวรรณยุกต์บ้าง ตัวสกดบ้าง โดยพิมพ์ไว้ผิดบ้าง ตกหล่นบ้าง พิมพ์เกินบ้าง เป็นต้น)
เมื่อได้ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเป็นที่พอใจแล้ว ทางทีมงานก็จะจัดรูปแบบเอกสารใหม่ดังนี้

รูปแบบใหม่ของไฟล์พระไตรปิฏก
มีการจัดทำหัวข้อเป็น Heading ทำให้สามารถดูแบบยุบ แบบขยายได้ ทำให้สะดวกต่อการอ่านมีการแก้ไขข้อความจากเดิมหนึ่งบันทัดเป็นหนึ่งย่อหน้า เป็นหนึ่งย่อหน้าเป็นหนึ่งย่อหน้าจริง ๆ
มีการจัดรูปแบบโดยใช้ Style ทำให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดระยะกั้นหน้ากั้นหลังเท่ากัน สะดวกในกรณีต้องการจัดย่อหน้าใหม่ในภายหลัง สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปพัฒนาต่อ

ขออนุโมทนาบุญ
สมศักดิ์


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 5 กันยายน 2551 เวลา:15:31:19 น.  

 
//x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?p=20826#20826

งานไหว้ครูประจำปีของวัดพระพิเรนทร์ ๓๒๖ ถนนวรจักร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

วันศุกร์ที่ ๕ – วันพฤหัสบดี ๑๑ กันยายน ๒๕๕๑

การแสดงภายในงานมีการแสดงลิเก คืนละ ๕ คณะ คืนสุดท้ายพฤหัสบดี ๑๑ กันยายน ๒๕๕๑ มีงานประชันดนตรีไทย ตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่าง
มีอาหารเครื่องดื่มเลี้ยงทานฟรีทุกวัน มีสวนสนุกให้เล่น
รายชื่อคณะลิเกที่มาแสดงในงานไหว้ครู
คืนวันที่ 5 กย 51

คณะเอกรักษ์ เมตตาธรรม
คณะยอดยุทธ อยู่ยั่งยืน
คณะรุ่ง สุริยา


วันเสาร์ที่ 6 กย 51
คณะทรงพล ศิษย์คุณ ป.
คณะนิรันดร์ อัญชลี
คณะทศพร ลูกธนบุรี

วันอาทิตย์ที่ 7 กย 51
คณะวัฒนา อนันต์
คณะศรรัก ศิษย์บุญเลิศ

วันจันทร์ที่ 8 กย 51
คณะเอกรักษ์ ลูกธนบุรี
คณะน้องต้น แก้วสอดสี
คณะพรศักดิ์ เจิรญพร

วันอังคารที่ 9 กย 51
คณะลิเกหอมหวล รุ่นพิเศษ หยกเพชร เลิศพร
คณะจเรชาย ศิษย์หอมหวล
คณะดวงประทีป ปิ่นทอง
คณะชโลมรัก-ชโลมเล็ก

วันพุธที่ 10 ก.ย.51
คณะทูลไทย บางระจัน
คณะน้องโฟว์ กฤษณะ
คณะนพพล ปฐมพร-บรรทูล ส.เทวราช
รายชื่อวงที่มาบรรเลงถวายมือในคืนที่ ๑๑ ก.ย ๒๕๕๑ ( ตั้งแต่หัวค่ำถึงเช้า )

๑.วงกรมศิลปากร (ระนาดเอก-ทวีศักดิ์ ( เบิ่ง ) อัครวงษ์ )
๒.วงป๋อม บอยไทย (ระนาดเอก-ชัยยุทธ ( ป๋อม ) โตสง่า บุตรชาย อ.ดวงเนตร( น้อย ) ดุริยพันธ์ )
๓.วงปู ดอกกระโดน (ระนาดเอก-บุญสร้าง( ปู ) เรืองนนท์ )
๔.วงพยุงศิลป์ จ.พระนครศรีอยุธยา
๕.วงสำรวย มงคลศิลป์ วัดจระเข้ใหญ่ บางพลี จ.สมุทรปราการ
๖.วงศิษย์ครูสำรวย แก้วสว่าง จ.อ่างทอง
๗.วงศิษย์เรืองนนท์ กทม.


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:14:01:35 น.  

 
//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdPVEl6TURnMU1RPT0=

www.khaosod.co.th วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6477 ข่าวสดรายวัน

วัดพระพิเรนทร์-เสกใหญ่ วัตถุมงคล"รุ่นพระเทพนฤมิต"

สดจากหน้าพระ

อนุชา ทรงศิริ

วัดพระพิเรนทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 326 ถนนวรจักร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมวัดนี้เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ.2300 แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด จึงไม่อาจสืบทราบความเป็นมาแต่แรกได้ เอกสารที่พอจะช่วยให้ความกระจ่างได้บ้างก็คือ จดหมายถึงเจ้าอาวาส และคำแถลงการณ์ของ พระยาสาครราชเรืองยศ (ชุ่ม รักติประกร) กรรมการวัดพระพิเรนทร์ ฝ่ายฆราวาส สมัยพระเทพคุณากร (ผล ชินปุตฺโต) อดีตเจ้าอาวาส

ในงานพิธียกป้ายชื่อวัดพระพิเรนทร์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2480 ซึ่งได้นำพิมพ์ลงในหนังสือที่ระลึกงานฉลองปูชนียสถานและถาวรวัตถุวัดพระพิเรนทร์ เมื่อวันที่ 7-8 มกราคม พ.ศ.2481 แต่ประวัติที่ทราบจากเอกสารฉบับนี้ ก็สืบย้อนลงไปถึงแค่เพียงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราว พ.ศ.2379-2392 เจ้าเมือง, ขุนนาง, เศรษฐี และพระราชาคณะ ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดในหมู่บ้าน ตามหัวเมืองต่างๆ เป็นอันมาก แต่ไม่ได้ถวายเป็นพระอารามหลวง เพราะเป็นวัดเล็กๆ จึงไม่ได้ตั้งชื่อไว้

มีหลักฐานว่า "พระพิเรนทรเทพ" เดิมชื่อ "ขำ" เป็นบุตรพระยาคำแหงสงคราม (ทองอิน) ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา ได้เข้ารับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มียศศักดิ์เป็นหลวงมหิทธิโยธี เป็นนายกองในทัพของพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) ยกทัพไปปราบเจ้าธนบุรีเวียงจันทน์ และเป็นผู้ที่ตามจับเจ้าอนุได้ในสนามรบแล้วนำส่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา พอเสร็จจากศึกสงครามแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระพิเรนทรเทพบดีศรีสมุท (ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา)

ส่วนวัดพระพิเรนทร์ เป็นวัดโบราณเก่าแก่มาก พระพิเรนทรเทพ ได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ และสร้างกุฏิใหม่ขึ้นอีก 12 หลัง แล้วตั้งชื่อวัดว่า "วัดขำเขมการาม"

อนึ่ง ชื่อวัดนี้มีหลักฐานปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ หน้า 406 ว่า วัดขำเขมการาม แปลงนามว่า วัดขำโคราช และเมื่อราว พ.ศ.2430 ได้ปรากฏชื่อวัดพระพิเรนทร์ขึ้น ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ทางหน่วยงานราชการในสมัยนั้นยังใช้ชื่อ วัดขำโคราช และในสมัยพระมหาขุ่น ชินปุตฺโต (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นพระมหาผล) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ.2476 ท่านได้ปรับปรุงพัฒนาวัดเป็นการใหญ่เรื่อยมา เมื่อการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุต่างๆ เป็นหลักฐานเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพิธียกป้ายชื่อวัดว่า วัดพระพิเรนทร์ ขึ้นสู่ซุ้มประตูวัดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2480

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของวัดพระพิเรนทร์ "หลวงพ่อดำ" ประดิษฐานอยู่ในวิหารทางทิศใต้ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 0.74 เมตร เดิมเป็นสีดำ แต่ชาวบ้านที่มากราบไหว้บนบานศาลกล่าวแล้วประสบผลสำเร็จ จึงได้นำทองคำเปลวมาปิดองค์พระจนกลายเป็นสีทอง

..................................................................
//www.paisarn.com/phrapirane.htm#a2

ประวัติความเป็นมา วัดพระพิเรนทร์ ถนนวรจักร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร

วัดพระพิเรนทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 326 ถนนวรจักร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตอนปลาย ราว พ.ศ. 2300

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 ราว พ.ศ. 2379 ทรงโปรดให้ พระพิเรนทรเทพ ( ชำ ณ ราชสีมา ) เจ้ากรมพระตำรวจหลวง บุตรชายเจ้าพระนครราชสีมา ( ทองอินทร์ ณ ราชสีมา ) ให้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัด เจ้าศรัทธาจึงตั้งนามวัดว่า “วัดขำเขมการาม”

ครั้นถึง พ.ศ. 2411 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงแปลงนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดขำโคราข” ใช้มาถึง พ.ศ. 2430 จึงได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระพิเรนทร์” ตามชื่อบรรดาศักดิ์ของเจ้าศรัทธา ผู้บูรณปฏิสังขรณ์ และปี พ.ศ.2480 หลวงปู่ขุ่น ( พระเทพคุณาธาร ) อดีตเจ้าอาวาสได้ประกอบพิธียกป้ายวัดขึ้นสู่ซุ้มประตูด้านติดกับถนน วัดแห่งนึ้จึงกลายเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

วัดพระพิเรนทร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2430 ปัจจุบันมีปูชนียวัตถุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เสนาสนะครบถ้วนสมบูรณ์ อาทิ พระอุโบสถ ซุ้มพระพุทธรูปประทับยืนด้านหน้า กุฏิสงฆ์ 12 หลัง วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาบำเพ็ญกุศล เมรุณาปนสถาน

ในพระอุโบสถมีพระประธานปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1 เมตร มีพระพุทธรูปยืน ปางห้ามญาติ 2 องค์ ปางห้ามสมุทร 2 องค์ ปางประทานพร 1 องค์ ปางอุ้มบาตร 1 องค์ พระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ 5 องค์ ซุ้มด้านหน้าพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปปางลีลา 1 องค์ ซุ้มด้านหลังมีพระพุทธรูปปางรำพึง ด้านในของวิหารมีพระพุทธรูปพระนามว่า “หลวงพ่อดำ” ปางมารวิชัย 1 องค์ ( องค์ล่าง ) / และ หลวงพ่อเพชร อีก 1 องค์ ( องค์บน )

ขอเชิญสาธุชน จุดธูปเทียนปิดทองบูชา เพื่อขอพร และบารมี เพื่อความสุข ความเจริญรุ่งเรื่องได้ตั้งแต่ เวลา 08.00 น. ถึงเวลา 18.00 น. ทุกวัน

//www.paisarn.com/phrapirane.htm#a1

เชิญร่วมทำบุญบริจาคซื้อหีบศพ เพื่อศพพระภิกษุและ สามเณรที่มรณภาพ
จากโรงพยาบาลสงฆ์ และศพอนาภา
ณ วัดพระพิเรนทร์ สี่แยกวรจักร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
โทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติม 0-2221-4050 / 0-2222-1877

เนื่องด้วยวัดพระพิเรนทร์ ได้รับภาระศพพระภิกษุ สามเณรที่มรณภาพจากโรงพยาบาลสงฆ์มาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัย หลวงพ่อพระเทพคุณาธาร เป็นเจ้าอาวาส จนมาถึงเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันนี้ คือ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชปริยัติเวที ( อุทัย อุทโย ป.ธ.๙ ) ก็ยังรักษาเจตนาเดิมเหมือนเจ้าอาวาสทุก ๆ รูปที่ได้ปฏิบัติมาโดยตลอด

การบริจาคหีบศพหรือโลงศพนั้น ในปัจจุบันนี้ มีอยู่หลายที่หลายแห่งด้วยกัน อาจพูดได้ว่าที่วันพระพิเรนทร์นั้น เริ่มมาก่อนใครก็ได้ เพราะเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่มีการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ถึงปัจจุบันก็เป็นเวลานานกว่า ๕๕ ปี หลวงพ่อ พระเทพคุณาธาร เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ในยุคนั้น ท่านเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่เป็ฯกรรมการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์ และท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในการก่อสร้าง เพราะท่านมีความรู้ในเรื่องการก่อสร้างจึงได้รับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้างทั้งหมด และเมื่อมีพระภิกษุและสามเณรที่อาพาธมารับการรักษาที่โรงพยาบาลมรณภาพ เจ้าหน้าที่ติดต่อญาติไม่ได้ หรือติดต่อไปแล้วแต่ไม่มีการตอบกลับจากทางญาติ ท่านก็ได้รับภาระอย่างหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน คือเมื่อมีพระภิกษุและสามเณรมรณภาพภายในโรงพยาบาลสงฆ์ ไม่มีญาติมาติดต่อขอรับศพ ทางวัดขอรับภาระนำศพของท่านมาบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรมและฌาปนกิจให้จนเสร็จสมบูรณ์



เมื่อมีพระภิกษุและสามเณรมรณภาพปฏิบัติดังนี้
เมื่อพระภิกษุและ สามเณรมรณภาพที่โรงพยาบาลสงฆ์ ทางโรงพยาบาลจะเก็บไว้รอญาติมาติดต่อขอรับศพ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นแล้วทางโรงพยาบาลจะแจ้งมายังทางวัดให้ไปรับศพมาเก็บไว้ หลังจากนั้นถ้าญาติรู้ข่าวไปขอรับศพจากโรงพยาบาลทางโรงพยาบาลก็จะบอกให้มารับที่วัดพระพิเรนทร์ ทางวัดเองเมื่อรับศพมาแล้ว ก็เก็บไว้รอญาติมารับ เป็นเวลา ๑ ปี เมื่อถึง วันที่ 13 เมษายน ( วันสงกรานต์ ) ของทุกปี ถ้าไม่มีญาติมาติดต่อขอรับศพ ก็จะนำศพออกมาตั้งบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรมและเผาเป็นศพพระภิกษุ และสามเณรไม่มีญาติถือปฎิบัติมาเป็นประเพณีจนถึงทุกวันนี้

ที่มาของการตั้งตู้รับบริจาค

เนื่องจากวัดพระพิเรนทร์นั้น เป็นวัดที่มีประชาชนเข้ามาจัดงานบำเพ็ญกุศลและเผาศพกันเป็นประจำ หลวงพ่อจึง ได้ตั้งตู้รับบริจาคร่วมทำบุญเผาศพระภิกษุสามเณรไม่มีญาติและ ศพอนาถา ( คนยากจน ) ไว้ที่สำนักงานฌาปนสถาน เพื่อให้ประชาชนที่ผ่านไปมาที่มีศรัทะา ได้ร่วมทำบุญด้วย พอทางโรงพยาบาลมอบศพพระภิกษุสามเณรที่มรณภาพมาให้ ทางวัดก็ได้นำปัจจัยส่วนนี้ไปซื้อหีบศพ บางรายเป็นพระภิกษุ สามเณรมาจากต่างจังหวัด มีญาติมาด้วยประสงค์จะสวดและเผาศพให้เสร็จแล้ว จึงได้นำเอาแต่อัฐิกลับบ้าน แต่ไม่มีเงินทำศพ ก็เอาปัจจัยส่วนนี้ไปจัดบำเพ็ญกุศลศพให้ท่าน เหตุและผลของการบริจาคหีบก็มีความเป็นมาอย่างที่ได้กล่าวมาเบื่องต้นนั้นแล

การบริจาคหีบศพที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน

การบริจาคหีบศพนั้นบางท่านบริจาคเต็มใบก็มี ในราคาใบละ 1,200 บาท บางท่านมา บริจาคตามกำลังศรัทธาก็มี บางท่านบริจาคแล้วขอกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลด้วย บางท่านก็ไม่กรวดน้ำ ส่วนมากบริจาคเป็นปัจจัย แต่บางรายบริจาคถวายให้เป็นลูกหีบ การบริจาคเป็นปัจจัยจะได้ประโยชน์มากกว่า กว้างขวางกว่า เพราะปัจจัยไม่ใช่แต่จะนำไปซื้อลูกหีบอย่างเดียว ยังนำเอาไปเป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นได้อีก เช่น ค่าไฟฟ้าหรือจัดซื้อน้ำมัน ในการเผาศพพระไม่มีญาติ และศพอานาถาได้อีกด้วย

วิชาโหราศาสตร์เกี่ยวข้องด้วยได้อย่างไร
วิชาโหราศาสตร์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริจาคหีบศพได้ เพราะว่าได้มีอาจารย์โหราศาสตร์หลายท่าน มาบริจาคแล้วปรากฎว่าได้ผลดี เพราะทำด้วยตัวเองก่อน และเมื่อได้ตรวจดวงชะตาหรือทำนายทายทักผู้ใดว่ามีเคราะห์หรือดวงไม่ค่อยดีก็จะแนะนำให้มาสะเดาะเคราะห์ด้วยการบริจาคหีบศพและนิมนต์พระทำพิธีสเดาะเคราะห์ให้ด้วยที่วัดพระพิเรนทร์แห่งนี้

บริจาคหีบศพ ถือว่าสะเดาะเคราะหืไปในตัวได้อย่างไร

การบริจาคหีบศพนอกจากจะเป็นการ ทำบุญกับศพพระภิกษุสามเณรไม่มีญาติกับศพอนาถาแล้ว ยังเป็นการสะเดาะเคราะห์อีกด้วย การสะเดาะเคราะห์ด้วยการบริจาคหีบศพ หรือโลงศพนี้เกิดขึ้งครั้งแรกโดยการมีคนมาบริจาคเพื่อสะเดาะเคราะห์ด้วยการด้วยการบริจาคหีบ หรือโลงศพนั้น เกิดขึ้นครั้งแรก โดยการมีคนมาบริจาค เพื่อสะเดาะเคราะห์กันธรรมดา ต่อมาคนที่มาบริจาคได้ กล่าวว่า มาบริจาคหีบศพน่าจะมีลูกหีบมาตั้งจะได้ดูสมจริงสมจัง ทางวัดไม่ขัดจึงได้จัดลูกหีบมาตั้งไว้ต่อมาก็มีคนพูดอีกว่า นำลูกหีบมาตั้งไว้อย่างนี้ก็ยังไม่สมจริงสมจัง ต้องทำพิธีคล้ายกับการเผาจริง ๆ นิมนต์พระมา ๙ รูป พิจารณาผ้าบังสุกุล เลยถือปฎิบัติกันมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

การบริจาคหีบศพพร้อมทำพิธีสะเดาะเคราะห์

ผู้ที่มีความประสงค์จะมาบริจาคหีบศพพร้อมกับทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งที่ต้องจัดเตรียมมาด้วย คือ

(๑) ดอกบัว ๕ กำ ๆ ละ ๓ ดอก (๒) ธูป เทียน กล่องเล็ก ๕ กล่อง

(๓) ผ้า ๔ ผืน (สงบหรือจีวรก็ได้ (๔) จัดปัจจัยไว้ ๔ ซอง

(๕) ผ้าขาวกว้าง ๑ เมตร ยาว ๒ เมตร ๑ ผืน (๖) สายสินจน์ม้วนเล็ก ๑ ม้วน

ท่านที่ไม่สะดวกต่อการจัดซื้อหาจะมาขอบูชาที่วัดก็ได้ ท่านที่ต้องการทำพิธี ถ้าแจ้งให้ทราบก่อนก็จะเป็นการดี ทางวัดจะได้จัดเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อม เมื่อมาถึงแล้วให้ไปบริจาคซื้อหีบศพที่สำนักงานฌาปนสถาน แล้วเจ้าหน้าที่จะไปนิมนต์พระมา ๔ รูปเพื่อทำพิธีต่อไป

ขั้นตอนการทำพิธีสะเดาะเคราะห์

(๑) จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

(๒) จุดธูปที่หน้าหีบ

(๓) กล่าวคำอาราธนาศิลและรับศิล

(๔) นำดอกไม้ ๑ กำ ให้ท่านอธิฐานจิตก่อนวางใส่ในลูกหีบ

(๕) อธิฐานผ้าและนำไปทอดบนขอบลูกหีบทั้ง ๔ ผืน

(๖) พระท่านลุกไปพิจารณาผ้า

(๗) ไปถวายผ้าขาวและสายสิญจน์

(๘) ให้ไปนั่งอยู่ที่ด้านหน้าพระ พระสงฆ์จะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ (ด้วยวิธีการบังสกุลตาย) หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หลับตา พนมมือก้มศรีษะเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะเอาผ้าขาวคลุม

(๙) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจ้าหน้าที่จะเอาผ้าขาวคลุม ให้ลืมตา พนมมือก้มศีรษะเล็กน้อย พระสงฆ์จะทำพิธีต่อชะตา ( ด้วยวิธีการบังสกุลเป็น ) จบแล้วพระท่านจะดึงผ้าขาวที่คลุมออก

(๑๐) ประเคนจตุปัจจัยและดอกไม้ธูปเทียน แล้วกรวดน้ำรับพร รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วให้นำน้ำที่กรวดไปเทลงดินที่โคนต้นไม้ เป็นเสร็จพิธี

การบริจาคหีบศพพร้อมทำพิธีสะเดาะเคราะห์นี้ มีคนมาทำกันมิได้ขาด จะได้ผลประการใดไม่ขอยืนยัน จากคำบอกเล่าของหลาย ๆ ท่านบอกว่า ได้ผลดีที่เดียวก่อนมาทำพิธี รู้สึกว่าการดำเนินชีวิตติดขัด ไม่ค่อยราบรื่นนัก พอมาทำพิธีแล้ว ชีวิตก็ดูดีไปหมดทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าที่การงาน ธุรกิจการค้า สุขภาพร่างกายก็ดีไปหมด บางท่านถึงกับปวารณากับทางวัดว่าจะมาทำพิธีทุก ๆ เดือนก็มี สิ่งนี้ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัส จับต้องได้และมองไม่เห็นได้ด้วยตา ลองทำดูจะได้รู้เอง


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:14:08:46 น.  

 
เรียนท่านผู้ชื่นชมกลุ่มศิลปะ-วัฒนธรรมทุกท่าน

อาจารย์อภิวัฒน์ โควินทรานนท์ ขอเชิญทุกท่านเข้าชม"บ้านสวนพลู"

ในวันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2551 เวลา 09.30 น. -12.00น.

สถานที่ : บ้านสวนพลู

หากเข้าทางซอยสวนพลู จะอยู่ห่างจากถนนสาธรใต้ราว 500 เมตรให้เข้าซอยพระพินิจ (ซอยอยู่ทางขวามือ)

แต่หากเข้าทางถนนนราธิวาสราชนครินทร์ อยู่ในซอย 7 ค่ะ

สำหรับผู้เดินทางโดย BTS กรุณาลงที่สถานี "ช่องนนทรี" ค่ะ

ผู้สนใจ กรุณาแจ้งกลับสักนิดค่ะ เพื่อจะได้ทราบจำนวนผู้สนใจค่ะ

หากท่านใด ไม่แน่ใจว่าจะว่างหรือไม่ จะแจ้งไว้สักนิดว่า"อาจจะไป" ก็จักขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

เสียค่าเข้าชมสถานที่คนละ 50 บาทเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณค่ะwichitra.kai@gmail.com


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:14:19:51 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะ


โดย: บุ๋ม IP: 118.174.83.143 วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:14:40:59 น.  

 
//x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=3121

ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมชม"การสาธิตการขับเสภาประกอบปี่พาทย์ไม้แข็งแบบโบราณ"

-ขับเสภาโดย ครูชนะ ชำนิราชกิจ (ครูเล็กปี่)
-บรรเลงโดย ศิลปินครูอาวุโสจาก วงเพชรสยาม
-พิธีกรรับเชิญพิเศษ อ.บุญสร้าง เรืองนนท์ หรือ "ลูกปู กรมศิลป์"

ในวันศุกร์ ที่ 12 กันยายน 2551 เวลา 13.00น.-15.30
ณ.ห้องประชุม จันทรา-กาญจนาภิเษก อาคาร15ชั้น ชั้น8 มหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม

*ติดต่อ-สอบถาม*
-โปรแกรมภาควิชาเอกดนตรีไทย ชั้น๓ สำนักศิลปและวัฒนธรรม (อาคาร๒๗) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ๐๒-๙๔๒๖๙๐๐ ต่อ ๓๑๓๘
- หรือที่เบอร์ 084-0941489 หนึ่ง และ เบอร์ 084-1899654 วอม

*งานนี้ชมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย *

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีพื้นที่ 89 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 39 / 1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อกับเขตลาดพร้าว และห้วยขวาง อยู่ติดกับกรมส่งเสริมการส่งออก และตรงข้ามกับศาลอาญาและกรมอัยการ สถานที่ที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเทสโต้ โลตัส (ลาดพร้าว) ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลฯ ลาดพร้าว โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน ใกล้สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน รัชดาภิเษก

การคมนาคม

มีรถประจำทาง รถตู้ปรับอากาศผ่านหลายสาย รถปรับอากาศ : ปอ.185 , ปอ.136 , ปอ.206 , ปอ.529

รถโดยสารธรรมดา : สาย 38 , 126 , 136 , 134 ก , 178 , 179 , 206


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.210 วันที่: 8 กันยายน 2551 เวลา:7:41:52 น.  

 
โครงการ “ศิษย์พบครู เชิดชูศิริ วิชเวช”
จัดโดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัน เวลา สถานที่
วันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๐.๐๐น.- ๑๕.๓๐ น.
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร ๐๒-๖๑๓-๓๒๐๑-๕ ต่อ ๑๗ , ๒๐

ตอบรับเข้าร่วมโครงการ ภายในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๑
ได้ที่ งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา
อาคารเอนกประสงค์ ๑ ( ริมประตูท่าพระจันทร์ ) ชั้น ๙
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๒๑๑๒

หลักการและเหตุผล

สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินงานและให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง อันถือเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของสถาบันฯ ตลอดมา

ในโอกาสที่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ ครูศิริ วิชเวช ครูดนตรีไทย ผู้ซึ่งมีคุณูปการต่อวงการดนตรีไทยและต่อมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับมอบเข็มเกียรติยศและโล่เกียรติยศในฐานะศิษย์เก่าดีเด่นผู้ทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย ในงานวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันไทยคดีศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันไทยคดีศึกษา จึงเห็นควรร่วมกันกำหนดจัดโครงการ “ศิษย์พบครู เชิดชูศิริ วิชเวช” ขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑ ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อเป็นการแสดงมุทิตาจิตและเชิดชูครูด้านดนตรีไทยในวาระนี้

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อเชิดชูครูศิริ วิชเวช ศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในโอกาสที่ได้รับศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และรับมอบเข็มเกียรติยศและโล่เกียรติยศในฐานะศิษย์เก่าดีเด่นผู้ทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี ๒๕๕๑
๒. เพื่อเป็นการเชิดชูคุณูปการครูศิริ วิชเวช ครูด้านดนตรีไทยที่มีต่อวงการดนตรีไทยและต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๓. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้และเห็นคุณค่าของดนตรีไทย เพื่อร่วมกันรักษาเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติสืบไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้แก่ศิษย์ครูศิริ วิชเวช นักดนตรีไทยอาชีพ นักเรียน นิสิตนักศึกษา ครูและอาจารย์ ที่เรียนและสอนด้านดนตรีไทยในสถาบันการศึกษา ผู้แทนจากสถาบันเครือข่ายด้านไทยศึกษา และประชาชนทั่วไปประมาณ ๓๕๐ - ๔๐๐ คน

กำหนดการ “ศิษย์พบครู เชิดชูศิริ วิชเวช”
วันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๐.๐๐-๑๕.๓๐ น.
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

๐๙.๓๐ - ๑๐.๐๐ น. ลงทะเบียน

๑๐.๐๐ น. พิธีเปิดโดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา กล่าวรายงาน
-อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน
-ขับร้องประสานเสียงไทยเดิมเพลง “มอญดูดาว”โดย ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์กล่าวสดุดีครูศิริ วิชเวช

๑๑.๐๐ น. -รำอวยพร โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๑๑.๒๐ น. -เสวนาเรื่อง “คุณูปการของครูศิริ วิชเวช ต่อวงการดนตรีไทยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”
วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ยมโดย เพ็งพงศา
รองศาสตราจารย์กาญจนา อินทรสุนานนท์
คุณตรัยเทพ เทวผลิน
ดำเนินการเสวนา โดย อาจารย์ถาวร สิกขโกศล

๑๑.๕๐ น. การแสดงสาธิตโดยครูศิริ วิชเวช
-สาธิตการขับเสภาและเสภาภาษา
-สาธิตการเห่ช้าลูกหลวง
-บรรเลงเดี่ยวซอสามสายและซออู้เพลง “แขกมอญ”
-บรรเลงเพลง “เขมรราชบุรี” โดย วง “คำหวาน”

๑๒.๐๐ น. -พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ น. -บรรเลงเพลงโหมโรง โดยวง “รวมศิษย์”
-รายการมโหรีประลองเพลงเสภา (ช่วงที่ ๑)
-เพลงพม่าห้าท่อน สามชั้นโดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-เพลงจระเข้หางยาว สามชั้น โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ
-การแสดงหุ่นกระบอกประกอบการบรรเลงดนตรี เพลงตับเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวลักนางแว่นแก้ว
-รายการมโหรีประลองเพลงเสภา (ช่วงที่ ๒)
-เพลงสี่บท สามชั้น โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
-เพลงบุหลัน สามชั้น โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

๑๕.๓๐ น. -ขับร้องหมู่เพลงลาวดวงเดือน โดย “ศิษย์ครูศิริ”
-ขับร้องบรรเลงเพลง “เชิดจีน” สามชั้น ระนาดเอก โดย ทวีศักดิ์ อัครวงษ์

ดูรูปและรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ อ.ศิริ วิชเวช เพิ่มเติมได้ที่

//x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?p=20920#20920

//x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=3120


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.122 วันที่: 11 กันยายน 2551 เวลา:15:09:35 น.  

 
งานแสดงคอนเสิร์ตการกุศล
ขอเชิญชวนแจ้งชื่อรับบัตรชมฟรี (เป็นกลุ่มได้) ที่ 02-884-8333
ภายในวันพุธที่ 17 กันยายนนะคะ

ข้อมูลอื่นๆ

1. รับบัตรหน้างาน
2. ข้อมูลเพิ่มเติม
คอนเสิร์ต "Dr.Sax Chamber Orchestra: Solo Night No.8 - The Double Concerto"
มี 2 รอบ
รอบ 1-พฤ.18 กย.เริ่มแสดง 1 ทุ่มที่ หอแสดงคนตรีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ศาลายา
รอบ 2 -ศ.19 กย.เริ่มแสดง 1 ทุ่มครึ่งที่ห้องประชุมศ.สังเวียน ตลาดหลักทรัพย์ ถ.รัชดาภิเษก
ข้างๆศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

มีรายละเอียดการแสดงที่
//www.thaiticketmajor.com/concert/solonight_no8.php


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.122 วันที่: 11 กันยายน 2551 เวลา:15:15:32 น.  

 
สถาบันภาษา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมภาษาอังกฤษ หัวข้อ “Grammar and Structure for Writing” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญบุคลากร นักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป เข้าร่วมโครงการอบรมภาษาอังกฤษ หัวข้อ “Grammar and Structure for Writing” ในวันที่ 20 - 21 และ 27 - 28 กันยายน 2551 โดยผู้เข้าร่วมการอบรมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการอบรมได้ที่ สำนักงานเลขานุการสถาบันภาษา ตึกศูนย์ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2551 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่โทรศัพท์ 0 – 2613 – 3101 – 3

วันที่ 11 กันยายน 2551


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.93 วันที่: 11 กันยายน 2551 เวลา:17:36:52 น.  

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ขอเชิญร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง

“คุณค่าความงามทางศิลปกรรมของหนังใหญ่”
โดย นาย สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
นายช่างศิลปกรรม ๖ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

วันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑
เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.

ณ อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร๑๐๒๐๐
( อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง )

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งที่
ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โทร. ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓ , ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.93 วันที่: 11 กันยายน 2551 เวลา:18:13:38 น.  

 
//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROMGIzVXdOVEV6TURrMU1RPT0=§ionid=TURNeE9RPT0=&day=TWpBd09DMHdPUzB4TXc9PQ==
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6498 ข่าวสดรายวัน

กาลหนึ่ง ณ อัมพวา นคราแห่งวัฒนธรรม

ไปไหนไปกัน

"อัมพวา" ชุมชนริมน้ำแม่กลอง ของจ.สมุทร สงคราม ในเขตอ.อัมพวาและบางส่วน ของอ.บางคนที เดิมเรียกว่า "แขวงบางช้าง" รวมอยู่กับเมืองราชบุรี ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2137-2198 แขวงบางช้างมีตลาดค้าขายแห่งหนึ่ง เรียกว่า "ตลาดบางช้าง" มีนายตลาดทำหน้าที่เก็บอากรขนอนตลาด เป็นหญิงชื่อ "น้อย" มีบรรดาศักดิ์เป็น "ท้าวแก้วผลึก" เป็นน้าสาวของท่านเศรษฐีทอง พระชนกของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาก) พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แขวงบางช้าง กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสมุทรสงคราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น "หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี" ได้ทรงสมรสกับท่านนาก (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์) ธิดาของท่านทองและท่านสั้น มหาเศรษฐีแห่งแขวงบางช้าง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 ทั้งสองหลบภัยพม่ามาอยู่ที่บ้านอัมพวา ระหว่างนั้นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ประสูติพระราชโอรสทรงพระนามว่า "ฉิม" ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ปรากฏหลักฐานในประวัติพงศาวดารตอนหนึ่งว่า

"...เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได้เสด็จออกไปตั้งพระนิวาสถานอยู่ที่บ้านอัมพวา แขวงเมืองราชบุรี ต่อกับแขวงเมืองสมุทรสงคราม และสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อุบัติในครรโภทรพระราชชนนีพระพันปีหลวง ซึ่งปรากฏพระนามในกาลบัดนี้ ว่า สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ อันมีพระศิริลักษณ์วิลาศญาติสมบัติสมบูรณ์ ตระกูลมหาเศรษฐี ไม่มีตระกูลใดเสมอ ณ อัมพวานิรุทยานประเทศ ณ แขวงเมืองสมุทรสงคราม"

ระหว่างที่หลบภัยจากพม่านี้เอง กรมสมเด็จพระศรีสุดาลักษณ์ (แก้ว) พระพี่นาง องค์ที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเสด็จมาหลบภัยอยู่ที่บ้านอัมพวาด้วย ได้ประสูติพระธิดา เมื่อวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน ตรงกับวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2310 ทรงพระนามว่า "บุญรอด" ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2

ชุมชนอัมพวาจึงเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบรมราชินีอีก 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระอมรินทรา มาตย์ (นาก) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (บุญรอด) พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

"งานกาลหนึ่ง ณ อัมพวา นคราแห่งวัฒนธรรม" ที่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 17-21 ก.ย.นี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงอดีตอันควรค่าแก่การจดจำ และความงดงามของสถานที่ที่ดำเนินมาถึงปัจจุบัน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นวิถีชีวิตของคนรุ่นปู่ย่าตายาย โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ มากมาย

วันที่ 17 ก.ย. เวลา 20.30-21.00 น. แสดงกลองยาวหัวโต ซึ่งเป็นการเล่น กลองยาว โดยมีหุ่นรำประกอบ ที่ตกแต่งด้วยตัวตลกที่เป็นหัวโตๆ ร่ายรำอย่างสนุกสนานและเล่นกับคนดูตลอดเวลา

วันที่ 18 ก.ย. เวลา 15.00-17.00 น. การแสดงวัฒนธรรมของชุมชน, การประกวดร้องเพลง "สาวอัมพวา" ของ สุนทราภรณ์ระดับประถม 18.10-18.20 น. การแสดงกลองยาวหัวโต 20.30-22.00 น. การแสดงวงดนตรี สุนารี ราชสีมา

วันที่ 19 ก.ย. 15.00-17.00 น. การแสดงวัฒนธรรมของชุมชน 17.00-18.00 น. การประกวดร้องเพลง "สาวอัมพวา" ของสุนทราภรณ์ระดับมัธยม 20.30-22.00 น. การแสดงดนตรีไทย วงมโหรีปี่พาทย์วงใหญ่ประชันวงครูเพลง

วันที่ 20 ก.ย. 15.00-17.00 น. การแสดงวัฒนธรรมของชุมชน 17.00-18.00 น. การประ กวดร้องเพลง "สาวอัมพวา" ของสุนทราภรณ์ระดับอุดมศึกษา 19.40-20.20 น. การแสดงหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ 20.30-22.00 น. การแสดงวงดนตรีสุนทราภรณ์

ส่วนกิจกรรมในลำคลอง

วันที่ 17 ก.ย. 19.00-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียง
วันที่ 18 ก.ย. 16.00-17.00 น. ถวายสังฆทานทางน้ำ 17.00-18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ 18.00-19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ 19.00-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ
วันที่ 19 ก.ย. 16.00-17.00 น. ถวายสังฆทานทางน้ำ 17.00-18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ 18.00-19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ 19.00-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ
วันที่ 20 ก.ย. 08.00-09.00 น. ทำบุญตักบาตรทางน้ำริมคลองอัมพวา 17.00-18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ 18.00-19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ 19.00-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ
วันที่ 21 ก.ย. 08.00-09.00 น. ทำบุญตักบาตรทางน้ำริมคลองอัมพวา 17.00-18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ 18.00-19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ 19.00-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒน ธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ

นอกจากนี้ ยังมีการแสดง แสง สี เสียง และสื่อผสม "กาลหนึ่ง ณ อัมพวา นคราแห่งวัฒนธรรม" ผ่านทางเรื่องเล่าของชาวอัมพวา ถึงประวัติศาสตร์และประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชุมชน โดยจัดแสดง ริมคลองอัมพวา ยาวประมาณ 600 เมตร โดยแบ่งการแสดงเป็น 6 องก์ และให้มีการจัดแสดงขบวนเรือสำคัญๆ ไม่น้อยกว่า 23 ลำ นักแสดงไม่น้อยกว่า 150 คน

องก์ที่ 1 "วิถีชาวบ้านขับขานเล่าเรื่อง" ฉากท้องน้ำอัมพวาคลาคล่ำไปด้วยเรือค้าขาย ในบรรยากาศตลาดน้ำยามเย็น มีเรือเล่าเรื่องอีกหนึ่งลำมีพ่อคล้ายกับยายมะลิพาหลานสาวกับเด็กชายลูกครึ่งไทยผู้มาเยือน ซึ่งเด็กชายต้องการ มาเที่ยวเพื่อความสนุกสนานแต่กลับได้รับรู้ถึงวัฒนธรรม ประเพณี และเกล็ดประวัติศาสตร์ของอัมพวา ผ่านจินตภาพอันงดงามกลับไปด้วยความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย

องก์ที่ 2 "เลียบนทีรองเรืองแผ่นดินปฐมกำเนิด" จากประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจ ที่แผ่นดินอัมพวาได้เป็นเมืองพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และพระราชินีไทยถึง 2 พระองค์ คือ เป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ในรัชกาลที่ 1 และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2

องก์ที่ 3 "เลอเลิศการพระศาสนา" ด้วยอัมพวาเป็นเมืองที่มีวัดวาอารามที่เก่าแก่และงดงามอยู่มาก ทั้งยังมีประเพณีทางพุทธศาสนาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอดมิให้สูญหาย ได้แก่การทอดกฐินทางน้ำและผ้าป่าโจร ที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน

องก์ที่ 4 "เพลงเพลินพาจำเริญใจ" ครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ก่อตั้งวงดนตรี สุนทราภรณ์ เป็นชาวอัมพวา ต.โรงหวี ไปร่ำเรียนในบางกอกและฝากตัวเป็นศิษย์ท่านหมื่นไพเราะพจมาน จนได้ดีในทางดนตรีสากล เจ้าของบทเพลงอมตะสุนทราภรณ์ อย่างเช่น เพลงสาวอัมพวา ที่แต่งเนื้อร้องโดย ธาตรี ที่ได้ภรรยาเป็นชาวอัมพวา ทำนองโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน

องก์ที่ 5 "อนุรักษ์ไว้ซึ่งประเพณีอันดีงาม" ประเพณีลอยกระทงแสดงถึงความผูกพันกับสายน้ำ และความเชื่อว่า เป็นการบูชาลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นไปจากตนเองและขอขมาแม่น้ำ นอกจากการทำกระทงสวยงามมาลอยแล้ว ชาวบ้านยังนิยมเอาต้นกล้วยมาหั่นเป็นท่อนยาว 8-10 นิ้ว มาลอกเป็นกาบปาดหัวและท้ายให้สวยงาม แล้วนำธูปชุบด้วยน้ำมันยางแล้วนำไปผึ่งแดด 2 ครั้ง นำไปปักที่กาบกล้วยที่เตรียมไว้ แล้วนำไปลอยเป็นแนวยาวตลอดลำน้ำแม่น้ำแม่กลอง ในวันเพ็ญเดือน 12 เรียกว่า "กระทงสายกาบกล้วยเมืองแม่กลอง"

องก์ที่ 6 "สุขทุกยามเมื่อได้เยือนอัมพวา" เป็นบทสรุปส่งท้ายความสุขสนุกสนานที่ชาวอัมพวาทุกภาคส่วน ที่จะได้มอบให้กับแขกผู้มาเยือน ประกอบด้วยหมู่เรือศิลปหัตถกรรม หมู่เรือผู้ให้การสนับสนุน หมู่เรือ เจ้าหน้าที่ ฯลฯ
//www.thaipost.net/print.asp?news_id=163610&cat_id=200100&iDate=8/Sep/2551
8 กันยายน 2551 กองบรรณาธิการ
งาน กาลหนึ่ง ณ อัมพวา นคราแห่งวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๑ ก.ย. ศกนี้ประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของชาวอัมพวา การแสดงบนเวทีด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบด้วย กลองยาวหัวโตที่หาชมได้ยากและใกล้จะสาบสูญ การแสดงตลกของสมาคมตลกแห่งประเทศไทย การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งชื่อดัง ดนตรีไทยวงมโหรีปี่พาทย์วงใหญ่ประชันวงครูเพลง หุ่นละครเล็กโจหลุยส์เธียร์เตอร์ วงดนตรีสุนทราภรณ์แสนไพเราะ การแสดงสดจากกรมศิลปากร ด้านกิจกรรมลำคลอง ประกอบด้วย ขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ ร่วมทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ทางน้ำ ตื่นตาตื่นใจกับขบวนแห่ขันหมกทางน้ำ ขบวนแห่เพลงเรือ ที่สวยงามตระการตา ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีอาหารเลิศรส ขนมโบราณ ผลไม้พื้นบ้าน ศิลปหัตถกรรมและสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชุมชนอัมพวาให้เลือกซื้อหาอย่างจุใจ ทั้งนี้ ยังมีบริการล่องเรือย้อนรอยประวัติศาสตร์ สำหรับผู้ที่สนใจวิถีชีวิตริมสองฝั่งคลองอัมพวา ๑๒๐ ท่าน/วัน ฟรี สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถเดินทางไปแบบ ไปเช้า-เย็นกลับ หรือจะพักค้าแบบโฮมสเตย์ (จองล่วงหน้า) เพื่อล่องเรือดูหิ่งห้อยยามค่ำคืน สอบถามเพิ่มเติมโทร ๐๒-๓๒๒-๗๗๗๗, ๐๒-๓๒๑-๑๕๐๒.


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.35 วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:16:21:36 น.  

 
รายละเอียดเพิ่มเติม
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ศึกอินทรชิต ของกรมศิลปากร
จัดแสดงที่
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
วันอาทิตย์ที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๑ และ วันอาทิตย์ที่๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
วันเสาร์ที่ ๑๓ และ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.

ผู้แสดงฝ่ายเทพเจ้า
พระอิศวร-ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ,พระนารายณ์-ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ ,พระพรหม-คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด ,พระอินทร์-พงษ์ศักดิ์ บุญล้น

ผู้แสดงฝ่ายลงกา
รณพักตร์ ( อินทรชิตกุมาร ) -เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง ,อินทรชิต-กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
พระฤาษีโคบุตร-ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
นาคตัวเอก-นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา ,พลนาค-น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , เยาวลักษณ์ (เปิ้ล)ปาลกะวงศ์ ฯ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี
เสนายักษ์ ๖ ตน - นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป

ผู้แสดงฝ่ายพลับพลา
พระราม-ฉันทวัฒน์ ชูแหวน ,พระลักษมณ์-สมเจตน์ ภู่นา ,พิเภก-เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ ,ชามภูวราช-สุรเดช เผ่าช่างทอง ,สุครีพ-เลียว คงกำ เหนิด , พรเลิศ ( เอ็กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง ,หนุมาน-กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร ,ชมพูพาน-ศตวรรษ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ ,องคต-เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร ,นิลนนท์-ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม ,พญาครุฑ-สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
สิบแปดมงกุฏ-พรเลิศ ( เอ็กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , วีรพงศ์ ( อั๋น ) ดรละคร , ชัยยุทธ (กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์

กางกลด - ยกเตียง-สุรินทร์ เขียวอ่อน , ประวิทย์ เรืองมาก , ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์

ผู้พากษ์-เจรจา-ประสาท ( มืด )ทองอร่าม , เจตน์ศรีอ่ำอ่วม , ทรงพล ( กว้าง )ตาดเงิน , ศิริพงษ์ ( แสง )ทวีทรัพย์ , หัสดินทร์ ( อ้น )ปานประสิทธิ์

ผู้บรรเลงและขับร้อง-หัวหน้าวง-สิงหล สังข์จุ้ย , ปี่-สุราช ใหญ่สูงเนิน , ระนาดเอก-กิตติศักดิ์ อยู่สุข , ระนาดทุ้ม-สุชีพ เพ็ชรคล้าย , ฆ้องวงใหญ่-พงษ์พันธ์ เพชรทอง , ฆ้องวงเล็ก-ศักดิ์ชัย ( น้อย )ลัดดาอ่อน , ตะโพน-ปิยะ แสวงทรัพย์ , กลอง-ชัยพฤกษ์ สิทธิ , ฉิ่ง-อัญธิษฐา บุญเพ็ง , โหม่ง-จารุวรรณ ( เป้า )ประถมปัทมะ
ขับร้อง ( ชาย ) - กำจรเดช ( เปียก ) สดแสงจันทร์ , รณชัย ผาสุขกิจ , ประจักษ์ อยู่เจริญ ขับร้อง ( หญิง )- ศิริญาณี ( แมว ) กิ่มเปี่ยม , กานต์สิณี ( เปิ้ล ) สังเวียนทอง , สุภางค์พักตร์ ( เป้า ) แก้วกระหนก , ภมรรัตน์ ( ผึ้ง ) โพธิสัตย์ , วันเพ็ญ ( แก้ว ) จิตตรง

ทีปรึกษาด้านขับร้อง-ดนตรี-จิรัส อาจณรงค์ศิลปินแห่งชาติ , ศิลปี ตราโมท , เผชิญ ( แชน) กองโชค , กัญญา โรหิตาจล , ดวงเนตร (น้อย) ดุริยพันธ์ , บุญช่วย แสงอนันต์

กำกับการแสดง-ประสิทธิ์ คมภักดี ,ช่วยกำกับการแสดง-สุรเดช เผ่าช่างทอง , นงลักษณ์เทพหัสดิน ฯ , สมรักษ์ (อ๋อย) นาคปลื้ม , ไกรเศรษฐ์สังขะเกตุ

อำนวยการฝึกซ้อม-ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ (เทอด) โพธิเวสศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก )พวงประยงค์ , พงษ์พิศ (แตม) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์

ช่วยอำนวยการฝึก ฯ-สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู

ประสานงานการแสดง-สลักใจ( น้อยหน่า) เปลี่ยนไพโรจน์ , ช่วยประสานงานการแสดง-สุวรรณี สุเสวี
บอกบท- สุกัญญา โชติทัตต์ , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี

ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต-การุณ สุทธิภูล

หัวหน้ากลุ่มพัสตราภรณ์และเครื่องโรง-อรพินธุ์ อิศรางกูร ฯ ,หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์-วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ ,หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย-สมชาย ทับพร , หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง-ชวลิต ( อี้ด ) สุนทรานนท์ ,หัวหน้ากลุ่มจัดการแสดง-พัชรา ( แป๋ง ) บัวทอง
หัวหน้ากลุ่มโรงละครแห่งชาติ -ยงยุทธ ไหวพริบ ,โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ , กำกับเวที- ชวิน สุเสวี ,ธุรกิจโรงละครแห่งชาติ- วัลลีย์ ( เจี๊ยบ ) อ๋องสกุล ,ฉาก-สุธี ปิวรบุตร , แสง-สามารถ สารภิรมย์ , เสียง-มนตรี สุวรรณ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี หัวหน้าโรงละครฯ-เจริญ เรืองวิชญกุล ,กำกับเวที-สุเทพ (แดง) แก้วดวงใหญ่ กำกับฉาก – สมชาย สวัสดี , แสง – วิรัตน์ คำแข็งขวา , สมบัติ แสงแก้ว , เสียง-ไพฑูรย์ ประดับค่าย , อธิพงษ์ บัวทอง
ประชาสัมพันธ์-คณวัฒน์ อยู่บัว , การะเกด บุญเหลือ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือจ.นครราชสีมา
หัวหน้าโรงละคร ฯ-นิรันดร์ ใจชนะ

ขึ้นรุปที่นี่ไม่เป็น อยากเห็นหน้าตาศิลปิน ต้องไปเปิดดูเอาที่ เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๙ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑ //www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=328&PageSetUp=9&RecordCountX=&PageSetUpX=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.179 วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:22:57:23 น.  

 
ข้อมูลเพิ่มเติมจากทางจังหวัด สมุทรสงคราม
กำหนดการพิธีเปิด “กาลหนึ่ง ณ อัมพวา นคราแห่งวัฒนธรรม”
------------------
วันพุธที่ 17 กันยายน 2551 ณ ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม

16.00 น. - พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินโดย รถยนต์ที่นั่งถึงตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
- วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาชัย
- นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
- นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ว่าที่ร้อยตรีโอภาส เศวตมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
- นายสมเกียรติ แสงวณิช นายกเทศมนตรีเมืองสมุทรสงคราม
- ร้อยโทพัชโรดม อุนสุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา
- นายสุรศักดิ์ ภิญโญภาวศุทธิ ประธานสภาเทศบาลตำบลอัมพวา
- คณะผู้จัดงานฯ แขกผู้มีเกียรติ และประชาชนเฝ้ารับเสด็จ
- เสด็จเข้าบริเวณงาน ณ พลับพลาที่ประทับ - ประทับพระเก้าอี้
- ว่าที่ร้อยตรีโอภาส เศวตมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ถวายสูจิบัตร
- นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กราบทูล รายงาน และกราบทูลเชิญเสด็จทรงเปิดงาน ทอดพระเนตรชมการแสดง และ ทอดพระเนตรนิทรรศการ (กาลหนึ่ง ณ อัทพวา นคราแห่งวัฒนธรรม)
- เสด็จไปทรงประกอบพิธีเปิดงาน (วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์)
- ประทับพระเก้าอี้
- ทอดพระเนตรการแสดงมโหรีจากมูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ และวงดนตรีลูกทุ่งจากโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย
- ทอดพระเนตรนิทรรศการ
- เสด็จฉายพระรูปร่วมกับคณะกรรมการจัดงานจำนวน 5 ชุด
- ทอดพระเนตรร้านค้าสองฝั่งคลองตลาดน้ำอัมพวา
- เสด็จไปเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ร้านกำปั่น และทอดพระเนตรการแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ
- ประทับรถยนต์ที่นั่ง
- เสด็จกลับ.

กำหนดการการแสดงบนเวที-----------

วันพุธที่ 17 กันยายน 2551

เวลา 20.30. – 21.00 การแสดงกลองยาวหัวโต
เวลา 21.00 – 22.00 การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551

เวลา 15.00 – 17.00 การแสดงวัฒนธรรมของชุมชน จำนวน 4 ชุด
เวลา 17.00 – 18.00 การประกวดร้องเพลง “สาวอัมพวา” ของสุนทราภรณ์ระดับประถม
เวลา 18.00 – 18.10 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 18.10 – 18.20 การแสดงกลองยาวหัวโต
เวลา 18.20 – 18.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 18.30 – 19.30 การแสดงจากรร.อัมพวันวิทยาลัย
เวลา 19.30 –19.40 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 19.40 – 20.20 การแสดงตลกของสมาคมตลกแห่งประเทศไทย
เวลา 20.20 – 20.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 20.30 – 22.00 การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งชื่อดัง สุนารี ราชสีมา

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2551

เวลา 15.00 – 17.00 การแสดงวัฒนธรรมของชุมชน จำนวน 4 ชุด
เวลา 17.00 – 18.00 การประกวดร้องเพลง “สาวอัมพวา” ของสุนทราภรณ์ระดับมัธยม
เวลา 18.00 – 18.10 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 18.10 – 18.20 การแสดงกลองยาวหัวโต
เวลา 18.20 – 18.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 18.30 – 19.30 การแสดงจากรร.อัมพวันวิทยาลัย
เวลา 19.30 –19.40 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 19.40 – 20.20 การแสดงร่วมสมัยจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
เวลา 20.20 – 20.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 20.30 – 22.00 การแสดงดนตรีไทยวงมโหรีปี่พาทย์วงใหญ่ประชันวงครูเพลง

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551

เวลา 15.00 – 17.00 การแสดงวัฒนธรรมของชุมชน จำนวน 4 ชุด
เวลา 17.00 – 18.00 การประกวดร้องเพลง “สาวอัมพวา” ของสุนทราภรณ์ระดับอุดมศึกษา
เวลา 18.00 – 18.10 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
-2-
เวลา 18.10 – 18.20 การแสดงกลองยาวหัวโต
เวลา 18.20 – 18.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 18.30 – 19.30 การแสดงจากรร.อัมพวันวิทยาลัย
เวลา 19.30 –19.40 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 19.40 – 20.20 การแสดงหุ่นละครเล็กโจหลุยส์เธียร์เตอร์
เวลา 20.20 – 20.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 20.30 – 22.00 การแสดงวงดนตรีสุนทราภรณ์

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2551

เวลา 15.00 – 17.00 การแสดงวัฒนธรรมของชุมชน จำนวน 4 ชุด
เวลา 17.00 – 18.00 การประกวดร้องเพลง “สาวอัมพวา” ของสุนทราภรณ์ระดับผู้สูงอายุ
เวลา 18.00 – 18.10 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 18.10 – 18.20 การแสดงกลองยาวหัวโต
เวลา 18.20 – 18.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 18.30 – 19.30 การแสดงจากรร.อัมพวันวิทยาลัย
เวลา 19.30 –19.40 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 19.40 – 20.20 การแสดงจากกรมศิลปากร
เวลา 20.20 – 20.30 พิธีกรประชาสัมพันธ์งาน และนำเข้าการแสดง
เวลา 20.30 – 22.00 การแสดงดนตรีลูกทุ่งชื่อดัง เสรี รุ่งสว่าง

-----------------

กิจกรรมลำคลอง

วันจันทร์ที่ 15 และวันอังคารที่ 16 กันยายน 2551

-จัดกิจกรรมทำความสะอาดคลองอัมพวา โดยขอความร่วมมือจากชาวชุมชน
อัมพวา และหน่วยงานในภาครัฐและเอกชน (ท้องถิ่นจังหวัด)

วันพุธที่ 17 กันยายน 2551

19.00 น. – 20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551

16.00 น.-17.00 น. ถวายสังฆทานทางน้ำ
17.00 น.-18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ
18.00 น.-19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ
19.00 น.-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2551

16.00 น. -17.00 น. ถวายสังฆทานทางน้ำ
17.00 น. -18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ
18.00 น. - 19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ
19.00 น. - 20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียง ยามค่ำ

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551

8.00 น. - 9.00 น. ทำบุญตักบาตรทางน้ำบริเวณริมคลองอัมพวา
16.00 น. -17.00 น. ถวายสังฆทานทางน้ำ
17.00 น.-18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ
18.00 น.-19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ
19.00 น.-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2551

08.00 น.- 9.00 น. ทำบุญตักบาตรทางน้ำบริเวณริมคลองอัมพวา
16.00 น.-17.00 น. ถวายสังฆทานทางน้ำ
17.00 น.-18.00 น. การแสดงขบวนแห่ขันหมากทางน้ำ
18.00 น.-19.00 น. การแสดงขบวนแห่เพลงเรือ
19.00 น.-20.00 น. การแสดงขบวนแห่วัฒนธรรมลำน้ำประกอบแสงเสียงยามค่ำ
------------------------


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.77 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:13:09:50 น.  

 
//media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=23630

รัฐบาลเตรียมความพร้อมงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ (15/9/2008)

พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพไทย อาคารกองบัญชาการกองทัพไทย ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 2/2551 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังการประชุมรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ที่ประชุมรับทราบกำหนดการยกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุ ตามที่ฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ได้คำนวณฤกษ์ศุภมงคลการพิธียกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุ ดังนี้
ฤกษ์เอก ในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 16.59 น. เป็นปฐมฤกษ์ ไปจนถึงเวลา 17. 29 น. เป็นที่สุดแห่งฤกษ์
ฤกษ์โท ในวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2551 เวลา 16. 29 เป็นปฐมฤกษ์ ไปจนถึงเวลา 17 .59 น.
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกสัปตปฎลเศวตฉัตรยอดพระเมรุด้วยแล้ว ส่วนจะเป็นวันและเวลาใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

พร้อมกันนี้ที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ อาทิ คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ และบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและยานมาศ ได้ดำเนินการสิ่งก่อสร้างตามขั้นตอนแล้วทั้ง 12 ขั้นตอนที่กำหนด เช่น การออกแบบ เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม การเขียนแบบลวดลายและส่วนประกอบพระเมรุ การอนุรักษ์และซ่อมราชรถและพระยานมาศ การก่อสร้างพระเมรุ การออกแบบและจัดสร้างพระโกศจันทน์ รวมทั้งการออกแบบและเขียนฉากบังเพลิง เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้เกือบร้อยละ 100 แล้ว

คณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ได้ดำเนินการจัดขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ จำนวน 6 ริ้วขบวน รวม 4 วัน ดังนี้

วันพระราชทานเพลิงพระศพฯ (วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551) จัด 3 ริ้วขบวน โดย
ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคาม จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระมหาพิชัยราชรถหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ถนนมหาราช ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย
ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามไปยังพระเมรุ เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถนนสนามไชย ถนนราชดำเนินใน เข้าถนนกลางท้องสนามหลวง
ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศโดยพระยานมาศสามลำคานเวียนพระเมรุ โดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษฐานบนพระเมรุ

วันเก็บพระอัฐิ (วันที่ 16 พฤศจิกายน 2551) จัด 1 ริ้วขบวน คือ
ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และเชิญพระสรีรางคารโดยพระวอสีวิกากาญจน์ เส้นทางจากถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรม- มหาราชวัง

วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน (วันที่ 18 พฤศจิกายน) จัด 1 ริ้วขบวน คือ
ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน เส้นทางจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันบรรจุพระสรีรางคาร (วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551) จัด 1 ริ้วขบวน คือ
ริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปบรรจุ ณ อนุสรณ์สถานรังสีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เส้นทางจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกประตูวิเศษไชยศรี ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนอัษฎางค์ และ ถนนราชบพิธ

ทั้งนี้ จะได้มีการฝึกซ้อมขบวนพระอิสริยยศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ในพื้นที่จริง ดังนี้

ในวันที่ 12 ตุลาคม 2551 เป็นการซ้อมริ้วขบวนที่ 1 - 3
ในวันที่ 19 ตุลาคม 2551 เป็นการซ้อมริ้วขบวนที่ 1 - 6
และในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เป็นการซ้อมใหญ่เสมือนจริง

สำหรับการเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ นั้น ได้มีการดำเนินการภายในเขตรั้วราชวัติมณฑลพระราชพิธีฯ ท้องสนามหลวง ด้วยการจัดสร้างอาคารสำหรับเป็นที่นั่งเฝ้าฯ ได้จำนวนประมาณ 3,194 ที่นั่ง ประกอบด้วย พระที่นั่งทรงธรรม 1 อาคาร ศาลาลูกขุน 7 อาคาร ทับเกษตร 4 อาคาร และทิม 2 อาคาร

ซึ่งเห็นสมควรมีการเรียนเชิญผู้ไปร่วมเฝ้าฯ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 โดยมีการออกบัตรเรียนเชิญไปร่วมเฝ้าฯ ใน 3 เวลา คือ เวลา 07.00 น. (การเชิญพระโกศออกพระเมรุ) เวลา 16.30 น. (พระราชทานเพลิงพระศพฯ) และ เวลา 22.00 น. (พระราชทานเพลิงพระศพฯ จริง) ซึ่งในแต่ละเวลาจะพิจารณากลุ่มบุคคลและจำนวนผู้ที่จะเรียนเชิญตามความเหมาะสม

สำหรับการจัดถวายดอกไม้จันทน์ของภาคประชาชนมีการดำเนินงาน 3 ลักษณะ คือ
1) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามซุ้มรับดอกไม้จันทน์จำนวน 8 ซุ้ม บริเวณท้องสนามหลวง
2) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร
3) การจัดถวายดอกไม้จันทน์ตามวัดต่างๆ ในส่วนภูมิภาค

ส่วนการจัดแสดงมหรสพสมโภชงานออกพระเมรุ กำหนดจัดแสดง 3 เวที บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ เริ่มการแสดงตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันรุ่งขึ้นของวันที่ 16 พฤศจิกายน 2551 ดังนี้
เวทีที่ 1 (ตั้งอยู่กลางท้องสนามหลวง) มีการแสดงหนังใหญ่และโขนเรื่องรามเกียรติ์
เวทีที่ 2 (ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีการแสดงวงดุริยางค์เยาวชน T.Y.O. (THAILAND YOUTH SYMPHONY ORCHESTRA) วงซิมโฟนีออร์เคสตร้าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร NSO (NATIONAL SYPHONY ORCHESTRA) และวงดุริยางค์ผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร
เวทีที่ 3 (ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามศาลฎีกา) มีการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณี หุ่นละครเล็กเรื่องกำเนิดพระคเณศร์ ของคณะโจหลุยส์ และละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์เสี่ยงว่าว - กุมภณฑ์ถวายม้า

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงานการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ การจัดตั้งศูนย์สื่อมวลชน ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อบริการแก่สื่อมวลชน ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ ช่างภาพ นักข่าว นิตยสาร ที่ต้องการได้รับข้อมูล ความเคลื่อนไหวของการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ซึ่งจะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 12 – 25 พฤศจิกายน 2551

การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดโทรทัศน์ ณ ห้องออกผลรางวัล สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการบูรณาการการทำงานระหว่างโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ 3 5 7 โมเดิร์นไนน์ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ THAI TV GLOBAL NETWORK ซึ่งจะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 12 – 20 พฤศจิกายน 2551

การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ณ มณฑลพระราชพิธี ระหว่างวันที่ 18 – 30 พฤศจิกายน 2551

คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก ได้ดำเนินการโดยมอบหมาย 5 หน่วยงาน คือ สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จัดทำหนังสือที่ระลึกและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 รายการ คือ

1) ดีวีดีสารคดีพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

2) พระปิยโสทรเชษฐภคนี : ร้อยกรองน้อมสำนึกพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

3) จดหมายเหตุประชาชน : ข่าวสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์จากหนังสือพิมพ์

4) เครื่องประกอบพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

5) จดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกรมศิลปากร

6) พระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฉบับอักษรเบรลล์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

7) แผ่นพับพระประวัติ พระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

หนังสือพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักราชเลขาธิการ และ

9) ศิลปกรรมพระประวัติและพระกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งหนังสือที่ระลึกและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนี้จะได้แจกให้ผู้ร่วมเฝ้าฯ โดยแจกเป็นบัตร รับหนังสือ
-----------------------------------------------
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

วิไลวรรณ/รายงาน


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.166 วันที่: 18 กันยายน 2551 เวลา:0:34:35 น.  

 
อาศรมสยาม – จีนวิทยา

จัดบรรยาย *งิ้วแต้จิ๋วประชันงิ้วปักกิ่ง* โดย ผศ.ถาวร สิกขโกศล

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2551 เวลา 14.30 - 16.30 น.

ณ ห้อง 1111A ชั้น 11 อาคารซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม

*ไม่เสียค่าใช้จ่าย*




โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.120 27 สิงหาคม 2551 21:10:49 น.


อันที่จริง ตั้งใจจะไปงานนี้ค่ะ แต่อด ไม่ทราบว่า มีผล การบรรยายพอให้ได้ติดตามที่ไหนบ้างไหมคะ เพื่อเป็นข้อมูลข่าวสารให้สมาชิก//www.ngiew.com อ่ะค่ะ รบกวนด้วยนะคะ





โดย: ตัวหม่อน IP: 58.9.228.164 วันที่: 18 กันยายน 2551 เวลา:14:20:22 น.  

 
คุณตัวหม่อนได้คำตอบจาก//www.quikpal.com/th/furum/0808162
เตรียมเปิดทดลองใช้เว็บโฉมใหม่ 29 ก.ย. (เลื่อน)
เตรียมเปิดทดลองใช้เว็บโฉมใหม่ 29 ก.ย. (เลื่อน)
เชิญพบกับควิกพอลโฉมใหม่ ฉบับทดลอง 29 ก.ย.นี้
(ขออภัยด้วยครับ ข้อมูลเยอะมาก)
ส่วน 29 ส.ค. การสัมมนาอาศรมสยามฯ
"งิ้วปักกิ่ง ปะทะ งิ้วแต้จิ๋ว"
โดย อ.ถาวร สิกขะโกศล
เวลา 14.30 - 16.30
เนื่องจากระบบที่ซีพีทาวเวอร์ไม่อำนวย เราจะขอนำเสนอเป็นคลิปวิดีโอในภายหลังแทนนะครับ
ถ้าควิกพอล สอนภาษาจีนฟรี + ถาม-ตอบเรื่องจีนสดๆทุกวัน สนใจไหม ››
...............................................................

ก่อนหน้านี้เคยเปิดเวบงิ้วของคุณเหมือนกัน ชอบมาก
เสียดายที่ไม่รู้ภาษาจีน และอ่อนด้อยในความรู้เกี่ยวกับจีน เลยรู้เรื่องงิ้วน้อยมาก คงามจริงงิ้วก็เป็นการแสดงคลาสสิกประจำชาติเหมือนโขนนะ สถานะภาพในสังคมปัจจุบันก็คงพอๆกัน ต้องมีคนช่วยกันประคับประคองไว้ ไม่ให้เสือมสูญหรือสลายไปกับโลกาภิวัฒน์ทุนนิยม และเพื่อจรรโลงความงดงามในสุนทรียภาพไว้ในจิตใจผู้คน ผดุงความอ่อนโยนไว้ในจิตสำนึกของผู้คนและในสังคม โดยมีศิลปการแสดงเป็นเครื่องมือ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.133 วันที่: 23 กันยายน 2551 เวลา:12:04:31 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการศรีสุขนาฏกรรมปีที่ ๓๐ ครั้งที่ ๖
วันศุกร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น

รายการแสดง
๑.ละครชาตรี เรื่องมโนห์รา ตอน “พระสุธนจากนางมโนราห์”
๒.ละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอน “สุดสาครจากแม่เงือก”
๓.ละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน “นางวันทองจากขุนช้าง”
๔.ละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอน “สมิงพระรามจากพลายประกายมาศ”
๕.การแสดงสักวาออกตัว เรื่องกากี ตอน”จำใจจาก”

กำกับการแสดง และ นำแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

ร่วมด้วย เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , สมเจตน์ ภู่นา , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ร่วมด้วย ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ และ ศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร อีกมากมาย

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( อาคารด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙

เวบบอร์ดกรมศิลปากร //www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?
ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า๙ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑
รายนามผู้แสดง
๑.ละครชาตรี เรื่องมโนห์รา ตอน “พระสุธนจากนางมโนราห์”
พระสุธน - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
มโนห์รา - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา

๒.ละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอน “สุดสาครจากแม่เงือก”
นางเงือก - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
สุดสาคร - เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์
ระบำเงือก - รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , พรทิพย์ ทองคำ , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

๓.ละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน “นางวันทองจากขุนช้าง”
ขุนแผน - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
วันทอง - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
ขุนช้าง - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด

๔.ละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอน “สมิงพระรามจากพลายประกายมาศ”

ฝ่ายมอญ
พระเจ้าราชาธิราช - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
พระยาเกียรราชบุตร - พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
สมิงพระราม - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
อำมาตย์มอญ - ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
คนธงมอญ - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
พลายประกายมาศ - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ทหารมอญ -กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง

ฝ่ายพม่า
มังรายกะยอชวา - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
คนธงพม่า - วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
ช้างทรง - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
ทหารพม่า - กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , พรเลิศ ( เอ็กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ

๕.การแสดงสักวาออกตัว เรื่องกากี ตอน”จำใจจาก”
ท้าวพรหมทัต - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
กากี - สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
คนธรรพ์ - สมเจตน์ ภู่นา
พญาครุฑ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
คนบอกสักวา - ถนอม นวลอนันต์ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

กำกับการแสดง ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง ตวงฤดี ถาพรพาสี ( เรื่องที่ ๒, ๓ ) นงลักษณ์ เทพหัสดิน ( เรื่องที่ ๑ ) สุรเดช เผ่าช่างทอง ( เรื่องที่ ๑, ๔ ) ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ ( เรื่องที่ ๔,๕ )
อำนวยการฝึกซ้อม-ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - ประสิทธิ์ คมภักดี
บอกบท – วนิตา ( นก ) กรินชัย , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา
ประสานงานการแสดง - สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี, ช่วยประสานงานการแสดง-พุทธิยา ( ตู่ ) พลับกระสงค์


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.133 วันที่: 23 กันยายน 2551 เวลา:12:08:54 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ
วันเสาร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น
รายการแสดง
๑.การบรรเลงขับร้อง-ถวายพระพร โดยวงดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
๒.รำฉุยฉายมังตรา
๓.รำเชิญแม่ศรี
๔.รำฉุยฉายบุเรงนอง
๕.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๑ )
๖.ระบำชักเย่อ
๗.รำบายศรีสู่ขวัญ
๘.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๒ )
ออกแบบรายการโดย สมชาย ทับพร
ผู้แสดง/ขับร้อง - ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ , สมชาย ทับพร , ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , สมเจตน์ ภู่นา , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์, พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ ร่วมด้วย ศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร อีกมากมาย

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( อาคารด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙
เวบบอร์ดกรมศิลปากร //www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?
ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า๙ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑

ผู้ปฏิบัติงาน
๑.การบรรเลงขับร้อง-ถวายพระพร โดยวงดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
๒.รำฉุยฉายมังตรา – ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ
๓.รำเชิญแม่ศรี –แม่ศรี - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
ผู้รำเชิญแม่ศรี - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พรทิพย์ ทองคำ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
ชาวบ้าน-เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , พุทธิยา ( ตู่ ) พลับกระสงค์ , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , สุรเดช เผ่าช่างทอง , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
๔.รำฉุยฉายบุเรงนอง - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
๕.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๑ )
๕.๑ เพลงลาวเจริญศรี - ไสยศ-สมเจตน์ ภู่นา , อั้วสิม - ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
๕.๒ เพลงแขกฮินดู กามนิต - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , วาสิษฐี - กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม
๕.๓ เพลงฝรั่งกรีน โรมิโอ- ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , จูเลียต - ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ
๖.ระบำชักเย่อ - หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , พรทิพย์ ทองคำ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา
๗.รำบายศรีสู่ขวัญ - อุษา แดงวิจิตร , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , วนิตา ( นก ) กรินชัย , พรทิพย์ ทองคำ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ฯ
ผู้แห่บายศรี - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
๘.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๒ )
๘.๑ รถเสน- ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , เมรี - เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
๘.๒ สมิงพระราม - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , พระราชธิดา - นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา
๘.๓ จะเด็ด - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , จันทรา - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
๘.๔ มังตรา - ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ , นันทวดี - วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ
๘.๕ เพลงจำลา อาลัย สมชาย ทับพร
กำกับการแสดง - ธานิต ศาลากิจ
ช่วยกำกับการแสดง อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ , ตวงฤดี ถาพรพาสี , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
อำนวยการฝึกซ้อม-ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ศิลปินแห่งชาติ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา ,
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
บอกบท – ตวงฤดี ถาพรพาสี , ธนันดา มณีฉาย
ประสานงานการแสดง-สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์ , ช่วยประสานงานการแสดง-สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.133 วันที่: 23 กันยายน 2551 เวลา:12:13:40 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ
วันเสาร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น
รายการแสดง
๑.การบรรเลงขับร้อง-ถวายพระพร โดยวงดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
๒.รำฉุยฉายมังตรา
๓.รำเชิญแม่ศรี
๔.รำฉุยฉายบุเรงนอง
๕.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๑ )
๖.ระบำชักเย่อ
๗.รำบายศรีสู่ขวัญ
๘.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๒ )
ออกแบบรายการโดย สมชาย ทับพร
ผู้แสดง/ขับร้อง - ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ , สมชาย ทับพร , ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , สมเจตน์ ภู่นา , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์, พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ ร่วมด้วย ศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร อีกมากมาย

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( อาคารด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙
เวบบอร์ดกรมศิลปากร //www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?
ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า๙ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑

ผู้ปฏิบัติงาน
๑.การบรรเลงขับร้อง-ถวายพระพร โดยวงดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
๒.รำฉุยฉายมังตรา – ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ
๓.รำเชิญแม่ศรี –แม่ศรี - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
ผู้รำเชิญแม่ศรี - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พรทิพย์ ทองคำ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
ชาวบ้าน-เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , พุทธิยา ( ตู่ ) พลับกระสงค์ , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , สุรเดช เผ่าช่างทอง , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
๔.รำฉุยฉายบุเรงนอง - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
๕.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๑ )
๕.๑ เพลงลาวเจริญศรี - ไสยศ-สมเจตน์ ภู่นา , อั้วสิม - ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
๕.๒ เพลงแขกฮินดู กามนิต - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , วาสิษฐี - กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม
๕.๓ เพลงฝรั่งกรีน โรมิโอ- ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , จูเลียต - ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ
๖.ระบำชักเย่อ - หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , พรทิพย์ ทองคำ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา
๗.รำบายศรีสู่ขวัญ - อุษา แดงวิจิตร , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , วนิตา ( นก ) กรินชัย , พรทิพย์ ทองคำ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ฯ
ผู้แห่บายศรี - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
๘.การบรรเลง ขับร้อง เพลงในอมตะละคร ( ช่วงที่ ๒ )
๘.๑ รถเสน- ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , เมรี - เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
๘.๒ สมิงพระราม - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , พระราชธิดา - นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา
๘.๓ จะเด็ด - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , จันทรา - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
๘.๔ มังตรา - ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ , นันทวดี - วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ
๘.๕ เพลงจำลา อาลัย สมชาย ทับพร
กำกับการแสดง - ธานิต ศาลากิจ
ช่วยกำกับการแสดง อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ , ตวงฤดี ถาพรพาสี , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
อำนวยการฝึกซ้อม-ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ศิลปินแห่งชาติ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา ,
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
บอกบท – ตวงฤดี ถาพรพาสี , ธนันดา มณีฉาย
ประสานงานการแสดง-สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์ , ช่วยประสานงานการแสดง-สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.133 วันที่: 23 กันยายน 2551 เวลา:12:13:41 น.  

 
อาศรมสยาม-จีนวิทยา

จัดบรรยายหัวข้อ “ไซฮั่น ประวัติศาสตร์มุขปาถะวรรณกรรม”
โดย ดร.กนกพร นุ่มทอง
วันศุกร์ที่ 26 กันยายน 2551 เวลา 14 – 16 น.
ณ ห้อง 301 อาคารศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.02-677-1008-9


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.215 วันที่: 24 กันยายน 2551 เวลา:22:11:16 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการศรีสุขนาฏกรรมปีที่ ๓๐ ครั้งที่ ๗
วันศุกร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( อาคารด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙

เวบบอร์ดกรมศิลปากร หน้า๘ ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑ //www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000942&ID_Room=00000007&RecordCount=308&PageSetUp=8&Keyword=

๑.รำอาศิรวาทราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( แต่งกายชุดนางในสีชมพู )
เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา
มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ฯ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

๒.การแสดงละครชาตรี เรื่อง มโนห์รา ตอน”พระสุธนเลือกคู่”
ท้าวทุมราช - ประสิทธิ์ คมภักดี
มเหสี - ธนันดา มณีฉาย
พระสุธน - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
มโนห์รา - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
นางกำนัล - เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์
พระพี่นาง- อุษา แดงวิจิตร ช่อแก้ว , ลัดดาอ่อน , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , พรทิพย์ ทองคำ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา

๓.การแสดงละครพูดสลับลำ เรื่อง เงาะป่า ตอน “สื่อรัก”
ซมพลา- สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
ลำหับ - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
ไม้ไผ่ - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
คนัง - เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
ระบำจีนรำพัด - นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , วนิตา ( นก ) กรินชัย
ระบำผีเสื้อ - น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

๔.การแสดงละครพันทางเรื่องราชาธิราช ตอนดูตัวสมิงนครอินทร์
พระเจ้าอังวะ - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
สมิงนครอินทร์ - สมเจตน์ ภู่นา
อำมาตย์พม่า สุรเดช เผ่าช่างทอง , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม ,กริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
ทหารพม่า วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์, เอกสิทธิ์ เนตรานนท์

๕.ละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน “ ชีเปลือยเจ้าเล่ห์ - ฤษีสอนสุดสาคร”
ฤษี - ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม
สุดสาคร - จรัญ พูลลาภ
ม้ามังกร - เลียว คงกำเหนิด
ชีเปลือย - ถนอม นวลอนันต์

กำกับการแสดง – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง – ตวงฤดี ถาพรพาสี ( เรื่อง ๑ , ๒ ), นงลักษณ์ เทพหัสดิน ฯ ( เรื่อง ๒ ,๔ ) , ธนันดา มณีฉาย ( เรื่อง ๑ , ๓ )
อำนวยการฝึกซ้อม - ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ
จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – ธานิต ศาลากิจ
บอกบท – อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
ประสานงานการแสดง – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง – สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.84 วันที่: 29 กันยายน 2551 เวลา:12:51:54 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการศรีสุขนาฏกรรมปีที่ ๓๐ ครั้งที่ ๘
วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( อาคารด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙

จากเวบบอร์ดกรมศิลปากร //www.finearts.go.th/th/board/index.php
ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๘ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑
๑.รำอาศิรวาทสดุดี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( แต่งชุดนางใน )
เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

๒.รำเบิกโรงตรีมูรติ
พระพรหม - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
พระอิศวร - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระนารายณ์ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
ผู้พากษ์และเจรจา - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน

๓.การแสดงละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์ ตอน นางสุวิญชาจำปาทอง
พระฤษีโคดม - ประสิทธิ์ คมภักดี
พระอภัยนุราช - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
นางจำปาทอง - นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา
นางวิฬาร์ ( นางแมว ) - รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
ท้าวสิงหล ( ยักษ์เปิดหน้า ) - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
นนทยักษ์ ( ยักษ์ปิดหน้า ) - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
ลิงดำ - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
อำมาตย์อภัยนุราช - ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , เลียว คงกำเหนิด , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
เสนาไทย -ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
เสนายักษ์ - เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง

๔.ละครพันทางเรื่อง พญาผานอง ตอน “พระวรูณอุทกราชประสาทฝน”
พระวรุณ - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
นางพญาคำปิน - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
คำยวง - สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ระบำชาวนา -พงษ์ศักดิ์ บุญล้น - น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม - ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ - วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , พรเลิศ ( เอ็กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง - พรทิพย์ ทองคำ , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา - น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก - ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น - เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ฯ , วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร - จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

๕.การแสดงละครพันทางเรื่อง พระลอ ตอน พระลอลงสวน
พระลอ - สมเจตน์ ภู่นา
นายแก้ว - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
นายขวัญ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
มัคคุเทศก์ - หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
ตา - ถนอม นวลอนันต์
ยาย - ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ

กำกับการแสดง – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง – ธานิต ศาลากิจ ( เรื่อง ๑,๓,๔ ) , ตวงฤดี ถาพรพาสี ( เรื่อง ๑,๓,๔ ) , นงลักษณ์ เทพหัสดิน ฯ ( เรื่อง ๔ , ๕ ) , สุรเดช เผ่าช่างทอง ( เรื่อง ๓,๔ )
อำนวยการฝึกซ้อม - ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู
บอกบท – วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , วนิตา ( นก ) กรินชัย
ประสานงานการแสดง – ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ
ช่วยประสานงานการแสดง – สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.84 วันที่: 29 กันยายน 2551 เวลา:12:56:52 น.  

 
ย้อนรอย คีตังค์ ‘วังพญาไท’ ฟรี
ชมรมคนรักวัง คณะศิษย์คุณครูนิภา อภัยวงศ์ และโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ร่วมจัดงาน ย้อนรอยคีตังค์ ‘วังพญาไท’ เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๖ พระผู้ทรงอเนกคุณทางดนตรีและนาฏการไทย

ภายในงานพบกับนิทรรศการ การแสดงวงมโหรี วงเครื่องสายผสมเปียโนและจะเข้หมู่ทางคุณครูนิภา อภัยวงศ์
จึงขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๓๐ น.

ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ //www.bsru.ac.th/~manage/eventmusic.html

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
๑๐๖๑ ซ.อิสรภาพ ๑๕ หิรัญรูจี ธนบุรี กทม. ๑๐๖๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๘๙๐-๒๐๐๐ ต่อ ๑๒๖ โทรสาร ๐-๒๘๙๐-๒๐๖๘


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.84 วันที่: 29 กันยายน 2551 เวลา:13:02:54 น.  

 
เทศกาลละครกรุงเทพ 2551

ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา เทศกาลละครกรุงเทพ ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ ในฐานะกระบวนการทางศิลปวัฒนธรรมที่ยกระดับจิตใจมนุษย์ ผ่านการชมละครที่สะท้อนมุมมองของมนุษย์คนหนึ่งกับมนุษย์อีกคนหนึ่ง และทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัว

ปี พ.ศ. 2551 นี้ เทศกาลละครกรุงเทพ ได้เข้าสู่ปีที่ 7 ในชื่อว่าTheatre Sparks Life: ละครจุดประกายชีวิตจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2551 ณ เวทีต่างๆรอบสวนสันติชัยปราการ ทั้ง 5 เวที อันประกอบไปด้วย เวทีจุดประกาย เวทีลองเลยทำเลย เวทีโรงละครโรงเล็ก ลานละครเร่ และเวทีกลาง ที่จะจัดแสดงผลงานสุดยอดประจำเทศกาล รวมไปถึงร้านค้าและสถาบันต่างๆในชุมชนบางลำพู นอกจากนี้ยังมีละครเวทีคุณภาพที่คัดสรรแล้ว 7 งาน ซึ่งมีผลงานของศิลปินศิลปาธร ในสาขาศิลปะการแสดง ทั้ง 5 คน ประดิษฐ ประสาททอง (2547) มานพ มีจำรัส (2548) พิเชษฐ์ กลั่นชื่น (2549) นิมิตร พิพิธกุล (2550) และสินีนาฏ เกษประไพ (2551) รวมอยู่ด้วย ณ โรงภาพยนตร์ลิโด้ นอกจากนี้ยังมีละครเรื่องเยี่ยมตามโรงละครโรงเล็กจากกลุ่มละครอาชีพ ที่กระจายตัวอยู่รอบกรุงเทพ

ละครที่เล่นตลอดเทศกาลนั้นหลากหลาย ตั้งแต่ละครพูด ละครเพลง ละครใบ้ ละครแนวเพอร์ฟอร์แมนซ์ ศิลปะพื้นบ้าน ละครเด็กและเยาวชน รวมแล้วกว่า 100 ผลงาน จากกว่า 50 กลุ่มละคร ที่พร้อมใจกันสร้างสรรค์ละครคุณภาพเพื่อผู้ชมท่ามกลางความผันผวนทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ตลอดปี 2551 ละครขอเป็นช่องทางหนึ่งที่ “จุดประกายชีวิต” เพื่อขัดเกลาและจรรโลงจิตใจผู้ชม ให้เฝ้ามองวิกฤตการณ์ในชีวิตอย่างเท่าทัน และยิ้มรับมันได้ ดังเช่นบทความของประดิษฐ ประสาททอง ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2548 จากกลุ่มละครมะขามป้อม ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญของเทศกาลนี้ในฐานะประธานกรรมการเครือข่ายละครกรุงเทพ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.bangkoktheatrefestival.com
อีเมล : bkktheatrefest@gmail.com และโทรศัพท์ 086-3350344

Volunteer
เครือข่ายละครกรุงเทพฯ ชวนคุณมาร่วมจุดประกายชีวิตกับเรา
ในเทศกาลละครกรุงเทพฯ 2551

เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเทศกาลละครกรุงเทพฯ และร่วมเป็นหนึ่งใน “ผู้จุดประกายชีวิต” ด้วยการร่วมกันสร้างสรรค์เทศกาลละครกับเรา เครือข่ายละครกรุงเทพฯ จึงเปิดรับอาสาสมัครปฏิบัติงานในเทศกาลละครกรุงเทพฯ 2551

ไม่ว่าคุณจะมีความสามารถด้านไหนหรืออยากทำหน้าที่อะไรในเทศกาลละครกรุงเทพฯ เรายินดีที่จะให้คุณมาร่วมจุดประกายชีวิตกับเราเสมอ

คุณสมบัติผู้สมัคร
1. อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป (สำหรับผู้สมัครอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร)
2. มีความรับผิดชอบ มนุษยสัมพันธ์ดีและสามารถปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะได้
3. ระหว่างปฏิบัติงาน มีที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ระยะเวลาและรายะเอียดในการปฏิบัติงาน
• ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม ถึง 9 พฤศจิกายน 2551
งานแถลงข่าวงานเทศกาลฯและกิจกรรม Bangkok Roadshow 2008
 อาสาสมัครมีหน้าที่ดูแล ประสานงานนักแสดงจากกลุ่มละครต่างๆ ที่จะแสดงผลงานย่อยๆ ตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร
 ควบคุมพื้นที่ในการจัดงานตามจุดต่างๆ
 ร่วมประชาสัมพันธ์ แจกเอกสารและให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเทศกาลละครกรุงเทพฯ
• ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน – 14 ธันวาคม 2551
เทศกาลละครกรุงเทพฯ 2551
 อาสาสมัครมีหน้าที่ดูแล ประสานงานนักแสดงและอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ตามโรงละครและสถานที่จัดการแสดงที่ได้รับมอบหมาย
 ควบคุม นับจำนวน และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ชมละครในเทศกาลละครกรุงเทพฯ
 จำหน่ายบัตรหน้าโรงละครในรอบการแสดงต่างๆ
 ร่วมประชาสัมพันธ์ แจกเอกสาร แบบประเมินผล และให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับละคร โรงละคร และเทศกาลละครกรุงเทพฯ
 ดูแลและอำนวยความสะดวกผู้ปฏิบัติงานในบูธกิจกรรมของผู้ให้การสนับสนุนเทศกาลละครกรุงเทพฯ
 จัดเตรียมงานเทศกาลละครกรุงเทพฯ ในส่วนที่ได้รับมอบหมาย
 ดำเนินการด้านการประเมินผลและความคิดเห็นของผู้ชมละคร
ทั้งนี้จะมีการคัดเลือกอาสาสมัครให้ปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครตำแหน่งพิเศษ โดยพิจารณาจากความสามารถของอาสาสมัครในด้านต่างๆ เช่น มีความรู้เบื้องต้นทางศิลปะการละคร มีทักษะด้านการพูดและพิธีกร มีทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก หรือมีความสามารถด้านอื่นๆ เป็นต้น

สถานที่ปฏิบัติงาน
• ช่วงที่ 1 Bangkok Roadshow 2008
กำหนดพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ ประมาณ 10 จุด เช่น ป้อมพระสุเมรุ สวนสันติชัยปราการ ย่านบางลำพู สยามสแควร์ สีลม สาธร ราชดำริ ราชประสงค์ อารีย์ เป็นต้น
• ช่วงที่ 2 เทศกาลละครกรุงเทพฯ
ส่วนกลาง พื้นที่บริเวณสวนสันติชัยปราการและย่านบางลำพู
โรงละครและพื้นที่อื่น เช่น โรงละครหน้ากากเปลือย-พญาไท, มะขามป้อมสตูดิโอ-สะพานควาย, พระจันทร์เสี้ยงเสปซ-ทองหล่อ, ลานละครบางเพลย์-รามคำแหง, สยามแสควร์ เป็นต้น

ขั้นตอนการคัดเลือก
1. รับสมัครผ่านทาง //www.bangkoktheatrefestival.com และทางไปรษณีย์ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ถึง 30 กันยายน 2551
2. คัดเลือกผู้สมัครและประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเป็นอาสาสมัครในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ทาง //www.bangkoktheatrefestival.com
3. อบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทศกาลละครกรุงเทพฯ ในวันที่ 4 ตุลาคม 2551 (สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง)
4. อบรมความรู้เฉพาะทาง (เฉพาะฝ่าย) ในวันที่ 11 ตุลาคม 2551 (สถานที่จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง)
5. ประกาศตารางการปฏิบัติงาน สถานที่และเวลา ในวันที่ 12 ตุลาคม 2551 ทาง //www.bangkoktheatrefestival.com

เงื่อนไขในการปฏิบัติงาน
1. (ขอความร่วมมือ) อาสาสมัครมาปฏิบัติงานในเทศกาลละครกรุงเทพฯ ตามวันเวลาต่อไปนี้
• งานแถลงข่าวในวันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2551
• กิจกรรม Bangkok Road Show อย่างน้อย 8 ครั้ง ในจำนวนนี้ (เป็นวันเสาร์หรืออาทิตย์ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง)
• พิธีเปิดเทศกาลฯ ในวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2551
• ระหว่าง เทศกาล: ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ (รวม 8 วัน) และวันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00น. เป็นต้นไป) อีกอย่างน้อย 6 วัน
• พิธีปิดเทศกาลฯ ในวันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม 2551
*** หากผู้สมัครมีเหตุขัดข้องไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อกำหนดข้างต้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลยินดีรับพิจารณาการสมัครเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครและจะพิจารณาเป็นรายบุคคลตามความเหมาะสม***
2. อาสาสมัครจะต้องระบุวันและช่วงเวลาที่สามารถมาปฏิบัติงานได้ เพื่อการจัดตารางการปฏิบัติงาน
3. หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ตามที่แจ้งไว้ จะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันก่อนถึงวันปฏิบัติงานจริง
4. อาสาสมัครหากได้รับการคัดเลือกจะต้องเข้ารับการอบรมความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับเครือข่ายละครกรุงเทพฯ และเทศกาลละครกรุงเทพฯ ตลอดทั้งกิจกรรมในวันที่ 4-5 ตุลาคม 2551
5. อาสาสมัครจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งมาจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร

สิ่งที่อาสาสมัครจะได้รับ
1. ประกาศนียบัตร และ/หรือ จดหมายรับรองการเข้าร่วมปฏิบัติงานในเทศกาลละครกรุงเทพฯ 2551 จากเครือข่ายละครกรุงเทพ ทั้งนี้ เครือข่ายละครกรุงเทพฯ จะได้จัดส่งจดหมายขอบคุณไปยังคณะ/สถานศึกษาของผู้สมัครด้วย
2. เสื้อโปโลหรือเสื้อยืดคอกลม จำนวน 2 ตัว และบัตรประจำตัวอาสาสมัคร
3. สิทธิ์ในการเข้าชมละครเรื่องต่างๆ ที่จัดในเทศกาลละครกรุงเทพฯ (เฉพาะเรื่องและรอบ)
4. สวัสดิการอาหารและนำดื่มตามช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน
5. ของที่ระลึกจากผู้สนับสนุนเทศกาลละครกรุงเทพฯ
6. ประสบการณ์ และคำขอบคุณจากเรา

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ผู้จัดการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล
คุณปรเมศวร์ โคตรคันทา โทร. 08-9671-7641
หรือส่งคำถามมาที่อีเมล์ volunteer@bangkoktheatrefestival.com


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.50 วันที่: 30 กันยายน 2551 เวลา:8:31:13 น.  

 
กำหนดการงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัล “นักเขียนอมตะ” ครั้งที่ ๔ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑
ในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เริ่มเวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ ที่ทำการมูลนิธิอมตะ อาคารกรมดิษฐ์ ชั้น ๖ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

๑๔.๐๐ น. แขกผู้มีเกียรติลงทะเบียน

๑๔.๓๐ น. แถลงข่าวประกาศผลรางวัล "นักเขียนอมตะ"โดย
ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ประธานกรรมการ
อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว กรรมการ
ศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว กรรมการ
นางธารา กนกมณี กรรมการ
รศ. ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ กรรมการ
อาจารย์วัฒนะ บุญจับ กรรมการ
นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา กรรมการและเลขานุการ

๑๕.๐๐ น. ตอบคำถามสื่อมวลชน

๑๕.๓๐ น. แถลงข่าวแนะนำศิลปินและผลงานที่ได้รับรางวัลจากโครงการประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่ ๔

แถลงข่าวประกาศผลรางวัลศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ต” ครั้งที่ ๔ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑
ในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เริ่มเวลา ๑๕.๓๐ น.
ณ ที่ทำการมูลนิธิอมตะ อาคารกรมดิษฐ์ ชั้น ๖ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

๑๕.๓๐ น. แถลงข่าวแนะนำศิลปินและผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดศิลปกรรม
“อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่ ๔ (สาขาจิตรกรรม )
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่ง ธีระพิจิตร
อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร
รองศาสตราจารย์สรรณรงค์ สิงหเสนี
อาจารย์สุมาลี เอกชนนิยม

๑๖.๑๕ น. ตอบคำถามสื่อมวลชน

๑๖.๓๐ น. เสวนาในหัวข้อ “ฤาศิลป์จะสิ้นชาติ?” ศิลปินไทยต้องร่วมใจกันรักษาชาติ
อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผศ. ถาวร โกอุดมวิทย์
อาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ ประธานมูลนิธิจักรพันธ์
นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ
ดำเนินรายการโดย นายอภิสิทธิ สนจด ผู้อำนวยการหอศิลป์ตาดู

๑๗.๓๐ น. สังสรรค์ตามอัธยาศัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ๐๒- ๗๙๒๐๐๐๑ , ๐๘๖- ๙๘๘๘๐๑๑
www.amatafoundation.org
e-mail:amatart@gmail.com,
panchana@amatafoundation.org, anchana@amatafoundation.org


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.66 วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:19:53:25 น.  

 
กำหนดการบรรยายพิเศษ
เรื่อง “การส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย”เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ( ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย )
……………………….
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. ลงทะเบียน

๐๙.๓๐ – ๙.๔๕ น. ศาสตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

๐๙.๔๕ - ๑๐.๐๐ น. อ่านฉันท์สดุดีประกอบวงขับไม้บัณเฑาะว์

๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. บรรยายพิเศษเรื่อง “การส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” เนื่อง ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วิทยากรโดย : นางสาวบุหลง ศรีกนก

๑๒.๐๐ น. ปิดงาน

แบบตอบรับเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ“การส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย”เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน 2551ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ชื่อ.....................................................................นามสกุล...........................................
ตำแหน่งทางวิชาการ( ถ้ามี )...................................................................................................
ที่อยู่ที่ทำงาน......................................................................................................................
โทรศัพท์.............................................................โทรสาร...............................................................
ที่อยู่ที่บ้าน........................................................................................................
E-mail……………………………………………………………………………………...……………..
สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยาย จำนวน..................คน

กรุณาส่งแบบตอบรับเข้าร่วมฟังการบรรยาย ได้ที่
1) โทรสาร 02-226-2112
หรือ 2) ส่งทางไปรษณีย์ ได้ที่
งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา
อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200

กรุณาส่งแบบตอบรับเข้าร่วมฟังการบรรยาย ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.36 วันที่: 21 ตุลาคม 2551 เวลา:15:33:00 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการ เพื่อผู้มีดนตรีการ
วันเสาร์ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐น.

การบรรเลงวงดุริยางค์สากล
บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
“ นาฏยศิลปิน ปิ่นสยาม เทิดพระนามพระมหาธีรราชเจ้า ”

เพลงไพเราะจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
อาทิ ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ สุริยันจันทรา ศกุนตลา
ภาษิตนักรบ โยสลัม สีชัง สาส์นรัก ไทยรวมกำลัง

และการแสดงชุดพิเศษ ละครบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เรื่อง “ ปล่อยแก่”

อำนวยเพลง โดย นายสถาพร นิยมทอง
นักวิชาการละครและดนตรี ๙ ชช.ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดุริยางค์สากลสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

ขับร้องและแสดงโดยดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์
ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์ ) คณบดี คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

ร่มด้วยคีตศิลปิน กลุ่มดุริยางค์สากล - วาณ๊ จูฑังคะ ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ กนกนาถ ญาณฤทธิ์ สุรพัฒน์ ชูก้าน

และนาฏศิลปิน กลุ่มนาฏศิลป์ - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู ,
พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ
และศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อีกมากมาย

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm

รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙
เวบบอร์ดกรมศิลปากร ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี
//www.finearts.go.th/th/board/show_topic.php?ID_Room=00000007
หน้า ๙ หัวข้อ สำนักการสังคีต_รายการแสดง ๒๕๕๑


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.243 วันที่: 22 ตุลาคม 2551 เวลา:6:17:05 น.  

 
สำนักการสังคีตกรมศิลปากร ขอเชิญชมละครเรื่อง มัทนพาธา

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ถ.สามเสน กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๒ พ.ย. ๒๕๕๑ และ วันอาทิตย์ที่ ๗ ธ.ค๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ( เสาร์เดียว )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ ๒๓พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.

สุเทษณ์เทพบุตร - สมเจตน์ ภู่นา
จิตตระเสน - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
จิตตระรถ - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
มายาวิน - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
มัทนา - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
เทพบุตร - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
คนธรรพ์ - ประวิทย์ เรืองมาก , สุรินทร์ เขียวอ่อน , ศตวรรษ ( อั๋น ) พลับประสิทธิ์
อัปสร ( งานพัด ) กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

พระกาละทรรศิน- ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
โสมะทัต - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
ท้าวชัยเสน - พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
ศุภางค์ - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน
ทหารท้าวชัยเสน - ชัยยุทธ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง

ระบำชาย-หญิง - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , มรว.รัศมีอาภา ฉัตรชัย

ระบำหญิง - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , วนิตา ( นก ) กรินชัย , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , พรทิพย์ ทองคำ

กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง สุรเดช เผ่าช่างทอง คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ สุกัญญา โชติทัต อุษา แดงวิจิตร แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
อำนวยการฝึกซ้อม - ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ
เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสอาด
บอกบท - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ฯ , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
ประสานงานการแสดง - ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
ช่วยประสานงานการแสดง – สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี
หัวหน้ากล่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.117 วันที่: 22 ตุลาคม 2551 เวลา:22:02:35 น.  

 
ไม่รุ้มีข้อมูลนี้กันหนือยัง
//eng2521.chula-alumni.com/scripts/ViewAllPublicNews.asp?ID=1000
• ริ้วขบวนงานพระศพ 'พระพี่นางฯ'
Posted By (webmaster Chula-alumni,1),06/30/2008

การจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ นอกจากการก่อสร้างพระเมรุ ยังมีรายละเอียดการจัดริ้วขบวนเคลื่อนพระศพ และเครื่องแต่งกายของเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนพระศพด้วย
โดย ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ

การจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งกำหนดไว้คร่าวๆ ในเดือนพฤศจิกายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาท พร้อมทั้งมีการแต่งตั้ง "คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" เพื่อดูแลในด้านการจัดงานต่างๆ ตลอดจนการก่อสร้างพระเมรุ การซ่อมแซมพระราชยาน รวมถึงการจัดทำของที่ระลึกด้วย

สำหรับการจัดสร้างพระเมรุนั้น ใช้เวลาในการก่อสร้าง 7 เดือน โดยใช้งบประมาณ 150-200 ล้านบาท
นอกจากการก่อสร้างพระเมรุแล้ว ยังมีรายละเอียดของการจัดริ้วขบวนเคลื่อนพระศพ และเรื่องของเครื่องแต่งกายของเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนพระศพด้วย

สำหรับเรื่องของริ้วขบวนในการเคลื่อนพระศพนั้น ได้รับการบอกเล่าจาก รุ่งโรจน์ ไมตรีวงษ์ หัวหน้าฝ่ายคลังราชพัสดุพิธี สำนักพระราชวัง ว่า การจัดริ้วขบวนพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีด้วยกัน 6 ขบวน ประกอบด้วย

ริ้วขบวนที่ 1 เป็นขบวนอัญเชิญ "พระโกศลองทองใหญ่" เริ่มจากการเปลื้องพระโกศลองทองใหญ่ขึ้นพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ออกทางประตูเทวาภิรมย์ ไปที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นอันจบริ้วขบวนที่ 1

ริ้วขบวนที่ 2 เป็นริ้วขบวนพระมหาพิชัยราชรถ โดยอัญเชิญพระโกศลองทองใหญ่ จากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ไปสู่พระเมรุที่ท้องสนามหลวง

สำหรับริ้วขบวนที่ 2 นี้ เป็นริ้วขบวนที่สำคัญ สวยงาม และยาวที่สุด ใช้กำลังพลมากที่สุด เพราะจะมีพระบรมวงศานุวงศ์ประทับอยู่ด้วย โดยหัวริ้วขบวนอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม ส่วนท้ายขบวนอยู่บริเวณโรงเรียนราชินี มีวงโยธวาทิตนำหน้า ตามด้วยเหล่าทหารบกจำนวน 5 กองพัน และทหารสามเหล่าทัพปิดท้ายอีก 5 กองพัน ระหว่างริ้วขบวนประกอบด้วย กลองชนะ 200 ลูก แตรฝรั่ง แตรงอน สังข์ 52 ชิ้น ฉัตรทองแผ่ลวด เหล่านางข้าหลวง สนมฝ่ายใน และผู้ติดตาม

ริ้วขบวนที่ 3 เรียกว่าริ้วขบวนเวียนพระเมรุ คือเมื่อเคลื่อนออกจากวัดพระเชตุพนฯ ไปสู่พระเมรุ มีการตัดเอากลองชนะ แตรฝรั่ง แตรงอน สังข์ และฉัตรบางส่วนออกไปรอรวมกับริ้วขบวนที่ 3 ที่สนามหลวง เมื่อริ้วขบวนที่ 2 ถึงที่หมาย คือท้องสนามหลวง ก็จะปรับรวมกับริ้วขบวนที่ 3 เพื่อไปเวียนพระเมรุ 3 รอบ ในริ้วขบวนที่ 3 นี้ จะใช้พระยานมาศสามลำคาน และเสลี่ยงกลีบบัว

ริ้วขบวนที่ 4 เป็นการอัญเชิญพระราชสรีรังคาร โดยใช้พระที่นั่งราเชนทรยาน พระวอสีวิกากาญจน์ เส้นทางคือจากพระเมรุ ท้องสนามหลวง กลับไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

จากนั้นเป็น ริ้วขบวนที่ 5 เคลื่อนจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้นไปที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

วันสุดท้าย คือ ริ้วขบวนที่ 6 เป็นริ้วขบวนรถยนต์ จะไม่มีการแต่งกายตามราชประเพณี แต่แต่งเป็นเครื่องแบบขาว มีทหารม้า 77 ม้า อัญเชิญพระอัฐิไปที่สุสานวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของเจ้าพนักงานและกำลังพลที่เข้าร่วมในริ้วขบวนต่างๆ นั้น รุ่งโรจน์กล่าวว่า มีทั้งหมด 16 แบบด้วยกัน ประกอบด้วย

แบบที่ 1 นำริ้ว 1 นาย (เป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวัง) แต่งกายด้วยการสวมหมวกทรงประพาสกำมะหยี่สีดำ ยอดเกี้ยว เสื้อ-นอกขาวแบบราชการแขนทุกข์ รัดประคดแดงดอกขาว ผ้าม่วงเชิง ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 2 ธงสามชาย (นายทหาร 2 นาย) ในชุดแต่งกายสวมหมวก-หูกระต่ายแดงขลิบลูกไม้ใบข้าว เสื้อ-อัตลัดสีแดง ผ้า-นุ่งผ้าเกี้ยวลาย รัดประคดโหมดเทศ ถุงเท้าสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 3 ประตูหน้าและประตูหลัง 2 นาย (เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง) แต่งกายสวมหมวกทรงประพาสกำมะหยี่สีดำยอดเกี้ยว เสื้อ-นอกขาวแบบราชการแขนทุกข์ ผ้า-นุ่งผ้าม่วงเชิง รัดประคด-แดงดอกขาว ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 4 ชุดกลองชนะแดงลายทอง เป็นทหารบก 160 นาย แบ่งเป็นกองชนะเงิน กองชนะทอง และชุดฉุดชักราชรถพระนำ ร่วมด้วยชุดฉุดชักพระมหาพิชัยราชรถเชิญพระศพ 216 นาย และพนักงานลากเกรินหางนาคอีก 8 นาย (ทหารกรมสรรพาวุธ) ทั้งหมดแต่งกายสวมหมวกกลีบลำดวนแดงขลิบเหลือง เสื้อ-ปัศตูแดงขลิบเหลือง กางเกง-ปัศตูแดงขลิบเหลือง ถุงเท้าสีดำ รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 5 ชุดจ่าปี่ 2 นาย และจ่ากลอง 2 นาย (เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง) จ่าปี่ จ่ากลองมีความสำคัญ คือ เป็นตัวบทกำหนดให้กลองชนะตีตาม ทั้งหมดสวมหมวก-ทรงประพาสโหมดเทศยอดเกี้ยว เสื้อ-เข้มขาบไหม กางเกง-มัสรู่ไหม เข็มขัด แถบทองหัวครุฑ ถุงเท้า-สีดำ รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 6 ชุดผู้กำกับเสลี่ยงกลีบบัว และผู้ควบคุมคนหามเสลี่ยงกลีบบัว สวมหมวก-ทรงประพาสกำมะหยี่สีดำยอดเกี้ยว เสื้อนอกขาวแขนทุกข์ ผ้า-นุ่งผ้าเกี้ยวลาย รัดประคดแดงดอกขาว ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 7 ชุดแตรฝรั่ง กำลังพล 20 นาย แตรงอน กำลังพล 28 นาย และสังข์ กำลังพล 4 นาย (ทหารเรือ) สวมหมวก-ปัศตูแดงพู่ขาว เสื้อ-ปัศตูแดงขลิบเหลือง ถุงเท้าสีดำ รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 8 ชุดฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด พระนำ เครื่องสูงทองแผ่ลวดหลังพระนำ เครื่องสูงหักทองขวาง ฉัตรเครื่องสูงหักทองขวางหลังพระยานมาศลำคาน แต่งกายสวมหมวกลอมพอกหางเหยี่ยวแดง เสื้อ-เข้มขาบไหมกางเกง-มัสรู่ไหม รัดประคด-โหมดเทศ ถุงเท้าสีดำ รองเท้าหนังสีดำ ใช้กำลังพลทหารบก 90 นาย

แบบที่ 9 ชุดสนมเชิญพัดยศ พระนำ 1 นาย จากสำนักพระราชวัง แต่งกายสวมหมวกทรงประพาสกำมะหยี่สีดำ ยอดเกี้ยว เสื้อ-นอกแบบราชการแขนทุกข์ ผ้า-นุ่งผ้าเกี้ยวลาย รัดประคด-แดงดอก

แบบที่ 10 ชุดคนหามเสลี่ยงกลีบบัวพระนำ คนหามพระยานมาศสามลำคาน รวมกำลังพล 120 นาย (ทหารบก) แต่งกาย สวมหมวก-ทรงประพาสโหมดเทศยอดจุก เสื้อ-เข้มขาบไหม กางเกง-มัสรู่ไหม รัดประคด-โหมดเทศ ถุงเท้าสีดำ รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 11 ชุดบังพระสูรย์พระนำ สัปทนตาด พัดโบก ภูษามาลาประคอง สารถีถือแพนหางนกยูง กำลังพล 12 นาย (ทหารบก) แต่งกายสวมหมวก-ลอมพอกขาวมีดอกไม้ไหว เสื้อ-นอกขาวทับด้วยเสื้อครุยแถบใหญ่ ผ้า-นุ่งผ้าเกี้ยวลาย ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 12 ชุดอินทร์ พรหม เชิญจามร กำลังพล 16 นาย (ทหารบก) สวมหมวก-ทรงประพาส โหมดเทศยอดเกี้ยว เสื้อ-อัตลัดสีเขียวใช้กับอินทร์ ส่วนอัตลัดสีแดงใช้กับพรหม

แบบที่ 13 ชุดผู้บอกขบวน กำลังพล 1 นาย (เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง) แต่งกายสวมหมวกทรงประพาสเยียรบับยอดเกี้ยว เสื้อ-เยียรบับ รัดประคด-โหมดเทศ

แบบที่ 14 ชุดมหาดเล็ก เชิญพระแสงหว่างเครื่องหน้า พระแสงหว่างเครื่องหลัง มหาดเล็กหลวงคู่แห่พระศพ และมหาดเล็กเชิญพระแสงรายตีนตองนั่งที่ชานพระมหาพิชัยราชรถ 4 นาย (หน้า 2 หลัง 2) ผู้ควบคุมกำกับพระแสงหว่างเครื่องหน้าหลัง ใช้นักเรียนโรงเรียนวชิราวุธ แต่งกาย หมวก-ทรงประพาสกำมะหยี่สีน้ำเงินยอดเกี้ยว เสื้อ-นอกขาวแขนทุกข์ ผ้า-นุ่งผ้าม่วงเชิง รัดประคด-น้ำเงินดอกขาว ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 15 ชุดอินทร์ พรหม เชิญพุ่มต้นไม้เงิน-ทอง กำลังพลอย่างละ 8 นาย (ทหารชั้นประทวน) แต่งกาย หมวก-กำมะหยี่สีเขียวทรงเทริดใช้กับอินทร์ ส่วนหมวกกำมะหยี่สีแดงทรงเทริดใช้กับพรหม เสื้อกำมะหยี่สีเขียวคอบัวติดขลิบใช้กับอินทร์ กำมะหยี่สีแดงติดขลิบใช้กับพรหม กางเกง-สนับเพลานุ่งทับผ้าเกี้ยวลาย รัดประคดโหมดเทศ ถุงเท้ายาวสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

แบบที่ 16 ชุดตำรวจหลวงคู่แห่พระศพ 2 ข้าง ข้างละ 10 นาย (นักเรียนวชิราวุธ) แต่งกาย สวมหมวกทรงประพาสกำมะหยี่สีดำยอดเกี้ยว เสื้อ-สักหลาดสีน้ำเงิน รัดประคด-ไหมทองพู่แดงสายกระบี่ ผ้า-นุ่งผ้าม่วงเชิง ถุงเท้ายาสีขาว รองเท้าหนังสีดำ

หัวหน้าฝ่ายคลังราชพัสดุพิธี อธิบายตบท้ายการจัดริ้วขบวนครั้งนี้ใช้กำลังพลทั้งหมด 5,300 กว่านาย ชุดเครื่องแต่งกายเป็นชุดตัดใหม่เกือบ 3,000 ชุด ใช้งบประมาณ 12 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงบฯใช้ในการซ่อมแซมเครื่องประกอบอิสริยยศ ฉัตร เครื่องประโคม และพระแสงหอก

นับแต่ 2 มกราคม 2551 เป็นต้นมา ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จสู่สวรรคาลัย ประชาชนจำนวนมากทั่วประเทศต่างทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลเป็นระยะๆ อีกทั้งคลื่นประชาชนก็ยังคงเดินทางไปถวายสักการะ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะใจทุกดวงของปวงประชาราษฎรมิเคยลืมเลือน "สมเด็จพระพี่นางฯ" พระองค์นี้เลย


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.117 วันที่: 22 ตุลาคม 2551 เวลา:22:30:03 น.  

 
‘เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์’ จับมือพันธมิตร ‘สุจิตต์ วงษ์เทศ’ ชูประเด็นรู้จักรส ‘วรรณคดี’ เสียใหม่? ก่อนรู้จัก ‘การเมืองใหม่’

ณ สถานที่ ‘รักแรกพบ’ ของ เณรแก้ว และ นางพิม

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป

ณ วัดป่าเลไลย์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เชิญชม มหกรรมเสภาเรื่อง ขุนช้าง – ขุนแผน ครั้งใหญ่ที่สุดใน “สยามประเทศ”

นำโดย 4 พันธมิตรศิลปินแห่งชาติ

สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรยายเรื่อง สุวรรณภูมิ ถึง สุพรรณภูมิ และ สุพรรณบุรี ‘เหน่อ’ ทำไม? มาจากไหน?

- เสภา ตอน วัดป่าเลไลย์ โดย ครูแจ้ง คล้าย สีทอง ศิลปินแห่งชาติ และ นฤพนธ์ ดุริยพันธ์

- เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ (หนุ่มเมืองกาญจน์) และ วาณิช จรุงกิจอนันต์ นักเขียนซีไรต์ (หนุ่มบางปลาม้า สุพรรณบุรี) ร่วมเสวนาเสภาเรื่องขุนช้าง – ขุนแผน

จบรายการด้วย เสภาออกตัว ขุนช้าง – ขุนแผน ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างพานางวันทองหนี ขับเสภาโดย สมชาย ทับพร และศิลปินกรมศิลปากร ฯลฯ

ลิเกเกียรติยศเรื่อง ขุนช้าง –ขุนแผน ตอน นางวันทองห้ามทัพ โดยพันธมิตรคณะศิษย์หอมหวน

บุญเลิศ นาถพินิจ ศิลปินแห่งชาติ เป็นแกนนำ

งานฟรี ไม่ต้องมีบัตร สูจิบัตรแจกฟรี สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.50 วันที่: 26 ตุลาคม 2551 เวลา:20:01:24 น.  

 
โครงการประกวดวงดนตรีไทย ระดับมัธยมศึกษา ประเภท วงเครื่องสายผสมปี่พาทย์
เพื่อเฉลิมฉลองการสถาปนาครบรอบ ๕๐ ปี เกียรติประวัติ และศักดิ์ศรี ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
-----------------------
๑ คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน

๑.๑ ผู้ขับร้อง
ผู้ขับร้องต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๖ หรือเทียบเท่าในสถานศึกษาเดียวกันที่อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือสังกัดกรุงเทพมหานคร แต่หากโรงเรียนใดไม่มีผู้ขับร้อง ก็อนุโลมให้ใช้ผู้ขับร้องจากภายนอกสถานศึกษา ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ขับร้องในสถานศึกษานั้นๆ ได้ โดยจะต้องมีหนังสือรับรองจากหัวหน้าสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่รับรอง

๑.๒ นักดนตรี
นักดนตรีเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ในสถานศึกษาเดียวกันที่อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจะต้องมีหนังสือรับรองจากหัวหน้าสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่รับรอง

๒ หลักเกณฑ์

๒.๑ ขอบเขตการประกวด แบ่งเป็น ๒ รอบ ดังนี้

๒.๑.๑ รอบคัดเลือก
วงดนตรีที่ส่งเข้าประกวดต้องขับร้องและบรรเลง เพลงกล่อมนารีเถา ไม่ต้องออกเดี่ยวชั้นเดียว ไม่ต้องไตเติ้ล และห้ามออกหางเครื่อง และจะต้องบันทึกภาพและเสียงพร้อมกันลงในแผ่นบันทึกข้อมูล(CD) ทั้งนี้ภาพและเสียงในขณะขับร้องและบรรเลงที่บันทึกลงในแผ่นบันทึกข้อมูล (CD) จะต้องตรงกัน โดยเขียนชื่อวงดนตรีลงบนแผ่นบันทึกข้อมูล (CD) พร้อมกับแนบใบสมัครที่ติดรูปถ่าย ของสมาชิกวง แล้วส่ง ใบสมัครด้วยตนเอง หรือ ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ มายังผู้รับและที่อยู่ด้านล่างนี้ ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน๒๕๕๑ (กรณีส่งทางไปรษณีย์ จะถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นเกณฑ์)

กรุณาส่ง รองศาสตราจารย์ดร.กิตติ โพธิปัทมะ
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๑๕๑๘ ถนนพิบูลสงคราม เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐

หมายเหตุ
๑) การบันทึกภาพและเสียงลงในแผ่นบันทึกข้อมูล (CD) จะต้องไม่ประกาศรายชื่อของผู้ขับร้องและผู้บรรเลง
๒) การตัดสินรอบคัดเลือก เจ้าหน้าที่จะเปิดเสียงการขับร้องและบรรเลงของแต่ละวงให้
คณะกรรมการฟัง โดยไม่ให้ข้อมูลใดๆที่เกี่ยวกับวงดนตรีไทยที่ส่งเข้าประกวด
๓) ผลการตัดสินรอบการคัดเลือก คณะกรรมการประกวดดนตรีไทยจะแจ้งให้ทราบทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของสถานศึกษาที่ได้แจ้งไว้ และจะประกาศผลทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (//www.kmutnb.ac.th) ไม่เกินวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนแผ่นบันทึกข้อมูล (CD) ที่ส่งเข้าประกวดในรอบคัดเลือก

หมายเหตุ สอบถามข้อสงสัยและรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ รองศาสตราจารย์ดร.กิตติ โพธิปัทมะ
โทร. ๐๘๙–๓๑๐๙๗๖๔ หรือ ส่งอีเมลมาที่ kbm@kmutnb.ac.th


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.50 วันที่: 26 ตุลาคม 2551 เวลา:20:19:20 น.  

 
สำนักการสังคีตกรมศิลปากร จัดการแสดงชุดพิเศษ เพื่อหารายได้สมทบเงินทุนสวัสดิการสำนักการสังคีต

วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖

บัตรชมการแสดงชั้นล่างราคา ๕๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ชั้นบน ๒๐๐ บาท
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ ถ.ราชินี กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ , ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๔๐๑ , ๕๐๑

หากมีความประสงค์จะร่วมเดินทางไปกลับกับคณะศิลปินกรมศิลปากร
สำรองที่นั่งได้ท่านละ ๑๕๐ บาท ( เฉพาะรถโดยสารรับจำนวน ๑๒๐ ท่าน )

รายการแสดง
๑. การบรรเลงและขับร้องจากวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร [ The National Symphony Orchestra ]
๒. การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน "ข้ามสมุทร"
๓. การประชันวงบรรเลงและขับร้องจากวงดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร
๔. ลิเกศิลปินศิลปากร ควบคุมโดย อาจารย์ บุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ
๕. ละครพันทาง เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ตอน " รัวกลองรบ "
๖.การแสดงนาฏศิลป์ ๔ ภาค
เวบบอร์ดกรมศิลปากร
//www.finearts.go.th/th/board/index.php
ห้องนาฏศิลป์-ดนตรี หน้า ๙
หัวข้อ สำนักการสังคีต_"๑ปี ขอไมตรีจิต ถ้าคิดถึงกัน" ๒๑ ธค ๕๑


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.191 วันที่: 28 ตุลาคม 2551 เวลา:20:06:34 น.  

 
การแสดงละครเรืองมัทนะพาธาที่กรุงเทพมหานครนั้นจะจัดการแสดงเพียงรอบเดียว ในวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ส่วนการแสดงในวันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคมเปลี่ยนรายการไป เนื่องจากพระเอก นางเอก ติดภาระเดินทางไปแสดงวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสลาม Bandar Seri Begawan Brunei Darussalam

ดังนั้นในวันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ การแสดงที่หอวชิราวุธานุสรณ์จึงได้เปลี่ยนเป็นการแสดงโขนเกี่ยวกับยักษ์สีขาว ว่าด้วยความบริสุทธิ์ ของ สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม โดยจะเริ่มรายการด้วยการรำถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ( โขนยักษ์ ) ทั้ง ๓ ท่าน คือ อ.ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ ปีพ.ศ.๒๕๔๗ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์โขน ) , นาย จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , นาย สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์ ต่อด้วยระบำ อสุเรศเศวตฤทธา และการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ท้าวจักรวรรดิ
รายละเอียดเพิ่มเติมยังไม่ทราบ ถ้าทราบแล้วจะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง



โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.204 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:16:59:53 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากรจัดการแสดงโขนชุดทหารหน้ารามาวตาร
( ยกรบ-ขาดเศียรขาดกร-หนุมานเข้าลงกา-ชูกล่องดวงใจ )
เนื่องในรายการศิลปิน-ศิลปากร ( สุรัตน์ เอี่ยมสะอาด )
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ถ.สามเสน กรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.

ผู้แสดงฝ่ายลงกา

ทศกัณฐ์ ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
พระฤาษีโคบุตร – จรัญ พูลลาภ
นางสุวรรณกันยุมา – เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
มโหทร – เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
เปาวนาสูร – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
เสนายักษ์ – นศ.วนศ. ๖ คน

ผู้แสดงฝ่ายพลับพลา

พระราม ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
พระลักษมณ์ – พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , สมเจตน์ ภู่นา
พิเภก – กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
ชามภูวราช – ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
สุครีพ – จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
หนุมาน ( ทรงเครื่อง ) สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด , เลียว คงกำเหนิด , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
หนุมาน – เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
ชมพูพาน – ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
องคต – ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ชัยยุทธ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก
นิลนนท์ – ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
ไชยามพวาน – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
สิบแปดมงกุฎ – นศ.วนศ. ๖ คน

กางกลด-ตลกยกเตียง –สุรินทร์ เขียวอ่อน , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
พากษ์ – เจรจา ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , เกษม ( เถิ่ง ) ทองอร่าม , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม

กำกับการแสดง - สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด
ช่วยกำกับการแสดง – สุรเดช เผ่าช่างทอง , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
อำนวยการฝึกซ้อม – ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะเรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ประสานงานการแสดง – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง – สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.204 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:17:01:59 น.  

 
คุณ สุรเชษฐ์ เฟื่องฟู หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ แจ้งมาว่า
โขนงานพระเมรู จะเริ่มซ้อมทั้งระบบตั้งแต่วันที่ ๘ พศจิกายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ซ้อมวันละ ๒ รอบ เช้าบ่าย ไม่ซ้ำกัน ที่ในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ( เข้าใจว่าคงจะเป็นที่โบสถ์พระแก้ววังหน้า )

และไปซ้อมบนเวทีที่สนามหลวง ในวันที่ ๑๒-๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.204 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:17:06:58 น.  

 
เพิมเติมอีกนิดหน่อยนะคะ
วันที่ 13จะมีการซ้อมโขนที่สนามหลวงตามเวลาจริง
เพื่อทดสอบเรื่องเวลา


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.107 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:20:31 น.  

 
//www.ndmi.or.th/museums/activities/activities_255111.html

กิจกรรมพิพิธพาเพลิน ตอน งานพระเมรุ

กรุงเทพฯ - มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ โดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) จัดกิจกรรมพิพิธพาเพลิน ประจำเดือนพฤศจิกายน 2551 ตอน งานพระเมรุ ให้ประชาชนได้ร่วมถวาย พระเกียรติและสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ตลอดจนถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ไปพร้อมกับการเรียนรู้และเข้าใจพระราชพิธี ตลอดจนคติ ความเชื่อ และเรื่องราวอันเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ทรงคุณค่ายิ่งของประเทศ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่

1. “งานพระ(สุ)เมรุ : ฉายภาพผ่านพราหมณ์ พระราชพิธี ของชำร่วย และภาพยนตร์” วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13.3๐-17.๐๐ น. เพื่อสร้างความเข้าใจในพระราชพิธีและคติ ความเชื่อที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล หากส่งผลต่อวิธีคิดของคนยุคปัจจุบันอย่างแยบยล นำการเสวนาโดย พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์ผู้ประกอบพระราชพิธี อาจารย์ณัฏฐภัทร จันทวิช ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ คุณนนทพร อยู่มั่งมี เจ้าของงานเขียนเรื่องพระราชพิธีพระบรมศพและพระศพ ปิดท้ายด้วยการฉายภาพยนตร์ประมวลภาพงานพระเมรุมาศและพระเมรุ สมัยรัชกาลที่ 6-8 รวมถึงภาพยนตร์ทรงถ่ายในรัชกาลที่ 7 โดยคุณโดม สุขวงศ์ แห่งหอภาพยนตร์แห่งชาติ

2. “การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศและพระเมรุ” วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.3๐-17.๐๐ น. โดย น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมไทย) ผู้ออกแบบพระเมรุ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

3. “มหรสพในงานพระเมรุ” ในวันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.3๐-17.๐๐ น. โดย อ.บุหลง ศรีกนก ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และอักษรศาสตร์แห่งกรมศิลปากร
นอกจากนี้การจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายหายากงานพระเมรุในอดีต รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้อื่น ๆ อาทิ คอนเสิร์ตจุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง และงานต้อนรับเทศกาลลอยกระทง “รักษ์สายน้ำกับวันลอยกระทง” เป็นต้น

ร่วมกิจกรรมฟรี!! ณ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 1๐2๐๐ โปรดสำรองที่นั่ง โทร. ๐ 2225 2777 ต่อ 511 และ 414 ข้อมูลเพิ่มเติมที่ //www.ndmi.or.th

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ณัฐกานต์ จันทร์ไทย เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และสิ่งพิมพ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
โทร. 0 2225 2777 ต่อ 511 หรือ nattakan@ndmi.or.th


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.107 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:21:23 น.  

 
กำหนดการเสวนา
"งานพระ[สุ]เมรุ:ฉายภาพผ่านพราหมณ์ พระราชพิธี ของชำร่วยและภาพยนตร์"

ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสำนักงาน
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.3๐ - 17.๐๐ น.

13.3๐ – 13.35 น. แนะนำวิทยากร

13.35 - 14.15 น. พระสุเมรุ - เทวราชา ตามคติ ฮินดู
โดย พระราชครูวามเทพมุนี
หัวหน้าคณะพราหมณ์ประกอบพระราชพิธี

14.15 – 15.๐๐ น. พระราชพิธีประกอบพระศพ
โดย นาย นนทพร อยู่มั่งมี
นักเขียนด้านศิลปวัฒนธรรม

15.๐๐ – 15.15 น. อาหารว่าง

15.15 – 16.๐๐ น. ของชำร่วยจากงานพระเมรุ
โดย อาจารย์ณัฏฐภัทร จันทวิช
นักโบราณคดี 1๐ ชช. กรมศิลปากร

16.๐๐-17.๐๐ น. ภาพยนตร์ประมวลภาพงานพระเมรุและพระเมรุมาศ สมัยรัชกาลที่ 6 – 8
และภาพยนตร์ทรงถ่ายในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดย นายโดม สุขวงศ์
หอภาพยนตร์แห่งชาติ

หมายเหตุ: โปรดสำรองที่นั่ง โทร. ๐ 2225 2777 ต่อ 4๐3 และ 4๐5 หรือ info@ndmi.or.th


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.107 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:25:05 น.  

 
รักษ์สายน้ำกับวันลอยกระทง
กรุงเทพฯ - วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2551 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเพณีไทย คือ “วันลอยกระทง” ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่ชาวไทยทุกคนยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ โดยจะมีการทำกระทง ทำบุญตักบาตร รวมถึงการละเล่นรื่นเริงอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ

บนฐานแนวคิดเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาจิตสำนึกในการรักษาสายน้ำ และสืบทอดประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ โดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ได้ร่วมกับกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดกิจกรรมพิเศษต้อนรับประเพณีลอยกระทง “รักษ์สายน้ำกับวันลอยกระทง” ในโครงการปกป้องแหล่งน้ำจากมลพิษกับประเพณีลอยกระทง

ภายในงานมารู้จักและสนุกกับ “Workshop” การทำกระทงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกระทงแบบไทย ๆ ที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติแบบง่ายๆ แต่สร้างสรรค์ รวมถึงการ “ประกวดกระทง” “การแสดงดนตรี” “นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง ปัญหามลพิษทางน้ำ และ การอนุรักษ์สายน้ำ” และ งานเสวนาเรื่อง “ประเพณีลอยกระทง น้ำ และมลพิษ”
ร่วมเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน และสืบสานความเป็นไทยด้วยกันที่ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ โดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ตั้งแต่เวลา 10.00 -18.00 น. ทุกรายการฟรี!! สำรองที่นั่ง โทร. 0 2225 2777 ต่อ 414 และ 511 ข้อมูลเพิ่มเติมที่www.ndmi.or.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ณัฐกานต์ จันทร์ไทย เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และสิ่งพิมพ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
โทร. 0 2225 2777 ต่อ 511 หรือ nattakan@ndmi.or.th


--------------------------------------------------------------------------------


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.107 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:28:57 น.  

 
ขอเชิญร่วมชม 9 สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ - ยามราตรี

นัดเจอกันวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายนศกนี้
เวลา 14.00 น.เริ่มต้นพบกันที่ ห้องขายบัตรเข้าชม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

รายละเอียดกิจกรรม
- เยี่ยมชมดูราชรถ
- เยี่ยมชมพระเมรุฯ
- พักรับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย
-(18.00-20.00 น.) เข้าชม 9 สิ่งมหัศจรรย์ในวัดโพธิ์

ท่านผู้สนใจ แจ้งไก่สักนิดก็ดีค่ะ เพื่อเช็คจำนวนคนร่วมกิจกรรมค่ะ

กิจกรรมนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ไก่ - วิจิตรา 081 836 9750
wichitra.kai@gmail.com


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.16 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:58:50 น.  

 
ดูรูปและดาวน์โหลดรูปงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพขนาดใหญ่(คลิกที่รูปเพื่อดูรุปขยาย)ได้ที่

//www.princessgalyani.com/th/Gallery.aspx

ดูรูปและดาวน์โหลดรูปงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพขนาดเล็กได้ที่
//www.palaces.thai.net/hrhprincessgalyani/html/index.html

มีรูปมหรสพสมโภช(โขน)ที่

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00001219&ID_Room=00000007&RecordCount=359&PageSetUp=16&Keyword=

//www.finearts.go.th/th/board/show_message.php?ID_Topic=00000855&ID_Room=00000007&RecordCount=359&PageSetUp=16&Keyword=


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.190 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:6:18:28 น.  

 
สัปดาห์ศิลปวัฒนธรรม ๔๘ ปี มจธ.:วัฒนธรรมร่วมสมัย สู่ความเป็นไทยที่ยั่งยืน
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

พบกับการแสดงวัฒนธรรมไทยหลากหลายเชื้อสาย ตลอดทั้งสัปดาห์
ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. ณ บริเวณสวนสุขภาพ
การเสวนาวิชาการ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
เวลา ๑๓.๐๐-๑๗.๐๐ น. ณ ห้องจำรัส ฉายะพงศ์
การแสดงนิทรรศการที่หาชมได้ยาก เวลา ๙.๐๐-๒๐.๐๐ น.
ณ ชั้นล่าง อาคารสำนักงานอธิการบดี และห้อง Archive สำนักหอสมุด
การออกร้านผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวนกว่า ๔๐ ร้าน

การเสวนาวิชาการ
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
เวลา ๑๓.๐๐-๑๗.๐๐ น. ณ ห้องจำรัส ฉายะพงศ์
การเสวนาวิชาการ

เรื่อง ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกับความเป็นไทยที่ยั่งยืน
โดย คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

เรื่อง แนวทางการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
โดย พลเอกธนพล บุณโยปัษฎัมภ์
รศ.ทิพย์พรรณ นพวงศ์ ณ อยุธยา
คุณญาณี ตราโมท
คุณหญิงโรส บริบาลบุรีภัณฑ์

เต็มอิ่มทั้ง 5 วัน ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐-๒๐.๐๐ น.
- ออกร้านผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผลิตภัณฑ์ OTOP จากชุมชนเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียนร่วมกับเขตจอมทอง จำนวนกว่า ๔๐ ร้าน

- นิทรรศการ ชั้นล่าง อาคารสำนักงานอธิการบดี
นิทรรศการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นย่านบางมด
การท่องเที่ยวยั่งยืนย่านบางมด และวิถีชีวิตไทย
นิทรรศการภาพถ่าย มจธ.
การออกร้านจำหน่ายของที่ระลึกและบริการถ่ายภาพเพื่อทำแสตมป์

- นิทรรศการ ห้อง Archive สำนักหอสมุด
นิทรรศการสิ่งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔

ตารางการแสดง

วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
การแสดงวัฒนธรรมไทยเชื้อสายจีน
๑๖.๓๐-๑๗.๐๐ น. การแสดงเชิดสิงโต กายกรรมต่อตัว มังกร ๙ ไม้
๑๗.๐๐-๑๗.๓๐ น. พิธีเปิด
๑๗.๓๐-๑๘.๑๕ น. การแสดงรำพัด รำมวยจีน รำดาบ
๑๘.๑๕ -๑๘.๓๕ น. คุยกับซินแส
๑๘.๓๕ -๑๙.๐๐ น. รายการตอบปัญหารู้เฟื่อง เรื่องวัฒนธรรมจีน
๑๙.๐๐ -๒๐.๐๐ น. การแสดงงิ้วเรื่องเปาบุ้นจิ้น ตอนประหารราชบุตรเขย


วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
การแสดงวัฒนธรรมไทย (สวนส้ม)
๑๗.๐๐-๑๗.๓๐ น. การแสดงระบำดอกบัว เซิ้งแพรวากาฬสินธุ์
๑๗.๓๐-๑๘.๒๕ น. การเสวนาเรื่อง “วิถีไทย: อดีต-ปัจจุบัน”
๑๘.๒๕ -๑๘.๕๐ น. การแสดงตะลุง ซัดชาตรี
๑๘.๕๐ -๑๙.๔๐ น. การแสดงโปงลาง จากชมรมมดอีสาน มจธ.


วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
การแสดงวัฒนธรรมไทยเชื้อสายมุสลิม
๑๗.๐๐-๑๘.๐๒ น. การแสดงร่อนแร่ ลิเกฮูลู
๑๘.๐๒-๑๘.๓๗ น. การเสวนาเรื่อง “ไทยมุสลิมในบางมด”
๑๘.๓๗ -๑๙.๒๙ น. ระบำมโนราห์ ระบำโกมาซุมอันดามัน จากชมรมทักษิณ มจธ.

วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
การแสดงวัฒนธรรมไทย (ริมน้ำ)
๑๗.๐๐-๑๗.๓๕ น. การแสดงระบำพัด บรรเลงวงอังกะลุง
๑๗.๓๕-๑๘.๓๐ น. การเสวนา เรื่อง ป่าชายเลนกับวิถีชีวิตชุมชน
๑๘.๓๐ -๑๘.๕๕ น. การแสดงลำตัด
๑๘.๕๕ -๑๙.๒๕ น. การแสดงฟ้อนขันดอกไม้ ระบำชาวเขา
๑๙.๒๕-๑๙.๕๕ น. การแสดงฟ้อนม่านมงคล ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง

วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
การแสดงวัฒนธรรมไทยเชื้อสายมอญ
โดย ชุมชนมอญบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน
๑๖.๓๐-๑๘.๐๐ น. พิธีทำขวัญมอญ (บ๊ะขะมะ) และการบรรเลงวงปี่พาทย์
๑๘.๐๐-๑๘.๓๐ น. การแสดงรำมอญ
๑๘.๓๐ -๑๙.๐๐ น. การแสดงรำหงส์
๑๙.๒๐ -๒๐.๐๐ น. การแสดงทะแยมอญ คณะหงส์ฟ้ารามัญ


สอบถามรายละเอียดการจัดงานได้ที่
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โทร. ๐๒-๔๗๐-๘๗๔๔
E-mail : saranya.sar@kmutt.ac.th


โดย: อัญชลี IP: 58.136.53.68 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:1:33:58 น.  

 
ขอโทษทีค่ะ คุณอัญ
พอดี..หม่อน มัวไปรอคำตอบ ในควิกพอล ..หน้าที่ประชาสัมพันธ์การสัมมนาอาศรมสยามฯหน่ะค่ะ
เลยไม่ได้มาตอบอ่ะค่ะ

- สอนภาษาจีนฟรี
: สนใจมากๆค่ะ ยังเก็บ link ไว้เลย
แต่เห็นประกาศ ตั้งแต่ พ.ค. เลยไม่แน่ใจว่า ยกเลิกหรือยัง อ่ะค่ะ

- สนใจ งาน 24 พ.ย.ด้วยนะคะ


โดย: ตัวหม่อน IP: 58.9.139.13 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2551 เวลา:2:08:22 น.  

 
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
จัดสัมมนาภาษาและวรรณคดีไทย เรื่อง “อิทธิพลของวรรณคดีไทยที่มีต่อบทเพลงไทยสากลและเพลงไทยลูกทุ่ง”

บรรยายและสาธิตโดย อ.วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ว.8 สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
และ อ.บูรพา อารัมภีร์ ผศ.ดร.ญาดา อรุณเวช (อารัมภีร์)
ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ณ ห้องประชุมอนุกิจวิทูร มทร.รัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กท. 10100

เวลา ๐๘.๐๐น.-๑๖.๐๐ น.( อ.วาณี ครึ่งวันเช้า , อ.บูรพาและญาดา ช่วงบ่าย )

ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดต่อได้ที่ อ.อลงกรณ์ อิทธิผล โดยส่งโทรสาร 0-2226-4879 หรือ โทร. 0-2226- 5925-6, 0-2221-2896, 0-2221-2896, 0-2222-2814, 0-2223-6453, 0-2221-2830 ทุกหมายเลขต่อ 5204 หรือ 08-1484-3664

( มีอาหารกลางวันและเครื่องดื่มบริการฟรี )


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.185 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:52:42 น.  

 
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
จัดสัมมนาภาษาและวรรณคดีไทย เรื่อง “อิทธิพลของวรรณคดีไทยที่มีต่อบทเพลงไทยสากลและเพลงไทยลูกทุ่ง”

บรรยายและสาธิตโดย อ.วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ว.8 สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
และ อ.บูรพา อารัมภีร์ ผศ.ดร.ญาดา อรุณเวช (อารัมภีร์)
ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ณ ห้องประชุมอนุกิจวิทูร มทร.รัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กท. 10100

เวลา ๐๘.๐๐น.-๑๖.๐๐ น.( อ.วาณี ครึ่งวันเช้า , อ.บูรพาและญาดา ช่วงบ่าย )

ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดต่อได้ที่ อ.อลงกรณ์ อิทธิผล โดยส่งโทรสาร 0-2226-4879 หรือ โทร. 0-2226- 5925-6, 0-2221-2896, 0-2221-2896, 0-2222-2814, 0-2223-6453, 0-2221-2830 ทุกหมายเลขต่อ 5204 หรือ 08-1484-3664

( มีอาหารกลางวันและเครื่องดื่มบริการฟรี )


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.185 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:18:21 น.  

 
//www.tkri.tu.ac.th/pdf.paper/ร่างโครงการแปลบาลี-ไทย.pdf

โครงการเสวนาเรื่อง “ข้ามภาษา ข้ามวัฒนธรรม : การแปล บาลี อังกฤษ จีน สู่ภาษาไทย”
จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
กำหนดการวันอังคารที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
สถานที่จัดโครงการ
ห้องประชุมศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ชั้น ๔ อาคารอเนกประสงค์ ๑ ( ใกล้ประตูท่าพระจันทร์ )มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กำหนดการ
เสวนา “ข้ามภาษา ข้ามวัฒนธรรม : การแปล บาลี อังกฤษ จีน สู่ภาษาไทย”
วันอังคารที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ชั้น ๔ อาคารอเนกประสงค์ ๑ ( ใกล้ประตูท่าพระจันทร์ )
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
…………………………….
๐๘.๓๐ - ๐๙.๑๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๑๐ - ๐๙.๓๐ น. พิธีเปิด
คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)กล่าวถึงสาเหตุสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้
อาจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา กล่าวเปิดงาน
๐๙.๓๐ - ๑๐.๐๐ น. บรรยายเรื่อง “ข้อคิดในการแปล”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล
๑๐.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. บรรยายเรื่อง “การแปลบาลี - ไทย”
วิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ
ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล
๑๐.๔๕ - ๑๑.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. บรรยายเรื่อง “การแปลอังกฤษ - ไทย”
วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญจิรา ถึงสุข
ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. เสวนาเรื่อง “หลักการและข้อควรระวังในการแปลจีน – ไทย”
วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร นุ่มทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล
ดำเนินรายการ คุณประสิทธิ์ ฉกาจธรรม
๑๔.๐๐ – ๑๔.๔๕ น. เสวนาเรื่อง “การแปลงานวิชาการจีน”
วิทยากร อาจารย์ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี
รองศาสตราจารย์ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์
๑๔.๔๕ - ๑๕.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๕.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. เสวนาเรื่อง “การแปลวรรณกรรมและงานวัฒนธรรมจีน”
วิทยากร อาจารย์อาทร ฟุ้งธรรมสาร
อาจารย์อัษมา มหาพสุธานนท์
ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร สิกขโกศล
๑๖.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ซักถาม-แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
**********************************
กรุณาส่งแบบตอบรับเข้าร่วมฟังการเสวนา ได้ที่ 1) โทรสาร 02-226-2112
หรือ 2) ส่งทางไปรษณีย์ ได้ที่
งานบริการวิชาการ สถาบันไทยคดีศึกษา
อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200
ส่งแบบตอบรับเข้าร่วมฟังการบรรยาย
** สถาบันไทยคดีศึกษา 02-613-3201-5 ต่อ 17,20 โทรสาร 02-226-2112_


โดย: อัญชลี IP: 58.136.52.185 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:34:12 น.  

 
วันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๑
สำนักการสังคีต กรมศิลปากรจัด
การแสดงโขนเกี่ยวกับยักษ์สีขาว ว่าด้วยความบริสุทธิ์
รายการแสดง

๑.การแสดงชุดเบิกโรงนาฏกรจักรีภูมิพลฯ ( ประพันธ์บทโดย นาย สมบัติ แก้วสุจริต ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม )

จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

๒.การแสดงระบำอสุเรศเศวตฤทธา

จตุรพักตร์ - ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
สหมะลิวัน - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
ลัสเตียน - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
สหัสเดชะ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
จักรวรรดิ์ - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
ไพจิตราสูร ( หอวชิราวุธานุสรณ์ ) - ยุทธนา อัมระรงค์ ( สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ )
ไพจิตราสูร ( โรงละครแห่งชาติฯ จ.นครรราชสีมา) - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
มารีจ - เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
ตรีเศียร - รท.ณรงค์ พงษ์พันธ์เดชา
อัศธาดา - กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
กุเวรณุราช - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด

๓.การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกจักรวรรดิ์

ท้าวจักรวรรดิ์ ๑ - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
ท้าวจักรวรรดิ์ ๒ - ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
ท้าวจักรวรรดิ์ ๓ - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
ท้าวจักรวรรดิ์ ๔ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
สุพินสัน - เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
กุมภิล - ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
เสนายักษ์ - นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ราชสีห์ลากรถ - นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กางกลดยักษ์ - ประวิทย์ เรืองมาก
นางวัชนีสูร - น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
พระราชธิดา - อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
นางกำนัล - มะลิ ศิริหลวง , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , จุฑารัตน์ ศรีสละ ( นศ.ฝึกงาน ) กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม


พระพรต - พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
พระสัตรุด - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
ทศคีรีวงศ์ ( พิเภก ) - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
สุครีพ - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
นิลพัท - ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก
อสุรผัด - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
ชมพูพาน - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
นิลนนท์ - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
สิบแปดมงกุฏ - นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ม้าลากรถ - นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กางกลดพระ - ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
ตลกยกเตียง - วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภชิยทัศ , สุรินทร์ เขียวอ่อน


ผู้พากษ์ - เจรจา - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์


กำกับการแสดง - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๗ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์โขน ) ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ช่วยกำกับการแสดง - สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม ( โขนยักษ์ ) , ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ ( โขนยักษ์ ) , เลียว คงกำเหนิด ( โขนลิง ) , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ( โขนพระ ) , อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ ( ละคร - นาง )

อำนวยการฝึกซ้อม - ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - ธานิต ศาลากิจ

บอกบท – น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา
ประสานงานการแสดง – สลักใจ( น้อยหน่า) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง - ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์

หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ - สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ถ.สามเสน กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ( จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ )
สอบถามและสำรองที่นั่ง โรงละครแห่งชาติ โทรฯ ๐๒๒๒๔๑๓๔๒ ๐๒๒๒๒๑๐๙๒
วันแสดง ( ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง )ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ น.
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐ ( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม.) โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.54 วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:12:06:49 น.  

 
สำนักการสังคีตกรมศิลปากรจัดแสดงละครพันทางเรื่องผู้ชนะสิบทิศตอนกำแพงหงสาวดี
ในวันเสาร์ที่ ๖ , ๑๓ , ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ.โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖

ผู้แสดงฝ่ายตองอู

ตะเบงชะเวตี้ - ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ
นันทวดี - วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ
จันทรา - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
บุเรงนอง - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ขุนวังทะกะยอดิน - ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
ตะคะยี - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
ขุนเวียงเสียงโข - ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
จาเลงกะโบ - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
เนงบา- จรัญ พูลลาภ
สีอ่อง - หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
ปอละเตียง - วรรณพินี ( ไก่ ) สุขสม
เชงสอบู - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
คนธงพม่า - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ทหารพม่า ( ออกกราว ) - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , พรเลิศ ( เอ็กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
ทหารตลก ถนอม นวลอนันต์ ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม
นางกำนัลพม่า- นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

ผู้แสดงฝ่ายแปร

อุปราชรานอง - ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ

ผู้แสดงฝ่ายหงสาวดี

พระเจ้าสะการะวุฒพี – ไพฑูรย์ เข้มแข็ง
อุปราชสอพินยา - จุลชาติ อรัณยะนาค
ไขลู - สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู
อำมาตย์เสียงโคนสุคญี - สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม
อำมาตย์สอยันปาย - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
ไปพยู - พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา
ทหารมอญ นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ๑๐ คน

ผู้แสดงฝ่ายโมนยิน

เจ้าโสหันพวา - สุรเดช เผ่าช่างทอง
เมงกะยอกะแง - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
คนธงโมนยิน - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
ทหารโมนยิน ( ออกกราว ) - ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , เลียว คงกำเหนิด , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
ทหารอังวะ นักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ๑๐ คน

กำกับการแสดง ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด,ประสิทธิ์ คมภักดี , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
อำนวยการฝึกซ้อม-ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู
บอกบท - ตวงฤดี ถาพรพาสี , ธนันดา มณีฉาย , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
ประสานงานการแสดง-สลักใจ( น้อยหน่า) เปลี่ยนไพโรจน์ , ช่วยประสานงานการแสดง-สุวรรณี ( แขก ) สุเสวี


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.54 วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:12:25:37 น.  

 
หอการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม กำหนดจัดงาน "เทศกาลกินปลาทูและของดีเมืองแม่กลอง" เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพการประมง การเกษตร ตลอดจนธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับการประมงและการเกษตร ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัสมุทรสงคราม ภายในงานมีการปรุงอาหารจากปลาทูกว่า 50 เมนู เช่น น้ำพริกปลาทู เมี่ยงปลาทู ปลาทูต้มมะดัน แฮมเบอร์เกอร์ปลาทู ฯลฯ ให้ได้ชิมตลอดการจัดงาน ตั้งแต่วันที่ 12-21 ธันวาคม 2551

นอกจากนี้ยังมีคาราวานสินค้า การกำหน่ายปลาทูสดๆ จากแม่กลอง มีกิจกรรมเวทีกลาง และกิจกรรมวิถีชุมชนของคนเมืองแม่กลอง อีกหลากหลาย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสงคราม โทร. 0 3471 4881, 0 3472 6963
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม โทร. 0 3475 2847-8 , E- mail : tatsmsk@tat.or.th
หอการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม โทร. 0 3471 8154
การแสดงของ สำนักการสังคีต กรมศิลปากรในงาน"เทศกาลกินปลาทูและของดีเมืองแม่กลอง"
ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม วันศุกร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๒๐.๐๐ น.

การแสดงชุดที่ ๑ รำถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ( แต่งชุดนางใน )

สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม ,
รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

การแสดงชุดที่ ๒ การแสดงละครพันทาง เรื่อง พระลอ ตอน เข้าสวน
พระลอ สมเจตน์ ภู่นา
นายแก้ว ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
นายขวัญ วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
นางรื่น มะลิ ศิริหลวง
นางโรย หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ
มัคคุเทศน์ ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ
ตา ถนอม นวลอนันต์
ยาย หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

การแสดงชุดที่ ๓ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน สุครีพถอนต้นรัง

ผู้แสดงฝ่ายลงกา

ทศกัณฐ์ วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
กุมภกรรณ ๑ ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
กุมภกรรณ ๒ เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
มโหทร ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
เปาวนาสูร สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
เสนายักษ์ กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
นางกำนัล สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

ผู้แสดงฝ่ายพลับพลา

พระราม ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระลักษมณ์ พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
พิเภก สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม
สุครีพ ๑ เลียว คงกำเหนิด
สุครีพ ๒ วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
หนุมาน กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
ชมพูพาน วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ
องคต เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
นิลนนท์ ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
สิบแปดมงกุฏ ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม


จัดเก็บอุปกรณ์ -กางกลด ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง , ประวิทย์ เรืองมาก , สุรินทร์ เขียวอ่อน
พากษ์ – เจรจา เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

กำกับการแสดง สุรเดช เผ่าช่างทอง
ช่วยกำกับการแสดง หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง ตวงฤดี ถาพรพาสี , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
อำนวยการฝึกซ้อม ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม สุกัญญา โชติทัตต์
ประสานงานการแสดง พุทธิยา ( ตุ้ม ) พลับกระสงค์
ช่วยประสานงานการแสดง ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.54 วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:13:16:46 น.  

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญฟังการบรรยายพิเศษ ฟรี

ในโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

ในหัวข้อ “ไตรภูมิพระร่วง”

โดย ดร.อมรา ศรีสุชาติ
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ในวันเสาร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐น.

ณ อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร๑๐๒๐๐
( อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง )

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งที่
ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
โทร. ๐๒ ๒๒๔ ๑๓๓๓ , ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.54 วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:13:22:23 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการศรีสุขนาฏกรรม
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( อาคารด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
วันศุกร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๗.๐๐ น

รายการแสดง
๑. การแสดงชุดที่ ๑ โหมโรงศรีสุข
๒. การแสดงชุดที่ ๒ การแสดงรำถวายพระพร เพลงมหาราชาอาศิรวาท

ชวลิต ( อี๊ด ) สุนทรานนท์ – ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี – วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม – วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
สมรัตน์ ( เล็ก ) ทองแท้ – วรรณพินี ( ไก่ ) สุขสม

๓. การแสดงชุดที่ ๓ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดเบญจเทพประทานพร

พระอิศวร ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
พระนารายณ์ หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
พระพรหม ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
พระพิฆเนศร์ พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
พระวิษณุกรรม วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
พระฤษี ๑ สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม
พระฤษี ๒ ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ
พระฤษี ๓ ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
พระฤษี ๔ ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
พระฤษี ๕ วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
เทวดา – นางฟ้า ๔ คู่ นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี วนิตา ( นก ) กรินชัย – มะลิ ศิริหลวง จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี – หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ฯ – ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา
พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม

๔. การแสดงชุดที่ ๔ การแสดงละครเรื่องอิเหนา ( แต่งกายแบบชวา ) ตอนปะระตะกาหราประทานพร

ปะตาระกาหลา ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
เทพบริวาร ๑ สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
เทพบริวาร ๒ ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
เทพบริวาร ๓ ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
เทพบริวาร ๔ กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
บุษบา นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
อุณากรรณ คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
บาหยัน จุฑารัตน์ ศรีสละ ( ฝึกงาน)
ปะเสหรัน นศ.สถาบันพัฒนศิลป์

๕. การแสดงชุดที่ ๕ การแสดงละครเทพนิยาย เรื่อง พระไพศรพณ์ประสาทพร
พระอิศวร สมเจตน์ ภู่นา
พระไพศรพน์ ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระแม่ไพศรพน์ มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม

ระบำรวงข้าว
เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี

ระบำหว่านข้าว – เกี่ยวข้าว
น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , พรทิพย์ ทองคำ , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ฯ
พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒนรุ่งเรือง , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ชัยยุทธ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก

ฝัดข้าว
อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , มะลิ ศิริหลวง ,
หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

ระบำเก็บใบชา
นศ.สถาบันพัฒนศิลป์ ๖ คน

ระบำร่อนแร่
นศ.สถาบันพัฒนศิลป์ ๖ คน

เซิ้งจับปลาออกรำกระทบสาก

เซิ้งจับปลา
พงษ์ศักดิ์ บุญล้น – เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ – น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ – สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร – สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ

รำกระทบสาก
พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ – ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่นภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละครจุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์

คนกระทบ
ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒนรุ่งเรือง

นางไห
ถนอม นวลอนันต์ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง

๖. การแสดงชุดที่ ๖ การรำอวยพรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ชวลิต ( อี๊ด ) สุนทรานนท์ – ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
สมเจตน์ ภู่นา – วนิตา ( นก ) กรินชัย
ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี – วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม – วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
สมรัตน์ ( เล็ก ) ทองแท้ – วรรณพินี ( ไก่ ) สุขสม

กำกับการแสดง ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง นงลักษณ์ เทพหัสดิน ฯ , ธนันดา มณีฉาย , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , ประสิทธิ์ คมภักดี เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
อำนวยการฝึกซ้อม ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม ธนิต ศาลากิจ
บอกบท พุทธิยา ( ตุ้ม ) พลับกระสงค์ , ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ
ประสานงานการแสดง สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.26 วันที่: 5 ธันวาคม 2551 เวลา:15:33:46 น.  

 
การแสดงรายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันเสาร์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ถ.สามเสน กรุงเทพฯ

การแสดงชุดที่ ๑ การบรรเลงขับร้องถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประกอบการแสดงชุดนาฏกรรมนำใจน้อมใจถวายพระพร

สัตยวาน สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ สาวิตรี เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ฯ
พระลอ ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ พระเพื่อน เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ พระแพง พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ
สมิงนครอินทร์ เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง เกษรา มะลิ ศิริหลวง
อิเหนา ( แต่งชวา ) คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด บุษบา ( แต่งชวา ) น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
พระมหาอุปราช ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี พระสนมเอก วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
พระอภัยมณี วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ นางละเวง รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี นางสุวรรณมาลี อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา


การแสดงชุดที่ ๒ การแสดงประกอบการบรรเลง-ขับร้อง ตับเรื่องอาบูฮะซัน ตอนลองใจ
พระเจ้ากาหลิบปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต พระนางโซบิเด ธนันดา มณีฉาย
อาบู ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ไข่มุก มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู


การแสดงชุดที่ ๓ การบรรเลง-ขับร้อง จากนักร้องยอดนิยม

ขุนแผน ฉันทวัฒน์ ชูแหวน วันทอง กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม
ก๋วยเจ๋ง ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ อึ้งย้ง พรทิพย์ ทองคำ
อันเดร วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ อันโดร ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ
ไสยศ สมเจตน์ ภู่นา อั้วสิม ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
สมิงพระราม ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ พระราชธิดา เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
บุเรงนอง ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ จันทรา วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต กุสุมา นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา


การแสดงชุดที่ ๔ การแสดงตลก – อวยพรปีใหม่

ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , จรัญ พูลลาภ


การแสดงชุดที่ ๕ การบรรเลง-ขับร้อง ประกอบการสดงชุดคู่ขวัญวรรณคดี – อวยพรปีฉลู

คาวี พงษ์ศักดิ์ บุญล้น จันทร์สุดา นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
พระสุธน วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ มโนห์รา สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
ซมพลา สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด ลำหับ สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
พระไวย มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม ศรีมาลา น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
คนธรรพ์ ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง กากี ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา
ท้าวคูลู พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง นางอั้ว หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ
พระนล วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร ทมยันตี จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี


บัตรชั้นล่างราคา ๑๐๐ บาท ชั้นบน ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.76 วันที่: 25 ธันวาคม 2551 เวลา:1:42:25 น.  

 
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
เอกทันต์นาฏศิลป์ – ดนตรี ร่วมกับชมรมโขนศิษย์วัดโพธิ์หอม
จัดแสดงละครพันทางเรื่อง ราชาธิราช ตอน “ ศึกมังมหานรธา ” ( ตอนที่ ๒ )
เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ.โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
บัตรราคา ๕๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑๐๐ บาท
เกษม ทองอร่าม ทำบท สมชาย ทับพร บรรจุเพลง
ประสาท ทองอร่าม กำกับการแสดง
นำแสดงโดย ดารารับเชิญจากกรมศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มากมาย
ซื้อบัตรได้ที่ คุณ สดใส ทองอร่าม ๐๘-๖๐๓๙-๖๒๓๒


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.76 วันที่: 25 ธันวาคม 2551 เวลา:2:06:39 น.  

 
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖

จัดแสดงเวลา ๑๔.๐๐ น. บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท นักเรียน นักศึกษาเข้าชมเป็นหมู่คณะบัตร ๓๐ บาท

การแสดงครั้งที่ 1 เสาร์ที่ 3 มกราคม 2552 งดการแสดง เนื่องในเทศกาลปีใหม่
การแสดงครั้งที่ 2 เสาร์ที่ 10 มกราคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระลักษมณ์ได้พระขรรค์
การแสดงครั้งที่ 3 เสาร์ที่ 17 มกราคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระลักษมณ์ได้พระขรรค์
การแสดงครั้งที่ 4 เสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552 การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ 5 เสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 ละครเรื่องอิเหนา ตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา (แต่งกายแบบชวา)
การแสดงครั้งที่ 6 เสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 ละครเรื่องอิเหนา ตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา (แต่งกายแบบชวา)
การแสดงครั้งที่ 7 เสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552 ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งความเสียสละ
การแสดงครั้งที่ 8 เสาร์ที่ 14 มีนาคม 2552 ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งความเสียสละ
การแสดงครั้งที่ 9 เสาร์ที่ 21 มีนาคม 2552 ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งความเสียสละ
การแสดงครั้งที่ 10 เสาร์ที่ 4 เมษายน 2552 การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ 11 เสาร์ที่ 11 เมษายน 2552 งดการแสดง เนื่องในเทศกาลสงกรานต์
การแสดงครั้งที่ 12 เสาร์ที่ 18 เมษายน 2552 ศิลปากรคอนเสิร์ต
การแสดงครั้งที่ 13 เสาร์ที่ 2 พฤษภาคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดบรรลัยกัลป์ตามทัพ
การแสดงครั้งที่ 14 เสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดบรรลัยกัลป์ตามทัพ
การแสดงครั้งที่ 15 เสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดบรรลัยกัลป์ตามทัพ
การแสดงครั้งที่ 16 เสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2552 การแสดงละคร เรื่องสาวิตรี
การแสดงครั้งที่ 17 เสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2552 การแสดงละคร เรื่องสาวิตรี
การแสดงครั้งที่ 18 เสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2552 การแสดงละคร เรื่องสาวิตรี
การแสดงครั้งที่ 19 เสาร์ที่ 4 กรกฎาคม 2552 การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ 20 เสาร์ที่ 11 กรกฎาคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดอสุรผัดก่อศึก
การแสดงครั้งที่ 21 เสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดอสุรผัดก่อศึก
การแสดงครั้งที่ 22 เสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2552 การแสดงละครพื้นบ้าน เรื่องผาแดงนางไอ่
การแสดงครั้งที่ 23 เสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2552 การแสดงละครพื้นบ้าน เรื่องผาแดงนางไอ่
การแสดงครั้งที่ 24 เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2552 การแสดงละครพื้นบ้าน เรื่องผาแดงนางไอ่
การแสดงครั้งที่ 25 เสาร์ที่ 5 กันยายน 2552 การแสดงละครพันทาง เรื่องสามก๊ก
การแสดงครั้งที่ 26 เสาร์ที่ 12 กันยายน 2552 การแสดงละครพันทาง เรื่องสามก๊ก
การแสดงครั้งที่ 27 เสาร์ที่ 19 กันยายน 2552 การแสดงละครพันทาง เรื่องสามก๊ก
การแสดงครั้งที่ 28 เสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2552 การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรม
การแสดงครั้งที่ 29 เสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์
การแสดงครั้งที่ 30 เสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2552 โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์
การแสดงครั้งที่ 31 เสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2552 การแสดงละครนอก เรื่องลักษณวงศ์
การแสดงครั้งที่ 32 เสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2552 การแสดงละครนอก เรื่องลักษณวงศ์
การแสดงครั้งที่ 33 เสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2552 การแสดงละครนอก เรื่องลักษณวงศ์
การแสดงครั้งที่ 34 เสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2552 การแสดงรายการพิเศษประจำปี
การแสดงครั้งที่ 35 เสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2552 การแสดงรายการพิเศษประจำปี
การแสดงครั้งที่ 36 เสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2552 การแสดงรายการพิเศษประจำปี
หมายเหตุ
1. วันเสาร์-วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 4-5 ของเดือน และวันอื่น ๆ เปิดบริการให้เช่าสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
2. หากมีเปลี่ยนแปลงรายการแสดงจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบ หรือ โทร.สอบถามรายละเอียดรายการแสดงที่ โทร.035-535116


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.92 วันที่: 27 ธันวาคม 2551 เวลา:7:00:37 น.  

 
กรมศิลปากรจัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ณ.พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์แล้วสดับปกรณ์ถวายพระราชกุศลแด่ ดวงพระวิญญาณพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิธีถวายสักการะ และการแสดงนาฏศิลป์-ดนตรี เนื่องในโครงการปี่พาทย์ เสภาวังหน้า ครั้งที่ ๗
ณ.ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
๐๗.๐๐ น. การบรรเลงเพลงโหมโรงเช้า ( วงสำนักการสังคีต )
พิธีสักการะสิ่งศักด์สิทธิ์ประจำกรมศิลปากร ๑๑ แห่ง เจ้าหน้าที่ กลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีตผู้มอบพวงมาลัยแก่ผู้บริหารสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ – ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , พรทิพย์ ทองคำ , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ฯ รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา , น้องนุช สุวรรณนารัญ
พิธีวางพวงมาลาของหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อถวายสักการะพระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าหน้าที่ต้อนรับและวางพวงมาลา ( ของกลุ่มนาฏศิลป์ ) คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ , สมเจตน์ ภู่นา , ธนันดา มณีฉาย , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒนรุ่งเรือง , อุษา แดงวิจิตร , พุทธิยา ( ตุ้ม ) พลับกระสงค์ , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , นำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , วนิตา ( นก ) กรินชัย , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
๐๗.๓๐ น. การบรรเลงเพลงเรื่อง ( วงสำนักการสังคีต )
๐๘.๓๐ น. พิธีสักการะสังเวย
๑๐.๑๕ น. รำอาศิรวาทราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
( ผู้แสดง ๕ คู่ แต่งยืนเครื่องพระ-นาง เพลงช้า - เพลงเร็ว ระบำ ) ๑.สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ - อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา ๒.กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา ๓. เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ - หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ ๔.พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ - มะลิ ศิริหลวง ๕. จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี - จุฑารัตน์ ศรีสละ ( ฝึกงาน ) กำกับการแสดง – ธานิต ศาลากิจ , ช่วยกำกับการแสดง – นงลักษณ์ เทพหัสดินทร์ , สุกัญญา โชติทัตต์ , ประสานงาน – ตวงฤดี ถาพรพาสี ,ช่วยประสานงาน สุวรรณี สุเสวี , หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู
๑๐.๓๐ น. การบรรเลงเพลงโหมโรงเสภา ( วงกรุงเทพมหานคร )
๑๐.๔๕ น. การบรรเลง-ขับร้อง เพลงเชิดจีน ออกแขกบรเทศ ( วงดุริยางค์ ๔ เหล่าทัพ )
๑๑.๔๕ น. การบรรเลง-ขับร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง ( วงกรุงเทพมหานคร )
๑๒.๐๐ น. การบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ( วงกรุงเทพมหานคร )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.92 วันที่: 27 ธันวาคม 2551 เวลา:7:35:37 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จะจัดพิธีสาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒

ณ.พระอุโบสถบวรสถานสุทธาวาส ( โบสถ์พระแก้ววังหน้า ) ถ.ราชินี เขตพระนคร กรุงเทพฯ ( สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ )

โดยมีพิธีสวดมนต์เย็น ในวันพุธที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ และถวายภัตตาหารเช้า ทำพิธีบูชาครู - ถวายเครื่องสังเวย สาธยายท่ารำ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒

นาฏศิลปิน โขนยักษ์ ผู้ได้รับการถ่ายทอดท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ( รุ่นที่ ๑- ๒ ถึงแก่กรรมหมดแล้ว ) รุ่นที่ ๓ (รับการถ่ายทอดจากนายรงภักดี ( เจียร จารุจรณ ) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป ) ๒๕๒๙ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๗ )
( เฉพาะผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในประเทศ )
นาย ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลปโขน ) ๒๕๔๗ ( สำนักการสังคีต )
นาย จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ ( สำนักการสังคีต ),
นาย จุมพล ( ต๊อก ) โชติทัตต์ ( ข้าราชการบำนาญ สำนักการสังคีต)
นาย สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์ ( สำนักการสังคีต )
นาย สมศักดิ์ ทัดติ ( วนศ.กรุงเทพฯ )


นาฏศิลปิน โขนยักษ์ ผู้ได้รับการถ่ายทอดท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด รุ่นที่ ๔ ( รับการถ่ายทอดจากนาย ราฆพ โพธิเวส นาย จตุพร รัตนวราหะ นาย จุมพล โชติทัตต์ นาย สุดจิตต์ พันธ์สังข์ นาย สมศักดิ์ ทัดติ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๕ )
นาย ประเมษฐ์ บุณยะชัย ( วนศ.กรุงเทพฯ )
นาย ปรีชา ศิลปสมบัติ ( วนศ.เชียงใหม่ )
นาย มนัส สงค์ประพันธ์ ( ข้าราชการบำนาญ สำนักการสังคีต )
นาย ดิษฐ์ โพธิยารมณ์ ( วนศ.เชียงใหม่ )
นาย สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู ( สำนักการสังคีต )
นาย ประดิษฐ์ ศิลปสมบัติ ( วนศ.กรุงเทพฯ )
นาย สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม ( สำนักการสังคีต )
นาย ธนพัชร์ ( สถาพร / อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง ( สำนักการสังคีต )
นาย เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม ( สำนักการสังคีต )
นาย ดำรงศักดิ์ นาฏประเสริฐ ( วนศ.อ่างทอง )
นาย จุลชาติ อรัณยะนาค ( วนศ.กรุงเทพฯ )
นาย วิธาร จันทรา ( วนศ.อ่างทอง )
นาย เชาวนาท ( ไก่ ) เพ็งสุข ( วนศ.ลพบุรี )
นาย อนุสรณ์ สกุลณี ( วนศ.นครศรีธรรมราช ) ( รับการถ่ายทอดจากนาย ราฆพ โพธิเวสเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.92 วันที่: 27 ธันวาคม 2551 เวลา:7:55:36 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากรจัดการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระลักษมณ์ได้พระขรรค์

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี วันเสาร์ที่ ๑๐ และ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ถ.สามเสน กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๑ และ ๘ ก.พ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.

ผู้แสดงฝ่ายพลับพลา
พระราม ( บวช ) ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
นางสีดา ( บวช ) รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
พระลักษมณ์ ( บวช ) ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
นางเสาวรี ( นางฟ้าถูกสาป ) เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
พระอรรคตฤษี ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ
พระอินทร์ พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
เทวดา-นางฟ้า น้องนุช (แมว ) เพชรจรัส , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ, น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พรทิพย์ ทองคำ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา

ผู้แสดงฝ่ายลงกา
ทศกัณฐ์ ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
นางมณโฑ วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
กุมภกาศ กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
มโหธร สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
เปาวนาสูร เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
นางกำนัล นักศึกษา ๖ คน
เสนายักษ์ นักศึกษา ๘ คน
ราชสีห์ลากรถ นักศึกษา ๒ คน ( เฉพาะที่สุพรรณบุรีและนครราชสีมา )


จัดเก็บอุปกรณ์ - กางกลด วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ , สุรินทร์ เขียวอ่อน , ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์

พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

กำกับการแสดง ประสิทธิ์ คมภักดี

ช่วยกำกับการแสดง อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ , ตวงฤดี ถาพรพาสี , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม

อำนวยการฝึกซ้อม ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์

ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

บอกบท ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , วนิตา ( นก ) กรินชัย

ประสานงานการแสดง ประวิทย์ เรืองมาก

ช่วยประสานงานการแสดง สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์

หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.92 วันที่: 27 ธันวาคม 2551 เวลา:8:12:42 น.  

 
สวัสดีค่ะ
บล็อกน่าสนใจมาก ๆ ค่ะ พอดีว่าอยากได้รูปของครูมืดไปลงในหนังสือ ไม่ทราบว่าจะไปขออนุญาตจากใครคะ

ขอบคุณค่ะ


โดย: พลอย ศรีสุโร IP: 58.8.23.221 วันที่: 27 ธันวาคม 2551 เวลา:14:33:17 น.  

 
ยินดีค่ะ ถ้าต้องการไฟล์ต้นฉบับของรูปไหน แจ้งทางเมล์ได้เลยนะคะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 29 ธันวาคม 2551 เวลา:0:53:56 น.  

 
อยากทราบว่า ในใครแสดงเป็นพระราม คะ?


โดย: floral IP: 124.120.65.130 วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:19:07:13 น.  

 
ผู้แสดงเป็นพระรามตอนที่ถ่ายรูปมานี้คือคุณปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ค่ะ


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 8 มกราคม 2552 เวลา:1:55:40 น.  

 
อยากทราบรายการศรีสุขนาฏกรรม เดือน มกราคม 2552 ขอบคุณล่วง


โดย: ครูนภากาศ ชื่นบาน IP: 61.7.185.142 วันที่: 9 มกราคม 2552 เวลา:12:39:20 น.  

 
การแสดงที่สังคีตศาลา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
( ด้านหน้าพระที่นั่งมังคลาภิเศก ระหว่างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และ โรงราชรถ )
ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

เสาร์ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น. บัตรราคา ๒๐ บาท

การแสดงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

๑.การแสดงดนตรีของกลุ่มดุริยางค์สากล

แตรวง กลองยาว
กลองยืน - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , เลียว คงกำเหนิด , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก ,สุรเดช เผ่าช่างทอง
ฉิ่ง - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ฉาบ - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , กรับ - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , โหม่ง - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
รำ- นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา - พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , พรทิพย์ ทองคำ - เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา - วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร

เพลงปลุกใจ - ต้นตระกูลไทย , ศึกบางระจัน , รักกันไว้เถิด ( ผู้แสดงจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ )

๒.การรำอวยพร

นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองงอร่าม - มะลิ ศิริหลวง , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ - อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส - พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู - หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ


๓.โขนเบิกโรงชุดเบญจเทพประทานพร

พระอิศวร - ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , พระนารายณ์ - คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , พระพรหม - สมเจตน์ ภู่นา , พระพิฆเนศร์ - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , พระวิษณุกรรม - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
พระฤษีกไลโกฏ - สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , พระวสิษฐ์ฤษี - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง , พระสวามิตรฤษี – ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , พระวัชชอัคคีฤษี – วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , พระภารัทวาทฤษี – เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
เทวดา- นางฟ้า ๘ คน ( ผู้แสดงจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ )
ผู้พากษ์ - เจรจา - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , กิตติ ( ปีอบ ) จาตุประยูร

๔.ระบำโบราณคดี ( ผู้แสดงจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ )

๕.จตุรทิศเริงสนุก

ภาคเหนือ - ฟ้อนสาวไหม
สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , เอกนันท์ ( กาย )
พันธุรักษ์ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา

ภาคใต้ - ตาลีออกยอเก็ต
สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ - พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี - จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร - น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น - ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา

ภาคกลาง รำเหมราชออกวรเชษฐ์
จุฑารัตน์ ศรีสละ , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา , พรทิพย์ ทองคำ , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

ภาคอีสาน
ไทภูเขา - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒนรุ่งเรือง , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
ลำเพลิน - หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , มะลิ ศิริหลวง , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
นางไห - เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง


โดย: อัญชลี IP: 203.130.159.6 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:3:31:47 น.  

 
การมอบรางวัล“อายุมงคล๒๕๕๑”และสักวากลอนสด

กองทุนหม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล ขอเชิญบุคคลทั่วไปที่สนใจในวงวรรณกรรม ร่วมแสดงความยินดีต่อนักเขียนบทความดีเด่นรางวัล “กองทุนหม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล” ปี ๒๕๕๑ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๒ นี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ งานจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๕.๓๐ -๑๘.๐๐ น. ณ วังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยาเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยประธานในพิธี ท่านหญิงอรรำไพ โกมารกุล ณ นคร จะประทานรางวัลนักเขียนบทความดีเด่นรางวัล “กองทุนหม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล” ปี ๒๕๕๑ ซึ่งได้แก่นางสาวนิพัทธ์พร เพ็งแก้ว นักเขียนอิสระ ผู้มีผลงานเขียนทั้งบทความ สารคดี ฯลฯ ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารทั่วไป รวมทั้งที่รวมเล่มแล้วหลายเล่ม

หลังจากนั้นจะเป็นการบอกสักวา เรื่อง พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีครองเมืองผลึก โดยสมาชิกสโมสรสยามวรรณศิลป์ นำโดย ศ.เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๘ สาขาวรรณศิลป์ อำพล สุวรรณธาดา อดุล จันทรศักดิ์ นิภา ทองถาวร ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง รศ.นภาลัย สุวรรณธาดา และผศ.ดร.ญาดา อารัมภีร
ประกอบการขับร้องและดนตรีคณะดุริยประณีต ในความควบคุมของอาจารย์สุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๓๖ คีตศิลป์


พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
//www.suanpakkad.com/main_thai.php
แผนที่และแผนผังพิพิธภํณฑ์วังสวนผักกาด
//www.suanpakkad.com/map-t.html
_________________


โดย: อัญชลี IP: 203.130.159.6 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:3:34:41 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เสนอ ศิลปากรคอนเสิร์ต
ชุด " วาระครบรอบวันเกิด ครูเอื้อ สุนทรสนาน " ปีที่ ๙๙

โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร สถาพร นิยมทอง อำนวยเพลง

วันเสาร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บัตรชั้นล่างราคา ๑๐๐ บาท ชั้นบน๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm

เพลิดเพลินกับตำนานเพลงอมตะ เช่น หวงรัก ยามรัก ห่วงรัก ยามร้าง จุฬาตรีคูณ ปองใจรัก อ้อมกอดพี่ ธนูรัก ไพรพิศดาร ฯลฯ

ผู้ขับร้อง

ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , วาณี จูฑังคะ , ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ , สมเจตน์ ภู่นา , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สุรพัฒน์ ชูก้าน , กนกนาถ ญาณฤทธิ์

ศิลปินกิตติมศักดิ์
นิตยา ลักษณะวิศิษฐ์ , นารี เตชะสุภากูร

ศิลปินคลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์
ณัฏฐ์นรี มะลิทอง , พรชัย เอกศิริพงษ์ , เชี่ยวชาญ กิจสมบัติไชย , สุบงกช ทองช่วง , นิธิมา รักษาจันทร์ , บัญชา รักษาจันทร์


โดย: อัญชลี IP: 203.130.159.6 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:4:08:45 น.  

 
หนูว่าการแสดงน่าดูแต่ก็น่าอัดวีดีโอมาให้ดูนะค่ะ


โดย: เด็กศิลป์จันทบุรีต้น1/2 IP: 124.157.250.38 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:19:56:10 น.  

 
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง
ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗


โดย: อัญชลี IP: 203.130.159.6 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:22:23:42 น.  

 
รายการแสดงดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๕๖ ที่สังคีตศาลา ( ด้านหน้าพระที่นั่งมังคลาภิเศก ระหว่างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และ โรงราชรถ )
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
( ดูแผนที่ //www.thailandmuseum.com/bangkok/maplocation.htm )
เวลาแสดง ตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป บัตรราคา ๒๐ บาท

มกราคม
วันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๒ การแสดงเนื่องในวันเปิดฯ

-รำอวยพรเปิดสังคีตศาลาปีที่ ๕๖
-โขนเบิกโรง ชุดเบญจเทพประทานพร
-ระบำสี่ภาค
-ระบำโบราณคดี ๕ ชุด
-จินตลีลาประกอบเพลงปลุกใจรักชาติ

วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๒ - การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ของกรมศิลปากร ตอนสุครีพถอนต้นรัง
วันเสาร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒ -การบรรเลงดนตรีไทย ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๒ - การบรรเลงดนตรีสากล ของกรมศิลปากร
วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒ การแสดงวิพิธทัศนาของกรมศิลปากร

กุมภาพันธ์
วันอาทิตย์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การแสดงและการบรรเลง คณะสำเนียง ไพเราะ
วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การบรรเลงดนตรีไทย มูลนิธิดุริยประณีต
วันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การบรรเลงดนตรีสากล คณะสุนทราภรณ์
วันเสาร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ของกรมศิลปากร ตอนทหารหน้ารามาวตาร
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย โรงเรียนนาฏศิลป์ขาบมงคล
วันเสาร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย และการบรรเลงของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย และการบรรเลงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
วันเสาร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย โรงเรียนนาฏศิลป์สัมพันธ์
มีนาคม
วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ ตอนพลัดพราก , กุมภณฑ์ถวายม้า ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ( ชุดการแสดงงานพระเมรุสมเด็จพระพี่นางฯ )
วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย โรงเรียนบ้านครูทิพย์
วันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทยและการบรรเลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้น ปวช.ปีที่ ๓ วิทยาลัยนาฏศิลป
วันเสาร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงลิเกของคณะกรณ์กัญจนรัตน์
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทยและการบรรเลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้น ปวช.ปีที่ ๓ วิทยาลัยนาฏศิลป ( โขน )
วันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ของกรมศิลปากร ตอนศึกท้าวจักรวรรดิ์
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงหุ่นกระบอกออกตัว คณะคุณรัตน์
วันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม การบรรเลงดนตรีสากลของกรมศิลปากร
เมษายน
วันเสาร์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒ งดการแสดง เนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ งดการแสดง เนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์


วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒ การบรรเลงดนตรีไทยของกรมศิลปากร
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ การแสดงละครพันทางเรื่องราชาธิราช ของกรมศิลปากร ตอนกำเนิดมังรายกะยอชวา
วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทยและการบรรเลงของโรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒ การแสดงเนื่องในวันปิดฯ
รายการแสดงนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


โดย: อัญชลี IP: 203.130.159.6 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:22:59:05 น.  

 
โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า , ชมรมคนรักวัง , ชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์วังพญาไท

ขอเชิญชม ดนตรีและนาฏศิลป์ ๑๐๐ ปี พระราชวังพญาไท
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๓๐ น. ฟรี
ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท
( โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า //www.pmk.ac.th/ ถนน ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ )

วงดนตรีวงใหญ่ , ชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์วังพญาไท

สรรเสริญเสือป่า โหมโรงมงกุฏเพชร ( มโหรี ) มหาธีรราชสดุดี ( มโหรี )
แขกบรเทศอวยพร ( มโหรีเดี่ยวรอบวง ) ลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น ( มโหรี )
เขมรไทรโยค / เดี่ยวกู่เจิ้ง โดย อาจารย์ สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ

เพลงไพเราะ ( คีย์บอร์ดและไวโอลิน )

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ , สารรัก , สีชัง , ความรัก , ฟลอร์เฟื่องฟ้า , ลานลั่นทม ฯลฯ
กระต่ายเต้น ( ออกระบำกระต่าย ) ระบำอัศวลีลา ( ปี่พาทย์ไม้แข็ง )
เงี้ยวออกเซิ้ง ( ปี่พาทย์ไม้แข็งเดี่ยวรอบวง )

นักร้องรับเชิญ

พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงษ์ , พล.ท.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ , พล.ท.สหชาติ พิพิธกุล
พล.ต.กิตติพล ภัคโชตานนท์ , พ.ท.( หญิง ) เทียมจันทร์ กงบุราณ , วิชุดา ไตรธรรม
พ.ท.( หญิง ) เกษราภรณ์ รัชตะเกรียงไกร , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน ( สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ดร.กำจร เชาวน์รัตน์ และ ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์ )
คณบดี คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:9:25:27 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

มกราคม

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๔ มกราคม ๒๕๕๒ งดการแสดงเนื่องในเทศกาลปีใหม่
วันอาทิตย์ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๒ งดการแสดงเนื่องในวันเลือกตั้ง
วันเสาร์ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศิลปากรคอนเสิรต์ ( The National Symphony Orchestra )
วันศุกร์ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๓ มกราคม ๒๕๕๒ งดการแสดงเนื่องในเทศกาลปีใหม่
วันเสาร์ ๑๐ และวันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระลักษมณ์ได้พระขรรค์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
วันอาทิตย์ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระลักษมณ์ได้พระขรรค์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:9:35:13 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

กุมภาพันธ์

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระลักษมณ์ได้พระขรรค์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันอาทิตย์ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระลักษมณ์ได้พระขรรค์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๑๔ กุมภาพันธ์ และวันเสาร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครเรื่องอิเหนา ตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา – บวงสรวง ( แต่งกายแบบชวา )
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:9:39:28 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

มีนาคม

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ
วันอาทิตย์ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ
วันศุกร์ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศิลปากรคอนเสิรต์ ( The National Symphony Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๗ มีนาคม , วันเสาร์ ๑๔ มีนาคม และวันเสาร์ ๒๑ มีนาคมเวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:9:44:21 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

มีนาคม

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ
วันอาทิตย์ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ
วันศุกร์ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการศิลปากรคอนเสิรต์ ( The National Symphony Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๗ มีนาคม , วันเสาร์ ๑๔ มีนาคม และวันเสาร์ ๒๑ มีนาคมเวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:9:46:58 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

เมษายน

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งการเสียสละ
วันอาทิตย์ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ งดการแสดงเนื่องในเทศกาลสงกรานต์
วันศุกร์ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น. รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๔ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.งดการแสดงเนื่องในเทศกาลสงกรานต์
วันเสาร์ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๖เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:9:51:15 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

พฤษภาคม

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี
วันอาทิตย์ ๑๐พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี
วันเสาร์ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )
วันศุกร์ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๒ พฤษภาคม วันเสาร์ ๙ และวันเสาร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนบัลลัยกัลป์ตามทัพ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนบัลลัยกัลป์ตามทัพThai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:9:54:39 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

มิถุนายน

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี
วันอาทิตย์ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี
วันศุกร์ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๖ มิถุนายน ,วันเสาร์ ๑๓ และ วันเสาร์ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:00:51 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

กรกฎาคม

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน ติดท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี
วันอาทิตย์ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครร้องเรื่องสาวิตรี
วันเสาร์ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )
วันศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๑๑ และ วันเสาร์ ๑๘ กรกฎาคม๒๕๕๒เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดอสุรผัดก่อศึก

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:12:30 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จะย้ายสถานที่จัดการแสดงจาก โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์
มาจัดแสดงที่โรงละครแห่งชาติ ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป

สิงหาคม

โรงละครแห่งชาติ ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันอาทิตย์ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันอาทิตย์ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๓๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )
วันศุกร์ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )
วันศุกร์ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๑ สิงหาคม , วันเสาร์ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ และ วันเสาร์ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง ละครพื้นบ้าน เรื่องผาแดงนางไอ่

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดอสุรผัดก่อศึก Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:25:37 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

กันยายน

โรงละครแห่งชาติ ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันอาทิตย์ ๖ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๓๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )
วันอาทิตย์ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )
วันศุกร์ ๒๕กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๕ กันยายน ,วันเสาร์ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๒ และ วันเสาร์ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดงละครพันทางเรื่องสามก๊ก

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง ละครพื้นบ้าน เรื่องผาแดงนางไอ่


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:30:18 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

ตุลาคม

โรงละครแห่งชาติ ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันอาทิตย์ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๓๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )
วันอาทิตย์ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )
วันศุกร์ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )
วันเสาร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ และ วันเสาร์ ๑๗ ตุลาคม เวลา ๑๔.๐๐ น. การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง ละครเสภา เรื่องไกรทอง ตอนไกรทองอาสา


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:34:57 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

พฤศจิกายน

โรงละครแห่งชาติ ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันอาทิตย์ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันอาทิตย์ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๓๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )
วันศุกร์ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )
วันศุกร์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๗ พฤศจิกายน , วันเสาร์ ๑๔ พฤศจิกายน และ วันเสาร์ ๒๑ พฤศจิกายน๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง ละครนอกเรื่องลักษณวงศ์

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์
Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:10:48:52 น.  

 
ปฏิทินการจัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
Office of Performing Arts , The Fine Arts Department
Ministry Of Culture , Royal Thai Government
โดยนาย การุณ สุทธิภูล ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต

ธันวาคม

โรงละครแห่งชาติ ๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันอาทิตย์ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๓๐ น.รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ( The National Symphony Orchestra )
วันอาทิตย์ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.การแสดง โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ Thai classic masked play enacting scenes from the Ramayana ( Khon )
วันศุกร์ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ ( Thai Classical Music Orchestra )
วันศุกร์ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.รายการศรีสุขนาฏกรรม ( Srisukkha Nattakam )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

วันเสาร์ ๕ ธันวาคม , วันเสาร์ ๑๒ ธันวาคมและ วันเสาร์ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ การแสดง รายการพิเศษประจำปี

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

วันอาทิตย์ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น.การแสดง ละครนอกเรื่องลักษณวงศ์


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:11:36:09 น.  

 
สถานที่จัดแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร


โรงละครศรีอยุธยา
ในหอวชิราวุธานุสรณ์ ( ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม )ด้านข้างหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์: ๐๒-๒๘๑๗๕๔๐ โทรสาร: ๐๒-๒๘๒๓๒๖๔
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙
การแสดงในวันศุกร์จะแสดงในเวลา ๑๗.๐๐ น.
การแสดงในวันเสาร์-อาทิตย์จะแสดงในเวลา ๑๔.๐๐ น.


โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ( ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป )

๒ ถ.ราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ , ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒
นาย ยงยุทธ ไหวพริบ หัวหน้ากลุ่มโรงละครแห่งชาติ
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ ( นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะ ลดครึ่งราคา )
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗
การแสดงในวันศุกร์จะแสดงในเวลา ๑๗.๐๐ น.ยกเว้นรายการศิลปากรคอนเสิร์ตจะแสดงในเวลา ๑๙.๓๐น.
การแสดงในวันอาทิตย์จะแสดงในเวลา ๑๔.๐๐ น. ( วันเสาร์ในกรุงเทพจะไม่มีการจัดแสดงในรายการปกติ )


โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
นาย สุเทพ ( แดง ) แก้วดวงใหญ่ หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา )


โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา

๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา ๓๐๒๘๐( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม.)
โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา)


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.213 วันที่: 17 มกราคม 2552 เวลา:11:40:11 น.  

 
รายการศรีสุขนาฏกรรม
โรงละครศรีอยุธยา ในหอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพฯ วันศุกร์ที่ ๓๐ ม.ค. ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.

๑. การขับร้องประกอบการบรรเลง ชุด ศรีสุขอำนวยพร

๒. ละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่อง กำเนิดสุริยะและโสมเทพ
พระอิศวร – ประสิทธิ์ คมภักดี , พระอาทิตย์ – ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , พระจันทร์ – วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
เทวดา – นางฟ้า กรุงเทพฯ - นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส – สุพรรณบุรี – นักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี

๓.ละครเบิกโรง ชุดกำเนิด ยักษ์ – ลิง ไม้ไผ่สีสุก
พระอิศวร – ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระฤษีสุขวัฒนะ – ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
ลิง , ยักษ์ – นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

๔.ละครนอก เรื่อง จันทโครพ
พระฤษีสิทธิ - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , พระจันทโครพ – ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , นางโมรา – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี

๕.ละครพันทางเรื่องราชาธิราช ตอน กำเนิด มังรายกะยอชวา
เมืองอังวะ - พระเจ้ากรุงอังวะ – ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , พระมเหสี – วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , มังรายกะยอชวา – พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , ราชทูต – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , อาลักษณ์ – สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ทหารคนสนิท – ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , สุรินทร์ เขียวอ่อน , ทหารพม่า - นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๔ คน , นางระบำ – พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , มะลิ ศิริหลวง , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , พรทิพย์ ทองคำ , นางสนม - นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๒ คน
เมืองหงสาวดี - พระเจ้าราชาธิราช – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , อำมาตย์ – เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , เลียว คงกำเหนิด , อาลักษณ์ – ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ , ทหารมอญ – นักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๔ คน , ตลก – ถนอม นวลอนันต์ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง

กำกับการแสดง – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง – ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , อุษา แดงวิจิตร , สุรเดช เผ่าช่างทอง , ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ
อำนวยการฝึกซ้อม - ศิริวัฒน์ ดิษยนันท์ ศิลปินแห่งชาติ , ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – ธานิต ศาลากิจ
บอกบท – สุกัญญา โชติทัตต์ , อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ , ประสานงานการแสดง – ประสิทธิ์ คมภักดี , ช่วยประสานงานการแสดง – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์ , หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.49 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:19:25:06 น.  

 
กำหนดการ วันไหว้ครูโขนธรรมศาสตร์
โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สนับสนุนโดย มูลนิธิคึกฤทธิ์๘๐ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒ ณ “บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์”

๐๙.๑๙ น. • คณะกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์๘๐ฯ คณาจารย์ผู้สอน คณะโขน- ธรรมศาสตร์ คณะกรรมการโครงการฯ และผู้เกี่ยวข้องมาพร้อมกันที่ศาลาไทยแล้ว เริ่มพิธี
• ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์๘๐ฯ จุดธูป เทียน บูชาครู เสร็จแล้วจุดธูป เทียน บูชาหน้ารูปศาสตราจา พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
• อาจารย์ไพฑูรย์ เข้มแข็ง วิทยาลัยนาฏศิลป ประธานผู้ประกอบพิธี ทำพิธีอ่านโองการ
• ทำพิธีไหว้ครู-ครอบครู
• คณะโขนธรรมศาสตร์รำถวายมือบูชาครู
๑๒.๐๐ น. • เสร็จพิธี
๑๒.๓๐ น. • รับประทานอาหาร
๑๓.๐๐ น. • ถ่ายรูปลงสูจิบัตร
๑๕.๐๐ น. • ปิดงาน
( ดนตรีประกอบพิธีได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยนาฏศิลป )

การแสดงโขนธรรมศาสตร์ ๗๕ ปี มธก.วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒
เพื่อเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม และฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์ขั้นสูงของไทย และร่วมเฉลิมฉลองในวาระ ๗๕ ปีแห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง สถาบันไทยคดีศึกษา ( โทร. ๐๒-๖๑๓-๓๒๐๑-๕ ) และมูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จัดการแสดงโขนธรรมศาสตร์
สามตอนคือ ตอน ชูกล่องดวงใจ ตอน สีดาลุยไฟ และตอน พระรามครองเมือง


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.49 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:20:35:11 น.  

 
เชิญเที่ยวงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ อุทยาน ร.2
มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ จังหวัดสมุทรสงคราม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมศิลปากร และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสมุทรสงคราม จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประจำปี 2552 ในระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2552 ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

นางสาวอังคณา พุ่มผกา ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ โดยได้รับการยกย่องจาก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 จึงได้มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ ททท. ได้ให้การสนับสนุนและประชาสัมพันธ์การจัดงานเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับกิจกรรมภายในงาน นักท่องเที่ยวจะได้ชมการประกวดวาดภาพพร้อมคำบรรยาย “ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ชมการแสดงนาฏศิลป์ตามบทพระราชนิพนธ์ เรื่องคาวี ตอนพระคาวีรบกับไวยทัต โดย ยุวศิลปินมูลนิธิฯ รำอาเศียรวาท และ โขน ตอน จองถนน โดยศิลปินกรมศิลปากร การแสดงละครชาตรี การแสดงหุ่นกระบอก การสาธิตการทำขนมไทย และ ของเล่น-ของใช้พื้นบ้าน การประกวดบัว การจัดนิทรรศการต่าง ๆ เช่น นิทรรศการกระทงกาบกล้วย นิทรรศการเรื่องเกลือ นิทรรศการภาพถ่าย “มุมสวยในอุทยาน ร.2” การสาธิตทำเครื่องประดับนพเก้า งานช่างสิบหมู่ เป็นต้น นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกซื้อสินค้าชุมชน ติดไม้ติดมือกลับได้อีกด้วย

สนใจสอบถามรายละอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยาน ร.2 โทร. 0-3475-1666
หรือ ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม โทร. 0-3475-2847-8
หรือ TAT Call Center 1672

//kingrama2found.or.th/index.html
บัตรราคา ๕๐๐ บท ๓๐๐ บาท และ ๕๐ บาท กรุงเทพฯ ติดต่อที่ ๐๒๖๒๘๗๒๑๗


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.49 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:20:38:28 น.  

 
ข้อมูลเพิ่มเติมความเห็นที่ 390
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เสนอ ศิลปากรคอนเสิร์ต
ชุด " วาระครบรอบวันเกิด ครูเอื้อ สุนทรสนาน " ปีที่ ๙๙

โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร สถาพร นิยมทอง อำนวยเพลง

วันเสาร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บัตรชั้นล่างราคา ๑๐๐ บาท ชั้นบน๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐ ๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm

ช่วงที่ ๑ ศิลปินจากกรมศิลปากร

๑. เพลงยามรัก ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ
๒. เพลงยามร้าง ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๓. เพลงคิดถึง สมเจตน์ ภู่นา
๔. เพลงลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง นิตยา ลักษณวิสิษฐ์
๕. เพลงขอให้เหมือนเดิม สุรพัฒน์ ชูก้าน
๖. เพลงถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนเดิม กนกนาถ ญาณฤทธิ์
๗. เพลงหนึ่งในดวงใจ (ช ) ธีรเดช กลิ่นจันทร์
๘. เพลงหนึ่งในดวงใจ ( ญ ) นารี เตชะสุภากูร
๙. เพลงหวงรัก ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
๑๐. เพลงห่วงรัก วาณี จูฑังคะ

ช่วงที่ ๒ ศิลปินจากสุนทราภรณ์ ( คลื่นลูกใหม่ ) เพลงจากซีดีชุด “สืบสานตำนานเพลง”

๑๑. เพลงจุฬาตรีคูณ มีน ณัฏฐ์นรี มะลิทอง
๑๒. เพลงจ้าวไม่มีศาล โน้ต พรชัย เอกศิริพงษ์
๑๓. เพลงปองใจรัก มีน ณัฏฐ์นรี มะลิทอง – เอ็ม เชี่ยวชาญ กิจสมบัติไชย
๑๔. เพลงอ้อมกอดพี่ เอ็ม เชี่ยวชาญ กิจสมบัติไชย
๑๕. เพลงใต้ร่มมลุลี นุ่น สุบงกช ทองช่วง - โน้ต พรชัย เอกศิริพงษ์
๑๖. เพลงโยสลัม เอ็ม เชี่ยวชาญ กิจสมบัติไชย - โน้ต พรชัย เอกศิริพงษ์
๑๗. เพลงธนูรัก นุ่น สุบงกช ทองช่วง
๑๘. เพลงไพรพิสดาร ปาน นิธิมา - จิมมี่ บัญชา รักษาจันทร์
๑๙. เพลงสุขกันเถอะเรา ขับร้องหมู่คลื่นลูกใหม่
๒๐. เพลงชื่นชีวิต ขับร้องหมู่คลื่นลูกใหม่


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.209 วันที่: 22 มกราคม 2552 เวลา:0:17:05 น.  

 
การแสดงที่สังคีตศาลา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
( ด้านหน้าพระที่นั่งมังคลาภิเศก ระหว่างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และ โรงราชรถ )
ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

รายการเดิม
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๒ - การบรรเลงดนตรีสากล ของกรมศิลปากร
วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒ การแสดงวิพิธทัศนาของกรมศิลปากร

มีการเปลี่ยนแปลงเป็น
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๒-การแสดงวิพิธทัศนาของกรมศิลปากร
วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒ การบรรเลงดนตรีสากล ของกรมศิลปากร

รายการบรรเลงการแสดงดนตรีสำหรับประชาชนชุด”เพลินเพลงสามภาษากับดาราศิลปากร”
วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.
ณ สังคีตศาลา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติโดย วงศิลปากร ไลท์ออร์เคสตรา สถาพร นิยมทอง อำนวยเพลง
BLUE TANGO บรรเลงเปิดวง
1. เพลงคนึงครวญ วาณี จูฑังคะ
2. เพลงใจรัก ทรงพล เอี่ยมสอาด
3. เพลงเมื่อไรจะให้พบ กนกนาถ ญาณฤทธิ์
4. เพลงดาวประดับใจ สมเจตน์ ภู่นา
5. เพลงปลูกรัก นารี เตชะสุภากูร
6. เพลงหัวใจร้องเรียก นารี เตชะสุภากูร
7. เพลงฟลอร์เฟื่องฟ้า อาภัสรา นกออก
8. เพลงท่าน้ำ อาภัสรา นกออก
9. เพลงเทียนมี่มี วาณี จูฑังคะ
10. เพลงเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ดวงดาว เถาว์หิรัญ
11. เพลงอารีซัน ดวงดาว เถาว์หิรัญ
12. เพลงGIMMY HOPE JOHANNA รัศมี เทพกิจ
13. เพลงBEAUTIFUL MARIA OF MY SOUL ทรงพล เอี่ยมสะอาด
14. เพลงSWAY กนกนาถ ญาณฤทธิ์
15. เพลงPEPITO สุรพัฒน์ ชูก้าน
16. เพลงFLY ME TO THE MOON สุรพัฒน์ ชูก้าน
17. เพลงอยากเจอคนจริงใจ นัทพร อ่องสาธร
18. เพลงสามโห่สามช่า นัทพร อ่องสาธร
19. เพลงชมทุ่ง รัศมี เทพกิจ
20. เพลงรักเธอทุกพ.ศ. กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ
21. เพลงโรงแรมใจ ภมรรัตน์ โพธิ์สัตย์
22. เพลงมะนาวไม่มีน้ำ กัญจนปกรณ์ - ภมรรัตน์
23. เพลงโสน-สะเดา กัญจนปกรณ์ - ภมรรัตน์
24. เพลงตังเก จุลชาติ อรัญยะนาค
25. เพลงมนต์รักลูกทุ่ง จุลชาติ อรัญยะนาค
26. เพลง MORE THAN I CAN SAY ธีรเดช กลิ่นจันทร์
27. เพลงโปรดเถิดดวงใจ ธีรเดช กลิ่นจันทร์
28. เพลงบุหลงกากาตัว สายัณห์ ธารีเธียร


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.209 วันที่: 22 มกราคม 2552 เวลา:0:21:59 น.  

 
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
//www.theprincessmothermemorialpark.org/
ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600
โทร : 0-2437-7799, 0-2439-0896, 0-2439-0902 โทรสาร : 0-2437-1853
E-mail : webmaster@theprincessmothermemorialpark.org , pmmemorialpark@yahoo.com
** รถประจำทางที่ผ่าน : สาย 6, 42, 43 **
ดูแผนที่ //www.theprincessmothermemorialpark.org/organizetion.htm

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 การแสดงชุด "ชมย่านบ้านเดิม...เพลิดเพลินดนตรี" การแสดงดนตรีประกอบการบรรยายย้อนรอยประวัติศาสตร์ย่านพระนคร และย่านฝั่งธนบุรีริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552การแสดงชุด "ใต้ร่มโพธิสมภาร ขับขานตำนานเพลงสยาม"เสวนาตำนานเพลงสยาม เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงปลุกใจ รวมถึงเพลงเทิดพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณ ของพระมหากษัตริย์ไทย เช่น เพลงวอนพ่อตากสิน เพลงพระเทพทรงบุญฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 การแสดงชุด"กวีรส บทเพลงวรรณคดี" ย้อนตำนานบทเพลงที่เกี่ยวกับวรรณคดีไทย ประกอบการแสดงตัวละครในเรื่อง เช่นผู้ชนะสิบทิศฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 การแสดงชุด "เล่าขานตำนานเพลงดัง หนังไทยในอดีต" การบรรยายประกอบเพลง เกี่ยวกับภาพยนตร์ ไทยในอดีตยุคเฟื่องฟู โดยนำเสนอฉากสำคัญในภาพยนตร์ที่ชวนให้นึกถึงและประทับใจอาทิ ขวัญกับเรียมเล่นน้ำในเรื่องแผลเก่าฯลฯ

ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 16.00 - 18.00 น.

( ในเดือนมีนาคมทุกวันอาทิตย์ จะเป็นการแสดงดนตรีของ วงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร The National Symphony Orchestra)


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.209 วันที่: 22 มกราคม 2552 เวลา:0:27:21 น.  

 
การแสดงกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๓๖ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒

กองทัพเรือร่วมกับสภากาชาดไทย กำหนดจัดการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๓๖ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ในวันที่ ๑๘ และ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๒๐๐๐ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

กองทัพเรือได้จัดให้มีการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งแรกในปี ๒๕๐๔ ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย อันเป็นการสนองพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จะให้การช่วยเหลือรักษาพยาบาลเพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วยทั้งมวลให้ได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดไป นอกจากนี้ยังเป็นการเผยแพร่ แนวเพลงคลาสสิกให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายแก่คนทั่วไปด้วย โดยการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตได้จัดขึ้นเป็นประจำ ทุกปี ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งกองทัพเรือได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน ผู้มีจิตกุศลทั้งหลาย รวมทั้งข้าราชการกองทัพเรือในการจัดงานและร่วมบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย

และในปีนี้ กองทัพเรือ ก็ได้เตรียมความพร้อมในการจัดการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตไว้แล้วอย่างเต็มที่ โดยครึ่งแรกจะเป็นการแสดงความสามารถถ่ายทอดความไพเราะของดนตรีคลาสสิคจำนวน ๔ เพลง ใช้เครื่องดนตรีพิณ (Harp) เป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอก ส่วนในครึ่งหลังเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงรักชาติ มีนักร้องร่วมขับร้อง คือ จ่าเอกหญิง ณฐยมล รุ่งไพโรจน์ ข้าราชการกองดุริยางค์ทหารเรือ นักร้องรับเชิญ เจนนิเฟอร์ คิ้ม นภาดา สุขกฤต และสันติ ลุนเผ่ ที่จะมาร่วมถ่ายทอดพลังเสียงในบทเพลงเกียรติศักดิ์ทหารเสือ และดุจบิดา มารดร และจบการแสดงด้วยการขับร้องเพลงประสานเสียงในบทเพลงทหารเรือของนักร้องรับเชิญทั้ง ๓ ท่าน

ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย เพื่อช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย และร่วมรับฟังบทเพลงไพเราะในการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการจัดการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๘๙๑ ๑๘๒๖ และ ๐ ๒๘๙๑ ๑๘๒๗ สำหรับผู้บริจาคเงินตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป จะได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานของที่ระลึกในวันแสดง


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.209 วันที่: 22 มกราคม 2552 เวลา:0:30:40 น.  

 
อ.วรวินัย ( ตู่ ) หิรัญมาศ อ.แผนกหัตถศิลป์ คณะศิลปะประจำชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง
ผู้อำนวยการสถาบันศิลปและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลรัตนโกสินทร์
แจ้งมาว่าจะมีการแสดงหุ่นกระบอกของวิทยาลัยเพาะช่าง ตอนพระไวยแตกทัพ
ที่หน้าอาคาร ซี พี ทาวเวอร์ ถ.สีลม กรุงเทพฯ
( เยื้องๆ ร.พ.กรุงเทพคริสเตียน และสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง )
วันศุกร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป ฟรี
//av.sac.or.th/Subdetail/seminar/sum_of_seminar/seminar42.html

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้จัดการเสวนาเรื่อง “ศิลปะในงานหุ่นกระบอก” วิทยากรประกอบด้วย อ.วรวินัย หิรัญมาศ และอ.ภัทรไชย แสงดอกไม้ จากภาควิชาหัตถศิลป์ คณะศิลปะประจำชาติ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง อ.กมล การกิจเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นกระบอกจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยมี อ.พนิดา ฐปนางกูร จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
..........................................................................................................................................
.วิทยากรท่านแรก คือ อ.วรวินัย เล่าว่า พื้นเพเดิมเป็นคนอยุธยา ได้เรียนงานช่างสิบหมู่และฝึกทำหัวโขนกับ ม.ร.ว.จรูญสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ แล้วก็มาเรียนที่เพาะช่างเมื่อ พ.ศ.2512 เรียนทางด้านหัตถกรรมซึ่งก็คืองานช่างสิบหมู่ จบแล้วก็เป็นครูสอนที่คณะศิลปะประจำชาติ โรงเรียนเพาะช่าง โดยได้ดูแลงานด้านหัตถศิลป์มาตั้งแต่ พ.ศ.2519 ส่วนสาเหตุที่หันมาจับงานหุ่นกระบอกนั้นก็เพราะ “ป้าชื้น” ให้ช่วยซ่อมหุ่นเก่าๆ ที่บ้าน ซึ่ง “ครูเปียก” พ่อของป้าชื้นเป็นคนทำขึ้นเอง จากนั้น อ.วรวินัยก็ได้เล่าประวัติการทำหุ่นกระบอกในเมืองไทยโดยสังเขป โดยกล่าวถึงคณะหุ่นของ ม.ร.ว.เถาะ พยัคฆเสนา และช่างทำหุ่นสมัยก่อนอย่าง “ตาเหน่ง”, “ครูมณี” และ “ครูชิด แก้วดวงใหญ่”
..........................................................................................................................................

สำหรับหุ่นโบราณสวยๆ ในปัจจุบันนั้น อ.วรวินัยเล่าว่า มีอยู่ที่บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซึ่งเป็นหุ่นที่มีลักษณะแบบหุ่นพระองค์สุทัศน์ ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ อีกแห่งที่มีหุ่นสวยๆ เป็นฝีมือช่างหลวง คือที่บ้านจางวางทั่ว พาทยโกศล ตรงวัดกัลยาณ์ มีประมาณ 50 หัว ฝีมือช่างจากหลากหลายที่ นอกจากนั้น หุ่นส่วนใหญ่ก็เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน เช่น แถบอัมพวาของคุณแม่สาหร่าย ลุงวงศ์ ลุงสุข ส่วนที่เพาะช่างเองก็เปิดสอนการทำหุ่นกระบอก เป็นวิชาเอกวิชาหนึ่งในแผนกหัตถศิลป์ และมีการตั้งคณะหุ่นมาประมาณ 4 ปีแล้ว โดยรวบรวมหุ่นจากฝีมือนักศึกษามาแสดง อ.วรวินัยสรุปว่า คนเล่นหุ่นควรทำหุ่นได้เองด้วย เพื่อให้สามารถปรับเข้ากับการแสดงจริง

ในช่วงสุดท้ายของการเสวนา อ.พนิดาตั้งคำถามว่า เมื่อหุ่นกระบอกเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นเครื่องประดับแล้ว ในฐานะคนทำหุ่น คิดว่าอนาคตของหุ่นกระบอกจะเป็นอย่างไร? อ.วรวินัยตอบว่า โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว หุ่นกระบอกหรืองานศิลปะอื่นๆ แต่เดิมทำขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงมหรสพ ต่อมาเมื่อมีการท่องเที่ยว ศิลปะบางอย่างก็เฟื่องฟูขึ้นมา เพราะนักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจอยากได้กลับไปเป็นของที่ระลึก เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนเราไปต่างประเทศก็อยากซื้อของที่ระลึกจากประเทศนั้นๆ มาประดับบ้าน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการย่อขนาดให้เล็กลง สามารถนำไปประดับได้สะดวกขึ้น ในช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาหลังวิกฤตเศรษฐกิจ คนไทยจำนวนหนึ่งเลิกเห่อฝรั่งและหันมานิยมของไทยมากขึ้น ส่งผลให้งานช่างไทยฟื้นกลับมาอย่างไม่น่าเชื่อ มีคนมาสั่งงานมากมาย ปัจจุบันก็มีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่ง อ.วรวินัย ก็มองว่า ถือเป็นการกระจายรายได้ให้พวกช่าง ได้มีกำลังใจทำงานต่อไป

สำหรับการนำหุ่นกระบอกไปประดับตกแต่งนั้น อ.วรวินัยกล่าวว่า ถ้านำไปประดับจัดวางในที่ที่เหมาะที่ควรก็จะทำให้งานมีคุณค่ายิ่งขึ้น เพราะของพวกนี้โบราณถือว่าเป็นของสูง พวกที่อยู่ในวงการ (นักแสดง ศิลปิน ปี่พาทย์ โขน ละคร) จะให้ความเคารพบูชาเสมือนเป็นตัวแทนครูบาอาจารย์ที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่ามาสิงสู่อยู่ในหุ่นกระบอกหรือหัวโขน อ.วรวินัยกล่าวว่า เรื่องแบบนี้แล้วแต่คนเชื่อ สำหรับคนที่ไม่เชื่อหรือไม่ใช่คนในวงการแสดง ก็ไม่ต้องไหว้ไม่ต้องเอามาลัยดอกไม้ไปบูชา ปล่อยให้เป็นของประดับเฉยๆ เหมือนตุ๊กตาตัวหนึ่ง แต่ถ้ามีการไหว้บูชาแล้วก็ต้องทำอย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นอาจมี “ปัญหา” บางอย่างเกิดขึ้น โดยส่วนตัวแล้ว อ.วรวินัยมองว่า ถ้าทำให้ดีพลีให้ถูก เทวดาก็รักษา
..........................................................................................................................................


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.152 วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:18:25:54 น.  

 
ข้อมูลการจัดกิจกรรมเทศกาลตรุษจีน

1. เทศกาลตรุษจีนไชน่าทาวน์เยาวราช กรุงเทพมหานคร
กำหนดจัดงาน วันที่ 26-27 มกราคม 2552
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนเยาวราช กรุงเทพมหานคร

วันที่ 26 มกราคม 2552

เวลา 16.30 น.(ตามหมายกำหนดการ) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จถึงซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติเยาวราชฯ บริเวณถนนเยาวราช เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน

กิจกรรมภายในงาน
- การแสดงกายกรรมและศิลปวัฒนธรรมจาก 7 มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย มณฑลกวางสี มณฑลไห่หนาน มณฑลอานฮุย มณฑลซานตง(เอียนไถ) มณฑลเฮยหลงเจียง มณฑลจี๋หลิน และเขตปกครองตนเอง(มณฑล) มองโกลเลียใน
- การแสดงทางวัฒนธรรมจากวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์
- การแสดงจากศิลปิน GMM Grammy
- การตกแต่งพื้นที่รอบๆ ถนนเยาวราชให้เป็นบรรยากาศแบบจีน เช่นประดับโคมไฟ ฯลฯ
- กิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น นิทรรศการศิลปวัฒนธรรมของจีน ฯลฯ

☻กิจกรรมเสริมพิเศษเทศกาลตรุษจีน ณ บริเวณเวทีภายใน ชั้น 1 โซน Central Courtศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ การแสดงสาธารณรัฐประชาชนจีนจาก 7 มณฑล

วันที่ 26 ม.ค. 52
13.00 น.- 15.00 น. - การแสดงจาก 7 มณฑล ของสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมแสดง ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
- การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมจากวิทยาลัยนาฎศิลป์กาฬสินธุ์
- การแสดงทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
- การกล่าวอวยพรปีใหม่ (วันตรุษจีน) โดยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านสื่อมวลชนของประเทศไทย
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อวยพรปีใหม่ ผ่านสื่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

☻กิจกรรมเสริมพิเศษเทศกาลตรุษจีน ณ บริเวณเวทีภายใน ชั้น 1 โซน Central Court
เซ็นทรัลเวิลด์ การแสดงสาธารณรัฐประชาชนจีนจาก 7 มณฑล
วันที่ 27 ม.ค. 52
17.00 น.- 20.00 น. - คณะนักแสดงจาก 7 มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมแสดง ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
***************

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร
โทร. 0 2250 5500 ต่อ 2991-5
ฝ่ายปกครอง เขตสัมพันธวงศ์
โทร. 0 237 4541, 0 2237 3345
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:11:35 น.  

 
2. เทศกาลตรุษจีน ในจังหวัดชลบุรี

2.1 เทศกาลตรุษจีน พัทยา

กำหนดจัดงาน วันที่ 24 และ 26-27 มกราคม 2552
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณท่าเทียบเรือท่องเที่ยวพัทยาใต้ (บาลีฮาย) เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
☻กิจกรรมภายในงาน
วันที่ 24 มกราคม 2552
14.30 – 15.30 น. - การแสดงกายกรรมและศิลปวัฒนธรรมจาก 7 มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
19.00 น. – 22.30 น. - การแสดงกายกรรมและศิลปวัฒนธรรมจาก 7 มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ณ บริเวณท่าเทียบเรือท่องเที่ยวพัทยาใต้ (บาลีฮาย)
วันที่ 26 – 27 มกราคม 2552
- ขบวนแห่สิงโต
- การประกวดหนูน้อย Chinese Girl 2009
- การแสดงศิลปวัฒนธรรม
- การแสดงดนตรี

2.2 เทศกาล เทพเจ้าคุ้มครองฉลองตรุษจีน 2552

กำหนดจัดงาน วันที่ 26 มกราคม 2552 - 1 กุมภาพันธ์ 2552
สถานที่จัดงาน วิหารเทพสถิตพระกิตติเฉลิม (ศาลเจ้าหน่าจาไท้จื้อ) อำเภอเมือง จงหวัดชลบุรี
กิจกรรมภายในงาน ร่วมพิธีมงคลต่าง ๆ อาทิ
- พิธีถวายพุทธบูชา
- พิธีสวดมนต์ดาวเทพสัตเคราะห์สูตร
- พิธีสวดขอขมากรรม
- พิธีสวดบทพระจตุรพิธพรชัยเทพสูตร
****************
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา (ชลบุรี)
โทร. 0 3842 7667, 0 3842 8750, 0 3842 3990
ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยว ศาลาว่าการเมืองพัทยา
โทร. 0 3825 3129
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:17:13 น.  

 
3. เทศกาลตรุษจีน ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สุพรรณบุรี

กำหนดจัดงาน วันที่ 25 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ 2552
สถานที่จัดงาน ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

กิจกรรมภายในงาน
วันที่ 25 – 30 ม.ค. 2552 20.00 น. เป็นต้นไป - การแสดงงิ้ว ชมฟรี
วันที่ 25 ม.ค.– 8 ก.พ. 2552 - การไหว้เจ้า และจัดเลี้ยงอาหารเจฟรี

☻กิจกรรมเสริมพิเศษ

วันที่ 18 ม.ค. – 1 ก.พ. 2552 - การจัดงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์และงานกาชาดจังหวัดสุพรรณบุรี
ประจำปี 2552
วันที่ 26 – 27 ม.ค. 2552 - พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร เปิดให้บริการพิเศษรองรับ เทศกาลตรุษจีน ทั้งนี้ สามารถสำรองบัตรเข้าชมล่วงหน้าได้ที่ โทร. 0355 26211 – 2 (ปกติจะหยุดวันจันทร์และวันอังคาร)

วันที่ 26 ม.ค. 2552
18.00 – 18.30 น. - การแสดงระบำจีนจากนักศึกษาจีน มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ชุด “ดอกไม้มงคลเบ่งบาน”
18.30 – 19.00 น. - การแสดงจากศิลปินรับเชิญ คุณสันติ ลุนเผ่ ชุด “เลือดสุพรรณ”
19.00 – 19.20 น. - การแสดงพิเศษชุดเปลี่ยนหน้ากาก / เงามือ / พ่นไฟ จากเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน
19.20 – 19.30 น. - การแสดงพลุดอกไม้ไฟไพโรเทคนิค ชุด “มังกรสวรรค์อวยชัยให้พรตรุษจีน”
19.30 – 20.00 น. - การแสดงคอนเสิร์ตนักร้องดาวรุ่งดวงใหม่ “ขนมจีน” จากค่ายอาร์เอส
20.00 – 22.00 น. - การแสดงคอนเสิร์ตพิเศษ “วงโปงลางสะออน” ชุด “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก”

วันที่ 27 ม.ค. 2552
18.00 – 18.45 น. - การแสดงศิลปวัฒนธรรมของคณะนักแสดงจากเมืองเอี้ยนไถ มณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน
􀁹 การแสดงศิลปะป้องกันตัว
􀁹 การแสดงมวยกังฟู
18.45 – 19.30 น. - การแสดงศิลปวัฒนธรรมของนาฏศิลป์ชั้นยอดจากเกาะไหหลำ มณฑลไห่หนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
􀁹 การแสดงวัฒนธรรมชาวเกาะ
􀁹 การแสดงระบำพื้นเมือง
19.30 – 19.50 น. - การแสดงพิเศษชุดเปลี่ยนหน้ากาก / เงามือ / พ่นไฟ จากเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน
19.50 – 20.00 น. - การแสดงพลุดอกไม้ไฟไพโรเทคนิค ชุด “มังกรสวรรค์อวยชัยให้พรตรุษจีน”
20.00 – 21.30 น. - การแสดงคอนเสิร์ตพิเศษจากศิลปิน GMM GRAMMY
****************

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี
โทร. 0 3553 6030
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
โทร. 0 3552 1690
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:26:12 น.  

 
4. งานตรุษจีนกรุงเก่าอยุธยามหามงคล ครั้งที่ 3 ประจำปี 2552

กำหนดจัดงาน วันที่ 27 - 31 มกราคม 2552 (ชิวหยี – ชิวลัก)
สถานที่จัดงาน บริเวณถนนนเรศวร (ตั้งแต่ตลาดเจ้าพรหม – เจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่)

กิจกรรมภายในงาน
􀁹 ไหว้เจ้าจากศาลเจ้าทั้ง 16 อำเภอ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
􀁹 ขบวนแห่เจ้าเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ตระการตา
􀁹 การประกวดรถบุปผชาติเอกลักษณ์จีน
􀁹 การประกวดโคมไฟจีน (เต็งลั้ง)
􀁹 การประกวดหนูน้อยไชน่าทาวน์ และมีสไชนีส
􀁹 การประกวดร้องเพลงสุนทราภรณ์ (ลูกกรุง) และเพลงลูกทุ่ง
􀁹 การแสดงขององค์กร / โรงเรียน / สถานศึกษา
􀁹 การแสดงมังกรทองและสิงโต
􀁹 การแสดงอุปรากรจีน
􀁹 การประดับโคมไฟจีนตลอดบริเวณงาน
􀁹 การออกร้านสินค้าราคาถูก
􀁹 การออกร้านอาหารอร่อย
****************

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา
โทร. 0 3532 2730-1, 0 3524 6076-7
คณะกรรมการจัดงานตรุษจีนกรุงเก่าอยุธยามหามงคล
โทร. 0 3524 4451
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:31:59 น.  

 
5. งานเทศกาลตรุษจีนราชบุรีไชน่าทาวน์ 2009

กำหนดจัดงาน วันที่ 23 - 31 มกราคม 2552
สถานที่จัดงาน บริเวณถนนอัมรินทร์ – ถนนวรเดช อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

กิจกรรมภายในงาน
􀁹 ขบวนแห่มังกร สิงโต เอ็งกอ-พะบู๊ ที่ยิ่งใหญ่อลังการ
􀁹 การแข่งขันเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย บนเวทีกลางน้ำ
􀁹 การแสดงกลอง 24 ฤดูกาล
􀁹 สัมผัสบรรยากาศโรงเตี๊ยมย้อนยุคสมัยราชวงศ์จิ๋น
􀁹 ชมการประกวดการเขียนลายโอ่งมังกรที่วิจิตรบรรจง
􀁹 การประกวดแดนเซอร์ไซด์ และประกวดตี๋น้อย-หมวยน้อย-มิสไชน่าทาวน์ 2009
􀁹 ร่วมผัดหมี่มงคลเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน
􀁹 สัมผัสวัฒนธรรมชาวไทยเชื้อสายจีนบนถนนคนเดิน สินค้าและอาหารพื้นเมือง
􀁹 ซุ้มประตูมังกร และประติมากรรมโคมไฟ
􀁹 การแสดงโชว์มังกรกลางน้ำ ประกอบแสงสีเสียง
􀁹 การแข่งขันจอมพลังไชน่าทาวน์
****************

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเพชรบุรี
โทร. 0 3247 1005-6
เทศบาลเมืองราชบุรี
โทร. 0 3233 7075
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:37:28 น.  

 
6. งานตรุษจีนปากน้ำโพประจำปี 2552

กำหนดจัดงาน วันที่ 19 – 30 มกราคม 2552
สถานที่จัดงาน ภายในตัวเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

กิจกรรมภายในงาน

19 ม.ค. 52 - พิธีเปิดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี พ.ศ. 2552 ณ เวทีหาดสวรรค์ลานบุญ

19-30 ม.ค. 52 - สักการะองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ และเทพเจ้าทุกองค์ ณ ศาลเจ้าจำลอง
- มหกรรมงานแสดงสินค้าของดีเมืองปากน้ำโพ ณ วัดโพธาราม
- มหกรรมอาหารจีนรสเลิศปากน้ำโพ ณ ไชน่าทาวน์ (ตรอกชุนหงส์)
- สักการะเสริมสิริมงคลกับสวน 12 นักษัตร,สวนเฮ่งเจีย, องค์เจ้าแม่กวนอิม ณ หาดสวรรค์ลานบุญ
- การแสดงนาฏศิลป์ดนตรีไทย-จีน “ปากน้ำโพ” พร้อมแสง สี เสียง ณ เวทีหาดสวรรค์ลานบุญ
- ชมภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ตำนานมีชีวิต “สายเลือดมังกร...สายน้ำแห่งศรัทธา” ณ เวทีหาดสวรรค์ลานบุญ
28 ม.ค. 52 (กลางคืน) - ขบวนแห่ประเพณีอันยิ่งใหญ่อลังการ กว่า 24 ขบวน ณ ถนนสายสำคัญในเมือง
29 ม.ค. 52 (กลางวัน) - ขบวนแห่เจ้าและขบวนแห่ประเพณีอันยิ่งใหญ่ ณ ถนนสายสำคัญในเมือง อลังการกว่า 24 ขบวน ในบริเวณหาดสวรรค์ลานบุญ ยังประกอบไปด้วยซุ้มต่าง ๆ เพื่อเติมเต็มความเป็นสิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ ดังนี้

• ซุ้มประตูฮกลกซิ่ว/ศาลาระบายสีภาพการ์ตูนและปูนปั้น 12 นักษัตร

• ต้นส้มมงคล/ศาลา 8 เซียนบูชาโคมสวรรค์/ซุ้มมังกรทะยานฟ้า

• ประติมากรรมองค์เจ้าแม่กวนอิม และศาลาบูชาเครื่องสักการะ

• สวนสวรรค์เทพเฮ้งเจีย/มังกรสวรรค์ และประติมากรรม 12 นักษัตร

• แท่นบูชาเจ้าพ่อกวนอู/โคมจีน (ริมน้ำ)/ธงและโคมจีน (กำแพงเมืองจีน)

• โคมพระจันทร์ และโคมพระอาทิตย์

****************
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุทัยธานี
โทร. 0 5651 2916
คณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ
โทร. 0 5621 3614
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:43:46 น.  

 
7. งาน ตรุษจีนเชียงใหม่ไชน่าทาวน์

กำหนดจัดงาน วันที่ 26 – 27 มกราคม 2552
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนข่วงเมรุ ย่านตรอกเล่าโจ้ว-ถนนวิชยานนท์ เมืองเชียงใหม่

กิจกรรมภายในงาน
ภาคเช้า-กลางวัน
06.00 น. – รำไทจี๋จี้กง รำไท้เก็ก การแสดงศิลปวัฒนธรรมจีน การสาธิต การออกร้านค้า ร้านอาหาร การจัดนิทรรศการจีน
ภาคกลางคืน
17.00 – 24.00 น. – การประกวด MISS CHINA TOWN การแสดงดนตรีจีน การออกร้านอาหารจีน การแสดงนาฎศิลป์จีน

****************
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่
โทร. 0 5324 8604, 0 5324 8607
ท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงใหม่
โทร. 0 5325 9365
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:46:39 น.  

 
8. งาน เฮง เฮง เฮง มหัศจรรย์วันตรุษจีน

กำหนดจัดงาน วันที่ 25-27 มกราคม 2552
สถานที่จัดงาน บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

รูปแบบการจัดงาน
- การตกแต่งเมืองให้เป็น China Town ประดับด้วยเก๋งจีน ประตูจีน บริเวณลานอนุสาวรีย์
- การประดับโคมไฟ บริเวณถนนราชดำเนิน/ถนนชุมพลและสวนเมืองทอง

กิจกรรมการแสดง
- การแสดงอุปรากรจีน(งิ้ว)/การเชิดมังกร
- ชมประตูไชน่าทาวน์
- ชมการแห่สิงโตรอบเมือง
- มหกรรมอาหารจีน
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมจีน
- การแสดงแสง สี เสียง
****************
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา
โทร. 0 4421 3030, 0 4421 3666
สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
โทร. 0 4424 2007
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:51:51 น.  

 
9. ตรุษจีนหาดใหญ่ 2552

กำหนดจัดงาน วันที่ 26 – 28 มกราคม 2552
สถานที่จัดงาน บริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนคร และถนนเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

กิจกรรมภายในงาน ชมฟรี บริเวณสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ วันที่ 28 - 29 มกราคม 2552 เวลา 19.30 น.-22.00 น.
การแสดงกายกรรมและศิลปวัฒนธรรมจาก 7 มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย
มณฑลกวางสี มณฑลไหหนาน มณฑลอานฮุย มณฑลซานตง(เอี้ยนไถ) มณฑลเห่ยหลงเจียง มณฑลจี๋หลิน และเขตปกครองตนเอง(มณฑล) มองโกเลียใน

☻กิจกรรมเสริมพิเศษ
- เทศกาลโคมไฟสีสันเมืองใต้ กิจกรรมเสริมพิเศษในเทศกาลตรุษจีน โคมไฟตรุษจีน “ปีวัว”

กิจกรรมภายในงาน บริเวณถนนเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
1. การตกแต่งประดับประดาสถานด้วยบรรยากาศแบบจีน เช่น โคมไฟเต็งลั้ง การตั้งโต๊ะบูชาเซียงเอี้ย
2. กิจกรรมเวทีการแสดง เน้นกิจกรรมการแสดงแบบวาไรตี้ บันเทิงในรูปแบบต่างๆ ฟรีคอนเสิร์ตจาก ศิลปินชั้นนำของเมืองไทยจาก GMM Grammy การประกวดมิสกี่เพ้า 2552 รวมทั้งการแสดง จากสถานบันเทิง/หน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย
3. โชว์สิงห์โตเล่นจานดอกเหมย และมังกรทองพ่นไฟจากจังหวัดนครสวรรค์
4. การออกจำหน่ายสินค้าจากห้าร้านต่างๆ ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ร้านอาหารชื่อดังของ อำเภอหาดใหญ่ และจังหวัดสงขลา มากกว่า 200 ร้านค้า
****************
กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่
โทร. 0 7423 1055, 0 7423 8518
www.tourismthailand.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:8:55:53 น.  

 
10. งานตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต ครั้งที่ 10

กำหนดจัดงาน วันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2552 ระหว่างเวลา 18.00 น. – 23.00 น.
สถานที่จัด สวน 72 พรรษามหาราชินี ถนนถลาง ถนนกระบี่ และซอยรมณีย์ อำเภอเมือง
จังหวัดภูเก็ต

☻กิจกรรมภายในงาน (ทุกวัน) เวลา 19.00 น. – 23.00 น.

- ชมการแสดงสุดยอดอุปรากรจีน นาฏศิลป์ท้องถิ่น กังฟู และระบำพื้นเมือง จาก 7 มณฑล ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประกอบด้วย มณฑลกวางสี มณฑลไหหนาน มณฑลอานฮุย มณฑลซานตง(เอี้ยนไถ) มณฑลเห่ยหลงเจียง มณฑลจี๋หลิน และเขตปกครองตนเอง (มณฑล) มองโกเลียใน จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวทีกลาง สวน 72 พรรษามหาราชินี
- ชม Animation สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุเกส ณ บ้านเลขที่ 63
- ชมภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในจังหวัดภูเก็ต ณ ลานชั้นบนสวน 72 พรรษามหาราชินี
- ล่องเรือกอจ๊านบริเวณริมคลองบางใหญ่ในตัวเมืองภูเก็ต
- ชมภาพถ่ายสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุเกส และการเสวนาภาษาภูเก็ตกับปราชญ์ท้องถิ่น ณ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ถนนกระบี่
- ออกร้านจำหน่ายอาหารพื้นเมือง ขนมโบราณ บริเวณริมคลองบางใหญ่ สวน 72 พรรษา มหาราชินี
- ชมการแสดงและการละเล่นต่างๆ บริเวณถนนถลาง

☻กิจกรรมเสริมพิเศษ

วันที่ 31 มกราคม 2552
17.00 น. - ชมขบวนแห่วัฒนธรรมภูเก็ตเส้นทางจากสะพานหิน – ถนนภูเก็ต –วงเวียนสุรินทร์ – ถนนรัษฎา – วงเวียนสุริยเดช - ถนนเยาวราช - ถนนถลาง
19.00 – 20.00 น. - พิธีเปิดงานตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต ครั้งที่ 10 และร่วมสานสัมพันธ์เมืองคู่แฝด
ภูเก็ต - เอี้ยนไถ – ไหหนาน(ไหหลำ) ณ เวทีกลาง สวน 72 พรรษามหาราชินี

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552
19.30 – 21.00 น. - ชมการแสดงสุดยอดอุปรากรจีน นาฏศิลป์ท้องถิ่น กังฟู และระบำพื้นเมืองจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เวทีเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552
22.30 น. – 24.00 น. - ชมและร่วมพิธีไหว้เทวดา บริเวณด้านหน้ารูปปั้นพญามังกร สวน 72 พรรษา มหาราชินี
****************

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการเดินทางได้ที่ :
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต
โทร. 0 7621 2213, 0 7621 1036
www.tourismthailand.org/phuket
งานประชาสัมพันธ์ เทศบาลนครภูเก็ต
โทร. 0 7621 2196
www.tourismthailand.org

ข้อมูลเพิ่มเติม การสถาปนาความสัมพันธ์ เมืองพี่เมืองน้อง

ความตกลงระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน กับ จังหวัดภูเก็ต ราชอาณาจักรไทย ว่าด้วย การสถาปนาความสัมพันธ์ เมืองพี่เมืองน้อง

วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มพูน พัฒนามิตรภาพ ความร่วมมือระหว่างสองฝ่าย และส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน และมิตรภาพระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

1.ความตกลงระหว่างนครเอียนไถ และจังหวัดภูเก็ต
ได้มีการลงนามร่วมกันในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 และได้มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ ทางการศึกษา การค้าการลงทุน และการเยี่ยมเยือนระหว่างสองเมืองอย่างต่อเนื่องทุกปี
2. ความตกลงระหว่างมณฑลไหหนาน และจังหวัดภูเก็ต

ได้มีการลงนามร่วมกันวันที่ 25 กันยายน 2548 โดยเป็นการดำเนินการเพื่อกระชับความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา และการเยี่ยมเยือนแลกเปลี่ยนความร่วมมือของผู้บริหาร / ภาคเอกชนระหว่างสองเมือง ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกปี


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:9:01:51 น.  

 
ข้อมูลการแสดงศิลปวัฒนธรรมจาก 7 มณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเทศกาลตรุษจีน 2009 ประเทศไทย

1. มณฑลกวางสี (ประกอบด้วย นักแสดง VIP และสื่อมวลชน จำนวน 69 คน)
มณฑลกวางสี ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชายแดนติดต่อประเทศเวียดนาม เป็นเขตปกครองตนเองของชนเผ่าจ้วง ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรประมาณ 50 ล้านคน ลักษณะภาษาและวิถีชีวิตคล้ายกับไทยและลาว และ “เมืองหนานหนิง (มณฑลกวางสี)” มีความสัมพันธ์เป็นเมือง คู่แฝดกับ “จังหวัดขอนแก่น” ของประเทศไทย

การแสดงจากเมืองหนานหนิง ประกอบด้วย
- วัฒนธรรมชนเผ่า
- กายกรรม

2. มณฑลไห่หนาน (ประกอบด้วย นักแสดง VIP และสื่อมวลชน จำนวน 23 คน)
มณฑลไห่หนาน ตั้งอยู่ใต้สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะไต้หวัน มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน คนไทยรู้จักกันในนามเกาะ “ไหหลำ หรือ ไข่มุกแห่ง ทะเลจีนใต้” มีความสัมพันธ์เป็นเมืองคู่แฝดกับเกาะ “ภูเก็ต หรือ ไข่มุกแห่งทะเลอันดามัน” ของประเทศไทย

การแสดง จากนาฎศิลป์ชั้นยอดจากเกาะไหหลำ ประกอบด้วย
-วัฒนธรรมชาวเกาะ
-ระบำพื้นเมือง

3. มณฑลซานตง (ประกอบด้วย นักแสดง VIP และสื่อมวลชน จำนวน 15 คน)
มณฑลซานตง ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางเหนือด้านตะวันออกของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประชากรประมาณ 95 ล้านคน และ “เมืองเอียนไถ(มณฑลซานตง)” มีความสัมพันธ์เป็นเมืองคู่แฝดกับ “เมืองภูเก็ต” ของประเทศไทย

การแสดง จากเมืองเอียดไถ ประกอบด้วย
-ศิลปะป้องกันตัว
-มวยกังฟู

4. มณฑลอานฮุย (ประกอบด้วย นักแสดง VIP และสื่อมวลชน จำนวน 20 คน)
มณฑลอานฮุย ตั้งอยู่ภาคกลางของจีนแถบแม่น้ำแยงซี มีประชากรประมาณ 62 ล้านคน เป็น บ้านเกิดของเปาปุ้นจิ้น ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงศาลสูงสุดไคเฟิง เป็นข้าราชการที่ซื่อสัตย์จงรักภักดิ์ดีต่อราชวงศ์และรักชาติของจีน

การแสดงจากเมืองเหอเฝย ประกอบด้วย
-นาฏศิลป์อานฮุย
-ดนตรีนาฎศิลป์พื้นเมือง

5. มณฑลเห่ยหลงเจียง (ประกอบด้วย นักแสดง VIP และสื่อมวลชน จำนวน 14 คน)
มณฑลเห่ยหลงเจียง ตั้งอยู่เหนือสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมณฑลที่หนาวที่สุด ที่อุณหภูมิต่ำถึง - 40 องศา ทั่วโลกรู้จักกันดีในนาม “เมืองฮาร์บิ้น” เมืองแห่งเทศกาลโคมไฟน้ำแข็ง ประกอบด้วยประชากรประมาณ 40 ล้านคน

การแสดงจากเมืองฮาร์บิน ประกอบด้วย
-ดนตรีนาฎศิลป์พื้นเมือง

6. เขตปกครองตนเอง(มณฑล) มองโกเลีย (ประกอบด้วย นักแสดง VIP และสื่อมวลชน จำนวน 5 คน)
เขตปกครองตนเอง(มณฑล)มองโกเลียใน ตั้งอยู่ตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ติดกับประเทศมองโกเลีย มีประชากรประมาณ 23 ล้านคน เป็นแหล่งทุ่งหญ้าที่ราบสูง และเลี้ยงสัตว์ คนไทยรู้จักในนามดินแดนของ “ข่าน-เจงกิสข่าน-กุบไลข่าน”

การแสดงจากเมืองฮูเหอเฮ่าเท่อ ประกอบด้วย
-นาฎศิลป์อันทรงคุณค่าของชนเผ่ามองโกล

7. มณฑลจี๋หลิน (ประกอบด้วย นักแสดง VIP และสื่อมวลชน จำนวน 10 คน)
มณฑลจี๋หลิน ตั้งอยู่ตอนกลางภาคอีสานของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประชากรประมาณ 27 ล้านคน คนไทยรู้จักในนามของเผ่าชน “แมนจู”

การแสดงเมืองฉางชุน ประกอบด้วย
-นาฏศิลป์จี๋หลิน

หมายเหตุ การแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ข้อมูลเพิ่มเติม

“การสวมเสื้อสีแดง” ในวันตรุษจีน
ประเพณีวันตรุษจีน(วันขึ้นปีใหม่ของชนชาติจีน) ชาวจีนนิยมสวมใส่เสื้อสีแดงสด เป็นสีที่เป็นสิริมงคล เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้ตนพบแต่ความโชคดี

ข้อมูลโดย งานพัฒนาและสร้างสรรค์กิจกรรม กสส. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 21 มกราคม 2552


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.89 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:9:05:11 น.  

 
//www.snidvongs.net/content_705_18079_TH.html3

ขอเชิญเที่ยวงาน “กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ชีวิตต้นกรุงฯ ณ วัดอรุณฯ”

วันศุกร์ที่ ๖ – วันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เวลา ๑๐.๐๐ น. – ๒๑.๓๐ น.


ท่านจะได้พบกับ นิทรรศการพระประวัติและผลงานด้านต่าง ๆ (ด้านอักษรศาสตร์ ด้านการต่างประเทศ ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์แผนไทย การเมืองการปกครอง ฯลฯ) ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย อาทิ การแพทย์แผนไทย (การปรุงยา เครื่องมือการทำยาแบบโบราณ ยาตำรับโบราณ) การนวดแผนไทย การจำหน่ายสมุนไพรไทย

การสาธิตท่าฤๅษีดัดตน นาฏยศิลป์ไทยยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และการแสดงในราชสำนัก ซึ่งหาดูยากในปัจจุบัน เช่น โขน ละครนอก ละครใน ละครชาตรี ละครเสภา หุ่นหลวง รำโคม งิ้วพูดไทย และอื่น ๆ มากมาย

การละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร งูกินหาง เดินกะลา คาดเชือก พลองไฟ เป็นต้น การสาธิตและจำหน่ายอาหารไทยตามกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มากมายหลายซุ้มอาหาร

วันเปิดงาน ศุกร์ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.
ขอเชิญเฝ้ารับเสด็จฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระเจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดามาตุ เสด็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงาน


หมายเหตุ
• ศุกร์ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมงานตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น.
(หลังจากที่พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระเจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดามาตุและ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จฯกลับแล้ว)
• เสาร์ ๗ – อาทิตย์ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เปิดให้เข้าชมงาน ๑๐.๐๐ น. ส่วนการแสดงเริ่มตั้งแต่ ๑๖.๓๐ น.



โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.50 วันที่: 31 มกราคม 2552 เวลา:23:48:36 น.  

 
เวบไซต์วัดอรุณราชวราราม //www.watarun.org/index.html

สถานที่ตั้ง
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
เลขที่ ๓๔ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

การเดินทางมายังวัดอรุณฯ

ทางเรือ ขึ้นเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครที่ท่าเตียน

รถยนต์ส่วนตัว หากมาจากถนนปิ่นเกล้า ข้ามสะพานอรุณอมรินทร ผ่านโรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ วัดเครือวัลย์ กรมสารวัตรทหารเรือ โดยวัดอรุณฯ อยู่ทางฝั่งซ้ายมือ

รถประจำทาง : รถประจำทางที่ผ่านวัดอรุณฯ ได้แก่ สาย ๑๙, ๕๗ และ ๘๓


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.50 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:2:03:44 น.  

 
วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

สมาชิกราชสกุลในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะร่วมวางพานพุ่ม ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ถนนวังเดิม เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ เริ่มพิธีเวลา ๐๙.๐๐ น.


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.50 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:2:07:59 น.  

 
ตารางการแสดงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
งาน “กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ชีวิตต้นกรุงฯ ณ วัดอรุณฯ”

วันศุกร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

๑๘.๐๐-๑๘.๓๐___การบรรเลงวงปี่พาทย์ – (เวทีโขน)
๑๘.๓๐-๑๙.๐๐___การบรรเลงวงมโหรีเครื่องสาย (ครั้งที่ ๑) – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๑๘.๓๐-๑๙.๐๐___การแสดงรำประเลง (ครั้งที่ ๑) – (เวทีโขน)
๑๙.๐๐-๒๐.๐๐___การแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอน บุษบาไหว้พระ – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๑๙.๐๐-๑๙.๓๐___การบรรเลงวงมโหรีเครื่องสาย (ครั้งที่ ๒ ) –(เวทีลานกลางแจ้ง)
๒๐.๐๐-๒๐.๓๐___การแสดงรำประเลง (ครั้งที่ ๒) – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๒๐.๓๐-๒๑.๐๐___การแสดงรำประเลง (ครั้งที่ ๓) – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๒๐.๓๐-๒๑.๓๐___การแสดงโขนนั่งราว เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกกุมภกรรณ– (เวทีโขน)
๒๑.๐๐-๒๑.๓๐___การบรรเลงวงมโหรีเครื่องสาย (ครั้งที่ ๓) – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)

วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

๑๘.๐๐-๑๘.๓๐___การบรรเลงวงปี่พาทย์ – (เวทีโขน)
๑๙.๐๐-๒๐.๐๐___การแสดงละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๑๙.๐๐-๑๙.๓๐___การแสดงรำประเลง (ครั้งที่ ๑) – ( เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์ )
๒๐.๓๐-๒๑.๐๐___การแสดงรำประเลง (ครั้งที่ ๒) – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๒๐.๓๐-๒๑.๓๐___การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกอินทรชิต– (เวทีโขน)
๒๑.๐๐-๒๑.๓๐___การโชว์เดี่ยวระนาดเอก – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)

วันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

๑๗.๐๐-๑๗.๓๐___การบรรเลงโหมโรงเย็น – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๑๗.๐๐-๑๘.๓๐___การแสดงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณี ตอนจำพรากรักดับชีวา-สุดสาครตามหาบิดา – (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๑๗.๐๐-๑๘.๐๐___การบรรเลงเครื่องสายผสมไทย-จีน ครั้งที่ ๑ –(เวทีลานกลางแจ้ง)
๑๘.๐๐-๑๘.๓๐___การแสดงรำกิ่งไม้เงินทอง– (เวทีโขน)
๑๘.๓๐-๑๙.๐๐___การบรรเลงเครื่องสายผสมไทย-จีน ครั้งที่ ๒ –(เวทีลานกลางแจ้ง)
๑๙.๐๐-๒๐.๐๐___การแสดงหนังใหญ่ชุดจับลิงหัวค่ำ– (เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์)
๒๐.๐๐-๒๐.๓๐___การบรรเลงวงปี่พาทย์– (เวทีโขน)
๒๐.๓๐-๒๑.๐๐___การบรรเลงเครื่องสายผสมไทย-จีน ครั้งที่ ๓ –(เวทีลานกลางแจ้ง)
๒๐.๓๐-๒๑.๓๐___การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกแสงอาทิตย์-มังกรกัณฐ์ – (เวทีโขน)


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.236 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:20:46:25 น.  

 
รายนามนาฏศิลปินกรมศิลปากรใน
งาน “กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ชีวิตต้นกรุงฯ ณ วัดอรุณฯ”
ณ.วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วันจันทร์ที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๒
การแสดงนาฏศิลป์ เนื่องในงานแถลงข่าว
เวลา๑๖.๐๐ น.รำกิ่งไม้เงินทอง

นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี
อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี

กำกับการแสดง วนิตา ( นก ) กรินชัย ช่วยกำกับการแสดง น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
อำนวยการฝึกซ้อม ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่ามแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ
รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม อรุณศรี เกษมศิลป์ บอกบท หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ
ประสานงานการแสดง มะลิ ศิริหลวง ช่วยประสานงานการแสดง สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู

วันศุกร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

๑๘.๓๐-๑๙.๐๐_____การแสดงรำประเลง ( ครั้งที่ ๑ ) – ( เวทีโขน ) –
๒๐.๐๐-๒๐.๓๐_____การแสดงรำประเลง ( ครั้งที่ ๒ ) – ( เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์ ) –
พงษ์ศักดิ์ บุญล้น ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ

๑๙.๐๐-๒๐.๐๐_____การแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอน บุษบาไหว้พระ – ( เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์ ) –

อิเหนา – มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
สังคามาระตา – เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์
ประสันตา – จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี
มะเดหวี – วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
บุษบา – นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
บาหยัน – พรทิพย์ ทองคำ
ประเสหรัน – น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
ซ่าเหง็ด – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
ประลาหงัน – อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา

๒๐.๓๐-๒๑.๓๐_____การแสดงโขนนั่งราว เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกกุมภกรรณ– ( เวทีโขน ) -

ทศกัณฐ์ – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
กุมภกรรณ – ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
มโหธร – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
เปานาสูร – ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
เสนายักษ์ นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๘ คน


พระราม – ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
พระลักษณ์ – วัลลภ ( แนน ) ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
พิเภก – เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
ชามภูวราช – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
สุครีพ - พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
หนุมาน - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
ชมพูพาน – ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
องคต – ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก
นิลนนท์ – ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
สิบแปดมงกุฎ – นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๘ คน


ตลกยกเตียง – กางกลด - ประวิทย์ ไกรเศรษฐ์ สุรินทร์ เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
พากษ์ – เจรจา -ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

กำกับการแสดง นงลักษณ์ เทพหัสดินทร ฯ
ช่วยกำกับการแสดง ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา ตวงฤดี ถาพรพาสี เลียว คงกำเหนิด ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
อำนวยการฝึกซ้อม ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ
รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
บอกบท ประสิทธิ์ คมภักดี เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
ประสานงานการแสดง สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์ ช่วยประสานงานการแสดง สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.236 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:10:30 น.  

 
วันเสาร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

๑๙.๐๐-๒๐.๐๐_____การแสดงละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อ – ( เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์ ) –

พระอภัยมณี – ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
สินสมุทร – น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
นางผีเสื้อ – ธานิต ศาลากิจ
นางเงือก – สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
พ่อเงือก – ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
แม่เงือก – กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี
ปีศาจ ๑ – ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
ปีศาจ ๒ – ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
ระบำเงือก - จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม
มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา

๑๙.๐๐-๑๙.๓๐_____การแสดงรำประเลง ( ครั้งที่ ๑ ) – ( เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์ ) -
๒๐.๓๐-๒๑.๐๐_____การแสดงรำประเลง ( ครั้งที่ ๒ ) – ( เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์ ) –

มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด

๒๐.๓๐-๒๑.๓๐_____การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกอินทรชิตนาคบาศ– ( เวทีโขน ) –

ทศกัณฐ์ – วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
อินทรชิต ๑ – กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
อินทรชิต ๒ – ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
มโหธร , เปาวนาสูร – นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
เสนายักษ์ – นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๘ คน
นาคตัวเอก เสกสม ( ตั้น ) พานทอง


พระราม – ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
พระลักษมณ์ – หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
พิเภก – เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
ชามภูวราช – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
หนุมาน – กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
องคต – ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
พญาครุฑ – ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
สิบแปดมงกุฎ - นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๘ คน


ตลกยกเตียง – กางกลด วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ , นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๓ คน
ผู้พากษ์ – เจรจา -ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , สุรเดช เผ่าช่างทอง ( เป๊ก ) น้อยประเสริฐ

กำกับการแสดง สุรัตน์ ( กระรอก ) เอี่ยมสอาด
ช่วยกำกับการแสดง สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , ตวงฤดี ถาพรพาสี , วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
อำนวยการฝึกซ้อม ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ
รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม ธานิต ศาลากิจบอกบท ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ , ธนันดา มณีฉาย
ประสานงานการแสดง ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน ช่วยประสานงานการแสดง น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู

วันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

๑๘.๐๐-๑๘.๓๐_____การแสดงรำกิ่งไม้เงินทอง– ( เวทีโขน ) -

นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา

๑๙.๐๐-๒๐.๐๐_____การแสดงหนังใหญ่ชุดจับลิงหัวค่ำ– ( เวทีมหรสพรัตนโกสินทร์ ) –

หนังเตียว – สุรเดช เผ่าช่างทอง
หนังมัด – ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
ลิงขาว – กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
ลิงดำ – เลียว คงกำเหนิด
ฤาษี – ประสิทธิ์ คมภักดี
ผู้พากษ์ – เจรจา - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

๒๐.๓๐-๒๑.๓๐_____การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกแสงอาทิตย์-มังกรกัณฐ์ – ( เวทีโขน ) –

ทศกัณฐ์ – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
มังกรกัณฐ์ – เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
แสงอาทิตย์ – ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
พิจิตรไพรี – กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
มโหธร – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
เปาวนาสูร – เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
เสนายักษ์ – นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๘ คน


พระราม – ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
พระลักษณ์ – พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
พิเภก – ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
ชามภูวราช – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
สุครีพ – จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
หนุมาน – พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
ชมพูพาน – ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
องคต – เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
นิลนนท์ – ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
สิบแปดมงกุฎ – นศ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ๘ คน


ตลกยกเตียง – กางกลด -ประวิทย์ ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ ชัยยุทธ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ผู้พากษ์ – เจรจา - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

กำกับการแสดง สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม

ช่วยกำกับการแสดง ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , สุรินทร์ เขียวอ่อน , อุษา แดงวิจิตร , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
อำนวยการฝึกซ้อม ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส แห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ
รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม สุรเดช เผ่าช่างทอง บอกบท ประสิทธิ์ คมภักดี สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
ประสานงานการแสดง หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ ช่วยประสานงานการแสดง ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.236 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:37:40 น.  

 
ขออภัย
วันอาทิตย์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๒๐.๓๐-๒๑.๓๐_____การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกแสงอาทิตย์-มังกรกัณฐ์ – ( เวทีโขน ) –
ทศกัณฐ์ – ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
ส่วน สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
เป็น ทศกัณฐ์ วันศุกร์ที่ ๖ ตอนศึกกุมภกรรณ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.82 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:37:56 น.  

 
ดีมากๆ


โดย: 123 IP: 125.26.205.109 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:26:06 น.  

 
น่าเสียดาย 6-9 ก.พ.ไปน่านค่ะ อดไปดูโขน เลยไม่มีรูปโขนมาอัพบล็อกเสียที


โดย: หญ้าหนวดแมว วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:19:12:57 น.  

 
//www.culture.go.th/download/newsfile/20090215172918.pdf

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
เรื่อง การรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมโครงการส่งเสริมสุนทรียะและการรับรู้ทางศิลปะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีความประสงค์จะเปิดการอบรมโครงการส่งเสริม สุนทรียะและการรับรู้ทางศิลปะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัว ปลูกฝังค่านิยม และสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย โดยการเปิดพื้นที่สาธารณะให้แก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้มีเวทีสำหรับการแสดงออก เพื่อนำเสนอผลงานศิลปะ และ ความสามารถของตนออกสู่สายตาของสังคม ตลอดจน เป็นการฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ และตระหนักถึง คุณค่าของงานด้านศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ เพื่อเป็นหนทางที่จะก้าวไปสู่การเป็น ประเทศที่มีชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมในอนาคต

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงขอประกาศเชิญชวนให้เยาวชน และผู้ที่สนใจเข้ารับ การอบรมในโครงการส่งเสริมสุนทรียะและการรับรู้ทางศิลปะ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

๑. รายละเอียดการเปิดอบรม

หลักสูตรที่เปิดอบรม คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
๑.๑ การอบรมวาดภาพระบายสีน้ำ ผู้มีอายุ ๑๓ ปีขึ้นไป ๑๐๐ คน
๑.๒ การอบรมวาดภาพระบายสีน้ำมัน ผู้มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ๑๐๐ คน
๑.๓ การอบรมศิลปะการเชิดหุ่นสาย ผู้มีอายุ ๑๓ ปีขึ้นไป ๖๐ คน
๑.๔ การอบรมศิลปะการเชิดหุ่นละครเล็ก ผู้มีอายุ ๑๓ ปีขึ้นไป ๖๐ คน

๒. หลักฐานการสมัครและสถานที่รับสมัคร

๒.๑ หลักฐานการสมัคร

๒.๑.๑ ใบสมัครจำนวน ๑ ชุด
๒.๑.๒ รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาดำ ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๑ รูป (ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน)
๒.๑.๓ สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ๑ ชุด
หมายเหตุ หากขาดหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่าการสมัครไม่สมบูรณ์

๒.๒ ผู้สนใจสามารถขอใบสมัครได้ที่ กลุ่มเสริมสร้างสุนทรียะทางวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง ประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๒๔๗ ๐๐๒๘ ต่อ ๔๓๐๑-๓ หรือ ดาวน์โหลดใบสมัครจาก //www.culture.go.th
๒.๓ ผู้สนใจส่งใบสมัครได้ด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์มาที่ กลุ่มเสริมสร้างสุนทรียะ ทางวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ถึงวันพุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ (สำหรับการสมัครทางไปรษณีย์ ทางหน่วยงานจะถือวันประทับตราจากไปรษณีย์ต้น ทางเป็นสำคัญ) โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อ ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมได้ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ได้ที่กลุ่มเสริมสร้างสุนทรียะทางวัฒนธรรม หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๒๔๗ ๐๐๒๘ ต่อ ๔๓๐๑-๓ หรือทาง //www.culture.go.th


๓. กำหนดการฝึกอบรม

๓.๑ การอบรมศิลปะวาดภาพระบายสีน้ำ และสีน้ำมันจะมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง ทุกวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา ๑๓.๐๐ น.-๑๖.๐๐ น. โดยเริ่มฝึกอบรมในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๒
๓.๒ การอบรมศิลปะการเชิดหุ่นสาย จะมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องในวันที่ ๔,๖ , ๗, ๙ , ๑๐ , ๑๑,๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.
๓.๓ การอบรมศิลปะการเชิดหุ่นละครเล็ก จะมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องในวันที่ ๔,๖ ,๗ ,๙ , ๑๐,๑๑,๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.

๔. การสำเร็จการฝึกอบรม และการรับเกียรติบัตร

๔.๑ เป็นผู้เข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาในการฝึกอบรม
๔.๒ ผู้รับการอบรมเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงผลงาน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
๔.๓ เป็นผู้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขา


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.102 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:16:59:27 น.  

 
รูปการแสดงวิพิธทัศนาของกรมศิลปากร ในวันเสาร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๒

๑.การแสดงเบิกโรงเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางมหิงสาวตาร
//thperforming.multiply.com/photos/album/5/2009-01-24-1Mahingsa
๒.รำฉุยฉายอสุรผัด
//thperforming.multiply.com/photos/album/2/2009-01-24-2Arsuraphat
๓.ละครในเรื่องอิเหนา ตอนชมดง
//thperforming.multiply.com/photos/album/6/2009-01-24-3INAO
๔.ละครนอกเรื่องมณีพิชัย ตอนขอพระมณีพิชัยไปเป็นทาส
//thperforming.multiply.com/photos/album/7/2009-01-24-4Mani_Pichai


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.77 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:38:06 น.  

 
รายการแสดงที่สังคีตศาลาเดือนมีนาคมปรับปรุงใหม่
วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์ ตอนพลัดพราก , กุมภณฑ์ถวายม้า ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ( ชุดการแสดงงานพระเมรุสมเด็จพระพี่นางฯ )

วันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงละครชาตรี คณะพ.เทพประสิทธิ์

วันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทยและการบรรเลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้น ปวช.ปีที่ ๓ วิทยาลัยนาฏศิลป

วันเสาร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๒ งดการแสดง เนื่องจากมีงานพิเศษของ National Museum Valunteers

วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงเพลงทรงเครื่อง คณะเกริกชัย ใหญ่ยิ่ง ( นาฏศิลปิน ( โขนยักษ์ ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร )

วันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทยและการบรรเลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ วิทยาลัยนาฏศิลป ( โขน )

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงหุ่นกระบอกออกตัว คณะคุณรัตน์ ( วัชรพงศ์ (ศิริรัตน์ ) ปานเสน) - ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ //av.sac.or.th/Subdetail/seminar/sum_show/Show16.html
วันเสาร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทย โรงเรียนบ้านครูทิพย์
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม การแสดงลิเกทรงเครื่อง คณะกรณ์กัญจนรัตน์ ( ปกรณ์พรพิสุทธิ์ + กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ + วัชรพงศ์(ศิริรัตน์ )ปานเสน)
ดูข้อมูลเกี่ยวกับ วัชรพงศ์ ปานเสนที่//www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/popup_news_print.aspx?newsid=161254&NewsType=1&Template=1


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.77 วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:45:03 น.  

 
//www.kingramamusic.org/news.htm

รายการประชันปี่พาทย์เสภา
วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.

โครงการส่งเสริมและเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรมและการดนตรี : สนทนาภาษาดนตรี จัดให้มี “รายการประชันปี่พาทย์เสภา”
ในวันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๙.๓๐ น. ณ บริเวณลานหน้าอาคารหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร

ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่การบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการละเล่นเสภาซึ่งเป็นมหรสพที่เคยเป็นที่แพร่หลายในสมัยก่อนให้แก่ผู้สนใจทั่วไป วงดนตรีไทยที่เข้าร่วม
ในการประชัน ๓ คณะ ได้แก่ วงดนตรีครูอาวุโส วงดนตรีกรุงเทพมหานคร และวงดนตรีกองดุริยางค์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นอกจากนั้นผู้ชมจะได้รับความรู้จากวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีอีกหลายท่าน
พีธีกรในงานนี้ คือ คุณ อานันท์ ( หน่อง ) นาคคง
ขอขอบคุณหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ที่กรุณาให้รายละเอียด (เป็นดิจิตอล-ไม่ต้องมานั่งพิมพ์เอง ) มา

หอสมุดดนตรีฯอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ
แผนที่หอสมุดดนตรีฯดูที่ //www.kingramamusic.org/map.htm
แผนที่หอสมุดแห่งชาติดูที่ //www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติดูที่ //www.nlt.go.th/th_plan.htm
หอสมุดดนตรีอยู่ติดรั้วหอสมุดด้านตลาดเทเวศร์
ถ้าเข้าทางประตูหน้า หอสมุดดนตรีจะอยู่ด้านซ้ายสุด


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:27:25 น.  

 
รายการประชันปี่พาทย์เสภา
วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๙.๓๐ น.

ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:35:51 น.  

 
//x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=3474
รายการจุฬาวาทิตขอเชิญชม การบรรเลงวงเครื่องสายนายเลอเกียรติ
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2552 เวลา 17.30น.
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

เป็นการบรรเลงด้วยวงดนตรีในความควบคุมของ ครูอ้ำ เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร //lerkiet.hi5.com
บรรเลงประกอบด้วยวงผกาภิรมย์ วงณัฐพนชัย และวงรวมพี่ๆเพื่อนๆครูอ้ำ

รายการเพลงมีดังนี้


โหมโรงรัตนกวี (ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์)
ผลงานการแต่งเพลงปี 2531 เป็นเพลงบรรยายถึงชีวิตของสุนทรภู่ตั้งแต่เกิด รุ่งเรือง ตกต่ำ เกียรติสูงสุดในชีวิต จนกระทั่งตาย
บรรเลงโดยวงเครื่องสายผสมซอสามสายและระนาดทุ้มเหล็ก คณะผกาภิรมย์ (ศิษย์จุฬา นำโดยนวราช อภัยวงศ์)


เขมรปี่แก้วทางสักวา วงเครื่องสายเพื่อนๆพี่ๆครูอ้ำ ( เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี )
ครูสุกัญญา (ทับพร) กุลวราภรณ์ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร - ขับร้อง
ครูอ้ำ ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร - ซอด้วง
ครูอภิชัย พงษ์ลือเลิศ ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร - จะเข้
ครูพรชัย ตรีเนตร ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร - ขลุ่ย


แสนเสนาะ 3 ชั้นออกเดี่ยวซอสามสายรับวง วงณัฐพนชัย รร.เตรียมอุดมศึกษา
เดี่ยวซอสามสายโดยวิชชา โสภณพัฒนา ขับร้องโดยสวรรยา ทับแสง และณัฐสร ลีสถิตนภนันท์


เพลงชุดภาษา โดยวงณัฐพนชัย รร.เตรียมอุดมศึกษา
ชุดภาษาจีน (ครูอ้ำ เรียบเรียง) วงเครื่องสายผสมขิมคู่
ระบำแขก (ครูวรยศ ศุขสายชล เรียบเรียง) วงเครื่องสายไทย
ชุดภาษาพม่า (ครูอ้ำ เรียบเรียง) วงเครื่องสายผสมขิมคู่


แมลงภู่ทอง 2 ชั้น มโหรีเครื่องแปด (ระนาดแก้ว)
วงเพื่อนๆพี่ๆครูอ้ำ ครูสุกัญญา (ทับพร) กุลวราภรณ์ ขับร้อง น้าอ้ำ ซอสามสาย


การบรรเลงซอด้วงหมู่ เดี่ยวพญาโศก 3 ชั้น โดยศิษย์ซอครูอ้ำ รับด้วยเดี่ยวซอสามสายโดยน้าอ้ำ


แขกโอด 3 ชั้น ทางฝั่งธนฯ วงเครื่องสายผสมซออู้เสียงล่าง คณะผกาภิรมย์ (ศิษย์จุฬา) ขับร้องโดย อ.ธนสันต์ นุชมาก

ทำความรู้จักกับวงกอไผ่ได้ที่ //korphaimusic.hi5.com


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:53:37 น.  

 
//www.musicofgandhavas.com/Site_/about_us.html

ธรรพวาทิต บทเพลงจากสรวงสวรรค์ คนธรรพ์เทพยคีตา
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2552 เวลา 18.00-19.30 น.

ณ หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
//www.musicofgandhavas.com/Site_/information.html

งานโครงการดุริยางคศิลป์ (Senior Project) เป็นวิชาที่นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องนำองค์ความรู้ที่ได้รับการศึกษาในระยะเวลา 7 ภาคการศึกษามาบูรณาการปรับใช้ในรูปแบบการนำเสนอผลงาน ในโครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ในภาคการศึกษาสุดท้าย เพื่อเผยแพร่ผลงานทางด้านดุริยางคศิลป์ต่อสาธารณชนให้ได้ตระหนักและเห็นถึง คุณค่าและความสำคัญด้านดนตรีไทย
จากความเชื่อและความสำคัญด้านดุริยางคศาสตร์ของคนธรรพ์ ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับสังคมดนตรีไทย ซึ่งมีอิทธิพลต่อคติความเชื่อของนักดนตรีไทยที่ก่อให้เกิดความนับถือและเคา รบบูชา คณะผู้จัดทำมีความเชื่อมั่นว่า ดนตรีไทยเป็นศิลปแขนงหนึ่งซึ่งเกิดจากการสั่งสมทางภูมิปัญญาของเหล่า บูรพาจารย์จนเกิดความวิจิตรสมบูรณ์อย่างแท้จริง สามารถถ่ายทอดด้วยเนื้อหาทางดนตรีที่โน้มน้าวไปสู่ความเคารพบูชาโดยไม่ทำลาย ภูมิความรู้และภูมิปัญญาของโบราณจารณ์ให้ตกต่ำลงไป ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำโครงการจึงต้องการสร้างทัศนะคติที่ดีต่อเทพคนธรรพ์ใน ทางดนตรีไทยอันควรค่าแก่การเคารพบูชา โดยการจัดการแสดงเผยแพร่ตอสาธารณชนในโครงการปริญญานิพนธ์ทางดุริยางคศิลป์ เรื่อง “ธรรพวาทิต” บทเพลงจากสรวงสวรรค์ คนธรรพ์เทพยคีตา เพื่อทำการศึกษาอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และก่อให้เกิดความภูมิใจในภูมิปัญญาของโบราณจารย์ที่ได้รังสรรค์ผลงานอันทรง คุณค่าแก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบไป

กำหนดการการแสดงวันที่ 6 มีนาคม 2552

17.00 น. ลงทะเบียน
18.00 น. เปิดงาน
18.15 น. เริ่มการแสดง


องก์ที่ 1 เคารพสักการะ
สรภัญญะบูชาครู
โหมโรง


องก์ที่ 2 ดุริยเทพคนธรรพ์
พระปัญจสีขร
คนธรรพ์
พระปรคนธรรพ


องก์ที่ 3 คันธัพพมหาดุริยางค์

19.15 น. จบการแสดง

ดูแผนที่ //www.musicofgandhavas.com/Site_/Map/Pages/all_map.html


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:02:59 น.  

 
//www.tu.ac.th/news/2009/02/20.htm#520220-036a

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทอดพระเนตร
การแสดงโขนธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ชุด ศึกทศกัณฐ์ สีดาลุยไฟ และพระรามคืนนคร
ในวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอเชิญเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จ พระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และทอดพระเนตร การแสดงโขนธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยคณะโขนธรรมศาสตร์ ชุด ศึกทศกัณฐ์ สีดาลุยไฟ และพระรามคืนนคร เพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยกำหนดการแสดงแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ

• รอบประชาชน วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2552 เวลา 14.00 น.
• และรอบเสด็จพระราชดำเนิน วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 เวลา 19.00 น

ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการจัดแสดงโขนธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้ว่า เพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้จัดการแสดงโขนธรรมศาสตร์เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยร่วมกับมูลนิธิ คึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ ในครั้งนี้ ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และทอดพระเนตรการแสดงโขนธรรมศาสตร์ โดยการแสดงครั้งนี้จะมีศิษย์โขนธรรมศาสตร์กว่า 100 ชีวิต ที่จะเข้าร่วมแสดง

ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ อาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ กล่าวถึงรายละเอียดการแสดงนี้ว่า ทางชุมนุมโขนได้มีการฝึกซ้อมกันมา ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2551 เพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์และสวยงามมากที่สุด ในการฝึกซ้อมการแสดงได้รับเกียรติจากศิลปิน แห่งชาติ 4 ท่าน ที่มาร่วมฝึกซ้อมให้กับเหล่านักแสดงในครั้งนี้ ได้แก่ ครูส่องชาติ ชื่นศิริ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ครูราฆพ โพธิเวส และครูประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปินแห่งชาติที่มีชื่อเสียง และได้เชิญครูผู้สอนจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ มาร่วมฝึกซ้อม

การแสดงในครั้งนี้ สำหรับตัวแสดงที่รับบทเด่นในเรื่องคือ “ชามพูวราช (ลิง) ” คือ นายนที เปรมรัศมี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายธีระวัฒน์ ภัทรานวัช รองประธานศาลฎีกา รับบท “ทศกัณฐ์” (ตอนตรวจพล) และ พ.ต.อ.มานิต ธนสันติ ผู้บัญชาการ สำนักคดีการเงิน การธนาคาร รับบท “ทศกัณฐ์” (ตอนนั่งเมือง) และ นายกุลภัสสรณ์ เดชะพรสวัสดิ์ นักแสดงจาก สยามนิรมิต ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับบทเป็น “นางสีดา” สำหรับการแสดงโขนในครั้งนี้เป็นในลักษณะที่มีตัวนักแสดงตัวเอกเป็นผู้ชายล้วน ซึ่งแตกต่างจากละครในเรื่องรามเกียรติ์ และสามารถถ่ายทอดลีลาในบทนางได้อย่างสมจริงและสวยงาม

จุดที่น่าสนใจในการแสดงโขนธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติครั้งนี้ คือ แสง สี เสียง โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร การจัดฉากการแสดง มีฉากใหญ่ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะฉากสุดท้ายในตอนพระรามคืนนคร ที่มีความยิ่งใหญ่อลังการ ในส่วนกระบวนท่ารำ ที่มีความงดงาม อ่อนช้อย และเพลงประกอบการแสดงได้รับเกียรติจากครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ขับร้องในบทเพลงพระโพธิสัตว์
การแสดงโขนธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จัดแสดงที่
หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ ถ.พระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ
การแสดงจัดแบ่งเป็น 2 รอบด้วยกันคือ

• รอบประชาชน วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2552 เวลา 14.00 น. บัตรราคา 100 บาททุกที่นั่ง
• และรอบเสด็จพระราชดำเนิน วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 เวลา 19.00 น. บัตรราคา 1,000, 500,300 บาท


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจชมการแสดงโขนธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถาบันไทยคดีศึกษา โทร.02-613-3204-5

และติดต่อซื้อบัตรได้ที่ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โทร. 02-613-3891 , 02-613-3893 และบริเวณหน้างาน


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:15:13:06 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการศรีสุขนาฏกรรม
วันศุกร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.
ณ.โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ

รายการแสดง

เดี่ยวซอสามสายประกอบการขับร้องเพลง บุหลันลอยเลื่อน
รำอาศิรวาทพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุดทศกัณฐ์ลงสวน
ละครนอก เรื่องสังข์ทอง ตอนแม่ผู้ให้คุณ
กำกับการแสดง โดย
นาย ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ

นำแสดงโดย
ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , ธานิต ศาลากิจ , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา , เสาวรักษ์ ( เจี้ยบ ) ยมะคุปต์ , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , กิติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , และ นักศึกษาจากสถาบันพัฒนศิลป์


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:17:02:39 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ
วันเสาร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ.โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ

รายการรำลึกสองปีที่จากไปอาลัยพ่อเสรี

รำอาลัยพ่อเสรี
เพลงตับทรพีผู้อกตัญญู
ผู้ชนะสิบทิศ ตอน เสน่ห์นางสนม

กำกับการแสดง โดย

วันทนีย์ ม่วงบุญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนาฏศิลป์ โขน-ละคร

นำแสดงโดย

ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ , ไพฑูรย์ เข้มแข็ง , ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ตวงฤดี ถาพรพาสี , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา , พรทิพย์ ทองคำ , จรัล พูนลาถ , ประสาท ( มืด ) ทองอร่าม , ถนอม นวลอนันต์ และข้าราชการสำนักการสังคีต กรมศิลปากร


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:17:07:54 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม การแสดงละครปลุกใจ
ผลงานประพันธ์ของ ฯพณฯ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
ณ.โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ
วันอาทิตย์ที่ ๑ , ๘ มีนาคม และ ๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.

รายการแสดง

ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง พ่อขุนรามคำแหง
ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง น่านเจ้า
ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง มหาเทวี
การขับร้องเพลง อาทิ เพลงเลือดไทย , เพลงภาพเธอ , เพลงใต้ร่มธงไทย


กำกับการแสดง โดย

ปกรณ์ พรพิสุทธิ์

นำแสดงโดย

ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ , ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.4 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:17:12:04 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม การแสดงละครปลุกใจ
ผลงานประพันธ์ของ ฯพณฯ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม และ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒ และ วันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
หอวชิราวุธานุสรณ์ วันแสดง ( ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรฯ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗
วันเสาร์ที่ ๑๓ และ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖
นาย สุเทพ ( แดง ) แก้วดวงใหญ่ หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา )


วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒เวลา ๑๓.๓๐ น.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
//www.korattheatre.go.th/หน้าหลัก.html
webmaster : yongvirun@yahoo.co.th
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา๓๐๒๘๐( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม. )
โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑
แผนที่โรงละคร //www.pointthailand.com/scripts/viewmap.asp?ABTID=2&nBIZID=652655&nMEMID=26395
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา )

เพลงประกอบการแสดงโดยกลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
[ The National Symphony Orchestra ]

ละครประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง

- เพลงอธิษฐาน ประกอบการแสดง
- เพลงขับไม้บัณเฑาะว์
- เพลงขับนก
- เพลงเชิดฉิ่ง
- เพลงกระแต ๒ ชั้น
- เพลงเพื่อนไทย ประกอบการแสดง
- เพลงสุริโยทัย
- เพลงต้นเข้าม่าน

การขับร้องเพลงหน้าม่าน

เพลงเลือดไทย
เพลงภาพเธอ


ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องน่านเจ้า

- เพลงหน้าผา ( เดี่ยวไวโอลิน )
- เพลงขับนก
- เพลงรักไทย (ขับร้อง)
การขับร้องเพลงหน้าม่าน
เพลงใต้ร่มธงไทย
เพลงชุมนุมเผ่าไทย

ละครอิงประวัติศาสตร์ เรื่องมหาเทวี

- เพลงลาวครวญ
- เพลงเสเลเมา
- เพลงพุงดำ
- เพลงโชคมนุษย์ (ขับร้อง)

FINALE

- เพลงถิ่นไทย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:7:34:23 น.  

 
สมาคมนักศึกษาเก่าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
มีความยินดีขอเชิญผู้สนใจร่วมเดินทางด้วยศรัทธา ยาตราแห่งโบราณคดี
ศุภยาตรา บูชาพระพิฆเนศวร์ ๓ วัฒนธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ (๙.๐๐-๑๗.๐๐น.)

ร่วมพิธีบูชาพระพิฆเนศวร์ ๓ วัฒนธรรม ๔ เทวสถาน

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ – ประเพณีราชสำนักสยาม
โบสถ์เทพมณเฑียร และ วัดวิษณุมณเฑียร – ประเพณีอินเดียเหนือ
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี – ประเพณีอินเดียใต ้
พร้อมรับประทานอาหารกลางวันและอาหารว่างแบบอินเดีย
นำประกอบพิธีโดยพราหมณ์ประจำเทวสถาน เพื่อความเป็นมงคลต่อชีวิต เสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ เป็นกำลังสู่ความสำเร็จ

และนำชมโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

ผศ. ดร. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา
ศ. ดร.ผาสุข อินทราวุธ ( นายกสมาคมสมาคมนักศึกษาเก่าคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร )
ผศ. ดร. จิรัสสา คชาชีวะ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระพิฆเนศวร์
อ. กิตติพงษ์ บุญเกิด ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฮินดีและอินเดียศึกษาซึ่งมีของฝากที่เพิ่งนำกลับมาจากงาน อัสตวินายะกะ ที่ปูเน่

ราคา ๙๙๙ บาท รับจำนวนจำกัด ๔๐ ท่าน
สำรองที่นั่งที่ อ.พอพล สุกใส ห้อง ๕๑๔ ชั้น ๕ ตึกคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ( วังท่าพระ ) ในวันและเวลาราชการ

ผู้ประสานงาน โครงการศุภยาตรา

๑. อ.เก่ง กิตติพงษ์ บุญเกิด (โบราณคดี รุ่น ๔๓) โทร.๐๘๙ ๑๒๖ ๖๔๙๖
๒. ภูมิ ภูติมหาตมะ (โบราณคดี รุ่น ๔๓) โทร.๐๘๖ ๙๙๒ ๐๑๐๐
๓. อ.เข้ม พอพล สุกใส (โบราณคดี รุ่น ๔๕) โทร.๐๘๗ ๓๕๖ ๐๕๖๙


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:8:51:54 น.  

 
โครงการเสวนาสัญจรของอิโคโมสไทยครั้งที่ ๒๓

เมืองสรรค์โบราณ ศิลป์ผสานอู่ทอง - สุโขทัย
จังหวัด ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง
วันเสาร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๒

อิโคโมสไทยขอเชิญชวนสมาชิกและผู้ที่สนใจ มาร่วมกิจกรรมครั้งสำคัญที่เราจะได้มาค้นพบความงามและความหมายของศิลปกรรมแห่งสรรคบุรี เมืองแห่งความต่อเนื่องของสองวัฒนธรรม
โดยเราได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้

๐๖.๓๐ น.
ออกเดินทางจากอิโคโมสไทย อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์
ช่วงเช้า แวะชมความงามของสถาปัตยกรรมและลวดลายปูนปั้น ที่วัดไลย์ จ. ลพบุรี แล้วเดินทางสู่ จ.ชัยนาท ชมศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว อยู่ในบริเวณสวนนก เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชัยนาทมุนี จัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในจังหวัดชัยนาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูป พระพิมพ์ สกุลช่างเมืองสรรค์
สักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ชัยนาท จากนั้นเดินทางต่อไปยัง อ.สรรค์บุรี

๑๒.๐๐ น.
รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหารขึ้นชื่อแห่งสรรค์บุรี

ช่วงบ่าย
ชมปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง แห่งวัดมหาธาตุ สรรค์บุรี วัดพระยาแพรก
วัดสองพี่น้อง และวัดโตนดหลาย ซึ่งมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อด้วยการชมราชินีแห่งเจดีย์ ที่วัดพระแก้วเมืองสรรค์ เป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมทรงสูงที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ต้นเค้าของเจดีย์ในกลุ่มเจดีย์รุ่นแรก ๆของอยุธยา เดินทางต่อไปยัง จ.สิงห์บุรี แวะชมแหล่งเตาแม่น้ำน้อย หลักฐานของแหล่งอุตสาหกรรมโบราณขนาดใหญ่ ชมวัดพระนอนจักรสีห์ สักการะพระพุทธไสยาสน์ และชมวัดหน้าพระธาตุ ซึ่งมีพระปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น จากนั้นเดินทางเข้าสู่เขต จ.อ่างทอง ชมวัดขุนอินทรประมูล มีพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย

๑๘.๓๐ น.
เดินทางกลับถึงกรุงเทพมหานคร



สมาชิกอิโคโมสไทย/และครอบครัวสมาชิก
ท่านละ ๑,๒๐๐.-
บุคคลทั่วไป ท่านละ ๑,๕๐๐.-

สอบถามรายละเอียด ติดต่อฝ่ายเลขานุการอิโคโมสไทย
วีรยา ๐-๒๒๘๒-๒๑๒๑#๒๑๗
E-mail: admin@icomosthai.org โทรสาร ๐-๒๒๘๑-๓๙๔๗
ค่าสมาชิกอิโคโมสไทย ปีละ ๒๐๐ บาท ตลอดชีพ ๒,๐๐๐ บาท
ดูรายละเอียด //www.icomosthai.org


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:08:17 น.  

 
//thai.tourismthailand.org/festival-event/grand-content-5850.html

ดนตรีในสวนปีที่ 16 สมัยกาลดนตรีไทย
แสดงทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.30 - 19.30 น.
ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ - วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน 2552
ณ ศาลาภิรมย์ภักดี บริเวณสวนปาล์ม ในสวนลุมพินี แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

รายการแสดง

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ วงคุณพระช่วยออเครสตรา (ในรายการคุณพระช่วย)
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม ทีมงานโมเดิร์นเรดิโอ ลูกทุ่งมหานคร F.M.95 ( ดีเจ จิ้ง )
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม ชินกร ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ เจ้าของเพลง "ยอยศพระลอ"
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม ประลองปี่พาทย์ประชันวง ของ มรภ.พระนคร
วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม วงบอยไทย
วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม วงดนตรีแจ๊ส
วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน วงดนตรีเพชร พนมรุ้ง ( ราชาเพลงโห่ )
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน วงดนตรีไทยกรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน วงดุริยางค์เยาวชนไทย ( ในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ )
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน การแสดงศิลปะพื้นบ้าน 4 ภาค และการแสดงโขน ( ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ )


หมายเหตุ - ติดตามรายการแสดงได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการจากโฆษณาใน
- หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับทุกวันพุธและวันศุกร์
- หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับทุกวันพฤหัสบดีและวันเสาร์
- หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับทุกวันพฤหัสบดี

ติดต่อสอบถาม
- หนังสือพิมพ์มติชน โทร. 0 2589 0020 ต่อ 1702
- กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2621 0703-4
- //www.matichon.co.th


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:11:19 น.  

 
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
//www.theprincessmothermemorialpark.org/
ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600
โทร : 0-2437-7799, 0-2439-0896, 0-2439-0902 โทรสาร : 0-2437-1853
E-mail : webmaster@theprincessmothermemorialpark.org , pmmemorialpark@yahoo.com
** รถประจำทางที่ผ่าน : สาย 6, 42, 43 **
ดูแผนที่ //www.theprincessmothermemorialpark.org/organizetion.htm


ในเดือนมีนาคมจะมีการแสดงดนตรีของ วงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร The National Symphony Orchestra ในวันอาทิตย์ ที่ ๑ , ๘ , ๒๒ , ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ ตั้งแต่เวลา 17.00 - 18.30 น.

วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.
( รายการแสดงอาจมีเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม )

การแสดงดนตรีเทิดพระเกียรติ น้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ชุด “ ชมย่าน บ้านเดิม...เพลิดเพลินดนตรี ”
โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
สถาพร นิยมทอง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้อำนวยเพลง
วัฒนะ บุญจับ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ผู้บรรยาย

รายการเพลง ศิลปิน หมายเหตุ

ช่วงแรก สายน้ำแห่งชีวิต ( ๑๗.๐๐ – ๑๘.๓๐ น. )


๑. เพลงสายน้ำไม่ไหลกลับ - วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒. เพลงบางน้ำเปรี้ยว วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓. เพลงแสนแสบ สุรพัฒน์ ชูก้าน คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๔. เพลงธาราระทม สุรพัฒน์ ชูก้าน คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๕. เพลงลุ่มเจ้าพระยา เอ ศุภชัย – โอม นนทวรรธ ไพจิตร
๖. เพลงบางปะกง เอ ศุภชัย ไพจิตร
๗. เพลงครวญ โอม นนทวรรธ ไพจิตร
๘. เพลงเอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง นลินรัตน์ กาญจนคเชนทร์
๙. เพลงลาสาวแม่กลอง จุลชาติ อรัญยะนาค อาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
๑๐.เพลงมนต์รักลูกทุ่ง จุลชาติ อรัญยะนาค อาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
๑๑.เพลงท่าฉลอม จุลชาติ อรัญยะนาค อาจารย์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
๑๒.เพลงสักขีแม่ปิง จุลชาติ - .................
๑๓.เพลงพบรักปากน้ำโพ กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์ไทย ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๔.เพลงบัวตูม บัวบาน กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์ไทย ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๕.เพลงล่องเรือหารัก กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์ไทย ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๖.เพลงล่องวารี สายัณห์ ธารีเธียร ดุริยางคศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร


ช่วงหลัง การแสดงสไลด์มัลติมีเดีย ชุด “รำลึกถึง...สมเด็จย่า” ( ๑๘.๓๐ – ๑๙.๐๐ น. )

ขับร้องหมู่


๑๗.เพลงศรีนครินทรา คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๘.เพลงแม่ไทย คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๙.เพลงตำรวจตระเวนชายแดน คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๐.เพลงบรมราชชนนีศรีนครินทร์ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

จุดเทียนชัยร่วมรำลึก


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:14:12 น.  

 
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากรจะไปจัดการแสดงใน เทศกาลเที่ยวระนอง ท่องอันดามัน ประจำปี ๒๕๕๒ ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ หน้าเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเทศกาลได้ที่
//www.ranong.go.th/
//thai.tourismthailand.org/festival-event/grand-content-5851.html

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.
( รายการแสดงอาจมีเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม )

การแสดงดนตรีเทิดพระเกียรติ น้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ชุด “ เล่าขาน ตำนานเพลงดัง หนังไทยในอดีต ”
โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
สถาพร นิยมทอง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้อำนวยเพลง
กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์ไทย ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร พิธีกร


รายการเพลง ศิลปิน หมายเหตุ


๑. เพลงแสนแสบ เอ ศุภชัย ไพจิตร
๒. เพลงขวัญเรียม วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓. เพลงเรือนแพ เอ ศุภชัย ไพจิตร
๔. เพลงเงาไม้ วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๕. เพลงใต้ร่มมลุลี สุรพัฒน์ - ............
๖. เพลงบ้านไร่นาเรา ขับร้องหมู่
๗. เพลงจันทร์เจ้าขา ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร - บรรเทอง เกษมศิลป์ หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๘. เพลงบัวขาว วาณี จูฑังคะ ถ่านไฟเก่า
๙.เพลงในฝัน ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ ถ่านไฟเก่า คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๐.เพลงปิ่นทอง ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๑.เพลงคู่กรรม สุรพัฒน์ ชูก้าน - กนกนาถ ญาณฤทธิ์ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๒.เพลงชาวดง สายัณห์ ธารีเธียร ดุริยางคศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๓.เพลงหนาวเนื้อ สายัณห์ ธารีเธียร ดุริยางคศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๔.เพลงแฟนฉัน สุรพัฒน์ ชูก้าน คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๕.เพลงมนต์รักลูกทุ่ง กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์ไทย ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๖.เพลงสาวนาคอยคู่ นัทพร อ่องสาธร มนต์รักลูกทุ่ง
๑๗.เพลงวอนลมฝากรัก นัทพร อ่องสาธร ชาติลำธี
๑๘.เพลงสิบหมื่น กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์ไทย ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๙.เพลงน้ำลงนกร้อง กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์ไทย ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๐.เพลงสดุดีมหาราชา ขับร้องหมู่


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:17:23 น.  

 
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.
( รายการแสดงอาจมีเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม )

การแสดงดนตรีเทิดพระเกียรติ น้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ชุด “ กวีรส บทเพลงวรรณคดี ”
โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
สถาพร นิยมทอง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้อำนวยเพลง
วัฒนะ บุญจับ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ผู้บรรยาย


รายการเพลง ศิลปิน หมายเหตุ


๑. เพลงความรัก วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒. เพลงไทยสามัคคี วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓. เพลงสีชัง สุรพัฒน์ ชูก้าน คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๔. เพลงลาวครวญ สมเจตน์ ภู่นา นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบการแสดง
๕. เพลงไทยรวมกำลัง ขับร้องหมู่
๖. เพลงครวญ สุรพัฒน์ ชูก้าน คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๗. เพลงคำมั่นสัญญา สุรพัฒน์ ชูก้าน คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๘. เพลงดวงใจ กนกนาถ ญาณฤทธิ์ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๙. เพลงสาส์นรัก กนกนาถ ญาณฤทธิ์ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๐.เพลงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๑.เพลงยอยศพระลอ สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบการแสดง
๑๒.เพลงลาวเจริญศรี สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๓.เพลงมนต์รักอสูร ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๔.เพลงเกียรติศักดิ์ทหารเสือ ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบการแสดง
๑๕.เพลงวังบัวบาน วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๖.เพลงพรานล่อเนื้อ สมเจตน์ ภู่นา นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๗.เพลงถ้ารักกันลั่นเปรี้ยง ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ
๑๘.เพลงนวลปรางนางหมอง ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๙.เพลงที่รัก สมเจตน์ ภู่นา นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๐.เพลงชูชก – สองกุมาร ประสิทธิ์ คมภักดี นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:20:58 น.  

 
( ถ้าเข้าใจไม่ผิด รายการนี้ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย )

การจัดงาน "น้ำไร้พรมแดน" เนื่องในสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและวันน้ำโลก ระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๗ มี.ค.นี้ ในนาม กนช. ( คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ) เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนปัญหาและแนวทางแก้ไขในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำ และเพื่อกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศ

รายการบรรเลงดนตรีสากลเนื่องในงานคอนเสิร์ต “น้ำไร้พรมแดน”
บรรเลงโดย วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร The National Symphony Orchestra
สถาพร นิยมทอง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้อำนวยเพลง
วันพุธที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.
ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ เลขที่ ๙ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามหก เขตพญาไท กรุงเทพฯ

ช่วงที่ ๑

๑. เพลงสดุดีมหาราชา ประธานนำหมู่/ข้าราชการและผู้ชม
๒. เพลงสยามานุสสติ ประธานนำหมู่/ข้าราชการและผู้ชม
๓. เพลงพ่อ ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๔. เพลงสมเด็จ วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๕. เพลงป่ารักน้ำ
๖. เพลงน้ำคือชีวิต
๗. เพลงพระราชนิพนธ์สายฝน สันติ ลุนเผ่

ช่วงที่ ๒

๘. เพลงพระราชนิพนธ์รัก วสุ ( จิ๊บ ร.ด. ) แสงสิงแก้ว นักการทูต กระทรวงการต่างประเทศ
๙. เพลงหยดน้ำ สุพจน์ โตวิจักษ์ชัยกุล ( รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ )
๑๐. เพลงแม่กลอง สันติ ลุนเผ่
๑๑. เพลงบางปะกง
๑๒. เพลงสักขีแม่ปิง นนทวรรธน์ เรืองสกุล - นลินรัตน์ กาญจนคเชนทร์
๑๓. เพลงลำน้ำพอง วีระ บำรุงศรี
๑๔. เพลงลาทีปากน้ำ ดร.ศุภชัย ไพจิตร

ช่วงที่ ๓

๑๕. เพลงเอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ธัญสินี เปรมวงศ์
๑๖. เพลงกว๊านพะเยา ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์ )
๑๗. เพลงแสนแสบ ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๔๘ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์ )
๑๘. เพลง Beyond the sea นัดดา วิยะกาญจน์
๑๙. เพลง River of no return นัดดา วิยะกาญจน์
๒๐. เพลงกินรีเล่นน้ำ จินตลีลา
๒๑. เพลงปักษ์ใต้บ้านเรา

ช่วงที่ ๔

๒๒. เพลงรักเก่าที่บ้านเกิด ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๓. เพลงไอ้หนุ่มตังเก ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๔. เพลงรักจางที่บางปะกง จินตลีลา
๒๕. เพลงล่องเรือหารัก พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด
๒๖. เพลงกำนัน กำใน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด
๒๗. เพลงฝนเดือนหก
๒๘. เพลงรักข้ามคลอง

ช่วงที่ ๕

๒๙. เพลงน้ำตาจ่าโท ประสิทธิ์ คมภักดี นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓๐. เพลงไทยดำรำพัน จินตลีลา
๓๑. เพลงข้ามันลูกทุ่ง
๓๒. เพลงน้ำตาหอยทาก จินตลีลา
๓๓. เพลงไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน ( ดุริยางค์สากล ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓๔. เพลงคิดถึงพี่หน่อย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:26:52 น.  

 
การลดกรรม 45 อย่าง

1. กรรมที่ไม่มีลูก
กรรมจาก การทำร้ายลูกของสัตว์อื่น พรากสัตว์อื่นจากพ่อแม่หรือเคยข่มเหงลูกคนอื่น
ลดกรรม ด้วยการงดกินเนื้อสัตว์ทุกๆ 7 วัน ในทุกๆเดือนทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ ปล่อยนกปล่อยกา ทำบุญบริจาคทานที่มูลนิธิสัตว์หรือ มูลนิธิเด็กอ่อน

2. เจ็บป่วยบ่อย หรือเป็นโรคร้าย
กรรมจาก เคยทำทารุณกรรมต่อสัตว์
ลดกรรม ด้วยการทำบุญทำทานกับสัตว์อนาถา ให้อาหารให้ความเมตตา ซื้อยาหรือบริจาคเงินที่โรงพยาบาลสงฆ์ ทำบุญปล่อยเต่า
งดกินเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต

3. ตาบอดหรือเป็นโรคตา
กรรมจาก เคยทำร้ายสัตว์ที่ดวงตา หรือไม่เคยทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงในชาติก่อน หรือเคยทำลายไฟฟ้าของวัด ของที่สารธารณะ
ลดกรรม ซื้อโคมไฟ หลอดไฟถวายวัด ถวายเทียนห่อใหญ่ ถวายไฟฉาย เติมน้ำมันตะเกียงทุกวันพร! ะ บริจาคเงินในกล่อง
ซื้อน้ำมันเติมตะเกียงที่วัด

4. ถูกรถเฉี่ยวชน ถูกลูกหลง ถูกสัตว์กัดต่อย
กรรมจาก จากเคยเป็นคนพาลเกะกะเกเร หาเรื่องเดือดร้อนให้ผู้อื่น มักรังแกและสาปแช่งผู้อื่นอยู่เสมอ
ลดกรรม หมั่นพูดดี มีวาจาไพเราะ

5. สูญเสียคนใกล้ชิด
กรรมจาก เคยยิงนกตกปลา
ลดกรรม ทำบุญไถ่ชีวิตโค กระบือ งดกินเนื้อสัตว์อย่างน้อยสัก 1 อย่างชั่วชีวิต หรือกินเจทุกๆ 3 เดือน ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา

6.ถูกนินทา ถูกให้ร้าย
กรรมจาก เคยพูดจาให้เป็นเหตุให้คนอื่นเป็นทุกข์หรือเดือดร้อน
ลดกรรม พิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี พูดดี พูดให้คนอื่นเกิดประโยชน์ พูดให้ผู้อื่นมีความสุข

7. มักเดือดร้อนเพราะไฟ ไฟไหม้บ้าน ไฟดูด
กรรมจาก เคยลบหลู่พระสงฆ์ และศาสนา
ลดกรรม ตักบาตรทุกวันพระ ทำบุญถวายสังฆทานทุกเดือน ฟังเทศน์ฟังธรรมทุกวันพระ หรือทุกๆเดือนในวันพระ ร่วมพิมพ์หนังสือ
ธรรมะแจกจ่ายฟรี

8. ขาดบารมี ไร้ญาติขาดมิตร
กรรมจาก ไม่เคยไปร่วมงานบุญงานศพ
ลดกรรม ร่วมทำบุญงานศพ บริจาคเงิน หรือร่วมด้วยแรงกายช่วยงานอื่นๆในงานศพ เช่นทำอาหาร จัดดอกไม้

9. ตั้งหลักปักฐานไม่ได้ โยกย้ายบ่อย
กรรมจาก ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างโบสถ์สร้างวิหาร แก่วัดวาอารามต่างๆ
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างหลังคาวิหาร ร่วมทำบุญฝังลูกนิมิต หมั่นไปไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ณ เมืองที่ตนอยู่อาศัย

10. มักถูกรังแก ถูกเบียดเบียน
กรรมจาก ไม่เคยบวช หรือทำบุญงานบวช
ลดกรรม บวช ด้วยจิตศรัทธาปวารถาอย่างบริสุทธิ์ไม่มีเจตนาอื่นแ! อบแฝงจะบวช 7 วัน หรือ 15 วัน 1 เดือน 1 พรรษา แล้วแต่
จิตศรัทธา ถ้าเป็นสตรีจะบวชชีพราหมณ์ หรือถือศีล 8 ตามเวลาที่สะดวกและตั้งจิตศรัทธา หรือร่วมทำบุญงานบวชอย่าง
สม่ำเสมอเท่าที่จะทำได้

11.ไม่มีคนชื่นชมเอ็นดู ชาดเสน่ห์
กรรมจาก ไม่เคยถวายของหอม
ลดกรรม หมั่นทำบุญไหว้พระทุกวันพระ ถวายธูปหอม เทียน ดอกไม้สด พวงมาลัย ทองคำเปลว ประน้ำอบน้ำปรุง ประพฤติดี
ปฏิบัติชอบต่อผู้อื่น คิดดี ทำดี พูดดี ให้ผู้อื่นได้ดี มิให้ร้ายผู้ใด

12. เป็นที่รังเกียจ มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว
กรรมจาก ทำติเตียนดูแคลน ผู้ที่ชอบทำบุญทำทาน
ลดกรรม หมั่นทำบุญทำทานอย่างสม่ำเสมอ ฟังเทศน์มหาชาติทุกๆปี ชักชวนผู้อื่นให้ร่วมทำบุญหรือบริจาคทานเป็นการบอกบุญผู้อื่น พิมพ์หนังสือธรรมะจ่ายแจกฟรี

13. ไปไหนมาไหนลำบาก มีแต่อุปสรรค
กรรมจาก เคยทำลายหนทางสัญจรของวัด หรือของชาวบ้าน หรือทำให้ทางสัญจรสาธารณะได้รับความไม่สะดวก
ลดกรรม บริจาคทรัพย์หรือแรงกายช่วงสร้างสะพาน สร้างทางอันเป็นประโยชน์แก่วัด หรือชุมชนเล็กๆ ช่วยผู้คนยากไร้ให้
ได้มียวดยานพาหนะหรือทางสัญจรที่สะดวก

14. เป็นคนรับใช้เขาร่ำไป
กรรมจาก เคยเนรคุณผู้ที่เคยมีพระคุณแก่ตน
ลดกรรม ตอบแทนผู้มีคุณด้วยความกตัญญู ร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป พระประธาน ทำทานทั้งกับคนและสัตว์

15. ขัดสน อดมื้อกินมื้อ
กรรมจาก เคยละเว้นการใส่บาตร ละเว้นการให้ทาน เมื่อมีคนยากไร้มาขอทานอาหารและน้ำ
ลดกรรม แบ่งปันอาหาร น้ำ เสื้อผ้า แก่คนยากไร้อนา! ถา แม้ไม่มีเงินก็แบ่งปันสิ่งของตามที่มี ตักบาตรทุกเช้าหรือทุกวันพระ

16. อาภัพคู่ ร้างคู่
กรรมจาก เคยผิดลูกผิดเมียเขา
ลดกรรม บวชพระ หรือบวชชีพราหมณ์ ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพงานแต่งงานคู่บ่าวสาวที่ยากจน ถวายของเป็นคู่ เช่น แจกันคู่
เชิงเทียนคู่ หมอนคู่ เป็นต้น

17. ได้คู่ที่เลวร้าย ทำร้ายตนหรือทำให้เป็นทุกข์
กรรมจาก เคยข่มขืนเขาในชาติก่อน เคยทุบตีทำร้ายคู่
ลดกรรม บวชพระ หรือบวชชีพราหมณ์ ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา

18. อยู่โดดเดี่ยวยามบั้นปลาย
กรรมจาก เคยจับสัตว์ขัง
ลดกรรม ทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ ปล่อยนกปล่อยกา ทำบุญทำทานแก่เด็กอนาถาและสัตว์อนาถา

19. รูปร่างหน้าไม่งดงาม
กรรมจาก ไม่เคยถวายดอกไม้ของหอม
ลดกรรม ถวายพวงมาลัยดอกไม้สด ดอกไม้หอม ทำบุญบริจาคดวงตา บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล

20. มักถูกโกง ถูกเบี้ยวเงิน
กรรมจาก เคยคดโกงผู้อื่น!
ลดกรรม สละทรัพย์บริจาคร่วมการกุศลต่างๆ ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน อุทิศส่วนกุศลแก่เจ้ากรรมนายเวรทุกๆเดือน

21. พิการ ร่างกายไม่สมประกอบ
กรรมจาก เคยทุบตีพ่อแม่ ด่าพ่อแม่ หรือทำร้ายพ่อแม่
ลดกรรม หมั่นทำบุญไหว้พระ ปล่อยนกปล่อยปลา ถือศีล 5 ศีล 8 เจริญภาวนา นั่งวิปัสสนากรรมฐาน

22. มีคดีความ
กรรมจาก เคยพบคนทุกข์ร้อนแล้วไม่ช่วยหรือพยายามหาทางช่วยเหลือ
ลดกรรม หมั่นทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถือศีล 8 ทุกๆ 3 เดือนๆละ 7 วัน

23. ไร้ที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
กรรมจาก ไม่สงเคราะห์คนอนาถา ที่มาขออาหาร ขอชายคาหลบฝน ไม่มีน้ำใจช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
ลดกรรม ร่วมทำบุญซื้อกระเบี้องหลังคาโบสถ์ หมั่นไปกราบไหว้บู! ชาศาลหลักเมือง ทำบุญทำทานแก่สัตว์พิการหรือสัตว์จรจัด

24. จิตใจขุ่นมัว ดุดัน ขี้โมโห
กรรมจาก มักตะหนี่ในการทำบุญ
ลดกรรม สวดมนต ์ไหว้พระ ทุกวันพระ ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ถือศีล 5 หรือศีล 8 ทุกๆ 3 เดือน บริจาคทาน แบ่งปันเงินทองหรือ
สิ่งของแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือร่วมทำบุญบริจาคทานกับมูลนิธิสถานสงเคราะห์ และวัดวาอารามต่างๆ

25. ไม่มีชื่อเสียง
กรรมจาก เคยติฉินนินทาทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างหอระฆัง ร่วมทำบุญหล่อเทียนพรรษา ทำทานกับคนยากไร้ และสัตว์อนาถา

26. ไม่มีวาสนาบารมี
กรรมจาก ไม่เคยนับถือชื่นชมผู้นับถือธรรมมะ
ลดกรรม ทำบุญสร้างพระพุทธรูป ทำทานกับคน

27. มีลูกหลานไม่ดี เกเร ไม่เชื่อฟัง
กรรมจาก ทำแท้ง เคยทำร้ายคนใกล้ชิดมาก่อน และทำร้ายจิตใจครอบครัวในชาติก่อน
ลดกรรม บวชเณร โดยให้ลูกบวชหรือไปร่วมบวช จะทำให้กรรมน้อยลง ปฏิบัติธรรม อุทิศให้ลูกตนเอง

28. เจอแต่คนเอาเปรียบ
กรรมจาก เคยเบียดเบียนเงินพ่อแม่ไว้ในอดีตชาติ เคยโกงคนไว้ในอดีตชาติ ขโมยเงินครอบครัวมาใช้
ลดกรรม หมั่นยึดถือศีล 5 ให้มั่น ไม่ดื่มเหล้า ทำให้ขาดสติ โดนโกงง่าย หมั่นสวดมนต์ อธิษฐานบารมีด้านขอพรให้พบเจอคนดี ๆ
เข้ามาในชีวิต

29. เกิดในสกุลต้อยต่ำ
กรรมจาก โอหัง อวดดี จิตใจคับแคบ
ลดกรรม ร่วมทำบุญสร้างวัด สร้างพระประธาน ทำบุญทำทานกับคนยากไร้ และสัตว์อนาถา พิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี

30. ไร้สง่าราศี ขาดวาสนา
กรรมจาก เคยเมาสุระอาละวาด ระรานผู้อื่น!
ลดกรรม นั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน ทำทานกับคนอนาถา และสัตว์อนาถา ร่วมพิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี

31. ไม่เจริญก้าวหน้า จิตใจเป็นทุกข์
กรรมจาก เคยชักจูงคนทำชั่ว
ลดกรรม ถือศีล 8 เป็นเวลา 7 วัน ทุกๆ 3 เดือน หมั่นทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน

32. จิตใจฟุ้งซ่าน เป็นทุกข์
กรรมจาก เคยริษยาผู้อื่น
ลดกรรม ทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยปลาลงน้ำ นั่งสมาธิ สวดมนต์บทคาถาพระชินบัญชร

33. ชีวิตตกต่ำ ทำสิ่งใดไม่เจริญ
กรรมจาก เคยทำแท้ง
ลดกรรม ปล่อยปลาลงน้ำทุกๆเดือน จนครบ 9 เดือน หรือ 1 ปีเต็ม ถวายสังฆทาน ทำบุญใส่บาตรเสมอ

34. เป็นเมียน้อย เมียเก็บ
กรรมจาก เคยผิดลูกผิดเมียเขามาก่อน ขืนใจเขาโดยไม่ยินยอม เคยอธิษฐานจิตร่วมกันมาว่ากี่ภพก็ขอให้ได้ใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน
ลดกรรม ถวายธงคู่ ธูปคู่ เชิงเทียนคู่ หมอนคู่ อย่างใดก็ได้ อธิษฐานจิตขอให้ชีวิตคู่ที่ดีขึ้น บวชชีพราหมณ์ ปีละ 1 ครั้ง 3 วัน อุทิศให้
เจ้ากรรมนายเวรที่เคยล่วงเกินให้ได้รับกุศลและเปิดทางให้ชีวิตคู่ดีขึ้น ร่วมเป็นเจ้าภาพงานแต่ง เพื่อชีวิตตนจะดีขึ้นและ
สมหวัง สวดมนต์ขอพรทุกวันเกิดด้านความรักให้สมหวังต่อไป ทำบุญสังฆทานสด ในวันเกิดตนเอง เดือนละครั้ง เพื่ออุทิศ
ให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติและวิญญาณที่ตามมาให้ได้รับกุศลและอโหสิกรรม

35. เป็นทุกข์เพราะคนในครอบครัว
กรรมจาก เคยลำเอียง ไร้คุณธรรมในด้านครอบครัวไว้ก่อน เคยเอารัดเอาเปรียบคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดไว้ในชาติอดีตและ
ชาติปัจจุบัน เคยทำให้ครอบครัวเขาแตกแยกในอดีตชาติ
ลดกรรม ต้องบวชชีพราหมณ์ เพราะเมื่อเกิดอีกภพชีวิตจะได้ดีมีชีวิตที่ดีขึ้น เพราะกุศลของการบวช ปฏิบัติธรรมทำให้เจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรม และตนเองได้พบสิ่งที่มีกุศลมากขึ้น ยึดพรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะทำให้ชีวิตมีความเมตตา
และไม่ลำเอียงเอารัดเอาเปรียบคนใกล้ชิด ทำให้วิถีชีวิตมีคนนับถือและพ้นจากความทุกข์ในเรื่องญาติพี่น้องยุ่งเกี่ยวได้
นำพระคู่บ้านคู่เมืองเข้าสักการะที่บ้าน และสวดมนต์ขอพรให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข

36. เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
กรรมจาก ฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ ทำร้ายคนไว้ในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ
ลดกรรม ตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติ รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้กุศลและอโหสิกรรมซึ่ง
กันและกัน ปล่อยสัตว์ลงน้ำในวันเกิดตนเอง กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรได้รับและอโหสิกรรม ถวายยาเข้าวัด
หรือช่วยเหลือคนป่วย

37. เป็นมะเร็ง
กรรมจาก รู้เห็นเป็นใจกับการทำแท้ง การทารุณสัตว์ หรือการทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
ลดกรรม ทำบุญใหญ่อุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร และบวชชีพราหมณ์ 1 เดือน เพื่อส่งกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม
ทำบุญสร้างพระพุทธรูป สร้างโบสถ์หรือสร้างศาลาวัด ร่วมพิมพ์หนังสือธรรมะแจกฟรี หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน

38. ค้าขายขาดทุน ทำงานไม่ก้าวหน้า
กรรมจาก เคยลบหลู่เจ้าที่เจ้าทาง
ลดกรรม หมั่นทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ถวายเครื่องเซ่นสังเวย เจ้าที่-เจ้าทาง หมั่นสวดมนต์บทคาถาพระชินบัญชร

39. ด้อยปัญญา
กรรมจาก ฝักใฝ่อบายมุขในชาติก่อน หรือชักชวนคนไปทำชั่ว ดูแคลนหลักธรรมมะ
ลดกรรม พิมพ์หนังสือธรรมะจ่ายแจก ทำบุญทำทานกับโรงเรียนของเด็กพิการหรือตาม! ูลนิธิต่างๆ

40. ตกงาน
กรรมจาก เคยกลั่นแกล้งผู้อื่นในเรื่องงาน หรือแย่งงานผู้อื่น
ลดกรรม หมั่นทำบุญทำทาน ร่วมงานบุญต่างๆ ปล่อยนกปล่อยปลา

41. ไม่มีโชคลาภ
กรรมจาก ไม่เคยสวดมนต์ไหว้พระ
ลดกรรม หมั่นทำบุญสวดมนต์ไหว้พระ ถวายธูป เทียน ดอกไม้สด พวงมาลัย และทองคำเปลว

42. เรียนไม่จบ การเรียนมีอุปสรรค
กรรมจาก ชาติก่อนปฏิเสธการฟังเทศน์ฟังธรรม
ลดกรรม หมั่นเข้าวัด ร่วมงานบุญต่างๆ ฟังเทศน์ อ่านหนังสือธรรมะ

43. มีอาชีพต้อยต่ำที่ผู้คนดูแคลน
กรรมจาก ชาติก่อนเคยบวชด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ ไร้ความศรัทธา อาศัยผ้าเหลืองหากิน
ลดกรรม ถือศีล 5 ศีล 8 นั่งสมาธิ ฝึกกรรมฐาน ถวายสังฆทานทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน

44. ครอบครัวยากจน
กรรมจาก ชาติก่อนไม่เคยบริจาคทาน
ลดกรรม หมั่นทำบุญด้วยการบริจาคทาน ถ้ามีเงินไม่มากก็บริจาคเป็นสิ่งของ แรงกาย หรือน้ำใจ ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่น ไปช่วยอ่านหนังสือให้มูลนิธิคนตาบอด

45. เป็นทุกข์เพราะความรัก
กรรมจาก ชาติก่อนเจ้าชู้ หลอกผู้อื่นให้อกหัก
ลดกรรม ประพฤติดีปฏิบัติดีทั้งความคิด กาย วาจา ใจ ร่วมทำบุญงานแต่งงาน ทำสิ่งดีๆให้คนอื่นได้สมรักสม

อ่านให้จบน่ะค่ะจุดเด่นอยู่ที่ข้อ 19 ค่ะ
กฏแห่งกรรม
1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย
เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์
2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอยู่เสมอ
เพราะชาติก่อนคุณเคยทำทานอาหารแก่คนยากจนในชาติก่อน
3. เหตุใดชาตินี้คุณอดอยากยากจน ไม่มีเสื้อผ้าดีดีสวมใส่
เพราะคุณตระหนี่ขี้เหนียวไม่ยอมทำทานคนจน ในชาติก่อน
4. เหตุใดชาตินี้คุณมีบ้านเรือนให¬ญ่โต
เพราะคุณเคยถวายข้าวสารเข้าวัดในชาติก่อน
5. เหตุใดชาตินี้คุณมีความเจริ¬ญรุ่งเรืองและมีความสุขมาก
เพราะคุณเคยถวายเงินสร้างวัดในชาติก่อน
6. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนสวย และรูปงาม
เพราะคุณเคยถวายดอกไม้สดบูชาพระด้วยความเคารพในชาติก่อน
7. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมีปัญญาดี
เพราะคุณเคยเป็นพุทธมามกะและทานมังสวิรัติในชาติก่อน
8. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นที่รักของทุกๆ คนและมีเพื่อนมากมาย
เพราะคุณเคยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อทุกคนในชาติก่อน
9. เหตุใดชาตินี้คุณมีพ่อ แม่อยู่พร้อมหน้า
เพราะคุณเคารพและให้ความช่วยเหลือ ไม่ดูแคลนคนไร้¬ญาติในชาติก่อน
10. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นเด็กกำพร้า
เพราะคุณเคยยิงนก ตกปลา และพรากสัตว์ในชาติก่อน
11. เหตุใดชาตินี้คุณมีอายุยืนแข็งแรง
เพราะคุณเคยปล่อยนก ปล่อยปลา สิ่งมีชีวิตในชาติก่อน
12. เหตุใดชาตินี้คุณอายุสั้น
เพราะชาติก่อนคุณเคยฆ่าสัตว์มากมาย
13. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนรับใช้
เพราะชาติก่อนคุณเคยดูถูกเหยียดหยามคนจน
14. เหตุใดชาตินี้คุณมีดวงตาสดใส
เพราะชาติก่อนคุณเคยเติมน้ำมันตะเกียงและจุดไฟบูชาพระ
15. เหตุใดชาตินี้คุณโง่ปั¬¬ญญาอ่อนและหูหนวก
เพราะชาติก่อนคุณเคยด่าว่าและหยาบคายต่อหน้าพ่อแม่
16. เหตุใดชาตินี้คุณต้องตายเพราะยาพิษ
เพราะชาติก่อนคุณเจตนาวางยาในต้นน้ำลำธารให้เป็นพิษ
17. เหตุใดชาตินี้คุณจึงแขวนคอตาย
เพราะชาติก่อนคุณใช้ตะข่ายล่าและดักสัตว์
18. ถ้าชาตินี้คุณฆ่าเขา
ชาติหน้าเขาก็จะฆ่าคุณ และจะฆ่ากันไป-มาไม่มีสิ้นสุด
19. ถ้าชาตินี้คุณบอกเล่ากฏแห่งกรรม
คุณจะเป็นที่เคารพนับถือมากมายในชาติหน้า

**อ่านเสร็จแล้วถ้าส่งต่อ ก็เหมือนได้ปฏิบัติตามกฏแห่งกรรมข้อที่ 19 แล้ว ด้วยความปราถนาดี **











โดย: ธรรมะ IP: 203.156.25.19 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:11:14:33 น.  

 
พ.ต.อ.มานิต ธนสันติ นายกสมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้เปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสนใจสมัครเข้ารับการอบรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑. คุณสมบัติของผู้สมัครอบรมดนตรีไทย-ดนตรีโปงลาง รับสมัครเยาวชน อายุระหว่าง ๗-๑๗ปี(นับถึงวันรับสมัคร)

๒. คุณสมบัติของผู้สมัครอบรมนาฏศิลป์ไทย-นาฏศิลป์โปงลาง รับสมัครเยาวชน อายุระหว่าง ๖-๑๒ปี(นับถึงวันรับสมัคร)

๓. หลักฐานการสมัคร
๓.๑ รูปถ่ายผู้สมัคร ขนาด ๑นิ้ว หน้าตรงไม่สวมหมวก จำนวน ๒รูป
๓.๒ สำเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรของผู้สมัคร ๑ ฉบับ

๔. สถานที่รับสมัคร
ห้องที่ทำการสมาคมศิลปะเพื่อเยาวชน สวช. อาคารบริหาร ๒ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก ห้วงขวาง กรุงเทพฯ

๕. วันรับสมัคร เปิดรับสมัคร ประมาณสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ทุกๆปี

๖. จำนวนที่รับสมัคร

๖.๑ ดนตรีไทย
-ขิม ๕๐ คน
-ขลุ่ย ๔๐ คน
-จะเข้ ๓๐ คน
-ฆ้องวง ๑๐ คน
-ซอด้วง ๕๐ คน
-ซออู้ ๔๐ คน
-ระนาด ๓๐ คน

๖.๒ ดนตรีโปงลาง
-พิณ ๑๕ คน
-แคน ๑๕ คน
-โปงลาง ๑๐ คน
-โหวต ๕ คน
( อุปกรณ์การเรียน ผู้เรียนต้องรับผิดชอบ โดยจัดหามากันเอง )

๖.๓ นาฏศิลป์ไทย ๑๒๐ คน

๖.๔ นาฏศิลป์โปงลาง ๔๐ คน

๖.๕ โขน ๓๐ คน

๗. สถานที่อบรม
บริเวณภายในศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

๘. การปฐมนิเทศและพิธีเปิดการฝึกอบรม จะจัดขึ้นณ.หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

๙. ระยะเวลาการอบรม
จะอบรมต่อเนื่องไปเป็นประจำทุกวันเสาร์
เวลา ๘.๐๐-๑๐.๐๐น.ดนตรี-โปงลาง-นาฏศิลป์-โขน(เด็กเก่ารอบแรก)
เวลา ๑๐.๐๐-๑๒.๐๐น.ดนตรี-โปงลาง-นาฏศิลป์-โขน(เด็กเก่ารอบสอง)
เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐น.ดนตรี-โปงลาง-นาฏศิลป์-โขน(เด็กใหม่)
เป็นระยะเวลาเวลา ๑ปี หรือ ๔๘ ครั้ง (ประมาณ ๑๔๔ช.ม.)
โดยแบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน คือ
ภาคที่๑ ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม ของทุกปี
ภาคที่ ๒ ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม - มกราคม ของทุกปี

๑๐.คณาจารย์ผู้สอนมาจาก
๑๐.๑.กรมศิลปากร
๑๐.๒.วิทยาลัยนาฏศิลป์,
๑๐.๓.วงดุริยางค์กองทัพอากาศ
๑๐.๔.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

๑๑.ค่าใช้จ่ายในการอบรม
๑๑.๑-ค่าอบรมตลอดหลักสูตร ๑ปี ปีละ ๓๐๐๐บาท
๑๑.๒-ค่าเสื้อสมาคม,สมุดโน้ตดนตรี,ผ้าแดง,เข็มขัด ฯลฯ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.154 วันที่: 6 มีนาคม 2552 เวลา:7:35:08 น.  

 
ปีนี้รับสมัครถึง ๑๕ มี.ค.๕๒
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
โทร.๐๒-๒๔๗๐๐๒๘ ต่อ ๔๑๖๗
โทร./Fax.๐๒-๒๔๘๒๗๕๔


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.154 วันที่: 6 มีนาคม 2552 เวลา:7:47:51 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการศรีสุขนาฏกรรม ครั้งพิเศษ
การแสดงเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรครบรอบ ๙๘ ปี
ณ.สังคีตศาลา ในบริเวณพิพิภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

วันพุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.

การแสดงละครปลุกใจของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

ละครเรื่อง"อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง"
ละครเรื่อง"น่านเจ้า"
ละครเรื่อง"มหาเทวี"

วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.

การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรมพิเศษ

๑.การแสดงรำอวยพร เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรครบรอบ ๙๘ ปี
๒.การแสดงเบิกโรงชุด"เทพนพเคราะห์"
๓.การแสดงนาฏลีลาภาษา ประกอบด้วย

มังรายกะยอชวาตรวจพล
ระบำภารตะ
รำกระทบไม้
ระบำจินตลีลาดอกบัวไทย-จีน

๔.การแสดงมหกรรมกลอง


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.245 วันที่: 8 มีนาคม 2552 เวลา:4:51:39 น.  

 
//www.culture.go.th/www/th/news_detail.php?id=272
สวช. ขอเชิญร่วมงาน “ดนตรีไทยพิลาส เฉลิมราชกุมารี”
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม แจ้งว่า “ในโอกาสวันที่ ๒ เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็น วันอนุรักษ์มรดกไทย ในการนี้ สวช. จึงได้กำหนดจะจัด กิจกรรมการแสดง“ดนตรีไทยพิลาส เฉลิมราชกุมารี” เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเป็น “เอกอัคราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ โดยเฉพาะการส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ทรงเกื้อหนุนอุปถัมภ์ดนตรีไทยมาโดยตลอด อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่คุณค่ามรดกดนตรีไทยให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบไป
สำหรับรูปแบบของการแสดงนั้น จะเป็นความร่วมมือร่วมใจของเยาวชนและประชาชนที่รักดนตรีไทยมาร่วมบรรเลงเพลงโหมโรงเทิด สธ และเพลงชื่นชุมนุมกลุ่มดนตรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ จากนั้นจะเป็นพิธีพระราชทานรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้านประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ โล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หน้าพระฉายาลักษณ์ และการบรรเลงเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระองค์ถึงขนมไทยนานาชนิด ซึ่งจะมีการสาธิตพร้อมให้ผู้เข้าร่วมงานได้ลิ้มลองความอร่อยของขนมไทย และปิดท้ายด้วยการแสดงดนตรีและศิลปะการแสดงพื้นบ้านประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ของคณะวงดนตรีที่ชนะเลิศ ทั้ง ๘ ประเภท ได้แก่ ๑.วงสะล้อ ซอ ซึง ๒.วงมังคละ ๓.วงแตรวง ๔.วงกลองยาว ๕.วงพิณ แคน โปงลาง ๖.วงกันตรึม ๗.วงดนตรีโนรา ๘.วงดิเกร์ฮูลู
จึงขอเชิญชวนเยาวชน และประชาชนผู้สนใจไปชมการแสดงดนตรีไทยและศิลปะการแสดงพื้นบ้านในงาน “ดนตรีไทยพิลาส เฉลิมราชกุมารี” เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย วันที่ ๒ เมษายน เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หรือชมการถ่ายทอดสดได้ทางสถานีโทรทัศน์ NBT ในวันดังกล่าว เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.245 วันที่: 8 มีนาคม 2552 เวลา:5:01:32 น.  

 
ชมฟรี

รายการศรีสุขนาฏกรรมพิเศษ วันพุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.

การแสดงละครปลุกใจของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
รายนามผู้แสดงจากสูจิบัตรของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

รำอธิษฐาน
คู่หน้า - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ, สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
คู่กลาง - ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
คู่หลัง - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์, อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา

ละครเรื่อง "อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง "

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ / สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด
สามศร - ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
นายทหารดาบ - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
หัวหน้าหมู่บ้าน – ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ
ชาวบ้านประกอบเพลงเพื่อนไทย - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , มะลิ ศิริหลวง , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

ละครเรื่อง"น่านเจ้า"

เจ้าชาย – พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
กิ่งแก้ว – พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ
บิดา – สุรเดช เผ่าช่างทอง
มารดา – พุทธิยา ( ตุ้ม ) พลับกระสงค์ / แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา

ละครเรื่อง"มหาเทวี"

พระนางจิรประภา – มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู ,
พระยาพิษณุโลก – ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
แสนดาว – เสกสม ( ตั้น ) พานทอง

ดุริยางคศิลปินและคีตศิลปิน กลุ่มดุริยางค์สากล ผู้บรรเลงและขับร้อง

ไวโอลิน ๑ – สุวรรณ มโนษร / วราทิตย์ วรินทรเวช
ไวโอลิน ๒ – พ.จ.อ.สุมิตร แก้วกลม / บัญชา ชนะวิตร
วิโอล่า – พ.อ.อ.สมชาย อัมพุประภา / ขจรศักดิ์ ม้าละออเพชร
เชลโล่ – จ.อ.หญิง วาสนา ทองมาก / ศริญญา คงเฟื่องฟุ้ง
เปียโน – นาวี คชเสนี
เบสไฟฟ้า – ฉลอง เอี่ยมยี่สุ่น
กลอง –พ.จ.อ.ชาลี เพ็งจิ๋ว
ขับร้อง – กนกนาถ ( ตุ่ม ) ญาณฤทธิ์ , ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ , สุวัฒน์ วิสูตรโกษา
หัวหน้าวง - สุวรรณ มโนษร


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 17 มีนาคม 2552 เวลา:10:59:38 น.  

 
ชมฟรี

ผู้แสดงรายการศรีสุขนาฏกรรมพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.

๑.การแสดงรำอวยพร เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากรครบรอบ ๙๘ ปี
รำศรีสุขอำนวยพร - อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , มะลิ ศิริหลวง , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

๒.การแสดงเบิกโรงชุด"เทพนพเคราะห์"

มหาฤษี - สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม
พระอาทิตย์ - ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์_พระยาสีหราช - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
พระจันทร์ - สมเจตน์ ภู่นา_ม้าขาว - เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
พระอังคาร - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์_กาสร - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
พระพุธ - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ_ช้างพลาย - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
พระพฤหัสบดี - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน_กวางทอง - เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
พระศุกร์ - พงษ์ศักดิ์ บุญล้น_พระโค เสฏฐวุฒิ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก
พระเสาร์ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ_พยัคฆ์ กฤษกร สืบสายพรหม
พระราหู - มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม_ครุฑ ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
พระเกตุ - คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด_นาคี ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น

๓.การแสดงนาฏลีลาภาษา ประกอบด้วย

มังรายกะยอชวาตรวจพล

มังรายกะยอชวา - ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์
คนธง - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ช้างทอง - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
ทหารพม่า - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , สมเจตน์ ภู่นา , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา

ระบำภารตะ
นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา

รำกระทบไม้
สมเจตน์ ภู่นา , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , พรทิพย์ ทองคำ , ศิริพงษ์ ฉิมพาลี , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , วนิตา ( นก ) กรินชัย
คนกระทบไม้ - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด

ระบำจินตลีลาดอกบัวไทย-จีน
ดอกบัวไทย - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ


ดอกบัวจีน - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , มะลิ ศิริหลวง

๔.การแสดงมหกรรมกลอง
กลองสะบัดชัย
คนตีกลอง - พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
ฉาบ - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
แบกกลอง - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์

กลองยาว

วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , เลียว คงกำเหนิด , เสฏฐวุฒิ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์

กลองเปิงมาง , กลองจิ่ง , กลองทัด , โทน , ทับ แสดงโดยกลุ่มดุริยางค์ไทย


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 17 มีนาคม 2552 เวลา:11:00:58 น.  

 
การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรมพิเศษ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี ๒๕๕๒
“การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพาลีสอนน้อง” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เวลา ๑๔.๐๐ น.
นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
บัตรราคา ๔๐๐ บาท และ ๓๐๐ บาท


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.207 วันที่: 20 มีนาคม 2552 เวลา:22:08:13 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: Oh_veena วันที่: 21 มีนาคม 2552 เวลา:1:25:29 น.  

 
ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
และ กัญจนปกรณ์ ( แป๊ะ ) แสดงหาญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
จะไปแสดงนาฏดนตรี ( ลิเก ) ร่วมกับคณะดวงแก้ว ลูกท่าเรือ ที่วัดวิมุกตยาราม เชิงสพานพระราม ๗ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ วันจันทร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒
( เวบบอร์ดวงแก้ว ลูกท่าเรือ //www.212cafe.com/freewebboard/list3.php?user=duangkeaw )

และมีการแสดงลิเกทรงเครื่อง คณะกรณ์กัญจนรัตน์ ( ปกรณ์พรพิสุทธิ์ + กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ + วัชรพงศ์(ศิริรัตน์ )ปานเสน) ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ ที่สังคีตศาลา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ เวลา ๑๗.๐๐ น. บัตรlงคีตศาลา ราคา ๒๐ บาท มีเก้าอี้นั่งบริการสำหรับผู้ที่นั่งราบกับพื้นไม่ได้ ค่าบริการเก้าอี้ท่านละ ๑๐ บาท


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.133 วันที่: 22 มีนาคม 2552 เวลา:11:20:30 น.  

 
การแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรมพิเศษ เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี ๒๕๕๒
“การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพาลีสอนน้อง” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เวลา ๑๔.๐๐ น.
นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
บัตรราคา ๔๐๐ บาท และ ๓๐๐ บาท
นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้แสดง


พระอิศวร - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระอุมา - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
พระนารายณ์ - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
นางเทพดารา - เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
พระฤษี - ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ , วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ , ประเมษฐ์ มณีรัตน์ ( นักศึกษาฝึกงาน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม )
เทวดา-นางฟ้า - จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี - ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , มรว.รัศมีอาภา ฉัตรชัย - อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา - พรทิพย์ ทองคำ , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา - น้ำทิพย์ ศิริมงคล



ทศกัณฐ์ - ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
ทศกัณฐ์ ( ปู ) - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
นางมณโฑ - สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
มโหทร - เสกสม ( ตั้น ) พามทอง
นางกำนัล - ( นักศึกษาฝึกงาน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม) อาภัสรา นกออก , สิริวิมล เผือกทอง , ลฎาภา เหลืออร่าม , สิริมา พูลทรัพย์



พระราม - ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
พระลักษณ์ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
พาลี - เลียว คงกำเหนิด , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
สุครีพ - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น ,
หนุมาน - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
ชมพูพาน - ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
องคต - ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
องคต ( เด็ก ) นภดล ( การ์ตูน บุตรชาย เอกภชิต ) วงศ์สิปปกร
นิลนนท์ - เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก
สิบแปดมงกุฏ - ผู้เข้าอบรมเครือข่ายนาฏศิลป์สำนักการสังคีต


ทรพี - กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
ทรพา - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
นิลกาสร - แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
บริวารนางนิลกาสร - วนิตา ( นก ) กรินชัย , พุทธิยา ( ตุ้ม ) พลับกระสงค์ , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ


โหร - ประวิทย์ เรืองมาก
พราหมณ์ - สุรินทร์ อ่อนมาก , ศภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
ลิงตลก - ถนอม นวลอนันต์ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ผู้พากษ์ - เจรจา - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , สุรเดช ( เป๊ก ) น้อยประเสริฐ
กำกับการแสดง - สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสอาด
ช่วยกำกับการแสดง - สุรเดช เผ่าช่างทอง , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , ธานิต ศาลากิจ , สุกัญญา โชติทัตต์ , นงลักษณ์ เทพหัสดิน ฯ , อรพินทร์ อิศรางกูร ฯ
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ประสานงานการแสดง - สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง - สุวรรณี สุเสวี
ช่วยแต่งกาย - ธนันดา มณีฉาย , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ - สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.218 วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:13:19:53 น.  

 
โคลงภาพรามเกียรติ์

พาลีพานเรศรเจ้า ขีดขิน นครเฮย
เอารสองค์อมรินทร์ ฤทธิกล้า
ทรงชฎาลออ อินทรีย์สด เขียวแฮ
ใครบสบแรงล้า กึ่งเปลี้ยเสียศูนย์

กรมหมื่นเทวะวงษวโรประการ
( ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม )

นาฏศิลปิน ( โขนลิง ) สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
Artist : Office of Performing Art The Fine Arts Department Ministry Of Culture , Royal Thai Government
ผู้แสดงเป็น “ พาลี ”
ในการแสดงรายการศรีสุขนาฏกรรมพิเศษเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี ๒๕๕๒
“การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพาลีสอนน้อง”ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยถ.รรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.

ชื่อ-สกุล : เลียว คงกำเหนิด

อาชีพ : นาฏศิลปิน ( โขนลิง ) ระดับชำนาญงาน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันเดือนปีเกิด - วันเสาร์ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ปีฉลู
Date of Birth : Saturday 20th May 1961
ภูมิลำเนา - กรุงเทพฯ ; Domicile - Bangkok Thailand
Family : บิดา - นาย เชิด คงกำเหนิด , มารดา - นางมาลัย คงกำเหนิด มารดาเคยเป็นครูผู้ปกครองนักเรียนประจำของโรงเรียนนาฏศิลป์ และคุณป้าเคยเป็น หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร
การศึกษา : วิทยาลัยนาฏศิลป ( กรุงเทพ )
Education : College of Dramatic Arts ( Bangkok )

ชื่อ-สกุล : กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร

Name, Surname : Mr Kitti Jatuprayoon
อาชีพ : นาฏศิลปิน ( โขนลิง ) ระดับชำนาญงาน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันเดือนปีเกิด - วันศุกร์ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ปีมะโรง
Date of Birth : Friday 24 December 1976
ภูมิลำเนาเดิม - กรุงเทพฯ Domicile By Birth - Bangkok Thailand
ภูมิลำเนาปัจจุบัน - อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี Residence- Bangyai Nonthaburi Thailand
Family : บิดา-มารดา ถึงแก่กรรมหมดแล้ว มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด ๑๒ คน มีพี่ชายคนหนึ่งเคยเป็นนาฏศิลปิน ( โขนลิง ) คือ อำนาจ ( หงอ ) จาตุประยูร ปัจจุบันไปประกอบอาชีพที่สหรัฐอเมริกา
การศึกษา : วิทยาลัยนาฏศิลป ( กรุงเทพ ) และศึกษาศาสตร์บัณฑิตจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล Education : College of Dramatic Arts ( Bangkok ) And Rajamangala University of Technology

ชื่อ-สกุล : จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
Name, Surname : Mr Julsub Doungpattra
อาชีพ : นาฏศิลปิน ( โขนลิง ) ระดับปฏิบัติการ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันเดือนปีเกิด - วันอังคาร ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ปีจอ
Date of Birth : Tuesday 21 December 1982
ภูมิลำเนา - บางกอกน้อย กรุงเทพฯ Domicile – Bangkoknoi Bangkok Thailand
Family : บิดา - นาย ยงยุทธ, มารดา นาง ประภาภรณ์ พี่น้อง - นาย วีรพัฒน์ ดวงพัตรา
การศึกษา : วิทยาลัยนาฏศิลป ( กรุงเทพ ) และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Education : College of Dramatic Arts ( Bangkok ) And Bunditpatanasilpa Institute


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.218 วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:13:27:08 น.  

 
โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๓

ขอเชิญผู้ที่สนใจฟังการบรรยายเรื่อง " Zen and Chado : The Way of Tea "
พร้อมชมการสาธิต " พิธีชงชาญี่ปุ่น" โดย อาจารย์ Fumiko Boughey
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Chado และวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ซึ่งดำรงตำแหน่ง Special Envoy for Cultural Exchange
by the Commissioner of the agency of cultural affairs , Government Of Japan

ในวันศุกร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๐.๐๐ น.- ๑๒.๐๐ น.

ณ.หอประชุมดำรงราชานุภาพ ( ข้างร้านมิวเซียมชอฟ - อาคารฝั่งซ้ายด้านติดกับกำแพงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ )
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

สำรองที่นั่งได้ที่ฝ่ายวิชาการ
๐-๒๒๒๔-๑๓๓๓
๐-๒๒๒๔-๑๔๐๒


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.218 วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:16:50:31 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณอัญชลี รบกวนถามหน่อยนะคะ

“การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพาลีสอนน้อง”ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยถ.รรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น

จองบัตรได้เมื่อไหร่ และก็ที่ไหนคะ?


โดย: floral IP: 124.120.67.180 วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:21:05:18 น.  

 
ขออภัยที่เข้ามาดูไม่ทัน

รายการนี้เป็นรายการของข้าราชการพลเรือน วันข้าราชการพลเรือนเขาจะจัดในวันที่ ๑ เมษายน ของทุกปี
การแสดงของสำนักการสังคีตเนื่องในวันข้าราชการพลเรือนนี้จะมีทุกปีในระยะเวลาช่วงนี้

ปกติปีที่ผ่านๆมาบัตร ราคา ๒๐๐ บาท และ ๑๐๐ บาทด้วยซ้ำ ปีนี้ขึ้นราคาเป็น ๔๐๐ บาท และ ๓๐๐ บาท
เขาจะขายบัตรไปตามหน่วยงานที่มีข้าราชการพลเรือน และตัดบัตรมาส่วนหนึ่งขายที่โรงละครแห่งชาติ และในวันแสดงก็มีขายที่ ศูนย์วัฒนธรรมฯ

เขาไม่มีการโฆษณา ขนาดรายการของศุนย์วัฒนธรรมเองยังไม่มีบอกไว้เลย คนจะรู้น้อยมาก คนดูก็น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะรายการที่หญ้าหนวดแมวโพสต์ไว้ตอนต้นหัวข้อ ก็เป็นการแสดงชุดเดียวกัน คนเล่นบางตัวก็คนคนเดียวกัน แต่บัตรแพงกว่ากันมาก เพราะเขามีค่าใช้จ่ายที่มากกว่า เช่นค่าเช่าสถานที่ , ค่าโฆษณา ฯ แต่มีคนดูค่อนข้างหนาแน่นทีเดียว

ปีนี้เขาให้ผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปี เข้าไป ดูฟรี โดยแสดงบัตรประชาชน
เท่าที่เห็นที่เขาขายบัตร บัตรหน้าโรงเหลืออยู่ไม่ใช่น้อยทีเดียว เพราะคนรู้น้อย
ปีนี้เขาให้คนที่มีบัตรมา สามารถมาเปลี่ยนบัตรเป็นที่นั่งที่ดีกว่าหรือใกล้กว่าบัตรที่มีอยู่ได้ด้วย

ปีก่อนๆเขาขายบัตรแล้วไม่ค่อยมีคนมาดู เพราะคนซื้อ ช่วยซื้อแล้วไม่มาดูมากมาย หลายๆคนที่มาดูกำบัตรมาเป็นปึกๆ ใครอยากได้เขาก็ให้ฟรีๆ เพราะเจ้าของบัตรจ่ายเงินไปแล้ว ปีนี้มีหรือเปล่า ไม่ได้สังเกตุ เพราะไปช้า
และปีที่ผ่านมา เขาปิดชั้นบน ใครมีบัตรชั้นบนถือมา เขาให้เข้าไปนั่งดูชั้นล่างหมด เพราะที่นั่งว่างมากมาย ส่วนปีนี้ไม่ได้สังเกตุเช่นกัน เพราะไปช้า


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 3 เมษายน 2552 เวลา:10:03:18 น.  

 
ใครสนใจอยากทราบรายการเกี่ยวกับการแสดงในลักษณะนี้ แจ้งemailมาที่ancientism@yahoo.com จะพยายามตอบหรือส่งข่าวให้เท่าที่ทราบ


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 3 เมษายน 2552 เวลา:10:07:35 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
การแสดงสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๕๒
ระหว่างวันที่ ๒ - ๘ เมษายน ๒๕๕๒เวลา๑๗.๓๐น-๑๙.๓๐น.
ณ.บริเวณสังคีตศาลา ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันพฤหัสบดีที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๒

การดนตรีนาฏศิลป์ไม่สิ้นแล้ว เพราะทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่
ประกอบด้วย
- รำถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
- การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง
- การแสดงละครใน เรื่องอิเหนา ตอน บุษบาไหว้พระปฏิมา
- ระบำสี่ภาค

วันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงพื้นบ้านภาคเหนือ และ ภาคใต้

วันเสาร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน

วันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงสักวาออกตัว เรื่อง พระอภัยมณี

วันจันทร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง

วันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒

การบรรเลงวงเครื่องสายฝรั่งหลวง : จากอดีตสู่ปัจจุบัน

วันพุธที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ศึกท้าวจักรวรรดิ์

ผู้สนใจเข้าชมการแสดงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ขออภัยที่แจ้งข่าวช้า เพิ่งทราบเหมือนกัน


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 3 เมษายน 2552 เวลา:10:10:49 น.  

 
อยากฟังเพลงกระต่ายเต้นชั้นเดียวยอ่ะค่ะ ช่วยหาให้ด้วยนะค้ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ^^


โดย: ศิริวรรณ ชัยพฤกษรักษา IP: 210.203.178.210 วันที่: 3 เมษายน 2552 เวลา:21:22:19 น.  

 
ถ้าสนใจเกี่ยวกับดนตรีหรือเพลงไทยเดิม
ไปเปิดดูที่
//x.thaikids.com/phpBB2/index.php
มีข้อมูลด้านนี้มหาศาลอยู่ที่นั่น
ผู้ที่โพสต์เข้าไปมีตั้งแต่ผู้รู้ระดับอนุบาลจนถึงเซียนระดับชาติ
ถ้าจะหาให้เริ่มต้นจากการค้นหาก่อน เพราะเขามีโพสท์เก่าอยู่มากมาย ถ้าหาไม่เจอก็โพสท์ขอเข้าไป จะได้ทุกอย่างจากที่นั่น เพราะเป็นเวบบอร์ดเฉพาะทางด้านนี้โดยเฉพาะ

ยินดีที่มีผู้สนใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ ไม่ว่าจะแขนงใดก็ตาม ช่วยๆกันรักษาธำรงไว้ให้ยั่งยืนอยู่คู่กับความเป็นชาติไทยตลอดไป


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.99 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:5:26:59 น.  

 
การแสดงสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๕๒
ระหว่างวันที่ ๒ - ๘ เมษายน ๒๕๕๒เวลา๑๗.๓๐น-๑๙.๓๐น.
ณ.บริเวณสังคีตศาลา ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันพฤหัสบดีที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๒

การดนตรีนาฏศิลป์ไม่สิ้นแล้ว เพราะทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่ ประกอบด้วย

- รำถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
- การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง
- การแสดงละครใน เรื่องอิเหนา ตอน บุษบาไหว้พระปฏิมา
- ระบำสี่ภาค

วันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงพื้นบ้านภาคเหนือ และ ภาคใต้

ภาคเหนือ

การแสดงกลองสะบัดชัย
การแสดงเดี่ยวจะเข้ออกฟ้อนแพน
การแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ ตอนลาแม่และเสี่ยงน้ำ

ภาคใต้ ประกอบด้วย

รำไหว้ครูโนรา
ระบำกินรีร่อนออกบูชายัญ
ระบำชนไก่
ระบำตารีกีปัสออกยอเก็ต

วันเสาร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน
การแสดงวงโปงลางคณะดอกคูณ

วันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒ การแสดงสักวาออกตัวของสโมสรสยามวรรณศิลป์ ร่วมกับสำนักการสังคีตกรมศิลปากร เรื่องพระอภัยมณี ตอน “เพลงปี่พระอภัย”

กวีจากสโมสรสยามวรรณศิลป์ - ผู้บอกสักวา
นาฏศิลปินกรมศิลปากร – ออกตัวแสดง

ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๘ สาขาวรรณศิลป์ - ไหว้ครู, ท้าวสุทัศน์ - มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม
ประสพโชค เย็นแข - เกริ่นชวน,สามพราหมณ์ - ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
นิภา ทองถาวร - เกริ่นรับ, นางปทุมเกสร - วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
อดุล จันทรศักดิ์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑ สาขาวรรณศิลป์ พระอภัยมณี – ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต ศรีสุวรรณ - พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
เอนก แจ่มขำ พินทพราหมณ์รามราช - ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ
ชมพร เพชรอนันตกุล - พราหมณ์พรหมโบราณ- ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
รศ. นภาลัย สุวรรณธาดา นางผีเสื้อ - ธานิต ศาลากิจ , นางผีเสื้อแปลง - รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
ธีรวัฒน์ กล่าวเกลี้ยง สินสมุทร - น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง นางกำนัล - หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , ลา

ดุริยางคศิลปินและคีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร - บรรเลงและขับร้อง

กำกับการแสดง – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง – อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์ , ประสิทธิ์ คมภักดี
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด
ประสานงาน – สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.99 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:10:02:48 น.  

 
การแสดงสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๕๒
ระหว่างวันที่ ๒ - ๘ เมษายน ๒๕๕๒เวลา๑๗.๓๐น-๑๙.๓๐น.
ณ.บริเวณสังคีตศาลา ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันจันทร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๒ การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง

ละครเทพนิยายเรื่องพระไพศรพณ์ เทพเจ้าแห่งธัญชาติ

พระอิศวร– ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระไพศรพณ์ – สมเจตน์ ภู่นา
แม่ไพศรพณ์ – มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู

ผู้พากษ์ – เจรจา- ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
จัดเก็บอุปกรณ์ – ประวิทย์ เรืองมาก , สุรินทร์ เขียวอ่อน , วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ , ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง

การแสดงชุด เมขลา – รามสูร

รามสูร – สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
เมขลา – หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ

การแสดงระบำรวงข้าว

เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี

การแสดงระบำชาวนา

สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , เสฏฐวุฒิ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา

การแสดงหว่านข้าว

นพวรรณ ( เพียซ ) จันทรักษา พรทิพย์ ทองคำ ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา น้ำทิพย์ ศิริมงคล

การแสดงเกี่ยวข้าว

พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะสิริ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , สิริวิมล เผือกทอง ( น.ศ.ฝึกงานจาก สบศ.) , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , เสฏฐวุฒิ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา

การแสดงรำฝัดข้าว

มะลิ ศิริหลวง , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง

การแสดงเต้นกำรำเคียว

กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , ธานิต ศาลากิจ , ประสิทธิ์ คมภักดี ตวงฤดี ถาพรพาสี , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ

การแสดงโหมโรงกลองยาวออกรำเถิดเทิง

ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , อาภัสรา นกออก ( น.ศ.ฝึกงานจาก สบศ.) สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ลฎาภา เหลืออ่อน ( น.ศ.ฝึกงานจาก สบศ.) ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , สิริมา พูลทรัพย์ ( น.ศ.ฝึกงานจาก สบศ.)


กลองยืน – วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง , กฤษกร สืบสายพรหม , เลียว คงกำเหนิด , ฉิ่ง – หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , ฉาบ – เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , กรับ – ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล , บวรเดช ประหุน , โหม่ง ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์

กำกับการแสดง – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง – ประสิทธิ์ คมภักดี , ธนันดา มณีฉาย , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , สุรเดช เผ่าช่างทอง , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด
ประสานงาน – สุวรรณี สุเสวี
ช่วยประสานงาน –วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.99 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:10:41:38 น.  

 
งานสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติ วันจักรี ครั้งที่1 และกรุงเทพไตรกีฬา 2009
วันที่ 4 - 6 เมษายน 2552
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่
//thai.tourismthailand.org/festival-event/bangkok-10-6071-1.html
www.bangkoktriathlon.org

การแสดงในงานสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติ วันจักรี ครั้งที่ ๑ เวลา ๑๖.๐๐ น.- ๑๘.๐๐น.
ณ สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ฝั่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
วันเสาร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงประกอบวงโปงลาง


ฟ้อนภูไท
– นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , พรทิพย์ ทองคำ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา

ก๊บแก๊บ
- ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์

ลำเพลิน
– มะลิ ศิริหลวง , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร

เซิ้งตังหวาย
– กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู

เซิ้งกะโป๋
– พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา, พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , วัลลภ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา

กำกับการแสดง – ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
ช่วยกำกับการแสดง – วนิตา ( นก ) กรินชัย , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – อรุณศรี เกษมศิลป์
ประสานงานการแสดง – ธงชัย สงบจิตร์
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.99 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:11:47:38 น.  

 
งานสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติ วันจักรี ครั้งที่1 และกรุงเทพไตรกีฬา 2009
วันที่ 4 - 6 เมษายน 2552
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่
//thai.tourismthailand.org/festival-event/bangkok-10-6071-1.html
www.bangkoktriathlon.org

การแสดงในงานสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติ วันจักรี ครั้งที่ ๑ เวลา ๑๖.๐๐ น.- ๑๘.๐๐น.
ณ สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ฝั่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
วันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒

การแสดงระบำวิชนี
- นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , พรทิพย์ ทองคำ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา

การแสดงรำฉุยฉายพราหมณ์
- เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์

การแสดงฟ้อนมาลัย
– เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , ช่อแก้ว ลัดดอ่อน , มะลิ ศิริหลวง , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา

การแสดงระบำลพบุรี
- นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , พรทิพย์ ทองคำ , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี

การแสดงเซิ้งโปงลาง
- ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , มะลิ ศิริหลวง , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์

การแสดงโขนรื่องรามเกียรติ์ ตอนสีดาหาย รบสดายุ ถวายพล ยกรบ

ทศกัณฐ์ – วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
มารีจ และ เปาวนาสูร – กฤษกร สืบสายพรหม
มโหทร – ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
กวางทอง – พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ
ฤษีแดง – ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
เสนายักษ์ – ผู้แสดงจากเครือข่าย ๒ คน

พระราม – ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
พระลักษณ์ – สมเจตน์ ภู่นา
นางสีดา – นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
นกสดายุ – ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
สุครีพ – เลียว คงกำเนิด
หนุมาน – เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
องคต – จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
นิลนนท์ – ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
สิบแปดมงกุฎ - ผู้แสดงจากเครือข่าย ๖ คน
ลิงเล็ก – ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น

ผู้พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

กำกับการแสดง – สุรเดช เผ่าช่างทอง
ช่วยกำกับการแสดง – ธนันดา มณีฉาย , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , อุษา แดงวิจิตร , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – ตวงฤดี ถาพรพาสี
ประสานงาน – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.25.99 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:12:17:18 น.  

 
การแสดงสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๕๒
ระหว่างวันที่ ๒ - ๘ เมษายน ๒๕๕๒เวลา๑๗.๓๐น-๑๙.๓๐น.
ณ.บริเวณสังคีตศาลา ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

วันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ การบรรเลงวงเครื่องสายฝรั่งหลวง : จากอดีตสู่ปัจจุบัน

วันพุธที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ศึกท้าวจักรวรรดิ์

๑.การแสดงระบำอสุเรศเศวตฤทธา

จตุรพักตร์ - ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
สหมะลิวัน - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
ลัสเตียน - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
สหัสเดชะ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
จักรวรรดิ์ - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
ไพจิตราสูร - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
มารีจ – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
ตรีเศียร – ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
อัศธาดา - กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม
กุเวรณุราช - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด


๒.การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกจักรวรรดิ์

ท้าวจักรวรรดิ์ ๑ - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
ท้าวจักรวรรดิ์ ๒ - ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
ท้าวจักรวรรดิ์ ๓ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
ท้าวจักรวรรดิ์ ๔ - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
สุพินสัน – เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
กุมภิล – ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ ( น.ศ.ฝึกงานจาก สบศ.)
เสนายักษ์ – ผู้แสดงจากเครือข่าย ๘ คน
ราชสีห์ลากรถ - ผู้แสดงจากเครือข่าย ๒ คน
กางกลดยักษ์ - ประวิทย์ เรืองมาก
นางวัชนีสูร - น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล
พระราชธิดา – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
นางกำนัล – ( น.ศ.ฝึกงานจาก สบศ.) อาภัสรา นกออก , ภาสินี ปั้นสิริ , สิริวิมล เผือกทอง , ลฎาภา เหลืองอ่อน


พระพรต - พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
พระสัตรุด - วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
ทศคีรีวงศ์ ( พิเภก ) - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
สุครีพ – เลียว คงกำเหนิด
นิลพัท – กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
อสุรผัด - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
ชมพูพาน – ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
องคต – เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก
นิลนนท์ - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
สิบแปดมงกุฏ – ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , ผู้แสดงจากเครือข่าย ๔ คน
ม้าลากรถ - ผู้แสดงจากเครือข่าย ๒ คน
กางกลดพระ - ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์


ตลกยกเตียง - วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ , สุรินทร์ เขียวอ่อน , ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
ผู้พากษ์ - เจรจา - เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์


กำกับการแสดง – สุรเดช เผ่าช่างทอง
ช่วยกำกับการแสดง - สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ , เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – สุรัตน์ ( กระรอก ) เอี่ยมสอาด
บอกบท – แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา , อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์
ประสานงานการแสดง – สลักใจ( น้อยหน่า) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง – สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ - สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.130 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:14:38:11 น.  

 
ขอเชิญร่วมงาน
พิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่, ช่างฟ้อน, ช่างขับ, ช่างดีดสีตีเป่า ฯลฯ ประจำปี ๒๕๕๒


ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) และแผนกดนตรีไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญร่วมงาน พิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่, ช่างฟ้อน, ช่างขับ, ช่างดีดสีตีเป่า ฯลฯ ประจำปี ๒๕๕๒

เนื่องในศุภวาระ"สามทศวรรษศูนย์สังคีตศิลป์"

เครื่องสาย มโหรี ปี่พาทย์ นาฏศิลป์ ละครชาตรี บรรเลงถวาย


วันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒

ณ บริเวณสวนแก้ว วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ



๐๗.๐๐ น. โหมโรงเช้า โดย วงศิษย์เรืองนนท์

๐๗.๓๐ น. ถวายสังฆทาน พระสงฆ์ ๙ รูป

๐๙.๐๐ น. พิธีไหว้ครู- ครอบครู

- บุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ ประกอบพิธีอ่านโองการไหว้ครู
- บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ โดย นักดนตรีเกียรติยศจาก "บ้านบางลำพู" วงดุริยประณีต
- รำถวายมือ

๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน


ขับลำทำเพลง บรรเลงถวายมือ

๑๓.๐๐ น.

มโหรี โดย วงขวัญข้าว โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชนะเลิศการประกวดดนตรีไทย "ประลองเพลง ประเลงมโหรี" ประจำปี ๒๕๕๑

เครื่องสายปี่ชวา โดย วงสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ควบคุมวงโดย ครูปี๊บ คงลายทอง

ละครชาตรี (ต้นแบบดั้งเดิม) เรื่อง "พระดาวเรือง" คณะครูทองใบ เรืองนนท์ ควบคุมการแสดงโดย บุญสร้าง เรืองนนท์ (ปู)


ประลองเพลง บรรเลงถวายมือ

๑๖.๐๐ น.

เดี่ยวระนาดเอกหญิง โดย นางสาวณหทัย สุธีลักษณ์ ทายาทนักดนตรีบ้านสุธีลักษณ์ (วัดแก้วฟ้าจุฬามณี)

เดี่ยวจะเข้ เพลง"ลาวแพนลำเพลิน" (ทางบรรเลง อ.สหรัฐ จันทร์เฉลิม)
โดย นางสาวอรนาถ จันทรโอภากร

ปี่พาทย์วัยรุ่นชาย วงไทยบรรเลง อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม และ วงพยุงศิลป์ อำเภอบางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา



** อ.อานันท์ นาคคง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พิธีกรตลอดรายการ **



************************
ชมฟรี พร้อม แจกฟรี สูจิบัตร

************************

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สังคีตศิลป์ ฝ่ายการประชาสัมพันธ์
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โทร. ๐ - ๒๒๑๕๖๕๓๕ - ๗


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.130 วันที่: 4 เมษายน 2552 เวลา:14:41:45 น.  

 
ขออภัย

การแสดงในงานสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติ วันจักรี ครั้งที่ ๑ เวลา ๑๖.๐๐ น.- ๑๘.๐๐น.
ณ สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

มีที่ฝั่งเขตยานนาวา กรุงเทพฯ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:14:10:04 น.  

 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ( เขาวัง ) ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
ริม ถ. เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง) (ทางหลวง หมายเลข 4)
ต.คลองกระแชง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี

//www.phetchaburi.go.th/data/act_kiri52_3.pdf


กิจกรรมที่ ๑ งานสกุลช่างเมืองเพชร ( โรงรถ โรงม้า อาคารราชวัลลภ )


กิจกรรที่ ๒ งานศิลปะ (บริเวณลานหิน ลานลั่นทม)

กิจกรรมที่ ๓ งานศิลปะประดิษฐ์ (ศาลาลูกขุน)

กิจกรรมที่ ๔ การสาธิตอาหารไทย (ศาลาลูกขุน)

กิจกรรมที่ ๕ การจำหน่ายอาหารไทย (บริเวณโรงโขน)

กิจกรรมที่ ๖ การจัดนิทรรศการหม้อตาลเมืองเพชร (ศาลาด่านหน้า)

กิจกรรมที่ ๗ การจัดนิทรรศการตะเกียงโบราณ (ศาลาด่านกลาง)

กิจกรรมที่ ๘ การจัดนิทรรศการวิถีชีวิตชาวนา (บริเวณลานด้านซ้ายศาลาลูกขุน)

กิจกรรมที่ ๙ การจัดกิจกรรมส่องกล้องดูดาว (หอชัชวาลเวียงชัย)

กิจกรรมที่ ๑o การสาธิตการนวดแผนไทย (ศาลาเย็นใจ)

กิจกรรมที่ ๑๑ การจัดกิจกรรมบริเวณลานหิน

กิจกรรมที่ ๓ – ๑๑ ดำเนินทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา ๑๗.oo – ๒๑.oo น. เสาร์ – อาทิตย์ เวลา ๑o.oo – ๒๑.oo น.

กิจกรรมที่ ๑๒ การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ( เวทีโรงโขน และศาลาด่านหลัง )
ดูรายละเอียดที่
//www.phetchaburi.go.th/data/act_kiri52_3.pdf
//www.phetchaburi.go.th/page_pic/page_picnews31.html



โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:14:16:43 น.  

 

งาน ๑๕๐ ปีพระนครคีรี สดุดีพระจอมเกล้า ๑๐-๑๙ เมษ๕๒
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ( เขาวัง ) ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
ริม ถ. เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง) (ทางหลวง หมายเลข 4)
ต.คลองกระแชง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
กิจกรรมที่ ๑๒ การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ( เวทีโรงโขน และศาลาด่านหลัง )

กำหนดการแสดง ณ เวทีโรงโขน
วันที่ ๑o เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงเล่าขานตำนานเมืองเพชร องค์ที่ ๑“เมืองเพชรพริบพรี”
วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงเล่าขานตำนานเมืองเพชร องค์ที่ ๒“อัญมณีอ่าวไทย”
วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงเล่าขานตำนานเมืองเพชร องค์ที่ ๓“ร่วมใจรักษ์วัฒนธรรม”
วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงเล่าขานตำนานเมืองเพชร องค์ที่ ๔“งามล้ำพุทธสถาน โบราณศิลป์”
วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงเล่าขานตำนานเมืองเพชร องค์ที่ ๕“แผ่นดินเพชรเรืองรอง”
วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๘.๓o – ๑๘.๓o น. การเสวนา เรื่อง ตะเกียงโบราณและหม้อตาลเมืองเพชร
เวลา ๑๘.๓o – ๒๑.oo น. การแสดง “ลิเก”
วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

กำหนดการแสดง ณ ศาลาด่านล่าง
วันที่ ๑o-๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.oo – ๒๑.oo น. การแสดง “หนังตะลุง”


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:14:31:51 น.  

 
งาน ๑๕๐ ปีพระนครคีรี สดุดีพระจอมเกล้า ๑๐-๑๙ เมษ๕๒
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ( เขาวัง ) ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
ริม ถ. เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง) (ทางหลวง หมายเลข 4)
ต.คลองกระแชง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
กิจกรรมที่ ๑๒ การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ( เวทีโรงโขน และศาลาด่านหลัง )
การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ณ เวทีโรงโขน
วันศุกร์ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๒
( รายละเอียดนี้อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ในวันแสดงได้ )


การแสดงรำเบิกโรง ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง
นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , มะลิ ศิริหลวง , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์

การแสดงละครนอก เรื่องพระอภัยมณี ตอนพบสามพราหมณ์ และหนีนางผีเสื้อสมุทร

พระอภัยมณี – ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
ศรีสุวรรณ – พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
พราหมณ์โมรา – ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
พราหมณ์วิเชียร – วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์
พราหมณ์สานน – ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
สินสมุทร – น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส
นางผีเสื้อ – ธานิต ศาลากิจ
นางผีเสื้อแปลง – อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
นางเงือก – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
พ่อเงือก – ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
แม่เงือก – ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา
พระฤษี – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ลูกศิษย์ – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
ปีศาจ ๑ – ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
ปีศาจ ๒ – ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
ระบำเงือก – เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , ลฎาภา เหลืองอ่อน , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ
ชาวบ้านติดเกาะ – ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , เสฏฐวุฒิ ( กอล์ฟ ) ชาวห้วยหมาก , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , จุลทรัพย์ ดวงพัตรา

กำกับการแสดง – รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์
ช่วยกำกับการแสดง – ตวงฤดี ถาพรพาสี ประสิทธิ์ คมภักดี สุกัญญา โชติทัตต์ , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , วนิตา ( นก ) กรินชัย
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์ , ถนอม นวลอนันต์ ( อยู่สถานที่ )
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสอาด
บอกบท - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
ประสานงานการแสดง - สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง - ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:14:36:52 น.  

 
งาน ๑๕๐ ปีพระนครคีรี สดุดีพระจอมเกล้า ๑๐-๑๙ เมษ๕๒
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ( เขาวัง ) ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
ริม ถ. เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง) (ทางหลวง หมายเลข 4)
ต.คลองกระแชง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
กิจกรรมที่ ๑๒ การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ( เวทีโรงโขน และศาลาด่านหลัง )
การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ณ เวทีโรงโขน

การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ณ เวทีโรงโขนของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
( รายละเอียดนี้อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ในวันแสดงได้ )

การแสดงประกอบวงโปงลาง

ฟ้อนภูไท
– นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , พรทิพย์ ทองคำ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา ,หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา

ก๊บแก๊บ
- ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์

ลำเพลิน
– มะลิ ศิริหลวง , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

เซิ้งตังหวาย
– มะลิ ศิริหลวง , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

เซิ้งโปงลาง
- ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , น้ำทิพย์ ศิริมงคล , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา

เซิ้งกะโป๋
– ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , พรทิพย์ ทองคำ , เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , ภวินี ( จั๊กจั่น ) เดชสุภา

กำกับการแสดง – นงลักษณ์ เทพหัสดินทร์ฯ
ช่วยกำกับการแสดง – วรรณพินี ( ไก่ ) สุขสม , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , มนตรี แหล่งสนาม
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – อรุณศรี เกษมศิลป์
ประสานงานการแสดง – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:14:40:43 น.  

 
งาน ๑๕๐ ปีพระนครคีรี สดุดีพระจอมเกล้า ๑๐-๑๙ เมษ๕๒
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี ( เขาวัง ) ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
ริม ถ. เพชรเกษมสายเก่า (ทางเข้าตัวเมือง) (ทางหลวง หมายเลข 4)
ต.คลองกระแชง อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
กิจกรรมที่ ๑๒ การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ( เวทีโรงโขน และศาลาด่านหลัง )
การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ณ เวทีโรงโขน

การแสดงศิลปวัฒนธรรมและมหรสพ ณ เวทีโรงโขนของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
วันศุกร์ที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒
( รายละเอียดนี้อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ในวันแสดงได้ )

๑.การแสดงรำฉุยฉาย กิ่งไม้เงินทอง
เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร

๒.การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามตามกวาง , รบสดายุ , ถวายพล , ยกรบ
ทศกัณฐ์ - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
มารีจ - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
มโหทร - กฤษกร สืบสายพรหม
เปาวนาสูร - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ ( ซ้ำมารีจ )
เสนายักษ์ - ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ ( นศ.ฝึกงานจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ) เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต ๓ คน
กวางทอง - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
ฤษีแดง - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง

พระราม- ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
พระลักษณ์ - พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
นางสีดา - รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
นกสดายุ ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
ลิงป่า - ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต
สุครีพ - เลียว คงกำเหนิด
หนุมาน - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
ชมพูพาน - ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
องคต - พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
นิลนนท์ - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
สิบแปดมงกุฏ จุลทรัพย์ ดวงพัตรา เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก

ผู้พากย์ – เจรจา - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
กางกลด – จัดเก็บอุปกรณ์ - ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , ประวิทย์ เรืองมาก , สุรเดช เผ่าช่างทอง, วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ

๓ . การต่อสู้ด้วยไม้พลอง-กระบองสั้น
พลอง - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
กระบองสั้น - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร

๔.การแสดงชุดรามสูร – เมขลา
รามสูร - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
เมขลา -นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา

๕.การแสดงละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า ตอน ถวายลูก-ถอดรูป
ท้าวมงคลวราช – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
พระมเหสี – ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
พระปิ่นทอง – สมเจตน์ ภู่นา
นางแก้วหน้าม้า – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
นางมณี – คม สัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
นางสร้อยสุวรรณ – ประเมษฐ์ มณีรัตน์ ( นศ.ฝึกงานจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ )
นางจันทร – ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล ( นศ.ฝึกงานจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ )
นางกำนัล - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
เสนา - ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต

กำกับการแสดง ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , สุรเดช เผ่าช่างทอง , ธนันดา มณีฉาย , พุทธิยา ( ตุ้ม ) พลับกระสงค์
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม สุรัตน์ ( กระรอก ) เอี่ยมสะอาด
ประสานงานการแสดง สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงานการแสดง – ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:14:44:46 น.  

 
นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และอุทยานประวัติศาสตร์ เมืองสิงห์ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมทำบุญในงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ วัดหนองปรือ หมู่ที่ ๔ ตำบลสิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
จึงกราบเรียนเชิญท่านทั้งหลายมาด้วยความเคารพให้ร่วมกันสร้างกุศลเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาร่วมกัน โดยการส่งชื่อ-สกุลและปัจจัยมาร่วมการกุศลในครั้งนี้ โดยติดต่อ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร อ.จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ ๐๘๑๘๐๓๑๕๖๖ หรือ อ.สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์ ๐๘๑๔๕๑๐๙๕๖ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ได้โปรดอภิบาลรักษาให้ท่านทั้งหลายจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ด้วย อายุ สุขะ วรรณะ ในทุกๆประการเทอญ

การแสดงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร

การแสดงรำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง

เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร

การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระรามตามกวาง รบสดายุ

ทศกัณฐ์ - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์
มารีจ - สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม
กวางทอง - สมเจตน์ ภู่นา
ฤษีแดง - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
พระราม- ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
พระลักษณ์ - พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
นางสีดา - รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
นกสดายุ- ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
ผู้พากษ์-เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม

การต่อสู้ด้วยไม้พลองกระบองสั้น

พลอง – วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
ไม้สั้น – กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร

การแสดงชุดเมขลา – รามสูร

รามสูร - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
เมขลา - เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์

ละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า ตอน ถวายลูก-ถอดรูป

ท้าวมงคลวราช – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
พระมเหสี – ศิริพงษ์ ( หวาน ฉิมพาลี
พระปิ่นทอง – สมเจตน์ ภู่นา
นางแก้วหน้าม้า – หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
นางสร้อยสุวรรณ – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
นางจันทร – ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล
นางกำนัล - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
เสนา - ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์ , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น


กำกับการแสดง-สุรัตน์ ( กระรอก ) เอี่ยมสะอาด
ช่วยกำกับการแสดง สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
บอกบท ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
ประสานงาน ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์ชัย
ช่วยประสานงาน วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร ( อยู่สถานที่ )


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:02:07 น.  

 
การแสดงรายการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๕๖ ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ การแสดงละครพันทาง ของกรมศิลปากร เรื่องราชาธิราช ตอนกำเนิดมังรายกะยอชวา

เมืองอังวะ

พระเจ้ากรุงอังวะ - ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
พระมเหสี - วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
มังรายกะยอชวา ( รำฉุยฉาย )- พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
มังรายกะยอชวา ( ตรวจพล รบสมิงนครอินทร์ )- ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
มังรายกะยอชวา ( รบสมิงพระราม) - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
อำมาตย์ - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
อาลักษณ์ - ประสิทธิ์ คมภักดี
นายทหารคนสนิท – สุรินทร์ เขียวอ่อน , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
ทหารพม่า - เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล
คนธง - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
หมอตำแย - เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
ช้างทรงมัรายกะยอชวา - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
ระบำช้าง ๑๐ ตระกูล
บวรเดช ประหุน ( นักศึกษาฝึกงานจาก สบศ . ) ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ ( นักศึกษาฝึกงานจาก สบศ . )
นางระบำ - พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ มะลิ ศิริหลวง เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ อาภัสรา นกออก ภาวินี ปั้นสิริ , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา
นางสนม - ( นักศึกษาฝึกงานจาก สบศ . ) สิริวิมล เผือกทอง , ลฎาภา เหลืองอ่อน , สิริมา พูลทรัพย์

เมืองหงสาวดี

พะเจ้าราชาธิราช - มนตรี ( เต้ย ) แหล่งสนาม
สมิงนครอินทร์ - สมเจตน์ ภู่นา
สมิงพระราม - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
อำมาตย์ - สุรเดช เผ่าช่างทอง
อาลักษณ์ - วัลลภ (แนน ) พรพิสุทธิ์
คนธงมอญ - ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
ทหารมอญ - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
มะหนอม - ถนอม นวลอนันต์
พลายประกายมาศ - เลียว คงกำเหนิด

กำกับการแสดง - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง - ประสิทธิ์ คมภักดี สุรเดช เผ่าช่างทอง, อุษา แดงวิจิตร , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - สุรัตน์ เอี่ยมสะอาด
บอกบท - วนิตา ( นก ) กรินชัย , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
ประสานงาน - สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน - สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ - สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:06:24 น.  

 
รายการศรีสุขนาฏกรรม ว่าด้วยเรื่อง”ผู้สูงอายุ”

๑.รำอำนวยพรเนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา

๒.การแสดงเบิกโรงชุดกบิลพรหมประทานพร
ท้าวกบิลพรหม - ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
ธิดาวันอาทิตย์ - จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี
ธิดาวันจันทร์ - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
ธิดาวันอังคาร - หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ
ธิดาวันพุธ - มะลิ ศิริหลวง
ธิดาวันพฤหัสบดี - สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ
ธิดาวันศุกร์ - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
ธิดาวันเสาร์ - รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
พระยาครุฑ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
พยัคฆราช - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
พระยาวราหะ - กฤษกร สืบสายพรหม
ลา - ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
คชสาร - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
นกยูงทอง - ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล

๓.การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน”นักสิทธิ์ผู้บิดา”
อสุรผัด ( รำฉุยฉาย ) - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
อสุรผัด - เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก
ฤษี ( หนุมานแปลง ) - สุรเดช เผ่าช่างทอง
หนุมาน - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
ลิงตลก - ถนอม นวลอนันต์ , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์

๔.การแสดงละครนอก เรื่อง หลวิชัย-คาวี ตอนนางคันธมาลีขึ้นหึง ( ผู้แสดงชายล้วน )
พระหลวิชัย สมเจตน์ ภู่นา
พระคาวี ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์
นางคันธมาลี ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
นางจันทร์สุดา คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
นางกำนัล - เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่งชัย , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด

กำกับการแสดง ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง ธานิต ศาลากิจ , นงลักษณ์ เทพหัสดินทร์ , วนิตา ( นก ) กรินชัย , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม
ช่วยอำนวย วันทนีย์ ( น้อย ) ม่วงบุญ
บอกบท- ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ , ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน
ประสานงาน สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:11:27 น.  

 
รายการศรีสุขนาฏกรรมแสดงใน วันศุกร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:31:50 น.  

 
อีกที รีบร้อนไปหน่อย


รายการศรีสุขนาฏกรรมแสดงใน วันศุกร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒
เวลา ๑๗.๐๐ น.

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐
โรงละครศรีอยุธยา
หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี )
ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ
//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ
//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน
สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ
สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:39:23 น.  

 
การแสดงนาฏศิลป์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมสิริชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ณ วัด อรุณราชวราราม วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๒๐.๐๐ น.
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดนารายณ์ปราบนนทุก , สำมนักขาก่อศึก , รบ ทูษณ์ ขร ตรีเศียร , ตามกวาง ถวายพล

( รายละเอียดนี้อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ในวันแสดงได้ )

ภาคสวรรค์
พระอิศวร ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
พระนารายณ์ สมเจตน์ ภู่นา
นางนารายณ์ ( นารายณ์แปลง ) - รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี
นนทุก ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
เทวดา – นางฟ้า
นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา น้ำทิพย์ ศิริมงคล , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , มะลิ ศิริหลวง , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ
ฝ่ายลงกา
ทศกัณฐ์ - วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
สำมนักขา - เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
สำมนักขาแปลง - อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา
พญาขร - ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
พญาทูษณ์ - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
พญาตรีเศียร - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
มารีศ - กฤษกร สืบสายพรหม
กวางทอง - มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู
ฤษีแดง ( ทศกัณฐ์แปลง ) - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
มโหทร - เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
เปาวนาสูร - ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง
เสนา ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต
พระราม- ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น
พระลักษณ์ - วัลลภ (แนน ) พรพิสุทธิ์ , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
นางสีดา - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
นกสดายุ - พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
ลิงเล็ก - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
สุครีพ - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
หนุมาน - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร
ชมพูพาน - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
องคต - เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก
นิลนนท์ - ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
สิบแปดมงกุฏ ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต
กางกลด ยกเตียง จัดเก็บอุปกรณ์ -ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ สุรินทร์ เขียวอ่อน ประวิทย์ เรืองมาก ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ บวรเดช ประหุน
ผู้พากษ์- เจรจา - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , สุรเดช ( เป๊ก ) น้อยประเสริฐ
กำกับการแสดง ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง – ธานิต ศาลากิจ , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , สุรเดช เผ่าช่างทอง , ประสิทธิ์ คมภักดี , กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม- สุรัตน์ ( กระรอก ) เอี่ยมสอาด
ประสานงาน ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
ช่วยประสานงาน สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:52:29 น.  

 
การแสดงนาฏศิลป์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมสิริชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ณ วัด อรุณราชวราราม วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ น.
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดสองกร - วรวิก
( รายละเอียดนี้อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ในวันแสดงได้ )

การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดสองกรวรวิก

พระอินทร์ - คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
นางดาว - เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์
สองกร - ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด
วรวิก - กฤษกร สืบสายพรหม
เสือ หมี ควาย ช้าง ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต
จัดเก็บอุปกรณ์ – เทวดาตลก- ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ ประวิทย์ เรืองมาก วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ
ผู้พากษ์ – เจรจา ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , สุรเดช ( เป๊ก ) น้อยประเสริฐ


กำกับการแสดง สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสะอาด
ช่วยกำกับการแสดง - สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ เดช ตาด ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ประสานงาน สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:15:58:31 น.  

 
การแสดงนาฏศิลป์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมสิริชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ณ วัด อรุณราชวราราม วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๒๐.๐๐ น.
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดขับพิเภก พิเภกสวามิภักดิ์ พระรามข้ามสมุทร ยกรบ ถวายลิง ชูกล่องฯ ( น่าจะใช่ พอดีต้นฉบับเบลอมากเลยต้องเดาเอา )
( รายละเอียดนี้อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ในวันแสดงได้ )

ฝ่ายลงกา

ทศกัณฐ์ - ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
กุมภกรรณ - กฤษกร สืบสายพรหม
พิเภก - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง
อินทรชิต - เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
ฤษี - หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์
มโหทร - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
เปาวนาสูร - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
เสนา ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต


พระราม - ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
พระลักษณ์ - ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , วัลลภ (แนน ) พรพิสุทธิ์
สุครีพ - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
หนุมาน - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
หนุมานทรงเครื่อง - เลียว คงกำเหนิด
ชามภูวราช - ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
ชมพูพาน - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
องคต – เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
นิลนนท์ - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
ไชยามพวาน - เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก
สิบแปดมงกุฏ ผู้แสดงจากเครือข่ายสำนักการสังคีต


กางกลด ยกเตียง จัดเก็บอุปกรณ์ – วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ , ประวิทย์ เรืองมาก ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , บวรเดช ประหุน
ผู้พากษ์-เจรจา - ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , สุรเดช ( เป๊ก ) น้อยประเสริฐ


กำกับการแสดง สุรัตน์ ( กระรอก ) เอี่ยมสะอาด
ช่วยกำกับการแสดง สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , สุรเดช เผ่าช่างทอง , ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน ช่อแก้ว ลัดดาอ่อน , คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม - ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ประสานงาน สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:16:01:40 น.  

 
พิมพ์ผิด พิมพ์ถูก ก็ขออภัยด้วยนะคะ ข้อความใดตกลง ก็ช่วยบอกมาด้วยก็แล้วกัน ขอบพระคุณทุกท่านที่อุตส่าห์อ่านค่ะ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.21.22 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:16:04:32 น.  

 
งานสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติ วันจักรี ครั้งที่1 และกรุงเทพไตรกีฬา 2009
วันที่ 4 - 6 เมษายน 2552
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่
//thai.tourismthailand.org/festival-event/bangkok-10-6071-1.html
www.bangkoktriathlon.org

การแสดงในงานสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติ วันจักรี ครั้งที่ ๑ เวลา ๑๖.๐๐ น.- ๑๘.๐๐น.
ณ สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม

รายการบรรเลงดนตรีสากลเนื่องในงานสัปดาห์อนุรักษ์ที่ระลึกวันจักรี
บรรเลงโดย วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร
อำนวยเพลงโดย สถาพร นิยมทอง
วันจันทร์ที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

๑. เพลง Beyond the sea บรรเลง
๒. เพลงพ่อ ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๓. เพลงสมเด็จ วาณี จูฑังคะ
๔. เพลงพระราชนิพนธ์รัก สุรพัฒน์ ชูก้าน
๕. เพลงพระราชนิพนธ์สายฝน วาณี จูฑังคะ - ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๖. เพลงเรือนแพ วาณี จูฑังคะ
๗. เพลงลุ่มเจ้าพระยา สุรพัฒน์ ชูก้าน
๘. เพลงสายชล นนทวรรธน์ เรืองสกุล
๙. เพลงสักขีแม่ปิง นนทวรรธน์ เรืองสกุล - นลินรัตน์ กาญจนคเชนทร์
๑๐. เพลงลาทีปากน้ำ ดร.ศุภชัย ไพจิตร
๑๑. เพลงสาวลำน้ำพอง ดร.อรพรรณ
๑๒. เพลงแม่กลอง ดร.ศุภชัย ไพจิตร
๑๓. เพลงเอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ธัญสินี เปรมวงศ์
๑๔. เพลงกว๊านพะเยา ดร.ศุภชัย ไพจิตร
๑๕. เพลง River of no return บรรเลง
๑๖. เพลงแสนแสบ สุรพัฒน์ ชูก้าน
๑๗. เพลง The Sound Of Music ขับร้องหมู่
๑๘. เพลงริมฝั่งน้ำ กนกนาถ ญาณฤทธิ์
๑๙. เพลงมนต์รักลูกทุ่ง จุลชาติ อรัญยนาค
๒๐. เพลงตังเก จุลชาติ อรัญยนาค
๒๑. เพลงน้ำตาหอยทาก จุลชาติ อรัญยะนาค
๒๒. เพลงไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๒๓. เพลง TOP OF THE WORLD ฉวีวรรณ
๒๔. เพลง STUPID CUPID ฉวีวรรณ


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.19 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:20:49:15 น.  

 
รายการบรรเลงดนตรีสากล
เนื่องในงานสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๕๒
“มรดกไทย มรดกชาติ วงเครื่องสายฝรั่งหลวง : อดีตสู่ปัจจุบัน”
“เสวนา บอกเล่าเพลงบรรเลงร้อง”
วันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐-๑๙.๐๐ น.
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
*****
๑. เพลง ปฐม บรรเลง
๒. เพลง ต้นบรเทศ บรรเลง
๓. เพลง ศรีอยุธยา วาณี จูฑังคะ นำหมู่
๔. เพลง ไทยดำเนินดอย(ลาวดำเนินทราย) ขวัญกมล บุญจับ
๕. เพลง เขมรโพธิสัตว์ บรรเลง
๖. เพลง ไทรโยคแปลง ขับร้องหมู่
๗. เพลง รักบังใบ โฉมฉาย อรุณฉาน
๘. เพลง มัทรีร้องไห้ โฉมฉาย อรุณฉาน
๙. เพลง ลาวครวญ สมเจตน์ ภู่นา
๑๐. เพลง ลาวคำหอม สมเจตน์ ภู่นา
๑๑. เพลง คลื่นกระทบฝั่ง บรรเลง
๑๒. เพลง ลาวเจริญศรี เด็กชายศิรพงษ์ แสงไพโรจน์
๑๓. เพลง ยอยศพระลอ เด็กชายศิรพงษ์ แสงไพโรจน์
๑๔. เพลง ลาวสมเด็จ วาณี จูฑังคะ
๑๕. เพลง ลาวดวงดอกไม้ ดวงดาว เถาว์หิรัญ
๑๖. เพลง สมเด็จพระปิยะชาติ ขับร้องหมู่


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.19 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:20:53:43 น.  

 
การแสดงชุดใด ไม่ได้ระบุราคา แสดงว่าฟรีนะคะ

ยกเว้นสังคีตศาลาที่ไม่ใช่วันที่ ๒-๘ เมษายน บัตรราคา ๒๐ บาท


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.19 วันที่: 5 เมษายน 2552 เวลา:20:57:38 น.  

 
วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒
การบรรเลงดนตรีไทยของกรมศิลปากร

รายการปกิณกะดนตรีไทย


การบรรเลงและขับร้องจากวงมโหรีเครื่องสี่และวงมโหรีเครื่องหก
การแสดงระบำโบราณคดี ชุด ทวาราวดี
การบรรเลงปี่ชวา-กลองแขก ชุด สะระหม่าไทย
การบรรเลงขับร้อง เพลงเทพนิมิต
การขับร้องเพลงสิบสองภาษาออกตัวแสดง


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.43 วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:21:16:06 น.  

 
อีกที

วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒
การบรรเลงดนตรีไทยของกรมศิลปากร

ณ.สังคีตศาลา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

บัตรราคา ๒๐ บาท


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.43 วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:21:53:27 น.  

 
ขอเชิญชมการแสดง คอนเสิร์ตไตรภาคี กัมพูชา ลาว ไทย
วันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๐๐ น.

ดินแดนแห่งอารยธรรมสันติสุข The Land of Peace and Cradle of Civilization
หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ชมและฟังเพลงยอดนิยมจากศิลปินนักร้องกัมพูชา ลาว และไทย

นำโดย ศิลปินจากกรมศิลปากร ศิลปินแกรมมี่ และอาร์เอสและการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านของทั้ง ๓ ประเทศ

ชมฟรีตลอดงาน
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งที่ กระทรวงวัฒนธรรม โทร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๕๓ – ๘ หรือ Call Center 1765


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.43 วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:23:29:04 น.  

 
ขอเชิญร่วมงาน
พิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่, ช่างฟ้อน, ช่างขับ, ช่างดีดสีตีเป่า ฯลฯ ประจำปี ๒๕๕๒


ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) และแผนกดนตรีไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญร่วมงาน พิธีไหว้ครู-ครอบครู ช่างสิปป์หมู่, ช่างฟ้อน, ช่างขับ, ช่างดีดสีตีเป่า ฯลฯ ประจำปี ๒๕๕๒

เนื่องในศุภวาระ"สามทศวรรษศูนย์สังคีตศิลป์"

เครื่องสาย มโหรี ปี่พาทย์ นาฏศิลป์ ละครชาตรี บรรเลงถวาย


วันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒

ณ บริเวณสวนแก้ว วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ

๐๗.๐๐ น. โหมโรงเช้า โดย วงศิษย์เรืองนนท์

๐๗.๓๐ น. ถวายสังฆทาน พระสงฆ์ ๙ รูป

๐๙.๐๐ น. พิธีไหว้ครู- ครอบครู

- บุญเลิศ นาจพินิจ ศิลปินแห่งชาติ ประกอบพิธีอ่านโองการไหว้ครู
- บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ โดย นักดนตรีเกียรติยศจาก "บ้านบางลำพู" วงดุริยประณีต
- รำถวายมือ

๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน


ขับลำทำเพลง บรรเลงถวายมือ

๑๓.๐๐ น.

มโหรี โดย วงขวัญข้าว โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชนะเลิศการประกวดดนตรีไทย "ประลองเพลง ประเลงมโหรี" ประจำปี ๒๕๕๑

เครื่องสายปี่ชวา โดย วงสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ควบคุมวงโดย ครูปี๊บ คงลายทอง

ละครชาตรี (ต้นแบบดั้งเดิม) เรื่อง "พระดาวเรือง" คณะครูทองใบ เรืองนนท์ ควบคุมการแสดงโดย บุญสร้าง เรืองนนท์ (ปู)


ประลองเพลง บรรเลงถวายมือ

๑๖.๐๐ น.

เดี่ยวระนาดเอกหญิง โดย นางสาวณหทัย สุธีลักษณ์ ทายาทนักดนตรีบ้านสุธีลักษณ์ (วัดแก้วฟ้าจุฬามณี)

เดี่ยวจะเข้ เพลง"ลาวแพนลำเพลิน" (ทางบรรเลง อ.สหรัฐ จันทร์เฉลิม)
โดย นางสาวอรนาถ จันทรโอภากร

ปี่พาทย์วัยรุ่นชาย วงไทยบรรเลง อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม และ วงพยุงศิลป์ อำเภอบางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา

** อ.อานันท์ นาคคง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พิธีกรตลอดรายการ

ชมฟรี พร้อม แจกฟรี สูจิบัตร

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สังคีตศิลป์ ฝ่ายการประชาสัมพันธ์
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โทร. ๐ - ๒๒๑๕๖๕๓๕ - ๗


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.43 วันที่: 7 เมษายน 2552 เวลา:23:34:05 น.  

 
ขออภัย ลงซ้ำ


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 8 เมษายน 2552 เวลา:11:50:10 น.  

 
สวัสดีค่ะ

หนูเพิ่งผ่านมาเจอบล็อกนี้
รู้สึกประทับใจมากๆเลย
เพราะได้ความรู้มากๆค่ะ

หนูกำลังเรียนรำไทยอยู่เหมือนกัน
และสนใจเรื่องราวต่างๆทางด้านนาฏศิลป์และโขนมาก

ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ
หนูคงจะแวะเวียนเข้ามาเรียนรู้เรื่องต่างๆและขอติดตามข่าวสารเรื่องศิลปวัฒนธรรมด้วย

ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ใน่ที่นี้นะคะ รู้สึกประทับใจจริงๆค่ะ^^



โดย: ใบพลู IP: 58.8.133.248 วันที่: 9 เมษายน 2552 เวลา:22:38:35 น.  

 
//www.su.ac.th/html_news/nae/pdf_7452_1.pdf
กำหนดการงานวันนริศ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หน้าพระลาน กรุงเทพฯ
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2552

07.00-07.30 น.
- โหมโรงเช้า ท้องพระโรง วังท่าพระ

07.30 – 08.30 น.
- พิธีสงฆ์ ตำหนักกลาง ชั้นบน

09.00 – 11.45 น.
- พิธีไหว้ครู ท้องพระโรง วังท่าพระ

13.00 – 14.00 น.
- การบรรเลงดนตรีคลาสสิกของนักศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์ ประกอบการเขียนภาพของนักศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ ศาลาดนตรี

14.00 – 15.00 น.
- พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายนานาชาติ ครั้งที่ 5 และพิธีเปิดนิทรรศการพระประวัติและผลงานฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และนิทรรศการ ภาพถ่ายนานาชาติ ครั้งที่ 5 หัวข้อ “บ้าน” ท้องพระโรง วังท่าพระ
15.00 – 18.30 น.

- การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ถิ่นฐานบ้าน วัด วัง ย่านวังหลวง
วังท่าพระ”

โดย หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ นำเสนอทัศนะการมองครอบครัวของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผ่านวังท่าพระและเพื่อนบ้านหรือชุมชนที่อยู่โดยรอบวังรวมทั้งความเป็นอยู่ภายในวังท่าพระของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
อาจารย์กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์นำเสนอข้อมูลหลักฐานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีที่บ่งชี้ความเป็นชุมชน และศูนย์กลางเมืองบางกอกตั้งแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ นำเสนอข้อมูลหลักฐานด้านการศึกษาดนตรี การทรงพระนิพนธ์เพลงต่าง ๆ รวมทั้งพิธีกรรมและบทเพลงผ่านมิติของดนตรีบริเวณวังท่าพระ และชุมชนโดยรอบ ประกอบการบรรเลงดนตรี

ดำเนินการเสวนา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ มั่งมีสุขศิริ
ประกอบการแสดงดนตรีไทยจากชมรมดนตรี และดนตรีแจ๊สจาก คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สวนแก้ว


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.67 วันที่: 15 เมษายน 2552 เวลา:9:53:07 น.  

 
ขอบพระคุณสำหรับทุกท่านที่ให้ความสนใจ

บล๊อกนี้เป็นบล๊อกเล็กๆที่เจ้าของเขาใจดีปล่อยให้มาลงข้อความติดต่อกันมาได้เรื่อยๆก็ต้องขอขอบพระคุณเจ้าของบล๊อกด้วยเช่นกัน

ข้อความที่ลงไว้ที่นี่เป็นการบอกข่าวล่วงหน้า
แต่มีขัอมูลและรูปเกี่ยวกับรายการที่ผ่านไปแล้วบางส่วนอยู่ที่
//ongphra.multiply.com/
//thkhon.multiply.com/
//thperforming.multiply.com/
//thbooklet.multiply.com/
//ancientism.multiply.com/
ถ้ามีเวลาลองไปเปิดดูเล่นบ้างก็ได้


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.67 วันที่: 15 เมษายน 2552 เวลา:10:01:31 น.  

 
คอนเสิร์ตการกุศล “อัครราชา ราชินี ศรีสยาม”

อำนวยการแสดงโดยท่านอาจารย์สุคนธ์ พรพิรุณ (ครูเพลงพรพิรุณ) และคุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล นักเต้นบัลเล่ต์และบอลรูมระดับโลกสถิติกินเนสบุคส์ และพร้อมด้วยคุณแอนนิต้า (ปรารถนา) ยุทธศาสตร์โกศล Mr.Ron Montez แชมป์โลกบอลรูมแดนซ์ และ Mr. Gary Franco แชมป์โลก Theatre Arts จากสหรัฐอเมริการ่วมแสดงด้วย โดยในวันที่ 24 เมษายน 2552 ได้รับความอนุเคราะห์ร่วมการแสดงเฉลิมพระเกียรติจากมูลนิธินาฎย-ศาลาหุ่นละครเล็กด้วย

ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน วันที่ 24 — 26 เมษายน 2552

บัตรติดต่อขอรับได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ 02-644-8677-88 ต่อ 9902 ,02-644-9902 สมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-2644-9902 จัดโดย สมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย //www.br>

สมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย : ห้อง 317 ชั้น 3 อาคารราชรัตน์ ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร / แฟ็กซ์ 02-644-9902, 02-644-8677-91 ต่อ 2200 E-mail: iat_urp@yahoo.com

๑. กราบบังคมทูลเชิญ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงเปิดงานในรอบปฐมทัศน์ และทรงเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันเสาร์ ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๐๐ น.

๒. กราบทูลเชิญ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการและคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันอาทิตย์ ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ น.

๓. กราบทูลเชิญ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตร นิทรรศการและคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในวันอาทิตย์ ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๐๐ น.

สำหรับในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ นั้น ได้รับความอนุเคราะห์ร่วมการแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากมูลนิธินาฎยศาลาหุ่นละครเล็ก ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แสดงหุ่นละครเล็ก เรื่อง “กูรมาวตาร” และการแสดงเฉลิมพระเกียรติ “ลพบุรีมีเพลงเพราะ” ในวันศุกร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๐๐ น.

//www.websuntaraporn.com/suntaraporn/board/posting.asp?GID=3720
อัครราชา ราชินี ศรีสยาม โฉมฉายนำทีม นักร้องกรมประชาสัมพันธ์ ณ สยามพารากอน
***************************************************************************

คอนเสิร์ตการกุศล “อัครราชา ราชินี ศรีสยาม” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามมินทราธิราช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เพื่อนำรายได้ส่วนหนึ่งโดยเสด็จพระราชกุศลและพัฒนาเยาวชนไทย

อำนวยการแสดงโดยท่านอาจารย์สุคนธ์ พรพิรุณ (ครูเพลงพรพิรุณ)และ สมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย
การแสดงโชว์ลีลาศจากนักเต้นระดับโลกคุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล นักเต้นบัลเล่ต์และบอลรูมระดับโลกสถิติกินเนสบุคส์
Mr.Ron Montez แชมป์โลกบอลรูมแดนซ์ และMr. Gary Franco แชมป์โลก Theatre Arts จากสหรัฐอเมริการ่วมแสดงด้วย
ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์ (Royal Paragon Hall) ศูนย์การค้าสยามพารากอน
################################################################

วันที่ 24 – 26 เมษายน 2552

วันที่ 24 เมษายน 2552 ร่วมการแสดงเฉลิมพระเกียรติจากมูลนิธินาฎยศาลาหุ่น ละครเล็กและการแสดง “ลพบุรีมีเพลงเพราะ” โดยวงดนตรี “สุภาภรณ์”

วันที่ 25 เมษายน 2552 คอนเสิร์ต อัครราชา ราชินี ศรีสยาม บรรเลงโดย วงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร และขับเสภา แสดงโดย หุ่นละครเล็ก นาฎยศาลา

วันที่ 26 เมษายน 2552 รอบบ่าย - คอนเสิร์ต อัครราชา ราขินี ศรีสยาม บรรเลงโดยวงดนตรีกรมประขาสัมพันธ์

รอบค่ำ - คอนเสิร์ต อัครราชา ราขินี ศรีสยาม บรรเลงโดย วงดุริยางค์ราชนาวี (ทหารเรืิอ)


หมายเหตุ: แต่ละรอบบทเพลงนำเสนอจะแตกต่างกันไป

***********************************************************************************************

โฉมฉาย อรุณฉาน นำทีมคณะนักร้องวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ร่วมด้วย คุณวรนุช อารีย์, มาริษา อมาตยกุล, “พรพิรุณ”, อโศก สุขศิริพรฤทธิ์, พรรณี สกุลชาคร, นักร้องกรมประชาสัมพันธ์ และนักร้องดาวรุ่งดวงใหม่ กรมประชาสัมพันธ์
ในแต่ละรอบ คับคั่งด้วยนักร้องมากมาย อาทิเช่น คุณสุเทพ วงศ์กำแหง ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สันติ ลุนเผ่, ดวงดาว เถาว์หิรัญ, วาณี จูฆังคะ, ดร.เจษฎา ธรรมวณิช นักร้องแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ลินจง บุญนากรินทร์ และอีกมากมาย


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:15:49:42 น.  

 
คอนเสิร์ตการกุศล “อัครราชา ราชินี ศรีสยาม”
ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น ๕ สยามพารากอน วันศุกร์ที่ ๒๔ – วันอาทิตย์ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนิน ( รอบปฐมทัศน์ )
รอบวันเสาร์ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๙.๐๐ น.
ดนตรีโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร [ The National Symphony Orchestra ]
๑. เพลง “ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น” นักร้องจากกรม ประชาสัมพันธ์ + สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒. เพลง “แผ่นดินของเรา” วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓. เพลง พระราชนิพนธ์ “เกาะในฝัน”( Eb) มาริษา อมาตยกุล ขับร้อง ประกอบจินตลีลา นาฏศิลป์อินทรา
๔. เพลง พระราชนิพนธ์ “ไกลกังวล” คุณธนกรณ์ ยีรัญศิริ ประกอบจินตลีลาฮาวายคณะนาฏศิลป์อินทรา
๕. เพลง “ต้นตระกูลไทย ” วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบจินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๖. เพลง “ภาพเธอ” ดวงดาว เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๗. เพลง “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” โฉมฉาย อรุณฉาน – เจษฎา นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๘. เพลง “ศิลปาชีพประทีปแห่งชีวิต” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๙. เพลง “สมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๑๐. เพลง “ยิ่งใหญ่ในโลกคือแม่” โฉมฉาย อรุณฉาน – อโศก สุขศิริพรฤทธิ์ นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๑๑. เพลง “พระมิ่งมาตามหาราชินี” โฉมฉาย อรุณฉาน และ นักร้องประสานเสียง ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๒. เพลง “เครือข่ายสหวิทยาการ” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๑๓. เพลง “ดอกหญ้า” ไกรฤกษ์ ศรีสุรินทร์
๑๔. เพลง “A Song of India” ดวงดาว เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๕. เพลง “ Sleepy Lagoon” วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๖. เพลง Our Last Kiss ( ขอให้เหมือนเดิม ภาคภาษาอังกฤษ ) โดย ภัทริส ณ นคร
.........................................................พักครึ่งเวลา............................................................................
๑๗. เพลง “ด้วยพระปรีชาชาญ” มัณฑนา ลาวัลยพาณี นักร้องชนะประกวดเพลงสืบสานตำนานเพลงศาลาเฉลิมกรุง ปี ๒๕๕๑
๑๘.เพลง “พระมิ่งขวัญแห่งไหมไทย” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๑๙. เพลง “เทพธิดาดอย” คำร้องไทย – จีน ลินจง บุนนากรินทร์ ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๐. เพลง “เย่ว์เลี่ยงไต้เปียวหว่อติซิน” คำร้องจีน ลินจง บุนนากรินทร์
๒๑. เพลง “ดวงจันทร์แทนใจ” คำร้องไทย สมเจตน์ ภู่นา นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๒. เพลง “เงาไม้” ร้องโดย “พรพิรุณ”


โดย: อัญชลี IP: 203.156.23.68 วันที่: 21 เมษายน 2552 เวลา:21:09:38 น.  

 
เพิ่มเติมอีกที

รอบวันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๒๕ ( รอบปฐมทัศน์ ) เวลา ๑๙.๐๐ น.
ติดต่อขอบัตร ( ฟรี ) ได้ที่ ชนินทร์วดี ( อ๋อย ) ชมพูทิพย์ ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ๐-๘๖๗๘๒-๗๕๔๓
รายการแสดงโดยสังเขป
o การขับเสภาเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมูลนิธินาฏศาลา หุ่นละครเล็ก
o รำถวายอาศิรวาท โดย ภญ.รศ.ดร.ปลื้มจิตต์ โรจนพันธ์ ร่วมกับ คณาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลปะ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
o เพลงพระราชนิพนธ์บรรเลง โดย วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร [ The National Symphony Orchestra ]
o คุณ จริน ยุทธศาสตร์โกศล เต้น Solo Waltz เพลง “สายฝน”
o คุณ โฉมฉาย อรุณฉาน และ ดร.เจษฎา ธรมวณิช เพลงชุดเฉลิมพระเกียรติฯ “เทิดไท้องค์ราชัน” อำนวยการแสดงโดย ครูเพลง “พรพิรุณ”
o คุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล และ Mr.Ron Montez เต้น Rumba เพลง “Guitar Rumba ”
o เพลงชุดเฉลิมพระเกียรติฯ “พระมิ่งขวัญจอมผไท” ครูเพลง “พรพิรุณ”
o คุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล และ Mr.Garry Franco เต้น Theater Arts เพลง “People ( Barbara Streisand ) ”
o “เพลงอมตะทรงคุณค่าทางภาษา” ประกอบจินตลีลา
o คุณ แอนนิต้า ( ปรารถนา ) ยุทธศาสตร์โกศล เดี่ยวเปียโน เพลง “Liebestraum” ( Listz )
พักครึ่งเวลา
o คุณ จริน ยุทธศาสตร์โกศล เดี่ยวเปียโน และเต้น Lyrical เพลง”Etude”
o เพลงชุด”พลังแห่งกาสร้างสรรค์”ประกอบจินตลีลา
o ปฐมฤกษ์เบิกฟ้า”ออกกำลังกาย รำไทยแอโรบิค”โดย ภญ.รศ.ดร.ปลื้มจิตต์ โรจนพันธ์ ร่วมกับ คณาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลปะ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ด.ญ ชยาพร มุสิกะภุมมะ และคณะนักเรียน โรงเรียนจิตรลดา
o “เพลงอมตะทรงคุณค่าทางภาษา” ประกอบจินตลีลา
o คุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล และ Mr.Ron Montez เต้น “Viennese Waltz ” เพลง Blue Danube โดย Johann Straus
o “เพลงอมตะทรงคุณค่าทางภาษา” ประกอบจินตลีลา
o คุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล เต้น Romantic Thearter Arts เพลง At Last ( Elta James )
o พระราชทานรางวัลแก่ผู้แทนนักแสดง
o เสด็จกลับ



โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:13:19:59 น.  

 
รายละเอียดเพิ่มเติมของกรมศิลปากร

การแสดงของวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร [ The National Symphony Orchestra ]
๑.เพลง “ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น” นักร้องจากกรม ประชาสัมพันธ์ + สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒.เพลง “แผ่นดินของเรา” วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓. เพลง พระราชนิพนธ์ “เกาะในฝัน” มาริษา อมาตยกุล ขับร้อง ประกอบจินตลีลา นาฏศิลป์อินทรา
๔. เพลง พระราชนิพนธ์ “ไกลกังวล” คุณธนกรณ์ ยีรัญศิริ ประกอบจินตลีลาฮาวายคณะนาฏศิลป์อินทรา
๕. เพลง “ต้นตระกูลไทย ” วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบจินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
พระยาราม – ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
พระราชมนู – สุรินทร์ เขียวอ่อน
เจ้าพระยาโกษา( เหล็ก ) วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
สีหราชเดโช – เลียว คงกำเหนิด
พระยาพิชัยดาบหัก – ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
นายแท่น – พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
นายดอก – ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
นายอิน – ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
นายเมือง – สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์
ขุนสรรค์ – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง
พันเรือง – อภิญญา ( ผู้แสดงเครือข่าย )
นายทองแสนใหญ่ - รัฐพร เคหะ ( ผู้แสดงเครือข่าย )
นายโชติ – อนุชา เลี้ยงสอน ( ผู้แสดงเครือข่าย )
นายทองเหม็น – พงษ์นริศร์ ( ผู้แสดงเครือข่าย )
นายจันหนวดเขี้ยว – ชัยกิจ ( ผู้แสดงเครือข่าย )
นายทองแก้ว – คมคาย ( ผู้แสดงเครือข่าย )
พระสุริโยทัย – เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
ท้าวเทพสตรี – หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ
ท้าวศรีสุนทร – มะลิ ศิริหลวง
ท้าวสุรนารี – ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา
๖. เพลง “ภาพเธอ” ดวงดาว เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร โดยนักแสดงกิติมศักดิ์
๗. เพลง “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” โฉมฉาย อรุณฉาน – เจษฎา นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๘. เพลง “ศิลปาชีพประทีปแห่งชีวิต” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๙. เพลง “สมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๑๐. เพลง “ยิ่งใหญ่ในโลกคือแม่” โฉมฉาย อรุณฉาน – อโศก สุขศิริพรฤทธิ์ นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๑๑. เพลง “พระมิ่งมาตามหาราชินี” โฉมฉาย อรุณฉาน และ นักร้องประสานเสียง ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร โดย นักศึกษา จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
๑๒. เพลง “เครือข่ายสหวิทยาการ” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์
๑๓. เพลง “ดอกหญ้า” ไกรฤกษ์ ศรีสุรินทร์
๑๔. เพลง “A Song of India” ดวงดาว เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา
๑๕. เพลง “ Sleepy Lagoon” วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๑๖. เพลง Our Last Kiss ( ขอให้เหมือนเดิม ภาคภาษาอังกฤษ ) โดย ภัทริส ณ นคร
.........................................................พักครึ่งเวลา............................................................................
๑๗. เพลง “ด้วยพระปรีชาชาญ” มัณฑนา ลาวัลยพาณี นักร้องชนะประกวดเพลงสืบสานตำนานเพลงศาลาเฉลิมกรุง ปี ๒๕๕๑
๑๘.เพลง “พระมิ่งขวัญแห่งไหมไทย” โฉมฉาย อรุณฉาน นำหมู่นักร้องกรม ประชาสัมพันธ์ ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ชุดไทยเรือนต้น – มะลิ ศิริหลวง , ชุดไทยจิตรลดา – หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , ชุดไทยจักรี – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , ชุดไทยดุสิต – มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , ชุดไทยบรมพิมาน – สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , ชุดไทยอัมรินทร์ – พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , ชุดไทยจักรพรรดิ – จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , ชุดไทยศิวาลัย – กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , ผู้เต้นประกอบเพลง สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ
๑๙. เพลง “เทพธิดาดอย” คำร้องไทย – จีน ลินจง บุนนากรินทร์ ประกอบ จินตลีลา จาก สำนักการสังคีต กรมศิลปากร นักศึกษา จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
๒๐. เพลง “เย่ว์เลี่ยงไต้เปียวหว่อติซิน” คำร้องจีน ลินจง บุนนากรินทร์
๒๑. เพลง “ดวงจันทร์แทนใจ” คำร้องไทย สมเจตน์ ภู่นา นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๒๒. เพลง “เงาไม้” ร้องโดย “พรพิรุณ”
การแสดงนาฏศิลป์ประกอบเพลง
กำกับการแสดง – ศิริพงษ์ ( หวาน ) ฉิมพาลี
ช่วยกำกับการแสดง – วรรณพินี ( ไก่ ) สุขสม , วนิตา ( นก ) กรินชัย , สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – สุรัตน์ ( กะรอก ) เอี่ยมสอาด
ประสานงาน – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน – วีรพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:13:29:20 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม
รายการดนตรีไทยไร้รสหรือ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ.โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์

รายการแสดง

๑.การแสดงดนตรีวงโปงลาง
๒.การแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ ตอน “พระลอตามไก่” – พระลอ-สมเจตน์ ภู่นา , นายแก้ว – พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , นายขวัญ – วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ไก่แก้ว – อาภัสรา นกออก
๓.การแสดงละครพันทางเรื่องพระลอ ตอน “พระลอเข้าห้อง” พระลอ – ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , พระเพื่อน – น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , พระแพง – เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , นายแก้ว – พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , นายขวัญ – วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , นางรื่น – ลฏาภา เหลืออ่อน , นางโรย – ภาสินี ปั้นสิริ , นางกำนัล – สิริมา พูนทรัพย์ , สิริวิมล เผือกทอง
กำกับการแสดง – คมสัณฐ ( โต้ง ) หัวเมืองลาด
ช่วยกำกับการแสดง – อุษา แดงวิจิตร , วลัยพร ( ฉุย ) กระทุ่มเขต
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – อรุณศรี ( แดง ) เกษมศิลป์
ประสานงาน – ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์
ช่วยประสานงาน –สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู

บัตรชั้นบนราคา ๑๐๐ บาท ชั้นล่าง ๘๐ บาท จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์
สอบถามและสำรองที่นั่ง ที่โรงละครแห่งชาติ โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ( ในวันแสดง - ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรศัพท์ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐


โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
แผนที่หอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_map.htm
แผนผังหอสมุดแห่งชาติ//www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕
รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:13:32:23 น.  

 
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๕
การแสดงเนื่องในวันปิดสังคีตศาลา ปีที่ ๕๖
บัตรราคา ๒๐ บาท

๑.รำอวยพรเนื่องในวันปิดสังคีตศาลา ปีที่ ๕๖ - สิริวรรณ ( มิก ) อาจมังกร , น้องนุช ( แมว ) เพชรจรัส , มะลิ ศิริหลวง , อัญชลิกา ( แหม่ม ) หนอสิงหา , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม

๒.การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามจากนางสีดา พระราม – ฉันทวัฒน์ ชูแหวน , พระลักษณ์ – ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ , นางสีดา – เสาวรักษ์ ( เจี๊ยบ ) ยมะคุปต์ , นางอดูลปีศาจ – เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง , นางแปลง – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี , นางกำนัล – อาภัสรา นกออก , สิริวิมล เผือกทอง , ลฎาภา เหลืองอ่อน , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , พากษ์-เจรจา –ทรงพล ( กว้าง ) ตาดเงิน , เจตน์ ศรีอ่ำอ่วม , หัสดินทร์ ( อ้น ) ปานประสิทธิ์ , จัดเก็บอุปกรณ์ – ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , สุรินทร์ เขียวอ่อน , ประวิทย์ เรืองมาก , ธงชัย ( ไก่ ) สงบจิตร์

๓.การแสดงละครพันทางเรื่อง “ นางพญาผานอง” ตอน ขุนไสยศจากนางอั้วสิม - พญางำเมือง – ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต , ขุนไสยศ – ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ , นางอั้วสิม – มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู , สาวใช้ – สิริมา พูนทรัพย์

๔.การแสดงละครเรื่องนางมโนห์รา ตอนพระสุธนจากนางมโนห์รา - พระสุธน – สมเจตน์ ภู่นา , นางมโนห์รา – นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา , นางกำนัล – อาภัสรา นกออก , สิริวิมล เผือกทอง , ลฎาภา เหลืองอ่อน , ภาสินี ปั้นสิริ

๕.การแสดงละครเสภา เรื่องไกรทอง ตอนชาละวันจากสองนาง - ไกรทอง – ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ , เศรษฐีพิจิตร – ศิริพงษ์ ( แสง ) ทวีทรัพย์ , ภรรยาเศรษฐี – กิ่งแก้ว หิรัญธนยรัศมี , ตะเภาแก้ว – ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , ตะเภาทอง – จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี , เพื่อนไกรทอง – วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์ , กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร , ประชาชน – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร , ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล , ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ , บวรเดช ประหุน , สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , เอกสิทธิ์ เนตรานนท์ , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , พรทิพย์ ทองคำ , เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา , น้ำทิพย์ ( อี๊ด ) ศิริมงคล , พุทธิยา ( ตุ้ม ) พลับกระสงค์

ชาละวัน ( ร่างมนุษย์ ) – สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ชาละวัน ( จระเข้ ) จุลทรัพย์ ดวงพัตรา , จระเข้เล็ก – เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก , นางเลื่อมลายวรรณ – สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ , นางวิมาลา – นพวรรณ ( เพี๊ยซ ) จันทรักษา , บริวารจระเข้หญิง – สิริมา พูนทรัพย์ , อาภัสรา นกออก , สิริวิมล เผือกทอง , ลฎาภา เหลืองอ่อน , ภาสินี ปั้นสิริ , บริวารจระเข้ชาย – ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ , ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม , ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น , พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , เลียว คงกำเหนิด , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร , ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์

กำกับการแสดง – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
ช่วยกำกับการแสดง – ประสิทธิ์ คมภักดี , มนตรี ( เต้ย )แหล่งสนาม , สุรเดช เผ่าช่างทอง , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , ตวงฤดี ถาพรพาสี , วรวรรณ ( แหวว ) พลับประสิทธิ์
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – สุรัตน์ ( กระรอก ) เอี่ยมสะอาด
บอกบท – ครึ้มพงษ์ ( ตุ้ม ) สายทองคำ , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา
ประสานงาน – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน – สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:13:34:46 น.  

 
วังปลายเนิน คลองเตย โทรศัพท์ ๐-๒๒๔๙-๔๒๘๐
๒๘ - ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒

วังปลายเนินจะจัดการแสดงประจำปีในวันอังคารที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ และเปิดให้ชมวังในวันพุธที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ( เปิดให้เข้าชมเพียงปีละครั้ง ) และจัดการแสดงของมูลนิธิสิรินธร ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน โดย สมเด็จพระเทพฯจะทรงดนตรี และมีการแสดงประกอบพิเศษในชุดระบำนางโคปี ระบำแขก ฯ


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:13:40:48 น.  

 
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน บรรลัยกัลป์ตามทัพ
เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๒

วันเสาร์ที่ ๒ , ๙ และ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖ นาย สุเทพ ( แดง ) แก้วดวงใหญ่ หัวหน้าโรงละครฯ
บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา )

วันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
//www.korattheatre.go.th/หน้าหลัก.html webmaster : yongvirun@yahoo.co.th
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา๓๐๒๘๐( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม. )
โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑ ดูแผนที่โรงละคร //www.pointthailand.com/scripts/viewmap.asp?ABTID=2&nBIZID=652655&nMEMID=26395
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา

ผู้แสดงฝ่ายพลับพลา
พระราม - ธีรเดช ( เปี๊ยก ) กลิ่นจันทร์ ( แสดง ๒ , ๖ พ.ค.) , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ ( เฉพาะ ๙ พ.ค.)
นางสีดา - นาฏยา ( แหวว ) รัตนศึกษา
พระลักษมณ์ - สมเจตน์ ภู่นา
พิเภก - ธนพัชร์ ( อ้อย ) ขาวรุ่งเรือง
ชามภูวราช - ศตวรรษ ( อุ๋ย ) พลับประสิทธิ์
สุครีพ - จุลทรัพย์ ดวงพัตรา
หนุมาน - กิตติ ( ป๊อบ ) จาตุประยูร ,พรเลิศ ( เอ๊กซ์ ) พิพัฒน์รุ่งเรือง
ชมพูพาน - เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก ( แสดง ๒ , ๖ พ.ค.) , เลียว คงกำเหนิด ( เฉพาะ ๙ พ.ค.)
องคต - เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร
นิลนนท์ - ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์
ลิงเล็ก ( หนุมานแปลง ) - ศิลปิน ( กั๊ก ) ทองอร่าม
ควาย ( หนุมานแปลง ) - เอกสิทธิ์ เนตรานนท์
ไชยามพวาน - ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น
สิบแปดมงกุฎ - ผู้แสดงเครือข่าย ๘ คน
ม้าลากรถ - ผู้แสดงเครือข่าย ๒ คน
กางกลด - ไกรเศรษฐ์ สังขะเกตุ , สุรินทร์ เขียวอ่อน

ผู้แสดงฝ่ายลงกา
นางกาลอัคคี - สุกัญญา โชติทัตต์
นางกำนัล - อาภัสรา นกออก , ภาสินี ปั้นสิริ , สิริวิมล เผือกทอง , ลฎาภา เหลืองอ่อน
เสนายักษ์ - ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ และผู้แสดงเครือข่าย
บรรลัยกัลป์ - สมชาย ( นิ่ม ) อยู่เกิด , ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
บริวารนาคชาย - สุทธิ ( แบงค์ ) สุทธิรักษ์ , กฤษกร ( เปิ้ล ) สืบสายพรหม , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง , ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ , ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ ( แสดง ๒ , ๖ พ.ค.), ปรเมษฐ์ มณีรัตน์ ( เฉพาะ ๙ พ.ค.), เกริกชัย ( ชาย ) ใหญ่ยิ่ง ( แสดง ๒ , ๖ พ.ค.) ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล ( เฉพาะ ๙ พ.ค.)
บริวารนาคหญิง - กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , มะลิ ศิริหลวง , หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , เอกนันท์ ( กาย )พันธุรักษ์ , พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ , สิริมา พูนทรัพย์ , ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา ( แสดง ๒ , ๖ พ.ค.), สุชาดา ( อ้อน ) ศรีสุระ ( เฉพาะ ๙ พ.ค.), จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี ( แสดง ๒ , ๖ พ.ค.), มณีรัตน์ ( เอ๋ ) บุญชู ( เฉพาะ ๙ พ.ค.)


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:13:48:49 น.  

 
ละครเรื่องสาวิตรี
พฤษภาคม – มิถุนายน – กรกฎาคม ๒๕๕๒

โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
แสดงเดือนพฤษภาคม วันอาทิตย์ที่ ๓ และ ๑๐ , เดือนมิถุนายน วันอาทิตย์ที่ ๗ , ๑๔ , เดือน กรกฎาคม วันอาทิตย์ที่ ๕ , ๑๒
เวลา ๑๔.๐๐ น. บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ บาทจำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒ หอวชิราวุธานุสรณ์ วันแสดง ( ก่อนการแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรฯ ๐๒๒๘๑๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐ ต้องการสำเนาวีดีทัศน์การแสดง ติดต่อกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแสดง ๐-๒๒๒๔-๑๓๗๙ ต่อ ๒๐๗

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี หรือ ศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ถ.สุพรรณบุรี - ชัยนาท ( ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ) ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๓๕๕๓-๕๑๑๖ นาย สุเทพ ( แดง ) แก้วดวงใหญ่ หัวหน้าโรงละครฯ
แสดงวันเสาร์ที่ ๖ , ๑๓ และ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.บัตรราคา ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา )

โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา //www.korattheatre.go.th/หน้าหลัก.html webmaster : yongvirun@yahoo.co.th
๔๔๔ ม.๑๐ ถ.มิตรภาพ ( ก.ม.๒๔๒ ) ต.โคกกรวด อ.เมือง ฯ จ.นครราชสีมา๓๐๒๘๐( ก่อนถึงตัวเมือง ๑๕ ก.ม. )
โทรฯ ๐-๔๔๒๙-๑๐๓๑ ดูแผนที่โรงละคร //www.pointthailand.com/scripts/viewmap.asp?ABTID=2&nBIZID=652655&nMEMID=26395
นาย นิรันดร์ ใจชนะ หัวหน้าโรงละครฯ
แสดงวันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๓๐ น. บัตรราคา ๑๐๐ บาท ๘๐ บาท ๖๐ บาท ๔๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบเข้าชมเป็นหมู่คณะลดครึ่งราคา )

พระยม – ปกรณ์ ( ต๋อง ) วิชิต
ท้าวทยุมัตเสน – วัชรวัน ( หนู ) ธนะพัฒน์
พระนางไสพยา – เยาวลักษณ์ ( เปิ้ล ) ปาลกะวงศ์ ณ.อยุธยา
พระสัตยวาน – ฉันทวัฒน์ ชูแหวน
นางสาวิตรี – พิมพ์รัตน์ ( กล้วย ) นะวะศิริ
ปราณ ( ดวงวิญญาณ ) – ด.ญ. นวพร ( ออย ) ทองคำ
อำมาตย์ – ประสิทธิ์ คมภักดี
พราหมณ์ชาย-หญิง ( ระบำ ) – ปรัชญา ( ก๊อบ ) ชัยเทศ ( ภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล แทน ๑๐ พ.ค. ) – กษมา ( กิ๊ก ) ทองอร่าม , วัลลภ ( แนน ) พรพิสุทธิ์ – เอกนันท์ ( กาย ) พันธุรักษ์ , พงษ์ศักดิ์ บุญล้น – รจนา ( โป้ง ) ทับทิมศรี ( อาภัสรา นกออก แทน ๑๐ พ.ค. ) ศราวุธ ( เก่ง ) อารมณ์ชื่น – จุฑามาศ ( ปู ) สกุลณี ( ภาสินี ปั้นสิริ แทน ๑๐ พ.ค.)
พราหมณ์ชาย-หญิง - เสฏฐวุฒิ ( กอลฟ์ ) ชาวห้วยหมาก ( บวรเดช ประหุน แทน ๑๐ พ.ค.) – หนึ่งนุช สุวรรณนารัญ , ดำริ ( หน่อย ) กิตติพงษ์ – มะลิ ศิริหลวง , เสกสม ( ตั้น ) พานทอง – ภวินี ( จักจั่น ) เดชสุภา , ธรรมนูญ ( นก ) แรงไม่ลด – พรทิพย์ ทองคำ ( ลฎาภา เหลืองอ่อน แทน ๑๐ พ.ค.)
ทหารติดตามอำมาตย์ – ศุภชัย ( กุ้ง ) อินสว่าง , เอกภชิต ( ดิ๋ว ) วงศ์สิปปกร

กำกับการแสดง – สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธ์สังข์ ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต ( ผู้เคยมีชื่อเสียงเป็นที่แพร่หลายอย่างมากจากรับบทเป็นพระยมของกรมศิลปากรในอดีต )
ช่วยกำกับการแสดง – ธนันดา มณีฉาย , สมรักษ์ ( อ๋อย ) นาคปลื้ม , แพรวดาว ( อ้อย ) พรหมรักษา , ฤทธิเทพ ( เอ้ ) เถาว์หิรัญ
อำนวยการฝึกซ้อม - ราฆพ ( เทอด ) โพธิเวส ศิลปินแห่งชาติ , จตุพร ( ต้อย ) รัตนวราหะ เรณู จีนเจริญ , รัจนา ( เล็ก ) พวงประยงค์ , พงษ์พิศ ( แตม ) จารุจินดา , สุดจิตต์ ( ตี๋ ) พันธุ์สังข์
ช่วยอำนวยการฝึกซ้อม – ปกรณ์ พรพิสุทธิ์
บอกบท – วีระพงษ์ ( อั๋น ) ดรละคร , วิริทธิพล ( ตู่ ) พงศ์สุภาชิยทัศ
ประสานงาน – สลักใจ ( น้อยหน่า ) เปลี่ยนไพโรจน์
ช่วยประสานงาน – สุวรรณี สุเสวี
หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ – สุรเชษฐ์ ( หมึก ) เฟื่องฟู


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:13:53:59 น.  

 
//www.newswit.com/news/2009-05-04/06cf412672db7497a1dd1c0a6e8f0765/
5 พ.ค.นี้ กทม.จัดกิจกรรมยิ่งใหญ่เฉลิมพระเกียรติในโอกาสเข้าสู่ปีที่ 60 แห่งการบรมราชาภิเษก พ.ศ.2553
Monday, 4 May 2009 11:21 -- ทั่วไป
กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--กทม.

กทม.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าสู่ปีที่ 60 แห่งการบรมราชาภิเษก พ.ศ.2553 อย่างยิ่งใหญ่ พบกิจกรรมบันเทิงหลากหลายจากศิลปินชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย ที่บริเวณเวทีสะพานผ่านฟ้าและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมงานเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ ตั้งแต่ห้าโมงเย็นถึงเที่ยงคืน

ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าสู่ปีที่ 60 แห่งการบรมราชาภิเษก พ.ศ.2553 ในวันที่ 5 พ.ค.52 ณ บริเวณลานพระราชวังดุสิต ถนนราชดำเนิน และท้องสนามหลวง ว่าภายในงานประกอบด้วยเวทีการแสดงรวมทั้งสิ้น 9 เวที

ซึ่งกรุงเทพมหานครได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงมหรสพเฉลิมพระเกียรติ ณ เวทีจุดที่ 6 บริเวณแยกผ่านฟ้าและบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม และจังหวัดนนทบุรี โดยเตรียมกิจกรรมบันเทิงหลากหลายรูปแบบ อาทิ การจัดฉายภาพยนตร์จอยักษ์ โดยนำภาพยนตร์ชื่อดังทั้งไทยและต่างประเทศจัดหมุนเวียนฉายให้ประชาชนได้รับชมตลอดทั้งคืน สนุกสนานไปกับสวนสนุกขนาดใหญ่ในบรรยากาศย้อนยุค พร้อมการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินลูกทุ่งชื่อดัง ได้แก่ บ่าววี หลวงไก่ บิว กัลยาณี และกระแต การแสดงตลกคณะเจี๊ยบ เชิญยิ้ม การแสดงลูกทุ่งอีสาน โดย พีสะเดิด การแสดงลิเกคอนเสิร์ต โดยคณะไชยา มิตรชัย การแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง ได้แก่ มาช่า ใหม่ เจริญปุระ คริสติน่า ไอซ์ ศรัณยู การแสดงคอนเสิร์ตดนตรีเพื่อชีวิต โดยวงแฮมเมอร์ และปิดท้ายด้วยการแสดงคอนเสิร์ตพิณแคนแดนอีสาน โดย ศิริพร อำไพพงษ์ ซึ่งการแสดงทุกรายการจะจัดขึ้น ณ เวทีบริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เริ่มตั้งแต่เวลาห้าโมงเย็นจนถึงเที่ยงคืน

สำหรับพี่น้องประชาชนที่ชื่นชอบการแสดงศิลปวัฒนธรรม สามารถรับชมกิจกรรมการแสดงเพลงพื้นบ้าน การรำถวายพระพร การแสดงโขนรามเกียรติ์ ชุด รามราชจักรี การบรรเลงและขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร และการขับร้องเพลงปลุกใจ รักชาติ โดยศิลปินชั้นแนวหน้าของเมืองไทย อาทิ คุณสันติ ลุนเผ่ คุณวสุ แสงสิงแก้ว คุณชาย เมืองสิงห์ ที่เวทีการแสดงบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เริ่มตั้งแต่เวลาหกโมงเย็นเป็นต้นไป

ในส่วนของการอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชนที่จะมาร่วมชมงาน กรุงเทพมหานครได้จัดบริการรถสุขาเคลื่อนที่ ติดตั้งแท็งค์น้ำดื่ม จัดหน่วยแพทย์และพยาบาลเคลื่อนที่ไว้คอยบริการในจุดต่างๆ ทั่วบริเวณการจัดงาน พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจไว้คอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยด้วยกล้อง CCTV ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากท่านที่จะมาร่วมกิจกรรมได้โปรดเดินทางมาโดยรถโดยสารสาธารณะ เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัด

ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความจงรักภักดีถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงให้ประชาชนได้พักผ่อน หย่อนใจ คลายความตึงเครียดจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากกิจกรรมบันเทิงต่างๆ แล้ว ยังมีการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์โอทอปของกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรีที่น่าสนใจกว่า 100 รายการอีกด้วย กรุงเทพมหานครจึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยเข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 4 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:39:22 น.  

 
รายการแสดงคอนเสิร์ต “เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ ๖๐ แห่งการบรมราชาภิเษก”
ในวันอังคารที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๒๒.๐๐ – ๒๔.๐๐ น. ณ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี

ภาคแรก การบรรเลงและขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ( Royal Composition ) โดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ( Thai National Symphony Orchestra ) ประกอบด้วย

๑. พระราชนิพนธ์ King’s Music Medley บรรเลง
๒. พระราชนิพนธ์ แสงเทียน (Candlelight Blues) ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓. พระราชนิพนธ์ เทวาพาคู่ฝัน (Dream of love dream of you) วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๔. พระราชนิพนธ์ สายฝน (Falling Rain) ดวงดาว เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๕. พระราชนิพนธ์ อาทิตย์อับแสง (Blue day) กนกนาถ ( ตุ่ม ) ญาณฤทธิ์ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๖. พระราชนิพนธ์ แก้วตาขวัญใจ (Love light in my heart ) วาณี จูฑังคะ
๗. พระราชนิพนธ์ แสงเดือน (Magic beams) กนกนาถ ( ตุ่ม ) ญาณฤทธิ์
๘. พระราชนิพนธ์ Oh I Say สุรพัฒน์ โสภณวิมลรุจน์ (ชูก้าน) คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๙. พระราชนิพนธ์ รัก (Love) วสุ แสงสิงแก้ว

ภาคที่ ๒ การบรรเลงและขับร้องเพลงรักชาติ และเพลงยอดนิยม ประกอบด้วย

๑. เพลงศรีอยุธยา วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขับร้องนำหมู่
๒. เพลงอธิษฐาน วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๓. เพลงภาพเธอ ดวงดาว ( แนน ) เถาว์หิรัญ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๔. เพลงเดิน ขับร้องหมู่
๕. เพลงใต้ร่มธงไทย ขับร้องหมู่
๖. เพลงรักชาติ ขับร้องหมู่
๗. เพลงเลือดไทย วาณี จูฑังคะ คีตศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขับร้องนำหมู่
๘. เพลง Teddy Bear วสุ แสงสิงแก้ว
๙. เพลง It now or never วสุ แสงสิงแก้ว
๑๐. เพลงหนึ่งในโลก ชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ
๑๑. เพลงพ่อหลวง ชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ
๑๒. เพลงทำบุญร่วมชาติ ชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ
๑๓. เพลงจ้ำม่ำ ชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ
๑๔. เพลงทหารพระนเรศวร สันติ ลุนเผ่
๑๕. เพลงเราเผ่าไทย สันติ ลุนเผ่
๑๖. เพลงเราสู้ สันติ ลุนเผ่
๑๗. เพลงถามคนไทย สันติ ลุนเผ่
๑๘. เพลงกล่อมแม่ ปาน ธนพร แวกประยูร
๑๙. เพลงสยามเมืองยิ้ม ปาน ธนพร แวกประยูร
๒๐. เพลงเทพธิดาผ้าซิ่น พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด
๒๑. เพลงใต้ถุนธรณี พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด
๒๒. เพลงเทพธิดาผ้าซิ่น พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 4 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:43:27 น.  

 
ฟรี

กระทรวงวัฒนธรรม โดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย หรือ สศร. จัดงานใหญ่กลางกรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่องานนี้ ว่า "บางกอก...กล๊วย..กล้วย!!" หรือ Bangkok-Bananas!! เป็นงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรม ที่จัดขึ้นที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สศร.ทุ่มเทใจเนรมิตพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหา นครให้กลายมาเป็น "ถนนสายวัฒนธรรม" ที่จะจัดแสดงงานดังกล่าว โดยเริ่มตั้งแต่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เรื่อยมาสยามดิสคัฟเวอรี่ ไปจนถึงหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ มหานครเลย

ดูรายละเอียดต่างๆที่
//bangkok-bananas.blogspot.com/


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 4 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:01:14 น.  

 
ฟรี

//www.culture.go.th/www/th/news_detail.php?id=304
สวช.ขอเชิญชมการแสดงดนตรีคลาสสิกน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ


นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เปิดเผยว่า “สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ (สวช.) ร่วมกับ วงดุริยางค์เยาวชนไทยในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (TYO) กำหนดจะจัด การแสดงคอนเสิร์ต “กัลยาณิวัฒนาคารวาลัย” ครั้งที่ ๒ ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ อันเป็นเดือนประสูติของพระองค์ท่าน โดยจะจัดแสดงจำนวน ๒ รอบ คือ รอบ ๑๔.๐๐ น. (รอบซ้อมใหญ่) และรอบ ๑๙.๐๐ น. (รอบแสดง) ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมทั้งแสดงความสำนึกในพระกรุณาธิคุณ อีกทั้งเผยแพร่พระเกียรติคุณในฐานะที่พระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อเยาวชนไทยและศิลปินดนตรีคลาสสิกอย่างใหญ่หลวง

สำหรับบทเพลงที่จะบรรเลงในการแสดงคอนเสิร์ต “กัลยาณิวัฒนาคารวาลัย” ครั้งที่ ๒ นี้ ได้แก่เพลง Symphony No.9 in E minor From the New World op.95 ประพันธ์โดย Antonin Dvorak , เพลงPavane ประพันธ์โดย Gabricl Faure และเพลง Peter and the Wolf op.67 (A Symphonic Tale for Children) ประพันธ์โดย Serge Prokofieff

จึงขอเชิญชวนเยาวชน และประชาชนชาวไทยได้เข้าร่วมชมการแสดงคอนเสิร์ตฯ ในครั้งนี้ เพื่อร่วมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณในการอุทิศพระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการ โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในประเทศไทย อีกทั้งได้ร่วมเป็นกำลังใจพร้อมชื่นชมในความสามารถของเยาวชนจากวงดุริยางค์เยาวชนไทยที่ได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาในด้านดนตรีคลาสสิกอันเป็นศิลปวัฒนธรรมสากลที่แพร่หลายทั่วโลกอย่างจริงจังและกว้างขวางต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. ๐๒ ๒๔๗ ๐๐๒๘ ต่อ ๔๑๑๙

อนึ่ง สวช. ได้ถวายวงดุริยางค์เยาวชนไทย ให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ฯ ในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ขณะ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทอดพระเนตรการแสดงคอนเสิร์ต “สองทศวรรษวงดุริยางค์เยาวชนไทย” ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยพระองค์ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ฯ เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๙ และประทานพระอนุญาตให้นักดนตรีวงดุริยางค์เยาวชนไทยเข้าเฝ้าถวายตัว เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อันเป็นความภาคภูมิใจและเกียรติคุณอันสูงยิ่งของนักดนตรีวงดุริยางค์เยาวชนไทย
การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ยังความโศกเศร้าอาลัย มาสู่นักดนตรีวงดุริยางค์เยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน ด้วยความสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สวช.จึงได้จัดการแสดงคอนเสิร์ต “กัลยาณิวัฒนาคารวาลัย” ขึ้น เพื่อให้เป็นกิจกรรมที่รำลึกถึงพระกรุณาธิคุณอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยได้จัดการแสดงในครั้งที่ ๑ ไปแล้วเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๑ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 4 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:03:17 น.  

 
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ภูมิใจนำเสนอ
Colors of the wind instrument
การบรรเลงของกลุ่มเครื่องลม หลากหลายรูปแบบ ทั้ง classic ,pop,jazz

พร้อมด้วยการขับร้องของศิลปินคุณภาพมากมาย อาทิ
วาณี จูฑังคะ , กนกนาถ ญาณฤทธิ์ , ดวงดาว เถาว์หิรัญ , สุรพัฒน์ ชูก้าน
ทรงพล เอี่ยมสะอาด , รัศมี เทพกิจ ฯลฯ
ควบคุมโดย ภัทราวุธ พันธุ์พุทธพงษ์

โปรแกรมเพลง
Petite symphony fanfare from “la peri”
What a wonderful world , fly me to the moon , sway
You light up my life ,greatest love of all
เขมรไทรโยค ลาวดวงเดือน ฯลฯ

วันเสาร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ โรงละครศรีอยุธยา หอวชิราวุธานุสรณ์
ในหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดท่าวาสุกรี ) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
บัตรราคา ๑๐๐ , ๘๐ บาท ( นักเรียนนักศึกษา ลดครึ่งราคา )
จำหน่ายบัตรก่อนวันแสดง ๑ สัปดาห์ สอบถามและสำรองที่นั่ง คุณ ประทุม นพปิยะ
โรงละครแห่งชาติ ถ.ราชินี โทรฯ ๐-๒๒๒๔-๑๓๔๒ , ๐-๒๒๒๒-๑๐๙๒
หอวชิราวุธานุสรณ์ วันแสดง ( ก่อนเวลาจัดแสดง ๒ ชั่วโมง ) โทรฯ ๐-๒๒๘๑-๕๒๑๒ ต่อ ๔๐๐

ดูแผนที่หอสมุดแห่งชาติ //www.nlt.go.th/th_map.htm
ดูแผนผังหอสมุดแห่งชาติ //www.nlt.go.th/th_plan.htm
ดูสถานที่ตั้ง หอวชิราวุธานุสรณ์ //www.nlt.go.th/vajiravudh/hp1-6.html

รถประจำทางที่ผ่าน ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕

รถประจำทางปรับอากาศ ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 4 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:22:57 น.  

 
ฟรี

ขอเชิญร่วมฟังเพลงไทยสากลอมตะและเพลงเก่า "เพลิน เพลิน " ครั้งที่ ๒๕
วันเสาร์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น.
ณ.หอประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ( ด้านข้างติดหอวชิราวุธานุสรณ์) ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
จองบัตรที่นั่งได้ที่ คุณ สุวณี ๐๒-๙๕๒-๐๔๕๘ , ๐๘๙-๔๘๘-๖๗๖๙
ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ดูแผนที่หอสมุดแห่งชาติ //www.nlt.go.th/th_map.htm ดูแผนผังหอสมุดแห่งชาติ //www.nlt.go.th/th_plan.htm
รถประจำทางที่ผ่าน สาย ๓, ๙,๑๖,๓๐,๓๒,๓๓,๔๙,๖๔,๖๕ รถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.๕,ปอ.๖,ปอ.๑๖,ปอ.๔๙


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 4 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:38:33 น.  

 
//www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pra01060552§ionid=0131&day=2009-05-06

วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11379 มติชนรายวัน

ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ช่างขับเสภาหนึ่งเดียวในแผ่นดิน กับ..วันวานที่กำลังผ่านเลย
โดย ชมพูนุท นำภา

สุจิตต์ วงษ์เทศ ให้ฉายาชายวัยสูงอายุ 74 ปี ผู้นี้ที่ปัจจุบันกำลังนอนพักรักษาตัว ที่โรงพยาบาลศิริราช ว่า "ช่างขับคำหอม" ซึ่งหมายถึงร้องเพลงไทยเดิมและขับเสภาได้ไพเราะเสนาะหู

ชายวัย 74 ปี ผู้นี้ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น "ครูแจ้ง คล้ายสีทอง" ปรมาจารย์ศิลปินแห่งชาติคนเดียวในแผ่นดิน ที่มีน้ำเสียงเป็นเลิศยากจะหาใครเทียมในการขับเสภา

"ครูแจ้งกำลังนอนป่วยด้วยอาการเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ซึ่งมีผลทำให้เป็นอัมพฤกษ์ครึ่งตัวทางซีกซ้าย แขน และขาด้านซ้ายไม่สามารถขยับได้ อีกทั้งยังพูดจาไม่ชัดเช่นแต่ก่อน"

หนแรกครูแจ้งเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี จากนั้นได้ย้ายเข้ามารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ โดยมี "ป้าบุญนะ คล้ายสีทอง" ภรรยาคู่ชีวิตวัย 67 ปี ทำหน้าที่เฝ้าไข้ด้วยความห่วงใย

สภาพร่างกายของครูแจ้งผ่ายผอมผิดหูผิดตา-ผิดจากคราก่อนที่เคยไปนั่งสนทนาข้างบ้านริมน้ำ จ.สุพรรณฯ และครูเมตตาขับเสภาให้ฟังเป็นบุญหู

มาวันนี้เสียงของครู..เกือบจะไม่มีให้ฟังอีกแล้ว เพราะโรคร้ายที่คุกคาม

ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก แม้จะยังยิ้มแย้มอารมณ์ดีพูดเล่นพูดหัวกับลูกหลาน แต่ก็เป็นที่รับรู้ว่าลึกๆ ลงไปในใจของป้าบุญนะนั้น คือทุกข์แสนสาหัส

ป้าบุญนะเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟังว่า เมื่อสองเดือนก่อนหน้าจะเข้าโรงพยาบาล ระหว่างกลับจากไปสอนที่วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี กำลังจะไปเยี่ยมลูกสาวที่เพิ่งคลอด ที่โรงพยาบาลสองพี่น้องครูแจ้งได้ขับรถยนต์ไปด้วยตัวเอง อยู่ๆ ก็เกิดอาการผิดปกติ ปากเบี้ยว ตาเหลือกไปข้างบนเท้าเหยียบคลัตช์รถไม่ได้

"รู้สึกตกใจมาก ก็ถามครูว่าขับไหวไหม ครูบอกว่ายังไหว จึงขับลากยาวไปถึงโรงพยาบาลสองพี่น้อง พอไปถึงก็เอาขาลงจากรถไม่ได้ หาที่จอดรถก็กึกกักๆ เลยให้พยาบาลเอารถเข็นมารับตัว หมอเช็คความดันขึ้นสูงมาก 400 กว่า จึงบอกให้กลับบ้านให้เอายาไปกิน ซึ่งรู้สึกงงมากที่หมอให้กลับบ้าน แต่ก็กลับ แต่พอมาถึงบ้านก็คิดได้ว่าครูแจ้งเดินไม่ได้ จึงต้องพาย้อนกลับไปโรงพยาบาลอีกครั้ง เจอหมอคนใหม่ ก็เลยได้เอาตัวไว้ และตรวจเช็คสมอง ปรากฏว่า เส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลัน จึงต้องรักษาตัวอยู่ชั่วคราว แต่อาการไม่ดีขึ้น ต่อมาได้ติดต่อโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งก็ได้รับตัวเข้าไว้เป็นคนไข้"

ครูแจ้งขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี

"ป้าบุญนะบอกว่า ถึงบัดนี้ครูแจ้งยังรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชมาได้สองเดือนกว่าแล้ว และต้องทำกายภาพบำบัดควบคู่กับการกินยา ซึ่งถือว่าค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนหนักพอสมควร"

"ตอนนี้เงินเดือนครูแจ้งในแต่ละเดือนรวมๆ แล้วเหลือประมาณ 10,000 กว่าบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาตกเดือนละ 40,000 บาท และมูลนิธิ สวช.ให้เบิกได้ครึ่งเดียว ซึ่งก็ยังไม่พอ ทำให้ลำบากอยู่เหมือนกัน ดังนั้น จึงคิดว่าซีดีที่ได้จัดทำไว้แล้วนั้นจะสามารถนำมาช่วยเหลือในครั้งนี้ได้ เพราะครูต้องรักษาตัวอีกนาน"

"ซีดีที่ป้าบุญนะพูดถึง ก็คือซีดีชุดสื่อการเรียนการสอน อนุรักษ์เพลงไทย และชุดวรรณคดี"

"เรื่องนี้ป้าคาดไว้แล้วตั้งแต่ต้นว่าจะเกิดขึ้น จึงบอกครูแจ้งว่าให้ทำซีดีอนุรักษ์เสียงร้องไว้ เพราะต่อไปเผื่อครูเป็นอะไรไป ร้องไม่ได้ จะได้มีสืบทอดไว้ให้เด็กรุ่นหลังฟัง ว่าการขับเสภานั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการร้องของครูแจ้งมีเอกลักษณ์ ไม่มีใครเหมือน ป้าคิดว่าเสียงครูแจ้งก็เป็นสมบัติของชาติด้วย ถ้าไม่อนุรักษ์ไว้ต่อไปคนรุ่นหลังก็จะไม่รู้จัก..

"..แล้วเพลงไทยก็มีประโยชน์หลายอย่าง เป็นการกล่อมเกลาจิตใจเด็ก ทำให้อารมณ์ดี รักเพลงไทย แล้วการขับเสภาของครูแจ้งจะขับตามอารมณ์ของบทนั้นๆ และเข้าถึงลึกซึ้ง ถ้าครูแจ้งไปร้องโขน หรือ ละคร ตัวละครก็จะรำได้อารมณ์ลึกซึ้งมากตามเสียงร้องของครู" เสียงป้าบุญนะยังบอกเล่าเรื่อยๆ

ภรรยาครูแจ้งบอกอีกว่า หลังจากจบการแสดงแล้วนักแสดงจะมาไหว้ขอบคุณครูแจ้งทุกครั้ง เพราะครูร้องเข้าถึงบททำให้พวกเขารำได้ตามอารมณ์

"มีครูที่เล่นเป็นตัวทศกัณฐ์ ชื่อเล่น ครูต้อย จะบอก "แจ้ง วันนี้แกร้องให้ฉันรำนะ.." แบบนี้ทุกครั้งที่เขาจะเล่นเป็นตัวไหน ก็จะมาบอกให้ครูแจ้งร้อง เพราะถ้าครูร้องแล้วคนฟังเคลิบเคลิ้มไปด้วย ครูแจ้งเขามีพรสวรรค์สมกับที่เป็นศิลปินแห่งชาติ" รอยยิ้มของป้าบุญนะปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก

ป้ายังรำลึกความหลังให้ฟังอีก ว่า "เพลงลาวดวงเดือน" กับ "ตับลาวเจริญศรี" เป็นเพลงที่ครูแจ้งเคยร้องถวาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระตำหนักสิริยาลัยริมน้ำ จ.พระนครศรีอยุธยา

"สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงโปรดมาก แล้ววันนั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็เสด็จฯ ด้วย ท่านทรงยืนมองมาที่ครูแจ้งแล้วรับสั่งว่าทำไมครูร้องเพราะจังเลย แล้วก็รับสั่งให้ครูแจ้งเข้าไปที่วังนนทบุรี โปรดให้ร้องเพลงปี่แก้วน้อย โฉมเฉลา ซึ่งเป็นเพลงไทยเดิม ตอนหลัง ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ นำมาประยุกต์"

ป้าบุญนะเล่าถึงตรงนี้ ครูแจ้งซึ่งนอนอยู่ที่เตียงก็สวมวิญญาณศิลปิน ร้องแทรกขึ้นมา แม้น้ำเสียงจะไม่ชัด แต่ครูแจ้งก็จำเนื้อร้องได้แม่นยำ

"โฉมเฉลาเยาวภาอย่าเฉลียว พี่เคยเที่ยวเจนจิตทุกทิศา ไม่เคยพบนารีที่ต้องตา ได้พบเจ้ากัลยาจึงซ่านรัก พี่ขอยื่นคำขาดในชาตินี้ จะไม่มีผู้หญิงอื่นให้เสียศักดิ์ แม้นวลน้องไม่ปองปรองดองรัก ก็เชิญชักดาบฟันให้บรรลัย"

สิ้นเสียงร้องเสียงแหบพร่าก็พูดขึ้นว่า "ตอนนี้เสียงฉันแห้ง เสียงหายไป..ไม่มีแรง แขนซ้ายขยับไม่ค่อยได้ ขาข้างซ้ายก็ไม่มีแรง แต่ถ้าหายแล้วฉันจะไปขับเสภาอีก.." น้ำเสียงอ่อนเพลียของครูแจ้ง

ป้าบุญนะกล่าวขึ้นอีกครั้งหลังครูแจ้งพูดจบว่า ความจำของครูยังดีและมีอารมณ์ขันอยู่เสมอ ชอบเล่าเรื่องตลกๆ เวลาฝึกพูดกายภาพบำบัดทำให้กลายเป็นขวัญใจของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล

สำหรับซีดีสื่อการเรียนการสอนของครูแจ้ง ป้าบุญนะอธิบายเพิ่มเติมว่า อัดไว้หลายปีแล้วตั้งแต่ตอนอายุประมาณ 60 ปี เป็นการอ่านทำนองเสนาะ และ ขับเสภา

"เด็กสมัยนี้มันร้องไม่เป็นรส ร้องไม่เพราะแล้ว หลายเพลงที่ฉันร้องถวายเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน อย่าง เพลงตับลาวเจริญศรี ไม่มีใครร้องได้เหมือนฉัน เพราะฉันต่อจากครูแช่มช้อย ดุริยพันธุ์ เรื่องที่ชอบขับเสภามากที่สุดก็ขุนช้างขุนแผน คงเพราะเป็น จ.สุพรรณด้วยมั้ง" เสียงแหบพร่าของครูแจ้งแทรกขึ้นอีก

" ครูแจ้งบอกอีกว่า สิ่งที่เป็นห่วงที่สุด คือกลัวว่าการขับเสภาจะหายไปจากชาติ เพราะเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ไม่ศึกษาบทกลอนให้ละเอียด เอาแต่ขับเรื่อยเปื่อยไป ขับเสภากันอย่างไม่รู้ว่าความหมายของคำ ไม่รู้อารมณ์กลอน"

"ไม่เหมือนสมัยก่อน ม.ล.ปิ่น มาลากุล เคยบอกว่า ต้องขับยังงั้นยังงี้ ท่านสอนดีมาก นั่งกินข้าวก็สอน เสภามันต้องเรียน แต่ตอนนี้มันจะไม่มีครูให้เรียนหาคนสืบทอดลำบาก"

เสียงป้าบุญนะเสริมขึ้นว่า "อยากฝากกับครูอาจารย์ภาษาไทยทั่วประเทศที่เคยรู้จักครูแจ้ง ได้ยินเสียงครูแจ้ง ว่าตอนนี้ครูแจ้งไม่สามารถที่จะร้องเพลงได้เหมือนเดิม ไม่สามารถเป็นวิทยากรครูภาษาไทยได้เหมือนเดิม ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะหาย จึงอยากให้ช่วยอนุรักษ์เสียงครูเอาไว้เพื่อเป็นการศึกษา สืบทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้

""เพราะเสียงครูแจ้งนั้นหาไม่ได้อีกแล้วในแผ่นดิน""

ซีดีเสียงครูแจ้ง คล้ายสีทอง

สื่อการเรียนการสอนทรงคุณค่า

เป็นซีดีที่ป้าบุญนะจัดทำไว้ตั้งแต่ตอนที่ครูแจ้งยังสบายดี โดยจัดทำขึ้น 2 ชุด รวม 18 แผ่น

เป็นชุดสื่อการเรียนการสอน และชุดวรรณคดี

สำหรับชุดสื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย ชุดขับร้องเพลงไทย ระดับประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 5 แผ่น

ชุดอ่านทำนองเสนาะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 แผ่น ชุดวรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 แผ่น และชุดขับเสภา ทุกระดับชั้นจำนวน 1 แผ่น

ส่วนชุดวรรณคดี 8 แผ่น ประกอบด้วย ลาวดวงเดือน, ตับลาวเจริญศรี, เห่เรือ, ขับเสภาตอนขึ้นเรือนขุนช้าง, พาลีสอนน้อง, ตับวิวาห์พระสมุทร, เครื่องสายปี่ชวา และ เพลงปี่พระอภัยมณี

กระบวนการอัดทั้งหมด เป็นการอัดอย่างพิถีพิถันที่ห้องอัดครูทินกร ไกรลาศ โดยมีนักร้อง และ นักดนตรีของกรมศิลปากรทั้งหมด

ราคาจำหน่ายแผ่นละ 120 บาท รายได้จากการจำหน่ายซีดีนี้ ถือเป็นอีกทางหนึ่งที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวครูแจ้ง ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก

จึงขอแรงช่วยกันสนุบสนุนซีดีของศิลปินแห่งชาติหนึ่งเดียวในการขับเสภา

สอบถามรายละเอียดการซื้อหาและจำหน่ายที่ ป้าบุญนะ คล้ายสีทอง โทร.08-1299-6638, 08-3032-8302 หรือสามารถซื้อได้ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จ.นครปฐม

และที่ คณะหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ สวนลุมไนท์ บาร์ซาร์


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 6 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:43:11 น.  

 
เสาร์ ๒๓ - อาทิตย์ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒
งานสมโภชพระอารามหลวงวัดยานนาวา ครบ ๒๔๐ ปี
พิธีทำบุญอดีตเจ้าอาวาสและบุพการีวัดยานนาวา
พิธีมอบทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณร นักเรียน นิสิต และนักศึกษา
และ
งานทำบุญอายุวัฒนมงคล ๖ รอบ ๗๒ ปี
พระพรหมวชิรญาณ
กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา
ณ อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
วันที่ ๒๔ มีโขนของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ตอน จองถนน
และ ดร.ศุภชัย ( น้อย ) จันทร์สุวรรณ์ จะไปรำอวยพรตอน ๑๘.๐๐ น.


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 19 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:42:58 น.  

 
//www.thaiticketmajor.com/performance/khon_phrommas.php

การแสดงโขน ชุดพรหมาศ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก, ห้วยขวาง

รอบการแสดงทั้งหมด : 5 รอบ
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2552 เวลาแสดง19.30 น.
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2552 เวลาแสดง14.00 น. และ 19.30 น.
วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552 เวลาแสดง14.00 น. และ 19.30 น.
ดนตรีประกอบการแสดงเล่นสลับดนตรีไทยและวงโยธวาทิตคนละวัน

ประตูเปิดก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
จำหน่ายบัตรทางไทยทิกเก็ตเมเจอร์ตั้งแต่ วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2552 ถึงวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552

บัตรราคา 800 บาท600 บาท 400 บาท 200 บาท
หมายเหตุ : พิเศษ!!ส่วนลดสำหรับนักเรียนนักศึกษา(ถึงปริญญาเอก) รับส่วนลดเฉพาะบัตรราคา 200 (ชั้น 2) ลดเหลือ 100 บาท ไม่จำกัดจำนวน...


โดย: อัญชลี IP: 203.131.217.36 วันที่: 19 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:17:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หญ้าหนวดแมว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






ก็เป็นแบบนี้ล่ะ ง่ายๆ สบายๆ อะไรก็ได้bgจิ๊กมาจากคุณนุทศรีค่ะ ส่วนบล็อกข้างไม่มีกรอบ ตัวหนังสือหล่นจากคุณRobotoon ค่ะ และเคล็ดวิชาอื่นๆจากคุณรำเพยและป้ามดค่ะ
Friends' blogs
[Add หญ้าหนวดแมว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.