Golfer & Eat Out Zone.ออกรอบ ตามไปชิม
ปล.แวะมาเยี่ยมแล้วช่วยลง Comment ให้ด้วยครับ
ด้วยความเคารพ

+++++++++++++++++++++++++++

คติธรรมจากหลวงพ่อจรัญ ฐิตธฺมโม วัดอัมพวัน :
เชื่อยาก สอนง่าย ไปไหนปากอย่าไว ใจอย่าเบา เรื่องเก่าอย่ารื้อฟื้น เรื่องคนอื่นอย่าเอามาคิด อย่าจับให้มั่นคั้นให้ตาย จะผิดหวังเสียใจตลอดชีวิต :



http://yaipearn.multiply.com


Since Jan 18, 2005


Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
12 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 

CLASS ของพาวเวอร์แอมป์

ref: //www.carcoolclicks.com/tip/tip32.html


ในเรื่องการแบ่งคลาสของแอมป์นั้น จะแบ่งจากการไปอัดกระแสไฟให้กับทรานซิสเตอร์ ที่ทำหน้าที่ในวงจรขยายเสียง โดยจะยกตัวอย่างเพียง 4ประเภทดังนี้

1. Class A พาวเวอร์แอมป์ชนิดนี้เน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุทเข้ามาก็ตาม และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย แอมป์ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังที่เน้นรายละเอียดของเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นอัดตูมตาม

2. Class B เป็นการใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว ทำงานแบบ Push-Pull หรือ ผลัก ดัน ช่วยกันทำงานคนละครึ่งทาง และจะไม่มีการป้อนกระแสไฟล่วงหน้า ซึ่งมีข้อดีคือเครื่องไม่ร้อน แต่ข้อเสียกลับมากกว่าเพราะความผิดเพี้ยนสูงมาก เสียงจึงไม่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันแอมป์ คลาสนี้คงจะไม่มีแล้ว

3. Class AB เป็นการรวมตัวกันของแอมป์ทั้ง 2คลาสที่กล่าวมา คือใช้ทรานซิสเตอร์ 2ตัว แต่จะมีการป้อนกระแสไฟปริมาณตํ่าๆเอาไว้ล่วงหน้าอยู่ตลอดแต่จะไม่มากเท่าคลาส A และการจัดวงจรก็ใช้แบบ Push-Pull เหมือนคลาส B จึงทำให้พาวเวอร์แอมป์ประเภทนี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี ถึงแม้จะไม่เท่าคลาส A แต่ได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า และเกิดความร้อนน้อยกว่า และคลาส AB นี้แหละเป็นแอมป์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงกลาง-แหลม หรือแม้แต่ซับวูเฟอร์ก็ได้

4. Class D เป็นพาวเวอร์แอมป์กำลังขับสูง เน้นหนักในเรื่องพละกำลังเพียงอย่างเดียว แอมป์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับขับซับโดยเฉพาะ เหมาะกับพวกที่ชอบฟังเพลงหนักๆ เน้นพลังเบส กระแทกแรงๆ




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2551
5 comments
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2551 11:23:28 น.
Counter : 2157 Pageviews.

 

HI-POWER เป็นระบบพื้นฐานของเครื่องเสียงรถยนต์ และเป็นระบบที่ประหยัดงบที่สุด โดยใช้ภาคขยายจากตัววิทยุ ไม่ต้องพึ่งพาพาวเวอร์แอมป์ โดยอาจจะเล่นลำโพงคู่หน้าขนาด 5-6นิ้ว ส่วนลำโพงชุดหลัง 6นิ้ว หรืออาจจะ 6x9 ก็ได้

SINGLE-AMP เป็นระบบที่ขยับต่อมาจาก HI-POWER โดยการเพิ่มแอมป์ไป 1ตัว อาจจะเป็นแอมป์ 4CH เพื่อขับลำโพงทั้ง 2คู่ หน้า-หลัง เพื่อให้เสียงที่ได้นั้นอิ่มแน่นขึ้น และมีรายละเอียดชัดเจนขึ้น

BI-AMP เป็นระบบที่นิยมสูงมากในปัจจุบัน คำว่า BI หรือ 2 ไม่ได้หมายความว่าใช้แอมป์ 2ตัวนะครับ แต่เป็นการแยกสัญญาณเสียงออกมา 2ชุด คือ กลาง/แหลม และซับวูเฟอร์ออกจากกัน โดยที่ปัจจุบันนี้สามารถใช้ครอสส์โอเวอร์ในแอมป์ตัดสัญญาณได้เลย ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอีเลคทรอนิคส์ ครอสส์โอเวอร์เหมือนสมัยก่อน

TRI-AMP เป็นระบบที่น่าปวดหัวมากพอสมควร เพราะต้องหาจุดตัดครอสส์โอเวอร์ให้ได้เหมาะสมทั้งหมด 3สัญญาณเสียง ตือ สูง/กลาง/ตํ่า แยกอิสระกันหมด แต่ต้องออกมากลมกลืน สอดคล้องกันอย่างลงตัว ซึ่งจำเป็นต้องใช้นักจูนมืออาชีพช่วยจัดการ

 

โดย: yaipearn 12 กุมภาพันธ์ 2551 13:46:07 น.  

 


เลือกแอมป์ยังไงถึงเหมาะกับลำโพง



เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผมมักจะเจอถามบ่อยๆว่าใช้ลำโพงรุ่นนี้ ใช้แอมป์อะไรดี วัตต์เท่านี้ควรใช้แบบไหน วันนี้ก็เลยเอามาพูดคุยกันสักที ถือว่าเป็นการเลือกซื้อแอมป์เบื้องต้นครับ ว่าควรจะเลือกยังไงโดยดูจากสเปกของแอมป์ได้ดังนี้

แรกเริ่มเราก็คงต้องดูก่อนนะครับว่าเราต้องการแอมป์มาทำอะไร เช่นแอมป์ 4CH จะเอามาขับลำโพง หน้า-หลัง หรือจะนำมาบริดขับซับ 2ดอกก็สามารถทำได้ หรือจะขับลำโพงคู่หน้า 1ดอก และซับ 1ดอกก็ทำได้เช่นกัน

หลักๆหลายๆคนมักข้องใจว่าควรจะเลือกวัตต์ที่เท่าไหร่ดี ซึ่งก็สามารถดูจากสเปกของแอมป์และลำโพงได้ดังนี้

1. POWER OUTPUT 75W x 4CH RMS @4Ohm หมายถึงพาวเวอร์แอมป์ตัวนี้มีกำลังขับ 75W ต่อ 1CH หรือลำโพง 1ดอก ซึ่งถ้าเรามาดูที่ สเปกลำโพง ที่มักจะมีบอกวัตต์เช่น Nom RMS : 60W และ MAX POWER : 140W หมายถึงลำโพงดอกนี้ต้องการกำลังขับแบบ RMS ที่ 60W ถึงจะทำงานได้เต็มที่ และรับกำลังขับสูงสุดได้ไม่เกิน 140W ครับ นั้นก็หมายความว่าถ้าแอมป์ 75W RMS ก็สามารถใช้กับลำโพงรุ่นนี้ได้เลย โดยที่ขับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนฟร้อนที่เราเห็น 50W x4 CH นั้น คิดเป็นวัตต์ RMS ได้ประมาณ 19W x4CH นะครับ

2. Briged Output 180W x 2CH RMS @4Ohm เป็นการบริดโดยการนำภาคขยายซีกซ้ายและขวามารวมกัน เพื่อขับลำโพงดอกเดียว นิยมใช้ในการบริดขับซับครับ โดยทั่วไปแล้วจะได้พละกำลังเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 เท่าตัวจากกำลังขับปกติ หากซับที่เราเลือกใช้นั้นมี Nom RMS สัก 100-150W ก็สามารถใช้แอมป์ 180W นี้ขับได้แต่ถ้าหาก Nom RMS นั้นสูงกว่ากำลังขับจากแอมป์ ก็ต้องหารุ่นอื่นละครับ

และสำหรับแอมป์ที่คิดจะเอามาขับซับ ควรใช้แบบมีครอสในตัวเพื่อช่วยในการปรับจูนและตัดความถี่ของซับได้ เพราะถ้าหากเอาประเภทปรับเบส ปรับแหลม มานั้น จะไม่สามารถทำอะไรได้เลยครับ

 

โดย: yaipearn 12 กุมภาพันธ์ 2551 13:46:51 น.  

 

สะกดรอยตามมาจาก zidogang ค่ะ เม้นให้แระนะ

 

โดย: JaNnY JaNe PoOh (ไก่พิซซ่าคุกกี้นมอ้วงชอบหมด ) 15 กุมภาพันธ์ 2551 14:39:48 น.  

 

ได้ความรู้ครับ ขอบคุณครับ

 

โดย: รุ่ง IP: 116.68.150.153 16 มีนาคม 2552 11:08:25 น.  

 

ได้ความรู้มากเลยจ้า

ดีคะ....เป็นกำลังใจให้ทำต่อไป

รับสองไหมคะ มีพาวเวอร์แอมป์อยู่2ตัวไม่มีที่ขาย อิอิ :-)

 

โดย: โอ๊ะโอ๋...0893001959 IP: 58.10.155.7 30 กรกฎาคม 2552 15:41:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yaipearn
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




" กอล์ฟไม่ใช่วิทยายุทธที่จะต้องซ้อมจนปางตายแล้วจึงจะเข้าถึงวิชา "
จากคุณ : ชอบแช้งค์

สวัสดี ครับ
บ้านอยุ่กรุงเทพ บางเขน
แม่คนจังหวัดน่าน พ่อคนอุทัยธานี
ผสมออกมาเป้นผม
สถานะปัจจุบัน โสด

ใหญ่
GSM mobile 089-8154670 (july 1,2006)

MSN: yaip@hotmail.com



Since: Sep 3, 2006
Friends' blogs
[Add yaipearn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.