ศัพท์การลงทุน
1.ตราสาร
หมายถึง เอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อ
ระดมเงินจากผู้ลงทุน และนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายใน
ตลาดหลักทรัพย์ฯ

2.หุ้นสามัญ (Common Stock)เป็นตราสาร
ประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุน
จากประชาชน เพื่อให้คุณได้เข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจนั้น ๆ โดยตรง
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คุณมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ มีสิทธิในการ
ลงคะแนนเสียง ร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
อาทิ การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การควบรวมกิจการ คุณจะมีสิทธิ
ออกเสียงตามสัดส่วนของหุ้นที่คุณถืออยู่ ผลตอบแทนที่คุณจะได้
โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจ กำไรจากการขายหุ้น
(ในกรณีที่ขายได้ในราคาที่สูงกว่าราคาเมื่อซื้อมา) และสิทธิในการ
จองซื้อหุ้นใหม่ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนผลตอบแทนจาก
หุ้นสามัญไม่มีความแน่นอน อาจสูง หรือต่ำ หรือขาดทุน (ในกรณี
ขายคืนได้ราคาต่ำกว่าเวลาซื้อ) ขึ้นอยู่กับผลของการดำเนินงาน
ของบริษัทนั้นๆ ตลอดจนปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ซึ่งคุณในฐานะผู้ลงทุน
จะต้องศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือพอ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ทุกครั้ง

3.หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้น
บุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณี
ที่บริษัทเลิกกิจการ หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ฯ
มีการซื้อขายกันน้อย หรือภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ
หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้ จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ
ของหุ้นสามัญ

4.ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)
เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์ ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงเวลาที่ระบุไว้ (ซึ่งราคา
จองซื้อมักจะกำหนดไว้ต่ำ หรือบางครั้งอาจได้รับหุ้นสามัญโดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่าย) ใบสำคัญแสดงสิทธิจะออกควบคู่กับการเพิ่มทุน ซึ่งเป็นเทคนิค
การตลาดของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ในการจูงใจให้ผู้ลงทุนจองซื้อหุ้น
สามัญเพิ่มทุน หุ้นบุริมสิทธิ หรือหุ้นกู้ เป็นต้นว่า ถ้าคุณซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน
วันนี้ จะได้รับใบสำคัญแสดงสิทธิฟรี หรือในราคาที่กำหนด เช่น 12 บาท
ในเวลาที่กำหนด อาจเป็นในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี ข้างหน้า

5.ใบสำคัญแสดงสิทธิระยะสั้น (Short-Term Warrant)ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดนี้จะมีอายุไม่เกิน 2 เดือน และเป็นทางเลือกหนึ่ง
ในการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น แทนการจัดสรรสิทธิในการจองซื้อหุ้น(Rights)
และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สามารถยื่นคำขอให้รับเป็นหลักทรัพย์
ประเภทที่ซื้อขายหมุนเวียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้

4.ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
(Transferable Subscription Rights : TSR)
เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่แต่ละราย
ถืออยู่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท โดย
ผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว สามารถ
โอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนอื่น ให้มี
โอกาสและทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น

5.หน่วยลงทุน (Unit Trust)
เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ในรูปของ
หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมเงินทุนจาก
ประชาชน โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะเป็นผู้บริหารกองทุนให้
ได้รับผลตอบแทนสูงสุด แล้วนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูป
ของเงินปันผล กองทุนรวมมีหลายประเภทคุณสามารถศึกษารายละเอียด
ได้ในหนังสือชี้ชวนซื้อหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุน ซึ่งจะมีการกำหนดนโยบายการลงทุนที่ชัดเจนไว้ ข้อดีของการลงทุนประเภทนี้คือ จะมีผู้
บริหารมืออาชีพดูแลเงินลงทุนแทนคุณมีการกระจายความเสี่ยงลงในหุ้น
กลุ่มต่างๆ และมีอำนาจต่อรองที่มากกว่า เพราะเป็นเงินกองทุนขนาดใหญ่
ซึ่งเป็นไปได้ยากในกรณีที่คุณลงทุนด้วยตัวเอง

6.ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
(Depository Receipt : DR)
เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดย บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด ซึ่งผู้ลงทุน
ที่ถือใบแสดงสิทธิจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของ
บริษัทจดทะเบียนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางการเงิน
(Financial Right) หรือสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (Voting Right)
ในบริษัทจดทะเบียน แต่ทั้งนี้ การออกเสียงลงคะแนน ผู้ถือใบแสดงสิทธิ
จะต้องมีสัญชาติไทยและออกเสียงลงคะแนนโดยผ่าน
บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เท่านั้น

7.ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
หรือ เอ็นวีดีอาร์ (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR)
เป็นตราสารการลงทุนที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็น
บริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้ถือ เอ็นวีดีอาร์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (Finance Benefits) ได้เสมือนการลงทุนในหุ้น
ของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเงินปันผล สิทธิในการ
จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน หรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ
(Warrant) แต่จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ของบริษัท

8.พันธบัตรภาครัฐบาล (Government Bond)
เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ เช่น พันธบัตร
รัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ออกมาจำหน่ายเพื่อระดมทุนจาก
ผู้ลงทุน และ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ออกโดยรัฐวิสาหกิจแห่งใดแห่งหนึ่ง
เช่น พันธบัตรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งออกโดย กฟผ. โดย
ผู้ถือมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ สำหรับอายุการไถ่ถอนของพันธบัตรครั้งแรกที่
ออกจำหน่าย อาจจะเป็น 1 ปีหรือมากกว่า และมีกำหนดการจ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ ปีละ 2 หรือ 4 ครั้งหรือปีละครั้ง

9.หุ้นกู้ (Corporate Debenture)
เป็นตราสารหนี้ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน เมื่อ
ผู้ลงทุนตัดสินใจซื้อหุ้นกู้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท และจะได้รับ
ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเป็นรายงวดตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด
ตลอดอายุของหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดในหุ้นกู้จะสูงหรือต่ำ ก็ขึ้นอยู่ฃกับฐานะบริษัทผู้ออกหุ้นกู้และระดับอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินในขณะที่
หุ้นกู้ออกจำหน่าย

10.หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
หุ้นกู้แปลงสภาพมีลักษณะคล้ายคลึงกับหุ้นกู้ในข้อ 10 แตกต่างกันตรง
ที่หุ้นกู้แปลงสภาพมีสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ในช่วงเวลา
อัตราและราคาที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี หุ้นประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้
รับจากราคาหุ้นสามัญเมื่อแปลงสภาพแล้ว ซึ่งจะทำกำไรได้มากกว่า
ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา

11.ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrant : DW)
เป็นตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับใบสำคัญแสดงสิทธิทั่วไป
(Warrant) โดยจะให้สิทธิแก่ผู้ถือ DW ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์
อ้างอิง (Underlying Securities) ซึ่งอาจเป็นหลักทรัพย์ (Stock) หรือ
ดัชนีหลักทรัพย์ (Index) ในราคาใช้สิทธิ อัตราการใช้สิทธิ และระยะ
เวลาใช้สิทธิที่กำหนดไว้ โดยบริษัทผู้ออก DW (Issuer) จะเป็นผู้กำหนด
ว่าจะเลือกทำการส่งมอบให้แก่ผู้ถือ DW เป็นหลักทรัพย์หรือเงินสดก็ได้

13.ฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 (SET50 Index Futures)
เป็นตราสารทางการเงินประเภทอนุพันธ์ ซึ่งมีบริษัท ตลาดอนุพันธ์
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX เป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย
SET50 Index Futures สามารถนำมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงของ
การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งยังเป็นช่องทางการลงทุนเพื่อเพิ่ม
ผลตอบแทน ทั้งในช่วงที่สภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น
หรือลดลง



Create Date : 23 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2553 14:37:43 น.
Counter : 500 Pageviews.

2 comments
  
มาเก็บสาระประโยชน์ค่ะ

ขอบคุณค่ะ
โดย: กาหยู วันที่: 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:43:47 น.
  
ขอบคุณที่แวะเวียน

งั้น ขอ Add เป็น friend blog นะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ คุณ กาหยู
โดย: ลุงซุน (loongxuun ) วันที่: 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:06:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

loongxuun
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
พฤศจิกายน 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
23 พฤศจิกายน 2553