สิ่งที่ฉันไม่เคยรู้สึก สิ่งที่ฉันไม่เคยจะนึกว่ามี แต่แล้วฉันก็พบจาก ได้พบจากเธอ เธอคนนี้ โวโว... แค่เธอก็พอ โอว..ฉันจะไม่ขอมากกว่านี้ แค่เธอก็พอ อู้วว..ฉันจะไม่ขออะไรอีก
Google
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
2 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ...ศิลปะเพื่อการยังชีพ

อาจารย์ ศิริวรรณ สมนึก อาจารย์ที่ ม.บูรพา เคยเขียนบทความไว้ใน A Day Weekly ให้คำนิยามของมนุษย์เงินเดือนว่า “ผู้ยังชีพด้วยค่าจ้าง” อืม...เห็นด้วยอย่างแรงเลยครับ จำกัดความได้ครอบคลุมเลย เกือบจะมากกว่า 80% ของประชาชนชาวไทยมีอาชีพเดียวกันคือมนุษย์เงินเดือน เช่น ร้านอาหาร มีเจ้าของร่วมกัน 5 คน มีเด็กเสิร์ฟ 40 คน มีกัปตัน 2 คน แคชเชียร์ 2 คน ผู้จัดการ 1 คน เห็นได้ว่าแม้แต่ขนาดองค์กรหน่วยเล็ก มนุษย์เงินเดือนมีถึง 45 คน แต่เจ้าของกิจการมีแค่ 5 คน ไม่ต้องพูดถึงองค์กรขนาดใหญ่เลยพนักงานกว่าแสนคน แต่เจ้าของมีไม่ถึง 10 คน

อาจารย์ศริวรรณ ยังแบ่งมนุษย์เงินเดือนไปอีกว่ามี 2 ประเภท ได้แก่

1. เป็นกลุ่มคนผู้ใช้แรงกายเป็นเครื่องยังชีพ ทำการผลิตอย่างง่าย ใช้ความรู้และทักษะง่ายๆ เช่น แบกหาม ทอผ้า ฯลฯ สังคมไทยอาจเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “กรรมกร” หรือเรียกตามภาษาวิชาแรงงานว่า คนงานปกน้ำเงิน “blue collar workers”

2.เป็นกลุ่มคนงานที่ทำงานในสำนักงาน และมักจะเป็นพวกที่ใช้แรงงานสมองมากกว่าแรงงานกาย เช่นคนทำงานที่เกี่ยวกับบัญชี วิศวกรรม สถาปัตยกรรม งานเขียน งานที่เกี่ยวกับการเงิน ราชการ ฯลฯ คนกลุ่มนี้มีหลากหลาย เราเรียกรวมๆ กันว่า คนงานปกขาว (white collar workers) ในประเทศอุตสาหกรรม มนุษย์เงินเดือนมีความสำคัญมาก พอจะแบ่งออกได้ 4 ประการ ดังนี้

ประการแรก มนุษย์เงินเดือนเป็นกำลังการผลิตหลักหรือปัจจัยการผลิตหลักของสังคม เพราะในสังคมแบบนี้ ประมาณร้อยละ 80-90 ของกำลังแรงงาน (วัย 15-60) จะเป็นมนุษย์เงินเดือน พลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมประเภทนี้จึงอยู่ที่มนุษย์เงินเดือน เพราะการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ต้องใช้แรงกายและแรงสมองของมนุษย์เงินเดือน คะแนนเสียงสำคัญในระบบการเมืองก็คือเสียงของมนุษย์เงินเดือน

สังคมไทยปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ดังนั้น ปัจจุบันมนุษย์เงินเดือนจึงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นกว่าเกษตรกร เพราะกำลังแรงงานภาคเกษตรลดลงเหลือ 13 ล้านกว่าคน ขณะที่กำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการ มีประมาณ 21 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นพวกมนุษย์เงินเดือนเกือบๆ 14 ล้านคน

ประการที่สอง มนุษย์เงินเดือนเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของสังคมอุตสาหกรรมเพราะมนุษย์เงินเดือนมีรายได้ประจำ มีกำลังซื้อที่แน่นอน ที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดในประเทศ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์เงินเดือนตกงานมาก ว่างงานมาก รายได้ลด กำลังซื้อในประเทศจะลดลง และระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจะมีปัญหาทันที มนุษย์เงินเดือนจึงเป็นผู้บริโภคที่สร้างหลักประกันความเติบโตของเศรษฐกิจทุนนิยมให้แก่ประเทศ กรณีประเทศไทย รัฐบาลนี้ได้วางยุทธศาสตร์ให้เศรษฐกิจไทยพึ่งตลาดภายนอกและตลาดภายใน การพึ่งตลาดภายในคือการพึ่งกำลังซื้อหรือรายได้ของคนในประเทศ ซึ่งกำลังซื้อหลักในขณะนี้คือ กำลังซื้อของมนุษย์เงินเดือน

ประการที่สาม มนุษย์เงินเดือนเป็นผู้จ่ายภาษีให้รัฐมากที่สุด เพราะว่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย อีกด้านหนึ่งในฐานะเป็นผู้บริโภคหลักของชาติ มนุษย์เงินเดือนก็ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (หรือภาษีผู้บริโภค) ในสังคมไทยมนุษย์เงินเดือนประมาณ 14 ล้านคน จ่ายภาษีให้รัฐทั้งภาษีทางตรง (หัก ณ ที่จ่าย) และภาษีทางอ้อม (จากราคาสินค้า) รวมกันแล้วประมาณร้อยละ 60 ของรายได้ภาษีทั้งหมด จึงกล่าวได้ว่า มนุษย์เงินเดือนเป็นนายจ้างรายใหญ่ที่สุดของรัฐบาล

ประการที่สี่ มนุษย์เงินเดือนเป็นเจ้าของกองทุนขนาดใหญ่ ได้แก่ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) กองทุนทั้งสองนี้เป็นกำลังออมที่ยิ่งใหญ่ และรัฐบาลก็ได้นำกองทุนนี้ไปใช้พัฒนาประเทศด้านอื่นๆ ด้วย ในประเทศไทยขณะนี้ กองทุนของมนุษย์เงินเดือนประกอบด้วย กองทุนประกันสังคมประมาณ 260,000 ล้าน กองทุนบำเหน็จบำนาญประมาณ 230,000 ล้าน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประมาณ 210,000 ล้าน รวมแล้วประมาณ 700,000 ล้าน นับว่าจำนวนมหาศาลพอที่จะแปลงโฉมเป็นธนาคารประชาชนขนาดใหญ่ได้สบายๆ เป็นธนาคารของมนุษย์เงินเดือน เพื่อมนุษย์เงินเดือน และโดยมนุษย์เงินเดือน

น่าคิดเลยทีเดียวว่า ต่อจากนี้ไปอีก 5-10 ปีข้างหน้า เราจะมีมนุษย์เงินเดือนซักกี่ล้านคน พลังของมนุษย์เงินเดือนนั้นจึงมีมหาศาล มนุษย์เงินเดือน 20 ล้านคน ทำงานให้เจ้าของกิจการไม่น่าจะเกิน 100,000 คน ความสมดุลทางเศรษฐกิจจึงเกิดขึ้นจากการบริโภคของชนชั้นมนุษย์เงินเดือนมากกว่า

กลับมาที่ตัวผมเองกับการรับบทบาทมนุษย์เงินเดือนเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน ถามว่าเบื่อมั้ย? ตอบได้เลยว่า มากๆ แต่ทุกวันนี้คงต้องยอมรับว่าหากเรายังไม่มีธุรกิจส่วนตัว หรือรายได้เสริมจากแหล่งอื่น อย่าริอาจตีจากบทบาทมนุษย์เงินเดือน ผมพยายามมองหาความสนุกกับงาน ผมเคยอ่านเจอบทความ “มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ” โดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง มีบางบทบางตอนที่น่าคิดเป็นอย่างยิ่ง ผมขอยกบางข้อบางตอนมาเล่าให้ฟังนะครับ

มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ ต้อง จดจำบุคคลสำคัญในองค์กรได้เป็นอย่างดี เหมือนกับจะบอกว่า ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง ระวังขาเก้าอี้หักนะ การแสดงความใส่ใจกับบุคคลที่ตำแหน่งใหญ่โต ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญ หน้ากากแห่งความนอบน้อมต้องติดกระเป๋าไว้อย่าได้ขาด พร้อมที่จะหยิบมาใส่ได้ทุกที่ทุกเวลา

มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ ต้อง รู้จักเรียนลัดจากคนและเอกสารเก่าๆ งานบางอย่างหากมนุษย์เงินเดือนได้รับมอบหมาย อาจมีประวัติยาวนานกว่า 3 โคตรเหง้าของพนักงานอาวุโส การศึกษารายละเอียดงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่มนุษย์เงินเดือนรุ่นก่อนๆจะให้รายละเอียดได้บน้อย ถึงน้อยมาก เพราะหากเค้าให้รายละเอียดได้มากงานก็ควรจะเสร็จไปแล้วหนะสิ ถามได้!!!

มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ ต้อง พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ การโยกย้าย การลาออก การรับพนักงานใหม่ ดังนั้น ต้องมีความสามารถประดุจกิ้งก่า เปลี่ยนสีตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เจ้านายคนเดิมชอบกินอาหารญี่ปุ่น หากมีงานเลี้ยงเราก็ต้องไม่พลาดจัดงานที่ภัตรคารญี่ปุ่น แต่หากเปลี่ยนผู้จัดการใหม่เป็นคนที่ชอบอาหารอีสาน เราก็ต้องเปลี่ยนสัญชาติตัวเองโดยด่วน ส้มตำ น้ำตก อย่าให้ขาดในงานเลี้ยง

มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ ต้อง หัดร้องเพลงให้เป็น ทุกแบบ ทุกสไตล์ ทุกภาษา เพราะเราไม่รู้ว่าเงินเดือนเราจะแปรผันตรงกับความสามารถในการเอ็นเตอร์เทน หรือไม่ เพราะฉะนั้นซ้อมไว้ก่อนไม่เสียหาย

เขียนมาตั้งยืดยาว ก็จะหมดเวลาเบรกแล้ว ผมคงต้องกลับไปประจำตำแหน่งมนุษย์เงินเดือนมืออาชีพต่อไป ถึงอย่างไรก็ยังภูมิใจในความเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำบนความสุจริต แต่หากมีโอกาสเมื่อไหร่นะ บ๊ายบายแน่...มนุษย์เงินเดือน





Create Date : 02 กรกฎาคม 2550
Last Update : 10 กรกฎาคม 2550 14:06:51 น. 8 comments
Counter : 812 Pageviews.

 
บางคนขอให่มีงาน มีเงินเดือน ก็พอ ถ้าชาติตระกูลเป็นเพียง นายอ่ำ นางมาลี
ใช่ บางคน เรียกร้องมากจนน่าแปลกใจ
ได้ทราบจากเพื่อนรุ่นน้องที่ทำที่โตชิบา
รับพนักงานใหม่ มีคนมาสมัครสัมภาษณ์ และ
ถามปกติ เงินเดือนต้องการเท่าไร ?
ขอ 50,000 ค่ะ เธอคงโดนผู้ปกครองบังคับให้มาสม้ครแน่ๆ
จึงแกล้งเรียกซะ มาเอาตำเหน่าง ผอ. ทั้งที่เป็นเด็กเพิ่งจบ ไร้ประสพการณ์ เพียงคิดว่าจบ จาก ม. ดัง เรียบระบบอินเตอร์

บ่นมากไปหรือเปล่าเนี่ยะ
.............


โดย: Yoawarat วันที่: 2 กรกฎาคม 2550 เวลา:12:00:41 น.  

 
อืม...สู้ๆ


โดย: ปลงตก IP: 203.130.145.67 วันที่: 2 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:53:10 น.  

 
มนุษย์เงินเดือนเหมือนกันคับ 6 ปีแล้วคับ มีทุกรูปแบบ


โดย: civil eng. (frank3119 ) วันที่: 2 กรกฎาคม 2550 เวลา:17:05:21 น.  

 
โอ๊ะ มนุษย์พันธุ์เดียวกะเราเลยแฮะ อยู่ระยองแป๊บๆ เด๋วก็เป็นแถวนี้เองแหละฮิ


โดย: จังไม (ทำไมต้องล็อกอิน ) วันที่: 2 กรกฎาคม 2550 เวลา:18:53:38 น.  

 
อยากกลับไปเป็นมนุษย์เงินเดือนอีกครั้งคะ


โดย: mintny_n วันที่: 2 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:30:13 น.  

 
เบื่อการเป็นมนุษย์เงินเดือนเหมือนกันคร๊าบ เพิ่งเริ่มเปิดบัญชีสำหรับการลงทุนต่างหาก สามสิบเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน(ตามหนังสือบอกไว้อ่ะนะ) เผื่อลงทุนแล้วเจ๊งจะได้ไม่ต้องคิดมาก เพราะหนังสือก็บอกไว้เหมือนกันว่า การพลาดผิดหวังเป็นเรื่องปกติ แต่ยังไงให้พยายามหัดก้าวเดินได้แล้ว

อืม...จะรอดมั้ยน่อ สาธุ....


โดย: ดุ๊กดิ๊ก IP: 58.8.229.108 วันที่: 4 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:49:46 น.  

 
นู๋ดุ๊กดิ๊กนี่ IP คุ้นๆนะ เด๋วฟ้องหัวหน้าดีกว่า


โดย: XabiRider IP: 203.130.145.67 วันที่: 5 กรกฎาคม 2550 เวลา:7:45:25 น.  

 


โดย: jodtabean (loveyoupantip ) วันที่: 6 สิงหาคม 2554 เวลา:3:57:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

XabiRider
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




อย่ากลัวว่าวันเวลาจะทำให้เธอต้องเสียใจ หรือความห่างไกลจะทำให้ใจฉันไหวหวั่น ข้อความเหล่านี้...ทุกคำ จะคอยแทนคำสัญญา ให้เธอได้รู้ ว่าไม่ว่ามันจะนานสักเท่าไหร่ จะไม่มีใครมีความสำคัญและสูงค่า ให้คำพูดฉันแทนคำสัญญาให้รู้ว่า..."ฉันรักเธอ"
Guestbook
Friends' blogs
[Add XabiRider's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.