บทความกฏหมาย รวบรวมบทความกฏหมายจากทนายวิรัช

<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
22 มีนาคม 2554
 

ทำไมลูกจ้างฉ้อโกงแล้วไม่ติดคุก

เรื่องนี้มีอยู่ว่า นายสมชาย ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่ง พนักงานขาย ของบริษัท ยั่งยืนจัง จำกัด ได้เล่นการพนันคือ พนันฟุตบอลอังกฤษ คู่ระหว่าง เชลซี กับลิเวอร์พูล ผลของการแข่งขัน ลิเวอร์พูลชนะเชลซีสองศูนย์ เป็นเหตุทำให้นายสมชายเสียเงินเป็นจำนวนมาก และยังคงเป็นหนี้จำนวนไม่น้อย จึงออกอุบายที่จะโกงเงินบริษัท

วิธีการที่จะโกงเงินบริษัท กระทำด้วยการที่ตนเองเป็นพนักงานขายของไปหลอกลูกค้าว่า สินค้าชนิดนี้ขึ้นราคา ทั้งที่ความเป็นจริงบริษัทไม่ได้ขึ้นราคาสินค้าแต่อย่างใด แต่ลูกค้าก็หลงเชื่อ จึงได้ซื้อของและชำระเงิน นายสมชายเมื่อรับเงินแล้วก็นำเงินค่าสินค้ามาชำระเงินให้บริษัท ส่วนเงินส่วนต่างก็นำไปชำระหนี้การพนัน

ภายหลังบริษัทฯทราบเรื่องเนื่องจากมาดูผลบอลที่ ว่า ลิเวอร์พูลชนะ จึงมั่นใจได้ว่า นายสมชายต้องเสียการพนันอย่างแน่นอน เพราะนายสมชายเป็นแฟนคลับเชลซี จึงได้สอบถามไปยังลูกค้าที่นายสมชายไปขายสินค้าว่า นายสมชายมาหยิบยืมเงินหรือมาทำความเสียหายหรือไม่

ลูกค้าก็บอกว่าไม่มี มีแต่เรื่องที่ยังสงสัยว่าทำไมสินค้าของบริษัทช่วงนี้ราคาสูงขึ้นมากมาย บริษัทฯ ก็ตกใจ แล้วบอกกับลูกค้าว่าไม่เคยขึ้นราคาสินค้าตัวใดเลย ทำให้บริษัทเริ่มรู้แล้วว่า นายสมชายฉ้อโกง

วันรุ่งขึ้น ก็นำเรื่องเข้าแจ้งความหรือที่ภาษากฎหมาย เรียกว่า คำร้องทุกข์ เมื่อพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จก็มีความเห็นส่งพนักงานอัยการฟ้อง พนักงานอัยการก็ฟ้องตามลำดับขั้น
ศาลชั้นต้น ตัดสินลงโทษจำคุกจำเลย (นายสมชาย) ข้อหาฉ้อโกง (บริษัทฯ หรือ ที่เรียกว่าผู้เสียหายหรือ โจทก์ร่วม เริ่มรู้สึกภูมิใจที่ทำให้คนไม่ดีต้องถูกจำคุก)

จำเลยจึงมอบหมายให้ทนายความมือดีมาอุทธรณ์คดี ปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น (ไม่ใช่ว่าท่านยืนอ่านคำพิพากษา แต่ความหมายจริงๆ คือ ยืนยันการตัดสินเหมือนศาลชั้นต้น)

จำเลยคอตก แต่นึกขึ้นได้ว่าต้องไปปรึกษาทนายความอีกครั้ง ทนายความก็อธิบายว่า ปกติถ้าสองศาลมีความเห็นเหมือนกัน ก็จะไม่สามารถยื่นฎีกาได้ ยกเว้นศาลที่ทำการตัดสิน ได้อนุญาตให้ยื่นฎีกาได้ ปรากฏว่าศาลท่านอนุญาตให้ยื่นฎีกาได้ จำเลยดีใจมาก จึงได้มอบหมายให้ทนายความยื่นฎีกา เผื่อมีโอกาสรอด

เมื่อศาลฎีกา พิจารณาแล้วมีคำพิพากษาว่า การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขายของโจทก์ร่วมหลอกลวงลูกค้าของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมขึ้นราคาสินค้า ลูกค้าหลงเชื่อซื้อตามนั้น เงินส่วนที่ขายเกินกำหนดเป็นเงินของลูกค้าส่งมอบให้จำเลยเพราะถูกจำเลยหลอกหลวง ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของโจทก์ร่วม จึงเป็นเงินของลูกค้าผู้ถูกหลอกลวง หาใช่เงินของโจทก์ร่วมไม่ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เมื่อลูกค้าผู้เป็นเจ้าของเงินซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ยกฟ้อง

ทนายวิรัช เพิ่มเติมว่า ก่อนจะแจ้งความต้องดูก่อนว่าใครเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง

ที่มา และติดตามเรื่องอื่นเพิ่มเติม
//www.tanaiwirat.com

ติดตามทนายวิรัช social network
//www.facebook.com/tanaiwiratdotcom
//twitter.com/tanaiwirat


Create Date : 22 มีนาคม 2554
Last Update : 22 มีนาคม 2554 12:03:51 น. 0 comments
Counter : 2831 Pageviews.  
 

ทนายวิรัช
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สายตรง 081 258 5681
Custom Search
[Add ทนายวิรัช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com