wwangkanon is Behind the Lens. His blog is for sharing experience also your sharing space.
 
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
8 พฤษภาคม 2553

กลับไปวัดพันเตาอีกครั้งในวันที่ฟ้าหลัว เชียงใหม่จ้า

จากที่ค้างคาใจที่ได้ไปผ่านไปเจอบรรยากาศดีๆ ในคืนวันแรงงาน (ใครยังไม่เห็นก็ไปดูกันตาม link นะ)
แต่เนื่องจากคืนนั้นไม่ได้เอากล้องใหญ่ไป แล้วก็เข้าไปถ่ายข้างในไม่ได้
ผมเลยตั้งใจกลับไปอีกครั้งครับ แต่ฟ้าก็ไม่ค่อยเป็นใจนักครับ พอดีมันเป็นวันที่ฟ้าหลัว หรืออาจจะเรียกว่าฟ้าครึ้มฝนน่ะครับ แต่ก็ตั้งใจถ่ายมาให้ดูกันอีกที แล้วก็ยังค้นพบอีกว่า มีฝุ่นเต็มกล้องเลย เซ็ง
แต่ถ่ายมาแล้วก็เอามาให้ดูกันก่อนครับ จะเที่ยววัดให้หนุกก็ต้องมีประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวัดด้วยครับ
Source: //www.watphantao.com/data.php?iddata=2

ประวัติความเป็นมาของหอคำพระเจ้ามโหตรประเทศ 1
วัดพันเตา ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

--------------------------------------------------------------------------------

เดิมทีหอคำประดิษฐานอยู่ที่พระตำหนักเวียงแก้ว อันเป็นบริเวณเยื้องทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือศาลากลางเก่า หรืออนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตรงเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่อยู่ในขณะนี้ ตามตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับหอคำหลังนี้ พระยาอุปราชมหาวงศ์ ได้สร้างขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อจุลศักราช 1209 ตรงกับ พ.ศ. 2390 เนื่องจากท่านได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่จากพระยาอุปราชขึ้นเป็นพระยาเชียงใหม่ ท่านได้สร้างหอคำขึ้นไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป อันเป็นปูชนียวัตถุล้ำค่าภายในที่อยู่ของท่าน ท่านได้ทำการฉลองอย่างเอิกเกริก อนึ่งในการสร้างหอคำหลังนี้ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ใช้ช่างพื้นเมือง และช่างพม่าผสมกัน ต่อมาพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์ ได้รับพระราชทานเลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้า มีพระนามในสุพรรณบัฏว่า พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดินทร์นพีสิทรมหานคราธิษฐาน ใน พ.ศ. 2396 พอได้รับพระราชทานธานันดรศักดิ์ได้ไม่กี่เดือนก็ถึงแก่พิราลัย

เมื่อพระเจ้ามโหตรประเทศฯพิราลัยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงเทพมหานคร ทรงแต่งตั้งให้นายสุริยวงศ์ บุตรของพระเจ้าบรมราชาธิบดี(กาวิละ)ขึ้นเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 6 ต่อจากพระเจ้ามโหตรประเทศฯ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาได้ 16 ปีเศษ พิราลัยเมื่อ พ.ศ. 2413 เจ้าอุปราชอินทนนท์ รักษาการในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาร่วม 3 ปี จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าอินทรวิชยานนท์พหลเทพภักดีฯ เจ้าครองนครเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2416

กาลเวลาล่วงเลยมาถึง พ.ศ. 2416 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีพระราชดำริว่า หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯนั้น สมควรจะอยู่ในวัดมากกว่าอยู่ในวัง จึงทรงบัญชาให้ช่างช่วยกันรื้อหอคำ (หอคำ วัง หรือท้องพระโรงหน้า ของเจ้านครเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง) หอคำหลังนี้ได้ย้ายมาปลูกสร้างขึ้นใหม่ ณ วัดพันเตาหรือวัดปันเต้า เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ำ ปก(ยกเสา)วิหารวัดพันเตาหรือวัดปันเต้ากลางเวียงเชียงใหม่ เพราะในขณะนั้นเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่กำลังทรงปฏิสังขรณ์วัดหอธรรม วัดเจดีย์หลวง วัดสุขมิ้นอยู่แล้ว การก่อสร้างวิหารของพระอารามทั้งสามแห่งกับหอคำของวัดพันเตาสำเร็จบริบูรณ์ลงในพ.ศ. 2429 ทำการฉลองพร้อมกันทั้ง 4 แห่ง เมื่อวันอาทิตย์
เพ็ญเดือน 7 เหนือ โดยมีงานปอยหลวง(งานทำบุญฉลอง) มาตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ จนถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ นับเป็นการปอยหลวงที่สนุกสนานที่สุดครั้งหนึ่งของนครเชียงใหม่ อายุของหอคำเมื่อนับจากปีที่วางรากปกเสา พ.ศ. 2419 มาจนถึงบัดนี้(พ.ศ.2551)รวมอายุได้ 132 ปี

โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารวัดพันเตา
ตัวอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือเป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่และหนากว่าฝาปะกน

การทำฝาแบบทางเหนือนั้น ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อน แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลัง ฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคง เพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย

การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน ไม่มีการย่อมุขซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือคือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหาร

ส่วนประดับตัวอาคาร

ประตู มีประตูเข้าทั้งหมด 3 ทางคือ ประตูใหญ่ทางด้านหน้า ประตูด้านข้างทางด้านทิศเหนืออยู่ค่อนมาทางประตูหน้า ทางทิศใต้อยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ประตูที่สำคัญคือ ประตูด้านหน้า ซึ่งประกอบด้วยซุ้มประตูไม้แกะสลักประดับกระจกเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ได้แก่ นกยูง นาค ลิง หงส์ ประกอบลวดลายที่กรอบประตูส่วนบนเป็นโก่งคิ้วไม้แกะสลักลายดอกไม้ ใบไม้ บานประตูเป็นไม้แผ่นเรียบ
เครื่องบน เนื่องจากวิหารวัดพันเตามีขนาดใหญ่ (ประมาณ 28 – 17 เมตร) ตัววิหารแบ่งเป็น 7 ห้อง (แปดช่วงเสา) แต่ผนังยาวตลอดแนวเดียวกัน หลังคาจึงได้มีการลดชั้นเพื่อแก้ปัญหาความรู้สึกที่กดทับ ซึ่งจะเกิดขึ้นถ้าทำหลังคาตลอดชั้นเดียว การลดชั้นหลังคา ลดลง 2 ชั้น ตรงระหว่าง 3 ห้องริมสุด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เครื่องประดับหลังคาคล้ายกับทั่วไปคือ มีช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ ที่เป็นเครื่องไม้แกะสลักประดับกระจก (หลุดไปเกือบหมดแล้ว) ที่สันหลังคาประดับด้วยหงส์โลหะสีเงิน

โครงสร้างภายในหลังคาวิหาร มีขื่อรองรับตุ๊กตาและขื่อลอย ทำแบบลูกฟักของจั่วทางด้านหน้า เพียงแต่ไม่กรุไม้ลูกฟักเท่านั้น โครงหลังคาและกรุหน้าจั่วเช่นนี้ถือว่าเป็นมงคล ทางภาคกลางเรียกว่า “แบบภควัม” โครงสร้างภายในของวิหารจะเห็นความประณีตบรรจงของการเข้าไม้ มีการลดคิ้วเส้นบัวของลูกฟัก
และลดคิ้วของขื่อและเต้าอย่างสวยงาม บางแห่งจะพบฝีมือการแกะสลักไม้งดงามมาก เช่น ขื่อ อกเลา หน้าต่าง เป็นต้น

โบราณวัตถุสถาน
วิหารวัดพันเตา เดิมคือ หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ ที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ อุทิศถวายวัดให้สร้างเป็นวิหารเมื่อปี พ.ศ. 2419 หอคำหลังนี้เป็นคุ้มหรือท้องพระโรงหน้าของเจ้าเมืองเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือท้องพระโรงของเจ้านายภาคกลาง หอคำหรือวิหารหลังนี้เป็นเรือนโบราณชั้นดีของภาคเหนือ ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของภาคเหนือไว้ได้มากที่สุดและค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ไปแล้ว แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้แตกต่างไปจากการสร้างครั้งแรก

การบูรณะวิหาร

ทำการบูรณะส่วนฐานะและผนังด้านหลัง ซึ่งถูกฝนทำลายจนหลุดพังเสียหาย ประกอบกับเกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัก ส่วนของผนังด้านหลังเสียหายมาก เศษไม้ที่หลุดหล่นลงมาจมน้ำ บางส่วนก็ถูกน้ำพัดไปจึงได้มีการซ่อมผนังด้านหลัง โดยทำผนังคอนกรีตระหว่างช่วงเสาตรงกึ่งกลางผนัง สำหรับฐานเดิมของวิหารที่เป็นเสาไม้ ซึ่งมีการผุกร่อนมาก่อน ทางวัดได้ทำการเสริมฐานเสาเดิมด้วยคอนกรีต และทำการก่ออิฐโบกปูนเสริมระหว่างเสาจากบริเวณร่องตีนช้าง (ซึ่งหายไป) ลงมาจนถึงพื้นและทำพื้นซีเมนต์ ปูกระเบื้องเคลือบ (ราว 20 กว่าปีมาแล้ว ประมาณก่อน พ.ศ. 2518) ทำการซ่อมหลังคาและเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาในสมัยของท่านครูบาอินศวร ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้น



--------------------------------------------------------------------------------

ประวัติวัดพันเตา(ปันเต้า)

วัดพันเตาหรือคนเมืองเชียงใหม่จะนิยมเรียกว่า " วัดปันเต้า " เป็นส่วนใหญ่ ประวัติวัดพันเตาสร้างขึ้นเมื่อในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ตอนต้น เมื่อประมาณ 2040 เมื่อนับถึงปี พ.ศ. 2551 จึงมีอายุได้ 511 ปี พื้นที่ของวัดทั้งหมดประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 42 ตารางวา ในตำนานประวัติดั่งเดิมของวัดจะมีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงร่วมสมัยเดียวกับวัดเจดีย์หลวงจากอดีตของคนในสมัยโบราณ คิดจะสร้างบ้านสร้างเมืองหรือวัด จำเป็นต้องคำนึงถึงการหาทำเลที่เป็นมงคล วัดพันเตาก็เป็นอีกหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์หลวง ใจกลางเมืองเชียงใหม่ คำว่า " พันเตา "



ในอดีต คนเมืองเชียงใหม่ไม่ได้เรียกชื่อกันแบบนี้ แต่นิยมเรียกกันว่า "วัดปันเต้า" หรือ "วัดพันเท่า" ซึ่งหมายถึง ปริมาณที่เพิ่มพูนขึ้นมากมาย เป็นร้อยเท่า พันเท่า เป็นการเขียนตามอักษรล้านนาแต่อ่านออกเสียงว่า “ปันเต้า” แล้วจึงกลายมาเป็น " พันเท่า " ในเวลาต่อมา พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 ( พ.ศ. 2413 – 2440 )รื้อหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯสร้างเป็นพระวิหาร ถวายวัดพันเตา ใน พ.ศ.2418 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 (พ.ศ.2412–2440)
พระบิดาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี (พ.ศ.2416–2476) ได้โปรดให้รื้อหอคำหรือคุ้มหลวงของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 (พ.ศ. 2390 – 2397) สร้างวิหารถวายวัดพันเตาตามจารีตในล้านนาและทำบุญฉลองวิหารแห่งนี้เมื่อ พ.ศ. 2429 นับเป็นวิหารไม้สักที่สร้างจากหอคำหรือคุ้มหลวงที่เหลืออยู่อย่างสมบูรณ์เพียงหลังเดียวในล้านนา

หน้าแหนบวิหารวัดพันเตา วิหารวัดพันเตามีหน้าแหนบที่เป็นไม้แกะสลักที่สวยงามที่สุดในล้านนา และมีลวดลายในโครงสามเหลี่ยม ตรงกลางแกะสลักรูปมอม ( มอม คือ พาหนะของเทพปัชชุนนะ เทพผู้บันดาลให้เกิดฝน) กรอบของซุ้มวิหารมีรูปวานรแบกตัวลวง 2 ตัว ทั้งสองข้าง ซึ้งตัวลวงนี้ใช้หางค้ำรูปแบบจำลองของประสาทส่วนฐานของรูปซุ้มเป็นท่อนไม้ 8 เหลี่ยมสลักลวดลายประจำยาม ซึ่งทำปลายเสาทั้งสองข้างเป็นรูปหัวเม็ด มีหงส์ยืนประกอบทั้งสองข้าง ซึ้งสมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทางช่างและภูมิปัญญา ในช่วงสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ใน พ.ศ. 2539 จึงใช้ภาพหน้าแหนบวิหารเป็นภาพแสตมป์ภาพหนึ่งในชุดแสตมป์ร่วมสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (หงส์ 2 ตัวที่ยืนประกอบทั้งสองข้างหายไปเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2540–2541 พฤษภาคม 2540 และได้คืนเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2541)


อ่ะอ่านจบแล้วก็ไปดูรูปกัน
ถ้ายังดูรูปไม่สะใจแนะนำให้ไปดู google ครับ
มีคนถ่ายวัดนี้ไว้เยอะครับ


ถ่ายจากกำแพงหน้าวัดครับ


สิงห์หน้าวัดครับ


สวยมะ


อันนี้หน้าบรรณที่เขากล่าวกันว่าสวยที่สุดในล้านนาครับ
จะไม่สวยยังไงล่ะ ก็นี่มันหอคำของเจ้าหลวงนี่นา


มาดูองค์พระประธานในพระวิหารกันครับ


ในพระวิหารมีให้ใส่บาตรพระพุทธกันด้วยนะ


อันนี้ถ่ายจากในวัดพันเตาล่ะครับ เขามีการจัดสวนบริเวณใกล้ๆกับกุฏิเจ้าอาวาศ เป็นลานทราย มีพระพุทธรูปตั้งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่
ลองคิดดูว่า ถ้าคณะพระเณรมานั่งทำวัดเย็นกันแล้วจุดตะไลแบบคืนวันนั้น คงสวยไม่น้อยเลยทีเดียว อ้อ เห็นไหมครับ เจดีย์หลวงน่ะครับ หลวงข้ามวัดจริงๆ


เครื่องไม่บนตัววิหารครับ มองไกล ไม่ค่อยเห็นรายละเอียดนัก
พอซูมๆดูนี่ อืมสวยจัง เสียดายไม่มีเลนส์ซูมไกลๆ


ในวัดมีการตกแต่งด่วยจ้องแดงในหลายๆจุดครับ ก็สวยดีนะ


มาดูวิหารเต็มๆองค์กันอีกที ไม่ใช่โฆษณามอไซด์นะคร๊าบบบ


ฟ้าหลัวเฉพาะฝั่งตะวันตกครับ ด้านตะวันออกยังใสๆ เมฆนิดๆ


องค์เจดีย์กำลังสร้าง ยังไม่เสร็จครับ
ใครอยากจะร่วมทำบุญก็เชิญที่วัดได้เลยครับ





Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 11:23:19 น. 4 comments
Counter : 1246 Pageviews.  

 
ตามมาเที่ยวเชียงใหม่ด้วยคน


โดย: kwan_3023 วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:18:48 น.  

 
อยู่เชียงใหม่แต่ยังไม่เคยไปเลยค่ะ


โดย: Lovenumber129 วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:42:12 น.  

 
วัดนี้ชอบหน้าบรรณ ซุ้มประตูโขงค่ะ คิดว่าสุดยอดเลย น่าดูกว่าวัดเจดีย์หลวงด้วยซ้ำ (อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ)


โดย: Scorchio วันที่: 8 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:12:22 น.  

 



โดย: tongsehow วันที่: 9 พฤษภาคม 2553 เวลา:1:40:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Behind the lens
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




นาฬิกา
[Add Behind the lens's blog to your web]