"ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี" ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม "ธมฺโม สุจิณฺโน สุขมาวหาติ" ธรรมที่บุคคลสั่งสมไว้ดีแล้ว นำความสุขมาให้
 
มิถุนายน 2553
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
5 มิถุนายน 2553
 
 
พระบรมสารีริกธาตุ

ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ

"พระบรมสารีริกธาตุ" คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีเรียกว่า"พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" ก็ได้)

"พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ



คำว่า พระบรมธาตุ และ พระธาตุ ยังอาจหมายถึงสถูปเจดีย์ต่างๆได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ

ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ

..........เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุที่พบนั้น มีความแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามยังพบลักษณะของ พระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเหมือนกระดูกคนเช่นกัน เท่าที่พบเห็นได้ตามพระธาตุเจดีย์ทั่วไป หรือตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆทั้งในประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย และ ที่ต่างๆ ทั่วโลก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'พระธาตุ'

.......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ จะพบมากในประเทศไทย ศรีลังกา จีน พม่า ฯลฯ มีลักษณะตรงตามพระไตรปิฎก ในประเทศไทยมีประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์พระธาตุ ตามวัดต่างๆทั่วไป

พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'กระดูกคน'

.......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ จะพบเฉพาะในประเทศอินเดีย ตามโบราณสถานต่างๆ ที่ขุดค้น สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้มอบให้แก่ประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และครั้งที่ 2 รัฐบาลได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้

- มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ
- มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ
- หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ
- สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ
- เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้
- ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด


พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ

คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1.นวิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์



2.วิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ

ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1. (สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล) [อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 6 ทะนาน
2. (สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว (สีผลึก) [อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน
3. (สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร) [อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน
และเมื่อพิจารณาจากขนาด ท่านแบ่งได้เป็น 3 ขนาด ได้แก่

1.ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา]
บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดพันธุ์ผักกาด



*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม



2.ขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา]
บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะข้าวสาร



*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา



3.ขนาดใหญ่ คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา]
บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดถั่ว



*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร



พระโลหิตธาตุ



ขอบคุณภาพจาก //www.relicsofbuddha.com และชมรมพระธาตุล้านนา


Create Date : 05 มิถุนายน 2553
Last Update : 5 มกราคม 2554 16:57:26 น. 0 comments
Counter : 4792 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

เพื่อนร่วมโลก
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add เพื่อนร่วมโลก's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com