อักษรภาพ ประดิษฐ์เอง ตำนานกำเนิดสรรพสิ่งแต่งเอง และอะไรๆ ที่ไม่น่าเชื่อแต่ก็ทำได้เองนะคร้าบ
 
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
18 สิงหาคม 2553

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดจื้อก๋ง (จี้กง)

นิทานธรรมะ ตำนานกำเนิดจื้อก๋ง (จี้กง)

จื้อก๋งหรือที่คนไทยออกเสียงว่า “จี้กง” เป็นพระรูปหนึ่งในสมัยหนั่นเป่ยเฉา หลังราชวงศ์จิ้นล่มสลายลง แผ่นดินแตกแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ทางตอนใต้ของจีนได้กำเนิดแคว้นหนึ่งชื่อ แคว้นเหลียง มีฮ่องเต้ชื่อ “พระเจ้าเหลียงบู๊ตี่” พระจี้กง ได้ถือกำเนิดที่นี่ บทความต่อไปนี้ จะไม่เล่าตำนานความเป็นมาของพระจี้กง เพราะมีเขียนไว้มากหลายแบบแล้ว จึงขอเขียนเฉพาะที่มาและความหมายของชื่อ “จื้อก๋ง” หรือจี้กง ดังต่อไปนี้

คำว่า “จื้อก๋ง” หมายความว่าอย่างไร
คนจีนใช้คำว่า “จื้อ” หมายถึง “อาจารย์ต้นกำเนิดสรรพวิชชาต่างๆ” เช่น เหล่าจื้อ ซึ่งคือ อาจารย์ผู้ให้กำเนิดธรรมสายเต๋ายุคใหม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล้นลับอีกต่อไป หลังจากสมัยดึกดำบรรพ “ฝูซี” ผู้คิดค้นเครื่องหมายปากว้า (สัญลักษณ์เต๋าอย่างหนึ่ง) นั้น เต๋ายังไม่เป็นที่รู้จักหรือเข้าใจของคนทั่วไป แต่เพราะท่าน “เหล่าจื้อ” ได้อธิบายเป็นคัมภีร์ “เต๋า เต็ก เก็ง” ไว้ เต๋าจึงได้แพร่หลายมากขึ้นในคนกลุ่มระดับล่าง ดังนั้น ท่านเหล่าจื้อ นั้น จึงมิได้คิดค้นเต๋าเป็นคนแรก แต่เป็นคนแรกที่ได้บันทึกเต๋าไว้เป็นคัมภีร์เผยแพร่วงกว้างนั่นเอง

ส่วนคำว่า “ก๋ง” หมายถึง อาวุโสรุ่นพ่อของพ่อแม่เราอีกที เช่นคำว่า อาก๋ง ที่เราคุ้นหูกันดี รวมแล้วคำว่า “จื้อก๋ง” ไม่ใช่ “ก๋งจื้อ” มีความหมายแตกต่างกันอยู่มาก ถ้ามีคำว่า “จื้อ” ลงท้าย นั่นหมายถึงท่านเป็น “อาจารย์ต้นตำรับวิชชาบางวิชชาแน่นอน” เช่น เม้งจื้อ ก็มีวิชชาความรู้เฉพาะแบบของตนเอง เผยแพร่ให้คนทั่วไปได้ศึกษา นับเรียกคำลงท้ายว่า “จื้อ” ได้ แต่นี่เพราะพระจื้อก๋ง (จี้กง) ได้ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า มิได้สร้างตำรับสรรพวิชชาขึ้นมาใหม่ จะใช้คำว่า “จื้อ” ก็ไม่ควร จึงใช้คำว่า “ก๋ง” ลงท้าย หมายถึง ผู้อาวุโสหรือปู่ก็ได้นี่คือ “สถานภาพทางสังคมที่สังคมจีนตอนนั้นยอมรับกัน” ส่วนคำว่า “จื้อ” ข้างหน้านั้นหมายถึง ครูอาจารย์ เพราะท่านเป็นอาจารย์ของพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่ เทียบได้กับ “ราชครู” นั่นเอง รวมแล้วจึงหมายความว่า “อาวุโส ผู้เป็นราชครู” แต่ไม่ใช่ครูต้นวิชชาในสายวิชชาใดๆ สังคมยอมรับท่านในฐานะ “ผู้อาวุโส” และขายความให้ท่านว่า “ครู” นี่คือคำแปลที่น่าจะตรงและชัดกว่าแต่ถ้าใช้ชื่อว่า “ก๋งจื้อ” เมื่อ ใด ความหมายจะแตกต่างไปอย่างมากทีเดียว คือ แปลว่า “ครูต้นวิชชาผู้อาวุโส” ทันที

สรุป “พระจื้อก๋ง” จึงควรแปลว่า “พระอาวุโส ผู้ได้เป็นครู (หรือที่เข้าใจว่า ราชครู)” ส่วนคำว่า “จี้กง” นั้น ไม่น่าจะออกเสียงได้ถูกต้องนัก เป็นการออกเสียงที่ผิดเพี้ยนไปจากรากศัพท์เดิม คำว่า “จื้อก๋ง” ต้องไม่สลับกันเป็น “ก๋งจื้อ” เพราะจะต่างกันมาก เมื่อใดที่สลับเป็น “ก๋งจื้อ” จะกลายเป็น “ครูต้นวิชชาใดวิชชาหนึ่งในลัทธิเต๋า” ทันทีแต่เมื่อใช้เป็น จื้อ ก๋งแล้ว จะกลายเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าทันที อย่างไรก็ตาม คำว่า “จื้อ” มาก่อนคำว่า “ก๋ง” ซึ่งก่อนพระจื้อก๋งจะบวชเป็นพระนั้นท่านได้ถึงขั้น จื้อ มาก่อนแล้วคือท่านได้ศึกษาในลัทธิเต๋าแล้วสำเร็จธรรมแบบเต๋าก่อนในสำนัก “คงถง” ต่อมาจึงได้บวชเป็นพระ ดังนั้น คำว่า “จื้อ” จึงมาก่อน “ก๋ง” บางตำราว่าท่านกำเนิดจากนกแล้วบำเพ็ญเต๋าจนสำเร็จเป็นคนด้วยซ้ำ นั่นคือ ที่มาของคำว่า “จื้อ” คำแรกของชื่อนั้น ส่วนคำว่าก๋งนี้ได้มาเพราะท่านอายุยืนมาก ตอนท่านได้พบกับพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่ ท่านก็เป็นพระมีอายุแล้ว ต่อมาพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่สวรรคตแล้ว ท่านก็ยังไม่มรณภาพ นั่นแสดงถึงความมีอายุยืนยาวของท่าน จึงนับได้ว่า “ก๋ง” นั้นมีความหมายชัดเจนแล้ว (จะเห็นได้ว่าคำแต่ละคำมีความหมายมาก)

เมื่อได้ทราบที่มาของนามกันแล้ว ทีนี้ก็ลองมาตั้งชื่อตัวเองดูนะครับว่าควรได้นามว่าอะไรกัน (ในภาษาจีน ซึ่งจะไม่ได้เรียกสมยานามกันเล่นๆ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตัวจริงๆ จึงได้สมยานามนั้นได้ ที่เราเรียกกันในภาษานิยายกำลังภายในว่า “ฉายา” นั่นเอง) เริ่มจาก ผู้เขียนก่อน คำว่า “ซู” เป็นคำใหม่ ภาษาใหม่ ที่ผู้เขียนใช้เรียกตัวเองแต่ถ้าว่าตามภาษา จีนดั้งเดิมแล้ว ก็น่าจะได้ชื่อเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง เป็นคำว่า “หลงจื้อฝอ ผ่อสัก” ก็แล้วกัน (ซึ่งตั้งตามลำดับการบำเพ็ญธรรม) ลองเอาไปแปลกันเองนะครับว่าน่าจะหมายถึงอะไร



Create Date : 18 สิงหาคม 2553
Last Update : 18 สิงหาคม 2553 10:04:34 น. 3 comments
Counter : 313 Pageviews.  

 
อนึ่ง จื้อก๋ง ไม่ได้สอนให้ต้องกินเจนะครับ
ใครจะกินก็ไม่บังคับ กิน ไม่กิน ไม่ว่ากัน
สำคัญอยู่ที่ "ใจยึดติดไหม" เพราะท่านยัง
กินเหล้าโชว์เลยครับ


โดย: ซู (ฉันนะ ) วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:10:05:46 น.  

 


หลง......มังกร
จื้อ........อาจารย์
ฝอ........พระพุทธ
ผ่อสัก...โพธิสัตว์
หรือเปล่าจ๊ะ




โดย: โลกธรรม8 วันที่: 2 กันยายน 2553 เวลา:0:52:13 น.  

 
คำว่ามังกร มีคำว่า "หลง" กับ "เล้ง"
คนละนำเสียง แต่ใช้ได้ทั้งคู่ เช่น เล้งนึ้ง
อันนี้ ก็มีคำว่ามังกรอยู่

คำอื่นๆ ก็ตามนั้นครับ


โดย: ฉันนะ (ฉันนะ ) วันที่: 23 กันยายน 2553 เวลา:9:29:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ฉันนะ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add ฉันนะ's blog to your web]