เมื่อหมออยากเป็นนักแปล
เมื่อหมออยากเป็นนักแปล
 
สองวันก่อน เราได้รับอีเมลจากผู้อ่านท่านหนึ่ง เขียนมาว่า “เนื่องจากดิฉันมีความสนใจเป็นผู้แปลวารสารทางการแพทย์ซึ่งการแปลด้านนี้มีปัญหามานานที่ทำให้ทั้งผู้แปลและแพทย์ทำงานกันลำบากได้เนื้อหาไม่ค่อยไปในทางเดียวกัน ตามที่คุณณัชชาอร ได้โพสต์ไว้เมื่อ 7 มกราคม 2557 ค่ะ ดังนั้นดิฉัน (ดิฉันเป็นแพทย์หญิงค่ะ) จึงได้ไปเรียนต่อวิชาภาษาอังกฤษที่คณะมนุษยศาสตร์เอกวิชาภาษาอังกฤษ วิชาโทภาษาไทยซึ่งตอนนี้กำลังรอรับปริญญาเดือนมีนาคม ปี 2559 ค่ะ ดิฉันอยากขอคำแนะนำในการที่จะเริ่มต้นเป็นนักแปลวารสารทางการแพทย์ค่ะเนื่องจากไม่มีประสบการณ์เลยค่ะ จึงต้องขอรบกวนด้วยนะคะ”

เบื้องต้น เดาว่า ปัญหาที่คุณหมอกล่าวถึง คือนักแปลที่เป็นหมอ แปลบทความแล้ว ผู้อ่านอ่านไม่เข้าใจ และนักแปลที่เป็นนักภาษาศาสตร์ ขาดความเข้าใจในเนื้อหาของเอกสาร 
 
ส่วนบทความที่คุณหมอระบุ คุ้นๆ ว่าเราเขียนเรื่องการแปลเอกสารแนววิทยาศาสตร์ชีวภาพ (life science) ตอนนั้นได้คุยกับบริษัทแปลว่าทำไมไม่จ้างหมอแปลงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัทแปลบอกว่า ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทยาไม่เอาเพราะหมอแปลแบบทับศัพท์เยอะ ใช้งานจริงไม่ได้เนื่องจากคนไข้อ่านไม่เข้าใจ  ตอนนั้นเราก็บอกเขาไปว่าเราเคยแปลโครงร่างการวิจัยยามะเร็งให้บริษัทหนึ่ง คนตรวจแก้งานแปลของเราเป็นหมอ เขาก็แก้กลับมาเป็นทับศัพท์ตั้งหลายคำ เราถึงคิดว่าแพทย์น่าจะแปลงานด้านนี้ได้ดีกว่านักภาษาศาสตร์

เราว่าจะให้ดี ต้องทดสอบ คือเอาเอกสารให้คนที่จะใช้งานลองอ่านดู แต่คนอ่านก็มีพื้นฐานความรู้ไม่เท่ากัน คนที่เคยพบเห็นเนื้อหาทางด้านนี้มาก่อน จะเข้าใจว่าเอกสารพูดถึงอะไร ส่วนคนไหนที่ความรู้จำกัด อาจจะทำตามขั้นตอนที่เอกสารบอกไม่ได้ ก็เท่ากับว่าเอกสารไม่บรรลุวัตถุประสงค์การใช้งน

จะแปลหรือจะทับศัพท์หรือจะถ่ายเสียงหรือจะทิ้งไว้เป็นภาษาอังกฤษ ควรจะดูคู่มือแนวทางการแปล (Style Guide)  คู่มือนี้เป็นเอกสารอ้างอิงที่มีประโยชน์เพื่อให้งานแปลทุกชิ้นออกมาในแนวทางเดียวกัน เช่น อภิธานศัพท์ น้ำเสียง ชื่อองค์กร ชื่อคน คำที่ไม่ต้องแปล ชื่อโรคลำดับขั้นของแหล่งอ้างอิง (ลำดับการอ้างอิงพจนานุกรมเล่มไหนก่อนหลัง)

งานแปลวิทยาศาสตร์ชีวภาพจำได้ว่าเงินดีมาก เห็นว่าได้กันคำละ $0.20 แต่ถ้ารับงานจากบริษัทแปลในกรุงเทพถ้าได้คำละ 3 บาทนี่ก็ไม่ขี้เหร่นะเพราะเขาก็กินค่าหัวเป็นทอดๆ กว่าจะถึงลูกค้าจริงๆ จ้างงานกันไป 4-5 ขั้นแล้ว

งานแปลแนววิทยาศาสตร์ชีวภาพ ไม่ใช่แค่การแปล สิทธิบัตร รายงานแล็บเอกสารจดทะเบียนทางการแพทย์ รายงานอาการไม่พึงประสงค์ ที่มีเนื้อหาเทคนิคมากๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึง บทความทางการแพทย์เอกสารการตลาดและการขายที่เกี่ยวกับการแพทย์ เอกสารข้อมูลคนไข้ ด้วย

สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าเทคนิค มันเทคนิคแค่ไหน ลองดูย่อหน้านี้

“A magnetic resonance imaging scan on Day 7 identified an infiltrative lesion in the posterior paravertebral muscles, involving cervical vertebrae 1–5 and the spinal canal at that level (Box). The diagnostic possibilities were primary or secondary malignancy or infection. A pleural tap the next day drained 500 mL of blood-stained fluid. Laboratory results confirmed an empyema that grew S. aureus from the tapfluid.” (คัดมาจาก Med J Aust 2015; 203 (10):408-409.)

อย่างเราก็แปลไม่ได้นะเพราะความรู้ในสาขานี้แทบจะเป็นศูนย์  แต่ แต่ แต่ ถ้าใช้เครื่องมือช่วยแปล งานพวกนี้ถ้าแปลครั้งแรกแล้ว ตรวจแก้แล้ว งานต่อๆ ไป ศัพท์มักจะซ้ำๆ กัน จะทำให้แปลได้ไวขึ้น  ทำงานเสร็จเร็วขึ้น 

คุณหมอที่เขียนมาถามนี้ ด้วยอาชีพแพทย์เรียกว่าได้เปรียบนักแปลในสาขาเดียวกันเพราะความรู้เฉพาะทางแน่นปึ้ก เหลือเพียงตบคำแปลให้เข้าที่ ซึ่งคุณหมอบอกว่าได้เรียนต่อวิชาภาษาอังกฤษที่คณะมนุษยศาสตร์เอกวิชาภาษาอังกฤษ วิชาโทภาษาไทย และกำลังจะรับปริญญา (จะครบเครื่องไปไหน) แต่ก็ยังมีสิ่งที่ขาดคือ ความรู้ด้านการแปล  เวลามีคนเขียนมาถามทีไร เราจะบอกทุกครั้งว่า ให้ไปเรียนการแปลเพิ่ม เรียนคอร์สสั้นของสมามคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยก็ได้ หรือเรียนแบบได้ใบปริญญาของมหาวิทยาลัยต่างๆไปเลยก็ได้ เหตุผลคือ หากศาสตร์การแปลไม่สำคัญ  ระดับจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล คงไม่เอามาบรรจุเป็นปริญญาโทให้คนได้เรียน

สรุปสั้นๆ นะ เวลาคุณหมอแปลเอกสาร ให้ปรึกษาผู้จัดการโครงการว่าอยากให้แปลออกมายังไง และขอดูตัวอย่างคำแปลของเก่าเป็นแนวทาง ถ้าเป็นไปได้ขอดูตัวแปลที่แก้ไขแล้วด้วยเพื่อพัฒนาการแปลให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

สิ่งหนึ่งที่เราอยากพูดถึงคือเดี๋ยวนี้บริษัทแปลต่างชาติหลายแห่ง กำหนดว่า นักแปลต้องจบด้านการแปลโดยตรงไม่ใช่แค่ภาษาศาสตร์หรือภาษาอังกฤษ แต่กรณีงานแปลวิทยาศาสตร์ชีวภาพมักจะมีข้อยกเว้นโดยบริษัทอาจกำหนดให้นักแปลต้องจบด้านการแพทย์อย่างเดียวก็ได้และบางแห่งกำหนดว่านอกจากจะจบด้านการแพทย์แล้ว ยังต้องเคยทำงานในสายงานนี้มาด้วย

เมื่อสักครู่เรากูเกิลดูก็เจออยู่หลายบริษัท ที่ชูจุดขายว่า“เอกสารเทคนิคขนาดนี้ คุณกล้าให้นักแปลทั่วไปทำเหรอ” ฉะนั้นคุณหมอไม่น่าจะต้องกังวลว่าจะไม่มีงานแปลให้ทำ  ให้กูเกิลบริษัทแปลที่ต้องการนักแปลงานทางการแพทย์ ส่งอีเมลไปสมัครงานพร้อมแนบคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และลองทำแบบทดสอบ ถ้าผ่าน ก็จะมีงานเข้ามา

***************

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2563
 

 




Create Date : 16 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 14 มิถุนายน 2563 13:55:44 น.
Counter : 2994 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤศจิกายน 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog