Working with Translation


วันนี้จะมาชวนคนที่ลังเลว่าเรียนการแปลดีไหมให้มาลองเรียนคอร์สสั้นเกี่ยวกับการแปล

ขณะนี้ Future Learn เปิดคอร์ส Working with Translation โดยผู้เรียนสามารถเรียนออนไลน์ฟรีและรับใบรับรอง (ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมออกใบรับรอง) สถาบันที่สอนคือ Cardiff University คอร์สนี้เปิดเรียนได้ 2 สัปดาห์แล้ว และเรียนต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เรียนตอนไหนก็ได้ ไม่ได้กำหนดเวลาตายตัว

เราเรียนออนไลน์ผ่าน Future Learn หลายคอร์สแล้ว ทั้ง Corporate Lawyers: Ethics (University of Birmingham) คอร์ส Law for Non-lawyers (Monash University) คอร์ส Military Ethics (เคยเอ่ยถึงในบล็อกเก่า) คอร์ส English in Early Childhood (British Council)

ที่เราเรียนโน่นนี่เยอะแยะ แรงจูงใจแรกคือเราเป็นคนชอบเรียน และพอดีกับสามารถใช้เคลมคะแนน continuing professional development (CPD) เมื่อต้องต่ออายุใบรับรอง NAATI ด้วย

มาเข้าเรื่องคอร์ส Working with Translation เราเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ จะบอกว่าไม่เหมือนกับที่เรียนปริญญาโท คอร์สนี้ไม่ได้เน้นทฤษฎี แต่เอาหลักการมาสอนประกอบกับตัวอย่างในชีวิตจริง ทำให้เข้าใจง่าย เหมาะกับคนที่ไม่มีพื้นฐาน

อาจารย์ที่สอนสำเนียงภาษาอังกฤษจะเป็นเอกลักษณ์เพราะ Cardiff อยู่ Wales เป็นถิ่นที่คนใช้ภาษาเวลส์

หัวข้อที่เรียน เช่น การแปลคืออะไร  ความเป็นกลางในการแปลและล่าม  งานแปลยุคแรก (ไบเบิล) การแปลวัฒนธรรม สัมภาษณ์ล่ามศาล  ข้อจำกัดในการทำงานแปลและล่าม การจัดเรียงเนื้อหาตามทฤษฎีช่องว่าง เป็นต้น

แนวการเรียนการสอนคือมีเนื้อหาให้อ่าน แล้วให้ผู้เรียนอภิปรายโดยเขียนคอมเมนท์ไว้ด้านล่างบทเรียน แต่ละสัปดาห์จะมีคลิปสัมภาษณ์อาจารย์ ผู้ประกอบวิชาชีพให้ดูด้วย มีให้ทดลองตอบคำถามเพื่อเช็คความเข้าใจ ไม่ได้ยาก แต่ถ้าภาษาอังกฤษอ่อน อาจจะเรียนไม่รู้เรื่อง

ด้านล่างนี้ตัดส่วนหนึ่งของคอร์สมาให้อ่าน

************************

ความเป็นกลาง

สิรวดี ชูเชิดศักดิ์ แปลจากหัวข้อ Neutrality

คอร์สนี้เน้นการแปลและการล่ามวิชาชีพซึ่งคาดหวังในเรื่องความเป็นกลาง ซึ่งให้ภาพคร่าวๆและเน้นย้ำว่าล่ามและนักแปลทำงานในบริบทที่ขนบเรื่องความเป็นกลางอาจนำมาใช้ไม่ได้ หนึ่งบริบทที่สำคัญคือการล่ามในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งซึ่งล่ามมีแนวโน้มที่จะทำงานให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ

ล่ามไม่ได้กระโดดร่มลงมาจากอีกโลกหนึ่งเพื่อทำหน้าที่คนกลาง แต่ล่ามมักจะมีความเชื่อมโยงในด้านภาษาศาสตร์ที่ซับซ้อนวัฒนธรรม การศึกษา และลักษณะส่วนตัว กับฝ่ายตรงข้าม นี่ทำให้การทำตัวเป็นกลางเป็นปัญหา

บทความของมอยราอิงกิลเลรี (2012) เกี่ยวกับเรื่องล่ามที่ทำงานให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาในอิรักแสดงให้เห็นว่าล่ามในเขตสงครามพบว่าพวกเขาอยู่ในสถานะที่ไม่ปลอดภัย ล่ามชาวอิรักในพื้นที่ผู้แบกรับความเหนื่อยล้าของกองทัพบ่อยครั้งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ครอบครองพื้นที่ ไม่ว่าล่ามจะมีความเชื่อส่วนตัวว่าสหรัฐอเมริกากำลังปลดปล่อยอิรักจากผู้นำจอมเผด็จการหรือพยายามลดความเสียหายจากการบุกรุกโดยการอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร หรือล่ามมีความต้องการงานในระหว่างช่วงส่งครามถึงอย่างไร ล่ามก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือความขัดแย้งเลย

ยิ่งไปกว่านั้นล่ามมักถูกมองว่าเป็นผู้ร่วมมือและตกเป็นเป้าของฝ่ายตรงข้าม ในหลายๆ กรณี สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรไม่สามารถปกป้องล่ามในตะวันออกกลางและทิ้งล่ามไว้โดยไม่ให้โอกาสที่เพียงพอในการโยกย้ายสถานปฏิบัติงานเมื่อตระหนักถึงความเสี่ยงที่ล่ามเผชิญแล้ว บางสมาคมจึงมีการรณรงค์เพื่อการปกป้องที่ดีขึ้นสำหรับล่ามในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

อีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการล่ามเอกสารเกี่ยวกับความขัดแย้งในค่ายสงครามอันสุดโต่ง เช่น งานวิจัยของมาลโกร์ซาตา ทริยุก (2015) เน้นล่ามในค่ายกักกันนาซี หลักๆ คือ เอาชวิตส์ เบิร์กเกโน นักโทษที่พูดภาษาเยอรมันซึ่งถูกใช้ให้เป็นล่ามจำเป็นต้องถ่ายทอดคำสั่งที่โหดร้ายโทษที่สาหัสสากรรจ์และคำเหยียดหยามที่เลวทราม ผู้รอดชีวิตหลายคนยังจดจำได้ถึง “คำกล่าวต้อนรับ” เมื่อนักโทษที่มาใหม่ได้เรียนรู้ว่ามีวิธีเดียวที่จะไปสู่อิสรภาพได้นั่นคือการผ่านไปทางปล่องไฟ (ศพถูกเผาในที่เผาศพที่ค่าย) ล่ามที่ถ่ายทอดถ้อยคำเหล่านี้รู้ว่าพวกเขาเองก็ต้องถูกปฏิบัติอย่างนั้นด้วยเช่นกันซึ่งทำให้เกิดความคิดที่ว่าการแยกตัวออกจากสถานการณ์ย่อมเป็นไปไม่ได้

บทบาทของล่ามไม่ได้รับประกันการรอดตายแต่อย่างใดแม้ว่าในบางครั้งพวกเขาเสนอจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่ช่วยชีวิตได้ก็ตาม มีบันทึกชี้ว่าล่ามบางคนช่วยเหลือนักโทษคนอื่น เช่น เอกเบิร์ก สโกรอน ช่วยผู้ถูกคุมขังที่ป่วยให้หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานที่ยากลำบากที่สุดและสาหัสจนถึงตายได้ (ทริยุก 2015:81) ในขณะที่ ล่ามคนอื่นได้รับการจดจำว่าซ้อมเพื่อนนักโทษด้วยกันหรือล่ามมุขตลกที่น่ารังเกียจเดียดฉันท์อย่างสนุกปาก (ทริยุก 2015: 78;64)

อีกตัวอย่างหนึ่งแสดงให้เห็นว่าล่ามได้รับการปฏิบัติอย่างไรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คะโยะโกะ ทาเคะดะ (2016) วิจัยเกี่ยวกับบทบาทล่ามในนักโทษชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในค่ายสงคราม หนึ่งในการค้นพบของทะเคะดะคือล่าม 40 คนถูกตัดสินว่ามีความผิดในอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีหลังสงครามอย่างต่อเนื่องในเอเชียแปซิฟิกและ 9 คนถูกตัดสินประหารชีวิต (มีการพิพากษาลงโทษประมาณ 1,850ครั้ง)

ในบางคดี มีคำเบิกความพยานระบุว่าล่ามบางคนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทรมานและการทุบตีผู้อื่นและจึงถูกลงโทษหนักว่า ล่ามคนอื่นๆ ไม่ได้ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงทางร่างกายแต่ถูกกล่าวหาว่าใช้เสียงสร้างความทุกข์ทรมาน ฉะนั้นจึงยังคงถูกตัดสินว่าได้ทำการสมรู้ร่วมคิดและมีความผิด ล่ามบางคนโต้แย้งว่าตน “แค่” ทำการล่ามและการปฏิเสธที่จะล่ามก็จะเป็นการฆ่าตัวตายแต่นั่นไม่ทำให้กลายเป็นข้อต่อสู้ที่เพียงพอ ล่ามเหล่านี้ถือว่าไม่ได้วางตนเป็นกลาง

อีกประการที่ควรกล่าวถึงคือตัวอย่างร่วมสมัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับสงคราม นั่นคือการแปลและการล่ามสำหรับนักรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือทางสังคม (activist) ซึ่งก็คืออาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงการต่างๆ ที่ตนสนใจ การถ่ายทอดทางภาษาศาสตร์ที่เกิดขึ้นอาจถูกต้องก็จริงแต่นักแปลและล่ามก็ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้ร่วมกิจกรรมโดยมีนัยยะของตนแฝงไว้ด้วย เช่น โครงการ Babels ซึ่งระบุว่าเป็น “เครือข่ายของล่ามและนักแปล” และเป็น “ผู้เล่นคนหนึ่งในการอภิปรายเรื่อง “การต่อต้านระบบทุนนิยม”" การแปลสำหรับนักรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือทางสังคมเป็นการแปลสาขาหนึ่งที่น่าสนใจโดยนักแปลและล่ามอาจมีบทบาทในลักษณะกระตือรือร้นและเป็นอิสระกว่าการแปลและล่ามในสาขาที่มีกฎเกณฑ์เคร่งครัดและการแปลและล่ามเชิงพาณิชย์บางสาขา

หมายเหตุ: ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติงานเป็นนักแปลหรือล่ามหรือกำลังทำงานกับนักแปลหรือล่ามโปรดจำไว้ว่าอารมณ์ความรู้สึกสามารถมีบทบาทที่สำคัญได้ในการแปล แม้ว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องจะเป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์ก็ตาม




Create Date : 27 กันยายน 2560
Last Update : 28 กันยายน 2560 7:27:50 น.
Counter : 1353 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กันยายน 2560

 
 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
27 กันยายน 2560
All Blog