การรับรองคำแปลในประเทศไทย




เมื่อคืนเจอ feed ของหน้าส.ป.ล.ท. ของคุณ Teerawat Wongwanich เรื่องการรับรองคำแปลในประเทศไทยเลยขอคัดมานำเสนอให้เพื่อนๆ อ่านเป็นแนวทาง

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539

มาตรา 26 เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ให้จัดทำเป็นภาษาไทยถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้นเว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศและในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารดังกล่าว
การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎกระทรวง(พ.ศ.2540)ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา6 และมาตรา 26วววรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 นายกรัฐมนตรีโดยคำเสนอแนะของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ1 การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยให้กระทำโดย 

(1) คนไทยที่จบการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในหลักสูตรที่ใช้ภาษาที่ปรากฏในเอกสารนั้นเป็นภาษาในการเรียนการสอน

(2) อาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและเป็นผู้สอนภาษาที่ปรากฏในเอกสารนั้น ในสถาบันการศึกษาดังกล่าว

(3) สถานทูต หรือสถานกงสุลต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยโดยประกาศนั้นใช้ภาษาที่ปรากฎในเอกสารนั้นเป็นภาษาราชการ

(4) สถานทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ

ข้อ2 เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศโดยไม่ต้องจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เจ้าหน้าที่นั้นเห็นว่าตนสามารถเข้าใจภาษาดังกล่าวได้

(2) เจ้าหน้าที่นั้นมีผู้ร่วมงานที่มีความรู้ในภาษาดังกล่าว

ให้ไว้ ณ วันที่ 21พฤษภาคม พ.ศ. 2540

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

นายกรัฐมนตรี

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ตอนที่ 17ก วันที่ 22 พฤษภาคม 2540)

วิชาLA432 [LW461] ในหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหง หน้า 63-65 ได้ระบุเรื่องหลักการใช้ภาษาไทยซึ่งศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ได้อธิบายไว้ว่า

“… การรับรองความถูกต้องของคำแปลนั้นขึ้นอยู่กับสถานที่ทำเอกสารถ้าเป็นเอกสารที่ทำในประเทศที่มีระบบการรับรองเอกสารเช่นใด หากใช้ระบบเช่นนั้นก็ควรเป็นที่ยอมรับได้ เช่น การรับรองโดยโนตารี ปับลิก (เช่น วิธีการตามมาตร 47วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)

สำหรับในประเทศไทยอาจทำได้2 วิธีคือ

(1) ให้นายอำเภอรับรองตามมาตร 89 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 หรือ

(2) ให้กระทรวงต่างประเทศรับรองให้ “

ต่อมามีการออกกฎกระทรวง(พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ.2539 ตามที่อธิบายไปแล้วข้างต้น

“สำหรับกรณีตามข้อ1(1) นั้นไม่จำกัดว่าผู้นั้นจะต้องจบการศึกษาในต่างประเทศเท่านั้น…เช่น คนไทยที่จบการศึกษาหลักสูตร “Bachelor’s Degree in BusinessAdministration, International Program” คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการเรียนการสอน”

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ //e-book.ram.edu/e-book/l/LA342(LW461)/chapter6.pdf)

************************

สำหรับการรับรองคำแปลเพื่อนำเอกสารแปลมายื่นกับหน่วยงานราชการของออสเตรเลีย

กรณียื่นขอวีซ่าที่สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศสหรัฐอเมริกา 

- หากคำแปลจัดทำในประเทศสหรัฐอเมริกา ให้รับรองคำแปลโดย นักแปลที่เป็น Active Member ของ AmericanTranslators Association (ATA) ดูรายชื่อนักแปลได้จาก ATA Directory ทั้งนี้ไม่รับคำแปลที่รับรองโดยบริษัทแปลที่เป็นสมาชิกประเภทอื่น

- หากคำแปลจัดทำในประเทศออสเตรเลีย ให้รับรองคำแปลโดย นักแปลที่ได้รับการรับรอง(accreditation) จาก NationalAccreditation Authority for Translators and Interpreters Ltd (NAATI) ดูรายชื่อนักแปลได้จาก NAATIDirectory

นักแปลทั้งสองประเภทด้านบนต้องสอบแปลถึงจะได้รับการรับรอง ไม่ใช่สมัครแล้วได้สถานะนั้นเลย

กรณียื่นขอวีซ่าที่สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย สถานทูตระบุว่า

“In Bangkok, any licensed translator should undertake the translation.
In Australia, translators must be accredited by the National Accreditation Authority for Translators and Interpreters (NAATI).”

ในประเทศไทยไม่มีระบบlicensed translator ที่ใกล้เคียงคือการขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญศาลด้านการแปล ของศาลยุติธรรม ประเทศไทยซึ่งต้องมีการสอบ การตรวจสอบหนังสือรับรองจากบุคคลอ้างอิง การส่งผลงานแปล ให้คณะกรรมการประเมินเพื่ออนุมัติหรือไม่รับขึ้นทะเบียน

แต่ที่ผู้สมัครวีซ่าส่วนใหญ่ทำกันคือส่งแปลที่ร้านไหนก็ได้แต่ต้องนำไปประทับตรา legalization ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

กรณียื่นขอวีซ่ากับDIBP โดยตรงในประเทศออสเตรเลีย (1) คำแปลสามารถรับรองโดยนักแปลNAATI หรือ (2) หากแปลนอกประเทศออสเตรเลียให้ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร และรายละเอียดคุณวุฒิและประสบการณ์ของผู้ที่รับรองคำแปล

ในทางปฏิบัติหลายคนส่งเอกสารแปลที่แปลจากร้านในประเทศไทย ก็เด้งออกมาเป็นแถว เจ้าหน้าที่ที่นี่ไม่รู้จักหรอก บางคนส่งฉบับแปลที่ประทับกรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศ ก็ยังโดนปฏิเสธ เราก็ไม่รู้เหตุผล ลูกค้าไม่ได้บอก สรุป แปลประทับ NAATI ชัวร์สุดเสียเงินแล้วเอกสารต้องใช้ได้

ด้านบนพูดเรื่องรับรองเอกสาร ของ DIBP ระบุว่า “Any person or agency recognised by the law of the country in which you live can certify documents. All our offices outside Australia have a person who can certify or witness documents. You might have to pay for this service." เราเคยเห็นลูกค้าส่งสำเนาภาษาไทยให้ตำรวจเซ็นรับรอง บางคนให้ปลัดอำเภอเซ็น แล้วค่อยส่งมาให้เราแปล ตัวแปลก็จะระบุลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ ชื่อ ตำแหน่ง และวันที่รับรองสำเนาด้วย

****************

อ้อมีข่าวประกาศเพื่มเติม NAATI กำลังปรับปรุงระบบการทดสอบเพื่อรับ accreditation ตอนที่คุยกับเพื่อนนักแปล NAATI ก็มีพูดเรื่องคนสอบล่ามไม่ผ่าน คนสอบแปลไม่ผ่าน บางคนอาจจะ overestimated ตัวเองจริงๆ คิดว่าจบต่างประเทศยังไงต้องแปลได้ บางคนไม่คุ้นกับหัวข้อที่สอบ เหมือนตอนเราสอบ ได้เรื่องพลังงานทดแทน ในหลวงและรถม้า เลือกแปล 2 ใน 3 เรื่องนี้ เราแปลเรื่องแรกกับเรื่องหลังเพราะเรื่องในหลวงนั้น เราไม่รู้คำแปลราชาศัพท์ ใครสนใจ หาอ่านบล็อกเก่าของเราได้เรื่องการสอบ NAATI ใน Adelaide ได้

ส่วนเรื่องแนวข้อสอบเราคุยๆ กับเพื่อนว่า NAATI น่าจะออกข้อสอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศจริงๆ เรามองว่าวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีการรับรอง NAATIก็เพราะต้องการคัดคนมาช่วยงานแปลและล่ามสำหรับชุมชนชาวออสเตรเลีย อย่างข้อสอบแปล ก็น่าจะออกเรื่อง Centerlink กับ Medicare (ประกันสังคม) การประชุมผู้ปกครองที่โรงเรียนการแจ้งความที่สถานีตำรวจ คือเอาสถานการณ์จริงในชุมชนออสเตรเลียมาเป็นข้อสอบ

ทีนี้มีคนแย้งว่าข้อสอบล่ามควรมีความหลากหลายเพราะล่ามควรจะแปลได้ทุกหัวข้อ เราว่าอาจจะทำได้แต่เป็นไปไม่ได้ที่ล่ามจะเชี่ยวชาญทุกหัวข้อและในความเป็นจริงล่ามมีสิทธิ์เลือกงาน ถ้าลูกค้าว่าจ้างไปล่ามหัวข้อที่ไม่ถนัด ล่ามก็ปฏิเสธงานอยู่ดีเพราะขาดความสามารถขืนดันทุรังรับ ก็เดี๋ยวก็ผิดหลักจรรยาบรรณ

เรื่องตรวจคำแปลก็เคยได้ยินว่ามีคนแย้งว่า examiner ของ NAATI ใช้ภาษาเก่าในขณะที่ผู้รับการทดสอบใช้ภาษา (ที่ตนเองคิดว่า) ทันสมัย คือมันก็เป็นไปได้ ในการทำงานจริง editorจำนวนไม่น้อยก็แก้ตามแนวของเขา น้อยมากที่จะมีความเห็นตรงกัน นี่เราก็เพิ่งเจองานแปลแผ่นพับข้อมูลของหน่วยงาน ให้นักแปลในทีมทำ เราว่าฝีมือพี่คนนี้ดีเยี่ยมทีเดียวแหละ เราทำหน้าที่ตรวจแก้ ก็หลายจุดแต่เป็นจุดที่ไม่ใช่สาระสำคัญ คือไม่ใช่ส่วนที่แปลผิด ปรากฎว่าลูกค้าเรา (เป็นเอเจนซี่) ส่งนักแปลนอกให้ตรวจแก้อีกรอบก็แก้พรุนมาเลยจ้า ตรงไหนที่เราเห็นด้วยกับนักแปลคนตรวจแก้คนนี้แก้กลับมาเป็นอีกอย่าง อย่างคำว่า wage นักแปลแปลว่า“ค่าจ้าง” ตรงกับที่เช็คในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่คนตรวจคนนี้แก้เป็น “ค่าแรง” ซึ่งเรามองว่าไม่จำเป็นต้องแก้และอีกอย่างคือ พอใช้คำว่า “ค่าแรง” จะนึกไปถึง “labour cost”ในทางบัญชี (ก็มันมีคำว่า “แรง” ตรงกับ “labour”) ถ้าใช้ back-translation ตรวจ ก็น่าจะผิด เราอ่านแล้วหลายจุดแหม่งๆ แต่คนนี้เขาอาจจะเข้าถึงทรัพยากรการแปลที่ดีกว่าเราหรืออาจจะมีเหตุผลของเขา สุดท้ายแล้ว ใคร finalize งานแปล คนนั้นต้องเป็นคน defend กับลูกค้า ในส่วนของเรา เรา defend เฉพาะversion สุดท้ายที่เราทำเพราะเราตรวจโดยการเปิดพจนานุกรมเทียบและมีลิงค์เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องด้วย

การตรวจคำแปลมันมีเกณฑ์การตรวจหลายเอเจนซี่จะระบุเลยว่า อย่าแก้สไตล์ถ้าไม่จำเป็น ให้เน้นเรื่องความถูกต้องและดูว่าแปลตกหรือไม่กรณีแก้คำศัพท์เฉพาะ ให้แก้เหมือนกันทั้งเอกสารและทุกไฟล์ อย่างของ CIOL U.K. แปลตก 5% ถือว่าสอบตก (100 คำห้ามแปลตกเกิน 5 คำ) เวลาแปลเอกสาร ถ้าจะให้พ้นจากข้อนี้แนะนำให้แปลเรียงทีละตัว แล้วค่อยมาเกลาทีหลัง

เวลาทำงานจริงบางบริษัท ใช้ back-translation ตรวจ ถ้าใช้วิธี back translation ตรวจแล้ว มีdiscrepancy ที่ไม่มีนัยสำคัญ ถือว่างานแปลไม่มีปัญหา แต่ก็เคยเกิดประเด็นคือ นักแปลที่ทำหน้าที่back-translate เองตีความคำแปลไปอีกทาง เลย back-translate ออกมาเป็นอีกคำ Project Manager ก็ต้องส่งมาถามนักแปลคนแรกว่าทำไมถึงแปลอย่างนี้




Create Date : 27 พฤษภาคม 2559
Last Update : 27 พฤษภาคม 2559 8:03:30 น.
Counter : 2511 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤษภาคม 2559

1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog