วะบิ-ซะบิ


เอาเรื่องนี้มาเขียนจะเป็นประเด็นอะไรมั้ยเนี่ย แต่ก็จะเขียนเพื่อประโยชน์ของเพื่อนร่วมอาชีพ

ใครที่ตามอ่านโพสต์เฟสบุ๊คของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย(ส.ป.ล.ท.) คงจะผ่านตาว่าเมื่อไม่กี่วันนี้มีโพสต์เรื่องสำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์จะทำลายหนังสือ“วะบิ-ซะบิ” ฉบับภาษาไทยที่แปลโดย คุณกรินทร์ กลิ่นขจร ของนักเขียนชื่อ คุณเลนนาร์ดโคเรน ทั้งหมดที่ได้พิมพ์เสร็จสิ้นแล้ว

เผื่อใครไม่รู้จักหนังสือเล่มนี้ เว็บไซต์สำนักพิมพ์สวนเงินมีมาเขียนบรรยายเนื้อหาไว้ว่า “วะบิ-ซะบิ เป็นวิถี เป็นตัวกระบวนการ เป็นศิลปะอันหยั่งลึกสู่เซนทั้งเป็นหัวใจของสุนทรียภาพญี่ปุ่น วะบิ-ซะบิคือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์คือความงามของวัตถุสิ่งของที่สงบเสงี่ยม และอ่อนน้อม ไม่ยึดติดในคติแบบแผนผู้เขียนได้บอกเล่าเรื่องที่ยากที่สุดของวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างเรียบง่ายลุ่มลึก”

เรื่องนี้มันมีสาเหตุมาจากข้อความที่นักแปลโพสต์แสดงความไม่พอใจบนหน้าเฟสบุ๊คของตัวเองว่า“การจัดพิมพ์ใหม่ครั้งนี้ เป็นการทำงานที่ไม่ปกติ เนื่องจาก ตลอดเวลาสองปีไม่เคยมีการส่งไฟล์เลย์เอ้าท์และปกหนังสือให้ผู้แปลดู เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเลยแม้แต่ครั้งเดียว…….นอกจากนี้ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงคำสะกดทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทยตลอดทั้งเล่มโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผมทราบก่อนไม่ได้ถามความตั้งใจของผมว่าทำไมถึงใช้คำสะกดเหล่านั้น ผมไม่เคยได้ตรวจความถูกต้องและ "ไม่เคย" ให้ความยินยอมกับสิ่งที่เกิดขึ้น…..” นักแปลลงท้ายโพสต์ว่า “ด้วยความเจ็บปวด”

วันต่อมาวันที่ 10เมษายน 2561 สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์ก็ประกาศผ่านหน้าเฟสบุ๊คว่ายุติการพิมพ์และการจำหน่ายหนังสือ“วะบิ-ซะบิ” และจะทำลายหนังสือทั้งหมดที่ได้พิมพ์เสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งจะไม่พิมพ์หนังสือเล่มนี้อีกในอนาคตไม่ว่าจะเป็นสำนวนไหน โดยจะยอมรับความเสียหายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว “"วะบิ-ซะบิ"ผู้เขียนคือ เลนนาร์ด โคเรน ได้มอบลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายและสำนักพิมพ์ได้ดำเนินการตามข้อผูกพันนั้นโดยครบถ้วนแต่เมื่อผู้แปลเห็นว่าหนังสือฉบับนี้ เป็น “การตีความออกแบบใหม่ และจัดพิมพ์ที่แย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก"และต้องดำเนินการทุกอย่างตามความต้องการของผู้แปลเท่านั้น จึงจะถูกต้องงงดงามโดยผู้แปลไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับบทบาทหน้าที่ ภาระความรับผิดชอบที่แต่ละฝ่ายมีในกระบวนการผลิตหนังสือ เมื่อผู้แปลวางตัวยิ่งกว่าผู้เขียนความหน่วงหนักของการแบกภาระ จึงทำให้เกิดความทุกข์ใหญ่หลวงจนไม่อาจทานทนได้ และนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้หนังสือเล่มนี้หายจากตลาดไปยาวนานและคงต้องหายต่อไป ถ้าผู้แปลยังคงยึดถือมาตรฐานเช่นนี้ไว้จนกลายเป็นภาระใหญ่ของชีวิต”

เรื่องนี้ยาวไปจนถึงนักเขียนคุณเลนนาร์ด โคเรน เจ้าของผลงาน ซึ่งสำนักพิมพ์ได้ติดต่อไปและได้คำตอบมาว่า “P.S.I do not understand how or why the translator seems to have so much power and control over the publication of my book. The issues that the translator raised (according to your email) actually are for me, not him to decide.”

นอกจากนี้สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์ ได้ลงโพสต์เพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพว่า “…การที่ผู้แปลกล่าวหาสำนักพิมพ์ว่า“ตีความออกแบบใหม่และจัดพิมพ์หนังสือได้แย่ที่สุดในโลก” นั้น เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงมากและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างกว้างขวางต่อผู้อ่านเนื่องจากเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณะ เป็นข้อกล่าวหาที่ใช้อคติเป็นที่ตั้ง…ผู้แปลพยายามใช้การกล่าวอ้างให้ผู้อ่านเข้าใจว่าสำนักพิมพ์ทำการแก้ไขต้นฉบับโดยพลการ ทั้งๆ ที่เป็นเพียงการแก้ไขตัวสะกดและการตัดคำซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยสมบูรณ์ของบรรณาธิการ ซึ่งในกรณีถอดคำจากภาษาต่างประเทศแต่ละสำนักพิมพ์จะมีมาตรฐาน เพื่อรักษาการแปลให้เสมอกันทุกเล่ม…ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนักแปล ที่จะก้าวล่วงเข้าสู่การตัดสินใจทางธุรกิจ…ทั้งหมดนี้ สำนักพิมพ์ได้ทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นมืออาชีพและจำเป็นต้องชี้แจงอย่างชัดเจน เคร่งครัดเนื่องจากมิใช่เป็นเพียงการโจมตีส่วนตัวอย่างที่ผู้ติดตามทั่วไปเข้าใจหากแต่เป็นการโจมตีวิชาชีพและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในมาตรฐานการทำงานหนังสือแก่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมนี้และนี่จะเป็นการก่อปัญหาใหญ่ให้กับนักแปลรุ่นใหม่ถ้าใช้วิธีการทำงานเช่นนี้กับสำนักพิมพ์ในอนาคต”

ขอตัดมาแค่นี้นะข้อความต้นฉบับยาวมาก โปรดตามไปที่หน้าเฟสบุ๊คของนักแปลหรือของสำนักพิมพ์เพื่ออ่านฉบับเต็ม

ประเด็นที่อยากจะมาแบ่งปันคือเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพ ทันทีที่เราเห็นโพสต์เรื่องนี้ ก็นึกออกเลยว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับหลักจรรยาบรรณข้อไหน

หลักจรรยาบรรณวิชาชีพของ Australian Institute of Interpreters and Translators (AUSIT) ระบุหลักปฏิบัติไว้ 9 ข้อ 1. PROFESSIONAL CONDUCT 2. CONFIDENTIALITY 3.COMPETENCE 4. IMPARTIALITY 5. ACCURACY 6. CLARITY OF ROLE BOUNDARIES 7.MAINTAINING PROFESSIONAL RELATIONSHIPS 8. PROFESSIONAL DEVELOPMENT 9. PROFESSIONAL SOLIDARITY และแต่ละข้อมีคำบรรยายพร้อมตัวอย่างกำกับ

ดูฉบับเต็มได้ที่  https://ausit.org/AUSIT/Documents/Code_Of_Ethics_Full.pdf

จากคำบรรยายจะเห็นได้ว่า การที่นักแปลออกมาตำหนิสำนักพิมพ์นั้นเข้าข่ายทำผิดหลักจรรยาบรรณดังนี้

1.Professional conduct 

1.5 Interpreters and translators do not exercise power or influence over their clients. (นักแปลสั่งสำนักพิมพ์ในเรื่องต่างๆ)

6.Clarity of role boundaries 

6.2 Interpreters and translators respect the professional boundaries of other participants involved in an assignment.(นักแปลทำหน้าที่เกินขอบเขตงานของตัวเอง)

7. MAINTAINING PROFESSIONAL RELATIONSHIPS 

“…they foster a mutually respectful business relationship with the people with whom they work…” (ออกมาตำหนิแบบไม่ไว้หน้านี่คือขาด respect ที่มีให้อีกฝ่าย ไม่ว่าจะตำหนิต่อสาธารณะหรือตำหนิกันเป็นการส่วนตัว)

อนึ่งหลักการด้านบนใช้กับนักแปลทั่วไปแต่จะไม่มีผลอะไรหากนักแปลไม่ใช่นักแปลที่ได้รับการรับรองโดย AUSITหรือ NAATI หรืออีกนัยหนึ่งคือ หากนักแปลได้รับการรับรองโดยหน่วยงานดังกล่าว หากเกิดกรณีด้านบนและนักแปลถูกร้องเรียนหน่วยงานก็จะสอบสวนหาข้อเท็จจริงและดำเนินการตามขั้นตอน (ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรมของประเทศไทยก็ดำเนินการในแบบเดียวกันคือสอบสวนหาข้อเท็จจริงและลงโทษสูงสุดคือเพิกถอนทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับนักแปลบางคนมาแล้ว)

ความเห็นของเราในเรื่องนี้คือบางอย่างเราก็เข้าใจนักแปล อย่างเรื่องการสะกดคำ การแก้ไขสำนวนแปล (ถ้ามี) ในเมื่อชื่อนักแปลอยู่บนหน้าปกอะไรที่อยู่ข้างในที่ผิดพลาด คนมักจะว่านักแปลก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งที่จริงแล้วควรจะเล็งไปที่บรรณาธิการเนื่องจากการตัดสินใจสำคัญๆ มักจะมาจากบรรณาธิการ ตรงนี้เราก็เข้าในอีกว่านักแปลหลายคนเคยเจอบรรณาธิการที่ไม่ค่อยมีเหตุผล แก้อะไรไม่สมเหตุสมผล แต่นักแปลก็ต้องไม่ลืมว่าสำนักพิมพ์ก็คือลูกค้า เขาเป็นเจ้าของเงิน สำหรับเราเวลาลูกค้าแก้อะไรที่ขัดใจมา เราก็บอกว่าถึงเราจะไม่เห็นด้วยแต่เราตามใจลูกค้าเพราะลูกค้าเป็นคนนำเอกสารไปใช้ ยกเว้นเอกสารแปลที่เราต้องเซ็นรับรองถ้าเราไม่แก้ตามลูกค้า ก็คือไม่แก้ เพราะเวลามีปัญหา คนที่ต้องตอบคำถามคือเราไม่ใช่ลูกค้า

ส่วนเรื่องการจัดรูปเล่มและอื่นๆที่เป็นหน้าที่ของแผนกต่างๆ ของสำนักพิมพ์ นักแปลอยากจะใส่อินพุทก็เข้าใจแต่มองอีกด้านมันคือการก้าวก่ายงานของคนอื่น เทียบไปก็เหมือนเราแปลเอกสารยื่นวีซ่าออสเตรเลียแล้วลูกค้ามาถามว่าใช้เอกสารตามนี้วีซ่าจะผ่านมั้ยต้องหาหลักฐานอะไรเพิ่มมั้ย ถึงเรารู้คำตอบ ก็พูดไม่ได้เพราะไม่ใช่หน้าที่ของนักแปลและไม่มีเลขทะเบียนเอเจนท์วีซ่าตามกฎหมายออสเตรเลียอีกต่างหาก  ขืนตอบไป เราโดนรัฐบาลออสเตรเลียปรับ ใครจะจ่ายค่าปรับให้เรา ลูกค้าหลายคนไม่รู้เรื่องนี้ ก็หาว่ากั๊กแค่นี้บอกไม่ได้ ถ้าเราให้คำแนะนำลูกค้าไปแล้วเอเจนท์วีซ่า(มีทะเบียน) ของลูกค้ารู้ เขาจะด่าเราว่า เสือก หรือเปล่า (บอกก็ผิด ไม่บอกก็ผิด ตูละเบื่อ)

ถ้าใช้commonsense จริงๆ จะบ่นอะไร ก็บ่นหลังไมค์ บ่นกับคนสนิท คนที่เก็บความลับได้ไม่ใช่เอามาตำหนิต่อหน้าคนหมู่มากเพราะไม่รู้วันหน้าต้องทำงานร่วมกันอีกหรือเปล่าหรือองค์กรอื่นที่เราจะต้องร่วมงานด้วยอาจเป็นพันธมิตรกับคนที่เราเอาเขาไปว่าก็จะเป็นการตัดหนทางทำกิน บางคนก็ตำหนิแบบเป็นนัยใช้วิธีเหน็บเล็กๆ กัดจิกพอเป็นพิธี ให้อ่านแล้วขำๆ แทนที่จะโกรธ 

มีประเด็นแตกออกมาจากกรณีนี้คือธรรมสิทธิ์ หาอ่านได้ที่ https://www.gmlive.com/waba-sabi-about-copy-moral-right (อ่านจบก็ยังไม่ได้ข้อสรุป เหมือนจะเป็นเพียงข้อสังเกตของผู้เขียนบทความมากกว่า)




Create Date : 17 เมษายน 2561
Last Update : 17 เมษายน 2561 12:08:08 น.
Counter : 1438 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
เมษายน 2561

1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
17 เมษายน 2561
All Blog