รีวิว In-context และ In-Sync






สองสัปดาห์นี้ได้งานรีวิวมา ไม่ใช่รีวิวเพื่อขายของนะ แต่เป็นรีวิวเนื้อหา (คำแปล) ที่แสดงผลจริง

ขอเล่าเรื่องรีวิวเว็บเพจก่อน

กระบวนการทำเว็บจะเริ่มที่การเลือกเนื้อหาว่าจะใช้เนื้อหาใดบ้างเพื่อเผยแพร่ในหน้าเว็บ ต้องคำนึงถึงจำนวนหน้าเว็บ ขนาดพื้นที่ ยิ่งลูกเล่นเยอะยิ่งแพง จะทำแค่เว็บให้ข้อมูลหรืออยากให้มีฟอร์ม contact ให้ลูกค้ากรอกข้อมูลตัวเนื้อหาเองก็ต้องคัดเน้นๆ ตามแนวการตลาด อย่าเขียนให้น่าเบื่ออย่าเขียนเหมือนเว็บคู่แข่ง อย่าใส่เนื้อหาที่ทำให้ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

จากนั้นก็ส่งเนื้อหาไปแปลก็ต้องเลือกนักแปลที่ถนัดแปลเนื้อหาที่จะขึ้นเว็บ เช่น เว็บขายอะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรม ควรจะใช้นักแปลที่ถนัดแปลงานวิศกรรมเครื่องกล บางกรณีลูกค้าส่งเนื้อหาต้นฉบับให้ทีมเว็บ ทีมเว็บก็ใส่ html tags เลย ต้นฉบับที่นักแปลจะได้ไปแปลก็จะมี tags พวกนี้ หากเป็น bilingual table ทั้งซ้ายทั้งขวาจะมี tags เต็มไปหมด ทำให้ตาลายอย่างยิ่ง 

แปลเสร็จแล้วก็ส่งคำแปลให้นักแปลอีกคนตรวจแก้ (checker) ขั้นตอนนี้นอกจากคนตรวจต้องทำหน้าที่ verify คำแปลคำศัพท์ทั้งหมดแล้ว ถ้าตัวแปลที่ส่งมามี tags ต้องตรวจ tags ด้วย ถ้าหายไปตัวนึงหน้าเว็บจะแสดงผลเพี้ยน

ขั้นต่อไปคือส่งตัวที่แก้แล้วคืนให้นักแปลเพื่อ accept หรือ reject ก็แล้วแต่คำสั่งของเจ้าของงานว่าจะให้ใครเป็น decision maker บางที project manager ก็ไม่เด็ดขาด ต้องการให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้ได้ งานมันก็ไม่ลงตัวเพราะทั้งนักแปลและ checker ต่างก็มี references ของตัวเองซึ่งเป็น references คนละแหล่ง อันนี้ป้องกันได้ด้วยการจัดทำ style guide บางโปรเจ็กต์มีคู่มือการจัดทำสิ่งพิมพ์ให้ใช้อ้างอิง ยาวหลายสิบหน้าตรวจงานไป ก็พลิกดูคู่มือไป เพราะสุดท้ายแล้ว Client always has the final say. (เจ้าของเงินนิ) หลายกรณี project manager เอา checker เป็นหลัก ใช้ version ที่ตรวจแก้เลย แล้วหากลูกค้ามีคำถาม คำถามจะส่งไปที่ checker (ส่งไปถามนักแปลไม่ได้นะเพราะเขาไม่รู้เรื่องฉบับแก้) ฉะนั้น checker ควรแม่นเรื่องการใช้ภาษายิ่งกว่านักแปลหรือต้องรู้จักการค้นหาแหล่งอ้างอิงประกอบการตรวจแก้ ต้องหัด defend โดยใช้เหตุผลและหลักฐานสนับสนุน

พอได้ฉบับแปลที่ final แล้วก็ถึงตาของทีมทำเว็บ เราเขียนถึงฝั่งคนดูเนื้อหาที่จะเผยแพร่เลยไม่มีข้อมูลเรื่องกระบวนการทำเว็บ กะว่าต้นปีหน้าเราอยู่กรุงเทพ จะขอสัมภาษณ์น้องที่รู้จักกันเรื่อง localization แล้วมาเขียนให้อ่าน

เมื่อได้ร่างหน้าเว็บแล้ว project manager จะส่งให้นักแปลหรือ checker ตรวจความเรียบร้อยแบบ in-context คือ ตรวจจากหน้าเว็บจริงซึ่งมันจะต่างจากตรวจคำแปลเฉยๆ ตรวจคำแปลมันต้องเทียบกับต้นฉบับ ตรวจหน้าเว็บคืออ่านแล้วดูว่าสะกดผิด ประโยคแปร่งๆ ตัวหนังสือแสดงผลเป็นภาษาต่างดาว และมีที่ผิดอื่นๆหรือไม่ เพราะเวลาเนื้อหาแสดงผลออกหน้าจอจะเจอที่ผิดเพี้ยนมากมาย เช่น

ทีมเว็บตัดย่อหน้าผิด หรือตัดข้อความมาใส่ขาดไปบางตัวอักษร หรือจัดฟอนท์ขนาดไม่เท่ากัน หรือแปะย่อหน้าผิด section

hyperlink ลิงค์ไปผิดหน้า ไปเจอ Page not found. หรือลิงค์ไม่ครบเช่น “ลากิจหรือลาพักร้อน” แต่ hyperlink คลุมแค่ “กิจหรือลาพักร้อน”

ใส่รูปประกอบผิดหน้าเช่น หน้าโรงเรียน แต่ใส่รูปห้างสรรพสินค้า

มีเนื้อหาเพิ่มขึ้นมาจากตอนแรกซึ่ง checker ไม่ได้รับงานส่วนที่เพิ่มมาตรวจ

บางทีเนื้อหาที่แสดงในเว็บไม่ตรงกับที่ตรวจเพราะลูกค้าแก้กลับก็มี ถึงจะอ่านแล้วรู้สึกว่ามันไม่ธรรมชาติก็ต้องปล่อย เพราะเป็น client’s preference

คำเดียวกันแต่แปลต่างกันในส่วนหัวเรื่องและส่วนเนื้อหาที่เป็นย่อหน้าเป็นไปได้ว่าใน bilingual table ช่องหัวเรื่องมันล็อกไว้ไม่ให้แก้ (reserved words) นักแปลก็แปลเนื้อหาไปตามที่เห็นสมควรแต่หัวเรื่องมันเปลี่ยนไม่ได้ หน้าเว็บเลยไม่สอดคล้องกัน

เนื้อหาภาษาไทยแต่มีภาษาอื่นปนมา พบได้กรณีแปลเว็บไซต์ออกเป็นหลายภาษาคนทำเว็บคงจะมึน เพราะหลายครั้งคนทำเว็บเป็นเอเจนซี่ที่ไม่ใช่ native speaker ของภาษาที่กำลังทำเว็บอยู่อ่านไม่ออกหรอก ภาษาที่ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ พอมาเรียงอยู่กับภาษาอังกฤษก็กลมกลืนใช้ได้

ส่วนรีวิวคลิปคือตรวจเนื้อหาที่พากย์จริงในคลิปแบบ in sync คือนั่งฟังบทพากย์ที่พากย์ทับบทพูดเดิม

ต้องบอกก่อนว่าเวลาแปลบทพากย์เราจะไม่บอกนักแปลว่าเป็นบทพากย์เพราะไม่งั้นจะโดนหั่นตั้งแต่แรกศัพท์บางตัวจะเพี้ยนเลย เราอยากได้คำแปลฉบับเต็มก่อนแล้วค่อยมาตัดเท่าที่จำเป็น ดังนั้นเนื้อหาที่แปลไว้แล้วมักจะยาวทำให้คนพากย์พากย์ไม่ทัน  อันที่เราดูนั้น นักแปลไม่ได้แปลยาวเกินต้นฉบับ ถ้าดูจำนวนคำ จะใกล้เคียงกันแต่คนพากย์บอกว่าตัดให้สั้นอีกจะทำให้พากย์ได้สบายขึ้นคือไม่ต้องรีบเพื่อให้คำมันจบพอดีกับบทพูดของบุคคลในต้นฉบับ

งานที่เราเพิ่งดูไปนั้น ตอนคัดคนพากย์ ลูกค้าส่งคลิปเสียงมาให้เราคอมเมนท์ end-user คอมเมนท์ไม่ได้เพราะไม่รู้ภาษาไทย เนื่องจากลูกค้าไม่ได้ให้แนวทางในการคัดเลือก เราก็คอมเมนท์ในฐานะเจ้าของภาษา  ที่เห็นชัดคือคนหนึ่งออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัด แล้วน้ำเสียงค่อนข้างเด็กในขณะที่เนื้อหาที่จะพากย์เป็นเนื้อหาที่เป็นทางการ ส่วนอีกเสียงหนึ่ง ฟังแล้วสงสัยว่าเคยพากย์โฆษณาที่ไหนหรือเปล่า พูดได้น่าฟัง ชัดเจน จังหวะดี เสียงเป็นผู้ใหญ่ แต่ไม่แก่นะ (เพื่อนนักแปลเคยส่งคลิปมาให้ดูคนพากย์พูดภาษาไทยไม่ชัดเลย ฟังไม่รู้เรื่อง สำเนียงอังกฤษจ๋ามากกกก แล้วมันเป็นคลิปข้อมูลเพื่อประชาชน พากย์อย่างนี้ใครจะฟัง)

หลายคำก็หั่นง่าย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ (police officer) ก็ตัดเหลือ ตำรวจ (officer), ศาลมาจิสเตรท (magistrate court) ก็ตัดเหลือแค่ ศาล (court)

บางคำเราก็ไม่อยากตัดอย่างพวกคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเอกสารราชการที่เป็นภาษาอังกฤษ ตัวแปลใส่มาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เราว่าก็เหมาะเพราะเวลาติดต่อจริงน่าจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็ต้องตัดภาษาอังกฤษออกเพราะพากย์ไม่ทัน (จริงๆ ใจเราอยากให้คนพากย์อ่านคำนี้เป็นภาษาอังกฤษนะ)

เมื่อตัดคำแปลให้สั้นลงตามที่คนพากย์ขอแล้ว ปรากฏว่าพอพากย์จริง หลายประโยคสั้นกว่าต้นฉบับ คือพากย์จบไปแล้ว ยังได้ยินเสียงภาษาอังกฤษอยู่อันนี้คนพากย์ต้องไปปรับ pace เอง บางตอน คำพูดก็ไม่เข้าปาก คือบทพากย์ไม่ตรงกับปาก

บอกตามตรงงานรีวิว เราไม่ค่อยชอบเพราะจุกจิก ตรวจแล้วมันไม่จบ ต้องตรวจรอบสองรอบสามแต่ลูกค้ามักจะจ่ายตังค์แค่รอบเดียวคือรอบแรก (เอ๊ะ ยังไง) จะไม่ตรวจรอบต่อไปก็รู้สึกแย่ กลัวคนอื่นไม่รู้แล้วพูดว่าทำงานไม่เรียบร้อย(หารู้ไม่ว่าได้ตังค์รอบเดียว) เราถึงเข้าใจหากนักแปลบางคนไม่ค่อยรับงานแปลและเลือกรับงานล่ามมากกว่าเพราะล่ามแล้วจบเลย ไม่ต้องย้อนไปแก้อีก พลาดแล้วก็แล้วไป ปรับปรุงใหม่งานหน้า (แต่งานล่ามที่มีการอัดเทปไว้เป็นหลักฐานมีการจัดการที่แตกต่างออกไป ไว้มีข้อมูลเพิ่มเติม จะมาเล่าให้ฟัง)

อ้อ ช่วงนี้เราว่าง ไม่มีงานชิ้นใหญ่ นอกจากจะใช้เวลาอ่านพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชการที่ 9 (แม้จะไม่อยู่กรุงเทพแต่เราก็ถวายความอาลัยท่านในแบบของเรา) เราอาจจะอัพบล็อกถี่หน่อย ชดเชยช่วงที่ไม่ว่างเขียนอะไรเลย ผู้อ่านอย่าเพิ่งรำคาญ




Create Date : 20 ตุลาคม 2559
Last Update : 20 ตุลาคม 2559 7:53:23 น.
Counter : 1296 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
ตุลาคม 2559

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog