เสนอราคาไป แต่ทำไมไม่ได้งาน


เสนอราคาไป แต่ทำไมไม่ได้งาน

สัปดาห์ที่แล้วมีลูกค้าติดต่อให้แปลเอกสารเพื่อใช้ประกอบคำฟ้องศาลส่วนใหญ่เป็นสัญญาทางการเงิน บางชุดเป็นตารางการชำระเงินและหลายชุดเป็นอีเมลโต้ตอบเกี่ยวกับประเด็นทางการเงินการธนาคาร  รวมแล้วน่าจะประมาณ 60,000 คำ มีเวลาทำประมาณ 10 วัน เราแปลคนเดียวไม่ทันแน่ๆ ก็เลยแจ้งลูกค้าว่าไม่ทัน ยกเว้นว่าจะอนุญาตให้กระจายงานให้นักแปลรายอื่นรับไปทำแล้วเราเป็นคนตรวจแก้ก่อนเซ็นรับรองเพื่อนำไปใช้ในศาล ซึ่งลูกค้าอนุญาต

ปฏิบัติการหานักแปลก็เริ่มขึ้น เราค้นดูประวัตินักแปลที่เคยได้รับต้นปีมีประมาณ 15 คน (จริงๆ มีคนอีเมลมาเยอะกว่านี้แต่ไม่แนบ CV มาเพราะเราบอกไปว่าหาคนทำโปรเจ็กต์นั้นได้แล้ว)ทุกคนเรียนการแปลหมด ฉะนั้นฝีมือน่าจะไว้ใจได้ในระดับนึง แต่พออ่านรายละเอียดของแต่ละคนแล้ว ไม่เข้าตากรรมการเลยหาที่พอจะแปลเอกสารกฎหมายได้ มีอยู่คนเดียวแต่ไม่เคยแปลเอกสารที่ใช้ขึ้นศาลจริงๆ สุดท้ายนักแปลท่านนี้ขอไม่รับงานนี้เพราะเกรงว่าแปลแล้ว คนตรวจแก้จะงานเข้า

แล้วก็ได้ประวัตินักแปลเพิ่มจากหน้า FB ของสมาคมนักแปลประมาณ 5 คน มีคนเดียวที่มีคุณสมบัติครบถ้วน แหงอยู่แล้วก็ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญศาลเหมือนเราแต่เป็นในสาขาล่าม เราเห็นบรรทัดนี้ปั๊บ ที่เหลือไม่อ่านบอกเลยว่า ผ่าน ถ้าลูกค้ายืนยันสั่งจ้าง เราส่งงานให้ท่านนี้แน่นอน  ส่วนอีกคนนึงที่จองตัวไว้คือผู้เชี่ยวชาญศาลที่ภูเก็ต นี่ก็เพื่อนกันแต่เพื่อนออกตัวไว้ว่าถนัดแต่แปลงานแพ่งปกติ ไม่ใช่แพ่งพิสดารแบบการเงินการธนาคารมากๆ มันจะยากเกิน  

จากปฏิบัติการหานักแปลครั้งนี้เราได้ข้อสังเกตหลายอย่างคือ

1. นักแปลไม่รู้ราคาค่าแปลของตัวเอง

เวลาถาม ผู้สมัครจะตอบเป็นตัวเลขคร่าวๆ เช่น หน้าละ 400 บาท หน้าละ 600 บาท แต่มีคนนึง บอกว่า บรรทัดละ 250 บาท เราอ่านแล้วงงต้องโทรไปถาม ถ้าราคาเท่านี้จริงหน้านึงก็ครึ่งหมื่นแล้วสิ เพราะหน้านึงมี 20 บรรทัดอย่างน้อย น้องคนนี้ตอบว่างานล่าสุดได้เท่านี้แต่เป็นงานเล็กๆ ปกติรับอยู่หน้าละ 500 บาท แหม ก็ไม่น่าเสนอราคาไม่ปกติมา ทำเอาตกใจ

จริงๆ การเสนอราคานี้นักแปลน่าจะมีอัตราค่าแปลที่ชัดเจนกว่านี้ เช่น เอกสารทั่วไปทางธุรกิจ การตลาดงานบุคคล หน้าละ 400 บาท เอกสารเทคนิค หน้าละ 700 บาท เป็นต้น

2. นักแปลคิดค่าแปลไม่สอดคล้องกับคุณวุฒิของตัวเอง

เราว่าตรงนี้คลุมเครือเพราะยังไม่เคยมีใครทำวิจัยว่านักแปลในประเทศไทยส่วนใหญ่คิดค่าแปลกันเท่าไหร่ยังไง ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ ทำให้นักแปลกำหนดค่าแปลไม่ได้ หลายๆ คนใช้วิธีเทียบกับนักแปลรายอื่นในตลาดแต่เทียบพลาดก็เยอะเพราะไม่ได้ดูว่าตัวเองวุฒิไม่เท่าเขาแต่เราอยากได้ค่าแปลเท่า มันก็ไม่ถูกสิ  หรือบางคน ทุกอย่างพร้อมมากแต่ยินดีรับงานที่ให้ค่าแปลน้อย อย่างนี้เราก็ไม่สนับสนุนนะยิ่งมีประสบการณ์แล้วค่าแปลยิ่งลดลงเนี่ย เพื่อนนักแปลจะลำบากไปด้วย

3. นักแปลมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่ลูกค้าต้องการ

ยกตัวอย่างงานนี้แจ้งแล้วว่าเป็นเอกสารกฎหมาย แต่ก็ยังมีคนส่งประวัติมา ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าเค้าเลย คุณสมบัติเบื้องต้นอีกอย่างคือนักแปลต้องจบด้านการแปลมา หรือต้องเป็นทนายความเท่านั้น ในความเป็นจริงทนายที่ไหนจะมานั่งรับงานแปลในเมื่อว่าความได้เงินเยอะกว่ากันมาก แล้วคนที่จ้างทำงานนี้ก็คือทนายความนี่แหละเพราะเขาไม่มีเวลาแปล  และเนื่องจากเป็นเอกสารที่จะใช้ในศาลเราต้องการคนที่ทำงานรอบคอบจริงๆ ต้องมีประสบการณ์ด้านการแปลเอกสารกฎหมายมาพอสมควร (แน่นอนว่าต้องเคยเห็นงานตัวเองที่โดนทนายตรวจแก้มาแล้ว) และต้องมั่นใจว่าจะไม่แปลพลาด พอบอกอย่างนี้ก็ยิ่งหายาก

4. นักแปลตอบอีเมลช้ากว่าที่ลูกค้าคาดหวัง

นึกถึงคนทำธุรกิจนะ ถ้าอยากได้ลูกค้า คุณต้องเร็ว ไม่งั้นคู่แข่งตัดหน้าหมด คราวที่แล้วที่เราหานักแปล เกือบทั้งหมดตอบอีเมลเราใน 2 วันหลังจากที่ได้รับแจ้งว่าต้องการแปล เราว่ามันช้าเกิน นักแปลที่แปลงานเป็นอาชีพหลักควรจะตอบอีเมลภายใน 2 ชั่วโมงเช็คจากมือถือนี่แหละ ฉะนั้นอย่าคิดว่าเราเป็นแค่นักแปล แต่เราเป็นเจ้าของกิจการ ต้องทำงานแปลเหมือนทำธุรกิจ

5. นักแปลไม่ได้ทำงานแปลเป็นงานหลัก

นักแปลที่เราได้รับประวัติการทำงานมาส่วนใหญ่จะแปลงานเป็นอาชีพเสริม เข้าใจแหละว่าสำหรับหลายๆ คนแล้ว ทำงานแปลได้เงินไม่พอกิน และเราก็ไม่เคยบอกให้ใครออกจากงานประจำมาทำงานแปลเลยยกเว้นได้ซองขาวพร้อมเงินชดเชยและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบเป็นกอบเป็นกำ แต่ข้อเสียของการทำงานแปลเป็นอาชีพเสริมคือนักแปลจะรับงานแปลได้ไม่เต็มที่ งานมูลค่า 10,000 บาทหรือประมาณ 12 หน้า ถ้าแปลทั้งวัน จะใช้เวลาแปลแค่ 2 วันก็เสร็จแล้ว แต่พอทำงานแปลเป็นอาชีพเสริม จาก 2 วัน มันก็จะกลายเป็น 7 วัน นักแปลเสียโอกาสรับงานอย่างนี้ก็หลายคนอยู่

ส่วนนักแปลที่โอดครวญว่าลูกค้าให้เวลาน้อย จะทำทันได้ยังไง ขอให้อ่านบล็อกเรื่องค่าแปลคิดเป็นคำหรือเป็นชั่วโมง อัตราจำนวนคำเฉลี่ยต่อชั่วโมงที่นักแปลส่วนใหญ่แปลได้จะอยู่ที่ 500 คำต่อชั่วโมง วันนึงถ้าทำ 8 ชั่วโมง ก็ได้ตั้ง 4,000 คำแล้ว ปัญหาคือนักแปลไม่ได้ทำงานแปลเป็นงานประจำเลยบอกว่าเวลาไม่พอ

6. นักแปลไม่รู้ว่าตัวเองทำงานแปลอะไรไปบ้าง

นักแปลควรจะมีบันทึกว่าปีนี้ ทำงานนี้ จำนวนกี่หน้า ทั้งหมดกี่คำ เป็นงานแปลหรืองานตรวจแก้ คู่ภาษาไหน อัตราค่าแรงเท่าไหร่ ลูกค้าคือใคร สั่งจ้างเมื่อไหร่ รวมยอดค่าแรงเท่าไหร่ สกุลเงินอะไร งานหัวข้ออะไรสาขาไหน เวลาลูกค้าถาม จะได้เปิดไฟล์ดูเพื่ออ้างอิง บันทึกอย่างนี้ เราก็ทำไว้ เพราะเราต้องทำส่งหน่วยงาน NAATI เวลาต่อใบรับรองด้านการแปล

บริษัทแปลเคยขอรายชื่องานที่เราเคยแปลเราส่งให้ดูย้อนหลัง 3 ปีได้เลย (ไม่ได้ระบุชื่อลูกค้าหรือชื่อโครงการ บอกแค่ว่าเป็นเอกสารในสายงานนี้นะลูกค้าเป็นหน่วยงานรัฐบาลนะ) ในบันทึกก็ระบุจำนวนคำด้วย ปี 2554 เรารับงานประมาณ 175,000 คำ ทั้งงานแปลและงานตรวจแก้ ปีที่แล้ว 2555 เรารับงาน 550,000 คำ (ทำไปได้ไงเนี่ย) ส่วนปีนี้ 2556 ครึ่งปีแรกเราแปลไปแล้ว 300,000 กว่าคำ

ข้อดีอีกอย่างของการทำบันทึกงานแปลคือสามารถวางแผนภาษีได้ พอเรารู้ว่าจนถึงเดือนสิงหาคม เรามีรายรับเท่านี้แล้วนะ เราต้องซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเท่าไหร่ จะได้หาจังหวะที่ราคาหน่วยลงทุนร่วงเพื่อช้อนซื้อ ถ้าซื้อแล้ว ยังไม่พอลดหย่อนก็ต้องไปหาซื้ออย่างอื่นเพื่อลดหย่อนเพิ่ม

สรุปว่า หานักแปลฝีมือมาก มันหายากเหมือนงมเข็ม

*************
สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com
ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563
 




Create Date : 04 สิงหาคม 2556
Last Update : 29 พฤษภาคม 2563 16:51:55 น.
Counter : 3780 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
สิงหาคม 2556

 
 
 
 
1
3
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
All Blog