สภาษิตอีสานใต้ เกี่ยวกับ ปลา

สุภาษิตภาษาเขมรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปลา (ตะเร็ย)

ปลาถือว่าเป็นอาหารหลักที่สำคัญของชาวเขมรแถบ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ถึงคราวน้ำหลากหน้าฝนในปีหนึ่งๆ สามารถจับปลาได้เป็นจำนวนมาก เมื่อได้มาก็นำมาปรุงเป็นอาหาร หากได้มากก็นำมาหมักเป็น ตะเร็ย ปะไรย์ (ปลาร้า) เอาไว้กินยามขาดแคลนในหน้าแล้วก็ได้ สมัยผู้เขียนเรียนอยู่ชั้นประถม ที่โรงเรียนบ้านปราสาท อำเภอขุขันธ์ หลังจากที่ดำนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้นข้าวในนาเริ่มเขียว... บ่ายแก่ๆ เด็กๆผู้ชาย ก็จะพากันไปขุด จันลีน* (ไส้เดือน) เก็บไว้ในกระป่องนม หรือว่าตลอกโดง* (กะลามะพร้าว) เพื่อจะนำมาเป็นจันนูย* (เหยื่อ) สำหรับตาปลา เมื่อได้ จันนูย จนเป็นที่พอใจแล้ว ก็พากันหยิบคันเบ็ดคนละมัดใหญ่ๆ ออกผจญภัยไปตาม อำปว๊กสะแร*(ทุ่งนา ที่เพิ่งปักดำเสร็จใหม่ๆต้นข้าวกำลังเขียวขจี) เมื่อไปถึงที่หมายก็พากันเสียบคันเบ็ดที่ติดจันนุย* (เหยื่อปลา โดยเอาตะขอเบ็ดเสียบตัวไส้เดือน เรียบร้อยแล้ว) ปักไว้ตามปะเนิด สะแร* (เชิงคันนา ที่มีน้ำปริ่มๆ) เมื่อปักคันเบ็ดจนหมดแล้ว ก็พากันกลับมากินข้าวเย็นที่บ้าน แล้วหลังจากนั้นก็ไปชะเล๊าะฮ์* (ไปส่องไฟ,ไปยามเบ็ด) เพื่อดูผลงานกัน ตามจุดต่างๆที่ปักคันเบ็ดเอาไว้ ดูสักสองสามรอบ ได้ปลามาหลายตัวก็นำมาเสียบไว้กับ คะนู๊จสระเมาตระก๊าส* (เด็ดเอาหญ้าที่เป็นปล้องๆ แข็งๆหน่อย มัดปลายให้เป็นปม แล้วเสียบเหงือกปลา ร้อยเก็บเป็นพวง หญ้าหนึ่งเส้น สามารถเก็บปลาได้สิบๆตัว) รุ่งเช้าก็นำปลาเหล่านี้ให้แม่ปรุงเป็นอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน เป็นประจำ.... คนแถวนี้จึงนำลักษณะและพฤติกรรมของปลามาผูกเป็นภาษิตต่างๆ นานา ได้มากมาย

รู๊จ บัด ทา ตะเร็ย ร็อฮฺ บาน ต่อง อ็อฮฺ ทา ตูจ

หลุดหายไป ว่าได้ปลาช่อนตัวใหญ่ ได้ทั้งหมดบอกว่าเล็ก

คำอธิบาย ปลาช่อนเป้นปลาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่นๆ เช่นปลาหมอ ปลากระดี่ ปลาซิว เนื่องจากปลาช่อนเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่จึงเป็นปลาที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ภาษิตนี้หมายถึง คนที่ทำสิ่งใดสูญเสียหรือทำหายไปแล้ว พลอยประสมว่าสิ่งนั้นมีราคาเกินความจริงเสมอ เหมือนปลาช่อนที่หลุดหายลงไปในน้ำแล้ว มองไม่เห็นว่าตัวเล้กหรือตัวใหญ่ก็อ้างว่าเป็นปลาช่อนซึ่งเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนปลาที่ได้มานั้นมีความรู้สึกว่าตัวเล็กนิดเดียวเอง

โด๊จ ยัว อันตวง โตว จะล๊วก พ่อก

เหมือนเอาปลาใหลไปใส่โคลน

คำอธิบาย ปลาใหลเป็นสัตว์ที่มีมากตามหนองน้ำใหญ่ คนเขมรนิยม นำมา สันลอว์ (แกง) ต้มยำ ปิ้งหรือย่าง ธรรมชาติของปลาใหล มันชอบอาศัยอยู่ตามพ่อก (โคลน) เมื่อนำปลาใหลไปใส่โคล ปลาใหลมันก็จะหนีหายไปอยู่ตามโลนทันที ยากที่จะจับกลับคืนมาใหม่ได้ ภาษิตนี้หมายถึง คนที่ชอบหรือฝักไฝ่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเปิดโอกาสให้กระทำสิ่งนั้น หรือมีช่องทางที่จะทำสิงที่ตนชอบได้ก็จะทำทันที

ปั๊วะ อันตวง

ท้องปลาใหล

คำอธิบาย ปลาใหลเป็นสัตว์ที่มีลำตัวยาวคล้ายงู การที่ปลาใหลมีลักษณะลำตัวยาวและตรงโดยเฉพาะส่วนท้อง ซึ่งต่างจากปลาชนิดอื่นๆที่ท้องป่อง คนเขมรจึงนำลักษณะของท้องปลาใหลมาเปรียบเทียบกับคนที่มีจิตใจซื่อตรงว่าเหมือนท้องปลาใหล เช่น ตรอง โด๊จ ปั๊วะ อันตวง ซื่อตรงเหมือนท้องปลาใหล ภาษิตนี้หมายความถึงคนที่มีจิตใจซื่อตรง ไม่คดโกงใคร

ตึกตระเจียก ตะเร็ย จุม ตึก กะเดา ตะเร็ย ร๊วด เจ็ญ

น้ำเย็นปลาชุม น้ำร้อนปลาหนีออก

อธิบาย ธรรมชาติของปลาชอบอาศัยอยู่น้ำบริเวณที่แดดร่ม เพราะได้ร่มเงาจากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บริเวณ จรัง (ชายน้ำ) บริเวณดังกล่าวน้ำจะเย็นเพราะแดดสิ่งไม่ถึง บริเวณนี้ปลาจะเข้าไปอยู่ชุกชม ซึ่งจะต่างจากบริเวณที่แดดส่องถึง น้ำจะร้อนปลาไม่ค่อยอาศัยอยู่ ภาษิตนี้จึงงนำมาเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ ถ้าพูดจาไพเราะอ่อนหวานและมีความเมตตากรุณาต่อผู้น้อย ผู้น้อยก้จะพากันมาพึ่งพาหรืออยู่รับใช้ไกล้ชิด ส่วนผู้ใหญ่คนใดที่พูดจาไม่ไพเราะ ขวานผ่าซาก และไม่มีความเมตตากรุณา ย่อมไม่มีผู้น้อยต้องการมาอยู่รับใช้ไกล้ชิดหรือพึ่งพาอาศัย

เซราะกราว
31 ก.ค. 51

ที่มา*UBON TADTONG ( KHMER PROVERB : WAY OF LIFE AND WORLDVIEW OF KHMERNPEOPLE..)

**Ishizawa,Yoshiki.Along the Royal Roadto Angkor.New York : Weatherhill,1999.




Create Date : 12 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2552 19:34:54 น.
Counter : 640 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkaodong
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ซีบาย ออย เดงกึด เบอ ทา ซี มินเดง กันนึด ซี เฮย จุ๊ฮฺ จอล
พฤศจิกายน 2552

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30