ปฎิรูป-ถอยอย่างไรไม่ให้ล้ม*** WHITESPACE.CO.LTD

whitespace
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




เมื่อไม่มีสิ่งใดจริง จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
.....อ่านเรื่องพุทธบารมี
.....ลีลาสมเด็จพุฒาจารย์โต
.....ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา-หลวงปู่มั่น

Google..
.....................พ่อของแผ่นดิน...
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
17 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add whitespace's blog to your web]
Links
 

 

นิพพานธาตุ นามธรรมที่ไม่มีอารมณ์

*






นิพพานธาตุ นามธรรมที่ไม่มีอารมณ์
อวกาศสีขาว



...วันนี้มาเรียนรู้อภิธรรมเกี่ยวกับจิตและนิพพาน ฉบับย่นกันค่ะ.. ^__^ “

ป ร มั ต ถ ธ ร ร ม สี่ ..คือ.. จิต เจตสิก รูป นิพพาน เ ป็ น ค ว า ม จ ริ ง อั น ไ ม่ ผั น แ ป ร มี ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ต น แ ต่ ไ ม่ ใ ช่ ตั ว ต น เป็นไปโดยเหตุปัจจัยที่ยังไม่สิ้น และดับลงหากไม่มีเหตุปัจจัย

เหตุปัจจัยก่อให้เกิดขันธ์ห้าต่อไปไม่สิ้นสุด แม้นในขันธ์ห้าจะแสดงความจริงทางปรมัตถ์คือหาได้มีความเป็นตัวตนอยู่จริง มีสภาพตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ แต่ด้วยเหตุแห่งอวิชชา จึงแห็นว่ารูปนั้นเป็นตัวตน นาม(จิต)ที่แสดงความรู้อารมณ์นั้นเป็นตัวตน จึงเกิดการปรุงแต่งไปตามตัณหาอุปาทาน

องค์ประกอบขันธ์ 5 คือ รูปธรรม 1 นามธรรม 4
นามธรรม 4 คือเจตสิก 3 จิต 1 ..ดังนี้
เวทนาขันธ์ 1 (เวทนาเจตสิก)
สัญญาขันธ์ 1 (สัญญาเจตสิก)
สังขารขันธ์ 1 (หรือกองวิญญาณ 50 ที่เป็นเจตสิกฝ่ายต่างๆ)
วิญญาณขันธ์ 1 (หรือรวมเรียกเป็นจิต 1 แยกเป็นลักษณะจิต 89 ดวง (แบบพิศดาร 121 ดวง))

จิตหรือวิญญาณขันธ์ ทำงานร่วมกับเจตสิก คือสังขารขันธ์ / สัญญาขันธ์ / เวทนาขันธ์ ทำให้เกิดเป็นจิต 89 ประเภท (81+8) หรือพิสดาร 121 ประเภท (81+40)

โลกุตตรจิต 8 ดวง ใช้ในอริยะ 4 ขั้น นิพพานใช้จิต 8 ดวงนี้เป็นตัวนำ (หรือแบบพิศดาร 40 ดวง) แต่ไม่คงอยู่ เกิดขึ้นและดับไป แต่ที่เป็นโลกุตตรจิตเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ไม่ใช่นิพพานธาตุ


จิตคืออะไร (หรือวิญญาณขันธ์คืออะไรนั่นเอง)
โดยละเอียด ดังนี้.. (ก็อปมาจากเว็ปอภิธรรม สาธุๆๆ ใครอยากไปศึกษาเอง จะดีมากๆ)

จิต คือธาตุรู้ คือสามารถรู้อารมณ์เมื่อถูกกระทบทางอายตนะ ถ้าไม่มีอารมณ์ต่างๆ ปรากฏ ก็ไม่มีใครสามารถรู้ลักษณะของจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ที่กำลังเกิดดับได้

จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ เรียกว่าอารมณ์
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์
จิต ต้องรับอารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป
จิต มีชื่อเรียกหลายคำ เช่น มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ
สภาพหรือลักษณะของจิต
(**โปรดสังเกต กองวิญญาณ 50 เป็นเจตสิกในสังขารขันธ์ แต่มโนวิญญาณธาตุเป็นจิตขันธ์หรือวิญญาณขันธ์)

จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้นจิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่าง คือ สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ

๑. สามัญญลักษณะ จิตมีไตรลักษณ์ครบ คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือ ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาลจึงมีอาการเกิดดับเกิดดับ
จิตนี้เป็นอนัตตา คือ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ ไม่ให้เกิดดับไม่ได้

๒. วิเสสลักษณะ หรือลักขณาทิจตุกะของจิต มีครบทั้ง ๔ ประการคือ
มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
เป็นประธานในธรรมทั้งปวงเป็นกิจ (รสะ)
มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสายเป็นอาการปรากฏ(ปัจจุปัฏฐาน)
มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด (ปทัฏฐาน)

อำนาจของจิต
๑. มีอำนาจในการกระทำ คือ ทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ ทำให้น่ากลัว ทำกิริยามารยาทที่น่ารัก หรือคิดผลิตสิ่งต่างๆ เช่น รถ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้เรียกว่า "วิจิตรในการกระทำ"
๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ จิตนั่นเองมีทั้งจิตกุศล จิตอกุศล จิตวิบาก จิตกิริยา จิตที่เป็นบุญ จิตที่เป็นบาป จิตที่โง่เขลา จิตที่มีปัญญา จิตที่ไม่มีปัญญา ซึ่งรวมเรียกว่า "วิจิตรด้วยตนเอง"
๓. มีอำนาจในการสั่งสมกรรมและกิเลส คือ จิตนั่นเอง ที่เป็นต้นเหตุในการก่อกรรมทำบาป ทำอกุศล ทำบุญกุศล ทำฌานอภิญญา เมื่อกระทำลงไปแล้วก็เก็บความดีความชั่วนั้นไว้ เรียกว่า "วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส"
๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (วิบาก=ผลของกรรม) ผลของกรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม บุญ บาป ฯลฯ ที่จิตได้ทำไว้นั้นไม่สูญหายไปไหน ผลของกรรมนั้นไม่เสื่อมคุณภาพ แม้นานเท่าไรก็จะให้ผลอย่างเต็มที่เมื่อมีโอกาส ซึ่งเรียกว่า "วิจิตรในการรักษาไว้ซึ่งวิบากกรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้"
๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง คือ ถ้าได้คิดได้ทำกรรมอย่างใด ๆ ก็ตาม ถ้าได้กระทำบ่อย ๆ ทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังติดเป็นนิสสัยสันดาน ชอบทำ ชอบคิดอย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป เรียกว่า "วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง"
๖. มีอำนาจต่ออารมณ์ต่างๆ คือ จิตจะรับอารมณ์ได้ต่างๆ นานา ไม่จำกัดและที่สำคัญที่สุด คือ คนพาลจะรับอารมณ์ที่ไม่ดีที่ชั่วได้ง่าย สำหรับบัณฑิตจะรับอารมณ์ที่ดีได้ง่าย เรียกว่า "วิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ"

จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท
เมื่อกล่าวตามสภาพแล้ว จิตมีสภาพเพียงหนึ่ง คือ รับรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียว
แต่เมื่อกล่าวตามอาการที่รู้ ตามประเภทที่รู้ คือ รู้ในเรื่องของกาม เรื่องที่เป็นบุญเป็นบาป รู้เรื่องรูปฌาน รู้เรื่องอรูปฌาน รู้ในเรื่องนิพพาน ถ้ากล่าวตามอาการที่รู้แล้ว จิตก็จำแนกได้เป็น๔ ประเภท และนับจำนวนได้โดยย่อ ๘๙ ดวง นับโดยพิศดารได้ ๑๒๑ ดวง ดังนี้
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
รวม ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง

๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกกันสั้นๆ ว่า "กามจิต" มีจำนวน ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งรูปฌาน พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งอรูปฌาน พอใจที่จะเป็นอรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจากกามโลก(กามภูมิ) จากรูปโลก(รูปภูมิ) และจากอรูปโลก(อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวนเพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌานตามชั้นตามประเภทของฌาน ซึ่งมี ๕ ชั้น แล้วก็จะเป็นจิตนับอย่างพิสดารได้ ๔๐ ดวง (๘x๕=๔๐)

ส่วนนิพพานธาตุ (อสังขตธาตุ) ผู้เขียนขอเรียกว่า วิมุตติโลกุตตรจิตหรือจิตเดิม ก็แล้วกัน (เพื่อความไม่สับสน ..เพราะจะไม่เรียกโลกุตตรจิตเฉยๆ จะซ้ำซ้อนกับศัพท์ในอภิธรรมซึ่งหมายถึงวิญญาณขันธ์หรือจิต ทั้งในอภิธรรมจะไม่เรียกนิพพานธาตุว่าจิตด้วยเช่นกัน ครั้นจะเรียกวิมุตติจิตเฉยๆ ก็กลัวนึกไปถึงตทังควิมุตติแบบชั่วคราวอีก เรื่องภาษานี่ เอามาตีกันได้เสมอๆ ด้วยความสับสนเพราะบางทีคำซ้ำแต่คนละความหมาย บางทีความหมายเดียวกันแต่คนละคำก็มี..)

นิพพานธาตุ (วิมุตติโลกุตตรจิต) ย่อมแยกจาก มโนวิญญาณธาตุ (จิตหรือวิญญาณขันธ์) ที่ยังมีเจตสิกฝ่ายดีชั่วและเจตสิกแบบกลางปรุงแต่งให้เป็นประเภทต่างๆ

นิพพานธาตุจึงเป็นนามธรรมที่ไม่มีอารมณ์

คงเคยได้ยินกัน ดับตัวรู้(วิญญาณขันธ์) จึงจะถึงความรู้อันจริงแท้ คือโลกุตตระนั้นต้องรู้โดยไม่ผ่านอารมณ์ หรือที่นิยมพูดว่า ของจริงนิ่งเป็นใบ้ของพูดได้นั้นไม่จริง (หากรู้โดยยังมีอารมณ์ความคิดนั้นย่อมไม่ใช่ของจริงแท้) แต่ไม่ใช่หมายถึงออกมาจากสภาวะความรู้อันจริงแท้นั้นแล้ว ไม่สามารถมาพูดอะไรอีกแบบนั้นนะ พระอรหันต์ก็ยังสั่งสอนได้ ในโลกบัญญัติย่อมต้องใช้บัญญัติในการสื่อสาร

ไปฟังกันเลย .. ตามลิงค์..
//www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=4056
นิพพานเป็นนามธรรม ทำไมถึงไม่รู้อารมณ์ ??
ผู้บรรยาย สุจินต์ บริหารวนเขตต์
สาระสำคัญ ปรมัตถธรรมสี่ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน / รูปเป็นรูปธรรมที่รู้อารมณ์ไม่ได้ ต่างจากนามธรรมคือ จิตและเจตสิกเป็นนามธรรมที่เป็นสภาพรู้อารมณ์ มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น ส่วนนิพพานเป็นนามธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้อารมณ์ เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น เป็นนามธรรมที่ไม่มีการเกิดขึ้น (ทั้งไม่มีการเกิดและดับ – เพิ่มเองโดยผู้เขียน)

//www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=9856
ธรรมชาติที่ชื่อว่าวิญญาณ / อ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 377
ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิญญาณ

ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิญญาณ เพราะย่อมรู้แจ้ง ขันธ์คือวิญญาณนั่นแหละ
เรียกว่าวิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น ด้วยอำนาจ
ความเป็นกองเป็นต้น.

จริงอยู่ ขันธ์พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยความเป็นกอง ในพระ-
บาลีนี้ว่า น้ำในมหาสมุทร ย่อมนับว่าเป็นกองน้ำใหญ่แท้ ดังนี้. ขันธ์ตรัสไว้
โดยอรรถว่าคุณ ดังในประโยคมีอาทิว่า คุณคือศีล คุณคือสมาธิดังนี้.
ฯลฯ
ได้ทรงเห็นแล้วแลซึ่งท่อนไม้ใหญ่ ดังนี้. แต่ในวิญญาณขันธ์นี้ ตรัสขันธ์ด้วย
รุฬหีศัพท์ (คือตามที่เข้าใจกัน) เพราะว่า ส่วนแห่งวิญญาณขันธ์ เรียกว่า
วิญญาณดวงหนึ่ง เพราะอรรถว่าเป็นกอง เพราะฉะนั้น วิญญาณแม้ดวงเดียว
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านก็เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ตามที่รู้กัน
เหมือนคนตัดส่วนหนึ่งแห่งต้นไม้ ท่านก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ฉะนั้น.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

วิญญาณขันธ์วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น

วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
วิญญาณาหาร มีในสมัยนั้น.


**ขออนุโมทนากับ อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
(หากสงสัยหรือต้องการศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บบ้านธรรมะหรือเว็บอภิธรรมต่างๆ)


**เพิ่มเติม คิดว่าบทความข้างบนคงช่วยให้แยก จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ออกแล้ว
เจตสิกและจิตย่อมเป็นธรรมมีอารมณ์ รูปและนิพพาน(อสังขตธาตุ)ย่อมเป็นธรรมไม่มีอารมณ์

//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=6742&Z=6822&pagebreak=0
มหันตรทุกะ

[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.
ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.
ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก.

[๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยจิต.
ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากจิต.
จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.

[๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต.
ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.
จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.

[๗๗๑] ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ หรือรูปแม้อื่นใดซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ คือ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน.
ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

[๗๗๒] ธรรมเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดร่วมกับจิต.
ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต.

[๗๗๓] ธรรมเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัติ วจีวิญญัติ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดคล้อยตามจิต.
ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต.

[๗๗๔] ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน.
ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐาน.

[๗๗๕] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วมกับจิต.
ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วมกับจิต.

[๗๗๖] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อยตามจิต.
ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อยตามจิต.

[๗๗๗] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายใน.
ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน?
รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นภายนอก.

[๗๗๘] ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด.
ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป ๔ และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด.

[๗๗๙] ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง เป็นไฉน?
วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง.
ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง เป็นไฉน?
กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น, มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง.

ม หั น ต ร ทุ ก ะ . จ บ .



****

ต่ อ น ะ . .

ส่วนกายธรรมหรืออายตนะนิพพาน ที่ชาวโลกุตตระต้องใช้ติดต่อกับชาวโลกียะ ที่เรียกว่า ธรรมกาย หาได้มีอยู่จริงในโลกุตตรภูมิที่หาสถานที่ตั้งไม่ได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีเหตุปัจจัย แต่ใช่ว่าจะไม่มีอยู่.. (ศึกษาได้จากฝ่ายมหายานจะมีอยู่มาก เรื่องนี่ค่อนข้างจะยาก แต่จะสามารถเชื่อมเรื่องแดนนิพพานให้พอเข้าใจได้ง่ายขึ้น)

นิพพานธาตุหรืออสังขตธาตุ(ผู้เข้าถึงนิพพานแล้วไม่ใช่สังขตธาตุอีกต่อไป) ต้องอาศัยธรรมกายซึ่งไม่ใช่ขันธ์ห้าหรือแม้นแต่อาศัยแดนนิพพานเข้ามาข้องเกี่ยวกับชาวโลกียะ หากจะติดต่อหรือหากจะมาสอนความจริงแท้แห่งนิพพาน คือชี้ทางแห่งการทำลายสังสารวัฏฏ์ ซึ่งมีแต่ตัวผู้นั้นเองเท่านั้นที่ทำลายได้ ..ผู้อื่นทำได้เพียงชี้ทาง

ฝ่ายโลกุตตระไม่มีหน้าที่ควบคุมโลกสามแต่อย่างใด เพราะโลกเกิดขึ้นเพราะจิต เป็นไปเพราะจิต ดับลงเพราะจิต หมายถึงจิตที่ยังมีเหตุปัจจัย ทุกจิตทุกคนล้วนแต่มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมตามที่ตัวเองสร้าง เป็นตัวกำหนด

ธรรมกายและแดนนิพพานนั้นเป็นเรื่องที่เรียกว่ายากต่อการนึกคิด เพราะเป็นกายธรรมซึ่งไม่ใช่ขันธ์ห้า แดนนิพพานก็ไม่ได้มีอยู่จริง เพียงแต่ธรรมกายนั้นแดนนิพพานนั้น เป็นพุทธภาวะแห่งนิพพานที่ผู้พ้นโลกดับขันธ์แล้วคืออนุปาทิเสสนิพพาน ต้องใช้สื่อสารกับพวกที่ยังติดอยู่ในบัญญัติสมมุติ ส่วนสอุปาทิเสสนิพพานหรือพระอรหันต์ที่ยังดำรงขันธ์ห้าสามารถใช้ขันธ์ห้าได้จนกระทั่งละสังขาร

แดนนิพพานไม่ได้ตกอยู่สังสารวัฎอย่างนรกสรรค์หรือโลก แต่ก็ไม่ได้มีอยู่ด้วยเหตุปัจจัยใด เพราะไม่มีตัวตนอย่างขันธ์ห้า เป็นเพียงพุทธภาวะแห่งนิพพานหรือพุทธนิมิตเท่านั้น จะไปยึดติดหรืออุปาทานว่ามีจริงอยู่ก็ไม่ได้ ด้วยเหตุที่อสังขตธาตุต่างจากสังขตธาตุหรือจิตที่ยังมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จะยึดว่านั่นคือ พระพุทธเจ้า หรือคนนั้นคนนี้ไม่ได้ แต่ว่าท่านอาจต้องแสดงตัวอย่างที่เคยเป็นมา เพื่อการสื่อสารที่เข้าใจกันได้ แต่ไม่ได้ให้ยึดติดเป็นตัวเป็นตน

การพบธรรมกายของพระอรหันต์หรือไปพบแดนนิพพานที่เป็นดินแดน มีอภิญญาก็พบได้หากมีบุญวาสนาหรือท่านต้องการแสดงให้เห็น แต่ที่ต้องทำจริงๆ เป็นนิพพานโลกุตตระซึ่งต้องทำลายกิเลสลง ดับตัวตนลง ..อสังขตธาตุนั้นไม่สูญ นิพพานธาตุเป็นเรื่องที่จะว่าเป็นอัตตาก็ไม่ได้อนัตตาก็ไม่ได้ ไม่มีการเกิดการดับ พระอรหันต์ผู้พ้นโลกจะสื่อกับชาวโลกก็ต้องอาศัยธรรมกายนี้

มีปัญหามาก สำหรับคนที่เข้าใจเรื่องนิพพานโลกุตระ แต่ไม่เข้าใจเรื่องธรรมกายหรือแดนนิพพาน จะคิดว่านิพพานธาตุนั้นตัดขาดจากโลก ส่วนคนเชื่อว่าธรรมกายเป็นจริงเป็นอัตตา นิพพานเป็นดินแดนจริงๆ จนอุปาทานว่ามีอยู่จริงอย่างบัญญัตินั้น ก็จะวุ่นวายมาก และหลงทางเชื่อว่านิพพานเป็นตัวเป็นตนขึ้น

อธิบายนิพพาน จากพระนาคเสนมหาเถระ ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา
" ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"

หลวงปู่ดู่ อธิบายเรื่องพระอรหันต์โดยกล่าวว่า
"พระอรหันต์ท่านตายเรียกว่า นิพพาน มีอยู่ ๓ อย่างคือ ...กิเลสนิพพาน คือหมดกิเลส ไม่มีโลภ โกรธ หลง แต่ยังมีชีวิตอยู่ (ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน) ...เมื่อท่านตายเรียกว่า ขันธนิพพาน (อนุปาทิเสสนิพพาน) ...อันสุดท้ายคือ ธาตุนิพพาน เมื่อศาสนาครบ ๕,๐๐๐ ปี พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจากทุกที่ จะมารวมเป็นองค์พระพุทธเจ้า ทำการเทศนา ๗ วัน ๗ คืน หลังจากนั้นพระธาตุจะถูกไฟทิพย์เผาเป็นอันสิ้นศาสนา แต่ของข้านอกตำราออกไป คือ ข้าว่าพระธาตุของพระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้ว ต้องมารวมกันด้วยและหมดไปพร้อมกัน"
แล้วท่านปรารภต่ออีกว่า
"บางคนก็ตามหาพระอรหันต์ ท่านได้แล้วท่านจะไปบอกอย่างไร เดี๋ยวจะเหมือนกับครูเปรื่อน ถามหลวงพ่อเขียนบอกว่าอยากพบพระอรหันต์ หลวงพ่อเขียนตอบว่า แกจะชนพระอรหันต์ตายอยู่แล้วก็ยังไม่รู้ จนไปเจอมหาวีระ ท่านถามว่าเคยอยู่กับพระองค์ไหนมา แกบอกว่าอยู่กับหลวงพ่อเขียนมา ท่านเลยบอกว่า แกอยู่กับพระอรหันต์มาไม่รู้บ้างหรือ พระอรหันต์น่ะ บางทีท่านกลัวคนกวน ท่านก็แสดงบ้าๆ บอๆ ปิดกลัวคนรู้ อย่างหลวงพ่อเนียมที่หลวงพ่อปานไปเรียนด้วยไง นุ่งผ้าอาบผืนเดียวหมาตามเป็นพรวน ถือกระบองอันเบ้อเริ่ม พอถึงเวลาสอนเปลี่ยนไปเป็นคนละคน เอ้อ พระอรหันต์น่ะ อย่าไปอยู่กับท่านนาน เดี๋ยวจะบาปไม่รู้ตัว"





 

Create Date : 17 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 20 กันยายน 2551 18:58:18 น.
Counter : 1319 Pageviews.

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.