บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 
แรงจูงใจเบื้องต้นและแรงจูงใจระดับสูง

แรงจูงใจเบื้องต้นและแรงจูงใจระดับสูง (Deficit Motivation versus Growth Motivation)



ในระยะต่อมา Maslow ได้อธิบายความคิดของเขาเรื่องลำดับของแรงจูงใจเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว คือ เขาได้แบ่งแรงจูงใจของมนุษย์ออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ แรงจูงใจเบื้องต้น (deficit motive) และแรงจูงใจระดับสูง (growth motive)

1. แรงจูงใจเบื้องต้น (Deficit motive or Deficiency or D motive)
คือแรงจูงใจที่อยู่ในลำดับต่ำซึ่งเกี่ยวข้องกับสรีรภาพของอินทรีย์และความต้องการความปลอดภัย จุดมุ่งหมายของแรงจูงใจชนิดนี้ คือ การขจัดไม่ให้อินทรีย์เกิดความตึงเครียดจากสภาพการขาดแคลน เช่น ความหิว ความกระหาย ความหนาว ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ในสภาพการณ์นี้แรงจูงใจเบื้องต้นจะทำให้เกิดแรงขับพฤติกรรม ลักษณะของแรงจูงใจเบื้องต้นทำให้เกิดแรงจูงใจเบื้องต้น 5 ประการดังนี้

  1. 1. การขาดแรงจูงใจเบื้องต้นทำให้บุคคลเกิดความเจ็บป่วยไม่สบาย ตัวอย่างเช่น ความหิว ถ้ามนุษย์ไม่ได้รับประทานอาหาร เขาก็จะเกิดความเจ็บป่วย

  2. 2. การเกิดขึ้นของแรงจูงใจเบื้องต้นจะป้องกันมิให้เกิดความเจ็บป่วย เช่น เมื่อหิวถ้าเรารับประทานอาหารอย่างเหมาะสมเราก็จะไม่เกิดความเจ็บป่วย

  3. 3. แรงจูงใจเบื้องต้นจะซ่อมแซมและรักษาความเจ็บป่วย หมายความว่า ไม่มีสิ่งใดๆ ที่จะรักษาความอดอยากได้เหมือนอาหาร

  4. 4. ภายใต้ความซับซ้อนของสภาพการณ์ที่ให้บุคคลเลือกได้โดยอิสระแรงจูงใจเบื้องต้นจะได้รับการเลือกจากบุคคลที่ขาดแคลนมากกว่าคนที่ได้รับความพึงพอใจแล้ว เช่น คนที่อดอยากย่อมเลือกอาหารมากกว่าเรื่องเพศ

  5. 5. คนที่มีสุขภาพดีพฤติกรรมของเขาจะไม่ถูกควบคุมโดยแรงจูงใจเบื้องต้นทั้งนี้ เพราะคนที่มีสุขภาพดีก็เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ต้องการอย่างพอเพียง ดังนั้นพฤติกรรมของเขาก็จะไม่ถูกควบคุมโดยการแสวงหาอาหาร เป็นต้น


2. แรงจูงใจระดับสูง ( Growth motive or Metaneeds or B motive )
แรงจูงใจระดับสูงจะตรงข้ามกับแรงจูงใจเบื้องต้น เพราะเป้าหมายของแรงจูงใจชนิดนี้เป็นเป้าหมายระยะไกลซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังที่ติดตัวมาแต่กำเนิดเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคคล จุดประสงค์ของแรงจูงใจระดับสูงก็เพื่อจะปรับปรุงความเป็นอยู่โดยการเพิ่มพูนประสบการณ์ ซึ่งไม่เหมือนกับแรงจูงใจเบื้องต้นเพราะแรงจูงใจเบื้องต้นเกิดขึ้นเพื่อลดหรือเพิ่มความตึงเครียด ตัวอย่างของแรงจูงใจระดับสูง เช่น บุคคลที่เลือกเรียนวิชาอินทรียเคมีก็เพราะว่าเขาต้องการที่จะทราบเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับวิชานี้ซึ่งสะท้อนให้เห็นแรงจูงใจระดับสูงมากกว่าจะเป็นแรงจูงใจเบื้องต้น แรงจูงใจระดับสูงจะแสดงออกอย่างเด่นชัดภายหลังที่แรงจูงใจเบื้องต้น แรงจูงใจระดับสูงจะแสดงออกอย่างเด่นชัดภายหลังที่แรงจูงใจเบื้องต้นได้รับความพึงพอใจแล้ว เช่น บุคคลจะไม่มีความสนใจที่จะเรียนวิชาอินทรียเคมีอย่างแน่นอนถ้าเขากำลังได้รับความอดอยากแทบจะสิ้นชีวิต

แรงจูงใจระดับสูงและความเจ็บป่วยทางจิต (Metaneeds and Metapathologies) หลังจากที่ Maslow ได้อธิบายถึงแรงจูงใจเบื้องต้นและแรงจูงใจระดับสูงแล้ว เขาได้ศึกษาค้นคว้าเเรื่องแรงจูงใจระดับสูง ซึ่งเป็นเสมือนสัญชาตญาณหรือเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เช่นเดียวกับแรงจูงใจเบื้องต้น และแรงจูงใจระดับสูง ถ้าบุคคลได้รับการตอบสนองจนเกิดความพึงพอใจแล้ว ก็จะรักษาสภาพและพัฒนาให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าบุคคลอาจเกิดความเจ็บป่วยทางจิต(psychologically sick)เป็นความเจ็บป่วยที่เป็นผลมาจากความล้มเหลวในการบรรลุถึงความสมบูรณ์หรือความเจริญก้าวหน้าMaslowเรียกความเจ็บป่วยนี้ว่า “metapathologies” ซึ่งเป็นสภาพของจิตใจที่มีอาการเฉยเมย (apathy) มีความผิดปกติทางจิต (alienation) เศร้าซึม (depress) เป็นต้น ความคับข้องใจของแรงจูงใจระดับสูงและความเจ็บป่วยทางจิตได้แสดงไว้ในตาราง 2.1ดังต่อไปนี้

แรงจูงใจระดับสูง
ค่านิยมของแรงจูงใจระดับสูง ความเจ็บป่วยทางจิต
1. ความซื่อสัตย์ ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ ความรู้สึกสงสัย
2. ความสวยงาม จิตใจแข็งกระด้าง ไม่มีรสนิยม รู้สึกโดดเดี่ยว
และเศร้าหมอง
3. ความเป็นเอกลักษณ์ สูญเสียความรู้สึกที่มีต่อตัวเองและความเป็นเอกัตบุคคล
4. ความสมบูรณ์แบบ สิ้นหวัง ขาดจุดหมายในการทำงาน มีความสับสน
5. ความยุติธรรม มีความโกรธ ไม่เคารพกฎหมาย เห็นแก่ตัว
6. ความสนุกสนาน เคร่งเครียด เศร้าซึม ขาดความมีชีวิตชีวา ไม่รื่นเริง
7. ความดีงาม ความรู้สึกเกลียดชัง แสดงความรังเกียจ ไว้วางใจตนเอง
8. ความรู้สึกง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ความซับซ้อนมากเกินไป มีความสับสน งุนงง



Create Date : 07 ธันวาคม 2550
Last Update : 7 ธันวาคม 2550 15:39:12 น. 3 comments
Counter : 2181 Pageviews.

 
การจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์การ


โดย: กฤษดา IP: 117.47.98.226 วันที่: 26 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:31:26 น.  

 
ดีแล้ว


โดย: mai IP: 112.143.50.63 วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:5:04:32 น.  

 
ขอบคุณมากๆ ครับ

เป็นแหล่งพัฒนาคนจิงๆ


โดย: parabenz IP: 222.123.10.128 วันที่: 17 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:19:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.