บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
18 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
การตรวจวัดจำนวนคนดูโทรทัศน์ - 1 - ทำไมต้องมี เรตติ้งโทรทัศน์

ถ้าจะกล่าวถึง จำนวนคนดูโทรทัศน์ ทั่วประเทศไทย หรือ ในภูมิภาคใด หรือ ในจังหวัดใดๆ หรือ แม้นแต่ในระแวกบ้านของคุณว่า มีใครบ้างที่ดูโทรทัศน์ในช่องต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลาได้บ้าง ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีใครสามารถรู้ได้เลยว่า มีผู้ชายกี่คนในระแวกนั้นดู รายการนี้ รายการนั้น เป็นเวลาเท่าใด?

แต่เนื่องจากอุตสาหกรรม โทรทัศน์ ต้องการทราบว่า รายการแต่ละรายการมีใครบ้างที่ดูรายการนั้นๆ มีจำนวนคนมากน้อยเพียงใดที่ดูโทรทัศน์ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อที่จะหารายการโทรทัศน์ ได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ดูโทรทัศน์ ในช่วงเวลานั้นๆ คนดูจะได้ดูในสิ่งที่อยากดู และ คนโฆษณา ก็จะได้สื่อโฆษณาได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาต่อไป และ ในวงการอุตสาหกรรมโฆษณา เองก็ต้องการทราบว่า โฆษณาที่ออกไป มีกลุ่มคนที่มีโอกาสซื้อสินค้า ที่โฆษณา มากน้อยเท่าใดที่ดูโทรทัศน์ในช่วงเวลานั้น ซึ่งเขาขายเวลากันเป็น วินาที

เพราะ เหตุนี้เอง การตรวจวัดว่า มีคนดูโทรทัศน์ในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด จำนวนเท่าใด จึงเป็นความต้องการของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ เพื่อไปตอบโจทย์ให้กับ อุตสาหกรรมโฆษณา และ อุตสาหกรรมโฆษณา ก็ต้องไปตอบโจทย์ให้กับ เจ้าของสินค้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เพื่อให้การขายสินค้าของเขาได้ดีมากยิ่งขึ้น

แต่เนื่องจากเราไม่ สามารถตรวจวัดจำนวนคนดูโทรทัศน์จริงๆได้ เพราะเครื่องโทรทัศน์ เป็นเครื่องที่รับสัญญาณไม่มีเครื่องส่งสัญญาณกลับ ถึงแม้นว่า การส่งสัญญาณกลับจะมีในระบบสายเคเบิ้ลนำแสงก็ตาม แต่วิทยาการเหล่านี้มาหลังจากระบบการตรวจวัดเรตติ้งถึง 20 กว่าปี ดังนั้น เมื่อความต้องการในการตรวจวัดคนดูโทรทัศน์มีมาก จึงต้องใช้หลักสถิติเข้ามาช่วยถึงการตรวจวัดให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้

ถ้าพูดถึงสถิติ ก็แน่นอนว่า เราใช้ตัวอย่างในการตรวจวัดเพื่อหาว่าแนวโน้มของคนกลุ่มตัวอย่าง ย่อมเป็นแนวโน้มของคนทั่วไปด้วย ดังนั้น ค่าที่ได้จากสถิติ ไม่ได้บอกว่า จำนวนคนดูโทรทัศน์ในช่วงเวลานั้นจริงๆมีจำนวนเท่าใด แต่สามารถบอกได้เพียงค่าประมาณการคนดูโทรทัศน์ในช่วงเวลานั้นๆได้ว่ามี ประมาณเท่าใดเท่านั้น อย่างเช่น ถ้าผลงานวิจัยพบว่า คนไทย 76% กินอาหารรสจัด เขาไม่ได้สอบถามคนไทยทั่วประเทศทุกคนว่า กินอาหารรสจัดหรือไม่ เขาเพียง สุ่มตัวอย่างเพื่อมาสอบถามเท่านั้น แต่จะอ้างอิงกลับไปยังภาพรวมโดยใช้แนวโน้มทางตัวเลขที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง อาจจะสรุปง่ายๆคือ การตรวจวัดทางสถิติ ไม่ได้ตรวจวัดคนทั้งหมดจริงๆ เป็นเพียงการตรวจวัดเพียงคนบางกลุ่มที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น

การ จะตัวแทนเพื่อมาให้ข้อมูลนั้น ก็ต้องมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกัน มากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้น ถ้าต้องการตรวจวัดบ้านที่มีโทรทัศน์ ก็ต้องทราบก่อนว่ามีบ้านที่มีโทรทัศน์ จำนวนกี่หลังคาเรือนทั่วประเทศ แต่ถ้าพูดในวันนี้ แต่ละคนคงอยากจะหัวเราะ เพราะว่า ไม่ว่าเดินไปที่ใด ทุกๆบ้านก็มีโทรทัศน์ ใช้กันอยู่แล้ว ราคาก็ไม่แพง แต่ถ้าคุยถึงเมื่อ 25 ปีก่อน คุณจะเห็นว่า บ้านใดก็ตามที่มีโทรทัศน์ จะเป็นบ้านของคนมีเงิน มีฐานะ เท่านั้นถึงจะมีได้ และ งานวิจัย เรตติ้งโทรทัศน์ ก็เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 โดย "Arthur Nielsen" ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด ในสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น สิ่งแรกที่จะมีการตรวจวัด ก็ต้องทราบให้ได้ก่อนว่า มีจำนวนบ้านจำนวนเท่าใดที่มีโทรทัศน์ ซึ่งข้อมูลที่ต้องการนั้น ต้องแยกย่อยออกเป็น แต่ละพื้นที่ของประเทศ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคใต้ จากนั้น ก็ต้องแบ่งแต่ละพื้่นที่ออกเป็น ในเขตเทศบาล และ นอกเขตเทศบาล เมื่อแบ่งแยกเช่นนี้ ก็ต้องแบ่งจังหวัดออกเป็น จังหวัดขนาดใหญ่ จังหวัดขนาดกลาง และ จังหวัดขนาดเล็ก และ แบ่งย่อยตามพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ จนถึงระดับ หมู่บ้านเลยทีเดียว

นอกจากข้อมูลของแต่ละพื่นที่แล้ว เรายังต้องเก็บข้อมูลในแต่ละบ้านว่ามีจำนวนโทรทัศน์กี่เครื่อง มีโทรทัศน์ขาวดำ หรือ สี กี่เครื่อง มีจำนวนคนในบ้านกี่คน ชายเท่าไหร่ หญิงเท่าไหร่ และ แบ่งออกเป็นสัดส่วนแยกย่อยออกมา ตามพื้นที่อีก เพื่อให้ได้ภาพของความเป็นจริงที่มีจำนวนประชากรให้ได้ชัดเจนมากที่สุด ซึ่งการทำทุกขั้นตอนเหล่านี้เราเรียกว่า "Establishment Survey"

เมื่อ ได้ภาพของคนและบ้านทั่วประเทศแล้ว เราถึงต้องมากำหนดว่าเราจะจัดสรรจำนวนบ้านเท่าใดในแต่ละพื้นที่ให้มีความสอด คล้องกับจำนวนบ้านทั้งหมด และ มีลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนบ้านทั่วประเทศมากที่สุดเช่นกันก่อนที่จะทำ การตรวจวัดใดๆขึ้น






(ภาพต้นฉบับจาก : planet.kapook.com/bas5555/blog/viewnew/57560)

จาก ภาพด้านบน คุณจะเห็นว่าแผนที่ประเทศไทย ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่ หรือ ขนาดเล็ก เราก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นแผนที่ประเทศไทย ที่เราสามารถมองเห็นได้ แต่ความละเอียดที่สามารถมองเห็นได้นั้น อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป

การ วิจัยทางด้านสถิติ ก็จะมีผลเหมือนรูปแผนที่ประเทศไทย การตรวจวัดคนกลุ่มเล็กๆที่มีลักษณะเหมือนกัน กลุ่มขนาดใหญ่ จะทำให้มองเห็นภาพรวมได้ แต่อาจจะขาดรายละเอียดของภาพในบางจุดอย่างภาพที่เราได้เห็นตามข้างบน



ประวัติการตรวจวัดในประเทศไทย



ใน ประเทศไทย เริ่มการตรวจวัดจำนวนคนดูโทรทัศน์ ประมาณ ปีค.ศ.1980 โดยบริษัท ดีมาร์ จำกัด ซึ่งเริ่มการตรวจวัดด้วยการทำแบบสอบถาม และ การกรอกเวลาในการดูโทรทัศน์ของแต่ละคนลงไปในสมุดจดบันทึก ที่เรียกว่า "TV Diary" ซึ่งครอบคลุมเฉพาะ กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการจัดเก็บเอกสารกลับมาเพื่อประมวลผล

หลังจาก นั้น ประมาณปี ค.ศ.1985 ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บจากการจดบันทึกลงสมุด มาเป็นการใช้เครื่องมือที่ได้จากประเทศอังกฤษ ชื่อว่า "People Meter 4800" โดยประมวลผลผ่าน มินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเข้ามาแทนที่การจดบันทึกแบบ TV Diary ทั้งหมด และ ได้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะใช้ หน่วยความจำภายนอกในการจัดเก็บทั้งเวลาการเปลี่ยนสถานีโทรทัศน์ การกดปุ่นคนดู แต่ก็ยัง ใช้พนักงานเก็บหน่วยความจำเหล่านี้กลับมายังบริษัทฯเพื่อประมวลผล

ใน ปี ค.ศ.1997 ต้องการตรวจวัดจำนวนคนดูทั่วประเทศไทยขึ้นซึ่งต้องใช้บ้านตัวอย่างมากขึ้น จึงต้องเปลี่ยนเครื่องเป็น ACN6000 ซึ่งเป็นเครื่องล่าสุดในสมัยนั้น เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นตรวจวัดด้วย บ้านตัวอย่างประมาณ 865 บ้านทั่วประเทศไทย และ ใช้คนเป็นคนเก็บหน่วยความจำและส่งกลับมายังบริษัทฯแม่ที่กรุงเทพฯ

ใน เดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ.2002 ได้มีการเพิ่มบ้านตัวอย่างจาก 865 บ้านมาเป็น 1000 บ้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมโฆษณา

ใน ช่วง ปี ค.ศ.2005 มีการเปลี่ยนแปลงองค์กร และต้องการเพิ่มจำนวนบ้านตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น จึงได้นำเอาเครื่อง TVM5 ซึ่งเป็นเครื่องของทางฝั่งยุโรป เข้ามาใช้ในประเทศไทย ประเทศแรกในโลก เป็นระบบที่ดึงข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ และ เพิ่มบ้านตัวอย่างเป็น 1200 บ้านในต้นปี ค.ศ.2006 ในช่วงระหว่างนี้ ได้ทำการใช้ทั้งระบบคนเก็บข้อมูล และ ระบบดึงข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ ไปพร้อมๆกัน และ ยกเลิกการใช้คนเก็บข้อมูลในเดือน เมษายน ค.ศ.2007


Create Date : 18 มีนาคม 2552
Last Update : 18 มีนาคม 2552 18:28:10 น. 9 comments
Counter : 18842 Pageviews.

 
เป็นยุคแห่งข่าวสารข้อมูลอย่างแท้จริง


โดย: อัสติสะ วันที่: 18 มีนาคม 2552 เวลา:18:43:19 น.  

 
ละเอียดดีจังครับ :)


โดย: หญิงหน้าเศร้า วันที่: 18 มีนาคม 2552 เวลา:21:48:37 น.  

 
ขอบคุณบทความ นะค่ะ

ตามมาอ่านและให้กำลังใจค่ะ


โดย: phokar IP: 124.121.25.235 วันที่: 18 มีนาคม 2552 เวลา:22:50:52 น.  

 
ยอดสถิติน่าสนใจดีครับ ขอบคุณ


โดย: back IP: 203.121.176.4 วันที่: 27 พฤษภาคม 2552 เวลา:9:35:52 น.  

 
ดีให้ความรู้มากมาย


โดย: สุโค่ย IP: 114.128.43.92 วันที่: 12 ตุลาคม 2552 เวลา:13:10:26 น.  

 
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์


โดย: มังกรเยาว์ IP: 125.24.251.147 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:19:19:20 น.  

 
ว้าวววววววววขอขอบคุนน้าครั้บๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: 5+5+5+5 IP: 180.183.170.214 วันที่: 21 มิถุนายน 2554 เวลา:19:09:26 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: POR+ IP: 10.99.1.248, 122.154.13.250 วันที่: 7 มิถุนายน 2555 เวลา:16:59:19 น.  

 
เยี่ยมจ้า


โดย: T Rex IP: 27.55.14.126 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2555 เวลา:22:11:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.