บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
การดำเนินการประชุม...

การเปิดประชุม (Opening the Meeting)
ในการเปิดประชุมนั้นมีเรื่องหลักๆอยู่ 5 เรื่องที่มักถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน ได้แก่ การกล่าวเริ่ม การแนะนำผู้เข้าร่วมประชุม (หากจำเป็น) การแจ้งวัตถุประสงค์ การแจ้งวาระการประชุม การถกแถลงตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์สำหรับการประชุม เช่น ผู้ใดจะพูดและพูดเมื่อใด การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละเรื่องนั้นก็จะมีประโยคให้เลือกใช้ได้ดังนี้

การกล่าวเริ่ม

Well, ladies and gentlemen, I think we should begin.
Perhaps we’d better get started/ down to business.
I think it’s about time we got started/going.
I think we should begin.
Let’s begin, shall we?
Let’s get going/down to business, shall we?
Shall we start/get started?
Good morning, ladies and gentlemen.
If we are all here, shall we start/get started/make a start?
If everybody is here, let’s start/get started/make a start.
If we are all here, I think we should start/get started/make a start.
It is time to start our meeting.
การแนะนำผู้เข้าร่วมประชุม

First of all, I like to introduce ... .
First of all, let me introduce ... .
First of all, I have the pleasure to introduce/welcome ... .
Would you like to say a few words about yourselves?
Would you introduce yourselves?
วัตถุประสงค์ของการประชุม

The purpose of this meeting is, first, to ... and secondly to ... .
The main objective of our/today’s meeting is ... .
We are here today to consider ... .
I’ve called this meeting first to ..., secondly to ... .
I’d like to make several points, firstly ... .
I’d like to begin by v.1 + ing.
วาระการประชุม

Have you all got a copy of the agenda?
Would someone move that the minutes of the last meeting be accepted?
Has everyone received a copy of the agenda?
The first item (on the/today’s agenda) is ...
Let’s look at the agenda in detail.
As you can see there are five main items/points.
I propose/suggest that we take them in that order.
การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประชุม

Can we have agreement on the ground rules? I propose the following:
I think we will need/spend about ... minutes for item/point ..., ... minutes for item/point ...
As/Since we have a lot to cover/get through this morning, I suggest/propose ...
Can we now agree on the overall procedure?

จะหาซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ที่ไหน



บทที่ 10 การดำเนินการประชุม-1
(Conducting the Meeting-1)
เมื่อการประชุมเริ่มต้นขึ้น เป็นหน้าที่ของประธานการประชุมที่จะดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามวาระ หลักการ และกฎเกณฑ์ที่ได้ตกลงกันไว้ภายในกรอบเวลาที่จำกัด ดังนั้นประธานการประชุมจะต้องคอยกำกับดูแล ตลอดจนควบคุมและส่งเสริมการพูดและการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมประชุมอื่นๆ เพื่อให้การประชุมนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ซึ่งจะต้องอาศัยคำพูดแบบต่างๆสำหรับแต่ละสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การเริ่มเข้าสู่วาระการประชุม การมอบให้ผู้อื่นดำเนินการประชุมต่อไป การเชื้อเชิญให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในการออกความเห็น การขอให้ผู้พูดกล่าวซ้ำ และการทวนหรือการเรียบเรียงคำพูดของผู้อื่นเสียใหม่เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เป็นต้น

การเริ่มเข้าสู่วาระการประชุม

Now let’s move onto the first item/point.
Let’s look at the first item/point.
Has anyone anything else they wish to add before we move on to the next item/point?
Can we go on now to ...?
Has anyone anything further to add?
Could we move onto item 4 on the agenda?
การมอบให้ผู้อื่นดำเนินการประชุมต่อไป

Richard, over to you.
John, would you care to carry on from here?
I’d like to turn it over to David.
การเชื้อเชิญให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น

Would you like to begin/open the discussion, Mike?
Would you like to add/suggest anything, Grace?
What do you think about ..., Paul?
Anything to add, Peter?
What about you, Kathy?
We haven’t heard from you yet, Michael. What do you think about this?
Would you like to comment here?
Mr. ..., would you like to say something about this?
การขอให้ผู้พูดกล่าวซ้ำ

(I’m) sorry. I didn’t hear what you said. Would you mind repeating it, please?
(I’m) sorry. I didn’t quite catch what you’ve just said. Would you please say it again?
(I’m) sorry. I don’t quite follow you. Could you go over that again, please?
What exactly do you mean by ...?
I’m not sure I follow you. Am I right in saying that ...?
การเรียบเรียงคำพูดของผู้อื่นใหม่

In other words, ... .
If I understand you correctly, ... .
So you mean ... .
So what you’re saying is ... .


บทที่ 11 การดำเนินการประชุม-2
(Conducting the Meeting-2)
เพื่อให้การประชุมดำเนินไปในทิศทางที่มุ่งไว้ ผู้ที่ทำหน้าที่ประธานหรือผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมต้องคอยกำกับและกำหนดทิศทางของการสนทนาให้อยู่ในกรอบของหลักการหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบหากกำลังพูดออกนอกเรื่องหรือพูดคนละประเด็นกับที่กำลังถกแถลงกันอยู่ รักษาเวลาของการถกแถลงหากมีผู้หนึ่งผู้ใดพูดนานเกินไป และสรุปเรื่องหรือประเด็นภายหลังจากที่มีการถกแถลงกันอย่างกว้างขวาง ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อจะได้เข้าสู่การพิจารณาเรื่องหรือประเด็นอื่นๆต่อไป

แจ้งให้ทราบว่าผู้พูดกำลังพูดออกนอกประเด็น

I think we’d better keep to the scope of the meeting.
I’m afraid that’s outside the scope of this meeting.
(Let’s) keep to the point, please.
I think we’re beginning to lose sight of our main point.
I don’t think that is relevant to what we’re now discussing.
Let’s not get side-tracked.
Could you stick to the subject, please?
รักษาเวลา

We’re running out/short of time.
There’s not much time left.
We’d better get moving. There are other points to be discussed.
สรุปเรื่องที่ผู้อื่นพูด

So, to summarize what has been said/suggested so far ... .
What we’ve discussed so far is/are ... .
การเข้าสู่การพิจารณา (เรื่อง) ต่อไป

Shall we continue then?
Let’s move on (to the next point).
Mitch, would you like to introduce the next point?
Well, I think we pretty well cover everything on that point. Let’s move on.
Onto item 2. Who’s going to open this one?
Can we go on now to ... .

การดำเนินการประชุม-3
(Conducting the Meeting-3)
นอกเหนือไปจากการกำกับดูแลให้การประชุมดำเนินไปตามขั้นตอนแล้ว ผู้ทำหน้าที่ประธานของการประชุมยังจะต้องรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในระหว่างการประชุมด้วย ซึ่งในการนี้อาจจะต้องคอยเตือนไม่ให้ผู้เข้าร่วมประชุมบางคนแย่งกันพูดหรือพูดนานเกินควร คอยแทรกเข้ามาเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่อาจสร้างความสับสน หรือเสนอทางเลือกหรือหนทางปฏิบัติที่จะทำให้การประชุมดำเนินต่อไปได้ในกรณีที่เกิดความคิดเห็นขัดแย้งกันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม

เมื่อมีผู้ร่วมประชุมแย่งกันพูด

One at a time, please.
We can’t listen to everybody speaking at once. Why don’t we let Diane give us her views first, followed by Jay and then Jeff?
We can’t all speak at once. Michael first, then Lisa, then Stuart.
Let’s listen to Vivian first, then Mark.
เมื่อมีผู้พูดนานเกินควร

Well, thank you, Doris. I think that’s quite clear. Could we have some other opinions?
You’ve made that very clear, Charlie. Thank you. Anybody else?
Thank you, John. I think we’ve all got the point now. Let’s move on.
I think all of us here now have a clear idea of what Chris has just told us. Thanks, Chris. Shall we move on?
การเข้ามาแทรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน

I’m afraid there seems to be some misunderstanding here.
If I may just interrupt you for a moment here, I think ... .
I don’t want to interrupt, but can I just say that ... .
Could I come in there for a moment, please?
Could I just make a few comments, please?
การเสนอทางออกในกรณีที่เกิดความคิดเห็นขัดแย้ง/การหาทางประนีประนอม

I think it’s a good idea to take a break now.
Why don’t we just take a break now?
Each/Both side(s) has/have a point. Why don’t we ...?
Maybe we could come to some sorts of solution by combining each side’s idea/suggestion.
The ideas/suggestions are all very good and deserve our attention.

บทที่ 13 การร่วมประชุม-1 (Participating-1)
ผู้เข้าร่วมประชุมย่อมมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นของตนเอง ตลอดจนแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย หรือความไม่แน่ใจว่าเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งการพูดในแต่ละสถานการณ์นั้นพอจะแบ่งออกได้ดังนี้ การแสดงความคิดเห็นของตนเอง

ในกรณีที่มีความเชื่อมั่นมาก

I’m sure/convinced that ... .
I feel quite/very sure that ... .
ในกรณีทั่วๆไป

I believe/think that ... .
As I see it ... .
The way I see it is that ... .
ในกรณีที่ยังไม่มีความมั่นใจมากนัก

It seems to me that ... .
I tend to favor the idea/view/approach that ... .
I’m inclined to think that ... .
การเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้อื่น

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

I’m in complete agreement (with ...).
I quite agree (with ...).
I couldn’t agree more (with ...).
I agree.
ในกรณีทั่วๆไป

I think you’re right.
That’s right/true.
การไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้อื่น

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

I disagree completely (with ...).
That’s out of the question.
ใช้ในกรณีทั่วๆไป

I don’t agree (with ...).
I think you’re wrong.
I disagree (with ...).
That’s not how I see it.
ในกรณีที่ยังมีข้อสงสัยหรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่

I agree (with Ken) up to a point but ... .
I (can/do) see your point but ... .
I suppose you’re right but ... .
That’s (quite) true. However, ... .
Yes, but ... .
สถานการณ์ตัวอย่าง

การแสดงความคิดเห็นของตนเอง

I’m convinced that the deal will fall through.
As I see it, expension will be costly during this time.
It seems to me that the drop in sale does not result from the lack of promotion campaign.
การเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้อื่น

I’m in complete agreement with what Jeff’s just said.
I quite agree with Jon’s suggestion.
I couldn’t agree more with the plan we have.
การไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้อื่น

I disagree completely with the merger plan.
I don’t agree with your suggestion.
I disagree with what you’ve just proposed.
ในกรณีที่ยังมีข้อสงสัยหรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่

I agree with Scott up to a point, but I think there are some issues that need to be discussed fouther.
I do see your point, but I am not quite certain that the result will be as we expect.
Yes, but will that be the only option we have.

การร่วมประชุม-2
(Participating-2)
ในการประชุมนั้นนอกจากจะเป็นโอกาสในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังเป็นโอกาสสำหรับสอบถามผู้เข้าร่วมประชุมด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และเสนอคำแนะนำอีกด้วย คำพูดที่ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ควรทราบ ได้แก่

การสอบถามความคิดเห็นของที่ประชุม

Has anybody any comments to make?
What’s the general view on that?
I’d like to know the general feeling about that?
Any reaction to that?
What’s the meeting’s opinion/view on that?
Do you think we should ...?
Do any of you have any suggestions?
How do you think we should do this?
What would you suggest?
Any suggestions?
การสอบถามความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

What are your opinion about views on ...?
What do you think about ...?
What are your feelings about ...?
What’s your position on ...?
I’d like to have your opinions about/views on ... .
I’d like to hear your ideas on this.
How do you see this?
คำพูดที่ใช้สำหรับเสนอคำแนะนำต่อที่ประชุมนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ คำเสนอที่ค่อนข้างหนักแน่นและรุนแรง คำเสนอแบบกลางๆซึ่งฟังดูสุภาพและไม่ให้ความรู้สึกว่าเป็นการบังคับให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตาม และคำเสนอที่แฝงไว้ซึ่งความรู้สึกลังเลไม่แน่ใจของผู้พูดเอง การจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับหลักฐานและเหตุผลที่เรามีสนับสนุนข้อเสนอนั้นๆ

คำเสนอ/คำแนะนำที่หนักแน่น

We must ... .
Our only solution is to ... .
คำนามหรือกริยาช่อง 1 + ing is our only solution.
There is/I see no alternative but to ... .
คำเสนอ/คำแนะนำโดยทั่วๆไป

(I think) we should/ought to ... .
I would suggest that we ... .
I recommend that we (should) ... .
My recommendation/suggestion is that ... .
คำเสนอ/คำแนะนำที่แสดงถึงความไม่มั่นใจ

It might be a good idea to/if we ... .
We could ... .
How/What about ... .
การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนั้นเราอาจพูดให้ที่ประชุมรับทราบได้ 2 วิธี คือ การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยแบบมาตรฐาน (มักใช้กับที่ประชุมระดับสูง เช่น ระดับฝ่ายหรือระดับบริษัท) และอย่างไม่เป็นทางการมากนัก ซึ่งหากจะใช้วิธีหลังนี้ต้องพิจารณาดูว่าเหมาะสมหรือไม่เสียก่อน (อาจจะเหมาะกับการใช้กับที่ประชุมระดับล่าง ซึ่งมีผู้ร่วมประชุมเพียงไม่กี่คน เช่น การประชุมของแผนก เป็นต้น)

การเห็นด้วยกับข้อเสนอแบบมาตรฐาน

I’m (completely) in favor of that (suggestion/recommendation/etc.).
I have (absolutely) no objection.
That’s a (very) good idea.
การเห็นด้วยแบบไม่เป็นทางการ

Great/Good idea.
Excellent.
Sounds good/fine.
OK/Fine by me.
การไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแบบมาตรฐาน

แบบถนอมน้ำใจ

I accept your point/reasoning but ... .
I appreciate your views/reasoning but ... .
That’s a good idea but ... .
แบบตรงไปตรงมา

I’m afraid. I can’t accept that.
I’m sorry, but that (idea/suggestion) is not quite practical.
I’m sorry. I have reservations about that.
การไม่เห็นด้วยแบบไม่เป็นทางการ

I can’t/don’t accept that.
I’m against that (idea/suggestuib/etc.)
That’s out of the question.
สถานการณ์ตัวอย่าง

การสอบถามความเห็นของแต่ละบุคคล

Jack, what are your views on our plan to reduce production?
What do you think about our new TV ads?
ข้อเสนอ/คำแนะนำที่หนักแน่น

We must hedge and halt investment for the next three months.
Reducing prices is our only solution in a time like this.
ข้อเสนอ/คำแนะนำโดยทั่วๆไป

+ I think we should get rid of our existing inventory.
+ I would suggest that we maintain the present status.
ข้อเสนอ/คำแนะนำที่แสดงถึงความไม่มั่นใจ

+ It might be a good idea to sell off some stocks.
+ We could put our production on hold for a week.
การไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแบบมาตรฐาน

I accept your point, but I don’t think we could wait that long.
That’s a good idea but we can’t afford it at the moment.
บทที่ 15 การร่วมประชุม-3 (Participating-3)
การประชุมนั้นจะต่างจากการบรรยายตรงที่อาจจะมีผู้เข้าร่วมประชุมผู้อื่นพูดแทรกขึ้นในขณะที่เรากำลังพูดอยู่และมักทำให้การเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมขาดตอนไป เพื่อเป็นการเชื่อมโยงแนวความคิดให้ต่อเนื่องสำหรับผู้ฟังหลังจากที่ได้ชี้แจงหรือตอบข้อสงสัยแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงสิ่งที่เราจะพูดต่อไปกับสิ่งที่เราได้พูดไปก่อนที่จะถูกขัดจังหวะเข้าด้วยกันโดยอาศัยคำพูดต่อไปนี้

Going back to what I said before, ... .
To go back to what I was just saying, ... .
As I was saying, ... .
To return to the point I was making, ... .
ในบางครั้งผู้ที่ขัดจังหวะอาจจะหลงประเด็นเกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังพูดอยู่ ในกรณีนี้เราไม่จำเป็นต้องตอบหรือชี้แจงข้อสงสัยนั้น แต่อาจใช้คำพูดเหล่านี้แจ้งให้ทราบว่าเขากำลังหลงประเด็น แล้วจึงย้อนกลับไปพูดเรื่องที่กำลังพูดมาก่อนหน้านี้ต่อไป

I take your point but can we please stick to the main subject in hand.
I see what you mean but I think you’re losing track of the main point.
That’s not the point. We’re here to discuss ... .
That’s all very well. Now, let’s get back to the point.
I know what you mean, but I don’t see what it’s got to do with what we’re talking about here.
นอกจากนี้แล้วในการประชุมแต่ละครั้งไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องมีเรื่องพูดหรือมีความคิดเห็นที่จะเสนอทุกครั้งไป ในกรณีที่เราไม่มีเรื่องจะพูดหรือความคิดเห็นที่จะเสนอ หรือไม่มีท่าทีที่ชัดเจนแน่นอน เราอาจใช้ประโยคเหล่านี้ได้

It’s very difficult (for me) to say (at the moment).
I’m afraid I can’t comment on that at this stage.
I’ll need some more time before I can give any comment.
Let me think it over for a few minutes.
I don’t have any comment at the moment.
I’d like to have a few more minutes to consider this matter before I can give any comment.
There won’t be any comment from me at the moment.
I’d rather comment later, if that’s all right.
Please give me a few more minutes. I’m organizing my thoughts.
บทที่ 16 การร่วมประชุม-4
(Participating-4)
การประชุมนอกจากจะเป็นโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นของตนเอง สอบถามหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานคนอื่นๆได้ทราบถึงทัศนะตลอดจนท่าทีที่มีต่อประเด็นการทำงานต่างๆทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หรือมีความไม่แน่ใจว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยดี หรืออย่างน้อยก็ให้ได้ทราบว่ากำลังตั้งอกตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูดอยู่ การแสดงออกนี้อาจจะไม่ออกมาในรูปของการพูดอภิปรายสนับสนุนหรือคัดค้าน อาจเป็นเพียงแค่การเอ่ยคำพูดเพียงไม่กี่คำหรือเพียงประโยคเดียวสั้นๆ หรือแม้แต่เป็นการแสดงออกทางภาษากาย เช่น

การพยักหน้า การส่ายหน้า การขมวดคิ้ว การยิ้ม ฯลฯ คำพูดที่ใช้ในลักษณะที่กล่าวนี้ ได้แก่ คำพูดและเสียงที่แสดงให้ผู้พูดทราบว่าเรากำลังตั้งใจฟังสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่

Right. Hmm.
OK. Ah.
Yes./Yes? Uh huh.
Really?
ซึ่งอาจจะตามด้วยคำพูดใดคำพูดหนึ่งต่อไปนี้

I see (what you mean).
I see your point.
I understand.
I’ve got it.
That’s interesting.
That sounds good.
I follow you.
ตัวอย่างเช่น

Right, I see.
Yes, I understand.
Really? That sounds good.
Hmm, that’s interesting.
Uh huh, I’ve got it.

การสรุปผลการประชุม
(Summarizing)
หลังจากที่ประชุมได้พิจารณาวาระต่างๆจบสิ้นไปแล้ว ผู้ดำเนินการประชุมหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบควรจะสรุปผลการประชุมในแต่ละวาระให้ที่ประชุมได้รับทราบไว้อีกครั้งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นประเด็นหลักๆหรือปัญหาสำคัญๆ ทั้งนี้ เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการพิจารณาหรือการประชุมในครั้งต่อๆไป หรือเพื่อที่ประชุมจะได้ร่วมกันพิจารณาลงมติหรือสั่งการมอบหมายให้บุคคลหรือกลุ่มคณะหนึ่งนำไปดำเนินการต่อไปได้ บรรดาคำพูดซึ่งใช้เพื่อการนี้ ได้แก่

To summarize, there seem to be one/two/etc. main issues/points/problems.
So far, we’ve discussed the issue/problem of ... .
Today, we’ve covered ... .
It seems that we are in agreement that ... .
We’ve agreed with some reservations that ... .
We’ve agreed unanimously that ... .
The agreement we reach today concerning ... is that ... .
To sum up, today we’ve considered ... .
Generally, the meeting is of the opinion that ... .
We generally agree that ... .
It is our general agreement that ... .
In sum, we talked about ... .
In sum, the question(s)/problem(s)/issue(s) about ... was/were raised.
ในกรณีที่เป็นการประชุมเพื่อแจ้งให้ทราบหรือไม่มีประเด็นปัญหาใดที่ต้องการข้อตัดสินใจ ที่ประชุมก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาตัดสินใจ และอาจปิดประชุมได้เลยหลังจากที่สรุปผลการประชุมเสร็จสิ้น แต่ถ้ามีเรื่องซึ่งต้องการการตัดสินใจของที่ประชุมแล้วจะมีการร้องขอให้ที่ประชุมพิจารณาตัดสินใจหลังจากที่มีการสรุปผลการประชุมโดยใช้คำพูดต่อไปนี้

คำขอให้ที่ประชุมพิจารณาตัดสินใจ/ลงมติ

Can we now try to reach a decision?
We’ve got to decide on ...
Now, we have to make a decision on ...
The meeting’s decision is needed for ...
The issue(s)/problem(s) is/are now waiting for this meeting’s decision.
สถานการณ์ตัวอย่าง

การพูดสรุปผลการประชุม

So far, we’ve discussed the problem of producton delay.
Today, we’ve covered the new marketing campaign.
It seems that we are in agreement that we should cut back on our fuel consumption.
การขอให้ที่ประชมพิจารณาตัดสินใจ/ลงมติ

We’ve got to decide on our new market strategies for next year.
The meeting’s decision is needed for termination of deal with Star Corp.
Now, we have to make a decision on whether to accept IBM’s or Hewlett Packard’s bid.
บทที่ 18 การลงมติ
(Voting)
ในกรณีที่มีปัญหาซึ่งต้องการหนทางแก้ไขที่มาจากการพิจารณาตัดสินใจของที่ประชุม ก่อนที่ประชุมจะตัดสินใจได้นั้นต้องมีการพิจารณาหนทางแก้ไขหรือข้อคิดเห็นซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้เสนอเสียก่อน โดยผู้ที่เสนออาจใช้คำพูดในการเสนอหนทางแก้ไขหรือญัตติดังต่อไปนี้

I’d like to (formally) propose that ... .
I’d like to propose the following ... .
หลังจากนั้นประธานการประชุมอาจถามที่ประชุมว่ามีผู้ใดเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่ โดยเลือกใช้คำพูดต่อไปนี้

Would anyone like to second that?
(Do we have) anyone in favor of that?
Who would (like to) second that proposal/motion?
การเริ่มสอบถามความเห็นของที่ประชุมว่ามีใครเห็นด้วยกับข้อเสนอใดบ้าง มีคำพูดที่สามารถใช้ได้คือ

Could we take a vote on that?
Can I ask for a show of hands?
Those in favor of ..., please (raise your hands).
Those against?
All those in favor. All those against.
(Do we have) any abstentions?
เมื่อทราบผลการลงมติของที่ประชุมแล้ว ผู้ดำเนินการประชุมหรือประธานการประชุมจะต้องแจ้งผลการลงมติของที่ประชุม ซึ่งอาจได้ผลในรูปแบบต่างๆกัน เช่น

We’ve agreed with some reservations that ... .
We’ve agreed unanimously that ... .
It seems that we are in agreement that ... .
Mr./Mrs.?Miss ...’s motion is carried by (ตัวเลข) votes to ตัวเลข votes.
Mr./Mrs./Miss ...’s motion is rejected by (ตัวเลข) votes to ตัวเลข votes.
Mr./Mrs./Miss ...’s motion/proposal/etc. is carried/rejected unanimously/overwhelmingly.
ในกรณีที่ต้องการหลีกเลี่ยงการลงมติโดยการนับคะแนน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะไม่ต้องการให้เกิดความหมางใจกัน ผู้ทำหน้าที่ประธานหรือผู้ควบคุมการประชุมอาจถามที่ประชุมโดยรวมและสรุปเป็นผลการประชุมไปเลยโดยใช้คำถามเหล่านี้

Are we all agreed on that?
Can I take it that everyone is /against/in favor of/ that?
Do we have a general agreement then that ...?
บทที่ 19 การยุติการประชุม
(Concluding)
เมื่อที่ประชุมได้ลงมติเรียบร้อยแล้วอาจมีการกล่าวสรุปผลการลงมติให้ที่ประชุมรับทราบอีกครั้งหนึ่ง เพราะอาจจะมีการสั่งการให้บุคคลหรือคณะบุคคลดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมต่อไป

การสรุปผลการประชุมในกรณีที่มีการออกเสียงลงมติ

We’ve decided to/that ... .
We’ve agreed to/that ... .
การสรุปผลการประชุมในกรณีที่ไม่มีการออกเสียงลงมติ

Do we/you all agree to/that ...?
If everyone’s in agreement/favor, I propose/suggest that ... .
So, we’ve agreed to/that ... .
ในกรณีที่ประชุมสั่งการให้บุคคลหรือคณะบุคคลดำเนินการให้เป็นไปตามมติของที่ประชุม ประธานการประชุมหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอาจแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบด้วยคำพูดต่อไปนี้

ชื่อ , would you please see to it that ...?
ชื่อ , do you think you could ...?
ชื่อ , how about กริยาช่อง 1 + ing ...?
ชื่อ , would it be possible to ...?
ชื่อ , could you take care of ...?
ชื่อ , would it be possible to ...?
สถานการณ์ตัวอย่าง

Martha, would you please to it if our salesclerk know about the prices change?
Mr. Ellis, do you think you could inform our local branches of the policy changes?
Marc, could you take care of recruiting new personnel for our branch in Phuket?
ต่อจากนั้นอาจเป็นการพูดคุยหรือซักถามเรื่องปลีกย่อยอื่นๆที่ยังไม่มีโอกาสได้กล่าวถึงโดยประธานการประชุมอาจถามขึ้นว่า

Is there anything else we ought to consider now?
Is there any other business?
Does anyone have anything else to add?
Anything anyone wants to bring up?
Anything we need to cover for today?
Have we covered everything?
Anybody wants to bring up anything?
Is there anything else to be discussed?
บทที่ 20 การปิดประชุม
(Closing)
ก่อนจะกล่าวปิดการประชุม ประธานการประชุมอาจแจ้งให้ที่ประชุมได้ทราบซึ่งมีใจความหลักๆว่าการประชุมได้พิจารณาเรื่องต่างๆครบถ้วนตามวาระ และหากไม่มีอะไรเพิ่มเติมแล้วก็เป็นการสมควรแก่เวลาที่จะยุติการประชุม โดยอาจใช้คำพูดใดคำพูดหนึ่งหรือมากกว่าจากประโยคต่อไปนี้ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำพูดปิดประชุมสำหรับการประชุมที่ไม่เป็นทางการนัก

I believe we’ve covered everything.

That seems to be everything.
That just about covers everything.
If no one has anything else to add ... .
If nobody has anything to add, then we can draw the meeting to a close.
If nobody has anything to add, then I think we can end the meeting at this point.
If that’s all/everything then (I think) we can stop here.
I guess that wraps things up for today.
I’d like to suggest that we stop here then.
That’s all for today.
Let’s stop here.
หากยังมีเรื่องต้องพิจารณาอีกแต่มีเหตุจำเป็นต้องยุติการประชุมไว้ก่อน ประธานอาจขอให้มีการเลื่อนการประชุมออกไป

I suggest we adjourn.
Let’s adjourn this meeting.
Let’s meet again (to discuss the rest of the matters) on วันที่ at เวลา
ก่อนที่จะกล่าวปิดประชุมอย่างเป็นทางการหรือหลังจากที่ได้กล่าวปิดประชุมแบบไม่เป็นทางการไปแล้ว จะเป็นการดีหากประธานการประชุมจะใช้โอกาสนี้กล่าวขอบคุณในความร่วมมือของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน

Thank you everybody.

I’d like to thank ... for ...
I’d like to thank everybody for ...
Thank you (all) for your participation.
สำหรับการปิดประชุมระดับสูงหรือการประชุมที่ค่อนข้างจะเป็นทางการนั้นคำพูดที่นิยมใช้กันคือ

I declare the meeting closed.

ข้อมูลจาก : //www.nb2.go.th


Create Date : 04 มกราคม 2551
Last Update : 15 พฤษภาคม 2551 0:11:54 น. 0 comments
Counter : 4224 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.