บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
4 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 

การขึ้นราคาสินค้า



การขึ้นราคาสินค้า

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)


ราคาสินค้าที่ขายไปแล้ว เมื่อสินค้าขายดี ผู้ขายทุกคนก็อยากจะเพิ่มราคาสินค้าขึ้นเพื่อได้กำไรมากขึ้น แต่ทั้งนี้ผลกระทบที่ตามมาคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น สินค้าก็จะขายได้น้อยลง เป็นกฎเบื้องต้นของ อุปสงค์ และ อุปทาน...


ดังนั้นการขึ้นราคาสินค้าจึงต้องทำอย่างมีกลยุทธ ซึ่งมีหลากหลายวิธี ซึ่งขึ้นกับสินค้าแต่รายการ ผมจึงขอยกตัวอย่างแบบง่ายๆ เช่น

ขึ้นราคาไปเลย 


หากขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าขาจร หรือ ขายสินค้าที่ไม่เจาะจงสถานที่ และ มักย้ายสถานที่ขาย เช่น ขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น การขึ้นราคาเลย สามารถทำได้ ทั้งนี้ การที่ไม่มีลูกค้าประจำจึงไม่ต้องเกรงถึงความรู้สึกของลูกค้า เพราะ ลูกค้าขาจรทั้งหลายไม่ทราบหรอกว่าคุณขึ้นราคา แต่ทั้งนี้ ราคาที่คุณปรับขึ้นนั้น ต้องอย่ามากเกินกว่าคู่แข่ง หรือ หากมากกว่า ก็ต้องสร้างมูลค่าของสินค้าทั้ง คุณภาพ บริการ หรือ อาจจะรวมถึง การตอบสนองให้กับลูกค้าได้มากกว่าด้วย ไม่อย่างนั้น คุณอาจจะสูญเสียฐานลูกค้าคุณไปเลยก็ได้

สินค้าบางสินค้าตกม้าตายมาแล้ว ก็กาแฟในปั๊มน้ำมัน ที่มีร้านเป็นบ้านแค่ครึ่งเดียว บางที่ก็มีน้ำไหลผ่านกระจกข้างๆนะครับ เขาขึ้นราคาเลยเพราะคิดว่าเป็นสินค้าสำหรับขาจร แต่แท้ที่จริงแล้ว เขามีฐานลูกค้าจาก ชื่อเสียงที่เขาสร้าง ลูกค้าของเขาไม่ใช่ขาจร แต่เป็นลูกค้าประจำที่ขับไปทั่วประเทศ สดวกเข้าแวะปั๊มไหน ก็เข้าไปซื้อปั๊มนั้น จนตอนนี้แทบจะปิดตัวกันระนาว ลูกค้าประจำหายหมด เพราะเขาไม่ได้คำนึงถึงความรู้สึกของคนซื้อเลย

การขึินราคาของสินค้าประเภทอาหารบางตัว เช่น โดนัท เขาขึ้นราคาไปเลย แต่ทำโปรโมชั่นลดราคา ต่ำกว่าราคาเดิมประมาณ 1-2 เดือน เพื่อแจ้งให้ผุ้บริโภครับทราบว่า สินค้ากำลังจะขึ้นราคาแล้ว ช่วงลดราคา ที่ต่ำกว่าเดิมแต่ราคาขึ้นไปอยู่ในราคาใหม่แล้ว ทำให้รู้สึกว่า ยังไม่ได้ขึ้นราคา เมื่อลูกค้าชินกับราคาใหม่แล้ว ค่อยขึ้นราคาเท่ากับราคาเดิม ทำให้รู้สึกว่า ยังได้รับราคาที่สมเหตุสมผลอยู่ แต่เมื่อเริ่มปรับเป็นราคาใหม่ แม้นว่า ยอดขายจะลดลงไปบ้าง แต่ก็เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การทำโปรโมชั่น แบบเป็นช่วงเวลา อย่างต่อเนื่อง ก็ปรับความรู้สึกของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ กว่าจะขึ้นราคาสำเร็จโดยไม่กระทบกับลูกค้าเดิม อย่างน้อยก็ใช้เวลาประมาณ 1 ปีเต็ม...

ดังนั้น การจะใช้วิธีการขึ้นราคาเลย จึงต้องเข้าใจในบริบทของสินค้าว่า เป็นสินค้าสำหรับลูกค้าขาจรจริงหรือไม่ด้วยครับ หรือ มีโปรโมชั่นรองรับ

การเพิ่ม ของแถม หรือเพิ่ม ปริมาณ เพื่อเพิ่ม ราคา


แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบ เพิ่มแล้วไม่ลด เช่น สินค้าของคุณ เมื่อต้องการขึ้นราคาแบบให้ลูกค้าไม่รู้ วิธีการอย่างหนึ่งคือ การเพิ่มของแถมเพื่อเพิ่มราคา ซึ่งเมื่อราคาสินค้า บวกราคาของแถม เป็นราคาจำนวนหนึ่ง แต่ลดราคาพิเศษเป็นจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อนำเอาสินค้าของแถมออก ราคาก็เปลี่ยนไปเป็นอีกราคาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น หากขายสินค้าเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมื่อราคาต้นทุนเปลี่ยนแต่ไม่ต้องการกระทบจิตใจของผู้ซื้อ ก็อาจจะเพิ่ม ชาม สำหรับลวกบะหมี่ เข้าไปจากราคาห่อละ 39 บาท ที่ขายกันก็บอกว่า ชามในละ 30 บาทบวกเข้าไป แล้วบอกว่า ลดเหลือเพียง 52 บาท เมื่อเวลายกเลิกการแถม เมื่อเวลาผ่านไปนานหน่อย เมื่อยกเลิกก็เปลี่ยนราคาเป็น 42 บาท ในทันที เป็นต้น

ปรับรูปโฉม การลดปริมาณ ราคาเท่าเดิม


สินค้าบางอย่าง จะปรับรูปโฉมของบรรจุภัณฑ์ใหม่ เช่นขวดใหม่ แต่ก็ลดปริมาณลง เช่น จาก 600 cc เป็น 550 cc ทั้งนี้ได้ประกาศราคาเท่าเดิม เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่า เป็นการขึ้นราคาแต่ความเป็นจริง สินค้าที่ลูกค้าได้รับไป มีปริมาณลดลง ก็เท่ากับว่า ขึ้นราคาเช่นกัน

เพิ่มราคาจากมูลค่าเพิ่ม


สินค้าบางตัว เพิ่มคุณค่า หรือ สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ก็จะเพิ่มราคาเข้าไป ซึ่งทั้งๆ บางทีเป็นเพียงการโฆษณาสรรพคุณที่มีอยู่แล้ว แต่นำสรรพคุณนั้นแสดงออกมาให้โดดเด่นเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และ ก็ขึ้นราคาตามมูลค่าเพิ่มของสินค้าเข้ามา ทั้งนี้แน่นอนว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นก็ต้องมีค่ามากกว่ามูลค่าที่เพิ่มขึ้นหลายเท่านัก...

ยกตัวอย่างเช่น นมผง เพิ่ม โอเมก้า3 ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางสมองที่ดีขึ้น ทั้งๆที่ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ราคาของนมอาจจะแพงขึ้นตามที่ต้องการก็ได้ หรือ ยาบางตัวก็จะเอาสูตรผสมบางตัวขึ้นมานำเสนอว่า สารตัวนี้ให้ผลต่อต้านอนุมูลอิสระ ทั้งๆที่ปกติก็มีสารนี้อยู่ในยาอยู่แล้ว เป็นต้นครับ

ลดต้นทุน


หากหมดหนทางการขึ้นราคา กรณีสุดท้ายคือ การลดต้นทุนของสินค้า เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ได้กำไรมากขึ้น ทั้งนี้แต่อาจจะไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากนัก หรือ อาจจะลดราคาไม่ได้ด้วย


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



ทั้งนี้อาจจะมีวิธีการอื่นๆมากมายที่จะใช้เพิ่มราคาสินค้า โดยไม่ให้ลูกค้าเสียความรู้สึก




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2551
1 comments
Last Update : 21 กรกฎาคม 2559 7:47:23 น.
Counter : 3982 Pageviews.

 

.../||\\...

 

โดย: เข้ามาดู IP: 61.90.165.67 27 สิงหาคม 2552 11:48:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.