บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
22 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 

แนวความคิดธุรกิจ - กายกรรมหมุนจาน

แนวความคิดธุรกิจ - กายกรรมหมุนจาน


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)




การทำธุรกิจบางคนบอกว่าง่าย บางคนบอกว่ายาก ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีมุมมองและแนวคิดเป็นอย่างไร ทั้งนี้ประสบการณ์ของการดำเนินธุรกิจของแต่ละคน หรือ ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนจะหล่อหลอมแนวความคิดในการดำเนินงานของแต่ละคน เช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ผมเสนอแนวทางเหล่านี้ เป็นเพียงประสบการณ์ที่ได้จากการทำธุรกิจของผม และ อาศัยการสังเกตและวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาถึงข้อสรุปในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสร้างประสบการณ์เสมือนให้กับเพื่อนๆที่ได้อ่านบทความนี้ เท่านั้น...

จากการไปดูหลายกิจการในประเทศไทย ทั้งดินแดนใกล้หรือไกล ไม่ว่าองค์กรใด สิ่งที่ได้รับจากการพูดคุยกับเจ้าของกิจการ และ การสังเกต ทำให้ผมเข้าใจถึงพฤติกรรมของเจ้าของกิจการว่า การมีเพียงสองมือ แต่ต้องทำงานหลากหลายงานให้ผ่านไปนั้น ทำให้สามารถเปรียบได้กับการเล่นกายกรรมหมุนจาน ซึ่งถ้าท่านเคยดูกายกรรมโบราณ ที่มีจานบนแท่นไม้ ต้องปั่นจานให้หมุนในแกนไม้เมื่อจานเริ่มจะหมุนช้าลงก็ต้องกลับมาปั่นจาน นั้นอีกครั้งเพื่อให้จานทั้งหมดที่หมุนอยู่ได้หมุนต่อไปโดยไม่ตกลงมาแตกกับ พื้นเสียก่อน

เจ้าของกิจการก็ต้องเป็นนักกายกรรมที่ต้องหมุนจานทุกใบ ให้อยู่ในระดับที่สามารถประคองจานแต่ละใบให้หมุนและอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ผมเปรียบเทียบจานแต่ละใบเหมือนกับ แต่ละหน่วยงานขององค์กร การหมุนของแต่ละจานเปรียบกับระบบงานและการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานว่า สามารถเดินได้ด้วยตัวของมันเองได้มากน้อยเพียงใด

องค์ประกอบของการ หมุน อยู่ที่ คุณภาพของจานว่าได้สมดุลมากน้อยเพียงใด แกนไม้มีขนาดพอดีกับจานหรือไม่ ปลายไม้มีชันสนในปริมาณที่พอเหมาะหรือไม่ แท่นยึดแกนไม้สามารถยืดหยุ่นได้ดีเพียงใด และ ที่สำคัญคนดูแลในการหมุนนั้นสามารถที่จะหมุนแกนนั้นให้จานคงอยู่บนแกนไม้ได้ ทันการณ์ในช่วงเวลาที่จานหมุนช้าลงได้มากน้อยเพียงใด น้ำหนักมือพอดีกับการหมุนหรือไม่ และ ดูแลทุกๆจานไม่ให้ตกลงพื้นได้รอบคอบเพียงใดด้วย

เวลาดูเขาแสดง กายกรรมก็ดูเหมือนง่าย แต่เวลาที่ให้ไปลองทำเองจริงๆ จะบอกได้เลยว่ามันยากมาก ขนาดแค่จานใบเดียวยังไม่สามารถทำให้มันอยู่นิ่งได้นานๆเลย กว่าจะฝึกให้จานหมุนได้รวดเร็วจนสร้างแรงโน้มถ่วงให้เหมาะสมได้นั้นต้องใช้ เวลานาน ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์อย่างมาก ดังนั้น เมื่อหัดเริ่มที่จะหมุนจานก็ควรหัดหมุนเพียงจานเดียวก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มจานที่หมุนขึ้นทีละจาน เมื่อเพิ่มจานขึ้นก็ต้องใช้ทักษะการดูแลให้มากขึ้นไปเป็นลำดับๆ (การเริ่มกิจการควรจะศึกษาธุรกิจและฝึกหัดไปทีละขั้นทีละตอน)

การ ดูแลจานแต่ละใบให้คงอยู่บนแกนไม้นั้น จะพบว่า เมื่อจานบางจานเริ่มหมุนช้าลง ก็ต้องเข้าไปหมุนจานให้เร็วขึ้น แต่ถ้ามีจาน 2-3 ใบหมุนช้าลงพร้อมๆกัน คนควบคุมก็จะหมุนจานที่หมุนช้าที่สุดก่อน ให้แค่พออยู่ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นก็มาหมุนจานที่เหลือให้อยู่ในสมดุลในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาหมุนทั้งหมดซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้จานเหล่านั้นหมุนได้ใน ระดับที่อยู่ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ (การดูแลกิจการ ก็จะต้องดูแลในส่วนที่มีปัญหาหนักก่อน หากมีปัญหาหลากหลาย การเลือกที่จะเข้าไปดูแลส่วนที่มีปัญหามากที่สุดก็ต้องทำให้ปัญหาเริ่มคลี่ คลายไปบ้างแล้วเข้าไปแก้ไขในจุดอื่นๆต่อ จากนั้นจึงกลับมาทำให้ทั้งหมดสามารถดำเนินงานไปได้อย่างสอดคล้องและต่อ เนื่องอย่างถาวร)

เมื่อจานทั้งหมดที่ดูแล เริ่มหมุนได้ด้วยตัวของมันเอง การเพิ่มจานใหม่จึงเป็นการเพิ่มความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ความสำคัญในการเพิ่มจานใหม่ขึ้นในเสาใหม่ ยังน้อยกว่า การเข้าไปเพิ่มแรงให้กับจานเก่าเพื่อรักษาให้จานเก่าหมุนได้อย่างคงที่ทั้ง หมดเสียก่อน (ไม่ว่าคุณจะเปิดกิจการใดๆ คุณก็ควรที่จะดูแลหน่วยงานของคุณให้มั่นคงเสียก่อน ก่อนที่จะเปิดธุรกิจใหม่ๆต่อไป)

ทักษะของนักกายกรรมที่ดี จึงควรมีหลากหลายทักษะที่สำคัญ (Multiskill) เช่น
- ทักษะการหมุนจาน
- การสังเกตุการหมุนของจานแต่ละใบ
- การดูการหมุนของทุกจานที่เกิดขึ้น แบบองค์รวม
- ความไวในการเข้าไปในแต่ละแกน
- การให้มือเพียงสองข้าง แต่ต้องสอดประสานให้กลมกลืนกับ จานที่มีจำนวนมาก
- การมีสมาธิในการดำเนินการ ตั้งใจ มุ่งมั่นในการทำ
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้พึงต้องสร้างให้มีให้เกิดขึ้นกับนักกายกรรมถึงจะสามารถหมุนจานได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่ความสามารถมี

แต่ เมื่อคุณเต็มความสามารถที่จะควบคุมแล้ว หรือไม่มีมือพอที่จะหมุนจานได้มากขึ้น การหาคนมารับผิดชอบในการหมุนจานแต่ละใบ หรือ หลายๆใบในการควบคุมงานของคุณ จึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญว่า คนที่จะเข้ามาช่วยเหลือคุณในการหมุนจานได้มากขึ้นนั้น มีทักษะของการหมุนมากน้อยเพียงใด สามารถให้เขารับผิดชอบในการหมุนเหล่านั้นได้มากน้อยเพียงใด (สร้างคน หาคนมาช่วยดูแลบางส่วน)

ทักษะของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะหมุนได้จำนวนมาก บางคนอาจจะหมุนได้พอประมาณ และบางคนอาจจะหมุนได้เพียงจานเดียว ทั้งนี้ การใช้คนหรือเลือกคนจึงต้องคำนึงถึงสมรรถภาพ ความสามารถของคนที่จะเข้ามาช่วยงานด้วย (Competency)

ดังนั้นเมื่อ เป้าหมายของการหมุนจานร้อยใบ หรือพันใบ ในเวลาเดียวกัน ด้วยตัวของตัวเองเพียงคนเดียว คงไม่สามารถทำได้ แต่ถ้ามีคนมาช่วยเหลือ รับผิดชอบในแต่ละส่วนก็จะทำให้เราสามารถหมุดได้จำนวนมากขึ้น (การขยายกิจการให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง)

ทั้งนี้ไม่ว่าการหมุน จาน หรือ การทำกิจการต่างๆ ก็ต้องอาศัยเทคนิค และ หลักการณ์ที่ใกล้เคียงกัน ถ้ามองภาพกายกรรมหมุนจานได้ลึกซึ้งและสามารถเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจของ คุณ การทำธุรกิจของคุณก็จะสามารถทำไปได้อย่างต่อเนื่อง และ มั่นคง และ อาจจะขยายกิจการต่างๆได้มากตามที่คุณต้องการโดยใช้หลักการณ์ง่ายๆเหล่านี้




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2552
2 comments
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2552 13:47:08 น.
Counter : 2685 Pageviews.

 

มาอ่านครับ
(ได้ความรู้ดีมากครับ)

 

โดย: byonya 23 กุมภาพันธ์ 2552 13:26:11 น.  

 

- ขอบคุนสำหรับการแบ่งปัน ความคิดดีๆนะคะ

 

โดย: jasmin IP: 61.91.193.121 21 มีนาคม 2552 3:55:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.