+++++ น้ำทุกหยาดมีประโยชน์ หากทุกคนใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด +++++
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

การคำนวณน้ำว่าจะลดเมื่อไหร่อย่างง่าย ๆ

ทุก ๆ วันเวลาขับรถเดินทางไป-กลับจากที่ทำงาน ได้อาศัยฟังวิทยุ
แล้วชาวบ้านส่วนใหญ่จะถามว่า "เมื่อไหร่น้ำจะลด"
แล้วผู้ตอบส่วนใหญ่ก็จะบอก ต้องให้หมดพายุ หรือหมดฝน อะไรก็ว่ากันไป
ซึ่งส่วนตัว ผมว่าไม่น่าจะเป็นคำตอบที่ถูกใจผู้ถามนัก แต่อย่างว่าใครจะกล้าเสี่ยงทำนาย
แต่ในฐานะ นายช่างชลประทาน จบจากโรงเรียนการชลประทาน
เวลาออกพื้นที่ชาวบ้านถาม หรือเวลาประชุมแทน ผอ.คป. ท่าน ผวจ. หรือ
ผู้ใหญ่ถาม ผมก็จะตอบทันที แล้วผู้ถามก็จะถามต่อว่าเอาอะไรมาประเมิน
สิ่งที่ผมนใช้คือ

1. ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย เรียนมาแล้วตั้งเกือบยี่สิบปี วิชาอุทกฯ และอาจารย์นายช่างหรืออาจารย์วิศวกร
จะบอกเวลานอกเรื่องตอนกำลังสอนแล้วนักเรียนส่วนใหญ่ไปเฝ้าพระอินทร์
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ฝนจะตกภาคกลางตอนบนเหนือตอนล่าง
แล้วเดือนต่อไปก็จะขึ้นเหนือ หลังจากนั้นประมาณกันยายนก็จะเริ่มล่องใต้
เราก็จะรู้คร่าว ๆ ว่าฝนทางภาคเหนือจะหมดประมาณต้นตุลาคม หรือตุลาคม
แต่ถ้าตกเกินไปก็จะตกไม่มากเพราะเข้าหน้าหนาวแล้ว

2. ปริมาณน้ำท่วมขัง อันนี้ชอบใช้เป็นข้ออ้างกับส่วนกลางเวลาให้ประมาณ
ก็หน้าที่จังหวัดให้ส่งข้อมูล ส่วนกลางนำไปวิเคราะห์ แต่ชอบใช้นายช่างคำนวณทุกที
ทำไมวิศวกรมถึงคำนวณไม่เป็นก็ไม่รู้

แต่อย่างว่าเรียนโรงเรียนชลประทาน อาจารย์สอนหมดทุกเรื่องทั้งชีวิตการทำงานและวิชาการ

การคำนวณน้ำว่าท่วมอยู่เท่าไหร่ก็ใช้ พื้นที่เป็นไร่xระดับน้ำลึก (ส่วนใหญ่ใช้ 1.50 เมตร)x1,600
ก็จะได้ปริมาตรน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่
ตัวอย่าง พื้นที่พิจิตร ลุ่มแม่น้ำยมน้ำท่วมรวมกันทุกตำบล อำเภอ ประมาณ 400,000 ไร่

คิดเป็นปริมาตรน้ำท่วมขัง = 300,000x1.50x1,600 = 720,000,000 ลบ.ม.= 720 ล้าน ลบ.ม.

แม่น้ำน่าน น้ำท่วมขังประมาณ 400,000 ไร่

คิดเป็นปริมาตรน้ำท่วมขัง = 400,000x1.50x1,600 = 960,000,000 ลบ.ม.= 960 ล้าน ลบ.ม.

รวมน้ำท่วมขังในจังหวัดพิจิตรประมาณ 720+960 = 1,680 ล้าน ลบ.ม.

3. ระยะเวลาการระบายน้ำ

นี่สิเรื่องใหญ่ คิดยังไง.....

ก็บอกแล้วประเมินคร่าว ๆ

ความสามรถในการระบายน้ำของแม่น้ำ ส่วนใหญ่จะบอกเป็น ลบ.ม./วินาที

อาทิ แม่น้ำยมประมาณ 500 ลบ.ม./วินาที คิดเป็น = 500x3,600x24 = 43,200,000 ลบ.ม./วัน

คิดง่าย ๆ 40 ล้าน ลบ.ม./วัน

แม่น้ำน่าน 1,200 ลบ.ม./วินาที ก็จะได้การระบาย = 1,200x3,600x24 =103,680,000 ลบ.ม./วัน

คิดเป็น 100 ล้าน ลบ.ม./วัน

จากนั้นก็คำนวณน้ำลง

ลุ่มน้ำยมท่วมขัง 720 ล้าน ลบ.ม. ระยะเวลาน้ำคืนสู่ปกติ = 720/40 = 18 วัน

แม่น้ำน่าน ระยะเวลาน้ำลง = 1,680/100 = 16.8 = 17 วัน

(ใช้เมื่อรู้ว่าน้ำเหนือเริ่มหมดแล้ว)

เป็นไงง่ายไหมครับ...

แต่ก็จะมีคำถามต่อว่า ทำไมชลประทานบอกเป็นสองเท่า

ก็เพราะบอกแล้วไงนี่เป็นการคำนวณคร่าว ๆ คิดแบบใส่น้ำลงกาละมังแล้วใช้สายยางดูดออก

แต่ความเป็นจริงน้ำหลาก จะระบายลงแม่น้ำด้วย ทำให้ประสิทธิภาพการระบายของแม่น้ำลดลง

ซึ่งไม่มีการสอนการคำนวณ ได้แต่ประมาณ ซึ่งจะใช้การระบายของแม่น้ำแค่ครึ่งนึง

ดังนั้นแม่น้ำยม จาก 18 วันก็จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 36 วัน หรือมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น ก็ว่าไป

ซึ่งหากรวม Factor อื่นอีก ตัวเลขก็จะปรับไปตามที่คนคำนวณจะใส่

แต่ที่ผมใช้แจ้งที่ประชุมก็จะมีที่มาแบบนี้แหละครับ




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2554
1 comments
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 11:12:25 น.
Counter : 936 Pageviews.

 

ให้ A ครับ สำหรับการมีคำตอบให้สังคม
นี่เป็นเหตุผลที่วิศวกรรุ่นใหม่วิเคราะห์ไม่ได้
เพราะไม่มีประสพการณ์
ติดที่ค่า C ค่า I ค่า E ค่า Reduce Factor ค่า ฯลฯ ในสมการที่ซับซ้อน
ไม่รู้จักการ Trial &Error ย้อนกลับ (ป้อนค่าRecheckข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงย้อนกลับจากค่าทำนาย)
อุทกวิทยา เป็นการประมาณค่าอย่างมีเหตุผล
วิธีใดก็ได้ให้มีคำตอบที่อธิบายได้ ไม่จำเป็นต้องติดกับอยู่กับสมการที่ซับซ้อนตามที่ร่ำเรียน
ไม่มีใครผิดเกิน 20% ถ้าน้ำอยู่ในคลอง
ไม่มีใครถูก มากกว่า 80% ถ้าน้ำอยู่นอกคลอง(ล้นตลิ่งบ่าท่วม)
ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน(ขอย้ำ)เพราะเรื่องน้ำ Factor ที่เกี่ยวข้องเยอะมาก
การวิเคราะห์มีทั้งเชิงอุทกวิทยาและเชิงสถิติ
ดังนั้นการวิเคราะห์เชิงสถิติ (เคยเกิดอย่างไรก็จะเกิดคล้ายๆเดิม) จะให้ค่าที่ดีกว่า เร็วกว่า ใกล้เคียงกว่า ถ้าสภาพพื้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
ขอให้ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่(ข้อมูลเรดาร์) ประกอบกับข้อมูลเชิงสถิติ และ ReCheck ด้วยข้อมูลเชิงอุทกวิทยา จะเป็นประโยชน์มากๆ ครับ

 

โดย: thurdsak IP: 118.173.0.62 4 พฤศจิกายน 2554 19:41:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kuk-42
Location :
พิจิตร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kuk-42's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.