|
|
|
|
|
|
|
|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
27 มกราคม 2554 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แปะก๊วย
ประโยชน์ดี ๆ จาก แปะก๊วย
แปะก๊วย : Ginkgo Biloba
แปะก๊วย.. นับว่าเป็นสมุนไพรยอดฮิตอีกชนิดหนึ่งก็ว่าได้ เนื่องจากมีผู้นิยมนำแปก๊วยมาทำเป็นขนมหวานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บัวลอยน้ำขิง ที่มีแปะก๊วย พุทราแห้ง เม็ดบัว เป้นส่วนผสมอยู่ด้วย หรือจะเป็น เผือกกวน ที่แต่งหน้าด้วย แปะก๊วยกับพุทราแห้ง รสชาติหวานมัน หรือจะเป็น แปะก๊วยในน้ำเชื่อม ซึ่งนับว่าเป็นของหวานรสชาติดี ที่มีราคาแพงอีกชนิดหนึ่ง แปะก๊วย เป็นมีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน แถบตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีการขยายพันธุ์ไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี จากนั้นก็มีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา แปะก๊วยเป็นพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีการค้นพบว่าแปะก๊วยบางต้นมีอายุยาวนานกว่าไดโนเสาร์เสียอีก ชาวจีนรู้สรรพคุณของแปะก๊วยมานานมากแล้ว ในขณะที่ชาวยุโรปเพิ่งเริ่มต้นการศึกษาประโยชน์อย่างจริงจัง ของแปะก๊วยเมื่อไม่นานนี้เอง ชาวยุโรปนิยมปลูกแปะก๊วยเพื่อเป็นไม้ประดับมากกว่า เนื่องจากมีลำต้นสูงใหญ่ เหมาะสำหรับเป็นร่มเงาได้ดี
ในตำรายาของจีน ได้นำใบและเมล็ดของแปะก๊วย ใช้รักษาอาการหลอดลมอักเสบ ความดันโลหิตสูง หอบหืด วัณโรค โกโนเรีย ท้องอืดท้องเฟ้อ กระวนกระวาย โรคผิวหนัง นอกจากนี้ยังสามารถนำเมล็ดมาคั่วเพื่อทำเป็นของหวาน ช่วยในการย่อยอาหารได้อีกด้วย ในการวิจัยพบว่าใบของแปะก๊วยมีสารสำคัญ 2 กลุ่ม คือช่วยต้านอนุมูลอิสระมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด และปรับความยืดหยุ่นของผนังเกร็ดเลือด จึงช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันเนื้อสมองตายและถูกทำลายขณะขาดออกซิเจน ช่วยลดอาการบวมที่จอตา และปกป้องเส้นประสาท ทั้งยังช่วยให้ความจำดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำแปะก๊วยใช้กับโรคที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงแขนขาไม่พอ เนื่องจากเส้นลือดตีบ ซึ่งมีผลกระทบทำให้เป็นตะคริวหรือแขนขาหมดแรง อ่อนล้า หรือปวดบวมเมื่อใช้งานเป็นเวลานานๆ สารสกัดจากแปะก๊วยมีบทบาทมากในผู้สูงอายุทั่วไป ที่มีปัญหาทางสมอง ช่วยลดอาการหลงลืมหรือ โรคอัลไซม์เมอร์ ได้ดี ทั้งยังช่วยสำหรับสาวที่ที่มีปัญหาการปวดประจำเดือน และภาวะหมดประจำเดือนได้อีกด้วย
ปัจจุบันมีสารสกัดจากแปะก๊วยออกขายตามท้องตลาดมากมาย ทั้งที่เป็นสารจากแปะก๊วยโดยตรง และมีสารชนิดอื่นเป็นส่วนผสมด้วย เช่น น้ำมันปลา เราสามารถหาซื้อแปะก๊วยเหล่านี้มารับประทานได้ง่ายขึ้น แต่ควรเลือกดูให้ดีก่อนที่จะนำมารับประทาน หรือจะรับประทานแปะก๊วยสด ไม่ว่าจะนำมาทำเป็นของหวาน หรือรับประทานน้ำชาจากใบแปะก๊วย ซึ่งมีราคาถูกกว่าเมื่อก่อนมาก และก่อนที่จะรับประทานควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเสียก่อน เนื่องจากแปะก๊วยจะมีฤทธิ์เป็นพิษเมื่อรับประทานมากเกินไป
Create Date : 27 มกราคม 2554 |
|
2 comments |
Last Update : 27 มกราคม 2554 8:48:13 น. |
Counter : 717 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: ส้มโอ IP: 124.122.202.213 19 มีนาคม 2554 12:33:56 น. |
|
|
|
| |
โดย: bigeye (tewtor ) 15 เมษายน 2554 13:46:38 น. |
|
|
|
| |
|
|
|
|
|
|
|
|