Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 

RTAF F-16MLU ตอนที่ 6: กระเปาะลาดตระเวน ตาทิพย์ของ MLU (ภาค 1)

ภารกิจลาดตระเวนทางอากาศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เน้นเพื่อการหาข่าวกรองทางภาพถ่าย (IMINT; Imagery intelligence) เป็นหลัก นับว่ามีความสำคัญอย่างสูงในยุคของสงครามที่มีเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCW; Network Centric Warfare) ซึ่งภารกิจลาดตระเวน เฝ้าตรวจ และหาข่าวกรอง ที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (persistent ISR) จะทำให้ฝ่ายเราครองความได้เปรียบด้านข้อมูลข่าวสาร (information superiority) เหนือฝ่ายตรงข้าม และเมื่อผนวกเข้ากับอุปกรณ์หาข่าวกรองที่ทำงานแบบดิจิตอลกับระบบ data-link ก็จะทำให้การตัดสินใจสั่งการใช้กำลังทางอากาศของฝ่ายเรา ทำได้อย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ฝ่ายตรงข้ามจะรู้ตัวและเตรียมมาตรการต่อต้านต่างๆ ได้ทัน (โดยเป็นการเร่ง OODA loop ในส่วนของ Observation, Orientation และ Decision นั่นเอง)

ในยุคที่ ทอ.ไทย กำลังพยายามก้าวเข้าสู่ NCW การพัฒนาด้านภารกิจ ISR จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะข่าวกรองสำหรับภารกิจอากาศ-สู่-พื้น ที่ ทอ. ยังขาดแคลนระบบที่มีความทันสมัยและพร้อมสำหรับ NCW เช่น กล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอลที่มีรายละเอียดสูง พร้อมอุปกรณ์ data-link สำหรับส่งข้อมูลภาพที่ถ่ายได้กลับมายังกองบัญชาการเพื่อวิเคราะห์ และแจกจ่ายไปใช้งานต่อไป

นับตั้งแต่ ทอ. ปลดประจำการ บ.ขับไล่ตรวจการณ์ แบบ RF-5A ซึ่งเป็น บ.ที่ใช้ในภารกิจลาดตระเวนทางอากาศยุทธวิธีโดยตรง ทอ. จึงขาดอากาศยานในภารกิจนี้ไป โดย ทอ. เหลือเพียง บ.ตรวจการณ์ลำเลียง แบบ Learjet 35A จำนวน 1 เครื่อง ที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพทางเฉียงระยะไกล หรือ LOROP (Long-Range Oblique Photography) แบบ KS-157A เท่านั้น (ในช่วงปลายปี 2550 ทอ. ซื้อกล้อง LOROP แบบ CA-295 มาใช้งานแทน) ที่เป็น บ.ลาดตระเวนถ่ายภาพโดยตรง นอกจากนั้นเป็นการติดตั้งกล้องถ่ายภาพทางดิ่งกับ บ.ลำเลียง แบบ Nomad และ บ.ธุรการ แบบ AU-23A Peacemaker ซึ่งเป็นการติดตั้งชั่วคราว (ไม่รวมกับระบบ FLIR ที่มีการติดตั้งใช้งานเพิ่มเติมเมื่อไม่นานมานี้) อีกทั้งแผนการจัดหาอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ก็ยังไม่มีความคืบหน้า (มีการระบุความต้องการ MALE-UAV ไว้ในแผนพัฒนายุทโธปกรณ์ 9 ปี ในช่วงก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ อย่างไรก็ดี UAV นั้น โดยทั่วไปไม่ได้ตั้งใจให้ติดตั้งกล้องถ่ายภาพนิ่งความละเอียดสูงๆ แต่เน้นไปที่กล้องวิดีโอสำหรับภาพเคลื่อนไหวมากกว่า) ในอดีตที่ผ่านมา ทอ. ก็เคยมีความต้องการจัดหากระเปาะลาดตระเวนทางอากาศยุทธวิธีสำหรับ F-16A/B แต่ก็เงียบหายไปในที่สุด




บ.ตข.18 (Northrop RF-5A) ฝูงบิน 701
จะเห็นว่าที่ส่วนหัวจะไม่เรียวแหลมเหมือน F-5A ปกติ
เนื่องจากมีการติดตั้งกล้องถ่ายภาพเอาไว้
(Copyright : //www.thaipatch.com)






บ.ตล.12 (Gates Learjet 35A) ฝูงบิน 402
จะเห็นว่าด้านข้างลำตัวจะมีหน้าต่างเล็กๆ ยื่นออกมาจากลำตัว
เพื่อติดตั้งกล้อง LOROP
(Copyright : dexer; //www.thaiflight.com)


อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่ากระเปาะลาดตระเวนทางอากาศ สำหรับ บ.ขับไล่ ในปัจจุบันนั้นยังคงมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ในยุคที่กระเปาะชี้เป้า (targeting pod) สมัยใหม่ เช่น Sniper XR หรือ Litening AT มีขีดความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายที่สูงมาก คำตอบก็คือ กระเปาะชี้เป้ายังคงมีขีดจำกัดในการสร้างภาพที่มีความละเอียดสูง ขนาดใหญ่ สำหรับใช้เพื่อการข่าวกรองโดยเฉพาะ และมีมุมจำกัดการมองเห็น (field-of-view) ที่แคบ

ลองเปรียบเทียบกล้อง CCD-TV ในกระเปาะชี้เป้าปัจจุบัน มีความละเอียดสูงสุดที่ 1024x1024 หรือประมาณ 1 ล้าน pixel (ถ้าเป็นระบบ FLIR ความละเอียดจะต่ำลงไปอีก) ในขณะที่กล้อง framing camera แบบดิจิตอล (เหมือนกล้องถ่ายภาพนิ่งทั่วไป แต่มีกลไกให้สามารถถ่ายภาพได้แม้ว่ากล้องจะเคลื่อนที่โดยไม่ทำให้ภาพเบลอ) สำหรับถ่ายภาพในแสงปกติ (visible band) ในกระเปาะลาดตระเวนทั่วไป มีความละเอียดในระดับหลายสิบล้าน pixel เช่น 5024x5024 หรือประมาณ 25 ล้าน pixel มากกว่ากล้อง CCD-TV ถึง 25 เท่า






ภาพจากกล้อง LOROP CA-270 ความละเอียด 25 ล้าน pixel
(Copyright : Recon Optical Inc. and US Air Force)


ทั้งนี้การที่กล้อง framing camera ให้ความละเอียดได้มากกว่านั้น เพราะ กล้องแบบนี้ไม่ต้องการอัตราเร็วในการถ่ายภาพหรือ frame rate สูง (โดยทั่วไปต่ำกว่า 25 frame ต่อวินาที เช่น 4 frame ต่อวินาที ซึ่งเพียงพอต่อการถ่ายภาพนิ่ง) ในขณะที่กล้อง CCD-TV ต้องการ frame rate สูงกว่า 25 ถึง 120 frame ต่อวินาที เพื่อให้ได้ภาพที่เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยที่จำกัด frame rate คือ ขนาดของของ pixel แต่ละ pixel โดยถ้า pixel มีขนาดเล็ก จะทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นต่อการถ่ายภาพแต่ละภาพ (เพื่อให้แต่ละ pixel ได้รับแสงมากพอ) แต่ถ้า pixel มีขนาดใหญ่ ก็จะใช้เวลาสั้นลง และทำให้ frame rate สูงขึ้น ดังนั้นถ้าเทียบภาพที่มีขนาดเท่ากัน ภาพที่มีขนาด pixel เล็กกว่าก็จะมีความละเอียดสูงกว่า (คือ มีจำนวน pixel โดยรวมมากกว่าในพื้นที่เท่ากัน) หรือถ้าขนาด pixel เท่ากัน กล้องที่มี frame rate ต่ำๆ สามารถเพิ่มจำนวน pixel ในแต่ละภาพให้มากขึ้นได้ ซึ่งก็คือ ได้ภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง

ดังนั้นกระเปาะชี้เป้าจึงไม่มีทางเทียบได้เลยกับกระเปาะลาดตระเวนทางอากาศที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

ใน F-16MLU จะมีการติดตั้งระบบเชื่อมต่อเพื่อรองรับการติดตั้งกระเปาะลาดตระเวนทางอากาศได้หลายแบบ เช่น กระเปาะ TARS (Theater Airborne Reconnaissance pod), กระเปาะ AARS (Advanced Airborne Reconnaissance System pod) หรือกระเปาะ MRP (Modular Reconnaissance Pod) เป็นต้น




กระเปาะ TARS ใต้ลำตัว F-16C block30 ทอ.สหรัฐฯ
(Copyright : //www.f-16.net)




กระเปาะ MRP ใต้ลำตัว F-16AM (F-16A MLU) ทอ.เบลเยี่ยม
(Copyright : Vancrayenest Benjamin)




 

Create Date : 24 ตุลาคม 2551
4 comments
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2551 21:40:42 น.
Counter : 3727 Pageviews.

 

ติดตามมาโดยตลอด ขอบคุณมากครับ

 

โดย: terdkiet IP: 125.24.201.119 1 พฤศจิกายน 2551 23:12:32 น.  

 

ขอบคุณมากครับอาจารณ์รินสำหรับข้อมูล หายากนะครับเนี้ยข้อมูลแบบนี้

 

โดย: sherlork (prasopchai ) 5 พฤศจิกายน 2551 13:27:30 น.  

 

ผมคิดว่าภาพถ่ายทางยุธวิธี ใช้ดาวเทียมไม่ดีกว่าหรือครับ ไม่ต้องไปเสี่ยงจากการถูกตรวจจับ ไทยเราเองก็มีดาวเทียมถ่ายภาพอยู่แล้วครับ ทีออส

 

โดย: sam IP: 58.9.233.210 21 กุมภาพันธ์ 2552 10:41:45 น.  

 

ภารกิจลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ ครั้งแรก ทอ.ริเริ่มให้ได้มาซึ่งข่าวกรองภาพถ่ายทางอากาศ โดยเครื่องบินแบบ RT-33A หรือ บ.ตฝ.๑๑ ประจำการ กองบิน ๑ ดอนเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ และปลดประจำการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘

 

โดย: Samran Chomto IP: 124.120.181.58 5 เมษายน 2561 5:16:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Warfighter
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




พบกันได้ที่ http://www.thaifighterclub.org ครับ และ pantip.com ห้องหว้ากอ (นานๆ โผล่ไปซักทีนะครับ)
Friends' blogs
[Add Warfighter's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.