Group Blog
 
 
มิถุนายน 2551
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
คู่มือเลี้ยงลูกตามธรรมชาติของลูกรัก

ตั้งแต่กลับมาจากเมืองไทยหลังจากเคลียร์ของเข้าที่แล้ว ก็เริ่มมีเวลาเอาหนังสือที่ซื้อมา ออกมาทะยอยอ่านอีกครั้งช่วงที่ลูกกำลังหลับ เพราะรู้สึกได้เลยว่า ตั้งแต่พาอันนาไปเมืองไทย พฤติกรรมของอันนาเปลี่ยนไปเยอะมาก คงเนื่องจากวัยและได้สัมผัสผู้คนในอีกมุมนึงที่ต่างจากที่เคยเจอ ได้เจอคุณตา คุณยาย ญาติๆ ไปเที่ยวชายทะเล อันนี้อาจมีส่วนทำให้อันนารู้สึกว่า โลกนี้มีอะไรให้ค้นพบอีกเยอะจริงๆ

หนังสือเล่มนี้ชื่อ " คู่มือเลี้ยงลูกตามธรรมชาติของลูกรัก "แต่แหม ตั้งชื่อว่า คู่มือ เลยทำให้ค่อนข้างมีอคติเล็กน้อยในตอนแรก เลยเป็นเหตุให้หนังสือเล่มนี้นอนสลบไสลอยู่ในตู้หนังสือเป็นเวลานาน ตอนแรกรู้สึกว่า คำว่า คู่มือ นี้ทำให้รู้สึกเครียด จริงจัง แล้วจะทำให้เราอ่านหนังสือเลี้ยงลูกได้สนุกรึนี่ อันนี้อาจจะเป็นเพราะส่วนตัวรู้สึกว่า ไม่อยากเลี้ยงเด็กแบบเครียดๆ ทุกอย่างต้องเป๊ะๆ ชีวิตเด็กควรสดใส มีชีวิตชีวา อย่าต้องมาทะเลาะกับลูกมากมาย

พอวันอาทิตย์ที่ผ่านมาลองเอาออกมาอ่านดูแบบไม่อคติ ก็รู้สึกว่า เล่มนี้น่าสนใจดีเหมือนกัน หนังสือเด็กโดยทั่วไปมักจะบอกพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยว่า ทำอะไรได้บ้าง ควรลองให้ทำอะไรบ้าง มักจะคล้ายๆกันทั้งของไทยและฝรั่ง แต่หนังสือเล่มนี้สอนให้เราลองวิเคราะห์ตัวตนของลูก ลักษณะนิสัย อารมณ์ การแสดงออก แน่นอนเด็กร้อยคนก็ต้องต่างกันร้อยแบบ เพราะแต่ละคนคือ One of A Kind. ไม่มีใครเหมือนกันทั้งร้อยเปอร์เซนต์

พอเริ่มอ่านบทแรกก็สอนให้เราทำความเข้าใจรูปแบบหลักๆของบุคคลิกภาพเด็ก เพื่อให้เรารู้ว่า แต่ละแบบนั้นต่างกันอย่างไร วิเคราะห์ตัวเราด้วยว่า เราเป็นแบบไหน ทั้งพ่อและแม่เลย เพื่อจะให้เราเห็นภาพใหญ่ๆว่า อ๋อ ที่แท้ที่เรากำลังมีปัญหากับลูกเพราะ เราเป็นคนแบบนี้ และลูกเราเป็นคนแบบนี้ เลยทำให้เรามองต่างกัน แม้แต่เด็กแต่ละคนก็มีวิธีคิดกับของสิ่งเดียวกันต่างกันไป
คิดว่าจะลองอ่านไปอย่างช้าๆ แต่อาจจะมาสรุปย่อถ้าอ่านจบ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ถึงแม้จะมีรูปแบบแค่ 16 แบบหลักๆ แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้เราเห็นบุคคลิกภาพที่แฝงอยู่ในเด็กๆ ได้ชัดยิ่งขึ้น

แต่แน่นอนเหนือสิ่งอื่นใดคือ ต้องมองลูกตามความเป็นจริง ถึงแม้จะมีบุคคลิกภาพทั้ง 16 เป็นตัวช่วย แต่นั่นก็อาจจะไม่ใช่ตัวตนของลูกเราทั้งหมดเช่นกัน

บุคคลิกภาพนี้แบ่งตามแบบคร่าวๆได้แบบนี้จ้ะ


ชอบสังคม vs. ชอบเก็บตัว
รับรู้ตามความเป็นจริง vs. รับรู้ตามการหยั่งรู้ของตนเอง
ตัดสินด้วยเหตุผล vs. ตัดสินด้วยความรู้สึก
ชอบทำตามแผน vs. ยืดหยุ่น

อันนี้คือ คร่าวๆ แต่จะมีลักษณะผสมผสานให้น่าเวียนหัวต่อไปอีกนะจ๊ะ
แล้วคำถามที่ว่า เราจะเริ่มจำแนกลักษณะของลูกได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ล่ะ

เค้าบอกว่า ส่วนมากแล้วลักษณะของเด็กจะปรากฏเห็นและสามารถระบุได้เมื่ออายุประมาณสามถึงสี่ปี บางรายอาจจะชัดตั้งแต่สองปีก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ ขอให้เราคอยเฝ้าสังเกตพฤติกรรมลูกควบคู่ไปกับข้อมูลที่เราได้รับ พร้อมทั้งเปิดใจที่จะปรับเปลี่ยนตัวเราเพื่อให้เป็นผลที่ดีกับลูก ไม่ว่าเค้าจะเป็นเด็กลัษณะไหนก็ตาม

เกริ่นมาแบบนี้แล้ว คิดว่า หลายคนเริ่มๆจะมีอคติบ้างใช่ไหม ว่าอะไรมันจะต้องซีเรียสจริงจังซะขนาดนั้น ตัวเองนั้นตอนแรกก็คิดแบบนี้เช่นกันว่าอะไรมันจะขนาดนั้น แต่ก็ลองอ่านดูแล้วคิดว่า เวลาเรามีสมาธิอ่านให้ดีดี ก็น่าจะเอามาใช้กับลูกเราได้เช่นกัน แต่ก็ควรเผื่อใจไว้อีก 30 เปอร์เซนต์ด้วยเพราะบุคลิกภาพคนนั้นต้องมีอายุถึง 28 - 35 ปีจึงจะคงตัว ดังนั้นถ้าลูกเรายังเล็กเค้ายังมีเวลาอีกมากมายที่จะค่อยเผยตัวตนเค้าออกมา เราก็ต้องค่อยเรียนรู้ไป แก้ไขไป ตามสิ่งที่เราเจอก็เท่านั้นแหละ

ส่วนตัวแล้วไม่ค่อยคาดหวังในตัวลูกมาก แค่อยากเห็นเค้าโตแบบมีความสุข ดูแลตัวเองได้ มองโลกอย่างเป็นจริง ยิ่งถ้ามองโลกในแง่ดีได้แล้วยิ่งดี จะได้ทุกข์น้อยหน่อย

หนังสือเล่มนี้แปลมาจาก Nurture By Nature :
Understand Your Child's Personality Type and Become a Better Parent by Paul D. Tieger & Barbara Barron-Tieger

คิดว่าถ้าใครสนใจก็ลองหามาอ่านได้จ้ะ


Create Date : 02 มิถุนายน 2551
Last Update : 2 มิถุนายน 2551 18:35:19 น. 0 comments
Counter : 225 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Walcher
Location :
กรุงเทพฯ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Walcher's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.