“..การศึกษาวิชามานุษยวิทยา มีจุดประสงค์ให้มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมนุษยชาติทั้งมวล มนุษย์จะได้เข้าใจตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจอันดี และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข...” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ๒๕๓๗

<<
กรกฏาคม 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
27 กรกฏาคม 2550
 

พุทธศาสนา สายวัชรยาน เผยแผ่ทางไหนแน่

มีผู้รู้ทางประวัติศาสตร์ บอกว่าพุทธศาสนาสายวัชรยาน
ได้เดินทาง (ทางเรือ) เผยแผ่ลงมายัง
1. เกาะสุมาตรา (ชวา)
2.แหลม..มลาลายู
3.ประเทศญี่ปุ่น
4.ประเทศเกาหลี
5.แผ่นดินใหญ่..จีน
6.และขึ้นไปยังธิเบต

ผมสงสัยจังครับ ว่า....มันจะเป็นไปได้หรือครับ ที่ พุทธศาสนาสายวัชรยาน จะเผยแพร่มาทางเรือ ถึงจีน และขึ้นไปธิเบต อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้





ก่อนอื่นขอแยก ลัทธิวัชรยาน กับ ลัทธิมหายานออกจากกันก่อน
เพราะทั้งสองนิกาย เดินทางไปสู่ตะวันออกด้วยกันทั้งสิ้น

มหายาน เริ่มในราวพุทธศตวรรษที่ 7 เน้นเรื่องของพระโพธิสัตว์ การบำเพ็ญบารมี 10 ประการ และคัมภีร์ปรัชญาปารมิตา

เส้นทางสายไหม ในพุทธศตวรรษที่ 6 ของราชกวงศ์กุษาณะ ได้นำลัทธิมหายาน เข้าไปสู่จีน ( ตอนนี้ยังไม่เกี่ยวกับธิเบตครับ)

ในประเทศจีน เกิดนิกาย"สุขาวดี" อันเป็นนิกายย่อยของลัทธิมหายานที่ถือเอาองค์อมิตาภะ ที่มีสวรรค์อยู่ทิศตะวันตกชื่อสุขาวดี เป็นหลัก

ลัทธิมหายาน นิกายสุขาวดี เข้าสู่จีนในพุทธศตวรรษที่ 9 เข้าเอเชียตะวันออก ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 ( พร้อม ๆ กับการเข้าสู่ SEA ผ่านการเดินทางของพระในราชวงศ์สุย )

ในขณะที่ลัทธิมหายาน นิกายในอินเดียกลับนิยม พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
มากกว่าพระอมิตาภะ


มาดูที่ลัทธิวัชรยานกันครับ
เวลายาวนานกว่า 500 ปี ที่มหายานกระจายไปทั่ว ทั้งทางทะเล ดังบันทึกของหลวงจีนอี้จิง ที่เดินทางโดยทางเรือ จากจีนอ้อมแหลมสุวรรณภูมิไปอินเดีย และพระฮวนซังหรือถังซัมจั๋ง ที่เดินทางโดยทางบกตามเส้นทางไหม

ลัทธิวัชรยาน จึงค่อยเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งปรับเปลี่ยนรูปแบบ ปรัชญา คำสอนและวิธีการของ "ทุกลัทธิ นิกาย ของทั้งพุทธ พราหมณ์ ฮินดู เชน" มาใช้การสร้างภาษาลับ ( ตันตระยาน) ทั้งทางมือ/กาย (มุทรา) การพูด (ธาริณี) และการทำสมาธิ
วัชรยานผสมจุดแข็งของทั้งเถรวาทหรือHeนยาน และ มหายาน มาใช้
วัชรยานเดินทางมาสู่ แหลมสุวรรณภูมิและหมู่เกาะชวา ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 และเข้าสู่กัมพูชาในราวพุทธศตวรรษที่ 14 แต่มารุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ 18


วัชรยานเดินทางกระจายทางบกขึ้นไปยังธิเบต ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 พร้อมกันกับที่ข้ามทะเล ไปยังสุวรรณภูมิ
เวลานั้นพุทธศาสนาในอินเดียทุกนิกายถูกทำลายอย่างรวดเร็วโดยอิสลามเตอร์ก
นิกายวัชรยานของธิเบตก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง และเข้าสู่ประเทศจีนในยุคต่อมา ตามเส้นทางไหมเดิมที่มหายานเคยเข้าไป

ส่วนในกรณีที่พระจีนเดินทางมายังสุวรรณภูมิและไปศึกษาที่อินเดียแล้วเดินทางกลับนั้น หลวงจีนเหล่านั้นก็ได้นำมหายาน และ วัชรยานกลับไปด้วยเช่นกัน
รายละเอียดของวัชรยานในญี่ป่นจะแตกต่างไปจากวัชรยานธิเบต ( ที่ผมว่าเป็นชายแดนสุดท้ายของวัชรยาเส้นทางบกจากอินเดีย)แต่ก็มีที่เหมือนกันอยู่มาก เช่นการใช้ กระดิ่งแทนอุบาย การใช้วัชระแทนปัญญา เทพเจ้าในจักรวาลมากมายตามยันต์มันดารา การใช้ตันตระไปสู่เป้าหมาย ฯลฯ

สรุปก็คือ วัชรยานไปม่ได้อ้อมกลับมาจากเอเชียตะวันออก ธิเบตรับตรงจากอินเดีย แต่มีการสร้างนิกายลามะใหม่เกิดขึ้นในยุคหลัง

ส่วนในญี่ป่น รับมาจากจีน มีรายละเอียดเหมือนกัน เทพเจ้าถ้าเอาชื่อออกเอาแต่บุคคลาธิษฐานว่าแทนความหมายอะไร ต่างก็มีเหมือนกัน แตกต่างกันในรายละเอียด

เพราะพุทธศาสนาสายสุขาวดีเดิมของมหายาน ก็ได้เอาเรื่องของเจ้าแม่กวนอิมและพระโพธิสัตว์ มาผสม กับวัชรยานในบางกลุ่ม และบางกลุ่มก็ไม่ผสมกัน

มหายานและวัชรยานในจีน ก็รวมกันเป็นนิกายใหม่อีก ก่อนที่จะกลับมาสร้างเป็นวัดเล่งเน่งยี่ในเมืองไทย

บทสรุป
ไม่รู้วนไปวนมาพอจะเห็นภาพลาง ๆ กันบ้างไหมว่า
วัชรยานสร้างใหม่ก็จริง แต่มาผสมเก่าที่เป็นมหายานได้ง่าย เพราะมีส่วนคล้ายมาก แต่จะไม่ผสมกับเถรวาทหรือลังกาวงศ์ในสุวรรณภูมิ

เส้นทางศาสนา สองสายของมหายานและวัชรยาน ทั้งทางบกและทางทะเล ไปเกิดใหม่ที่เอเชียตะวันออก
แต่เส้นทางวัชรยานจากอินเดียทางบกเท่านั้นไปเกิดใหม่ที่ธิเบต
วรณัย


พ.ศ.๑๕๐๐ พุทธศาสนาได้ผสมกับลัทธิตันตระของฮินดูซึ่งเป็นลัทธิของคนชั้นต่ำ ในยุคนี้จึงได้ชื่อว่า พุทธตันตระเกิดสัทธรรมปฏิรูปกับศาสนาฮินดูทำให้พุทธศาสนาถึงแก่ความเสื่อมคำว่า "พุทธศาสนาแบบตันตระ" นั้นโดยทั่วไปแล้ว ได้ใช้เรียกกับพุทธศาสนาในอินเดียยุคหลังซึ่งได้แก่ มัีนตรยาน วัชรยาน หรือสหัสยาน พุทธศาสนาในยุคนี้ได้หลอมตัวเข้าหาลัทธิตันตระของฮินดูซึ่งหลักการปฏิบัติที่สำคัญดังนี้

๑.ถือการท่องบ่นเวทมนตร์ และลงเลขยันต์ซึ่งได้แก่มนตราและธารณีการออกเสียงสวดมนต์ นั้นก็ได้บัญญัติคำสวดอันสึกลับขึ้นมาผู้ปฏิบัติมีภาษาที่มีความหมายเป็นสองแง่ในทำนองคำคม ความหมายจริง ๆ ของคำเหล่านั้น เมื่อคนสามัญทั่วไปได้ยินเข้าถึงกับสะดุ้ง แต่นักปฏิบัติได้แปลความหมายไปในแง่หนึ่งซึ่งเป็นที่รู้กัน โดยเฉพาะและแตกต่างจากความเข้าใจของสามัญชนทั่วไปอย่างมากมาย จึงทำให้มีความเข้าใจผิดกันเกิดขึ้นในหมู่นักปฏิบัติและสาวกของลัทธิลึกลับ

๒.ถือเหมือนชั้นต้นแต่เพื่อที่จะให้พิเศษออกไปเกิดมีการนับถือธยานิพุทธและพระโพธิสัตว์ ยิ่งยวดขึ้นไปมีความเชื่อในเทพเจ้าและเทพีเป็นจำนวนมาก และเห็นว่าการโปรดปรานของเทพเจ้าและเทพีเหล่านั้นสามารถทำให้ผู้อ้อนวอนบรรลุความสำเร็จได้ จึงนิยมการสร้างรูปขึ้นมาให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรงกลางเทพีทั้งหลาย ได้นำเอาลัทธิศักติของฮินดูมารวมนับถือและอ้อนวอนด้วยศักดิ คือ การนับถือในชายาของพระเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งอันเป็นอำนาจของเทพเจ้าผู้สามี เช่นพระนางอุมา เป็นศักติของพระศิวะ พระนางลักษมี เป็นศักติของพระวิษณุ เมื่อนับถือพระศิวะและพระวิษณุ ก็ต้องนับถือหรือจงรักภักดีในพระนางอุมาและพระนางลักษมีด้วย ส่วนศักติของพระธยานิพุทธและพระโพธิสัตว์ก็คือพระนางผู้เป็นคู่บารมีของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ยิ่งกว่านั้นลัทธินี้ยังมีการสมมติให้พระนิพพาน มีรูปร่างลักษณะขึ้นสำหรับบูชาสิ่งที่สมมติกันขึ้นนี้เรียกว่า "นิราตมเทวี" ผู้ที่เข้าถึงพระนิพพานก็คือเข้าถึงองค์เทวีหรือรวมอยู่ในองค์เทวีลัทธินี้เรียกว่า วัชรยาน ผู้ที่อยู่ในลัทธินี้เรียกว่า วัชราจารย์

๓.มีการเพิ่มการเซ่นสรวงผีสางเข้าไปด้วยถือว่าการบูชาบวงสรวงและอ้อนวอนจะทำให้ได้รับความสุข และยังได้ทำรูปของพระธยานิพุทธให้มีปางดุร้ายอย่างนางกาลี ซึ่งเป็นปางดุร้ายของพระนางอุมาลัทธินี้เรียกว่ากาลจักร พระศาสนาที่ผสมกับลัทธิตันตระของฮินดูได้นำเอาประเพณีพีธีกรรมอันลึกลับกลับน่ากลัวและลามกอนาจารมาปฏิบัติเช่นข้อปฏิบัติ ๕ ม. คือ ๑.มัทยะ ดื่มน้ำเมา ๒.มางสะ รับประทานเนื้อ ๓.มัตสยา ทานปลา ๔.มุทรา ยั่วให้กำหนัด ๕.ไมถุนะ เสพเมถุน ในหนังสือคุรุสมาสได้สอนให้มีการเหยียบย่ำแม้กระทั่งศีล ๕ สนับสนุนให้มีการฆ่า การลัก การเสพเมถุนธรรมและการดื่มของเมาผู้ที่จะเข้าทำพิธีตามลัทธิตันตระจะต้องปฏิบัติ ๕ ข้อนี้อย่างเคร่งครัดถือว่าเป็นการบูชาพระศักดิ ในสถานที่บางแห่งเมื่อผู้หญิงจะไหว้พระจะต้องเปลื้องเครื่องแต่งตัวออกทั้งหมดแล้วแสดงการร่ายรำไปจนเสร็จพิธี เมื่อเสร็จพิธีใหม่ ๆ จะมีการเล่นกันหลากหลาย

นักปฏิบัติยอมรับว่าลัทธิ ๕ ข้อนี้ไม่ดีเป็นมายาและเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้คนไปสวรรค์นิพพานได้ คนโดยมากมักจะติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นจึงต้องหาความชำนาญในสิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ไม่มากเข้าก็จะเกิดเบื่อไปเอง เมื่อยังไม่รู้ไม่ชำนาญ และยังมิได้มีประสบการณ์มาด้วยตนเองอย่างช่ำชอง แล้วก็เป็นการยากที่จะเกิดความเบื่อหน่ายได้ ต้องเล่นวิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง มีนักปฏิบัติบางท่านถือยิ่งขึ้นไปว่าผู้ที่ยังไม่ผ่านการเสพเมถุนธรรมจะไปนิพพานไม่ได้ เพราะจิตใจยังลังเลอยู่ต้องเสพเมถุนธรรมให้ถึงที่สุดจนเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพาน อย่างไร ก็ตามลัทธิต้นตระนี้มีผู้ปฎิบัติแพร่หลายอยู่ทางอินเดียตะวันออก คือ ในแคว้นเบงกอล อัสสัม โอริสสา และพิหาร มหาวิทยาลัยวิกรมศีล(ใกล้ ๆ มหาวิทยาลัยนาลันทา)เป็นศูนย์ศึกษาลัทธินี้ และต่อมาลัทธินี้ยังได้แผ่เข้าไปสู่ประเทศทิเบตด้วย

พุทธศาสนาในยุคนี้เกิดสัทธัมปฏิรูปอย่างหนัก พระสงฆ์ทำตัวเหมือนหมอผีขมังเวทย์มากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของชาวบ้านธรรมดาที่ไม่เห็นคุณค่าหลักธรรมที่แท้จริง พระสงฆ์ไม่ได้เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่าสิทธะ สิทธะที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นคือ สิทธะมาตังคี สิทธะอานนทวันทวัชระ สิทธญาณปาทะเป็นต้น ต่อมาสิทธะได้แบ่งออกเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ

๑.พวกทักษิณาจารี แปลว่าผู้พระพฤติด้านขวา พวกนี้ยังประพฤติพระธรรมวินัย ยังรักษาพรหมจรรย์ ยังรักษาสถานะความพระสงฆ์ได้มากพอสมควร

๒.พวกวามจารี แปลว่าผู้ประพฤติด้านซ้าย พวกนี้ประพฤติเลอะเลือนไม่รักษาพรหมจรรย์มีภรรยามีครอบครัว ทำตัวเป็นพ่อมดหมอผีมากขึ้นชอบอยู่ป่าช้า ใช้หัวกระโหลกผีเป็นบาตร มีภาษาลึกลับใช้สื่อสารเรียกว่า สนธยาภาษา เกณฑ์ให้พระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์มีศักติคือภรรยาคู่บารมีพระพุทธปฏิมาก็มีปางอุ้มกอดศักติ พวกเขาถือว่าการจะบรรลุพระนิพพานได้ต้องมีธาตุชายและหญิงมาผสมผสานกัน ธาตุชายเป็นอุบาย ธาตุหญิงเป็นปรัชญา เพราะฉะนั้นอุบายต้องบวกปรัชญาจึงจะบรรลุพระนิพพานได้แต่ลัทธินี้ก็ประพฤติเฉพาะบางส่วนของอินเดียเท่านั้น

เมื่อไหร่จะหายเหงา





Create Date : 27 กรกฎาคม 2550
Last Update : 27 กรกฎาคม 2550 17:16:58 น. 1 comments
Counter : 2934 Pageviews.  
 
 
 
 

รูปภาพบูรพาจารย์ฝ่ายมหายาน นิกายฌาน (เซน) สาขาหลินฉี (วิปัสนากรรมฐาน) ที่นั่งสมาธิดับขันธ์ //www.palungjit.com/board/attachment.php?attachmentid=193595&d=1186633494


วัดเทพพุทธาราม(เซียนฮุดยี่) อ.เมือง จ.ชลบุรี
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธา
ร่วมสวดมนต์ภาวนา ฟังพระธรรมบรรยาย
และบำเพ็ญสมาธิแบบสุขาวดี
ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00 – 18.00 น. (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

** เริ่มวันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2550 เป็นต้นไป
สอบถามรายละเอียด หรือลงทะเบียนโทร. 081 777 0369


วัดเทพพุทธาราม (เซียนฮุดยี่) เป็นวัดในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สังกัดจีนนิกาย บรูพาจารย์ผู้ก่อตั้งสืบสายการปฏิบัติธรรม มาจากนิกายฌาน (เซน) สาขาหลินฉี (วิปัสนากรรมฐาน)

นิกายฌาน หลังจากพระสังฆปริณายกเว่ยหลาง ถึงแก่การดับขันธิ์ นิกายฌานได้แตกออกเป็น 5 สาขา ซึ่งในปัจจุบันเหลือแค่ สองสาขา ที่ดำเนินการสืบทอดหลักธรรมคำสอน นั้นมา...

การเผยแพร่หลักธรรมเข้าสูประเทศไทย เริ่มแรกนั้นบูรพาจารย์สกเห็งมหาเถระท่านได้สืบสายนิกายฌาน สาขาหลินฉี มาจากอารามบนภูเขาง่อไบ๊ (จารึกวัดจีนบำเพ็ญพรต) และมีการถ่ายทอดธรรมะ รหัสนัยการฝึกสมาธิเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์เท่านั้น และมีการสืบทอดการฝึกสมาธิ เป็นรุ่น ๆ จะเห็นได้ว่าผุ้ที่ฝึกสำเร็จนั้นมักจะสำเร็จธรรมแทบทั้งสิ้น

บูรพาจารย์ผู้สำเร็จธรรมล้วนนั่งสมาธิบัลลังค์ดับขันธุ์นับจากพระสังฆปริณายกเว่ยหลาง มานั้น ในเมืองไทย ปรมาจารย์ผู้สำเร็จธรรมเมื่อถึงกาลดับขันธ์สรีระสังสารไม่ผุพังแทบทั้งสิ้น อาทิ ปรมาจารย์สกเห็งมหาเถระ ปรมาจารย์กวยหงอ (พระครูแมว) ปรมาจารย์ตั๊กฮี้ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรโพธิ์แจ้งมหาเถระ (ลามะทริมซินกุนดั๊กรินโปเช่) หลวงจีนเย็นกวง หลวงจีนเย็นกวน เป็นต้น..


แม้ว่ามหายานนั้นจะแยกเป็นสิบนิกายหลัก นิกายฌานคือหนึ่งในนั้น แต่ทุกนิกายล้วนกล่าวถึงสุขาวดีพุทธเกษตร ขององค์พระอมิตาภะพุทธเจ้าแทบทั้งสิ้น และต่างก็มีการสอนการสวดภาวนา พระนามแห่งองค์พระอมิตาภะพุทธเจ้า ด้วยกัน (ซึ่งวิธีการฝึกดังกล่าวเป็นกุศโลบายให้การยึดถือองค์พระพุทธเจ้า เป็นหลัก พร้อมทั้งปฏิบัติตนตามจริยวัตรแห่งองค์พระพุทธเจ้า ) เพื่อปิดกั้นหนทางแห่งอวิชาทั้งมวล พร้อมทั้งปฏิบัติตามหลักแห่งโพธิสัตว์ศีลเพื่อยังประโยชน์แก่มหาชน "มหายานเพื่อมหาชน"

ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนอย่างจริงจัง และมักสำเร็จธรรมะ ในช่วงระยะเวลาอันสั้น เปรียบเหมือนการตอนกิ่งโพธิ์ปักชำลงในดิน ซึ่งจะผลิดอก ออกผลเร็วกว่า การเพาะบ่มด้วยเมล็ด

การฝึกสมาธิแบบนี้ไม่เน้น เรื่องอิทธฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ เพราะเหตุดังกล่าวยังเป็นโลกียะ การฝึกทางมหายานนั้นต้องผ่านเรื่องดังกล่าวไปเพื่อการดำเนินวิถีทางแห่งพระโพธิสัตว์ เพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ (วิถีทางแห่งโพธิสัตว์)

การบำเพ็ญสมาธิแบบนี้จึงไม่ค่อยเผยแพร่ให้คนนอกได้รับรู้เลย ทั้งที่มีการสืบทอดคำสอน ของบูรพาจารย์แต่ละรุ่น ไว้มาก มาย และมีการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ลงเป็นคัมภีร์พร้อมทั้งเคล็ดวิชาต่าง ๆ ไว้นับพันคำถาม

ซึ่งในปัจจุบัน ทางกลุ่มผู้เผยแพร่ธรรมได้ทำการศึกษาและปฏิบัติมา จึงได้ทำการขออนุญาตบูรพาจารย์ให้เปิดเผยคำสอนให้แก่สาธารณชนได้ฝึกปฏิบัติแก่ผู้ที่สนใจ
 
 

โดย: มหายานฺน IP: 61.90.173.182 วันที่: 13 สิงหาคม 2550 เวลา:19:26:42 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

วรณัย
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เวลาผ่านไป หัวใจยังคงเดิม
[Add วรณัย's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com